คลังเรื่องเด่น
-
รู้ไว้ได้บุญหนา !!! สิ่งจำเป็น 5 อย่าง ถวายช่วงเข้าพรรษา ได้บุญมหาศาล !!!
รู้ไว้ได้บุญหนา !!! สิ่งจำเป็น 5 อย่าง ถวายช่วงเข้าพรรษา ได้บุญมหาศาล !!! รู้แล้วอย่าเก็บไว้คนเดียว
การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน
การทำบุญเข้าพรรษา ให้ถูกหลักพระพุทธศาสนานั้นไม่ใช่เรื่องยากและทำแล้วยังได้บุญมหาศาลโดยผู้ที่จะทำบุญควรจะเน้นไปทำบุญตามวัดต่างจังหวัดเพราะพระสงฆ์ตามต่างจังหวัดนั้นจะขาดแคลนของอุปโภค บริโภคมากกว่าพระที่จำวัดในเมือง โดยผู้ที่ต้องการทำบุญควรจะนำของใช้จำเป็น 5 อย่างไปถวายท่าน ประกอบไปด้วย
1.ไฟฉายอย่างดี พร้อมถ่านสำรองเพราะช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงหน้าฝนท่านจะได้ใช้ไฟฉายสำรวจสภาพวัด สัตว์ร้าย เดินทางไกลหรือแม้กระทั่งภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
2.ผ้าอาบน้ำฝน รูปละสองผืน... -
ยิ่งใหญ่อลังการ !!! บรรยากาศ วันแห่เทียนเข้าพรรษาจ.อุบลราชธานี ... พร้อมทำความรู้จักต้น กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา
ยิ่งใหญ่อลังการ !!! บรรยากาศ วันแห่เทียนเข้าพรรษาจ.อุบลราชธานี ... พร้อมทำความรู้จักต้น กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา
บรรยากาศ วันแห่เทียนเข้าพรรษาของ จ.อุบลราชธานี ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 116 ซึ่งจัดขึ้นที่ที่บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สำหรับกิจกรรมในปีนี้นอกจากจะมีการจัดขบวนแห่เทียนพรรษาที่งดงามยิ่งใหญ่เช่นทุกปีที่ผ่านมาแล้ว จังหวัดอุบลราชธานียังได้เตรียมจัดทำต้นเทียนไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบริเวณเมืองอุบลราชธานี มีการจัดการแข่งขันแกะสลักเทียน รวมทั้งจัดทำต้นเทียนทศชาติชาดกเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับชมความงดงามของเทียนพรรษาในช่วงเทศกาลดังกล่าวด้วย
สำหรับ กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน
เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444... -
ประวัติและความสำคัญของการเวียนเทียน ทำไมต้องเวียนเทียนแล้วจะกระทำกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันไหนบ้าง
ประวัติและความสำคัญของการเวียนเทียน ทำไมต้องเวียนเทียนแล้วจะกระทำกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันไหนบ้าง
การเวียนเทียน คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถานสำคัญ เช่น อุโบสถ วิหาร หรือพระพุทธรูป เพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญต่างๆ โดยใช้เทียนธูปและดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชา ถือไว้ในมือแล้วเดินเวียน 3 รอบ ขณะที่เดินรอบนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบท"อิติปิโส" ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ
ประวัติ
พิธีการเวียนรอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา โดยปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพโดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา 3 รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด
ไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทยโดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน... -
เสียงธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เทศนาเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร_๙ เวทนานุปัสสนา
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เทศนาเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร_๙ เวทนานุปัสสนา
urai1791:-
Published on Jun 3, 2017
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี เทศนาเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร_๙ เวทนานุปัสสนา -
"ตั้งสัจจะในพรรษา" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
"ตั้งสัจจะในพรรษา"
" .. สามเดือนให้มีข้อเป็นหลักใจของตัวเอง "มีตั้งสัจจอธิษฐานจะเอาธรรมข้อใด ๆ เพื่อเป็นธรรมประจำน้ำใจของเรา"
ในพรรษานี้เราจะทำยังไง "เช่นไหว้พระสวดมนต์ วันหนึ่งจะไม่ให้ขาดเลย" เอา ปักลงไป "ภาวนาวันหนึ่งไม่ให้ขาด ๕ นาทีเอาให้ได้" ขาดนี้เป็นไปไม่ได้ วันหนึ่งได้ทำบุญให้ทานไม่ได้มาก ได้ถวายทานพระบิณฑบาตองค์เดียวก็เอา
"ให้ตั้งสัจจะไว้ ไม่อย่างนั้นกิเลสเอาไปกินหมด" เศรษฐีกุฎุมพีก็ดี คนทุกข์คนจนก็ดี สำคัญอยู่ที่น้ำใจ ถ้าน้ำใจพาให้ดีเศรษฐีก็ดีเพิ่มขึ้นไป ถ้าน้ำใจไม่ดีคนทุกข์คนจนก็จมลงเรื่อยไป ถ้าดีแล้วสูงส่งขึ้นไปด้วยกัน เอาละวันนี้เทศน์เพียงเท่านี้พอ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=3491&CatID=2 -
ทำดีย่อมได้ดี!!! อานิสงค์ของการให้อาหารปลา "มัฉทานชาดก"
ทำดีย่อมได้ดี!!! อานิสงค์ของการให้อาหารปลา "มัฉทานชาดก" ผลบุญแห่งการให้ทานแก่ปลา แม้แต่เทวดายังนับถือ !!!
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพ่อค้าโกงชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของพ่อค้าตระกูลหนึ่งในเมืองพาราณสี มีน้องชายอยู่คนหนึ่ง เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้วสองพี่น้องได้ปรึกษาหารือกันเรื่องบริหารกิจการค้าขาย ตกลงกันเดินทางไปสะสางบัญชีการค้าที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้เงินพันหนึ่งแล้วก็เดินทางกลับมานั่งกินข้าวห่อรอเรือข้ามฟากที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
หลังจากกินข้าวเสร็จแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาในแม่น้ำแล้วอุทิศส่วนบุญกุศลให้สรรพสัตว์รวมถึงเทวดาที่แม่น้ำนั้นด้วย เทวดาพออนุโมทนารับส่วนบุญเท่านั้น ก็เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยลาภยศอันเป็นทิพย์ เมื่อให้อาหารปลาหมดแล้วเขาก็ลาดผ้าบนหาดทรายล้มตัวลงนอนหลับไป ส่วนน้องชายของเขามีนิสัยเป็นหัวขโมยมาตั้งแต่เด็ก นั่งคิดวางแผนฉกเอาทรัพย์จึงห่อก้อนหินขึ้นห่อหนึ่งขนาดเท่ากับถุงห่อเงินนั้น
เมื่อเรือข้ามฟากมาถึง... -
คุณมี ” บุญบริสุทธิ์ ” ไว้ตอบคำถามยมบาลแล้วหรือยัง
คุณมี ” บุญบริสุทธิ์ ” ไว้ตอบคำถามยมบาลแล้วหรือยัง – บทความเตือนสติจากท่าน ว.
ถึงแม้อาตมาจะเป็นพระสงฆ์ แต่ในอีกสถานภาพหนึ่ง อาตมาก็เป็นลูกของแม่ เป็นลูกของพ่อ เมื่อมีกิจกรรมดี ๆ พระอาจารย์ก็ชวนโยมพ่อมาร่วมด้วย ถ้าโยมแม่อยู่ แม่ก็ต้องมาร่วมด้วย ญาติพี่น้องในครอบครัวก็มาด้วยเช่นกัน เรียกว่ามาสร้าง “ชั่วโมงทองคำ” ร่วมกัน บุญบริสุทธิ์
อาตมาพยายามสร้างสรรค์โมงยามแห่งความสุข เพราะเราไม่รู้ว่าวันเวลาที่ดีที่สุด วันเวลาที่ทรงความหมายที่สุดซึ่งเราจะได้ทำอะไรดี ๆ ร่วมกันอย่างนี้จะมีได้อีกสักกี่ครั้ง พระพุทธองค์ตรัสว่า เรามีเวลาจำกัด “อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว” ควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะใครเลยจะรู้ว่า ความตายอาจจะมาถึงในวันพรุ่งนี้
ความดีที่เราทำร่วมกับพ่อแม่ในวันนี้จะเป็นทรัพย์ติดตัวเราไปทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเลยทีเดียว... -
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท วันอาสาฬหบูชา 2560
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท วันอาสาฬหบูชา 2560
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท วันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2560 ย้ำให้ระลึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันที่ 8 กรกฎาคม 2560 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อมฺพรมหาเถร) ประทานพระโอวาท เนื่องในวันอาสาฬหบูชา พุทธศักราช 2560 ความว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระพุทธรัตนะ ได้ทรงแสดงปฐมเทศนาด้วยพระธรรมรัตนะ อันมีนามว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" โปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นการเริ่มประกาศพระศาสนา กระทั่งบังเกิดมีอริยสงฆ์ ก่อกำเนิดพระสังฆรัตนะ ครบถ้วนพร้อมเป็น "พระรัตนตรัย" ณ ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะ เพราะฉะนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงเป็นโอกาสสำคัญที่พุทธบริษัทจักได้น้อมรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ย้ำเตือนจิตใจตนให้มุ่งประพฤติตามหนทางอริยมรรค ตามที่สมเด็จพระบรมศาสนาได้ทรงแสดงไว้เป็นครั้งแรกในดิถีเช่นนี้
ท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธศาสนิกชน คงเคยปฏิญาณตนถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกด้วยภาษาบาลีว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมํ สรณํ... -
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีกว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2560 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม (แรม 1 คํ่า เดือน 8) แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาเท่าใดนัก ดังนั้นวันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชามาฝากกันค่ะ
ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ... -
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้ฉิบหายเพราะวิวาทกัน
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้ฉิบหายเพราะวิวาทกัน
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเขตวัน ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 6 นี้
พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเกิดผิดใจกันแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งสอนของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางวินัยของพวกตน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็ปฏิบัติอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านธรรมะของพวกตน และได้มีปากมีเสียงทะเลาะกันอยู่เสมอๆ แม้ว่าพระศาสดาจะห้ามปรามมิให้ทะเลาะกันอย่างไรก็ไม่ยอมหยุด จนพระศาสดาเอือมระอาเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ที่รักขิตวันป่าปาลิเลยยกะ โดยมีช้างปาลิเลยยะคอยอุปัฏฐาก
ชาวเมืองโกสัมพีเมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้พระศาสดาต้องเสด็จไปเช่นนั้นก็พากันไม่ใส่บาตรถวายทานแก่พวกภิกษุที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด ข้อนี้ทำให้พวกภิกษุทั้งหลายตระหนักถึงความผิดของพวกตนและเริ่มเกิดความสามัคคีปรองดองระหว่างกัน แต่พวกชาวบ้านก็ยังไม่ยอมปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นด้วยความเคารพเหมือนเดิม จะต้องให้ไปขอขมาโทษพระศาสดาเสียก่อน แต่ว่าช่วงนั้นพระศาสดาเป็นช่วงกลางพรรษาพวกภิกษุจึงไปขอขมาโทษมิได้... -
ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร ปฐมธรรมบทสวดมงคลสิ่งเลวร้ายจะกลายมาเป็นแก้วสารพัดนึก
...
ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร ปฐมธรรมของพระพุทธเจ้า
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ฟัง) เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แสดงถึง
ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ... -
ตำนานอาสาฬหปุรณมีดิถี!! วันประกาศ "ศาสนาพุทธ" ครั้งแรกในโลก พระพุทธเจ้าหมุนวงล้อพระธรรม..เกิดขึ้นเป็นพระธรรมจักร สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา
ตำนานอาสาฬหปุรณมีดิถี!! วันประกาศ "ศาสนาพุทธ" ครั้งแรกในโลก พระพุทธเจ้าหมุนวงล้อพระธรรม..เกิดขึ้นเป็นพระธรรมจักร สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา
เนื่องในวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า "อาสาฬหบูชา" ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๘ หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์"
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ ๑ ใน ๕ ปัญจวัคคีย์... -
ร่วมอนุโมทนาบุญในเทศกาล หล่อเทียนพรรษา เพื่อถวายวัดวาในงานบุญช่วงวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษาของชาวพุทธ
ร่วมอนุโมทนาบุญในเทศกาล หล่อเทียนพรรษา เพื่อถวายวัดวาในงานบุญช่วงวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษาของชาวพุทธ
ร่วมอนุโมทนาบุญในเทศกาล หล่อเทียนพรรษา เพื่อถวายวัดวาในงานบุญช่วงวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษาของชาวพุทธ
เมื่อใกล้เทศกาลอาสาฬหบูชา และเข้าพรรษา ตามประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณว่าในวัดวาอาราม มักมีงานบุญ หรือเทศกาล”หล่อเทียนพรรษา” ไว้สำหรับถวายไปตามวัด เพื่อใช้จุดให้แสงสว่างในวัดตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานั้น ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันที่ ๘และ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ที่จะถึงนี้
และเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีหล่อเทียนพรรษา ณ. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เนื่องในเทศกาลอาสาฬหบูชา และเข้าพรรษาประจำปี ๒๕๖๐ โดยมีนายขจร มุกมีค่า รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ในครั้งนี้
ส่วนในช่วงเช้าวันนี้ เวลา ๑๐ใ น. ท่านพระครูวิศิษฎ์สรการ (พระครูไทย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม ได้รับถวายเทียนพรรษา จากคณะครู ผู้บริหาร นักเรียนนักศึกษา... -
เรื่อง บารมี 30 ทัศ เสียงธรรมโดยหลวงพ่อ ฤาษี ลิงดำ (3Hrs.)
เรื่อง บารมี 30 ทัศ เสียงธรรมโดยหลวงพ่อ ฤาษี ลิงดำ [เสียงชัด]
สารธรรมนำใจ :-
Published on Feb 9, 2017
ติดตามบทความธรรมะอื่นๆได้ที่ https://www.facebook.com/saradhamnamjai และ website https://saradhamnamjai.blurburn.com -
ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อาการวัตตาสูตร พระมนต์ที่สวดคุ้มภัยนานาประการ
ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อาการวัตตาสูตร พระมนต์ที่สวดคุ้มภัยนานาประการ
......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
“อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี
สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง
ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน
ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี
๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร
พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่
พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย... -
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน เรื่องนางกาลียักษิณีผู้เฝ้าแต่จองเวร
...
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน เรื่องนางกาลียักษิณีผู้เฝ้าแต่จองเวร
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภหญิงที่เป็นหมันผู้หนึ่งกับหญิงคู่แข่งของนาง ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 5 นี้
ครั้งหนึ่งมีคฤหบดีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาคนอายุมากนำยาแท้งลูกมาให้ภรรยาคนอายุน้อยกิน จนกระทั่งภรรยาอายุน้อยตกเลือดเสียชีวิตไปในที่สุด ในชาติต่อมา หญิงทั้งสองคนนี้ก็ตามล้างตามผลาญกันอีก โดยหญิงคนหนึ่งเกิดเป็นไก่ ส่วนหญิงอีกคนหนึ่งเกิดเป็นแมว อีกชาติต่อมาเมื่อหญิงคนหนึ่งเกิดเป็นเนื้อสมัน หญิงอีกคนหนึ่งเกิดเป็นนางเสือดาว และในที่สุดคนหนึ่งมาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ส่วนอีกคนหนึ่งมาเกิดเป็นทางยักษิณี นางยักษิณีตนนี้มีชื่อว่านางกาลียักษิณี ได้ไล่ติดตามหญิงบุตรสาวของเศรษฐีที่อุ้มบุตรอยู่ในวงแขน เมื่อนางผู้ถูกไล่ติดตามนี้ทราบว่าพระศาสดาประทับอยู่กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ที่วัดพระเชตวัน จึงวิ่งหนีไปทางนั้นแล้วนำบุตรที่อุ้มมาไปวางลงที่เบื้องบาทของพระศาสดา... -
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน เรื่องพระติสสเถระเที่ยวสร้างความขัดแย้ง
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน เรื่องพระติสสเถระเที่ยวสร้างความขัดแย้ง
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระติสสเถระ ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 3 และที่ 4 นี้
พระติสสเถระ เป็นบุตรพระญาติข้างพระมารดาของพระศาสดา ครั้งหนึ่งได้มาอยู่กับพระศาสดา ติสสเถระอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อตอนชราภาพแล้ว แต่ได้ทำตัวเหมือนกับว่าเป็นพระเถระและจะแสดงความดีใจเมื่อพระอาคันตุกะขออนุญาตทำกิจวัตรที่พระผู้น้อยสมควรทำแก่พระผู้ใหญ่กับท่าน ตรงกันข้ามท่านติสสเถระไม่ยอมทำกิจวัตรที่ตนในฐานะที่เป็นพระพรรษาน้อยจะต้องทำแก่พระผู้ใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้นท่านก็ยังทะเลาเบาะแว้งกับพระภิกษุหนุ่มอยู่เป็นประจำ หากมีใครว่ากล่าวตักเตือนในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนนี้ ท่านก็จะนำเรื่องไปฟ้องกับพระศาสดา แล้วแสร้งบีบน้ำตาห้องไห้แสดงความไม่พอใจและความผิดหวังออกมา พวกพระอื่นๆก็ได้ติดตามพระติสสเถระไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายไม่ให้สร้างความรู้สึกผูกใจเจ็บ เพราะเวรนี้ไม่สามารถระงับได้ด้วยการจองเวร
จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 3 และที่ 4 นี้
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม... -
จาก"เทพจีน"ถึง"พระไทย" ชะตาที่แสนคล้ายคลึงระหว่าง "เซียนทิก๋วยหลี" กับ "หลวงพ่อโอภาสี" สามารถถอดจิตเดินทาง แต่กลับไม่ได้เพราะความหวังดี!!
จาก"เทพจีน"ถึง"พระไทย" ชะตาที่แสนคล้ายคลึงระหว่าง "เซียนทิก๋วยหลี" กับ "หลวงพ่อโอภาสี" สามารถถอดจิตเดินทาง แต่กลับไม่ได้เพราะความหวังดี!!
ในภาพคือเซียนทิก๋วยหลีหรือหลีทิก๋วยประดิษฐานที่วัดหลวงพ่อโอภาสี ใครที่เคยอ่านประวัติเซียนองค์นี้จะเห็นว่าช่างละม้ายคล้ายคลึงกับหลวงพ่อโอภาสีไม่น้อยเลย
หลวงพ่อโอภาสีนั้นก่อนที่ท่านจะละสังขาร ท่านมีกิจต้องเดินทางไปอินเดีย ด้วยทางพุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดีย ได้ทำจดหมายนิมนต์หลวงพ่อไปนมัสการสังเวชนียสถาน และให้ญาติโยมได้นมัสการอย่างใกล้ชิด หลวงพ่อรับจดหมายมาอ่าน ในจดหมายแจ้งกำหนดการให้หลวงพ่อไปถึงอินเดียวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๘ แต่หลวงพ่อได้ให้ศิษย์ตอบจดหมายไปว่า ขอเลื่อนไปวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๘ จะสะดวกกว่า จึงมีการเปลี่ยนกำหนดการที่กำหนดไว้เดิมออกไป
การไปอินเดียคราวนี้ องค์สรภาณมธุรส (ท่านบ๋าวเอิง) แห่งวัดสมณานัมวรวิหาร สะพานขาว ได้ขอเดินทางร่วมกับหลวงพ่อโอภาสี โดยไปเรียนให้ทราบถึงสำนักสงฆ์บางมด แต่หลวงพ่อโอภาสีกลับตอบว่า
“ไม่ได้หรอกคุณ ไปคราวนี้อาตมาไปแบบพิสดาร ไม่มีพาสปอร์ต ไม่มีใครไปด้วยได้เลยสักคน อีกอย่างหนึ่ง คุณมีธุระมาก... -
ใกล้วันเข้าพรรษา..หลวงพ่อฤาษีลิงดำกล่าวไว้ "การถวายเทียนหรือหลอดไฟ" อานิสงส์สูงล้น เกิดเป็นเทวดาที่มีรัศมีกายสว่างงดงาม..
ใกล้วันเข้าพรรษา..หลวงพ่อฤาษีลิงดำกล่าวไว้ "การถวายเทียนหรือหลอดไฟ" อานิสงส์สูงล้น เกิดเป็นเทวดาที่มีรัศมีกายสว่างงดงาม..
" อานิสงส์จากการถวายเทียน "(หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง)
อานิสงส์การถวายเทียนหรือหลอดไฟในวันเข้าพรรษา
การถวายเทียนเข้าพรรษา หรือว่า ถวายกระแสไฟในพระพุทธ-ศาสนา เหมือนกัน อย่างนี้ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะมีรัศมีกายสว่างมาก ต่อไปถ้าบรรลุมรรคผล จะเป็นบุคคลผู้เลิศใน ทิพจักขุญาณ อย่าง พระอนุรุทธ ท่านได้ถวายเทียนเข้าพรรษาตลอดมา ถวายพระประทีปโคมไฟ
วัดไหนมืดชอบถวายตะเกียงบ้างน้ำมันบ้างให้มีแสงสว่าง ต่อมาในชาติสุดท้าย เมื่อเป็น พระอรหันต์วิชชาสาม ท่านสามารถมี ทิพจักขุญาณสว่างกว่าพระอรหันต์ทั้งหมด แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ยังสู้ไม่ได้ นี่ประการหนึ่งถ้าท่านทั้งหลายไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดา นางฟ้า และพรหมเขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญเขาไม่ถือเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ องค์ไหนถ้ารัศมีกายสว่างมากองค์นั้นมีบุญมาก พระชินศรีตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด
ดังพระบาลีว่า
ปูชา จ ปูชะนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง... -
ขนาดนักปราชญ์นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกยังพูดถึงพระพุทธเจ้าแบบนี้
ขนาดนักปราชญ์นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกยังพูดถึงพระพุทธเจ้าแบบนี้
... ในขณะที่กระแสเห่อและคลั่งไคล้ตะวันตกกำลังถาโถม เข้าสู่คนไทย จนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย พร้อมๆกับการนับถือพุทธศาสนาเป็นหลักครองใจในการดำเนินชีวิต ก็กำลังจะกลายเป็น เพียงนับถือพุทธ ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น !!
หากจะตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับศาสนาพุทธ ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะแม้แต่นักปราชญ์ชาติต่างๆที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิ เบอร์ทรันด์ รัสเซล,อัลเบิร์ต ไอนสไตน์,อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ ฯลฯ รวมทั้งซุปเปอร์สตาร์ระดับโลก เช่น ริชาร์ด เกียร์, โรเแบร์โต บาจโจ ฯลฯ ก็ยังได้กล่าวคำสดุดีและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักกันในตะวันตกเมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว โดยในระยะแรกนั้นเป็นเพียงการศึกษาทางวิชาการเท่านั้น แต่เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาจากความนิยมทางหลักวิชาการ ก็กลายมาเป็นที่นิยมในแง่ของ การปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธมากขึ้นนั้นเป็นเพราะความน่าเลื่อมใสศรัทธาของพระหรือครูผู้สอน... -
"ศีล ผู้นำทางที่ประเสริฐ" (สมเด็จพระญาณสังวร)
"ศีล ผู้นำทางที่ประเสริฐ"
" .. ทุกชีวิตเป็นนักเดินทางจะต้องเดินทางอีกไกลแสนไกลด้วยกันแทบทั้งนั้น "สิ่งที่ควรมีคือผู้นำทาง ซึ่งไม่มีทางใดจะประเสริฐเสมอด้วยศีล" เพราะศีลมีกลิ่นหอมขจรไปทั่วทุกทิศ ผู้เดินทางที่มีศีลนำย่อมไกลจากความทุกข์ความเดือดร้อน
เมื่อเราจะต้องพากันออกเดินทางแน่นอนแล้ว "เราก็น่าจะเตรียมหาผู้นำทางที่ประเสริฐสุดของเราไว้ตั้งแต่บัดนี้ คือเราต้องเริ่มเอาจริงในการรักษาศีล" ให้บริสุทธิ์ตั้งแต่บัดนี้โดยพร้อมเพรียงกัน .. "
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ -
วัวธนู-ควายธนู ปราบเสือสมิง 4 ตัว ของขลังที่ใช้เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน ใครได้ครอบครองได้ผลชะงัดนัก!
ควายธนู-วัวธนู เป็นเครื่องรางตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสังคมเกษตรกรรม อันมีความผูกพันกับวัฒนธรรมข้าว ซึ่งเลี้ยงวัวควายไว้ใช้งานในด้านการเกษตร วิชาเหล่านี้เป็นการทำหุ่นพยนต์รูปแบบหนึ่ง หุ่นพยนต์สามารถทำได้ทั้งรูปคนและสัตว์ ที่นิยมมีทั้งวัวธนูและควายธนู สามารถสร้างได้หลายวิธี เช่น สานจากไม้ไผ่ ปั้นด้วยดินผสมมวลสาร ปั้นจากขี้ผึ้ง ไปจนถึงหล่อขึ้นด้วยโลหะอาถรรพ์ เช่น ตะปูโลงศพเจ็ดป่าช้า ,เหล็กขนันผีพราย ,เหล็กยอดเจดีย์ เป็นต้น เอามาหลอมรวมกันหล่อเป็นรูปควาย บางสำนักใช้โครงเป็นไม้ไผ่แล้วพอกด้วยครั่งที่ได้จากต้นพุททรา เมื่อทำสำเร็จแล้วต้องปลุกเสกตามพิธีกรรม แล้วเลี้ยงไว้ให้ดี ต้องหาหญ้าและน้ำเลี้ยงเสมอ
เชื่อว่าสามารถใช้ให้เฝ้าบ้านหรือไร่นา ใช้งานได้ตามความประสงค์ ทั้งป้องกันภูตผีและโจรผู้ร้าย และสามารถสั่งให้ไปสังหารคู่อริได้อีกด้วย มีคาถาใช้เสกเมื่อทำควายธนูว่า โอมปู่เจ้าสมิงไพร ปู่เจ้ากำแหงให้กูมาทำควาย เชิญพระอีศวรมาเป็นตาซ้าย เชิญพระอาทิตย์มาเป็นตาขวา เชิญพระนารายณ์มาเป็นเขา เชิญพระอินทร์เจ้าเข้ามาเป็นหาง เชิญพระพุทธคีเนตร์... -
สมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับภูมิภาค (ภาคกลาง-สิรินธร) ครั้งที่ 2
พระธรรมกิตติเมธี ประธานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระดับภูมิภาค ภาคกลาง ครั้งที่ 2 โครงการประเพณีวันสำคัญของชาติและศาสนา วันอาสาฬหบูชา ประจำปี ๒๕๖๐ จัดโดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร โดยมีพระปริยัติธรรมเมธี รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ให้การต้อนรับ เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันของหน่วยงาน องค์กร ผู้มีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 400 คน ณ หอประชุมปิ่นเกลียว มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมื่อเร็วๆนี้ -
พระอาจารย์สอนว่า "ถ้าผิดจากหลักศีลธรรมแปลว่าผิดทั้งนั้น"
"การยอมรับของสังคมไม่ใช่การยอมรับของศีลธรรม
ถ้าผิดจากหลักศีลธรรมแปลว่าผิดทั้งนั้น"
--------------------
ถาม : การประพฤติผิดศีลข้อสามนั้น รวมไปถึงการล่วงละเมิดในหญิง ๒๐ จำพวก (อคมนียฐาน) มีหญิงที่มารดารักษาและหญิงที่กฎหมายรักษา เป็นต้น แต่ในสังคมตะวันตกที่มีค่านิยมยอมรับการมีปฏิสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และยอมรับการเปลี่ยนคู่นอนก่อนแต่งงานนั้น จะถือเป็นการประพฤติผิดศีลข้อสาม และเป็นบาปเท่ากันกับสังคมที่ไม่ยอมรับค่านิยมเช่นนั้นหรือไม่ครับ ?
.
ตอบ : การยอมรับของสังคมไม่ใช่การยอมรับของศีลธรรม ถ้าผิดจากหลักศีลธรรมแปลว่าผิดทั้งนั้น
--------------------
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐, ข้อความที่ ๗
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=5597 -
วีดีโอ ขณะธุดงค์ท่ามกลางป่าใหญ่ หลวงปู่ขาว อนาลโย ก็ได้ผจญช้างป่าตัวใหญ่
ขณะธุดงค์ท่ามกลางป่าใหญ่ หลวงปู่ขาว อนาลโย ก็ได้ผจญช้างป่าตัวใหญ่
สารธรรมนำใจ :-
Published on Jul 3, 2017
ติดตามบทความธรรมะอื่นๆได้ที่ https://www.facebook.com/saradhamnamjai และ website https://saradhamnamjai.blurburn.com
อย่าลืมกดติดตามช่องนี้ไว้นะจ๊ะ
จัดทำขึ้นโดย สารธรรมนำใจ หวังว่าผู้ที่ติดตามคงมีความสุขในการฟังธรรม เรื่อง ขณะธุดงค์ท่ามกลางป่าใหญ่ หลวงปู่ขาว อนาลโย ก็ได้ผจญช้างป่าตัวใหญ่ -
วิธีฉันอาหารแบบหลวงปู่มั่น!! ฉันอย่างไรให้เกิดกุศล ขัดเกลาจิตใจได้ทุกมื้อ ... เรียนรู้จากปฏิปทาพระอาจารย์ใหญ่ผู้เคร่งครัดและสมถะ!!
วิธีฉันอาหารแบบหลวงปู่มั่น!! ฉันอย่างไรให้เกิดกุศล ขัดเกลาจิตใจได้ทุกมื้อ ... เรียนรู้จากปฏิปทาพระอาจารย์ใหญ่ผู้เคร่งครัดและสมถะ!!
วิธีฉันอาหารแบบหลวงปู่มั่น!! ฉันอย่างไรให้เกิดกุศล ขัดเกลาจิตใจได้ทุกมื้อ ... เรียนรู้จากปฏิปทาพระอาจารย์ใหญ่ผู้เคร่งครัดและสมถะ!!
หลวงปู่ดูลย์กล่าวถึงท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ท่านพระอาจารย์ใหญ่จะถือธุดงค์อย่างเคร่งครัดที่สุด ยืนยันได้เลยว่า “ลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด ยังไม่มีผู้ใดถือได้เท่าเทียมกับท่านพระอาจารย์ใหญ่เลยแม้แต่องค์เดียว” โดยท่านพระอาจารย์ใหญ่ของหลวงปู่นั้น จะไม่ยอมใช้สบงจีวรสำเร็จรูป หรือ คหบดีจีวร ที่มีผู้ซื้อจากท้องตลาดมาถวายเลย นอกจากได้ผ้ามาเองแล้วนำมาตัดเย็บย้อมเองทั้งหมดจึงใช้ และไม่เคยดำริหรือริเริ่มให้ใครคนใดคนหนึ่งสร้างวัดสร้างวาเลย มีแต่สัญจรไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าป่าตรงไหนเหมาะสม ท่านก็อยู่ เริ่มด้วยการปักกลดแล้วทำที่สำหรับเดินจงกรม ส่วนญาติโยมผู้มีศรัทธาเลื่อมใสเมื่อมาพบและเห็นความเหมาะสมสำคัญ ก็จะสร้างกุฏิน้อย สร้างศาลาชั่วคราวถวายท่น ต่อจากนั้น สถานที่นั้นก็กลายเป็นวัดป่าเจริญรุ่งเรืองต่อมา
ยิ่งกว่านั้น... -
มัฏฐกุณฑลี ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์ เพียงแค่มีใจศรัทธาพระพุทธเจ้า
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน มัฏฐกุณฑลี ผู้ศรัทธาพระพุทธเจ้า
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภมัฏฐกุณฑลี ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 2 นี้
มัฏฐกุณฑลีเป็นชายหนุ่ม มีบิดาชื่อ อทินนปุพพกะ ซึ่งเป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ไม่เคยบริจาคทานให้แก่ผู้ใด แม้แต่เครื่องประดับสำหรับบุตรชายเขาก็ทำให้เอง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย(ค่ากำเหน็จ)สำหรับช่างเงินช่างทอง เมื่อบุตรชายคนนี้ล้มเจ็บลง แทนที่ท่านเศรษฐีจะไปจ้างแพทย์มาทำการรักษาก็ใช้ยากลางบ้านมารักษาตามมีตามเกิด จนกระทั่งอาการของบุตรชายเข้าขั้นโคมา เมื่อรู้ว่าบุตรชายจะต้องตายแน่แล้ว เขาก็นำบุตรชายที่มีอาการร่อแร่ใกล้ตายนั้นออกไปนอนเสียนอกบ้าน เพื่อที่ว่าคนอื่นๆที่มาเยี่ยมลูกชายที่บ้านจะได้ไม่สามารถมองเห็นทรัพย์สมบัติของเขาได้
ในเช้าวันนั้น พระศาสดาทรงใช้ข่ายคือพระญาณของพระองค์(ลักษณะคล้ายๆกับเรดาร์แต่มีสมรรถนะเหนือกว่ามาก)ทำการตรวจจับดูอัธยาศัยของคนที่จะได้เสด็จไปโปรด ก็ได้พบมัฏฐกุณฑลีนี้มาปรากฏอยู่ในข่าย ดังนั้นเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีจึงได้ไปประทับยืนอยู่ที่ใกล้ประตูบ้านของอทินนบุพกเศรษฐี... -
เรื่องเล่าพระธรรมบท ตอน เรื่องพระจักขุปาลเถระพระตาบอดผุ้สำเร็จอรหันต์
ขณะที่พระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน ทรงปรารภพระจักขุปาลเถระผู้ตาบอด ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 1 นี้
ครั้งหนึ่งพระจักขุปาลเถระเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาที่วัดพระเชตวัน ในคืนหนึ่งขณะที่ท่านเดินจงกรมอยู่นั้น พระเถระก็ได้เหยียบแมลง(เม่า)ตายโดยไม่มีเจตนา ในตอนเช้าพวกพระภิกษุที่ไปเยี่ยมพระเถระพบแมลงที่ตายนั้นเข้า มีความคิดว่าพระเถระทำสัตว์ให้ตายโดยเจตนา จึงนำความขึ้นทูลพระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า เห็นพระเถระฆ่าแมงเหล่านั้นโดยเจตนาหรือไม่ เมื่อพระภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เห็น ตรัสว่า “พวกเธอไม่เห็นจักขุปาลฆ่าสัตว์ฉันใด จักขุปาลก็ไม่เห็นแมลงเหล่านั้นฉันนั้น นอกจากนั้นแล้ว พระจักขุปาลนี้ก็เป็นพระอรหันต์แล้ว จึงไม่มีเจตนาที่จะฆ่าสัตว์และเป็นผู้บริสุทธิ์” เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า พระจักขุปาลเถระนี้เป็นถึงพระอรหันต์แต่เพราะเหตุใดจึงตาบอด พระศาสดาได้นำเรื่องในอดีตชาติของท่านมาตรัสเล่าว่า
ในอดีตชาติพระจักขุปาลเป็นแพทย์ ครั้งหนึ่งไปรักษาตาให้แก่คนไข้หญิงคนหนึ่ง... -
ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ตำนานอาฏานาฏิยปริตร (วิปัสสิสสะ) บทสวดกำจัดอสูร
ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ตำนานอาฏานาฏิยปริตร (วิปัสสิสสะ) บทสวดกำจัดอสูร
คำแปลอาฏานาฏิยะปะริตตัง
สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินทราธิราช
พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี
ท้าววธตรัฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิม
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์ สาวกของพระบรมสุคตเจ้า จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์... -
พึ่งระวัง “กรรม” ที่บาปหนักที่สุดในพระพุทธศาสนา ห้ามทำเป็นเด็ดขาด !!
พึ่งระวัง “กรรม” ที่บาปหนักที่สุดในพระพุทธศาสนา ห้ามทำเป็นเด็ดขาด !!
อนันตริยกรรม ๕
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด
มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต ได้แก่การฆ่ามารดา ฆ่าบิดาฆ่าพระอรหันต์ ด้วยเจตนา คือจงใจฆ่า แม้สำคัญผิดคิดว่าเป็นคนอื่นสัตว์อื่น ก็ไม่พ้นโทษอันชื่อว่า อนันตริยกรรม เพราะมีเจตนา จึงเป็นการฆ่าที่สมบูรณ์
โลหิตุปบาท ได้แก่ทำร้าย คือพยายามฆ่าพระพุทธเจ้า แต่ฆ่าไม่สำเร็จ เพียงแต่ทำให้บาดเจ็บ แม้เพียงพระโลหิตห้อ (โป่ง นูนช้ำเลือด) ขึ้น
สังฆเภท ได้แก่ยังสงฆ์ให้แตกกัน คือทำลายพระสงฆ์ผู้พร้อม-เพรียงกัน ในสีมาเดียวกัน ในวัดใดวัดหนึ่ง ให้แตกเป็นก๊ก จนถึงไม่ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ต้องแยกออกทำอุโบสถสังฆกรรม หรือปวารณา-กรรม หรือสังฆกรรมอื่นๆ เป็น ๒ หมู่
กรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ แต่ละอย่างๆ จัดเป็นบาปอันหนักที่สุดเพราะมาดา บิดา...
หน้า 364 ของ 413