60 ทศวรรษ...พระคู่ขวัญแห่งแผ่นดิน

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย paang, 28 เมษายน 2010.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=1 vAlign=top width=1 align=right>
    [​IMG]
    </TD><TD height=1 vAlign=top background=/images/linedot_hori.gif align=middle>
    [​IMG]
    </TD><TD height=1 vAlign=top width=1 align=left>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นับจากวันที่ 28 เม.ย.2493 จวบจนวันนี้ ยาวนานมาถึง 60 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงครองคู่พระบารมี สถิตย์เป็นพระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย

    เรื่องราวความรักของทั้งสองพระองค์ เป็นที่ทราบดีของปวงชนชาวไทย รวมไปถึงผู้ที่ได้มีโอกาสรับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์มาจนถึงทุกวันนี้

    ย้อนกลับไปในวันมหาประชาปีติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 วันนั้นท้องฟ้าแจ่มใสเหมือนจะประกาศก้องให้คนไทยทั้งแผ่นดิน ได้ร่วมชื่นชมในความรักของพระมิ่งขวัญทั้ง 2 พระองค์

    ในช่วงเช้าเมื่อได้เวลาพระฤกษ์เวลา 09.30 น.พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสได้เริ่มขึ้น ณ พระตำหนักของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม เริ่มจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมุดทะเบียนสมรส

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นพระคู่หมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส โดยมี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชปิตุลา และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงพระนามและลงนามเป็นราชสักขีพยาน พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในครั้งนั้น นับว่าเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตย ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทั่วไป

    จากนั้นทั้ง 2 พระองค์ทรงเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี จากนั้นทรงให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการลงนามถวายพระพรเฉพาะพระพักตร์
    ทรงรับของทูลพระขวัญ แล้วมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานของที่ระลึกตอบแทนเป็นหีบเงินขนาดเล็ก มีตราจักรีคล้องกันอยู่เบื้องกลางระหว่างอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.อ.และอักษร พระนามาภิไธยย่อ ส.ก.

    ในวันเดียวกัน ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ทั้ง 2 พระองค์ประทับคู่กันเหนือพระราชอาสน์ พระราชทานพระราชวโรกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระบรมวงศานุวงศ์ มีความตอนหนึ่งแสดงความปีติโสมนัสในวันราชาภิเษกสมรส ในการที่ทรงเลือกสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์มาเป็นพระอัครมเหสี ความว่า

    “...ได้ทรงพิจารณาเลือกสรรประสบผู้ที่สมควรแก่การสนองพระยุคลบาท ร่วมทุกข์ร่วมสุขแบ่งเบาพระภาระในภายหน้า...”


    ไม่เพียงแต่กล่าวถวายพระพรชัยมงคลในวาระนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรยังได้รับฉันทานุมัติจากพระบรมวงศานุวงศ์ ให้กล่าวถวายพระพรชัยมงคลในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 อีกด้วย หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ผู้เป็นพระนัดดา เล่าให้ฟังว่า


    “เสด็จปู่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงเป็นพระราชโอรสที่พระชนมายุยืนที่สุด ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และในขณะนั้น (พ.ศ 2493) ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้า (ฝ่ายชาย) พระองค์เดียวที่เหลืออยู่ ทรงเป็นพระราชปิตุลาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย ทั้งสองพระองค์ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับท่านมากและทรงเรียกว่า “เสด็จลุง” เสด็จปู่ทรงกำพร้าพระมารดาตั้งแต่ชันษา 11 วัน รัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานให้สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงเลี้ยง เสด็จปู่จึงทรงสนิทสนมกับ พระราชโอรสพระราชธิดาในสมเด็จพระพันวัสสาฯ โดยเฉพาะ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


    หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พระราชพิธีต่างๆในพระราชสำนักได้ถูกระงับไปเป็นเวลาเกือบ 20 ปี จนผู้ใหญ่ที่เชี่ยวชาญรู้เรื่องพระราชพิธี ก็ได้ล้มหายตายจากไปตามๆ กัน เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเสด็จปู่เป็นประธานผู้สำเร็จราชการฯ และต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงองค์เดียว เสด็จปู่จึงค่อยๆ รื้อฟื้นพระราชพิธีต่างๆ ที่ได้หยุดประกอบไป อาทิ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ตามฤดูกาล เป็นต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงได้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีทุกประการ เพราะเสด็จปู่ได้ทรงค้นคว้า และกำกับขั้นตอนของพระราชพิธีด้วยพระองค์เองอย่างละเอียดยิ่ง”


    นอกจากนี้ คุณหญิงยังเล่าต่อว่า ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังได้เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเฉลิมฉลองและร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ กับเสด็จในกรมและหม่อมเอลิซาเบธ รังสิต ณ อยุธยา ที่วังวิทยุ (วังของเสด็จในกรม) อย่างสำราญพระราชหฤทัยยิ่ง


    จากบทบาทของเสด็จปู่องค์ต้นราชสกุลรังสิต ทำให้ หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา ยังคงปลาบปลื้มในเหตุการณ์ครั้งสำคัญเรื่อยมา แม้เกิดไม่ทัน แต่ในฐานะพสกนิกรชาวไทยคนหนึ่ง และเป็นตัวแทนของราชสกุลรังสิต ที่มีความใกล้ชิดผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในวาระ 60 ปี แห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส คุณหญิงขอถวายพระพรให้ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน พระสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ และขอให้ทรงได้สบายพระราชหฤทัยโดยเร็วที่สุด เพราะว่าในขณะที่บ้านเมืองของเรามีวิกฤตเช่นนี้ คนไทยกำลังทะเลาะเข่นฆ่ากันเอง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทำให้ทรงทุกข์พระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง

    จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยทุกคน ร่วมกันสร้างความสงบ สันติสุขให้กลับคืนมาสู่บ้านเมือง เพื่อมอบถวายให้ทั้ง 2 พระองค์ ที่ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งชาติ เพราะตลอดระยะเวลา 60 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงมาก่อนนี้ เพราะฉะนั้น คนไทยจึงควรตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณ โดยให้ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงสบายพระราชหฤทัยโดยเร็ว

    “ไม่มีพระมหากษัตริย์และพระราชินีพระองค์ใดในโลก ที่ทรงงานหนัก ทรงทุ่มเทพระวรกาย เพื่อพสกนิกรมากเท่านี้แล้ว ทรงริเริ่มโครงการเพี่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกว่า 3,000 โครงการ พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักพัฒนา ทรงพัฒนาทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและเพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่ชาติไทยมากว่า 800 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระองค์อยู่เหนือการเมือง ทรงวางรากฐานให้แก่การปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างดี”

    กระทั่งทุกวันนี้ แม้จะมิได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรทั่วทุกภาคเหมือนแต่ก่อน แต่ทั้ง 2 พระองค์ก็ยังคงทรงงานทุกวัน และระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรักษาพระอาการประชวร สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ทรงประทับเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ห่าง เคียงคู่พระบารมีตราบจนทุกวันนี้

    “อันที่จริง ในวันที่ 28 เม.ย.ที่จะถึงนี้ เป็นวันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ ที่คนไทยจะได้ร่วมกันฉลองในวาระ 60 ปีราชาภิเษกสมรส แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เพราะอยู่ในช่วงไม่สงบ จึงอยากขอให้ทุกคนร่วมกันนำความสงบ สันติ คืนมาร่วมกัน เพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย”




    ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    ธปท. ออกธนบัตรที่ระลึก ครบรอบราชาภิเษกสมรส
    วันนี้ ( ๒๗ เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผช.ผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.ได้จัดทำธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา ๑๐๐ บาท เนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรสและวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถจำนวน ๙,๙๙๙,๙๙๙ ฉบับ มีมูลค่า ๙,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย สำหรับลักษณะเด่นของธนบัตรที่ระลึก คือ


    ด้านหน้า มีลักษณะสีและขนาดเหมือนกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน แต่ได้ปรับเปลี่ยนเฉพาะด้านหลักธนบัตรเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ส่วนภาพประธานด้านหลังธนบัตรเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงโบกพระหัตถ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ตอนล่างของธนบัตรมีข้อความ "ราชาภิเษกสมรสครบ ๖๐ ปี ๒๘ เม.ย. ๒๕๕๓ และบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี พ.ค. ๒๕๕๓"


    ขณะที่ภาพประกอบด้านหลังธนบัตรเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดับด้วยลายดอกพิกุล ๖ ดอก เบื้องซ้ายมุมบนเชิญพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ พิมพ์บนธงชาติไทยเบื้องซ้ายมุมล่างเชิญพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๔๙๓ ทั้งนี้ธนบัตรทุกฉบับจะมีเลข ๙ นำหน้าหมวดอักษรไทย ธ หมายถึง พระมหากษัตริย์ และอักษรโรมัน อาร์ ซึ่งมาจาก Rex และ Regina ในภาษาละติน หมายถึงพระมหากษัตริย์และราชินี ตามด้วยเลขจำนวน ๗ หลัก เริ่มตั้งแต่ ๙ธ (R) ๐๐๐๐๐๐๑ - ๙ธ (R) ๙๙๙๙๙๙๙


    โดยกำหนดวันจ่ายแลกในวันที่ ๔ พ.ค. ๒๕๕๓ ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ นางจิตติมา กล่าวว่า การจัดสรรธนบัตรที่ระลึก ธปท.นั้น คำนวณจากฐานเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ โดยพื้นที่ภาคกลางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีปริมาณธนบัตร ๖๐% ภาคตะวันออก ๕.๖ % ภาคเหนือ ๑๑.๘ % ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๒.๓ % และภาคใต้ ๑๐.๓ % โดยธนบัตรเลข ๙ธ (R) ๐๐๐๐๐๐๑ และเลข ๙ธ (R) ๙๙๙๙๙๙๙ จะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในหลวง ส่วนเลขเรียงกัน ๗ ตัวเลขอื่น เช่น ๙ธ (R) ๑๑๑๑๑๑๑ ๙ธ (R) ๒๒๒๒๒๒๒ ๙ธ (R) ๔๔๔๔๔๔๔ ธปท.จะนำจัดเก็บไว้เป็นที่ระลึก


    <table align="center" width="98%"><tbody><tr><td align="right" width="75%"> ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ </td> <td align="center" width="25%"> [​IMG] </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...