+++Premium พระเครื่องราคาพิเศษ(ปิดกระทู้ชั่วคราว)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 กันยายน 2009.

  1. jirayarn

    jirayarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +4,290
    ห้อยพระติดคอ ห้อยพระรัตนตรัยติดไว้กับใจ แบบแนบแน่น ขาดเสียไม่ได้ ดีประเสริฐที่สุด แก้วประเสริฐ ทั้งสาม นั้น พระสงฆ์ พระสุปฎิปันโน มีมากสุด ไม่นับพระธรรม พระพุทธองค์ไม่ต้องพูดถึงการมี การเกิดขึ้นนั้นยากแสนยาก ถ้ามีพระเครื่อง แทนพระสงฆ์เพื่อระลึก แทนองค์ที่นับถือ ก้อคงเยอะอยู่ หรอกใส่สลับกันก้อไม่ไหว แต่ก้อใส่ไว้อุ่นใจดี แต่ดีที่สุดคือระลึกไว้ที่ใจ ดีสุดจริงๆ ระลึกพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ไว้ เป็นเป้าปฎิบัติธรรมเป็นแบบอย่างสู่เป้าหมายคือนิพพานในชาติใดชาติหนึ่ง
    อีกความเห็นจากผม
    ปล ถ้าสะสมพระเครื่องเป็นของสะสม ก็อีกเรื่องนึงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2013
  2. radien

    radien เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2010
    โพสต์:
    902
    ค่าพลัง:
    +1,057
    เข้ามารออ่านครับคุณหมอ
     
  3. jimmyuro

    jimmyuro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,500
    ค่าพลัง:
    +6,014
    ขอเลือกเลข เป็น. 67 นะครับ
     
  4. ต้นแก้ว

    ต้นแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2007
    โพสต์:
    828
    ค่าพลัง:
    +3,569
    แจ้งโอนเงินรายการ 1982 จำนวน 2,050 บาทครับ 27/12/56
    และขอเลือกหมายเลข 82 ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. note watthapra

    note watthapra เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    936
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ที่ผมปิดรายการของคุณหมอไปเพิ่มอีก 2 รายการ
    ขอเลือกเลข 15 กับ 73 ละกันครับ
     
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการจัดส่งวันนี้
    ชัชวาลย์ EK664432447TH
    ธีรพจน์ EK664432455TH
    จิรานุวัฒน์ EK664432464TH

    ขอบคุณครับ
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    วันนี้จะนำบทความที่พิจารณาแล้วว่ามีสาระประโยชน์มาฝากกันนะครับ

    [​IMG]


    จากการสอบถามของท่านผู้อ่านเรื่องของการชี้วัดอายุของวัตถุโบราณสามารถชี้วัดได้ดังนี้



    การกำหนดอายุของวัตถุและข้อมูลทางโบราณคดีเป็นการหาช่วงระยะเวลาที่มนุษย์ในอดีตดำรงชีวิตอยู่ และมีกิจกรรมต่าง ๆ ในอดีตตลอดจนพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมในแต่ละช่วงระยะเวลา การกำหนดอายุหลักฐานข้อมูลทางโบราณคดีมีวิธีการ 2 วิธีการคือ

    1. การกำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบ (Relative Chronology)

    2. การกำหนดอายุสมัยที่แน่นอน (Absolute Chronology)

    1. การกำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบ หมายถึงการใช้วัฒนธรรมทางวัตถุที่คล้ายคลึงกัน หรือเหมือนกันมาเปรียบเทียบหาอายุสมัยโดยมีวัตถุหนึ่งที่รู้ว่ามีอายุสมัยในช่วงใด แล้วนำอีกสิ่งหนึ่งมาเปรียบเทียบ โดยอาศัยหลักการพื้นฐานเบื้องต้นที่ว่า วัตถุทางวัฒนธรรมที่อยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันหรือร่วมสมัยกันย่อมมีรูปแบบและประเพณีนิยมคล้ายคลึงกัน วิธีการเปรียบเทียบ ดังกล่าวนี้อาจผิดพลาดได้ง่ายเนื่องจาก รูปแบบทางวัตถุบางชิ้นอาจเหมือนกันโดยเหตุบังเอิญหรือใช้ต่อเนื่องมายาวนาน แต่ก็พอที่จะใช้ใน การเปรียบเทียบรูปแบบทางวัฒนธรรมในเบื้องต้นได้ การพิจารณาอายุสมัยประกอบไปด้วยการศึกษาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ คือ

    1. การพิจารณารูปแบบ (Typology) หลักเกณฑ์การพิจารณาเปรียบเทียบรูปแบบโดยเบื้องต้น คือ รูปแบบของสิ่งของเครื่องใช้ที่ค้นพบนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งของอีกอย่างหนึ่งที่รู้อายุแน่นอนตายตัวแล้ว ตัวอย่าง เช่น กลองสำริดหรือกลองมโหรทึก ซึ่งมีการกำหนดอายุสมัยและรูปแบบจากการศึกษาไว้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพบรูปแบบที่เหมือนกันก็พอจะประมาณได้ว่าอยู่ในช่วงระยะเวลาอันเดียวกัน

    2. การพิจารณาวิวัฒนาการของลวดลาย (Evolution of Style) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบที่มีลวดลายลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เพื่อจำแนกประเภทและกำหนดรูปลักษณะที่เกี่ยวข้องหรือร่วมสมัยกัน เช่น ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดง ที่บ้านเชียง อุดรธานี ซึ่งมีการกำหนดอายุที่แน่นอนแล้ว การพบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงในรูปแบบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ก็พอจะประเมินได้ว่าอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันหรือร่วมสมัยกัน แต่ทั้งนี้ การเปรียบเทียบลวดลาย รูปแบบต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ในการติดต่อแลกเปลี่ยนและไปมาหาสู่กันของคนในอดีต โดยพิจารณาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะสิ่งที่เหมือนกันอาจเกิดจากความบังเอิญเช่น ภาชนะดินเผาลายเขียนสี พบทั้งในจีน และแอฟริกาซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกัน

    3. การเปรียบเทียบหลักฐานที่พบร่วมกัน (Associated Finds) สิ่งของเครื่องใช้ที่พบอยู่ในชั้นดินเดียวกันหรือพบอยู่ร่วมกัน โดยมีวัตถุชิ้นหนึ่งที่รู้อายุแน่นอนแล้ว วัตถุชิ้นอื่น ๆ เมื่ออยู่ในชั้นดินเดียวกันก็อยู่ร่วมสมัยกันด้วย

    4. การวิเคราะห์ชั้นดิน (Stratigraphical Analysis) เป็นการศึกษาชั้นดินจากการทับถม เพื่อเปรียบเทียบหลักฐานกับพัฒนาการของชุมชนจากหลักฐานที่พบ พื้นที่หนึ่งซึ่งมีศึกษาการทับถมของชั้นดิน และกำหนดอายุสมัยไว้แล้ว พื้นที่อื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน และพบหลักฐานคล้ายคลึงกัน ก็สามารถที่จะเปรียบเทียบพัฒนาการของชั้นดินและหลักฐานกันได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • showimg.jpg
      showimg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.3 KB
      เปิดดู:
      6,066
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    2. การกำหนดอายุสมัยที่แน่นอน คือการหาอายุสมัยจากโบราณวัตถุ และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รู้ระยะเวลาที่มีกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาหาอายุ 2 ลักษณะ หรือ

    1. การกำหนดอายุโดยอาศัยเอกสารส่วนมาเป็นการศึกษาหลักฐานทางวัฒนธรรมในช่วงที่มีการเขียนลายลักษณ์อักษรแล้ว การศึกษาอายุจากเอกสารประกอบไปด้วย จากรึก ซึ่งมีศักราชที่แน่นอนตายตัว จดหมายเหตุและพงศาวดาร

    2. การกำหนดอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นการตอบปัญหาของอายุสมัยโดยเฉพาะที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ คือ

    1. Radiocarbon

    2. Thermoluminescence

    3. Obsodian

    4. Archaeomagnetic

    5. Varve Dating

    6. Dedrochronology

    7. Fluorine Testing

    การกำหนดอายุหรือการหาอายุทางวิทยาศาสตร์ที่นิยมกันมากในปัจจุบัน คือ วิธีการ เรดิโอคาร์บอน หรือ คาร์บอน-14 และ เทอร์โมลูมิเนสเซน ซึ่งวิธีการหาอายุทางวิทยาศาสตร์แต่ละวิธีมีวิธีการดังต่อไปนี้ คือ (ไขแสง รักวานิช, 2517 : 62-173)

    1. RADOCARBON เรดิโอคาร์บอนหรือการหาปริมาณ คาร์บอน-14 การหาอายุด้วยวิธีการนี้เหมาะสำหรับการใช้ศึกษาหลักฐานที่เป็นอินทรีย์วัตถุที่พบอยู่ร่วมกับวัตถุที่คนในอดีตทำขึ้นเท่าที่นิยมใช้กันอยู่ก็มีไม้ กระดูก หรือ ถ่าน เป็นต้น โดยวัดแสงกัมมันตภาพของคาร์บอนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในอินทรีย์วัตถุ ทำให้สามารถทราบอายุของสิ่งเหล่านั้น เช่นทราบว่ามนุษย์หรือสัตว์ตายมานานเท่าไร ต้นไม้ถูกนำมาใช้งานตั้งแต่เมื่อไร เป็นต้น

    คาร์บอน 14 (C 14 ) ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2483 โดยพบจากผลของการค้นคว้าวิจัยทางด้านปรมณู Institute of Nuclear Studies มหาวิทยาลัยชิคาโก ผู้ที่ค้นพบคือ Dr. Willard F. Libby ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 Dr.Libby เห็นว่าอาจจะนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาอายุของอินทรีย์วัตถุโบราณได้ จึงได้ทดลองโดยใช้เศษไม้จากหลุมฝังศพ ที่ Sakkara ซึ่งมีอายุราว 4,600 ปีล่วงมาแล้วมาตรวจสอบแต่ผลที่ได้ออกมาในครั้งแรกยังคลาดเคลื่อนอยู่มาก ต่อมาได้ดำเนินการทดลองอีก โดยเอาเศษไม้จากหลุมฝังศพของ Sneferu แห่งอียิปต์ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และทราบกันดีว่ามีอายุประมาณ 4,575 ปีก่อนปัจจุบัน ผลของการทดสอบได้อายุที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก กับทั้งยังได้ทดสอบอายุของเรือของพระเจ้า Sesostris แห่งอียิปต์ ซึ่งมีอายุ 3,800 ปีก่อนปัจจุบัน และเก็บไว้ที่ Chicago Natural History Museum ผลของการตรวจสอบได้อายุ 3,621 ± 180 ปีก่อนปัจจุบัน (Before Present = B.P.) อายุที่ได้ใกล้เคียงและโดยที่ยังมีระยะเวลายืดหยุ่นได้อีกราว 180 ปีด้วย จากผลการค้นคว้าทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบิงสาขาเคมี เมื่อปี พ.ศ.2503

    หลักการในการกำหนดอายุโดยการหาปริมาณคาร์บอน 14 คือ เมื่อรังสี (Cosmic Radiation) ซึ่งเป็นตัวผลิตนิวตรอน ผ่านเข้ามาในบรรยากาศของโลก จึงทำปฏิกิริยากับอะตอมของไนโตรเจน (N-14) ก่อให้เกิดอะตอมของคาร์บอน (C-14) ซึ่งเป็นกัมมันตภาพรังสี (Radioactive)

    amulet1.com
     
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เส้นทางขยายตัวของพระสมเด็จ ตอนที่ ๑

    วิทัชวาที

    Posted on June 5, 2012 by admin
    ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าจากการค้นคว้าของผู้เขียนเกี่ยวกับสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และการสร้างพระของท่านที่ได้ผ่านตาท่านผู้อ่านไปแล้วใน เล่าเรื่องพระสมเด็จ ผู้เขียนมีข้อสรุปที่ไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนดังนี้


    1. สมเด็จโตเป็นผู้สร้างพิมพ์สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าเป็นคนแรก

    นับเป็นความอัจฉิรยะของท่านที่คิดสร้างพระเครื่องในศิลปะแบบแอบสแทรก (Abstract) คือย่อทุกอย่างเป็นเส้นน้อยที่สุด ไม่เน้นลวดลาย เน้นความหมายที่เป็นนัยะและความเรียบง่ายทำให้เกิดความสวยงามที่ยากต่อการบรรยาย จนสามารถพิชิตใจผู้เชี่ยวชาญพระเครื่องระดับปรมาจารย์อย่างตรียัมปวาย ยกย่องให้อยู่อันดับหนึ่งของพระเบญจภาคี แซงพระรอดลำพูนที่มีพิมพ์ทรงสวยงามด้วยศิลปะล้านนา และพระกำแพงเพชรที่อลังการด้วยศิลปะสุโขทัย ทั้ง ๆ ที่เป็นพระเครื่องยุคต้นรัตนโกสินทร์ เก่าและอายุน้อยที่สุดในหมู่พระเบญจภาคีทั้งแผง

    รูปแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักนี้ผิดแปลกไปจากการสร้างพระเครื่องรูปแบบเล็บมือของพระซุ้มกอหรือพระรอด แบบสามเหลี่ยมด้านเท่าหรือหน้าจั่วของพระนางพญา และแบบสามเหลี่ยมมุมแหลมตัดจั่วยอดของพระผงสุพรรณ

    ศิลปะลายเส้นและรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าประกอบเข้าด้วยกันเป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเมืองไทยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน จนได้รับการสร้างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันไปทุกวัดทั่วประเทศ



    2. สมเด็จโตอาจไม่ใช่ผู้สร้างพระเนื้อผงเป็นคนแรก

    ข้อมูลจากพระเนื้อผงของวัดทัพเข้า สุโขทัย น่าจะบ่งถึงอายุการสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายซึ่งก่อนสมเด็จโต หรือในกรุงเทพมหานครด้วยกันก็เป็นไปได้ว่าพระเนื้อผงของวัดเงินคลองเตย จะสร้างขึ้นไรเรี่ยกัน หรืออาจจะสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่อนพระสมเด็จโตยุคแรก

    ทั้งนี้อยู่ที่สมมติฐานที่เคยเล่าให้ฟังว่าพระสมเด็จสร้างขึ้นเมื่อไร

    ถ้าสมเด็จโตสร้างพระเครื่องตั้งแต่บวชใหม่ ๆ ก่อนที่หลวงปู่ดำวัดอมรินทรารามเขียนไว้ พระสมเด็จก็อาจเกิดก่อนพระวัดเงินก็เป็นได้



    3. สมเด็จโตเป็นคนแรกที่ผสมมวลสารลงในพระ

    ผงวิเศษห้าประการจากการลบผงด้วยคาถา ปัถมัง อิทธิเจ มหาราช ตรีนิสิงเห และพุทธคุณตามลำดับ รวมทั้งสิ่งของในชีวิตประจำวันของท่าน เช่น ดอกไม้แห้ง ข้าวสุก อาหารที่แบ่งก่อนฉัน ใบลาน ชานหมาก ไคลเสมา เศษพระเก่า ฯลฯ เหล่านี้เป็นมวลสารรองที่ผสมเข้ากับปูนเปลือกหอยที่เป็นมวลสารหลัก เพื่อเพิ่มคุณวิเศษในตัวพระสมเด็จ ก่อนปลุกเสกครั้งสุดท้ายด้วยคาถาชินบัญชร

    มวลสารเหล่านั้นประกอบเป็นการสร้างรูปเหมือนพระพุทธเจ้าโดยไม่ผ่านการกระบวนการความร้อนของไฟหรือเตโชธาตุ มีแต่ธาตุที่ให้ความร่มเย็นของธาตุน้ำ ธาตุดินและธาตุลม

    ปูนเปลือกหอยและมวลสารคือธาตุดิน น้ำอ้อยและน้ำมันตังอิ้วซึ่งเป็นตัวประสานให้ยึดเกาะเป็นธาตุน้ำ การผึ่งให้แห้งในร่มอาศัยธาตุลม

    แล้วธาตุไฟหายไปไหน

    เพื่อให้ครบธาตุทั้ง 4 ผู้ศรัทธาต้องนำพระสมเด็จขึ้นคอใช้บูชา เป็นการให้ธาตุไฟจากความอบอุ่นของร่างกายทีละน้อย ทำให้เกิดความสมบูรณ์ของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกับอากาศธาตุจากการนำพระสมเด็จติดตัวไปสถานที่ต่าง ๆ ถือเป็นครบถ้วนตามองค์ธาตุ

    พระสมเด็จจึงเป็นพระเนื้อผงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้บูชามากกว่าพระชนิดอื่น มีการเปลี่ยนแปลงแบบวันต่อวันมากกว่าพระเบญจภาคีอีก 4 องค์อย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะพระนางพญา พระรอด พระกำแพงเพชร และพระผงสุพรรณล้วนสำเร็จด้วยธาตุไฟคือผ่านการเผาในเตา เป็นการครบถ้วนธาตุทั้ง 4 ตั้งแต่เป็นองค์พระ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อใช้บูชา



    4. สมเด็จโตเป็นผู้ริเริ่มให้คนไทยเก็บพระไว้กับตัว

    สมัยนั้นคนไทยมองพระเครื่องในฐานะของสูงเกินกว่าที่จะเก็บไว้ในครอบครอง เพราะเชื่อตรงกันว่าพระเครื่องเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ต้องอยู่ที่วัดเท่านั้น ดุจเดียวกับพระพุทธรูปที่เก็บไว้ที่วัดอย่างเดียว

    บ้านเรือนไทยสมัยก่อนไม่มีห้องพระอย่างสมัยนี้ อยากไหว้พระก็ไปที่วัดข้างบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทุกหมู่บ้าน

    คนไทยพกติดตัวก็แต่เครื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด เบี้ยแก้ เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ศิวลึงค์ ฯลฯ ซึ่งเป็นของสร้างจากกฤติยาคมตามแบบไสยศาสตร์ ตามคัมภีร์อาถรรพณ์เวทย์ของศาสนาพราหมณ์ ถือเป็นของต่ำกว่าพระเครื่องหรือพระพุทธรูป จึงใช้ติดตัวได้

    อีกประการหนึ่ง สมเด็จโตคงมองเห็นอนาคตของประเทศไทยไว้แล้ว ว่าจะปราศจากศึกสงครามและมีบทบาททางค้าขาย ท่านจึงได้บรรจุพุทธคุณแห่งความเมตตาและปกป้องรักษาดุจกำแพงแก้วสำหรับเป็นหน้าต่าง (บัญชร) แห่งพุทธศาสนาไว้ในผงวิเศษทั้ง 5 และคาถาชินบัญชร

    หลังจากท่านมรณภาพไม่นาน ประเทศไทยเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 และไม่มีศึกมากระทบจากประเทศเพื่อนบ้านอีก เนื่องจากต่างตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก จะมีก็แต่มารุกรานเพื่อจะแย่งดินแดนของประเทศตะวันตกเหล่านั้น

    ทางออกของประเทศไทยไม่ใช่ทำสงครามกับชาติที่อาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าอย่างชาติตะวันตก ต้องใช้การทูตและการเจรจาเท่านั้น จึงจะพาประเทศไปรอดได้

    นับว่าพระสมเด็จเป็นของขวัญที่สมเด็จโตมอบให้คนไทย ในมุมมองใหม่เกี่ยวกับการใช้บูชาพระเครื่องและอาศัยพุทธคุณปกป้องรักษามากกว่าใช้คุณไสยเครื่องรางของขลัง

    ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยสมัยนั้นจะให้ความนิยมกับพระเครื่องที่แปลกทั้งรูปแบบและศิลปะการสร้าง ความต้องการพระเครื่องของคนทำให้เกิดการสร้างพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จ ในรูปแบบสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าและมีองค์พระปฏิมาประทับบนบัลลังก์ 3 ชั้น อย่างเรียบง่ายและเส้นสายน้อยมาก ชาวบ้านทั่วไปเริ่มมีส่วนในการสร้างแม่พิมพ์แบบพระสมเด็จมาให้เกจิอาจารย์ที่นับถือสร้างพระให้ พระพิมพ์สมเด็จจึงได้รับการแพร่หลายออกไปเป็นวงกว้างจากศูนย์กลางของวัดระฆังออกไปรอบนอก

    ตัวอย่างของความนิยมได้แก่เสมียนตราด้วง เมื่อต้องการสร้างพระเครื่องจำนวน 84,000 องค์เท่าพระธรรมขันธ์ ยังเลือกจะสร้างพระเนื้อผงพิมพ์พระสมเด็จ ถึงกับไปอาราธนาสมเด็จโตมาเป็นประธานในการสร้าง และขอผงวิเศษของท่านมาผสมในพระสมเด็จบางขุนพรหม บรรจุไว้ในเจดีย์ใหญ่ประจำตระกูลที่วัดใหม่อมตรส

    ในสมัยสมเด็จโตยังมีชีวิต ต่อเนื่องไปจนหลังท่านมรณภาพแล้ว มีเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง เช่น ห่าปีระกาเมื่อปี 2416 กับการรบกับฝรั่งเศสในยุค รศ. 112 (พ.ศ. 2437) ทำให้เกิดความนิยมพระสมเด็จอย่างฉุดไม่อยู่ มีการสร้างพระสมเด็จอย่างต่อเนื่อง



    เส้นทางขยายตัว
    พระเนื้อผงพิมพ์พระสมเด็จมีการขยายตัวในเบื้องต้นจาก 2 กลุ่ม ด้วยกัน
    กลุ่มแรก จากสหายทางธรรมของท่านที่เรียกว่าสหธรรมิก ได้แก่ผู้ใกล้ชิดและมีพรรษาใกล้เคียงเป็นผู้ได้ประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น ไปธุดงค์ หรือมีความเห็นทางธรรมร่วมกัน ยังหมายถึงการใช้ผงวิเศษทั้ง 5 และคาถาชินบัญชรในการปลุกเสก อันได้แก่หลวงปู่ภู หลวงปู่ใหญ่และหลวงปู่คำ
    กลุ่มหลัง เป็นกลุ่มของลูกศิษย์ทั้งที่เป็นสัทธิวิหาริก คือ ลูกศิษย์ที่สมเด็จโตบวชให้และอันเตวาสิก คือบวชจากที่อื่นแล้วมาเป็นลูกศิษย์ท่านที่วัดระฆัง
    พระพุทธบาทปิลันทน์ หลวงปู่ปั้น พระหลวงปู่อ้น รวมทั้งพระภิกษุอีกหลายรูปในวัดระฆัง เช่น พระธรรมถาวร (ช่วง) ก็อยู่ในกลุ่มนี้



    ตอนต่อไปจะพูดถึงพระเนื้อผงพิมพ์พระสมเด็จซึ่งเป็นผลงานของทั้ง 2 กลุ่มว่าท่านเหล่านั้นมีบทบาทอย่างไรในการทำให้พระสมเด็จได้รับความนิยมยิ่ง ๆ ขึ้น
     
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เส้นทางขยายตัวของพระสมเด็จ ตอนที่ ๒

    วิทัชวาที

    Posted on June 19, 2012 by admin
    ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕

    ถ้าท่านอ่านหนังสือพระเครื่อง ดูเน็ต คุยกับคนขายพระ หรือใครอื่นที่ชำนาญด้านพระเครื่องหลวงปู่ภูแล้วได้ความว่าพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จของหลวงปู่มีเฉพาะพิมพ์แซยิด แปดชั้น เจ็ดชั้น สามชั้นทรงเจดีย์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์แขนกลม แขนหักศอก หูติ่ง หูบายศรี นอกนั้นเป็นพิมพ์อุ้มบาตร ไสยาสน์ ลีลา ห้าเหลี่ยม ปิดตา ละก็

    อย่าเพิ่งเชื่อ

    อ่านบทความนี้ให้ตลอด แล้วใช้วิจารณญาณของท่านดู
    เพราะพระหลวงปู่ภูมีมากกว่าที่ลงในหนังสืออีกมากมาย ที่เล่นหากันตามที่พูดถึงข้างต้นคือพระยุคสุดท้ายของท่านเท่านั้น



    ประวัติหลวงปู่ภู

    หลวงปู่ภูท่านเป็นพระที่อายุยืนถึง 104 ปี ท่านเกิดปี พ.ศ. 2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 มรณภาพในปี พ.ศ. 2476 สมัยรัชกาลที่ 7 เท่ากับท่านเป็นคน 5 แผ่นดินทีเดียว

    หลวงปู่เป็นคนจังหวัดตาก ท่านบวชและจำพรรษาอยู่วัดท่าคอยระยะหนึ่งก่อนจะธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ พร้อมกับพระพี่ชายคือหลวงปู่ใหญ่ และมาถึงกรุงเทพปักกลดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์สมัยยังเป็นป่าชัฏ ก่อนที่จะถูกรัชกาลที่ 5 ซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพื่อสร้างวังบางขุนพรหมให้พระราชโอรสซึ่งเป็นต้นตระกูลของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพคนปัจจุบัน

    จากนั้นท่านมาจำพรรษาที่วัดสระเกศ ช่วยชีวิตคนป่วยโรคห่าระบาดได้ถึง 6 คน ก่อนจะย้ายมาจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม วัดท้ายตลาด แล้วมาอยู่วัดอินทรวิหารในปี พ.ศ. 2432

    ประวัติยังพูดถึงการร่วมธุดงค์ไปกับสมเด็จโตและหลวงปู่ใหญ่ เจอเหตุการณ์แปล ก ๆ ที่ท่านกลับมาเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง รวมทั้งการสร้างวัตถุมงคลตอนมาอยู่วัดอินทร์หลังจากสมเด็จโตและหลวงปู่ใหญ่มรณภาพ ไม่สร้างแข่งตอนทั้งสองยังมีชีวิตอยู่

    ประวัติไม่พูดถึงว่าท่านมาถึงกรุงเทพปีไหน รู้จักสมเด็จโตเมื่อไหร่

    เท่าที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์ประวัติสมเด็จโต ท่านน่าจะออกจากกรุงเทพไปออกธุดงค์ตามจังหวัดต่าง ๆ ตอนรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2367 และกลับเข้ากรุงเทพเพื่อเข้าเฝ้าตามบัญชาตามตัวของรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ. 2397 ปีนั้นหลวงปู่ภูอายุ 24 ปี บวชได้ 3 พรรษา

    ดังนั้นมีความเป็นไปได้ 2 กรณี

    กรณีแรก หลวงปู่ภูกับหลวงปู่ใหญ่เริ่มออกธุดงค์ก็ได้พบกับสมเด็จโตในยุคปลายรัชกาลที่ 3 ต้นรัชกาลที่ 4

    กรณีหลัง พระสองพี่น้องมารู้จักสมเด็จโตสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังแล้ว ซึ่งกรณีนี้คงยากที่จะเป็นไปได้ที่พระบ้านนอก 2 องค์จะมารู้จักสมเด็จโตซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมดิลก ซึ่งเป็นตำแหน่งพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ถึงขนาดไปธุดงค์ด้วยกัน

    ผู้เขียนจึงขอฟันธงไว้ว่าหลวงปู่ภูเป็นสหธรรมมิกคือสหายทางธรรมที่สนใจด้านวิปัสนาและออกธุดงค์ด้วยกัน ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์สมเด็จโต แม้วัยจะต่างกันถึง 42 ปีก็ตาม

    อีกทั้งจากปีที่ท่านเข้ากรุงเทพจนท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารในปี 2438 ก็ล่วงเวลาไปถึง 30 ปีเศษ สมเหตุสมผลที่ท่านใช้เวลาฝึกวิชา 6 ประการอันได้แก่ เมฆกสิณ สันโดษ สมถกรรมฐาน วิปัสสนาธุระ และเพ่งกสิณปลุกเสกน้ำมนต์เดือด

    ในความเห็นผู้เขียน วิชาเหล่านี้ไม่มีลำดับที่จะต่อเนื่องกัน เพราะในการฝึกสมาธิต้องเริ่มจากสันโดษก่อน จึงจะเริ่มสมถกรรมฐานก่อนจะไปเพ่งกสิณซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกวิปัสนากรรมฐานอยู่แล้ว คงมิได้ฝึกเป็นรายวิชาโดยใช้เวลาถึงวิชาละ 10 ปีอย่างที่อ่านเจอ แต่ที่ใช้เวลาหลายสิบปีแสดงถึงความเด็ดเดี่ยวในการปฏิบัติธรรมของท่าน

    หลวงปู่ภูสร้างพระเมื่อไหร่

    ประวัติท่านบอกว่าท่านสร้างพระหลังจากสมเด็จโตและหลวงปู่ใหญ่มรณภาพแล้ว เรารู้ว่าสมเด็จโตมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2415 แต่ไม่มีการกล่าวถึงว่าหลวงปู่ใหญ่มรณภาพเมื่อใด

    เกจิรุ่นเก่าจะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไม่ใช่เฉพาะลูกศิษย์จะไม่สร้างวัตถุมงคลเมื่ออาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ แม้แต่ศิษย์พี่ศิษย์น้องก็ไม่ทำเช่นกัน ยกตัวอย่างหลวงปู่ดู่ หลวงปู่สี และอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ที่วัดสะแก อยุธยา หลวงปู่สีสร้างพระเมื่อาจารย์เฮงถึงแก่กรรม และหลวงปู่ดู่สร้างพระเมื่อหลวงปู่สีมรณภาพ

    ผู้เขียนสันนิษฐานว่าหลวงปู่ภูสร้างพระของท่านครั้งแรกหลังจากอายุครบ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2433 ช่วงที่ท่านกลับมาอยู่วัดอินทร์วิหารในปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา ซึ่งในช่วงนั้นความนิยมในการสร้างพระพิมพ์สมเด็จเริ่มแพร่หลายออกไป

    จึงไม่น่าแปลกใจที่พระเครื่องชุดแรก ๆ ของท่านพิมพ์คล้ายพระสมเด็จโตมาก เช่น พิมพ์ฐานแซมวัดระฆังหรือพิมพ์แปดชั้นหูหิ่ง ยุคนั้นที่วัดอินทรวิหารคงมีแม่พิมพ์พระสมเด็จเหลือตกค้างอยู่ เพราะพระสมเด็จบางขุนพรหม 84,000 องค์ก็ตำผงและกดพิมพ์ที่นั่น

    ดังนั้นพระสมเด็จยุคแรกของหลวงปู่ภูจึงเป็นพิมพ์เลียนแบบพระสมเด็จของวัดระฆังและบางขุนพรหม เนื้อหามวลสารก็ใกล้เคียงกัน

    ส่วนพระสมเด็จยุคสองน่าจะเป็นยุคที่ท่านมีพิมพ์ทรงต่างจากพิมพ์สมเด็จโตและมีสูตรผสมผงของตัวเอง จึงเป็นพระเนื้อผงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว น่าจะสร้างในช่วงหาทุนทรัพย์ เพื่อมาสร้างพระยืนต่อจากสมเด็จโตจนถึง พ.ศ. 2467 ตอนท่านอายุมากถึง 94 ปี จึงได้มอบให้พระครูสังฆบริบาลปฏิสังขรณ์ต่อ

    พระยุคที่สามซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของท่านคือพระชุดแซยิดที่ทำขึ้นเพื่อฉลองอายุ 100 ปี เข้าใจว่ามีการเอาแม่พิมพ์เก่า เช่น พิมพ์แปดชั้นหูติ่ง มาสร้างพระเครื่องพร้อมกับแม่พิมพ์ใหม่ที่แกะพิมพ์สำหรับงานแซยิดโดยเฉพาะ

    พระยุคนี้คือพระหลวงปู่ภูที่ราคาแพงและเล่นหาในวงการพระเครื่อง โดยไม่สนใจว่าจากปี พ.ศ. 2435 ที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร จนถึงงานแซยิดปี พ.ศ. 2473 เป็นเวลา 38 ปีที่ผ่านไป เป็นไปได้หรือที่ความนิยมพระสมเด็จสูงถึงขนาดคนไทยเที่ยวเสาะหาพระพิมพ์สมเด็จไปทุกที่ แม้แต่พยายามตกพระที่เก็บในกรุบางขุนพรหม วัดอินทรวิหารที่อยู่ใกล้กันมีหรือจะไม่มีการสร้างพระสมเด็จขึ้นมา

    ฉะนั้นประมาณดูคร่าว ๆ ในช่วงเวลา 41 ปีที่ท่านอยู่วัดอินทรวิหาร พระที่สร้างมีถึง 3 ยุค รวมกันน่าจะมีจำนวนหลายพันองค์ อาจจะเป็นหมื่นองค์ด้วยซ้ำ ถ้าไม่คิดว่าท่านจะเลียนแบบสมเด็จโต คือสร้างให้ครบ 84,000 องค์เท่าพระธรรมขันธ์



    ของดีหลวงปู่ภู

    ผู้อ่านทราบไหมว่าปัจจุบันยังมีการชุมนุมลูกศิษย์สายหลวงปู่ภูทุกเดือนทางบ้านฝั่งธนบุรีเพื่อสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ และประกอบพิธีกรรม โดยมีคุณยายท่านหนึ่งซึ่งถึงแก่กรรมแล้วเป็นตัวแทนของหลวงปู่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่ศิษย์ซึ่งมีคนเก่ง ๆ หลายคน

    ท่านเหล่านี้เป็นยิ่งกว่าสายตรงหลวงปู่ภูที่อวดอ้างกันในวงการพระเครื่อง เพราะท่านเป็นลูกศิษย์ที่ผ่านการครอบครู และสามารถสัมผัสพระเครื่องแล้วรับรู้พลังการปลุกเสกได้ว่าใช่พระของหลวงปู่หรือไม่

    แต่ละท่านจะได้วิชาของหลวงปู่ภูไม่เหมือนกัน เพราะหลวงปู่ภูมีวิชามากมายทั้งทางธรรมและทางหมอ

    ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์กับศิษย์กลุ่มนี้ที่อยากจะเล่าให้ฟัง โดยเป็นคนกลางสื่อให้ไม้เท้าครูของหลวงปู่ภูได้กลับมาอยู่กับศิษย์ท่านหนึ่งที่ผู้เขียนเคารพเป็นอาจารย์

    เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนรู้จักกับเปี๊ยกซึ่งเป็นเซียนพระตัวจริงเสียงจริงที่ไม่ออกตัวและเซียนพระรุ่นใหม่ไม่รู้จัก เขาเป็นคนที่รู้จริง สนใจค้นคว้า และหลุดพ้นจากวงจรขายพระประเภทขายเพื่ออยู่ไปวัน ๆ โดยหันมาสะสมเครื่องรางของขลังและพระพุทธรูปยุคเก่ามากกว่าพระเครื่องยังมีอยู่บ้าง

    วันหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนอยู่ในร้านเปี๊ยกแถวสวนจตุจักร แล้วไปเห็นไม้เท้าครูอยู่ 2, 3 อันอยู่ในตู้โชว์ ก็เลยถามว่ามีไม้เท้าหลวงปู่ภูหรือไม่

    เปี๊ยกบอกว่า มี และหนึ่งในที่เห็นนั่นคือไม้เท้าหลวงปู่

    ความที่สนิทสนมกันและรู้ว่าผู้เขียนจะขอเช่าบูชาเพื่อให้อาจารย์ที่รู้จักที่เป็นศิษย์สายตรงของหลวงปู่ภู เปี๊ยกเลยขายให้ในราคามิตรภาพ ผู้เขียนนำไปมอบให้อาจารย์ท่านนั้นเข้าพิธีโดยคุณยายยืนยันว่าใช่ ทำพิธีรับขวัญพร้อมกับเสริมพลังให้สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ทราบว่าไม้เท้าอันนั้นไประหกระเหินที่ใดมาบ้าง

    อาจารย์ที่นับถือของผู้เขียนจึงได้ใช้ไม้เท้าหลวงปู่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือและเสริมบุญบารมีให้ผู้นับถือจากนั้นเป็นต้นมา

    เมื่อสองเดือนก่อนผู้เขียนก็ได้ทราบว่าดีจากอาจารย์อีกว่า

    ไม้เท้านั้นไม่ใช่ไม้เท้าหลวงปู่ภูอย่างเดียว แต่เป็นไม้เท้าครูที่หลวงปูใช้เป็นประจำ
     
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เส้นทางขยายตัวของพระสมเด็จ ตอนที่ ๓
    Posted on June 26, 2012 by admin
    ในเส้นทางฯ 2 ผู้เขียนทิ้งท้ายไว้ว่าพระหลวงปู่ภูที่สร้างที่วัดอินทรวิหารน่าจะมีจำนวนหลายพันองค์ หรืออาจถึงหมื่นองค์ด้วยซ้ำ

    แล้วพระเนื้อผงสูตรสมเด็จโตที่ผสมผงวิเศษเหล่านั้นไปไหนหมด
    ส่วนหนึ่งท่านนำไปฝากกรุหรือแจกจ่ายที่วัดเกาะราชบุรี ซึ่งมีพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กยืนพื้น อีกจำนวนมากยังอยู่ในมือนักเล่นพระรุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็นพระหลวงปู่ภูยุคแรก หรือพระพิมพ์สมเด็จบ่อน้ำมนต์วัดอินทร์ที่ยังมีหลงเหลืออยู่ แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

    อย่าว่าแต่พระพิมพ์สมเด็จบ่อน้ำมนต์วัดอินทร์เลย ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ว่าวัดระฆังก็มีพระพิมพ์สมเด็จบ่อน้ำมนต์เหมือนกัน คนยิ่งรู้จักน้อยเข้าไปอีก

    ข้อเสียของผู้ชำนาญด้านพระสมเด็จ คือเอะอะมักจะเอาพระพิมพ์สมเด็จที่ไม่ทันท่านบ้าง เป็นของลูกศิษย์หรือเกจิอาจารย์ท่านอื่นบ้าง โมเมเป็นพระสมเด็จโตหมด หรือไม่ก็อ้างว่าอาจจะทันท่านบ้าง

    ถ้าเราศึกษาให้ดีจะรู้ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว หลัง พ.ศ. 2416 ซึ่งห่าปีระกาทำให้คนแสวงหาพระสมเด็จมากมายเกิดเป็น demand หรือความต้องการขึ้นฉับพลัน วัดต่าง ๆ โดยเฉพาะวัดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่านหรือเกจิอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ย่อมมีการสร้างพระสมเด็จมาสนองความต้องการ จึงเป็น supply chain หรือห่วงโซ่การจัดหาให้แก่สาธุชนที่มีความศรัทธา

    ฉะนั้นในยุคหลวงปู่ภูย่อมมีการสร้างพระพิมพ์สมเด็จมากมายหลายวัด เพียงแต่เซียนพระปัจจุบันขี้เกียจหาความรู้ พระพิมพ์สมเด็จยุคหลังที่ไม่ทันสมเด็จโตถ้ามีเนื้อหามวลสารหรือพิมพ์ทรงใกล้เคียง จะถูกยัดวัดให้เป็นวัดของสมเด็จโต และมั่วว่าทันท่านปลุกเสกหมด

    ส่วนพระที่เนื้อหาไม่ถึงหรือพิมพ์ทรงไม่ใช่ ก็ตีเหมาเป็นพระไม่แท้ไม่มีราคา ทั้งที่เป็นพระดีที่ผ่านกระบวนการปลุกเสกแบบพระสมเด็จโตด้วยซ้ำ

    ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๕

    หลวงปู่ใหญ่

    คราวนี้จะพูดถึงพระอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นสหายทางธรรมและเป็นพี่ชายของหลวงปู่ภู

    นั่นคือหลวงปู่ใหญ่

    เท่าที่มีประวัติเอ่ยถึงท่านเพียงเป็นพี่ชายและนำหลวงปู่ภูเดินธุดงค์ตามป่าเขาเพื่อฝึกกัมมัฏฐานจนเข้ากรุงเทพมาหาสมเด็จโตที่รู้จักกันตอนเดินธุดงค์
    เมื่อหลวงปู่ภูไปอยู่วัดสระเกศ วัดท้ายตลาด และลงเอยที่วัดอินทรวิหาร หลวงปู่ใหญ่ไปด้วยหรือไม่ ไม่ปรากฎชัดเจน

    จากทำเนียบเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ระบุว่าหลวงปู่ภูเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 – 2467 โดยเจ้าอาวาสองค์แรกคือเจ้าคุณอรัญญิกเถระซึ่งเป็นชาวเวียงจันทน์ ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ. 2321

    ระหว่างนั้นไม่มีประวัติว่าระยะเวลาร้อยกว่าปีจาก พ.ศ. 2321 ถึง พ.ศ. 2435 มีใครเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมาก่อนถึงหลวงปู่ภูหรือไม่
    เป็นไปได้ไหมว่าหลวงปู่ใหญ่มาวัดอินทรวิหารด้วย และอาจได้เป็นเจ้าอาวาสก่อนหลวงปู่ภู เพียงแต่ประวัติไม่ได้ลงไว้ และพระพิมพ์สมเด็จบ่อน้ำมนต์ก็อาจเป็นผลงานของท่านก่อนมรณภาพในปี 2435 หลวงปู่ภูถึงได้เป็นเจ้าอาวาสและเริ่มสร้างพระเครื่องของท่านเองจากนั้นมา
    อีกประการหนึ่ง การเอ่อยเฉพาะชื่อหลวงปู่ใหญ่เฉย ๆ โดยไม่มีฉายาธรรมหรือชื่อฆราวาสซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ชื่อใหญ่ แต่อาจมีความหมายถึงหลวงปู่ใหญ่ที่ไม่มีที่มาที่ไป ปรากฎตัวได้ทุกยุคทุกสมัยจนถึงในปัจจุบัน

    คำว่า “หลวงปู่ใหญ่” อาจหมายถึงหรือมีอีกนัยะหนึ่งก็คือหลวงปู่เทพโลกอุดร เพราะท่านเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตาหล่อเหลา แต่ผมขาวทั้งศีรษะ



    หลวงปู่เทพโลกอุดรคือใคร

    ย้อนกลับไปสมัยพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งคณะสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ไปเผยแผ่ศาสนายังต่างประเทศถึง 8 คณะ หนึ่งในคณะนั้นก็คือ พระโสณะและอุตระให้เดินทางมาทางดินแดงสุวรรณภูมอันเป็นที่ตั้งของไทยและประเทศใกล้เคียงในปัจจุบัน

    พระโสณะมีกล่าวไว้ในบันทึกโบราณ แต่พระอุตระกลับไม่มีบันทึก คนทั่วไปจึงมีความเชื่อว่า

    พระครูเทพโลกอุดรก็คือพระอุตระนั่นเอง

    ถ้าเป็นเช่นนั้น เท่ากับท่านมีอายุกว่า 2,000 ปี แล้ว

    เป็นไปได้อย่างไร

    เป็นไปได้ ถ้าเข้าใจว่าพระภิกษุที่บรรลุอรหันต์ภูมิท่านอยู่เหนือกาลเวลา สามารถเลือกจะไปนิพพานในอายตนนิพพานซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลาอยู่แล้ว

    หรือเลือกที่จะอยู่ในโลกนี้ต่อไป โดยอธิษฐานจิตเปลี่ยนรูปและสังขารไปเรื่อย ๆ

    ดังนั้นหลวงปู่ใหญ่หรือหลวงปู่เทพโลกอุดรจึงเป็นอมตะ มีคนพูดถึงว่าท่านไปเป็นพระภิกษุองค์โน้นองค์นี้บ้าง เช่นเป็นหลวงปู่เดินหน หลวงปู่โพรงโพธิ์ และพระภิกษุองค์อื่น ๆ ล้วนเป็นกายธรรมของหลวงปู่เทพโลกอุดรทั้งสิ้น

    ข้อสันนิษฐานนี้อาจเข้าได้กับพระพิมพ์สมเด็จอีก 2 ชุดใหญ่ซึ่งวงการพระเครื่องส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ แต่ปัจจุบันมีการกล่าวขานและเขียนถึงจากผู้รู้ที่ไม่หวังผลทางพุทธพาณิชย์

    นั่นคือพระสมเด็จวัดพระแก้ววังหน้าหรือพระสมเด็จวังหน้า และพระผงหลวงปู่เทพโลกอุดรซึ่งพระทั้งสองชุดนี้ไม่ทันสมเด็จโตแน่นอน แต่ว่ากันว่าหลวงปู่เทพโลกอุดรปลุกเสกให้วังหน้าซึ่งทรงเป็นลูกศิษย์ของท่าน พระสมเด็จวัดพระแก้ววังหน้าเป็นแบบพิมพ์สี่เหลี่ยม ส่วนพระของหลวงปู่เทพโลกอุดรจะเป็นพิมพ์รูปเหมือนแบบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก

    นับว่าลงตัวกับพระพิมพ์สมเด็จชุดบ่อน้ำมนต์ของวัดอินทรวิหารด้วยว่าอาจเป็นผลงานการสร้างของหลวงปู่เทพโลกอุดร ถ้าท่านเป็นหลวงปู่ใหญ่พี่ชายหลวงปู่ภูจริง



    หลวงปู่คำวัดอัมรินทร์

    สหายทางธรรมอีกองค์ของสมเด็จโต คือ หลวงปู่คำซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอมรินทรารามหรือชื่อเดิมว่าวัดบางหว้าน้อย อยู่ใกล้วัดระฆังซึ่งมีชื่อเดิมว่าวัดบางหว้าใหญ่ โดยมีวังหลังคั่นกลาง

    หลวงปู่คำมีพรรษาสูงกว่าสมเด็จโต จึงถูกเรียกว่าพี่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยท่านมีส่วนช่วยสมเด็จโตสร้างพระ และมีความรู้เกี่ยวกับพิมพ์พระสมเด็จเป็นอย่างดีถึงกับเขียนบันทึกไว้อย่างละเอียดถึงพิมพ์ทรงและเนื้อหามวลสาร รวมทั้งเวลาที่สร้างและสมณศักดิ์ของสมเด็จโตในขณะนั้น

    บันทึกนี้ได้ตกทอดไปยังพระครูปลัดมิศร์ แล้วคัดลอกมาถึงนายจอน วงศ์ช่างหล่อซึ่งเป็นหลานของหลวงวิจิตรนิรมล (พึ่ง ปฏิมาปกรณ์) ผู้สร้างสรรค์พิมพ์ทรงพระสมเด็จให้กับสมเด็จโตคู่กับหลวงวิจารณ์เจียรนัย

    ต่อมาหลานชายของท่านคือนายแฉล้ม โชติช่วงได้นำมาพิมพ์พร้อมรูปถ่ายพระสมเด็จร่วมกับนายมนัส ยอขันธ์ในชื่อสมเด็จโต เป็นหนังสือปกแข็งเล่มหนามีภาพพระพิมพ์ต่าง ๆ ของสมเด็จโตตั้งแต่ยุคแรกที่ท่านเริ่มสร้างพระและยังไม่เป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก

    หนังสือเล่มนี้ดีด้วยภาพพระที่ชัดเจนพร้อมคำบรรยายอย่างละเอียด หน้าต่อหน้า รูปต่อรูป นับเป็นตำราที่ใช้อ้างอิงถึงพิมพ์ทรงอันหลากหลายของสมเด็จโตได้

    ผู้เขียนเองก็ใช้ตำราเล่มนี้เสาะหาพิมพ์แปลก ๆ ของสมเด็จโตเมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่ในปัจจุบันพระสมเด็จพิมพ์แปลก ๆ เหล่านั้นหายากขึ้น ส่วนใหญ่ที่เห็นมักจะเป็นของลอกแบบที่ไม่แท้ออกมาหลอกขายคนไม่รู้

    หลวงปู่คำเองไม่มีคนเขียนถึงประวัติท่าน แต่ถ้าดูจากบันทึกของท่าน หลวงปู่คำน่าจะอายุยืนกว่าสมเด็จโต และน่าจะมรณภาพทีหลัง ถึงได้รวบรวมพิมพ์ต่าง ๆ ได้มากมาย และต่อมาในยุคที่สมเด็จโตมรณภาพแล้ว ท่านคงได้สร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นมาบ้าง เพื่อสนองความต้องการของคนละแวกนั้น หลังจากพระสมเด็จได้หมดจากวัดระฆัง

    จำนวนพระพิมพ์สมเด็จของหลวงปู่คำยังมีให้เห็นในตลาดพระเครื่องจากนักเล่นพระรุ่นเก่าซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากเซียนพระทั่วไป เพราะไม่รู้จักและไม่สนใจค้นคว้า

    คุณูปการของท่านอยู่ที่บันทึกและประวัติบางตอนของสมเด็จโต นอกเหนือจากการเผยแพร่พิมพ์พระสมเด็จอันหลากหลายให้คนรุ่นหลังได้รู้จักว่า

    พระสมเด็จวัดระฆังนั้น มีมากมายเหลือคณานับสมกับทีท่านได้สร้างพระ 84,000 องค์ ตามพระธรรมขันธ์ถึง 2 ครั้งในชีวิต

    ซึ่งเป็นสมบัติที่คงอยู่ต่อไปคู่แผ่นดินไทย ไม่ใช่มีแค่ไม่กี่ร้อยกี่พันองค์อย่างที่นิยมเช่าหากันด้วยราคาแพงลิบลิ่ว จนคนด้อยทุนทรัพย์ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของ
     
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เส้นทางขยายตัวของพระสมเด็จ ตอนที่ ๕
    Posted on August 2, 2012 by admin
    ๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

    ไม่นับพระพระพุทธุปบาทปิลันทน์ที่ได้เล่าให้ฟังเมื่อตอนก่อน ศิษย์ใกล้ชิดอีก 2 องค์เป็นที่รู้จักเพราะพระพิมพ์สมเด็จที่ท่านสร้างเลียนแบบสมเด็จโต

    นั่นคือหลวงปู่ปั้น และหลวงปู่อ้น
    แต่ท่านเชื่อไหม มีคนพูดถึงประวัติพระทั้ง 2 องค์น้อยกว่าพระเครื่องของท่าน หลวงปู่ทั้งสองมีประวัติให้ค้นน้อยมาก นักเขียนรุ่นเก่าไม่สนใจจะล้วงลึกไปกว่าข้อมูลที่ว่าหลวงปู่ปั้นไม่ได้อยู่วัดสะพานสูง บางซื่อ หรือความจริงที่ว่าแท้จริงแล้วหลวงปู่อ้นท่านเป็นหม่อมราชวงศ์หรือชาวบ้านทั่วไป

    ทั้งสองถูกกล่าวขานว่าเป็นศิษย์สมเด็จโตทั้งคู่

    แต่เป็นศิษย์โดยตรง หรือศิษย์รุ่นหลังประเภทหลานศิษย์

    เพราะหลวงปู่ปั้นท่านเกิด พ.ศ. 2404 กว่าจะบวชเณรได้ สมเด็จโตก็มรณภาพไปแล้ว ส่วนหลวงปู่อ้นไม่มีใครรู้วันเดือนปีเกิดและมรณภาพของท่าน

    เหล่านี้คือสิ่งที่แสดงถึงผลกลวงภายในของวงการพระเครื่องในปัจจุบัน ที่เล่นเป็นแต่พระเครื่อง แต่ไม่สนใจข้อมูลหรือการค้นคว้าให้ลึกลงไป

    ทำไมหรือครับ

    เหตุผลก็คือ

    1. ไม่มีนักเขียนหรือผู้รู้เหลืออยู่แล้ว นักเขียนบทความทั้งหลายไม่มีสนามให้ลงปากกา เพราะนิตยสารพระเครื่องหลังปี 2540 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แปรสภาพตามนิตยสารดัชนีพระ เน้นการขายพระมากกว่าจะให้ความรู้ กลายเป็นโบรชัวร์พระเครื่องไป ซึ่งก็แปลกอีก เพราะปกติโบรชัวร์ขายของจะแจกฟรี แต่โบรชัวร์พระเครื่องกลับต้องซื้อ

    2. พระเครื่องส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพระสมเด็จ กลายเป็นวัตถุโบราณไปแล้ว เพราะมีอายุเกิน 50 ปีถูกสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 ทั้งนั้น ไม่ต้องพูดถึงพระของหลวงปู่ปั้นหรือหลวงปู่อ้นที่ถูกสร้างมากกว่า 100 ปี ประวัติและเรื่องราวทั้งหลายไม่มีการบันทึกถึง

    3. วงการพระเครื่องให้เกียรติเกจิอาจารย์และผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างพระน้อยมาก ยกตัวอย่างพระเครื่องของเจ้าคุณนรฯ เป็นที่รู้กันว่าท่านมิได้เป็นผู้จัดสร้าง ไม่ใช่ทั้งผู้อำนวยการสร้างหรือผู้กำกับการแสดง ท่านเป็นนักแสดงที่มีบทบาทแค่ผู้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องเหล่านั้นในโบสถ์ โดยแผ่เมตตาจิตขณะสวดมนต์บทต่าง ๆ และหันหน้าหาพระประธาน หันหลังให้พระเครื่องเสียด้วยซ้ำ ผู้อยู่เบื้องหลังพระชุดวัดเทพศิรินทร์คือ เจ้าคุณอุดมสารโสภณ หรือในชื่อฆราวาสว่า นายผาสุก ขาวผ่อง

    ท่านถูกจำคุกในคดีเครื่องราชย์ ถูกจับสึกและเสียชีวิตก่อนมีคำพิพากษาเมื่อไม่นานมานี้ แต่ยังมีคนเขียนประวัติว่าบั้นปลายของชีวิตท่านได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าของแบงก์กรุงเทพ ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านถูกฟ้องถึง 113 คดี แต่ละคดีมีโทษจำคุกถึง 10 ปี และท่านจะถูกปล่อยตัวได้อย่างไร ยกเว้นได้รับพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด และเป็นคดีที่เสื่อมเสียถึงเบื้องบุคลบาท

    ไม่มีใครในวงการพระเอ่ยถึงท่านเลยเมื่อท่านเสียชีวิต

    อีกองค์หนึ่งก็คือพระครูสมุห์อำพล ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างพระเครื่องชุดวัดประสาทเมื่อปี 2506 จนถึง 2508 ท่านออกจากวัดประสาทไปอยู่วัดใกล้บ้าน อาพาธจนมรณภาพไปหลายปีแล้ว ไม่มีคนพูดถึงเลย

    วงการพระเครื่องมีแต่พูดถึงบุคคลที่ยกย่องกันเองให้เป็นปูชนียจารย์ เขาเหล่านั้นเป็นใครหรือ ก็คือคนขายหรือนักสะสมพระรุ่นเก่าที่เรียกว่าเซียน นักเรียนเก่า ๆ ไม่มีใครพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นประชุม กาญจนวัฒน์ เชียร ธีระศานต์ ถวัลย์ ศิริวัต มัตตัญญูที่ไม่มีใครรู้นามจริง หรือแม้แต่มนัส โอภากุล และอีกหลายท่านที่มิได้เอ่ยนาม

    ท่านเหล่านี้มีคุณูปการในการให้ความรู้ แต่เกจิอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประศาสน์คุณค่าให้กับพระเครื่องจากเศษหินเศษปูนจนมีราคาแพงลิบลิ่ว มีคนเอ่ยถึงหรือยกย่องบ้างไหม นอกจากลูกศิษย์สายตรงหรือชาวบ้านแถววัดเท่านั้น เพราะพระหมดไปจากวัดนานแล้ว

    ยกตัวอย่างหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค นครสวรรค์ ที่รูปหล่อองค์เล็กของท่านราคาใกล้หลวงพ่อเงินวัดบางคลานเข้าไปทุกทีแล้ว ถ้าหลวงพ่อไม่ทิ้งสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านไว้ให้กราบไหว้ ยังจะมีคนไปวัดช่องแค นครสวรรค์ อีกหรือ

    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

    ก็เพราะประวัติหรือความรู้เหล่านั้นขายไม่ได้ แต่พระของเกจิอาจารย์ขายได้ ขอได้เสริมเติมแต่งด้วยข้อมูลนั้น ๆ ประเภท copy and paste ก็จะมีข้อความหลอกชาวบ้านได้ว่าตัวเองมีความรู้เท่านั้นก็ขายพระได้

    ท่านไม่เชื่อก็ลองเสิร์ชไปใน google ดูประวัติของเกจิอาจารย์ท่านใดก็ได้ จะเห็นว่ามีซ้ำ ๆ กันในแต่ละเว็บไม่ว่าจะเป็นแบบให้ความรู้หรือหลอก จนไม่รู้ที่มาว่าใครเป็นคนเขียนคนแรก

    บทความในเว็บไซต์นี้ก็ถูกลอกไปลงเว็บต่าง ๆ มากมาย มีหลายแห่งที่คนโพสต์ไม่บอกที่มา ทำให้คนอ่านเข้าใจว่าตัวเองเป็นคนเขียน ได้รับคำชมและอนุโมทนามากมาย

    4. ขายพระดีกว่า บอกให้คนซื้อรู้มาก เผลอ ๆ ไม่ซื้อเสียอีก โดยเฉพาะพระเครื่องในสายที่ตัวเองถนัดหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญไว้คอยประทับตรารับรองความแท้ถ้าเป็นพระของพวกตัวเอง และไม่แท้หรือน่าสงสัยถ้าเป็นพระของคนอื่น เว็บขายพระที่มีการออกใบรับประกันก็มีปัญหาเวลานำพระไปขายที่อื่นหรือส่งงานประกวด กลายไปกลายมาก็มีวจีที่ว่า “แท้ที่ไหน เล่นที่นั้น” หรือแท้เฉพาะกลุ่มไป

    หนังสือที่ให้ความรู้พระเครื่องมีแต่หนังสือรุ่นเก่า ไม่มีคนค้นเพิ่ม ไม่มีคนเขียนเพิ่ม เพราะคนที่รู้ก็อายุมากหรือล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว บทความที่เห็นเขียนลงหนังสือพระเครื่องในปัจจุบันส่วนใหญ่ถ้าไม่รีไซเคิล ก็เป็น copy and paste ทั้งนั้น

    ถ้าพูดถึงพระเครื่องยุคหลังปี 2500 ก็ต้องหลังปี 2540 เลย เพราะวงการพระเครื่องตกต่ำที่สุด ที่พูดกันว่า “ซื้อพระเหมือนซื้อที่” เพราะมีแต่ขึ้น ก็ต้องเจ๊งหรือล้มเป็นแถวเพราะกลายเป็น “ซื้อพระเหมือนซื้อหุ้น” เพราะมีการปั่นขึ้นปั่นลง ถ้าท่านไม่เชื่อก็ดูจตุคามรามเทพเป็นตัวอย่าง ทั้งคนซื้อและคนขายต่างเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน

    เมื่อไม่มีข้อมูล ก็ขายวนเวียนอยู่กับพระที่มีประวัติแน่นอน ส่วนพระแท้ที่ไม่รู้ประวัติก็ถูกยัดเยียดให้เป็นพระไม่แท้ หรือไม่เล่นหาเพราะตัวเองไม่รู้

    ความรู้ในวงการพระเครื่องในปัจจุบันจึงถอยหลังเข้าคลอง มีแต่พระเครื่องที่ต้องขายแพง ๆ เพราะมีจำนวนจำกัดเฉพาะในกลุ่มของตนเท่านั้น พระนอกกลุ่มต่อให้ใช้ความรู้พื้นฐานเดียวกันก็กลายเป็นพระไม่แท้ไปแล้ว



    หลวงปู่ปั้น

    ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2404 มีฉายาทางพระว่าสุปันโน คนเข้าใจว่าท่านอยู่วัดสะพานสูง บางซื่อ เพราะมีพระนำพระสมเด็จของท่านไปแจกญาติโยมที่วัดนั้น ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ทองเสน ที่เกียกกายอยู่ไม่ไกลจากวัดสะพานสูงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 ถึง 2472 ต่อจากพระธรรมอุดม (ถึก) ซึ่งมีชื่อเสียงทางเทศน์คู่กับสมเด็จโต จากนั้นท่านไปอยู่วัดบางกระบือ (วัดประชากระบือธรรม) จนมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2475

    เมื่อดูตามปีเกิดแล้ว เป็นไปไม่ได้ว่าท่านเป็นศิษย์สมเด็จโต เพราะอายุห่างกันมาก และสมเด็จโตอายุมากแล้วคงไม่อยากรับลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ มากวนใจ ผู้เขียนสันนิษฐานว่าท่านน่าจะเป็นศิษย์พระพุทธุปบาทปิลันทน หรือแม้แต่เป็นศิษย์พระธรรมอุดมหรือหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ก็เป็นได้

    พระเครื่องของท่านมีมวลสารคล้ายพระสมเด็จ จนบางองค์ที่เนื้อจัดจ้านมาก ๆ เซียนรุ่นเก่าเอามาแกะพิมพ์ใหม่และหลอกขายเป็นพระสมเด็จวัดระฆังก็มี เพราะท่านสร้างพระค่อนข้างหนา

    พระเครื่องของท่านได้แก่ พระสมเด็จทรงกรวยฐาน 7 ชั้น พระพิมพ์สามเหลี่ยมและพระปิดตา จำนวนพระที่สร้างคาดว่าจะเป็นแค่หลักพัน และน่าจะสร้างขึ้นในช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ทองเสนถึง 42 ปี

    อนึ่งเมื่อ 10 กว่าปีก่อน มีข่าวว่ามีพระพิมพ์สมเด็จแตกกรุที่วัดใหม่ทองเสน และมีเซียนพระจำนวนมากเหมาเอาว่าเป็นพระไม่แท้นั้น

    ถ้าดูจากประวัติหลวงปู่ปั้นที่อยู่ที่วัดนี้ มีความเป็นไปได้มากที่เดียวว่าเป็นพระพิมพ์สมเด็จที่สร้างโดยหลวงปู่ปั้น ซึ่งไม่ทันสมเด็จโตอยู่แล้ว หรือไม่ก็เป็นเกจิรุ่นหลัง



    หลวงปู่อ้น

    ไม่มีใครรู้ประวัติของท่านว่าเกิดเมื่อไหร่ มรณภาพเมื่อไหร่ ฉายาทางธรรมมีว่าอย่างไร

    บางแห่งบอกว่า ท่านเป็นหม่อมราชวงศ์อ้น อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นศิษย์อาวุโสของสมเด็จโตที่วัดระฆัง ก่อนจะย้ายมาที่วัดปรกคลองอ้อม หรือวัดปรกสุธรรมาราม อัมพวา แล้วค่อยไปอยู่วัดบางจากและมรณภาพที่นั่น แหล่งข่าวเดียวกันยังระบุว่าท่านนำพระพิมพ์สมเด็จที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 ไปลงกรุไว้ที่วัดเกาะลอย ราชบุรี และวัดปรกคลองอ้อม หรือวัดสุธรรมาราม

    แหล่งข่าวที่สองบอกว่าท่านเป็นคนอัมพวา อยู่ละแวกวัดบางจากหรือวัดเกษมสรณาราม ไปบวชที่วัดระฆังและเป็นลูกศิษย์สมเด็จโตเหมือนกัน จนบิดาถึงแก่กรรมจึงได้ย้ายมาอยู่วัดบางจากโดยไม่เคยไปอยู่ที่อื่นเลย แถมยังบอกว่าท่านสร้างพระเหมือนอาจารย์ คือสร้างถึง 84,000 องค์เท่าพระธรรมขันธ์

    จะเชื่อใครดี เพราะสองแหล่งข่าวแตกต่างกันอย่างสิ้นเชืง ไม่ว่าชาติกำเนิดหรือแม้แต่บั้นปลายของชีวิต

    แหล่งข่าวแรกไม่น่าเชื่อถือถึงชาติกำเนิด หลวงปู่อ้น น่าจะเป็นลูกชาวบ้านธรรมดา ไม่ใช่ลูกเจ้า และที่เป็นศิษย์อาวุโสก็ไม่น่าใช่ ส่วนแหล่งข่าวหลังก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่พระบ้านนอก อยู่วัดบ้านนอก รักสันโดษ จะสร้างพระมากมายถึง 84,000 องค์

    รวมความแล้ว ทั้งสองแหล่งข่าวยังให้ข้อมูลที่ไม่ชัดกระจ่างทั้งคู่ เมื่อไม่รู้ประวัติก็ต้องใช้วิธีวิเคราะห์ว่า หลวงปู่อ้นเกิดประมาณ พ.ศ. ไหน และเริ่มสร้างพระเมื่อไหร่

    ถ้าคิดว่าเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต ก็ต้องอย่างน้อยอายุใกล้เคียงกับพระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเกิดปี พ.ศ. 2386 เมื่อบวชในปี พ.ศ. 2407 ยังทันที่จะให้สมเด็จโตเป็นอุปัชฌาย์ได้ เพราะอย่าลืมว่าก่อนท่านมรณภาพหลายปี สมเด็จโตจะไปควบคุมการสร้างพระโตตามที่ต่าง ๆ แล้ว ไม่ได้อยู่วัดระฆังเสียด้วยซ้ำ

    เหตุผลประการนี้ ยังทำให้แหล่งข่าวแรกเพี้ยนใหญ่ที่พูดว่าหลวงปู่อ้นสร้างพระลงกรุเมื่อปี 2480 เพราะเท่ากับตอนนั้นท่านอายุเก้าสิบกว่าปีแล้ว รวมความแล้วน่าจะเชื่อไม่ได้ทั้งหมด

    ส่วนแหล่งข่าวหลังพูดถึงท่านอยู่วัดบางจากอย่างเดียวก็พอเป็นไปได้ เพราะท่านเป็นพระบ้านนอก รักสันโดษ ก็คงอยู่วัดบางจากที่อยู่ใกล้บ้านจะได้ดูแลโยมมารดาได้



    ตามประวัติวัดบางจากหรือวัดเกษมสรณาราม สร้างโบสถ์เมื่อปี 2440 ท่านคงมาอยู่วัดหลังจากนั้น และถ้าจะทำพระพิมพ์สมเด็จก็คงอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง เพียงแต่ที่ว่าสร้างถึง 84,000 องค์นั้นไม่น่าเป็นไปได้ เพราะผู้เขียนเคยไปบ้านภรรยาเพื่อนที่อยู่อัมพวา และอยากดูพระสมเด็จหลวงปู่อ้นบ้าง ปรากฏว่ามีอยู่กับคนเก่าแก่เท่านั้น ถ้าสร้างจำนวนมากจริง ๆ ก็คงอยู่ในมือชาวบ้านมากกว่านี้ และที่ว่าไปลงกรุ 2 แห่งนั้นก็ยังไม่เห็นหลวงปู่อ้นที่มีคราบกรุเลย

    ผู้เขียนลองสมมติเล่น ๆ ดู เนื่องจากไม่มีข้อมูลให้อ้างอิงทั้งหลวงปู่ปั้นและหลวงปู่อ้นว่าทั้งสองหลวงปู่เป็นลูกศิษย์พระพุทธุปบาทปิลันทน์ทั้งคู่ ไม่ใช่ลูกศิษย์สมเด็จโต หลวงปู่อ้นน่าจะเกิดปี พ.ศ. 2400 เศษ และมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงปู่ปั้น ทั้งคู่เรียนรู้วิธีทำผงวิเศษ 5 ประการจากพระพุทธุปบาทปิลันทน์ซึ่งถ่ายทอดจากสมเด็จโต

    หลังจากพระพุทธุปบาทปิลันทน์สิ้นชีพิตักษัยลงในปี พ.ศ. 2443 ทั้งสองหลวงปู่จึงเริ่มสร้างพระ ช่วงนั้นหลวงปู่ปั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ทองเสน และหลวงปู่อ้นกลับไปอยู่วัดบางจากที่อัมพวาแล้ว

    เนื่องจากอาจารย์ท่านสร้างพระปิลันทน์ซึ่งต่างจากพระสมเด็จทั้งเนื้อหาและพิมพ์ทรง หลวงปู่ทั้งสองย่อมไม่สร้างตามแบบอาจารย์ตนเอง ตอนนั้นพระพิมพ์สมเด็จเพิ่งได้รับความนิยมและมีการสร้างกันทั่วไปหลายต่อหลายวัด ท่านทั้งสององค์จึงสร้างพระผงในรูปแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักบ้าง หลวงปู่ทั้งสองสร้างพระหนากว่าสมเด็จโต เพื่อให้มองเห็นแล้วรู้ได้ว่าไม่เหมือนกัน หลวงปู่อ้นถึงขนาดทำด้านหลังให้อูมแบบที่เรียกว่าหลังประทุนตามชื่อเรือ ส่วนหลวงปู่ปั้นก็สร้างให้หนา

    พิมพ์ทรงก็มีความแตกต่าง หลวงปู่ปั้นอยู่กรุงเทพย่อมหาช่างได้ง่ายกว่า พิมพ์ทรงจึงค่อนข้างสวยงาม ส่วนหลวงปู่อ้นอยู่บ้านนอก จึงมีแต่ช่างชาวบ้านแกะพิมพ์ให้ พิมพ์จึงไม่สวยงามนัก แต่ไม่ว่าพิมพ์เจ็ดชั้นทรงกรวยของหลวงปู่ปั้นหรือพิมพ์สมเด็จหลังประทุนของหลวงปู่อ้น ล้วนมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่แตกต่างจากพระสมเด็จทั้งคู่ แสดงถึงศิษย์ไม่แข่งครู

    ปีที่สร้างน่าจะอยู่ราว ๆ พ.ศ. 2450 จำนวนสร้างน่าจะเป็นแค่หลักพัน
     
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]


    'เสียงเซียนสวดพระ' กรณี...พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล
    ในความไม่ชัดเจน ของข้อมูล พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ทั้ง ๔ พิมพ์ คือ ๑.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์พระประธาน ๒.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ใหญ่ ๓.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ทรงเจดีย์ และ ๔.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์คะแนน ถึงกับทำให้ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เขียนประกาศติดไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่รับออกใบรับรองให้พระวัดขุนอินทประมูล" ในการออกใบประกาศนียบัตร หรือที่เรียกกันว่า "ใบเซอร์พระ" (Certificate) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา

    ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นคือ ในการประกวดพระของกรมเสมียนตรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ไบเทค บางนา ที่ผ่านมา ได้ตัดรายการการประกวดพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ไว้ในรายการประกวดพระเนื้อผงทั่วไป ชุดที่ ๓ โต๊ะที่ ๗ รายการที่ ๒๒๔-๒๒๖ ออกทั้งหมด สร้างความผิดหวังให้กับผู้เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครองเป็นอย่างยิ่ง

    สำหรับผู้ที่เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครอง อาจจะอดสงสัยไม่ได้ว่า “พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างบรรจุกรุไว้หรือไม่”

    ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่องคือ คณะกรรมการตัดสินพระชุดเบญจภาคี ของ สมาคมพระเครื่อง ได้พิจารณาเพื่อความชัดเจน

    “คม ชัด ลึก” ได้นำพระสมเด็จรุ่นนี้ ทุกพิมพ์ ไปให้พิจารณา ซึ่งแต่ละท่านมีประสบการณ์เช่าพระสมเด็จมานานกว่า ๓๐ ปี ต่างได้ให้คำตอบไว้เป็นที่น่าสนใจดังนี้

    ๑.นายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า ก่อนอื่นต้องขออภัยสำหรับผู้ที่เช่าและครอบครอง พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เหตุที่สมาคมเขียนประกาศติดไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่รับออกใบรับรองให้ พระวัดขุนอินทประมูล" เพราะพระกรุนี้สมาคมยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง พระที่จะออกใบรับรองจากสมาคมต้องเป็นพระที่สังคมพระเครื่องโดยรวม ให้การยอมรับ ใช่ว่า ใครมาให้สมาคมออกใบรับรองว่า พระสมเด็จรุ่นนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง ในทันทีนั้นไม่ได้ ต้องมีหลักฐานและข้อพิสูจน์

    ในกรณีของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ถ้ามาขอให้สมาคมออกใบรับรอง โดยไม่ระบุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง เช่น พระสมเด็จวัดอื่นๆ นั้น สามารถทำได้

    ในกรณีของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นรูปลักษณ์ของพระสมเด็จ เช่นเดียวกับพระสมเด็จที่มีการจัดสร้างทั่วๆ ไป เพราะทุกๆ วัดมีการจัดสร้างพระสมเด็จกันทั้งนั้น ทั้งที่สร้างบรรจุกรุ และสร้างให้เช่าบูชากันเลย

    กรณีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มวลสาร อายุการสร้าง รวมทั้งพิมพ์ทรง เปรียบไม่ได้กับพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม รวมทั้ง พระสมเด็จ วัดไชโยวรวิหาร หรือพระสมเด็จเกศไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทองโดยเฉพาะเนื้อขององค์พระ เปรียบไม่ได้เลยกับพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ทั้ง ๓ วัด

    ที่สำคัญคือ พระสมเด็จทั้ง ๓ วัดดังกล่าว มีมานาน และมีประวัติการสร้างที่ชัดเจน
    ซึ่งก่อนหน้านี้ พระสมเด็จเล็บมือ วัดปากบาง จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เคยคิดว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ ด้วยเหตุที่ว่ามวลสาร และคราบกรุ ใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม มาก แต่แตกต่างกันที่พิมพ์เท่านั้น

    เรื่องนี้เคยมีความสับสนในวงการพระเครื่องมาระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็สรุปว่า พระสมเด็จเล็บมือ วัดปากบาง ไม่ใช่พระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้

    ทั้งนี้ นายพยัพ ยืนยันว่า “ถ้ามีพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) นอกเหนือจาก ๓ วัด คือ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม รวมทั้งวัดไชโยวรวิหาร บรมครูแห่งวงการพระเครื่อง ที่ศึกษาพระเครื่องมา ท่านคงรู้ไม่จริง การเล่นพระทุกวันนี้ เราเล่นจากการสืบทอดความรู้จากบรมครูยุคก่อน ถ้าเป็นพระสมเด็จ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ราคาคงไปไกลกว่านี้ เซียนพระชุดเบญจภาคีต้องกว้านซื้อไว้ทั้งหมด แต่เนื้อหาไม่ใช่ พิมพ์ก็ไม่ถูกต้อง รวมทั้งอายุก็ไม่ได้ เซียนจึงไม่เล่น ส่วนใครจะเล่น ใครจะเช่า และใครจะเชื่อว่า สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง สมาคมห้ามไม่ได้”

    ด้าน นายพิศาล เตชะวิภาค อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ ต้อย เมืองนนท์ บอกว่า มีผู้นำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลมาให้ดูเป็นจำนวนมาก โดยได้ออกความเห็นไปว่า ไม่น่าจะเป็นพระที่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

    การจะกล่าวอ้างว่าเป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง ต้องมีหลักฐานและเหตุผลประกอบ อันเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่อง ที่สำคัญคือ หากเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง จะต้องทิ้งเค้าความเป็นเอกลักษณะของพิมพ์ทรงไว้

    เช่นกรณีของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง กับ พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดบางขุนพรหม หากนำมาเทียบกันจะมีเค้าของพิมพ์ทรงที่คล้ายกัน

    ทั้งนี้ หากพิจารณาจากเนื้อหาแล้ว พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล น่าจะมีอายุการสร้างไม่กี่ปี และอาจจะไม่ถึงหลัก ๑๐ ปี ด้วยซ้ำ

    จากประสบการณ์เล่นพระเนื้อผงแล้ว พระเนื้อผงเมื่อถูกบรรจุในกรุที่มีอายุมากกว่า ๔๐-๕๐ ปีขึ้นไป จะมีคราบกรุที่เป็นไข ที่เกิดจากปฏิกิริยาของมวลสาร กับความชื้นของสภาพอากาศ ผสมผสานกันไป จะมีลักษณะแข็ง และจับตัวกับองค์พระมากกว่าที่เป็นอยู่

    ทั้งนี้ หากนำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไปล้างน้ำ คราบกรุที่เกาะอยู่บนองค์พระ จะหลุดได้ง่ายกว่าพระสมเด็จ จาก ๓ วัด ที่สมเด็จฯ โต สร้างไว้

    “การยกเหตุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นเรื่องของการกล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความนิยม และมูลค่าขององค์พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำพรรษา หรือพักวัดไหน ใช่ว่าท่านจะสร้างพระบรรจุกรุไว้เสียทั้งหมด ที่ผ่านมามีการแอบอ้างว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างและบรรจุกรุเอาไว้ก็มีไม่น้อย ใครจะชอบ ใครจะเชื่อ และใครจะเช่า เป็นสิทธิ์ของคนคนนั้น แต่เกรงว่าจะเสียใจภายหลัง เมื่อรู้ว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไม่ได้สร้างไว้ พระแตกกรุ โดยพระไปพบที่เป็นของแท้ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ที่เป็นของปลอมก็มีอยู่มากเช่นกัน” ต้อย เมืองนนท์ กล่าว

    ขณะที่ นายกิติ ธรรมจรัส อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ กวง ท่าพระจันทร์ บอกว่า เรื่องของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มีการนำมาคุยกันในคณะกรรมตัดสินพระชุดเบญจภาคี โดยส่วนตัวแล้ว หากพิจารณาจากเนื้อหา มวลสาร พิมพ์ทรง รวมทั้งคราบกรุ น่าจะไม่ทันยุคสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งมีผู้เช่าพระรุ่นนี้ไว้หลายท่าน ได้นำพระมาให้ดู ก็บอกไปว่า เป็นพระที่เกจิอาจารย์รุ่นหลังสร้าง แล้วนำไปบรรจุกรุไว้ แต่ก็มีคณะกรรมการบางคนบอกไปทันทีว่า เป็น พระสมเด็จเก๊ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่ได้สร้าง

    เหตุที่มีคนเล่นหากัน น่าจะเกิดจากแรงโฆษณามากกว่า แต่คณะกรรมตัดสินพระชุดเบญจภาคี ไม่มีใครเล่นหากัน อย่างกรณี พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ให้ฟรียังต้องคิดหนัก

    “พระนั้นแท้ทุกองค์ ส่วนจะแท้ในมาตรฐานใดนั้น ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้กำหนด มาตรฐานของสมาคมมีการวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน การเล่นพระ การเช่าพระ เป็นความชื่นชอบส่วนตัว และส่วนบุคคล ใครเชื่อก็เช่า ใครชอบก็เช่า เรื่องการเล่นพระ เป็นเรื่องนานาจิตตัง กลุ่มไหน หรือใครจะเล่นอย่างไร เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าจะเช่าเพื่อให้เช่าต่อได้นั้น ต้องเป็นพระที่มีมาตรฐานวงการพระเครื่องให้การยอมรับ” กวง ท่าพระจันทร์ กล่าว

    "การยกเหตุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นเรื่องของการกล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความนิยม และมูลค่าขององค์พระ...สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำพรรษาหรือพักวัดไหน ใช่ว่าท่านจะสร้างพระบรรจุกรุไว้เสียทั้งหมด”

    เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • mrungasun4.jpg
      mrungasun4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.7 KB
      เปิดดู:
      12,188
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    วิทยานิพนธ์ กรุขุนอินทประมูล

    วิทยานิพนธ์พระเครื่อง กรณีศึกษา พระสมเด็จ กรุวัดขุนอินฯ สมเด็จโต สร้างจริงหรือ??




    ศึกษาจากหนังสือที่ทำบุญกับวัดราคาเล่มละ 250 บาทแล้ว ไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าสมเด็จสร้าง

    แม้แต่อ.รังสรร ท่านก็ยังพูดในลักษณะออกตัว " สำหรับพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลนั้น เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามทั้งพุทธศิลป์และมวลสารทั้งหมด อีกทั้งตามพุทธประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี ได้เคยเสด็จ มากราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลเหมือนเช่น วัดเกศไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล

    จึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างและบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล
    หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับพระบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
    คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็น “ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ”
    @ ผมเองก็เชื่อว่า การสร้างพระสมเด็จในยุคหลังๆ ก็ล้วนได้รับพระบารมีจากดวงวิญญาณ สมเด็จโตทั้งสิ้น
    4.2 . ศึกษาจากหนังสือพระสมเด็จ ของท่านตรียัมปวาย ได้ระบุชัดเจน ตามคำกล่าวของพระธรรมถาวร สรุปความว่า แม้แต่การสร้างพระเพื่อบรรจุไว้ที่วัดไชโย สมเด็จโตท่านยังมีปัญหา เกรงว่าจะสร้างไม่ครบ 84,000 องค์ จึงต้องรวบรวมพระที่สร้างรุ่นแรกๆที่วัดอินทรวิหาร เป็นพิมพ์ฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น มารวมกับพระรุ่นใหม่ที่กำลังสร้าง นำไปบรรจุไว้ที่วัดไชโยอุทิศส่วนกุศลให้โยมแม่


    ไม่มีตอนใดที่กล่าวถึงการแบ่งไปบรรจุที่วัดขุนอินทฯ เพราะลำพังเพียงบรรจุไว้ที่วัดเกศก็มีปัญหาเรื่องจำนวนแล้ว


    และไม่เคยมีข้อมูลที่กล่าวถึงการจัดสร้าง พระกรุนี้ขึ้นต่างหากโดยสมเด็จโต
    4.3. พิมพ์พระของวัดขุนอินทฯ เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ฝีมืองดงาม ปราณีตมาก มีเฉพาะพิมพ์ฐาน 3 ชั้น มีอายุเก่าตามสมควร น่าจะเป็นการสร้างในชั้นหลัง


    เพราะหากเป็นพระที่สมเด็จโตสร้าง ควรที่จะต้อง มีพระพิมพ์วัดระฆัง และวัดเกศปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย ( การขุดกรุวัดเกศพบพระวัดระฆังปนอยู่(ข้อมูลจากหนังสือ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ) การเปิดกรุบางขุนพรหม พบพระวัดเกศและวัดระฆัง ปะปนอยู่
    4.4. ท่านที่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ว่า สมเด็จโตสร้างนั้น ใช้ข้อมูลจากหนังสือของ"ไทยน้อย"

    ตามที่ผมก็อปปี้ไว้ให้ชมนั้น ยังมีข้อขัดแย้งในเรื่องอายุความกันอยู่ ตรงที่ว่า" สมเด็จโตมาบูรณะวัดขุนอินทฯอยู่ถึง 25 ปี คีอตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ สามนั้น "


    หากไล่ปีพ.ศ.กัน รัชกาลที่ สาม สิ้นพระชนม์ เมื่อพ.ศ. 2393 ขั้นนั้นท่านขรัวโต ยังมีสมณศักดิ์เป็นเพียง มหาโต
    ได้เลื่อนสมณศักดิ์สมัย รัชกาลที่ 4

    เป็นพระธรรมกิติ พ.ศ. 2395
    เป็นพระเทพกวี พ.ศ. 2397 และ
    ได้เป็นสมเด็จโต เมื่อ พ.ศ. 2407..... ซึ่งจนถึงวันนั้น ยังไม่มีพระสมเด็จอุบัติขึ้น
    ------------------------------------------------------
    พระธรรมถาวร เล่าว่า สมเด็จโตสร้างพระสมเด็จ หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จแล้ว 2 ปี( 2409 จนถึงปีพ.ศ.2415 ที่ท่านสิ้นชีพตักสัย รวมช่วงเวลาการสร้าง ประมาณ 7 ปี สมเด็จรุ่นแรกคือ พระที่นำไปบรรจุวัดไชโย รุ่นสุดท้ายคือ แม่พิมพ์หลวงวิจารย์เจียรนัย ส่วนกรุบางขุนพรหมนั้น บางส่วนใช้พิมพ์วัดระฆัง บางส่วนเสมียนตราด้วงแกะพิมพ์ขึ้นใหม่( ก่อนหน้านี้สร้างพระล้อพิมพ์พระกรุต่างๆ )

    สรุปในขั้นนี้ก็คือ หากสมเด็จโต บุรณะ วัดขุนอินทฯ อยู่ตลอดสมัยรัชกาลที่ 3 ในระยะนั้น ท่านยังไม่ได้สร้างพระสมเด็จ จนกระทั่งหลังจากนั้น อีก 16 ปี (พ.ศ.2409 )
    4.5. อย่างไรก็ตาม หากใช้วิธีไล่ตามพ.ศ.และตามเหตุการณ์ จะได้ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง คือ
    สมเด็จโต สมภพ พ.ศ. 2331
    โยมมารดาป่วยและเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2386 ( ขรัวโตอายุได้ 55 ปี )
    หากท่านบุรณะพระนอน อุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดา นานถึง 25 ปี
    ก็จะตกไปอยู่ในราวปีพ.ศ. 2411 ( เป็นสมเด็จและกำลังสร้างพระสมเด็จ )

    แต่ข้อมูลตรงนี้ อาจถูกหักล้าง ด้วยข้อมุลจากข้อ 2 และ 3
    4.6. การพิสูจน์ว่า พระกรุวัดขุนอินท สมเด็จโตมีส่วนร่วมสร้างเสกหรือไม่นั้น จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้ได้ว่า
    พระชุดนี้ ถูกบรรจุไว้ก่อนปี พ.ศ. 2415 อันเป็นปีที่สมเด็จโตสิ้น
    การลักลอบขุดพระในกรุนี้เพื่อหาสมบัติในชั้นแรกนั้น เท่าที่ผมได้ข้อมูลคือหลังปี 2500 ทั้งสิ้น
    และจากข้อมูลของหนังสือของวัดระบุไว้ว่า ในปีพ.ศ. 2501
    (ปีพ.ศ.๒๕๐๑ ได้มีพระอธิการสร้าง ธีรปัญโญ
    มาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสแต่งตั้งองค์แรก ได้ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตวัดออกไปทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เริ่มสร้างอาคาร
    เสนาสนะต่าง ๆ อาทิ กุฏิสงฆ์ กุฏิเจ้าอาวาส ศาลาการเปรียญ ฯลฯ )
    ก็มีทางเป็นไปได้ว่า พระที่บรรจุกรุ อาจถูกสร้างไว้ในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคหลังที่รุ่งเรืองที่สุดของวัด หรืออาจจะยุคก่อนหน้านี้ก็เป็นไปได้ แต่คงไม่ถึงยุคสมเด็จโต ด้วยเหตุผลข้างต้น
    และการที่เนื้อพระเก่าจัด ก็เนื่องจากถูกอบเผาแดด เหมือนอยู่ในเตาอบไว้หลายสิบปี

    Comment
    ข้อมูลสุดยอดมากครับ ส่วนตัวผมเองก็มีเก็บไว้บ้าง แต่ก็ไม่มากมายนักครับ แต่ผมเองก็บอกตามตรงว่างงกับกระแสพระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูลนี้มากพอสมควร ก่อนหนังสือออก ราคาพระไม่กี่บาทเอง ได้ข่าวว่าตอนกรุแตกยังไม่มีใครสนใจด้วยซ้ำ เอามาเร่ขายแถวสนามหลวงเค้าก็ตีเก๊ แต่หลังจากหนังสือออก มีหลักฐานมากล่าวอ้างรวมถึงมีชื่อของคนดังเช่นอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ,อาจารย์ราม แฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง เหตุผลส่วนนี้ก็ทำให้ผมตัดสินใจหันมาเก็บดูบ้างนะครับ แต่ว่าก็ว่านะครับ ขนาดคนอ่างทองบางคนยังไม่เคยได้ยินชื่อเสียงพระกรุนี้มาก่อน บางท่านถึงกับตีเก๊ยกกรุก็มี ตอนนี้ผมรอทุกอย่างกระจ่างขึ้นมากกว่านี้ ถ้าต่อไปวงการเริ่มยอมรับ หรือมีงานประกวดที่เป็นมาตรฐานก็น่าจะดีกว่านี้นะครับ ตอนนี้ผมว่าของปลอมเกลื่อนเลย บางองค์ก็พยายามจะยัดกรุให้ได้ เล่นไม่มีมาตรฐานแบบนี้แย่เลยครับ
     
  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]

    (เป็นพระที่บรรจุร่วมอยู่ในกรุวัดขุนอินทฯที่ชาวบ้านได้มาจากพระลูกวัดเมื่อกว่าสิบปีก่อน ปนมากับพระพิมพ์วัดขุนอินท ที่กำลังโด่งดังในขณะนี้ )


    นี่เป็นพระพิมพ์สมเด็จพิมพ์ สังฆาฎิหูช้าง หรือหูห่าง อันเป็นพิมพ์เอกลักษณ์หนึ่ง ของพระสมเด็จบางขุนพรหม ซึ่งเสมียนตราด้วง ทำพิมพ์ขึ้นใหม่และสร้างพระในปีพ.ศ. 2413 ก่อนที่สมเด็จโตจะสิ้นในปีพ.ศ. 2415
    (เป็นพระที่บรรจุร่วมอยู่ในกรุวัดขุนอินทฯที่ชาวบ้านได้มาจากพระลูกวัดเมื่อกว่าสิบปีก่อน ปนมากับพระพิมพ์วัดขุนอินท ที่กำลังโด่งดังในขณะนี้ )


    นี่เป็นพระพิมพ์สมเด็จพิมพ์ สังฆาฎิหูช้าง หรือหูห่าง อันเป็นพิมพ์เอกลักษณ์หนึ่ง ของพระสมเด็จบางขุนพรหม ซึ่งเสมียนตราด้วง ทำพิมพ์ขึ้นใหม่และสร้างพระในปีพ.ศ. 2413 ก่อนที่สมเด็จโตจะสิ้นในปีพ.ศ. 2415จากการพิจารณาปรากฏว่า พระพิมพ์สังฆาฏิหูช้างนั้น มีคราบกรุของวัดใหม่อมตรสหรือบางขุนพรหมเป็นชั้นในและคลุมด้วยคราบแคลเซี่ยมวัดขุนอินทฯอีกชั้น

    นั่นหมายความว่า มิได้สร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน กับวัดขุนอินท ( เนื้อหาพระเก่ากว่าพระวัดขุนอินทฯมาก ) และเคยถูกบรรจุกรุมาแล้ว
    เจดีย์บางขุนพรหมกว่าจะถูกขโมยขุดกรุครั้งแรกก็ปีพ.ศ. 2425 หรือสมเด็จสิ้นไปแล้ว 10 ปีดังนั้น หากพระชุดนี้เป็นพระแท้ ก็อาจจะเป็นพระที่ผู้สร้างพระพิมพ์สมเด็จวัดขุนอิน ซึ่งย่อมจะต้องมีจิตใจเลื่อมใส พระสมเด็จอยู่แล้ว นำพระที่มีอยู่ร่วมบรรจุไว้กับพระที่ได้จัดสร้างขึ้นใหม่ ( เหมือนพระเนื้อดินกรุวัดลิงขบ ที่พบพระสมเด็จวัดระฆังร่วมบรรจุ )

    ถ้าหากพระชุดนี้ เก๊หรือสร้างยุคหลัง ก็ยิ่งไม้ต้องพูดถึงเรื่องอายุ (เพราะพระเก๊ย่อมไม่สร้างก่อนพระแท้แน่ )
    ถ้าหาก ข้อมูลที่ผมได้มามิใช่ความจริง ก็ขออย่าได้สนใจข้อเขียนชิ้นนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 45548335.jpg
      45548335.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.3 KB
      เปิดดู:
      22,744
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    5.2วันนี้ผมขออนุญาตฟันธง! คอนเฟิร์ม!ไปเลยนะครับว่า พระพิมพ์สมเด็จวัดขุนอินทประมุลนั้น
    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาทมีส่วนสร้างและเสก เช่นเดียวกับที่ทราบกันดีในวงการแล้วว่า
    ท่านเป็นผู้สร้างและเสกพระพิมพ์สมเด็จวัดดักคะนนร่วมกับหลวงพ่ออยู่ วัดดักคะนน
    (แถมมีพิมพ์พระซ้ำกันหลายพิมพ์ แต่เนื้อหาแก่น้ำมันและเนื้ออ่อนกว่าวัดขุนอินฯ)
    การจะตัดช่วงเวลาการสร้างและเสกของผม ขอย้อนไปที่กระทู้เก่า เรื่องพระพิมพ์สมเด็จขุนอินฯ

    หลังตราแผ่นดิน ซึ่งเป็นพระที่ยอมรับในวงการนักเล่นพระจังหวัดอ่างทอง โดยได้บรรจุไว้ใน

    การประกวดครั้งแรกด้วย

    เมื่อตราแผ่นดินร.๕ ท่านทรงให้เริ่มใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2416 (สมเด็จโตสิ้นพ.ศ.2415 )ก็ย่อมจะเป็นเหตุเป็นผลว่าพระกรุนี้ สร้างหลังสมเด็จโตแน่..แต่จะหลังกี่ปีเดี๋ยวค่อยว่ากัน

    ตราแผ่นดิน ใช้มากในสมัย ร.๕-ร.๖ ซึ่งยังอยู่ในระบอบสมบุรณาญาสิทธิราช จึงไม่ใช่เรื่อง

    ง่ายๆที่ใครจะนำตรานี้มาประทับหลังองค์พระ หากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาติ

    เพราะฉะนั้น พระพิมพ์สมเด็จกรุวัดขุนอินฯ จึงไม่ธรรมดาแน่
     
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]



    สรุปก็คือพระพิมพ์สมเด็จกรุวัดขุนอินฯ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยมี หลวงปู่ศุขร่วมสร้างและเสก ด้วย (หรือจะเป็นเจ้าพิธีไม่ทราบได้ )ในปีพ.ศ. ๒๔๖๖
    หรือหลังจากสมเด็จโตสิ้นฯแล้ว ๕๑ ปี
    หรืออีกนัยหนึ่ง นับถึงปีนี้ พระพิมพ์สมเด็จกรุวัดขุนอินฯ มีอายุ 86 ปีครับ

    comment
    -ว่าด้วยเรื่องของตราแผ่นดิน หลวงปู่ศุข ท่านมีลูกศิษย์คนสำคัญคือกรมหลวงชุมพรฯ พิมพ์กรุวัดขุนอินส่วนใหญ่เป็นการออกแบบของช่างหลวง (ซึ่งน่าจะเป็นไปได้) กรมหลวงชุมพรฯ ท่านเป็นผู้มีบุญบารมีผู้หนึ่งที่สามารถนำตราแผ่นดินมาไว้ที่องค์พระได้ และสามารถที่จะสร้างพระได้จำนวนครั้งละมากๆๆ ได้ ฝากท่านเค้าแมว ค้นคว้าต่อไปด้วยครับ กับความเป็นไปได้ที่ค่อนข้างสูงอนุเคราะห์
    -เรื่องเสด็จ เตี่ย ช่างหลวง ตราแผ่นดินนั้น ผมคิดตรงคุณ pheera แต่ยังคงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานก็เลยเว้นไว้ก่อน ครับ
    ------------------

    พระกรุนี้ โดยพิมพ์ทรง เนื้อหาแล้ว งดงามมาก สร้างได้ปราณีต ปิดข้อด้อยของพระวัดระฆัง บางขุนพรหม
    โดยเนื้อหาพิมพ์ทรง พุทธศิลป์แล้ว ก็ต้องบอกว่า ช่างหลวง ( พระพิมพ์ประภามณฑลรัศมี ของหลวงปู่ศุขก็ฝีมือช่างหลวง ที่เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพร นำแม่พิมพ์มาถวาย )

    พระที่มีบารมีในยุคนั้น ที่จะทำงานใหญ่ งานเรียบร้อยขนาดนี้ได้ คงจะมองผ่านหลวงปู่ศุขไปไม่ได้แน่ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 74132672.jpg
      74132672.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.9 KB
      เปิดดู:
      17,347
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เดี๋ยววันหลังผมมาพิมพ์สรุปให้ฟังนะครับ วันนี้มีแต่พระราคาเบาครับ
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    สรุปคือ สมเด็จกรุขุนอินทร์นั้น เป็นพระที่พุทธาภิเษกหมู่ โดยมีหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ร่วมพุทธาภิเษกด้วย จากหลักฐานสมเด็จที่มีหลังจารพุทธอมโลก ลายมือของหลวงปู่
    ความนิยมจารพระ มีแน่นอน เช่น พระรอดวัดพระสิงห์ฐานลายมือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จะบอกว่ามีองค์ไหนที่ร่วมพุทธาภิเษกได้ด้วยเลย

    ฉะนั้น สมเด็จกรุนี้ไม่คิดอะไรมาก มีผงสมเด็จโต แน่นอน ศิษย์สมเด็จ อย่าง หลวงปู่ภู หลวงปู่ปั้น มาร่วมพุทธาภิเษกด้วยแน่นอน

    ตอนนี้แทบจะยอมรับกันแล้วว่าพระกรุนี้ไม่ใช่พระยัดกรุ และ หลวงปู่ศุขได้ร่วมเสกด้วย เหมือนกรุดักคะนน และคลองขอม ที่ตอนแรกยังไงก็เถียงคอเป็นเอ็นว่าไม่เกี่ยวกับหลวงปู่ศุข สำหรับเนื้อผง แต่เนื้อโลหะเกี่ยว (เพราะขายได้เป็นหมื่น???)

    สุดท้ายนี้ เนื่องจากโอกาสวาระปีใหม่ปี 2557 วาระพิเศษจริงๆ ผมขอมอบสมเด็จรัศมีกรุคลองขอมเนื้อขาวและพระปิดตามหาลาภหลวงปู่คำพันธ์ ให้สำหรับผู้จองวัตถุมงคล 900 บาท ขึ้นไป ในทุกซอง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 460674-1.jpg
      460674-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.9 KB
      เปิดดู:
      8,660
  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 2006 หนุมานอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์

    รับมากับมือ
    200 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2898.JPG
      IMG_2898.JPG
      ขนาดไฟล์:
      147.8 KB
      เปิดดู:
      183
    • IMG_2899.JPG
      IMG_2899.JPG
      ขนาดไฟล์:
      110.3 KB
      เปิดดู:
      188

แชร์หน้านี้

Loading...