เรื่องเด่น พระอดีตวงศ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มาตรัสรู้ในอดีตกาล

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 29 มีนาคม 2007.

  1. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    [​IMG]

    พระปทุมุตระพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระนารทะพุทธเจ้าอันตรธานไปแล้ว เป็นช่วงเวลาว่างจากพระพุทธเจ้าถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า รุจิอสงไขย กาลเวลาล่วงมาถึงมัณฑกัปหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๑ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระปทุมุตระพุทธเจ้า
    พระปทุมุตระพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นพระปทุมุตระราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งหังสวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอานันทะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุชาดาเทวี
    พระปทุมุตระราชกุมารทรงพระเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ นรวาหนะปราสาท ยสวาหนะปราสาท และวสวัตดีปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าวสุทัตตาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๑๒๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง เมื่อพระเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า พระอุตตระกุมาร และปทุมุตระราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระดำริว่าจะออกบวช พอดำริดังนั้น วสวัตดีปราสาทก็ลอยเลื่อนไปลงกลางพื้นดิน เมื่อปทุมุตระราชกุมารพร้อมบุรุษผู้ติดตามออกบรรพชาแล้ว ปราสาทนั้นก็ลอยกลับที่เดิม
    ปทุมุตระราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดารุจานันทเศรษฐี ณ อุชเชนีนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากสุมิตตะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นสลละ (ต้นช้างน้าว) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้นเอง
    พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระโอรส ๒ องค์ของพระเจ้าอาแห่งกรุงมิถิลา คือ เทวละกุมาร และสุชาตะกุมาร ที่ราชอุทยานกรุงมิถิลา ทำให้พระโอรสทั้งสองและบริวารสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปทุมุตระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่สรทดาบส
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๓,๗๐๐,๐๐๐
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าอานันทะพุทธบิดา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๕,๐๐๐,๐๐๐

    พระปทุมุตระพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ณ มิถิลานคร
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ณ เวภารบรรพต
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ณ คามนิคมชนบท

    พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระเทวิละเถระ และพระสุชาตะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระอมิตาเถรี และพระอสมาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระสุมนะ

    พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป ๑๒ โยชน์โดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระวิหารนันทาราม พระศาสนาก็ดำรงมาได้อีก ๗๐,๐๐๐ ปี ก็อันตรธาน​
     
  2. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระสุเมธะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระปทุมุตระพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๓๐,๐๐๐ กัป ล่วงถึงมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒ องค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระสุเมธะพุทธเจ้า
    พระสุเมธะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสุเมธะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุทัสสนะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทัตตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุทัตตาเทวี
    สุเมธะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุจันทนะปราสาท สุกัญจนะปราสาท และสิริวัฒนะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุมนาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๘,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง สุเมธะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางสุมนาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า ปุนัพพสุมิตตะกุมาร จึงได้เสด็จทรงคชยานออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๑๐๐ โกฏิ
    สุเมธะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดานกุลเศรษฐี ณ นกุลนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากสุวัฑฒอาชีวก ปูลาดใต้ต้นมหานีปะ (ต้นกะทุ่ม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    พระสุเมธะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่สรณอนุชา และสัพพกามีอนุชา พร้อมทั้งพระภิกษุที่บรรพชาตามจำนวน ๑๐๐ โกฏิ ในราชอุทยานนั้นเอง

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสุเมธะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่ยักษ์กุมภกรรณ
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมที่ราชอุทยานสิรินันทะ อุปการีนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

    พระสุเมธะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ ณ กรุงสทัสสนะ
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ ณ ภูเขาเทวกูฏ ในพิธีกรานกฐิน
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ ที่ประชุมกันคราวพระสุเมธะพุทธเจ้าเสด็จจาริก

    พระสุเมธะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระสรณะเถระ และพระสัพพกามะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระรามาเถรี และพระสุรามาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระสาคระ

    พระสุเมธะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปได้โยชน์หนึ่งโดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน​
     
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    ความลับของจักรวาล ในพระไตรปิฏก
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    ความลับของจักรวาล ในพระไตรปิฏก

    ขนาดของจักรวาล

    จักรวาลอันหนึ่ง โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
    ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์

    ขนาดหนาของแผ่นดิน ในจักรวาลนั้น
    แผ่นดินนี้ กล่าวโดยความหนา มีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์

    ขนาดหนาของน้ำรองแผ่นดิน สิ่งที่รองแผ่นดินนั้นหรือ
    คือน้ำอันตั้งอยู่บนลม โดยความหนามีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์

    ขนาดความหนาของลมรองน้ำ
    ลมอัน (พัดดัน) ขึ้นฟ้า (โดยความหนา) มีประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความตั้งอยู่พร้อมมูลแห่งโลก

    ขนาดภูเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) และต้นไม้ประจำทวีป
    อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่พร้อมมูลอย่างนี้นั้น มี
    ภูเขาสิเนรุอันเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็ประมาณเท่ากันนั้น
    ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ
    ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกัณณะ อันตระการไปด้วยรัตนะหลากๆ ราวกะภูเขาทิพย์ หยั่ง (ลึก) ลงไป
    (ในมหาสมุทร) และสูงขึ้นไป (ในฟ้า) โดยประมาณกึ่งหนึ่งแต่ประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไปตามลำดับ
    ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้น (ตั้งอยู่) โดยรอบภูเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ (จาตุ)มหาราช เป็นที่ๆ เทวดา และยักษ์อาศัยอยู่

    ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ (เท่ากัน) ประดับไปด้วยยอดถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด
    ต้นชมพู (หว้า) ชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ และกิ่ง (แต่ละกิ่ง)
    ก็ยาว ๕๐ โยชน์ แผ่ออกไปวัดได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ และสูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ด้วยอานุภาพของ
    ต้นชมพู (นี้) ไรเล่า ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่า ชมพูทวีป
    ก็แลขนาดของต้นชมพูนี้ใด ขนาดนั้นนั่นแหละเป็นขนาดของต้นจิตรปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูร
    ต้นสิมพลี (งิ้ว) ของพวกครุฑ ต้นกทัมพะ (กระทุ่ม) ในอมรโคยานทวีป ต้นกัปปะในอุตตรกุรุทวีป
    ต้นสิรีระ (ซึก) ในบุพพวิเทหทวีป ต้นปาริฉัตตกะ ในดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
    (ต้นไม้ประจำภพและทวีป คือ) ต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริตฉัตตะของพวกเทวดา
    ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และต้นที่ ๗ คือ ต้นสิรีสะ ดังนี้

    ขนาดภูเขาจักรวาล
    ภูเขาจักรวาล หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็เท่ากันนั้น
    ภูเขาจักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่

    ขนาดของภพและทวีป
    ในโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็
    เท่ากันนั้น อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ บุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์ อนึ่ง ในโลกธาตุนั้น
    ทวีปใหญ่ๆ ทวีป ๑ ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐
    สิ่งทั้งปวง (ที่กล่าวมานี้) นั้น (รวม) เป็นจักรวาล ๑ ชื่อว่า โลกธาตุอัน ๑ ๑ในระหว่างแห่งโลกธาตุ
    ทั้งหลายมีโลกันตนรก (แห่งละ ๑)

    ๑. มหาฎีกาว่า จักรวาล ก็คือโลกธาตุ โลกธาตุได้ชื่อว่า จักรวาล ก็เพราะมีภูเขาจักรวาล ซึ่งสัณฐานดังกง
    รถล้อมอยู่โดยรอบเท่านั้นเองไม่ใช่จักรวาลอัน ๑ โลกธาตุอัน ๑
    ๒. ท่านว่าจักรวาลหรือโลกธาตุนั้นมีมากนัก ช่องว่างในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลต่อกัน มีโลกันตนรก ๑
    ทุกแห่งไป โดยนัยนี้ คำว่า โลกันตนรก ก็แปลว่า นรกอันตั้งอยู่ในช่องระหว่างจักรวาล ๓ อันนั่นเอง
    ------------------
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า
    จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา) ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย
    นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น) มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ
    โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ โลกธาตุอย่างเล็กมีจำนวนพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีจำนวนล้านจักรวาล โลกธาตุอย่างใหญ่มีจำนวน แสนโกฏิจักรวาล
    ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย "ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปในที่สุด"
    กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า เกิดมีน้ำขึ้นในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็นง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้นมีต้นข้าวและพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว นรกขุมต่างๆ เทวโลก และพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง
    กำเนิดชีวิตพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"
    กำเนิดชีวิตในจักรวาลอื่น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่มี ? และยังคงไม่มีใครสามารถสร้างเครื่องมือติดต่อค้นหาเพื่อตอบคำถามนี้ได้ แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แน่นอนมากว่าสองพันปีแล้วว่า "มี"

    นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า "ดวงอาทิตย์ มีเส้นผ่าศูยน์กลางประมาณ ๑,๔๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร หรือโตกว่าโลกประมาณ ๑๐๙ เท่า มีน้ำหนักประมาณ ๒ x ๑,๐๓๐ กิโลกรัม (หรือ ๒๐ ตามด้วย ๐ จำนวน ๓๐ ตัว) เนื้อตัวทั้งหมดของดวงอาทิตย์เป็นธาตุไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุเบา เผาไหม้ตัวเองด้วยปฏิกิริยา เทอร์โมนิวเคลียร์ จากภายในใจกลางออกมาไม่ใช่เผาไหม้เฉพาะพื้นผิว สิ้นมวลของตัวเองวินาทีละ ๔ ล้านตัน เผาไหม้อย่างนี้มาแล้ว ๕,๕๐๐ ล้านปี และจะเผาไหม้อย่างนี้ต่อไปอีก ๕,๕๐๐ ล้านปี" เมื่อเป็นเช่นนี้ลองคิดดูว่าวันหนึ่งมีกี่วินาที ? ต่อให้ดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นใหญ่โตขนาดไหนก็ตาม น่าจะย่อยยับหมดสิ้นภายในวันเดียว แต่ดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นก็ยังอยู่ยืนยาวมานานนับพันๆล้านปี โดยยังมีขนาดเท่าเดิม " นี้คือความมหัศจรรย์ที่ยังคงเหนือการพิสูจน์
    อีกอย่างหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนว่า "เวลาอันยาวนานในอนาคต ดวงอาทิตย์จะขยายตัวบวมขึ้นจนมีขนาดโตถึงวงโคจรของโลก แล้วกลืนกินโลกและดาวเคราะห์วงในทั้งหมด และเมื่อเวลายาวนานอีกต่อไปก็จะค่อยๆยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระ คือจะมีขนาดเล็กลงเท่าโลกแต่มีความร้อนจัด ดาวฤกษ์บางดวงก็ยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอนที่มีขนาดเส้นผ่าศูยน์กลางเพียง ๒๕-๓๐ กิโลเมตร และดาวฤกษ์บางดวงก็ยุบตัวลงเป็นหลุมดำ"

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ในอนาคตอันยาวไกลในสุริยะจักรวาล จะมีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเองเพิ่มขึ้นทีละดวงๆ จนครบ ๗ ดวง แล้วเผาไหม้โลกและดาวเคราะห์บริวารทั้งหมด นรกทุกขุม สวรรค์ทุกชั้น และพรหมโลกชั้นต่ำๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์ทั้ง ๗ ดวงนั้น ก็พินาศไปด้วย แล้วก็จะมีแต่ความมืดมิดจนนานแสนนาน ก็ก่อตัวขึ้นมาใหม่อีก" (สุริยะสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๘๓)

    นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย คือปุถุชนผู้ที่ยังมีกิเลสตัณหา ตั้งทฤษฎีมาจากการคาดคะเน การนึกคิด การเดา การสันนิษฐาน การค้นคว้าทดลอง การสังเกตจดจำ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก แต่ทฤษฎีเหล่านั้นก็ยังไม่ตายตัว พร้อมที่จะถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือบุคคลพิเศษ วิเศษ เป็นอัจฉริยะมนุษย์ เป็นบุคคลเอกที่ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้สิ้นกิเลสตัณหา เป็นผู้มีญาณวิเศษรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก ดังนั้นพระสูตรหรือทฤษฎีต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว จึงตายตัวไม่มีใครลบล้างได้
    -----------------------------
    ลักษณะของจักรวาล คือ มีเขาสิเนรุเป็นแกนกลาง มี เขาสัตตบริภัณฑ์ คือ เขาล้อมรอบ ๗ ชั้น ซึ่งมี สีทันดรมหาสมุทร คั่นอยู่ในระหว่าง ตั้งเป็นรูปร่างขึ้นไว้ก่อน ภูมิสวรรค์อยู่พ้นทวีปทั้งหลายซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ เช่น ชมพูทวีปซึ่งมีอินเดียเป็นศูนย์กลาง จึงอยู่พ้นป่าหิมพานต์ พ้นภูเขาหิมวันตะหรือ หิมาลัย พ้นมหาสมุทรแห่งทวีปทั้งปวง แล้วถึงภูเขาสัตตบริภัณฑ์ ตั้งต้นแต่ภูเขาสุทัสสนะ จนถึงภูเขาอัสสกัณณะ จึงเป็นอันถึงสวรรค์ชั้นที่ ๑ เพราะยอดเขาสัตตบริภัณฑ์เหล่านี้เองเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช ๔ องค์กับบริวาร นับเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๑ เรียกว่า จาตุมหาราชิก

    ท้าวมหาราช ๔ องค์นี้ แบ่งกันครอบครอง ดั่งนี้
    ๑)ด้านทิศตะวันออกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรัฏฐะ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นปุพพวิเทหทวีป)
    ๒)ด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของ ท้าววิรุฬหก มีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นชมพูทวีป) พวกกุมภัณฑ์นี้ ท่านอธิบายว่าได้แก่ ทานพรากษส
    ๓)ด้านทิศตะวันตกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าววิรูปักข์ มีพวกนาคเป็นบริวาร (ออกไปเป็น อมรโคยานทวีป)
    ๔)ด้านทิศเหนือของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าวกุเวร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นอุตตรกุรุทวีป)

    ท้าวมหาราชที่ ๔ ครองอยู่ ๔ ทิศของเขาสิเนรุ มีกล่าวถึงใน อาฏานาฏิยสูตร หน้าที่ของท้าวมหาราชที่ ๔ และบริวารตามที่ได้กล่าวไว้ คือเป็นผู้รับด่านหน้าของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูรซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะยกมาตีเอาถิ่นสวรรค์ชั้นนั้น แต่ใน สุตตันตปิฎก ติกนิบาต ได้มีแสดงหน้าที่ให้เป็นผู้ตรวจ ซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์อีกด้วย แสดงเป็นพระพุทธภาษิตมีความว่า ในวัน ๘ ค่ำแห่งอมาตย์บริษัทของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักข์ บุตรทั้งของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๕ ค่ำแห่งปักษ์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูโลกเองว่าพวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา บำรุงสมณพราหมณ์ เคารพนบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ทำบุญกุศล มีจำนวนมากด้วยกันอยู่หรือ เมื่อตรวจดูแล้ว ถ้าเห็นว่ามีจำนวนน้อย ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งประชุมกันใน สุธรรมสภา พวกเทพชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ฟังดั่งนั้นก็มีใจหดหู่ว่า ทิพยกายจักลดถอย อสุรกายจักเพิ่มพูน แต่ถ้าเห็นว่าพวกมนุษย์พากันทำดี มีบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น เป็นจำนวนมาก ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์เหมือนอย่างนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ก็พากันมีใจชื่นบานว่า ทิพยกายจักเพิ่มพูน อสุรกายจักลดถอย ๑

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีหน้าที่เป็น จตุโลกบาล คือ เป็นผู้คุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ ตามที่เชื่อถือกันมาเก่าก่อนพระพุทธศาสนา แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลกไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ ความละอายใจ ที่จะทำชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะเหตุนี้ จึงไม่กล่าวให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่คุ้มครองโลกโดยตรง จะไม่กล่าวถึงเลยก็จะขัดขวางต่อความเชื่อของคนทั้งหลายจนเกินไป จึงกล่าวเปลี่ยนไปให้มีหน้าที่เที่ยวตรวจดูโลกมนุษย์ ว่าได้พากันทำดีมากน้อยอย่างไร แล้วก็นำไปรายงานพวกเทพชั้นดาวดึงส์ พวกเทพชั้นนั้นได้รับรายงานแล้วก็เพียงแต่มีใจชื่นบานหรือไม่เท่านั้น เห็นได้ว่าท่านผู้รวบรวมร้อยกรองเรื่องนี้ไว้ในพระสุตตันตปิฎก ต้องการจะรักษาเรื่องเก่าที่คนส่วนมากเชื่อถือ ด้วยวิธีนำมาเล่าให้เป็นประโยชน์ในทางตักเตือนให้ทำดี เหมือนอย่างที่มีคำเก่ากล่าวไว้ว่า ถึงคนไม่เห็น เทวดาก็ย่อมเห็น คือ สดงจตุโลกบาลที่เขาเชื่อกันอยู่แล้วในทางที่อาจเข้าใจเป็นธรรมาธิษฐาน ซึ่งเป็นข้อมุ่งหมายโดยตรง ถึงจะเชื่อว่ามีตัวตนอยู่จริงและคอยมาตรวจดูโลกว่า ใครทำดีไม่ดีอย่างไรก็ไม่เสียหาย กลับจะดีเพราะจะได้เกิดละอายกลัวเกรงว่า จตุโลกบาลจะรู้จะเห็นว่าทำไม่ดี หรือไม่ทำดี เป็นอันหนุนให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นได้ ผู้ที่ไม่ยอดเชื่อเสียอีกอาจจะร้ายกว่า เพราะไม่มีที่ละอายยำเกรง เว้นไว้แต่จะมีภูมิธรรมในจิตใจดีอยู่แล้ว หรือมีที่ละอายยำเกรงอย่างอื่นแทนอยู่ วันที่ท่านกล่าวว่าจตุโลกบาลมาตรวจดูโลก เดือนหนึ่งมีไม่กี่วัน ดูเหมือนจะน้อยไป แต่คงไม่หมายความว่าตรวจกรรมของคนเฉพาะวันนั้น วันอื่นไม่เกี่ยวข้องด้วย ควรเข้าใจว่า ตรวจดูรู้ย้อนไปถึงวันอื่นๆ ในระหว่างที่ไม่ได้ลงมานั้นด้วย ตัวของเราเองทุกๆคนนึกย้อนตรวจดูกรรมของตนเองภายใน ๗ วันยังจำได้ ไฉนโลกบาลจะไม่รู้กรรมที่ตนเองทำ แม้จะลืมไปแล้ว โลกบาลก็ต้องรู้ เมื่อเชื่อว่าโลกบาลมีจริง ก็ควรจะเชื่ออย่างนี้ด้วย จึงจะเป็นโลกบาลที่สมบูรณ์ สรุปลงแล้วทำความเข้าใจว่า โลกบาลมาตรวจตราดูที่จิตใจนี้เอง จะเกิดประโยชน์มาก.
    ตามหลักในการจัดภูมิต่างๆ สัตว์ดิรัจฉานเป็นอบายภูมิต่ำกว่าภูมิมนุษย์และสวรรค์ พระอาจารย์จึงกล่าวว่าในสวรรค์ไม่มีสัตว์เดียรัจฉาน การเกิดในสวรรค์ เกิดโดยอุปปาติก กำเนิดอย่างเดียว จึงน่ามีปัญหาว่า พวกนาคซึ่งเป็นบริวารของท้าวมหาราชจะจัดว่าเป็นภูมิอะไร นอกจากนี้ บริวารของท้าวมหาราชจำพวกอื่น เช่น พวกกุมณฑ์ ก็มีลักษณะพิกล ยักษ์บางพวกก็ดุร้าย เป็นผีเที่ยวสิงมนุษย์ก็มี ดูต่ำต้อยกว่าภูมิมนุษย์ แต่ก็อยู่ในสวรรค์ชั้นหนึ่งนี้ด้วย ตามที่กล่าวมานี้ น่าเห็นว่าเก็บเอามาจากเรื่องเก่าๆ จึงฟังไม่สนิทตามหลักการจัดภูมิต่าง ๆ ดั่งกล่าว
    --------------------------------
    ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ ดังมีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงดังนี้

    ทวีปต่างๆในจักรวาล
    ๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
    -มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
    -สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
    -สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก
    -แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง
    -ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป"
    -ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
    -ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น

    ๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -เป็นแผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
    -มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
    -มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    -ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"

    ๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
    -มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
    -มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    -ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"

    ๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    -มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
    -มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
    -มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    -มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)" ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
    -มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว
    -ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป" ​

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระสุชาตะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระสุเมธะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุชาตะพุทธเจ้า ซึ่งอุบัติขึ้นในมัณฑกัปเดียวกัน
    พระสุชาตะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสุชาตะราชกุมาร ในวงศ์กษัตริย์แห่งสุมงคลนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอุคคตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางปภาวดี
    สุชาตะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สิรีปราสาท อุปสิรีปราสาท และสิรินันทะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สิรินันทาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๒๓,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง พระสุชาตะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางสิรินันทาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อุปเสนกุมาร จึงได้เสด็จทรงม้าหังสวหังออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๑ โกฏิ
    สุชาตะราชุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๙ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาของสิรินันทนเศรษฐี แห่งสิรินันทนนคร และรับหญ้า ๘ กำจากสุนันทะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นเวฬุ (ต้นไผ่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระสุชาตะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระสุทัสสนกุมารพระอนุชา และเทวกุมารบุตรปุโรหิต พร้อมบริวาร ในราชอุทยานนั้นเอง

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสุชาตะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๓,๗๐๐,๐๐๐
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าอุคคตะพุทธบิดา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๖,๐๐๐,๐๐๐

    พระสุชาตะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๖,๐๐๐,๐๐๐
    ณ สุธรรมราชอุทยาน
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๕,๐๐๐,๐๐๐
    ที่มาประชุมกันเพื่อรอรับเสด็จพระสุชาตะพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๔๐๐,๐๐๐
    ที่นำโดยพระสุทัสสนเถระ

    พระสุชาตะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระสุทัสสนะเถระ และพระสุเทวะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาลาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระนารทะ

    พระสุชาตะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปได้โดยรอบไม่มีประมาณ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารสิลาราม กรุงจันทวดี​
     
  5. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระปิยทัสสีพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระสุชาตะพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๒๘,๒๐๐ กัป ถึงวรกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๓ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
    พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นปิยทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสุธัญญวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทัตตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางจันทาเทวี
    ปิยทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุนิมมละปราสาท วิมละปราสาท และคิริพรหาปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิมลาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง ปิยทัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางวิมลาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า กัญจนเวฬะกุมาร จึงได้เสด็จด้วยราชรถเทียมม้าออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๑ โกฏิ
    ปิยทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรเป็นเวลา ๖ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาของวสภพราหมณ์ บ้านวรุณพราหมณ์ และรับหญ้า ๘ กำจากสุชาตะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นกกุธะ (ต้นกุ่ม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระปิยทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุแสนโกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่ราชอุทยานในกรุงอุสภวดี ทำให้พระภิกษุแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมบรรเทาทิฏฐิแก่ท้าวสุทัสสนะเทวราช
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ ทรงปราบช้างตกมันโทณมุขะ
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

    พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    มีพระปาลิตะ โอรสของพระราชาสุมงคลนคร กับพระสัพพทัสสิ
    บุตรราชปุโรหิต เป็นประธาน
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
    ณ สมาคมของท้าวสุทัสสนะเทวราช
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
    ประชุมกันในคราวปราบช้างโทณมุขะ

    พระปิยทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระปาลิตะเถระ และพระสัพพทัสสีเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระโสภิตะ

    พระปิยทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปโดยรอบไม่มีประมาณ เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน​
     
  6. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าล่วง จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้า บังเกิดในวรกัปเดียวกัน
    พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นอัตถะทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งโสภณะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสาคระ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุทัสสนเทวี
    อัตถะทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ อมรคิรีปราสาท สุรคิรีปราสาท และคิริวาหนะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิสาขาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง อัตถะทัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางวิสาขาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า เสละกุมารกุมาร จึงได้เสด็จด้วยม้าสุทัสสนะออกบรรพชา โดยมีผู้ออกบรรพชาตาม ๙ โกฏิ
    อัตถะทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ในพระราชอุทยานเป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสที่มหาชนนำมาสังเวยนางนาคชื่อ สุจินธรา และรับหญ้า ๘ กำจากพระยานาคชื่อ มหารุจิ ปูลาดใต้ต้นจัมปกะ (ต้นจำปา) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุ ๙ โกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่ราชอุทยานในอโนมนคร ทำให้พระภิกษุ ๙ โกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระเจ้าสาคระพุทธบิดา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ

    พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๘,๐๐๐ ณ สุจันทกนคร
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๘,๐๐๐ มีพระเสละเถระ ผู้เป็นพุทโธรสเป็นประธาน
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๗๗,๐๐๐

    พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระสันตะเถระ และพระอุปสันตะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระธัมมาเถรี และพระสุธัมมาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระอภยะ

    พระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน​
     
  7. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระอัตถะทัสสีพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า อุบัติเป็นองค์สุดท้ายในวรกัปนั้น
    พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นธรรมทัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งสรณะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสรณะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุนันทาเทวี
    ธรรมทัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๘,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ อรชะปราสาท วิรชะปราสาท และสุทัสสนะปราสาททรงมีพระมเหสีพระนามว่า วิจิโกฬิเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๒๒๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง ธรรมทัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางวิจิโกฬิเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า ปุญญวัฒนะกุมาร จึงได้ดำริว่าจะออกบรรพชา สุทัสสนะปราสาทจึงลอยเลื่อนไปส่งพระองค์ที่ต้นรัตตกุรวกะ (ต้นมะกล่ำทอง) โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ แสนโกฏิ
    ธรรมทัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากพระนางวิจิโกฬิเทวี และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสิริวัฒนะ ปูลาดใต้ต้นพิมพิชาละ (ต้นมะพลับ) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระธรรมทัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุแสนโกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน ทำให้พระภิกษุแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่สัญชัยดาบส
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่ท้าวสักกเทวราช
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐ โกฏิ

    พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    ณ กรุงสรณะ
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ
    ประชุมกันในคราวรอรับเสด็จพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ
    ณ สุทัสสนาราม

    พระธรรมทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระปทุมะเถระ และพระปุสสเทวะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระสุเนตตะเป็น

    พระธรรมทัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุงสาลวดี​
     
  8. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระสิทธัตถะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๑,๗๐๖ กัป จึงเกิดสารกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๑ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระสิทธัตถะพุทธเจ้า
    พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งเวภาระนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอุเทน และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุผัสสาเทวี
    สิทธัตถะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ โกกาสะปราสาท อุปปละปราสาท และปทุมะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า โสมนัสสาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๘๔,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง สิทธัตถะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางโสมนัสสาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า พระอนุปมกุมาร จึงได้เสด็จโดยพระวอทองออกบรรพชาในราชอุทยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ แสนโกฏิ
    สิทธัตถะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากสุเนตตาพราหมณี บ้านอสทิสพราหมณ์ และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ วรุณะ ปูลาดใต้ต้นกณิการะ (ต้นกรรณิการ์) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระสิทธัตถะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุแสนโกฏิที่ออกบวชตามพระองค์ ที่คยามิคทายวัน ทำให้พระภิกษุแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมาภิสมัยให้บังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมในภีมรถนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระประยูรญาติในเภวาระนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ

    พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐ โกฏิ
    ณ อมรนคร
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ
    ประชุมกันในสมาคมของพระญาติ ในเวภาระนคร
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐ โกฏิ
    ณ สุทัสสนวิหาร

    พระสิทธัตถะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระสัมพละเถระ และพระสุมิตตะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระสีวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระเรวตะ

    พระสิทธัตถะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ อโนมราชอุทยาน กรุงกาญจนเวฬุ​
     
  9. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระติสสะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระสิทธัตถะพุทธเจ้าล่วงไปได้กัปหนึ่ง กัปต่อมาเป็นมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระติสสะพุทธเจ้า
    พระติสสะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นติสสะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งเขมกะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าชนสันธะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางปทุมาเทวี
    ติสสะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๗,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ คุหาเสละปราสาท นาริสยะปราสาท และนิสภะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุภัททาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๓,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง ติสสะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางปทุมาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อานันทกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยม้าโสนุตตระ โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ
    ติสสะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาวีรเศรษฐี ณ วีรนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อวิชิตสังคามะกะ ปูลาดใต้ต้นอสนะ (ต้นประดู่) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระติสสะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระราชโอรสกรุงยสวดี ๒ พระองค์ คือ พระพรหมเทวะ กับพระอุทยะ พร้อมบริวาร ที่ยสวดีมิคทายวัน กรุงยสวดี ทำให้ราชโอรสทั้งสองพระองค์พร้อมบริวารสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระติสสะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่ผู้ออกบรรพชาตามโกฏิหนึ่ง
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมในมหามงคลสมาคม
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๖๐ โกฏิ

    พระติสสะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ ณ ยสวดีนคร
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙,๐๐๐,๐๐๐ ณ นาริวาหนนคร
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘,๐๐๐,๐๐๐ ณ เขมวดีนคร
    ภายหลังจากแสดงพุทธวงศ์โปรดพระประยูรญาติ

    พระติสสะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระพรหมเทวะเถระ และพระอุทยะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระผุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระสุมังคะ

    พระติสสะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารสุนันทาราม กรุงสุนันทวดี​
     
  10. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระปุสสะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระติสสะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปุสสะพุทธเจ้า บังเกิดในมัณฑกัปเดียวกันนั้น
    พระปุสสะพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นปุสสะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งกาสีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยเสน และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมาเทวี
    ปุสสะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๙,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ ครุฬปักขะปราสาท หังสะปราสาท และสุวรรณภาระปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า กีสาโคตมี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง ปุสสะราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางสิริมาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อนูปมะกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยคชยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑ โกฏิ
    ปุสสะราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๖ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสิริวัฑฒาธิดาของเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากอุบาสกชื่อสิริวัฒนะ ปูลาดใต้ต้นอาลมกะ (ต้นมะขามป้อม) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระปุสสะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระภิกษุ ๑ โกฏิ ที่ออกบรรพชาตามพระองค์ ที่ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน สังกัสสนคร ทำให้พระภิกษุทั้งแสนโกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปุสสะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่สิริวัฑฒะดาบส
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์ ๙,๐๐๐,๐๐๐
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่พระโอรส
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘,๐๐๐,๐๐๐

    พระปุสสะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑,๐๐๐,๐๐๐
    ที่ประชุมกัน ณ กัณณกุชชนคร
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๕,๐๐๐,๐๐๐
    ที่ประชุมกัน ณ นครกาสี ภายหลังจากที่ทรงแสดงพุทธวงศ์โปรดพระประยูรญาติ
    จนมีมหาชนออกบวชจำนวนมาก
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๔,๐๐๐,๐๐๐
    ที่ประชุมกันในมหามงคลสถาน

    พระปุสสะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระสุรักขิตะเถระ และพระธัมมเสนะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระสภิยะเถระ

    พระปุสสะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ พระวิหารเสนาราม กรุงกุสินารา
     
  11. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระวิปัสสีพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระปุสสะพุทธเจ้าล่วงไป กัปต่อมาเป็นสารกัป มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระวิปัสสีพุทธเจ้า
    พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นวิปัสสีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งพันธุมวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าพันธุมะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางพันธุมดี
    วิปัสสีราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๘,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ นันทะปราสาท สุนันทะปราสาท และสิริมาปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา หรือสุตนูเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๑๒๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง วิปัสสีราชกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระเทวีทรงประสูติพระโอรส พระนามว่า สมวัฏฏขันธะกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยราชรถเทียมม้า โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๘๔,๐๐๐ คน
    วิปัสสีราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาสุทัสสนเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสุชาตะ ปูลาดใต้ต้นปาฏลี (ต้นแคฝอย) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเขมมิคทายวัน และทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระอนุชาต่างมารดาชื่อพระขัณฑกุมาร และบุตรปุโรหิตชื่อติสสกุมาร ทำให้พระขัณฑกุมาร และติสสะกุมาร พร้อมบริวาร สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระวิปัสสีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดาไม่อาจกำหนดจำนวน
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่ผู้บวชตามพระขัณฑกุมารและติสสกุมาร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์ ๘๔,๐๐๐
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมที่เขมิคทายวัน
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์ ๘๖,๐๐๐

    พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๖,๘๐๐,๐๐๐ ณ เขมิคทายวัน
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐ ณ เขมิคทายวัน

    พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระขัณฑะเถระ และพระติสสะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระจันทาเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระอโสกะ

    พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแผ่ไป ๗ โยชน์ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน​
     
  12. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระสิขีพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระวิปัสสีพุทธเจ้าล่วงไป ๕๙ กัป ล่วงมาถึงมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระสิขีพุทธเจ้า
    พระสิขีพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสิขีราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งอรุณวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอรุณ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางปภาวดีเทวี
    สิขีกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๗,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุจันทกสิริปราสาท คิริยสะปราสาท และนาริวสภะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สัพพกามาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๒๔,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง สิขีกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางสัพพกามาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า อตุละกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยคชยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑๓๗,๐๐๐ คน
    สิขีกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดาปิยเศรษฐี สุทัสสนนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากดาบสชื่อ อโนมทัสสี ปูลาดใต้ต้นบุณฑรีกะ (ต้นกุ่มบก) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระสิขีพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังมิคาจิระราชอุทยาน ในกรุงอรุณวดี ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระภิกษุสาวก ๑๗๐,๐๐๐ รูป ทำให้พระภิกษุสาวกนั้น สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสิขีพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมแก่อภิภูราชโอรส และสัมภวะราชโอรส กรุงอรุณวดี
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงยมกปาฏิหาริย์ ที่สุริยวดีนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ

    พระสิขีพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐
    ที่ประชุมกันภายหลังปฐมเทศนา
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๘๐,๐๐๐
    ที่ประชุมกันภายหลังทรงโปรดพระประยูรญาติ
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๗๐,๐๐๐
    ที่ประชุมกันภายหลังทรงปราบช้างธนปาล

    พระสิขีพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระอภิภูเถระ และพระสัมภวะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระสขิลาเถรี และพระปทุมาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระเขมังกร

    พระสิขีพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๗๐ ศอก พระรัศมีแผ่ไปไกล ๓ โยชน์ เมื่อพระชนมายุได้ ๗๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่พระวิหารอัสสาราม สีลวตีนคร​
     
  13. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระเวสสภูพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระสิขีพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเวสภูพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในมัณฑกัปเดียวกันนั้น
    พระเวสภูพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นเวสภูราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งอโนมะนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุปปตีตะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางยสวดีเทวี
    เวสภูกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๖,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุจิปราสาท สุรุจิปราสาท และรติวัฑฒนะปราสาท ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า สุจิตตาเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง เวสภูกุมารทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางสุจิตตาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยพระวอทอง โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๗๐,๐๐๐ คน
    เวสภูราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๖ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากพระพี่เลี้ยงชื่อว่าสิริวัฒนา ณ สุจิตตนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากพระยานาคชื่อนรินทะ ปูลาดใต้ต้นสาละเป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระเวสภูพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังอรุณราชอุทยาน ในกรุงอนูปมะ ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระโสณกุมาร และพระอุตตรกุมาร ซึ่งเป็นพระอนุชา ทำให้พระอนุชาทั้งสองพร้อมบริวาร สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระเวสภูพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมในแว่นแคว้นชนบท
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๗๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงยมกปาฏิหาริย์ ในกรุงอนูปมะ
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๖๐,๐๐๐ โกฏิ

    พระเวสภูพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
    ซึ่งบวชในสำนักของพระโสณะ และพระอุตระ
    ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๑,๐๐๐ โกฏิ
    ที่มาประชุมกัน ณ โสเรยยะนคร
    ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๙๐ โกฏิ
    ที่ประชุมกัน ณ นาริวาหนะนคร

    พระเวสภูพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระรามาเถรี และพระสมาลาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระอุปสันตะ

    พระเวสภูพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก พระรัศมีเหมือนดวงไฟบนเขายามราตรี เมื่อพระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพานที่เขมมิคทายวัน กรุงอุสภวดี​
     
  14. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระกกุสันธะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระเวสภูพุทธเจ้าล่วงไป ๒๙ กัป จึงได้ถึงกัปปัจจุบัน เรียกว่าภัททกัป มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแล้ว ๔ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระกกุสันธะพุทธเจ้า
    พระกกุสันธะพุทธเจ้า เกิดในสกุลพราหมณ์ชื่อว่า กกุสันธะกุมาร เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิตในราชสำนักของพระเจ้าเขมังกร เขมะวดีนคร นามว่าอัคคิทัตตะพราหมณ์ มารดาชื่อวิสาขาพราหมณี
    กกุสันธะกุมารเกษมสำราญอยู่ ๔,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ กามะปราสาท กามวัณณะปราสาท และกามสุทธิปราสาท มีภริยาชื่อว่า โรจินีพราหมณี และมีบาทบริจาริกาแวดล้อมอีก ๓๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง กกุสันธะพราหมณ์ได้เห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช จึงมีใจน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อนางโรจินีพราหมณีให้กำเนิดบุตร นามว่า อุตตระกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยรถม้า โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๔๐,๐๐๐ คน
    กกุสันธะพราหมณ์บำเพ็ญเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ รับข้าวมธุปายาสจากธิดาวชิรินธพราหมณ์ ณ สุจิรินธนิคม และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุภัททะ ปูลาดใต้ต้นสิรีสะ (ต้นซึก) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระกกุสันธะพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังป่าอสิปตนะมิคทายวัน ใกล้มกิลนคร ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระสาวกที่ออกบวชติดตามจำนวน ๔๐,๐๐๐ รูป ทำให้พระสาวกทั้งหลาย สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระกกุสันธะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๔๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงยมกปาฏิหาริย์ ที่ กัณณกุชชนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๓๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่ยักษ์ นรเทพ
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดานับจำนวนไม่ได้

    พระกกุสันธะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาตเพียงครั้งเดียว โดยทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวก ๔๐,๐๐๐ รูป ที่ได้รับฟังปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปัตนมิคทายวัน

    พระกกุสันธะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระวิธุระเถระ และพระสัญชีวะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระสามาเถรี และพระจัมปาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระพุทธิชะ

    พระกกุสันธะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๔๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไปไกล ๑๐ โยชน์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน​
     
  15. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระโกนาคมนะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระกกุสันธะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในภัททกัปเดียวกัน
    พระโกนาคมนะพุทธเจ้า เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์แห่งโสภวดีนคร นามว่า โกนาคมนะกุมาร บิดาคือยัญญทัตตพราหมณ์ และมารดาคืออุตตราพราหมณี
    โกนาคมนะกุมารเกษมสำราญอยู่ ๓,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ ดุสิตะปราสาท สันดุสิตะปราสาท และสันตุฏฐะปราสาท มีภริยาชื่อว่า รุจิคัตตาพราหมณี และมีบาทบริจาริกาแวดล้อมอีก ๑๖,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง โกคมนะพราหมณ์ได้เห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช จึงมีใจน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อนางโรจินีพราหมณีให้กำเนิดบุตร นามว่า สัตถวาหะกุมาร จึงได้ออกบรรพชาโดยคชยาน โดยมีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน
    โกนาคมนะพราหมณ์บำเพ็ญเพียรอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ รับข้าวมธุปายาสจากอัคคิโสณพราหมณกุมารี ธิดาของอัคคิโสณพราหมณ์ และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ ชฏาตินทุกะ ปูลาดใต้ต้นอุทุมพร (ต้นมะเดื่อ) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้นเอง
    พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังป่าอสิปตนะมิคทายวัน ใกล้สุทัสสนะนคร ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระสาวกที่ออกบวชติดตามจำนวน ๓๐,๐๐๐ รูป ทำให้พระสาวกทั้งหลาย สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมาภิสมัยให้บังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๓๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงยมกปาฏิหาริย์ ที่สุนทรนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๓๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมบนดาวดึงส์เทวโลกโปรดพุทธมารดา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๑๐,๐๐๐ โกฏิ

    พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาตครั้งเดียว แก่พระสงฆ์สาวก ๓๐,๐๐๐ รูป ณ สุรินทวดีอุทยาน กรุงสุรินทวดี

    พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระภิยโยสะเถระ และพระอุตตระเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระสมุททาเถรี และพระอุตตราเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระโสตถิชะ

    พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๓๐ ศอก และปรินิพพานเมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๐,๐๐๐ ปี
     
  16. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระกัสสปะพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระโกคมนะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกัสสปะพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในภัททกัปเดียวกัน
    พระกัสสปะพุทธเจ้า เกิดในสกุลพราหมณ์นามว่ากัสสปะพราหมณ์ เป็นบุตรของพราหมณ์แห่งพาราณสีนคร นามว่าพรหมทัตตะพราหมณ์ มารดาชื่อธนวดีพราหมณี
    กัสสปะพราหมณ์เกษมสำราญอยู่ ๒,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ หังสวาปราสาท ยสวาปราสาท และสิรินันทะปราสาทมีภริยาชื่อว่า สุนันทาพราหมณี และมีบาทบริจาริกาแวดล้อมอีก ๔๘,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง กัสสปะพราหมณ์ได้เห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช จึงมีใจน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อนางสุนันทาพราหมณีให้กำเนิดบุตร นามว่า วิชิตเสนะกุมาร จึงได้ออกบวชโดยปราสาทลอยเลื่อนไปลงที่ต้นนิโครธ (ต้นไทร) ผู้ที่อยู่ในปราสาทนั้นออกบวชตามทั้งหมด ยกเว้นนางบาทบริจาริกา
    กัสสปะพราหมณ์บำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ รับข้าวมธุปายาสจากนางสุนันทาพราหมณี และรับหญ้า ๘ กำจากคนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ โสมะ ปูลาดใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้นเอง
    พระกัสสปะพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนะมิคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี และทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระสาวกที่ออกบวชติดตาม ทำให้พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้น สำเร็จเป็นพระอริยบุคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระกัสสปะพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๒๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงยมกปาฏิหาริย์ ที่สุนทรนคร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดา ๑๐,๐๐๐ โกฏิ
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมบนดาวดึงส์สวรรค์
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่เทวดา ๕,๐๐๐ โกฏิ

    พระกัสสปะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาตเพียงครั้งเดียว

    พระกัสสปะพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระติสสะเถระ และพระภารทวาชะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระอนุฬาเถรี และอุรุเวฬาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระสัพพมิตตะ

    พระกัสสปะพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๒๐ ศอก เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน ณ เสตัพยอุทยาน ใกล้เสตัพยนคร แคว้นกาสี​
     
  17. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระสมณโคตมพุทธเจ้า

    หลังจากศาสนาของพระกัสสปะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณโคตมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในอันตรกัปที่ ๑๒ แห่งภัททกัปนี้
    พระสมณโคตมพุทธเจ้า ทรงประสูติเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ในศากยวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมหามายาเทวี
    สิทธัตถะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๒๙ ปี ในปราสาท ๓ หลัง คือ สุจันทะปราสาท โกกนุทะปราสาท และโกญจะปราสาท ทรงมีพระเทวีนามว่า ยโสธราพิมพา มีนางสนมนารีแวดล้อม ๔๐,๐๐๐ นาง
    วันหนึ่ง เจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา
    เมื่อพระนางพิมพาเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า ราหุลกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาโดยทรงม้าชื่อกัณฑกะ มีผู้บรรพชาติดตาม ๕ คน เรียกว่า ปัญจวัคคีย์
    เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา ๖ ปี จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และรับหญ้า ๘ กำจากคนหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ปูลาดใต้ต้นอัสสัตถะ (ต้นโพธิใบ) เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระปัญญาธิกะพุทธเจ้าในคืนนั้น
    พระสมณโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปัตนะมิคทายวัน แก่ปัญจวัคคีย์ ทำให้ปัญจวัคคีย์สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล

    ธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระสมณโคตมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ วาระ คือ
    วาระที่ ๑ แสดงปฐมเทศนา
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่พระอัญญาโกณฑัญญะและเทวดา ๑๘ โกฏิ
    วาระที่ ๒ แสดงธรรมในมหามงคลสมาคมแก่มนุษย์และเทวดาทั่วหมื่นจักรวาล
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดานับจำนวนไม่ได้
    วาระที่ ๓ แสดงธรรมแก่ราหุลกุมาร
    ธรรมาภิสมัยบังเกิดแก่มนุษย์และเทวดานับจำนวนไม่ได้

    พระสมณโคตมพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
    พระอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานะเถระ
    พระอัครสาวิกา คือ พระเขมาเถรี และพระอุบลวรรณาเถรี
    พระอุปัฏฐาก คือ พระอานนท์

    พระสมณโคตมพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาตเพียงครั้งเดียว จำนวนพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป

    พระสมณโคตมพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายสูง ๑๘ ศอก พระรัศมีแผ่ไปได้ ๔ ศอกโดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ ปี จึงปรินิพพานที่เมืองกุสินารา​
     
  18. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตำนานพระปริตร : อาฏานาฏิยปริตร</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>อาฏานาฏิยปริตร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บทขัดอาฏานาฏิยปริตร

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ทรงแสดงพระปริตรใด เพื่อคุ้มกันพุทธบริษัททั้ง ๔ มิให้ถูกเบียดเบียน จากอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้ายสันดานหยาบช้า ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายรับรองแล้วว่า เป็นศาสนาดีทุกเมื่อ ท่านผู้เจริญทั้งหลายพึงสวดพระปริตรนั้นเทอญ

    ตำนาน

    สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินทราธิราช

    พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี

    ท้าวธตรฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
    ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
    ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิมท้าวเวสวัน เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระบรมสุคตเจ้า

    จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็ให้พวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา กุมภัณฑ์รักษาทิศทักษิณ นาครักษาทิศปัจจิม ยักษ์รักษาทิศอุดร

    ครั้นแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ประชุมพร้อมกันที่ อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พร้อมกับผูกมนต์อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งมีเนื้อความสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ มี

    พระวิปัสสี ผู้มีสิริอันงาม
    พระสิขี พุทธเจ้า ผู้มากด้วยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
    พระเวสสภู พุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส มีตบะ
    พระกกุสันธะ พุทธเจ้า ผู้มีชัยชนะแก่พญามารและเสนามาร
    โกนาคมนะ พุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วมีพรหมจรรย์อันจบแล้ว
    กัสสปะ พุทธเจ้า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากกองกิเลสทั้งปวง
    พระอังคีส พุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งหมู่ศากยราช ผู้มีศักดิ์ มีสิริ ดัง นี้เป็นต้น

    ครั้นผูกมนต์พระปริตรแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงประกาศแก่บริวารของตนว่า ธรรมอาณาจักรของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมครูของเราทั้ง ๔ ถ้ามีผู้ใดสาธยายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร นี้ขึ้น แล้วถ้าใครไม่เชื่อฟัง ไม่สดับ จะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม รุนแรง

    และแล้วมหาราชทั้ง ๔ ก็พร้อมใจกันลงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กราบบังคมทูลว่าหมู่ยักษ์ทั้งหลาย หมู่นาคทั้งหลาย หมู่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย และหมู่คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีจิตกระด้างหยาบช้า ละเมิดเบญจศีลเป็นอาจิณ ที่ยังไม่เลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยนั้นมีมากพวกที่เลื่อมใสนั้นมีน้อย

    เมื่อพระสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ในที่ห่างไกลจากมนุษย์สัญจร อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมจะย่ำยี หลอนหลอก กระทำให้เจ็บไข้เป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ แต่ต่อนี้ไปจะไม่บังเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกแล้ว ถ้าพระบรมสุคตเจ้าทรงพระกรุณาโปรดรับมนต์อาฏานาฏิยปริตรนี้ไว้ แล้วโปรดประทานให้พระภิกษุสาวก สาธยายอยู่เนือง ๆ อมนุษย์ทั้งปวงก็จะมิกล้าย่ำยีหลอนหลอกทำร้าย อีกทั้งยังจะช่วยปกป้องคุ้มครอง กันภัยทั้งปวงให้อีกด้วยพระเจ้าข้า

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับมนต์พระปริตรนั้นโดยดุษฏี

    ท้าวเวสวัณ ก็แสดงอาฏานาฏิยปริตรนั้นถวายและแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ก็ถวายมนัสการลา

    สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เรียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ

    ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า จบ

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.160711/[/MUSIC]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. ri_thai13

    ri_thai13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +2,253
    กราบ กราบ กราบ ขอพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ แห่งคุณพระศรีรัตนรัตย และบารีขอพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จงปกป้องคุ้มครอง ผู้ที่ปฏิบัติธรรม อยู่ในศิลในธรรมขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า บุญกุศลที่ทุกท่านได้สร้างไว้ตั้งแต่อดีตชาติ ถึงป้จจุบันชาตินี้ และกาลข้างหน้า ขอให้เป็นพลวปัจจัยถึงซึ่งพระนิพพานทุกท่านๆ ทุกคนเทอญ สาธุ และโปรดน้อมจิตน้อมใจของปวงชนชาวไทย ให้หันมาปฏิบัติธรรมกันเยอะ ๆ ให้มีดวงตาเห็นธรรม ให้ประเทศชาติร่มเย็นเป็นสุขด้วยเถิด
     
  20. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,441
    [​IMG]


    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

    ความหมายของคำว่า “พระพุทธรูป”
    พระพุทธรูป หมายถึงรูปเหมือนของพระพุทธเจ้า หรือบางทีเรียกว่า “พระพุทธปฏิมา” แปลว่ารูปเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า นั่นก็คือมิใช่รูปเหมือนพระองค์จริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะปฏิมากรหรือจิตรกรผู้สร้างพระพุทธรูปนั้น ไม่มีใครเคยเห็นองค์จริงของพระพุทธเจ้าเลย ประติมากรรมและจิตรกรรมศิลปะในการสร้างพระพุทธรูปเกิดจากจินตนาการ เป็นพระรูปเนรมิตในมโนภาพของผู้สร้างเอง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ สภาพแวดล้อม ทั้งเชื้อชาติ ภูมิประเทศ ความรู้ทางด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ที่มีอยู่เดิมของช่างจะมีอิทธิพลสูง ทำให้พระพุทธรูปของแต่ละชนชาติ แต่ละยุค แต่ละสมัยแตกต่างกันออกไป เช่น พระพุทธรูปของประเทศใดจะมีพุทธลักษณะคล้ายกับชนชาตินั้น พระพุทธรูปของอินเดีย ก็ไม่เหมือนพระพุทธรูปจีนหรือธิเบต หรือเขมร หรือญี่ปุ่น เป็นต้น แม้ของชนชาติเดียวกันแต่ต่างยุคต่างสมัยกัน ก็จะมีพระพุทธลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนิกชนทุกชาติก็ถือว่าพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นเสมือนพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งเคารพสักการะอย่างสูงสุด ผู้ที่พบเห็นได้เคารพสักการะบูชา กราบไหว้ ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ และพระสงฆ์สาวก ผู้เป็นศาสนทายาท สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาของพระองค์ ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนาสืบๆไป

    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หมายถึงพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่ตรัสรู้ในภัทรกัปปัจจุบันนี้คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระเมตเตยยะ หรือพระศรีอริยเมตไตรย์
    ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในองค์พระพุทธรูป
    พระพุทธรูป แม้เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากวัตถุต่างๆ เช่น ทอง เงิน หิน ดิน ปูน หรือสิ่งใดก็ตาม เมื่อสร้างสำเร็จเป็นพระพุทธรูปแล้ว พระพุทธศาสนิกชนเมื่อทำการกราบไหว้สักการะบูชา ก็มิได้กราบไหว้วัสดุที่สร้าง แต่จะเคารพ สักการะ บูชา และปฏิบัติต่อพระพุทธรูปนั้นเหมือนปฏิบัติต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดุจพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เป็นสิ่งที่เคารพสักการะสูงสุด ฉะนั้น ในการสร้างพระพุทธรูป ช่างผู้สร้างจะต้องบรรจงสร้างให้มีมิติที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพื่อให้ตรงกับพระพุทธลักษณะพระมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ คือพระลักษณะปลีกย่อยของพระมหาบุรุษลักษณะอีก ๘๐ ประการด้วย พระพุทธคุณที่มีอยู่ในพระองค์ด้วย อันประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนพุทธคุณ ๙ ประการ คือ อรหันต์ เป็นผู้ปราศจากกิเลส อาสวะทั้งปวง ควรไหว้บูชา สัมมาสัมพุทโธ เป็นตรัสรู้เองโดยชอบ วิชชาจรณสัมปันโน เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึกทั้งเทวดาและมนุษย์ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า สัตถา เทวะมนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ภควา เป็นผู้จำแนกธรรม และผู้สร้างต้องเข้าใจในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง จนเกิดมโนภาพเนรมิตพระพุทธรูปเพื่อสื่อแทนพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้และสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ด้วย ฉะนั้น พระพุทธรูปจึงเป็นประติมากรรมชั้นเลิศที่บ่งบอกพุทธลักษณะอันเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ของพระพุทธองค์ให้ได้มากที่สุด และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ผสมกลมกลืนเข้ากับพระพุทธคุณในส่วนที่พระองค์มีอยู่จริง ผสมกลมกลืนเข้ากับหลักปรมัตถธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ และบ่งบอกถึงพระพุทธองค์ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง พระพุทธรูปจึงแฝงไว้ซึ่งปริศนาธรรมทางพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้พบเห็นมีจิตเคารพเลื่อมใสในพระพุทธองค์ กราบไหว้สักการะเคารพรำลึกถึงพระพุทธองค์ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ ซึ่งเป็นคำสอนอันเป็นปรมัตถสัจธรรม เป็นเบื้องต้นในการก่อให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และส่งผลไปสู่การน้อมนำพระธรรมไปปฏิบัติซึ่งเป็นธัมมานุธัมมะปฏิบัติ คือปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมตามกำลังของตน เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์คือกิเลสอาสวะทั้งปวงต่อไป
    มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ช่างผู้สร้างพระพุทธรูปได้รังสรรค์เนรมิตพระพุทธรูป ให้มีพระพุทธลักษณะใกล้เคียงพระพุทธองค์ตามมโนภาพ อุดมคติของตนเอง โดยยึดหลักของมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ พระลักษณะข้อปลีกย่อยของมหาบุรุษลักษณะอีก ๘๐ ประการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปจึงมีพุทธลักษณะไม่เหมือนรูปปั้นประติมากรรมของคนทั่วไป ซึ่งมีนิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเสมอกัน พระขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนู เป็นต้น อันนี้ก็เนื่องมาจากจินตนาการจากพระลักษณะของพระมหาบุรุษและอนุพยัญชนะนั้นเอง
    ในมหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค และลักขณสูตร ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ได้กล่าวถึงมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธองค์ไว้ ๓๒ ประการ คือ
    ๑. สุปติฏฺฐิตปาโท มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ๒. เหฎฺฐาปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลายพื้นพระบาทเป็นจักร ๓. อายตปณฺหิ มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔. พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) ๔. ทีฆงฺคุลิ มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย) ๕. มุทุตลนหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ๖. ชาลหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ๗. อุสฺสงฺขปาโท มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน ๘. เอณิชงฺโฆ พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ๙. ฐิตโก ว อโนมมนฺโต อุโภหิ ปาณิตเลหิ ชณฺณุกานิ ปรามสติ เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุ ๑๐. โกโสหิตวตฺถคุยฺโห มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑๑. สุวณฺณวณฺโณ มีฉวีวรรณดุจสีทอง ๑๒. สุขุมจฺฉวิ พระฉวีละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระกาย ๑๓. เอเกกโลโม มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ ๑๔. อุทฺธคฺคโลโม เส้นพระโลมาดำสนิท เวียนเป็นทักษิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน ๑๕. พฺรหฺมชุคตฺโต พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม ๑๖. สตฺตุสฺสโท มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสาทั้ง ๒ กับลำพระศอ) ๑๗. สีหปุพฺพฑฺฒกาโย มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ ๑๘. ปีตนฺตรํโส พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน ๑๙. นิโครธปริมณฺฑโล ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์) ๒๐. สมวฏฺฏกฺขนฺโธ มีลำพระศอกลมงามเสมอตลอด ๒๑. รสคฺคสคฺคี มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี ๒๒. สีหหนุ มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์) ๒๓. จตฺตาฬีสทนฺโต มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) ๒๔. สนทนฺโต พระทนต์เรียบเสมอกัน ๒๕. อวิวรทนฺโต พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง ๒๖. สุสุกฺกทาโฐ เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์ ๒๗. ปหูตชิวฺโห พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฎได้) ๒๘. พฺรหฺมสโร กรวิกภาณี พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก ๒๙. อภินีลเนตฺโต พระเนตรดำสนิท ๓๐. โคปขุโม ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ๓๑. อุณฺณา ภมุกนฺตเร ชาตา มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักษิณาวัฏ ๓๒. อุณฺหิสสีโส มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
    อนุพยัญชนะ ๘๐
    อนุพยัญชนะ หมายถึงลักษณะข้อปลีกย่อยหรือส่วนประกอบเสริมของพระมหาบุรุษลักษณะ ซึ่งช่างผู้บรรจงสร้างพุทธปฏิมาจะต้องคำนึงถึงด้วย มี ๘๐ ประการ คือ
    ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย ๓. นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก ๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์ ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง ๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์ ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์ ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔.กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันงามแดงเข้ม ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่ใดอันหนึ่ง ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฎโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕. พระนลาฎมีสัณฐานอันงาม ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙. ลมอัสสาสะปัสสาสะ ลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐. พระโอษฐ์มีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑. กลิ่นพระโอษฐ์หอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒. พระเกศาดำเป็นแสง ๗๓. กลิ่นพระเกศาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔. กลิ่นพระเกศาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕. พระเกศามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖. พระเกศาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗. พระเกศากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘. เส้นพระเกศามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙. เส้นพระเกศาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆเส้น ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ ฯ
    สาเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัมมาสัมพุทธเจดีย์ไว้ ๔ ประเภท คือ
    1. พระธาตุเจดีย์
    2. บริโภคเจดีย์
    3. ธรรมเจดีย์
    4. อุทเทสิกเจดีย์
    พระธาตุเจดีย์ หมายเอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๘ ส่วน จำนวน ๑๖ ทะนาน บริโภคเจดีย์ หมายเอาสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และอัฏฐบริขารที่พระองค์ทรงใช้สอย เช่น บาตร จีวร ที่กรองน้ำ เป็นต้น ธรรมเจดีย์ หมายเอาผู้ที่แสวงหาพระบรมสารีริกธาตุและอัฏฐบริขารของพระองค์เพื่อมาสร้างเป็นพระสถูปไม่ได้ เมื่อประสงค์จะสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้เป็นที่กราบไหว้สักการะบูชา ก็ได้นำเอาพระธรรมจารึกไว้ในแผ่นทองคำบ้าง ศิลาบ้าง ใบลานบ้าง บรรจุไว้ในพระเจดีย์แทนพระบรมสารีริกธาตุ อีกนัยหนึ่ง หมายเอาพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้จำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นเจดีย์ที่พุทธบริษัทจะพึงนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุขแก่ตนและผู้อื่น ส่วนอุทเทสิกเจดีย์ หมายเอา พระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อเคารพสักการะแทนพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปก็นับเนื่องในสัมมาสัมพุทธเจดีย์ จึงมีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่งด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า ซึ่งเสมือนพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ และชาวพุทธมีความรู้สึกเหมือนปฏิบัติ เคารพ สักการบูชาด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้า อนึ่ง พระพุทธรูปเป็นทั้งสัญลักษณ์ เครื่องหมายของพระพุทธศาสนาและความดีงามทั้งพุทธภาวะที่เป็นธรรมกายและพระพุทธคุณ ตลอดจนสื่อถึงปรมัตถธรรมซึ่งเป็นแก่นพระพุทธศาสนา นอกจากนี้พระพุทธรูปยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงศรัทธาอันแรงกล้าของพุทธศาสนชิกชน ที่สร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งรวมศรัทธาปสาทะของชาวพุทธทั้งมวลตลอดกาลนานอีกด้วย
    ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูป
    จากตำนานพระแก่นจันทน์ได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาลว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์แล้ว ได้เสด็จไปประทานพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จจำพรรษาที่นั่น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งโกศลรัฐ ไม่ได้เห็นพระพุทธองค์ มีความรำลึกถึง จึงตรัสให้ช่างทำพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้จันทน์แดง ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ
    ในที่บางแห่งได้กล่าวถึงการเขียนรูปพระพุทธเจ้าลงในแผ่นทองคำที่นำทองคำมาตีเป็นแผ่นบางๆ ขนาดองค์พระประมาณ ๑ ศอก โดยพระเจ้ามหารถราช แห่งสักกราชาวดีนคร เพื่อส่งพุทธรัตนะไปถวายพระเจ้าปัญจาลราช กษัตริย์กรุงปัญจาลราชนคร เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปแล้ว ทรงโสมนัสยินดียิ่งนัก ได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระมณเทียร แล้วบูชาด้วยประทีป ธูปเทียนชวาลา ทรงแสดงองค์เป็นพุทธมามกะ ในเวลาต่อมาพระองค์ได้ให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์ประดิษฐานในศาลาไม้บุนนาก แล้วทรงรับสั่งให้ปิดทององค์พระพุทธรูปเพื่อเป็นพุทธบูชา
    ส่วนในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปว่า ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้วในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ โดยพระนาคเสนเป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้นมาองค์หนึ่ง สำเร็จด้วยฤทธิ์ของเทพยดาและอิทธิฤทธิ์คือพระแก้วมรกต
    อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธรูปได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๓๗๐ โดยชาวโยนก ฝรั่งชาติกรีกที่นับถือพระพุทธศาสนา ประดิษฐานครั้งแรกในแคว้นคันธารราชหรือคันธาระ ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์กรีกองค์แรกที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคนี้เรียกว่า “พระพุทธรูปคันธาระ” จากนั้นมาการสร้างพระพุทธรูปได้มีการพัฒนาศิลปะ ให้สอดคล้องกับอุดมคติของช่างสกุลต่างๆ ของแต่ละชนชาติ แต่ละยุคสมัย เพื่อให้เกิดความงดงามเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน คตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปได้แพร่ขยายไปสู่นานาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนารวมทั้งประเทศไทยได้มีการสร้างพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ เช่น สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์
    พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
    พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ จัดเป็นบารมี ๑๐ (บารมีขั้นธรรมดา เช่น ให้สิ่งของเป็นทาน) อุปบารมี ๑๐ (บารมีระดับกลาง เช่น ให้อวัยวะเป็นทาน) ปรมัตถบารมี ๑๐ (บารมีขั้นสูงสุด เช่น สละชีวิตเพื่อเป็นทาน เป็นต้น) ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เต็มเปี่ยมแล้วได้เสด็จอุบัติขึ้นในมนุษย์โลก แล้วทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์นั้น มิใช่มีแต่พระพุทธเจ้าโคตมะพระองค์ปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่มีจำนวนหลายพระองค์เช่นกัน เมื่อพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเสื่อมสิ้นไปจากโลกแล้ว โลกว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆก็เสด็จมาตรัสรู้ต่อไป ไม่ได้เสด็จมาพร้อมๆกัน หรือต่อเนื่องรับช่วงกันเป็นทอดๆ ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าโคตมะในกาลปัจจุบันของพวกเรา จำนวน ๒๕ พระองค์ คือ ๑. พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระอโนมทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระสิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒. พระกกุสันธะ ๒๓. พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสปะ ๒๕. พระโคตมะ

    พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ มีมาในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โดยสังเขปดังต่อไปนี้
    ๑. พุทธประวัติพระพุทธเจ้ากกุสันธะ
    พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ ทรงถือกำเนิดในสกุลพราหมณ์ ในเขมนคร เป็นตระกูลใหญ่ที่ชาวโลกในขณะนั้นถือว่า ประเสริฐสูงสุดกว่าตระกูลอื่น ที่มีชาติสูงสุดและมียศมาก (เรื่องนี้เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ที่จะถือกำเนิดในพระชาติสุดท้ายเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะเลือกถือกำเนิดในตระกูลที่สูงที่สุดในยุคนั้น หากตระกูลพราหมณ์หรือตระกูลกษัตริย์ ตระกูลใดที่มหาชนยกย่องที่สุดก็จะทรงถือกำเนิดในตระกูลนั้น) พุทธบิดาคือ “อัคคิทัตตะ” พุทธมารดาคือ “วิสาขา” มีปราสาท ๓ หลัง คือ “กามวัฑฒะ”, “กามสุทธิ” และรติวัฑฒะ ทรงครอบครองฆราวาสอยู่ ๔ พันปี ภรรยาชื่อว่า “โรปินี” บุตรนามว่า “อุตระ” ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้ซึก” ทรงแสดงปฐมเทศนาคือพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน มีอัครสาวกคือ “พระวิธุรเถระ” และ “พระสัญชีวนามเถระ” พระเถระชื่อ “พุทธิชะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระอัครสาวิกาคือ “พระสามาเถรี” และ “พระจัมมปนามาเถรี” อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก คือ “อัจจคตอุบาสก” และ “สุมนอุบาสก” อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา คือ “นันทาอุบาสิกา” และ “สุนันทาอุบาสิกา” พระพุทธเจ้ากกุสันธะมีพระองค์สูง ๔๐ ศอก พระรัศมีมีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ

    ๒. พุทธประวัติพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ
    พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์แห่งโสภวดีนคร พุทธบิดาคือ “ยัญทัตตพราหมณ์” พุทธมารดาคือ “นางอุตราพราหมณี” มีประสาท ๓ หลัง ชื่อ “ดุสิต”, “สันดุสิต” และ “สันตุฎฐะ” ทรงครอบครองอยู่สามหมื่นปี นาง “รจิคัตตาพราหมณี” เป็นภรรยา “สัตถวาหะ” เป็นบุตร พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชด้วยยานคือช้าง บำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือน จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้มะเดื่อ” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่มฤคทายวัน พระอัครสาวก คือ “พระภิยโยสเถระ” และ “พระอุตรเถระ” พระอัครสาวิกาชื่อ “พระสมุททาเถรี” และ “พระอุตราเถรี” พุทธอุปัฏฐากคือ “อัคคอุบาสก” และ “โสมเทวอุบาสก” พุทธอุปัฐฐายิกาชื่อ “สีวลาอุบาสิกา” และ “สามาอุบาสิกา” มีพระองค์สูง ๓๐ ศอก ประดับด้วยรัศมีเปล่งปลั่งดังทองที่ปากเบ้า พระองค์มีพระชนมายุสามหมื่นปี ทรงประกาศพระศาสนาโปรดมหาชนให้ข้ามพ้นจากวัฏสงสารหาประมาณมิได้ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ “ปัพพตาราม” พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กว้างไปประดิษฐานในประเทศนั้นๆมากมาย
    ๓. พุทธประวัติของพระพุทธเจ้ากัสสปะ
    พระกัสสปพุทธเจ้าถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครพาราณสี มีพุทธบิดาชื่อ “พรหมทัตตพราหมณ์” และ “นางธนวดีพราหมณี”เป็นพุทธมารดา ทรงมีประสาท ๓ หลังชื่อ “หังสะ”, “ยสะ” และ “สิริจันทะ” ทรงครอบครองอยู่สองพันปี มี “นางสุนันทาพราหมณี” เป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ “วิชิตเสน” พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงออกบวช ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วันจึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “นิโครธ” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่มฤคทายวัน มี “พระติสสเถระ” และ “พระภารทวาชเถระ” เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อ “สรรพมิตตะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก “พระอนุลาเถรี” และ “พระอุรุเวลาเถรี” เป็นพระอัครสาวิกา “สุมังคลอุบาสก” และ “ ฆฏิการอุบาสก” เป็นอัครอุปัฏฐาก “วิชิตเสนาอุบาสิกา” และ “อภัททาอุบาสิกา” เป็นอัครอุปัฏฐายิกา” พระองค์ทรงสูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่ง ดังสายฟ้าในอากาศดุจพระจันทร์เต็มดวง มีพระชนมายุสองหมื่นปี ทรงเสด็จนิพพานที่เสตัพยาราม พระสถูปของพระองค์สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ เสตัพยารามนั้น

    ๔. พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าโคตมะ
    พระโคตมพุทธเจ้าทรงถือกำเนิดในตระกูลกษัตริย์ ในนครกบิลพัสดุ์ “พระเจ้าสุทโธทนะ” เป็นพุทธบิดา “พระนางมายาเทวี” เป็นพุทธมารดา ทรงมีประสาท ๓ หลัง ชื่อ “สุจันทะ” ,”โกกนุทะ” และ “โกญจะ” ทรงครอบครองอยู่ ๒๙ ปี มีมเหสีทรงพระนามว่า “ยโสธรา” และ “พระราหุล” เป็นพระโอรส ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงทรงออกบวชด้วยยานคือม้า ได้บำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี และเมื่อทรงบำเพ็ญเพียรด้วยทางสายกลางแล้ว จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “อัสสัตถพฤกษ์” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี มี “อุปติสสะ (พระสารีบุตรเถระ)” และ “โกลิตตะ (พระโมคคัลลานเถระ)” เป็นอัครสาวก “พระอานนทเถระ”เป็นพุทธอุปัฏฐาก “พระเขมาเถรี” และ “พระอุบลวรรณาเถรี” เป็นอัครสาวิกา “จิตตคฤหบดี” และ “หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี” เป็นอัครอุปัฏฐาก “นันทมารดา” และ “อุตราอุบาสิกา” เป็นอัครอุปัฏฐายิกา ทรงดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่เมืองกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จำนวน ๑๖ ทะนาน ประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆที่มีคนรู้จักและเคารพบูชา (รายละเอียดอยู่ใน หนังสือ “พระบรมสารีริกธาตุ” เรียบเรียงโดย ผศ. สงบ เชื้อทอง)

    ๕. พุทธประวัติพระศรีอาริยเมตไตรย์
    พระศรีอาริยเมตไตรย์ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ “สุพรหมพราหมณปุโรหิต” เป็นพุทธบิดา “พรหมวดีพราหมณี” เป็นพุทธมารดา ในนครเกตุมวดี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ “สิริวัฑฒปราสาท”, “จันทกปราสาท” และ “สิทธัตถปราสาท” “นางจันทรมุขีพราหมณี” เป็นภรรยา “พรหมวัฒนกุมาร” เป็นบุตร ทรงครอบครองฆราวาสได้ ๘๐,๐๐๐ ปี ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ ทรงออกบวช และบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๗ วัน และเมื่อเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุนันทาพราหมณีนำมาถวายในวันวิสาขปุณมี แล้วเข้าไปในสาลวัน ครั้นเวลาเย็นทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่โสตถิยมานพนำมาถวาย แล้วเสด็จไปสู่ไม้มหาโพธิพฤกษ์ ชื่อ “กากะทิง” ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    พระวรกายของพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระฉัพพัณณรังสีจากพระวรกาย ทำให้สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน คนทั้งหลายอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดด้วยพุทธานุภาพ
    ในสมัยพระพุทธเจ้าพระสมณโคดมพระองค์นี้ ทรงตรัสพยากรณ์พระอชิตภิกษุว่า จะเป็นพระศรีอริยเมตไตรย์ในอนาคตข้างหน้าในมหาภัทรกัปนี้ พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ได้ทูลถามถึงบุญบารมีที่พระศรีอริยเมตไตรย์ได้บำเพ็ญ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ถึงอดีตชาติของพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระเจ้าสังขจักรพรรดิแห่งอินทปัตถนคร ในสมัยของพระสิริมัตตพุทธเจ้า วันหนึ่งได้พบสามเณรในสำนักพระสิริมัตตพุทธเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่บุพพาราม แม้ทรงลำบากพระวรกายก็ไม่ทรงท้อถอย พระพุทธเจ้าเนรมิตเพศเป็นมานพน้อย เนรมิตรถเสด็จออกไปรับพระโพธิสัตว์มาสู่บุพพาราม พระโพธิสัตว์ได้ถวายศีรษะของพระองค์แด่พระพุทธเจ้า บูชาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระองค์ จุติไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ด้วยอานิสงส์บารมี จึงทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    อานิสงส์ในการสร้างพระพุทธรูป
    การสร้างพระพุทธรูป ถือว่าเป็นการสร้างอุทเทสิกเจดีย์ คือเจดีย์ที่สร้างเป็นพุทธบูชา อุทิศพระพุทธเจ้า เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศค่า เป็นรัตนะสูงสุดของชาวพุทธ ที่เรียกว่า พระพุทธรัตนะ แม้องค์พระพุทธรูปจะสร้างจากวัสดุสิ่งใดก็ตาม แต่พุทธศาสนิกชนมิได้ถือว่าได้กราบไหว้บูชาวัสดุเหล่านั้น แต่บูชาสักการะพระพุทธเจ้า และพระคุณของพระองค์ คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ รวมถึงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้และพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ กล่าวโดยรวม การบูชาพระพุทธรูปก็คือการบูชาพระรัตนตรัยนั่นเอง พระพุทธรูปเป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงพระรัตนตรัย อันเป็นรัตนะอันเลิศ อันประเสริฐสูงสุด ทำให้ชาวพุทธผู้พบเห็นเกิดศรัทธาแล้วสักการะบูชา ทั้งอามิสบูชา คือการบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และปฏิบัติบูชา ด้วยการให้ทาน รักษาศีล และอบรมเจริญปัญญาประจักษ์แจ้งในธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ซึ่งถือว่าได้สร้างกุศลกรรมในสิ่งที่เลิศ ผลอันเลิศก็ย่อมมีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ดังเนื้อความที่กล่าวไว้ใน “อัคคัปปสาทสุตตคาถา” ว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอันยอดเยี่ยม เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ ซึ่งปราศจากราคะ และสงบระงับเป็นสุข เลื่อมใสแล้วในสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น บุญที่เลิศก็ย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ที่เลิศ และยศ เกียรติคุณ สุข พละ ที่เลิศย่อมเจริญ ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะไปเกิดเป็นเทพยดาหรือเกิดเป็นมนุษย์ก็ตามย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ เมื่อผลอันเลิศย่อมมีแก่พุทธศาสนิกชนผู้บูชาพระพุทธรูปอยู่เห็นปานนี้ อานิสงส์อันโอฬารก็ย่อมเกิดแก่ผู้สร้างพระพุทธรูปตลอดกาลนานและตลอดไปเช่นกัน และเมื่อพระพุทธรูปยังประดิษฐานปรากฏอยู่ในโลกนี้ตราบใด พระพุทธศาสนาก็ยังจะมั่นคง ตั้งมั่น เจริญรุ่งเรือง วัฒนาถาวรในโลกนี้อยู่ตราบนั้น ผู้สร้างพระพุทธรูปจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย
    ผู้สร้างพระพุทธรูปถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่า ได้สร้างและถวายสิ่งที่เลิศสูงสุด ถวายสิ่งที่ดีที่สุด ถวายฐานะอันประเสริฐสูงสุด ในทานานุโมทนาคาถา ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่สร้างถวายในสิ่งที่เลิศสูงสุด ย่อมได้สิ่งที่เลิศสูงสุด ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐสุด ผู้ใดให้ (ถวาย) สิ่งที่เลิศ สิ่งที่ดีที่สุด และฐานะอันประเสริฐสุด ผู้นั้นเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศอันเลิศที่สุดในที่นั้นๆ ดังนี้
    อานิสงส์การสร้างวิหาร
    การสร้างกุฏิวิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เป็นทานที่มีผลมากมีอานิสงส์มากเช่นกัน ตามข้อความที่ปรากฏในพระวินัยปิฎกมหาขันธกะ จุล
     

แชร์หน้านี้

Loading...