ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Watchers

    IMG_7049.JPG
    #สภาพอากาศโลก

    03/01/19

    TSR: ขณะนี้ทั่วโลกมีพายุหมุนเขตร้อนอยู่ 3 ลูก

    พึ่งมาใหม่เมื่อกลางดึกคืนนี้

    NINE: ทิศทางไปยังหมู่เกาะฟิจิ

    PABUK เข้าภาคใต้บ้านเรา

    PENNY ถล่มออสเตรเลีย

    #Watchers


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Watchers



    #SUNHALO

    03/01/19

    พระอาทิตย์ทรงกลด รูปแบบหายากเห็นได้ในท้องฟ้าของ #LaRioja, ประเทศ #อาเจนติน่า #Argentina

    เกิดจากอณูเกล็ดน้ำแข็งในชั้นบรรยากาศ ซึ่งคงมีเยอะมาก ..

    คลิปโดย : @DiegoVargasLR

    #Watchers
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    2019 ปีที่โลกร้อนที่สุด จากปรากฏการณ์เอลนีโญ – เลขายูเอ็นเรียกร้องแก้ไข Climate Change ด่วน
    2 มกราคม 2019
    nationalgeographic-620x381.jpg
    ที่มาภาพ: https:// www.nationalgeographic.org/encyclopedia/el-nino/
    ปี 2019 เริ่มขึ้นแล้วหนึ่งวันหลังจากเสร็จสิ้นการฉลองที่เต็มไปด้วยความสุขสันต์ ท่ามกลางบรรยากาศที่สดใสและอบอุ่นภายใต้อากาศเย็นสบายในหลายประเทศ แม้บางประเทศจะประสบกับอากาศหนาวมีหิมะ บางประเทศเจอฝนและลมแรงบ้างในวันขึ้นปีใหม่ แต่ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นปีที่ดีเพราะสามารถเก็บเกี่ยวสภาวะอากาศที่สบายได้เต็มที่ก่อนที่จะประสบกับภาวะอากาศร้อนตลอดทั้งปี

    ปีนี้จะเป็นปีที่อากาศร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ มีสาเหตุจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

    ปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเริ่มขึ้น จะยิ่งทำให้สภาวะอากาศที่เลวร้ายจาก Climate Change ย่ำแย่ลงอีก และส่งผลให้ปี 2019 นี้เป็นปีที่อากาศร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยศูนย์พยากรณ์สภาพอากาศ (Climate Prediction Center) แห่งองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration) ระบุว่ามีโอกาสถึง 80% ที่ปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดขึ้นแล้วและจะคงอยู่ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2019

    Geophysical Research Letter ระบุว่า ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งนี้จะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากโลกร้อนขึ้นและผลกระทบนี้จะเลวร้ายมากขึ้น เพราะอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มขึ้น

    ซาแมนทา สตีเวนสัน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา หนึ่งในผู้เขียน กล่าวว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญนี้จะทำให้มีความเป็นไปได้มากที่ตลอดทั้งปี 2019 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยประสบมา

    องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้มีปีที่ร้อนที่สุดมาแล้ว 4 ปีอยู่ในช่วงปี 2015-2018 เป็นผลจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปิดกั้นชั้นบรรยากาศ อากาศร้อนทำสถิติใหม่แต่ละปี สภาพอากาศโลกในช่วง 406 เดือนที่ผ่านมาร้อนขึ้นมากกว่าระดับเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ซึ่งหมายความว่าคนที่มีอายุต่ำกว่า 32 ปีไม่เคยประสบกับอากาศที่เย็นกว่าค่าเฉลี่ยนั้น

    รองเลขาธิการ WMO เอเลนา มานาเอนโกวา กล่าวว่า อากาศที่ร้อนขึ้นแม้จะเพิ่มทีละเล็กน้อยก็มีผลให้สุขภาพคนเปลี่ยนแปลงไป และมีผลต่อการเข้าถึงอาหาร อากาศสะอาด มีผลต่อการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ รวมไปถึงปะการังและสัตว์ในทะล

    romand_tass-620x398.jpg
    โรแมน วิลฟานด์ หัวหน้าหน่วยอุทกอุตุนิยมวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Federal Service for
    Hydrometeorology and Environmental Monitoring) ที่มาภาพ:
    http://tass.com/society/1038742
    ขณะที่โรแมน วิลฟานด์ หัวหน้าหน่วยอุทกอุตุนิยมวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Federal Service for Hydrometeorology and Environmental Monitoring) ให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ปี 2019 นี้จะเป็นปีที่ร้อนที่สุด จากปรากฏการณ์เอลนีโญ

    โดยอธิบายว่า เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่ออุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นในบริเวณตอนกลางและฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ความร้อนที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลในวงกว้างรวมไปถึงมหาสมุทรอื่น และมีการถ่ายโอนความร้อนจากมหาสมุทรขึ้นชั้นบรรยากาศและค่อยๆ มีผลต่อโลก

    ทั้งนี้อุณหภูมิในบริเวณฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเพิ่มขึ้นแล้ว 0.5 องศา ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นมาก จึงเป็นผลให้ปี 2019 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์

    โดยปกติแล้วเอลนีโญจะเกิดขึ้นทุกๆ 2-3 ปี เป็นผลจากอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติในบริเวณฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีผลต่ออากาศทั่วโลก นำไปสู่ภาวะแล้งในพื้นที่ที่โดยปกติแล้วมีความชุ่มชื้น เกิดไฟป่าที่รุนแรงและมีวงกว้างมากขึ้น ขณะที่พื้นที่เคยแห้งแล้งกลับมีฝนตก ภัยพิบัติน้ำท่วม

    อุณหภูมิผิวน้ำเพิ่มขึ้น 0.8-1.2 องศาเซลเซียส
    ทางด้าน WMO ออกรายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 ว่า มีโอกาส 75-80 % ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำในทะเลได้อยู่ที่ระดับต่ำสุดของการเกิดเอลนีโญแบบอ่อนๆ แล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2018 แม้สภาพอากาศเขตร้อนในมหาสมุทรโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงต่อความร้อนที่สูงขึ้นและลมที่แรงขึ้น เช่นเดียวกับรูปแบบของเมฆและระดับน้ำที่ยังไม่แสดงให้เห็นถึงการเริ่มเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ

    probability_elnino-620x408.jpg
    ที่มาภาพ: https:// public.wmo.int/en/media/press-release/wmo-update-75-80-chance-of-el-ni%C3%B1o-within-next-3-months
    อย่างไรก็ตาม แบบจำลองพยากรณ์สภาพอากาศได้ผลว่า เอลนีโญจะปรากฏเต็มที่ในช่วงเดือนธันวาคม 2018-กุมภาพันธ์ 2019 ในระดับความเป็นไปได้ 75-80% และมีโอกาส 60% ที่จะเกิดขึ้นไปจนถึงเดือนเมษายน 2019 และยังพยากรณ์ได้ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะเกิดขึ้นในระดับที่อุณหภูมิอุ่นขึ้นแบบสบายไปจนถึงระดับปานกลาง โดยอุณหภูมิผิวน้ำจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.8-1.2 องศาเซลเซียส ขณะที่โอกาสที่เอลนีโญจะเกิดแบบรุนแรงโดยอุณหภูมิผิวน้ำจะเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสยังมีความเป็นไปได้น้อย

    Capture_1_0.png
    ที่มาภาพ: https:// public.wmo.int/en/media/press-release/wmo-update-75-80-chance-of-el-ni%C3%B1o-within-next-3-months
    แม็กซ์ ดิลลีย์ ผู้บริหาร WMO ให้ความเห็นว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งนี้จะไม่แรงเท่าช่วงปี 2015-2016 ซึ่งช่วงนี้มีผลทำให้เกิดความแห้งแล้ง น้ำท่วมและปะการังตายในหลายพื้นที่ของโลก แต่กระนั้น ก็จะมีผลมากต่อ การเกิดฝน อุณหภูมิ ภาคเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การจัดการกับแหล่งน้ำและสาธารณสุข ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิของปี 2019 ทั่วโลกก็จะสูงขึ้น

    ข้อมูล WMO ยังบ่งชี้ถึงภาวะฝนตกในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญ

    ก่อนหน้านี้มีการพยากรณ์จากหลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาต่อการเกิดเอลนีโญ ขณะที่อุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียเตือนในเดือนตุลาคม 2018 เกี่ยวกับหน้าร้อนที่แห้งแล้ง และมีความเสี่ยงจะที่เกิดคลื่นความร้อน ไฟป่า ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ผลกระทบของเอลนีโญรุนแรงมากขึ้น

    ปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดขึ้นครั้งล่าสุดและสิ้นสุดในปี 2016 ส่งผลให้เป็นปีหนึ่งที่มีอากาศร้อนที่สุดส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะที่ปี 2017 เป็นปีที่อากาศร้อนทำสถิติใหม่ โดยที่ไม่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ และนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า ปี 2018 ซึ่งประสบกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศ ก็จะเป็นปีที่ร้อนสุดอีกปีหนึ่ง

    มหันตภัยจากความร้อน
    โลกที่ร้อนขึ้นแสดงให้เห็นถึงสภาพอากาศที่มีผลต่อการทำลายล้างและอันตรายแบบสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อน ไฟป่า ภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วมและพายุที่รุนแรง ในปี 2018 มีพายุเฮอริเคนในบริเวณตอนเหนือของโลกถึง 70 ลูก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาว 53 ลูก พายุที่มีความรุนแรงนี้ได้สร้างความเสียหายแก่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เกาหลี ตองกา ในสหรัฐอเมริกา พายุเฮอริเคนฟลอเรนซ์และไมเคิลได้สร้างความเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก รวมทั้งคร่าชีวิตคนจำนวนมาก

    ขณะที่คลื่นความร้อนมีผลกระทบต่อประสิทธิผล อากาศที่ร้อนเกินไปยากที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2018 จำนวนชั่วโมงการทำงานที่สูญเสียจากคลื่นความร้อนสูงถึง 153 พันล้านชั่วโมง สูงกว่าปี 2000 ถึง 3 เท่า

    ปรากฏการณ์เอลนีโญที่ผ่านพ้นไปในปี 2016 มีผลต่อการตายของปะการังในแนว Great Barrier Reef ในออสเตรเลีย ภาวะแห้งแล้งรุนแรงที่แอฟริกา อเมริกาใต้และส่วนหนึ่งของแปซิฟิกและเอชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไฟป่าในอินโดนีเซียและแคนาดา

    แม้ปรากฏการณ์เอลนีโญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้จะไม่รุนแรงเท่ากับปี 2016 แต่ก็ยังมีผลนำไปสู่สภาวะอากาศที่เลวร้ายในพื้นที่เปราะบางทั่วโลก ทั้งนี้เอลนีโญจะกินเวลาตั้งแต่ 2-3 เดือนไปจนถึง 2-3 ปี และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลต่อรูปแบบสภาวะอากาศทั่วโลก และสร้างผลกระทบในวงกว้างตั้งแต่ผลผลิตทางเกษตร ภาวะอดยาก ความร้อน และมีการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น และภาวะอากาศที่สุดขั้ว

    ไมเคิล แมนน์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สเตท ระบุว่าผลกระทบของเอลนีโญและลานีญ่าในรอบ 20 ปีที่ผ่านมารุนแรงมากขึ้น เป็นผลจากอากาศที่ร้อนขึ้น และเมื่อผสมกับความร้อนที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ก็จะยิ่งทำให้ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปีต่อไปจะยิ่งร้อนขึ้น

    นอกจากนี้ยังระบุในงานวิจัย study linking climate change ด้วยว่า ภาวะอากาศที่มีผลในการทำลายล้างนี้จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 50% และอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 300% จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงอย่างเดียว เว้นเสียแต่ว่าโลกจะเร่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง

    ภาวะโลกร้อนจะเพิ่มความแปรปรวนของปรากฏการณ์เอลนีโญในบริเวณฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และมีผลให้เกิดภาวะอากาศแบบสุดขั้วมากขึ้นในอนาคต

    พื้นที่เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนืออุณหภูมิสูงขึ้น
    ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจปรากฏการณ์ เอนโซ (El Nino/Southern Oscillation: ENSO) มากขึ้น สามารถพัฒนาแบบจำลองคาดการณ์ มีการติดตามและเฝ้าระวังได้ดีขึ้น ช่วยให้สังคมสามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับเอลนีโญได้ดีขึ้น เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วมและภัยแล้ง

    ENSO เป็นการเรียกรวมของปรากฏการณ์เอลนีโญกับความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation) ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ระหว่างปรากฏการณ์ในมหาสมุทร หรือน้ำ และบรรยากาศ คือ ลม ซึ่งมีผลอย่างมากต่ออากาศและรูปแบบสภาพภูมิอากาศในหลายพื้นที่ของโลก

    WMO ได้พยากรณ์อากาศช่วงเดือนธันวาคม 2018-กุมภาพันธ์ 2019 ด้วยการใช้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้น และอยู่ระหว่างการทดลองใช้ ซึ่งคาดการณ์ว่า ในเอเชียส่วนใหญ่ ยุโรป อเมริกาเหนือ หมู่เกาะแคริบเบียน แอฟริกา ออสเตรเลีย หมู่เกาะอินโดนีเซียและอเมริกาใต้ จะมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นกว่าปกติ ยกเว้นพื้นที่ทางตอนใต้แอฟริกาใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ ส่วนหนึ่งของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปและตอนใต้ของเอเชียกลาง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่นี้ได้ประสบกับภาวะอุณหภูมิสูงกว่าปกติมาแล้วในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2018

    แบบจำลองทำนายว่า จะมีฝนน้อยกว่าปกติในแคริบเบียน อเมริกากลาง บางส่วนของอเมริกาใต้ พื้นที่ชายฝั่งของหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของหมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะแปซิฟิกใต้บางส่วน แต่จะมีฝนตกหนักในตอนใต้ของอเมริกาเหนือ บางส่วนของทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ เอเชียกลางและเอเชียเหนือ บางส่วนของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

    un_sg_guterres-620x359.png
    แอนโทนิโอ กัวเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติที่มาภาพ : https://unmiss.unmissions.org/un-secretary-general-antonio-guterres-delivers-appeal-peace-video
    เลขายูเอ็นเรียกร้องแก้ไข Climate Change ด่วน
    แอนโทนิโอ กัวเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ผู้นำโลกร่วมมือจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปี 2019 เพื่อป้องกันผลกระทบและความเสียหาย ที่ได้เพิ่มขึ้นมาก

    ในสาส์นปีใหม่ กัวเตอร์เรส กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่โลกจะแก้ไขได้ทัน ดังนั้นจึงมีความสำคัญลำดับต้นๆ ในการที่จัดการแก้ไขโดยด่วน

    นอกจากนี้ยังชี้ว่าประเด็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจ เพราะความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้น จนเกิดการตั้งคำถามว่า มีคนเพียงหยิบมือเดียวแต่ครอบครองความมั่งคั่งของโลกถึงครึ่งหนึ่ง

    กัวเตอร์เรสกล่าวว่า สหประชาชาติยังคงเดินหน้าประสานงาน ประสานความร่วมมือเพื่อหาทางแก้ไข

    เอเชียรับผล Climate Change แรงสุด
    รายงาน Global Climate Risk Index 2019 ที่นำเสนอในช่วงการประชุม COP 24 หรือการประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 ในเดือนธันวาคม 2018 ที่คาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ เปิดเผยว่า ประเทศในเอเชียได้รับกระทบและความเสียหายมากที่สุดจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น โดยใน 10 อันดับของประเทศที่ได้รับผลกระทบมากสุด ซึ่งนำโดยเปอรโตริโกนั้น มีเอเชียรวมอยู่ถึง 5 ประเทศ

    รายงาน Global Climate Risk Index 2019 ได้รวบรวมผลกระทบของแต่ละประเทศและภูมิภาคที่ได้รับความเสียหายจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2017 เช่น น้ำท่วม พายุ คลื่นความร้อนและช่วงปี 1998-2017 และนำผลมาจัดอันดับโดยใช้จำนวนผู้เสียชีวิตและความสูญเสียที่เป็นตัวเงิน

    ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติมากกว่า 526,000 คน จากผลของการเปลี่ยนแปลงอากาศแบบสุดขั้วถึงมากกว่า 11,500 เหตุการณ์ สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจช่วงปี 1998-2017 มูลค่าราว 3.47 ล้านล้านดอลลาร์

    ในปี 2017 เปอโตริโกได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด รองลงมาคือ ศรีลังกา ส่วนอันดับสามคือ โดมินิกัน ขณะที่อันดับสี่คือ เนปาล อันดับห้าเปรู อันดับหก เวียดนาม อันดับเจ็ด มาดาร์กัสกา อันดับแปดเซียร์ราลีโอน อันดับเก้า บังกลาเทศ และอันดับสิบ ประเทศไทย

    table_2017_most_affected-620x401.jpg
    ที่มาภาพ: https:// www.germanwatch.org/sites/germanwatch.org/files/Global%20Climate%20Risk%20Index%202019_2.pdf

    เดือนพฤษภาคม 2017 ดินถล่มและน้ำท่วมในศรีลังกาหลังจากฝนฤดูมรสุมตกหนักในทางตะวันตกเฉียงใต้ และฝนที่ตกหนักในมหาสมุทรอินเดียทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนนับตั้งแต่ปี 2003 ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 600,000 คนและมีพื้นที่ได้รับผลกระทบถึง 12 เขต โดยที่เมืองรัตนปุระได้รับผลกระทบมากสุดมีประชาชนได้รับผลจากน้ำท่วมกระทันกันถึงมากกว่า 20,000 คน มีความเสียหายทางเศรษฐกิจ 3 พันล้านดอลลาร์

    ฝนที่ตกหนักในเนปาล บังคลาเทศ และอินเดียซึ่งติดอันดับที่ 14 ส่งผลกระทบกับประชาชนกว่า 40 ล้านคน เสียชีวิต 1,200 คนและสูญหายอีกกว่า 1 ล้านคนในทั้งสามประเทศ น้ำท่วมกินพื้นที่ไปถึงตีนเขาหิมาลัย ทำให้เกิดดินถล่มสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ไร่นาและเส้นทางคมนาคม

    เนปาลซึ่งประสบกับน้ำท่วมกระทันหันและดินถล่มในเดือนสิงหาคมในพื้นที่ชายแดนทางใต้มีความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 600 ล้านดอลลาร์ มีผู้เสียชีวิตราว 250 คนจากบ้านเรือนถล่มและจมไปกับสายน้ำ บ้านเรือนพัง 950,000 หลัง ขณะที่บังคลาเทศเสียหายทางเศรษฐกิจราว 2.8 พันล้านดอลลาร์ อินเดียเสียหาย 13.7 พันล้านดอลลาร์

    ในประเทศไทยฝนเริ่มตกหนักตั้งแต่ต้นปี 2017 ต่อเนื่องไปจนถึงฤดูร้อนทำให้ประชาชนในภาคใต้ได้รับผลกระทบกว่า 1.6 ล้านคน จากเส้นทางรถยนต์และรถไฟถูกตัดขาด มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 คน ในเดือนมกราคมเพียงเดือนเดียว นอกจากนี้ยังน้ำท่วมส่งผลให้เกิดคลื่นแรงกวาดชีวิตคนไป 18 คนและยังเอ่อล้นท่วมหลายหมู่บ้าน โรงเรียนกว่า 1,500 แห่งต้องปิดการเรียนการสอน ความเสียหายทางเศรษฐกิจของไทยรวมมากกว่า 700 ล้านดอลลาร์

    ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบมาเป็นระยะยาวตั้งแต่ปี 1998-2017 เปอโตริโกยังเป็นประเทศที่ได้รับผลรุนแรงที่สุด รองลงมาคือ ฮอนดูรัส อันดับสามคือ เมียนมา อันดับสี่ เฮติ อันดับห้า ฟิลิปปินส์ อันดับหก นิการากัว อันดับเจ็ดบังกลาเทศ อันดับแปด ปากีสถาน อันดับเก้าเวียดนาม และอันดับสิบ โดมินิกัน

    germanwatch_risk.jpg
    ที่มาภาพ:https: //www.germanwatch.org/sites/germanwatch.org/files/Global%20Climate%20Risk%20Index%202019_2.pdf

    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาจากการเกิดคลื่นความร้อน ฝนตกหนัก และน้ำท่วมชายฝั่ง ได้มีการบันทึกไว้ไในรายงาน Fifth Assessment Report ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ปี 2014 และยังคาดการณ์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุภัยพิบัติต่างๆ ว่าจะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

    นักวิจัยยังพบข้อมูลอีกว่า อุณหภูมิผิวน้ำคือปัจจัยหลักในการทำให้ความเร็วของลมพายุเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักมากขึ้น ขณะที่รายงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ปริมาณฝนที่ตกหนักในช่วงเกิดพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ปี 2017 เท่ากับฝนที่ตกในมหาสมุทร ดังนั้นจึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเล

    นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ของเอลนีโญและภาวะโลกร้อนจากการทำวิจัยในปี 2014 ซึ่งบ่งชี้ว่าเหตุภัยพิบัติจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

    เรียบเรียงจากGlobal Climate Risk Index 2019,nationalgeographic,theguardian,accuweatherkfm,tass


    https://thaipublica.org/2019/01/elnino-hottest-year-climate-change-temperature-warm/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2019
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สจล. พยากรณ์อากาศประเทศไทย


    การประมาณค่าอัตราการตกของฝนสำหรับ Tropical Storm "Pabuk" จากการสังเกตของดาวเทียมเมื่อสักครู่ วันนี้ 3 ม.ค. 62 เวลา 9.00 น. จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มฝนครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย !

    1) ตามที่มีหลายท่านถามเข้ามาว่าจุดศูนย์กลางพายุจะเข้าที่ไหน ประเด็นคือ จุดศูนย์กลางพายุเป็นจุดๆหนึ่ง แต่ที่สำคัญคือ แถบฝน (Rainband) ของพายุ ซึ่งมีรัศมีกว้าง ว่า จะเคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ไหนบ้าง จะทำให้ฝนตกตรงไหน เวลาใด หนักเบาเท่าไร เพราะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้น เอาจริงๆแอดมินไม่ได้มานั่งเล็งว่าจุดศูนย์กลางจุดหนึ่งจะเข้าตรงไหน รูปนี้ชัดเจนว่ามีฝนตกครอบคลุมหลายพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย นั่นคือ Landfall แล้ว

    2) ลักษณะตามที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว ตรงตามพยากรณ์ที่เพจนี้ได้พยากรณ์ไว้เมื่อวานนี้ 2 ม.ค. 62 โดยได้พยากรณ์ไว้ว่า Tropical Storm "Pabuk" จะเคลื่อนที่เข้าฝั่งบริเวณคาบเกี่ยวระหว่างภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย (บริเวณนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา พัทลุง นครศรีฯ) กับมาเลเซีย ประมาณวันที่ 3 ม.ค. 62 เวลา 7.00 น.


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา


    กรมอุตุฯ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายในกรุ๊ปไลน์สื่อมวลชน โดยเป็นภาพถ่ายจากแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทย วันนี้(3 ม.ค.62) เวลา 12.00 น. โดยอ้างอิงแหล่งที่มาว่ามาจากไลน์ของ "ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" รมช.คมนาคม อดีตผู้บริหาร ปตท.

    - jenjira -


     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    WisdomNews


    อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้รับผลกระทบจาก


    พายุไต้ฝุ่น ปาบึก (PABUK)


     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เรือประมง 21 ลำ ไม่ยอมกลับเข้าฝั่ง

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ด่วน ! พายุปาบึก ขยับเส้นทางเปลี่ยนเข้า "นครศรีธรรมราช"
    12:35 | 3 มกราคม 2562 |

    G0DL5oPyrtt5HBAi4AGCyJgyNCYkYAlGegc4sGrykTCdb56aDONNID.jpg

    อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันพบทิศทางการเคลื่อนตัวเส้นทางพายุขยับลงไปทางจ.นครศรีธรรมราช จากเดิมคาดการณ์จะเข้าเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และรอยต่อของจ.ชุมพร แต่พื้นที่รับผลกระทบฝนตกหนักคลื่นลมแรง ยังครอบคลุมพื้นที่เดิมทั้งหมด

    วันนี้ (3 ม.ค.) ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าพายุโซนร้อนปาบึก มีทิศทางเคลื่อนตัวขยับเข้า จ.นครศรีธรรมราช จากเดิมที่ประเมินว่าพายุจะเข้าในเขตรอยต่อของ จ.ชุมพร และเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แต่ผลกระทบจากฝนที่ตกหนัก คลื่นลมแรงยังเป็นจังหวัดในแนวพื้นที่เดิมทั้งหมด ทั้งนี้เป็นเรื่องปกติที่พายุจะขยับขึ้นลงได้ ไม่ได้เป็นเส้นทางตรง ซึ่งปาบึกเองก็ไม่ได้มีทิศขึ้นไปทางเกาะสมุย แต่ขยับหัวลงมาที่จ.นครศรีธรรมราช

    มันขยับลงข้างล่างลงมาจากจุดแนวเดิมที่คาดว่าจะเข้าที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานีและชุมพร ซึ่งการเปลียนทิศลงขยับมาทางด้านล่างราว 50 กิโลเมตรจึงทำให้พายุจะเข้าที่จ.นครศรีธรรมราชแทน
    ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศฉบับที่ 12 พบว่าพายุโซนร้อนปาบึก บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีศูนย์กลางห่างประมาณ 550 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่ละติจูด 6.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.5 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนลงอ่าวไทยในวันนี้ และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจ.นครศรีธรรมราช ในช่วงค่ำของวันที่ 4 ม.ค.นี้
    โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 ม.ค.นี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ดังนี้

    วันที่ 3 ม.ค.นี้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

    ในช่วงวันที่ 4-5 ม.ค.นี้ บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรงบริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

    https://news.thaipbs.or.th/content/276737
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sayan Rujiramora


    Sound Money Background


    Sound money หรือ money ที่แท้จริง...ถูกทำลายในระดับโลกมาตลอดศตวรรษที่ผ่านมา


    sound money เป็นสิ่งที่มีอยู่มาก่อน ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ...นั่นคือ "สินค้าโภคภัณท์ตัวที่คนทั่วไปต้องการมากที่สุดในตลาด" ....นี่เป็นคำอธิบายของ Ludwig von Mises นักเศรษฐศาสตร์แนว Austrian Economics ....ทองคำและซิลเวอร์นี่แหละคือ money แท้จริงที่เป็นที่ต้องการและมีสภาพคล่องดีที่สุด โดยไม่ต้องใช้มาตรการใดๆของรัฐบาลเข้ามาช่วยเลย ..มันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าอยู่รอดมาตลอดทุกยุค โดยยังคงมูลค่าไว้ตลอด...


    แต่ในรอบร้อยปีที่ผ่านมา รัฐบาลกลางสหรัฐ โดย Federal Reserve ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่กลุ่ม bank cartel ก่อตั้งขึ้นมา ได้พยายามต่อต้าน sound money ในอเมริกา และทำลายมาตลอด..


    พวกเขาประสบความสำเร็จในการทำให้การหมุนเวียนของทองคำต้องยุติลง (โดยที่ครั้งหนึ่งมีการทำให้การครอบครองทองคำเป็นเรื่องผิดกฏหมาย) ..การครอบครองทองคำต้องเสียภาษี ....จากนั้นมา เงินกระดาษและเครดิตก็เข้ามาทดแทนทองคำและซิลเวอร์ sound money ที่แท้จริง ...เพิ่มได้ตามใจชอบ


    ผู้ที่วางกรอบรัฐธรรมนูญของสหรัฐมาตั้งแต่ต้น ได้ระมัดระวังเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อนหน้าเมื่อครั้งที่ Continental Congress ได้พิมพ์เงินกระดาษมา finance การทำสงครามปฏิวัติแล้ว


    ผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอย่างเช่น Thomas Jefferson, George Washington, James Madison, Thomas Paine และประชาชนทั้งหลายยุคนั้นต่างก็ผ่านความยากลำบากจากเรื่องนี้ ....นี่เป็นเหตุผลแรกๆที่การประชุมร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกจึงปฏิเสธการใช้ paper money


    วอชิงตันเขียนไว้ว่า..."เงินกระดาษเป็นความชั่วร้าย"...

    เมดิสันสันเขียนว่า..."มันเป็นสิ่งไม่ยุติธรรม และไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ"...

    เจฟเฟอร์สัน..."มันทำความเสียหายให้กับหน่วยวัดมูลค่า (measure of value) ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหลายอยู่ความเสี่ยงด้านมูลค่า"


    ในขณะที่การเสื่อมค่าของเงินกระดาษของ Federal Reserve ที่เรียกว่าดอลล่าร์ เป็นผลมาจากนโยบายเงินเฟ้อของ Federal Reserve ..การเสื่อมค่านี้รุนแรงมาก ...รัฐบาลใช้เงินแบบไม่ต้องคิด..ทั้งการทำสงคราม และการให้สวัสดิการในประเทศ ในขณะที่ประชาชนทั่วๆไปที่ใช้เงินสกุลนี้อยู่ได้แต่ได้แต่มองดูความมั่งคั่งของตนเสื่อมลงไปเรื่อยๆ


    ปัญหานี้มันฝังรากอยู่ในนโยบายของรัฐบาลกลาง ใช้ในทุกๆรัฐ โดยยังไม่เคยมีการปฏิรูปเลย .... และภายหลังเมื่อดอลล่าร์เป็นสกุลเงินรีเสิร์ฟของทุกประเทศ นี่จึงเป็นปัญหาของโลก


    Sound Money Background

    Sound money is discovered, not invented. Through market processes, the “most marketable commodity,” as Austrian economist Ludwig von Mises described money, makes itself known. Gold and silver are money, not through government decree, but because they have proven themselves to be by surviving the test of time, while maintaining their value.

    However, over the last hundred years or so, the federal government and the Federal Reserve, a privately-owned bank cartel, have waged a war against sound money in America. They’ve ended the free circulation of gold (and, for a time, criminalized its ownership), while imposing taxes on those who own or use it. Paper money and credit have replaced what is sound money: gold and silver.

    The Constitution’s Framers were mindful of the catastrophe and hardships brought by continentals, the paper money issued by the Continental Congress to finance the Revolution.

    Founders including Thomas Jefferson, George Washington, James Madison, Thomas Paine, and almost the entire population suffered hardship. That’s why the Constitutional Convention overwhelmingly rejected paper money.

    Washington wrote that paper money was “wicked.” Madison wrote it was “unjust” and “unconstitutional.” Jefferson wrote “its [paper money’s] abuses also are inevitable and, by breaking up the measure of value, makes a lottery of all private property, cannot be denied.”

    While the debasement of the Federal Reserve Note – commonly known today as the dollar — is, in large part, the result of inflationary policies enacted by the Federal Reserve System, its effects are pervasive. Governments can fund enormous welfare-warfare states, while everyone using the currency can only watch as their wealth is sapped away.

    This problem is rooted in federal policy. Short of major reforms at the federal level, however, there are practical steps that can be taken at the state level to promote the use and acceptance of sound money.


    About the Author:

    Jp Cortez is a graduate of Auburn University and a resident of Charlotte, North Carolina. He is the Policy Director of the Sound Money Defense League, an organization working to bring back gold and silver as America's constitutional money. Follow him on Twitter @JpCortez27


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    DBB12672-0995-462A-AAB6-489C1621DBFF.jpeg

    เกิดเหตุแผ่นดินไหว เวียงสา ขนาด 2.3 ตามมาตราริกเตอร์


    http://www.nanjaewjing.com/13513


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์ พายุปาบึก แนวกันคลื่นถูกซัดจนพัง ชาวบ้านหลายราย อพยพออกจากพื้นที่ (คลิป)


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    หิมะตกที่อย่างรุนแรง ในหลายจุดของ sonora ประเทศ mexico

    02.01.2019
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    ทะเลทรายของ sonora สีขาวไปด้วยหิมะตก ดีใจที่ได้เพลิดเพลินกับวิวที่มีทิวทัศน์เหล่านี้

    02.01.2018


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    พายุหิมะกับลมที่รุนแรงในเอสโตเนีย

    02.01.2019
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    #URGENTE



    เกิดเพลิงไหม้ที่รุนแรงบนชายฝั่งของหมู่เกาะมัลดีฟส์

    03.01.2019
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    คลื่นซัดอย่างแรงในเยอรมัน

    02.01.2019
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    ว้าว



    ลาวาจากภูเขาไฟ Etna ระเบิด อิตาลี
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    +50 องศา c

    La nueva era de la tierra - respaldo


    #URGENTE


    พวกเขารายงานคลื่นความร้อนในอเมริกาใต้ในตอนนี้และในอีกไม่กี่วันจะแย่ลง


    ประเทศที่ได้รับผลกระทบ


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    พวกเขาจับนกหลายร้อยตัวในเฮอโมซิ ลโล โซโนรา เม็กซิโก ว้าว

    17/12/2018
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,772
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    รัสเซีย



    เพิ่มจำนวนคนตายจากตึกถล่มตึกในรัสเซีย


    โดรนจับภาพ สเกลขนาดใหญ่จากการยุบตัวของตึกใน magnitogorsk


    จำนวนคนตาย โดยการล่มสลายของอาคารที่อยู่อาศัย ในเมือง magnitogorsk ของรัสเซีย ได้เพิ่มขึ้นเป็น 33.คน ในหมู่ผู้เสียชีวิตมีเด็ก 6 คน


    จำนวนคนตายสำหรับการยุบตัวลงบางส่วนของอาคารที่อยู่อาศัยในเมือง magnitogorsk ได้เพิ่มขึ้นถึง 33 คน ในวันที่ 2 มกราคม ในหมู่ผู้เสียชีวิตเป็นเด็ก6 คน


    วันอังคารนี้หน่วยกู้ภัยพบเด็กอายุ 10 เดือนยังมีชีวิตอยู่ใต้ซากปรักหักพังของตึก ผู้เยาว์ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและการแช่แข็งอย่างรุนแรง


    สิ่งที่รู้กันจนถึงตอนนี้: 8 คนยังหายไป การล่มสลายเกิดขึ้นเป็นผลจากการระเบิดของแก๊ส การระเบิดถูกบันทึกไว้ใกล้ 06:00 โมงเช้าของวันจันทร์นี้ 48 อพาร์ทเม้นต์ที่เพื่อนบ้าน 120 คนอาศัยอยู่ เสียหายจากการระเบิด ในทั้งจังหวัดของ chelyabinsk, สถานการณ์ฉุกเฉินถูกประกาศ การช่วยเหลือเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากการยุบของส่วนอื่นๆของอาคารและอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมต่ำ


    ผู้ว่าจังหวัด chelyabinsk, บอริส dubróvski, ได้ประกาศว่าวันที่ 2 เดือนมกราคม นี้เป็นวันแห่งการไว้อาลัยในภูมิภาคเนื่องจากโศกนาฏกรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...