23 ตุลาคม 2551 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า และบทบาทพ่อค้าต่างชาติในสยาม

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 23 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    23 ตุลาคม 2551 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า และบทบาทพ่อค้าต่างชาติในสยาม

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>วันที่ 23 ตุลาคมของทุกๆ ปี ถูกจดจำในฐานะที่เป็น "วันปิยมหาราช" หรือวันรำลึกถึงพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงที่ยังคงเป็นที่รัก เคารพ บูชา อยู่ในหัวใจของชาวไทยเป็นจำนวนมาก

    แต่ 23 ตุลาคม 2551 ในปีนี้มีความแตกต่างและพิเศษกว่าที่ผ่านๆ มาอยู่หลายประการ

    ประการหนึ่ง นี่เป็นวาระครบ 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบ 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (การจัดกิจกรรมเลื่อนจากเดิม 11-15 ตุลาคม 2551 เป็นการจัดในเดือนพฤศจิกายน)

    ประการหนึ่ง เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของการพระราชทานกำเนิดการเก็บสะสมไปรษณียบัตร เมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ.2450

    และเป็นจังหวะเดียวกันกับที่ "ประชาชาติธุรกิจ" ได้มีโอกาสสนทนากับนักสืบประวัติศาสตร์คนดังอย่าง ไกรฤกษ์ นานา

    ดังนั้น นอกจากประเด็นการเฉลิมฉลองครบ 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า ซึ่งมีการพูดถึงและนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ไปบ้างแล้ว การพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวกับวาระครบรอบ 100 ปีของการพระราชทานกำเนิดการเก็บสะสมไปรษณียบัตร เมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ.2450 ยังเปิดประตูไปสู่ข้อมูลและเรื่องราวใหม่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

    นั่นคือในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กลับจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ 100 ปีมาแล้วนั้น มีหลักฐานที่น่าสนใจว่ามีการจัดงาน

    ถวายการรับเสด็จ จัดซุ้มรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่อลังการ

    โดยนอกจากพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยทั่วไปแล้ว ยังมีการจัดซุ้มรับเสด็จโดยกลุ่มพ่อค้าเชื้อชาติต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทด้านการค้า เศรษฐกิจ อยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย

    และหนึ่งในซุ้มรับเสด็จที่มีทั้งพ่อค้าฝรั่ง พ่อค้าจีน ฯลฯ นั้นก็มีซุ้มรับเสด็จของกลุ่มพ่อค้าแขก ซึ่งรวมเอาบรรดาต้นสายตระกูลใหญ่ๆ ของเมืองไทยเข้าไปร่วมในงานประวัติศาสตร์ครั้งดังกล่าวด้วย

    ดังนั้น มิติที่พูดคุยกับไกรฤกษ์ นานา จึงหลากหลายทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 5 รวมถึงบทบาทของกลุ่มพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาทำกิจกรรมในเมืองไทยอย่างคึกคักนับตั้งแต่หลาย 100 ปีมาแล้วนั่นเอง

    ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการถวายรับรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 นั้น ไกรฤกษ์ นานา ระบุว่าเป็นเรื่องที่มีเอกสาร ข้อมูลให้สืบค้นได้มากพอสมควร ต่างไปจากการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งแรกในปี พ.ศ.2440 ซึ่งแทบไม่มีหลักฐานใดๆ เหลือไว้ให้ศึกษา

    "รายละเอียดเรื่องการเสด็จกลับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ.2440 เป็นเรื่องหาอ่านยาก และแทบไม่มีใครเขียนถึง จนกระทั่งไปพบ หลักฐานตอนหนึ่งจากจดหมายเหตุรับเสด็จแลสมโภช ที่เคยพิมพ์ไว้มีเรื่องของบรรพชนในสกุลนานา ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้า แขกเทศ นำบรรดาพ่อค้าชาวอินเดียถวายการต้อนรับพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2440 พร้อมอ่านถวายพระพรต่อหน้าพระพักตร์ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เนื้อหาในพระราชดำรัสยังความปลาบปลื้มมายังคนในสกุลนานา จนถึงทุกวันนี้"

    ....

    เหตุใดจึงต้องมีการทำซุ้มรับเสด็จกลับ

    ไกรฤกษ์ นานา อธิบายว่า ในแง่หนึ่ง เป็นการแสดงความจงรักภักดีและร่วมปีติยินดีที่เสด็จกลับมาเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยและผู้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

    "อย่าลืมว่า รัชกาลที่ 5 เป็นพระองค์แรกที่เสด็จประพาสถึงยุโรป"

    และเมื่อเล่ามาถึงบทบาทของพ่อค้า ชาวต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทอย่างต่อเนื่องในระบบการค้าตั้งแต่สมัยอยุธยา ก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนของการรวมกลุ่ม รวมตัวเป็นคณะต่างๆ อย่างเป็นทางการมากขึ้นๆ

    "ย้อนกลับไปเมื่อก่อนประเทศไทยยุครัชกาลที่ 5 จะมีพ่อค้าแขกกับพ่อค้าจีนเข้ามาค้าขาย ฝ่ายที่ดูแลก็คือกรมท่าซ้ายและกรมท่าขวา ซ้ายคือจีน ขวาคือแขก ซึ่งก็เป็นประเพณีตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว คือมีกรมท่าซ้ายและกรมท่าขวา ซึ่งกรมท่าขวาจะเป็นคนส่วนน้อยกว่ากรมท่าซ้าย เพราะว่าคนจีนเยอะกว่า

    ฉะนั้น เรื่องราวต่างๆ ก็จะมีน้อยมาก จะเด่นที่สุดก็คือสายตระกูล "บุนนาค" เด่นมากเพราะว่า "บุนนาค" มาเปลี่ยนศาสนามีความจงรักภักดีมาก มีเรื่องราวปรากฏตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง

    แล้วก็จะมาเข้มข้นมากขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยามหาเสนาบุนนาค ก็เป็นเพื่อนกับนายสิน ลูกจีน และนายทองด้วง ก็เป็นเกลอกันมาจนกระทั่งรับบทเป็นเสนาบดีที่เลือกพระมหากษัตริย์"

    ขณะที่ต้นสายตระกูล "บุนนาค" มีบทบาทต่อเนื่องจากอยุธยามาจนถึงรัตนโกสินทร์ แต่กลุ่มพ่อค้าแขกในสายของตระกูลนานา ซึ่งเป็นแขกอินเดียแท้กลับเข้ามาเริ่มทำการค้าเอาในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นรอยต่อจากยุคสมัยที่ในรัชกาลที่ 3 นั้นเป็นยุคที่พระเจ้าแผ่นดินไทยมีสัมพันธไมตรีด้านการค้ากับประเทศจีนรุ่งเรืองมากที่สุด

    "ต้นตระกูลของผมเข้ามาในยุคที่แปลกมาก คือ สมัยรัชกาลที่ 3 เราติดต่อกับเมืองจีนสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จไปถึงอินเดีย พม่า ตรงนี้ครับที่เป็นจุดกำเนิดว่าพวกแขกพวกฝรั่ง ตามเข้ามาเปิดร้านตัดเสื้อคนต่างประเทศจะเข้ามายุครัชกาลที่ 5 หลังจากที่ท่านเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกประมาณปี 2417

    แต่ครอบครัวผมเข้ามาแปลกครับ คือเข้ามาก่อนหน้ารัชกาลที่ 5 ในประวัติก็มีรุ่นพี่ไปค้นมาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ว่า เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ.2400 ซึ่งก็ประมาณ 150 ปีแล้ว จะเป็นยุคเดียวกับเซอร์จอห์น บาวริ่ง เข้ามาทำสนธิสัญญาการค้ากับไทยนั่นเอง ก็เลยทราบว่าเป็นยุคที่เข้ามาแปลก คือ ไม่ได้เข้ามาในยุครัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 5 แล้วก็ได้เป็นขุนนางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4

    หลังจากนั้นทุกๆ สายที่เป็นบุตรของ "พระพิเชษฐ์" ก็เป็นพ่อค้าสืบต่อมา"

    ไกรฤกษ์เล่าว่า เขาเติบโตขึ้นในย่านชุมชนที่ถนนฟากหนึ่งเป็นจีน อีกฟากหนึ่งเป็นแขกนั่นคือ "ถนนมุมเมือง" จะมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งจะเป็นคนจีน อีกส่วนจะเป็นคนแขก เหตุผลที่ถนนมุมเมืองอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง ทำให้คนจีนก็ดี คนแขกก็ดี จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายของหรืออะไรที่เกี่ยวกับในวังตลอด

    "ผมเกิดที่นี่และอยู่ถึงเกือบ 10 ขวบ ก็ได้เห็นข้าวของซึ่งผมระบุว่า ได้มีโอกาสดีที่ได้เกิดในบ้านของคุณปู่ที่ยังมีสัญลักษณ์ของความเป็นพ่อค้า เช่นตัวอย่างสินค้า เช่นถาด ก็จะมีชื่อคุณปู่เขียนไว้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องแก้วเจียระไน หรือเท่าที่จำได้คือแม้กระทั่ง ชักโครก คือคุณปู่จะส่งของ luxury good เพราะสมัยก่อนเราอยู่ใต้ร่มธงอังกฤษ เพราะอินเดียเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ เราก็เลยพูดภาษาอังกฤษเก่ง แล้วในประวัติบรรพบุรุษเขียนไว้ว่า ท่านก็ช่วยแปลภาษา ต่างประเทศจนกระทั่งได้ช่วยงานของกรมท่าขวา นี่ก็คือจุดสำคัญในยุคเริ่มต้น"

    สำหรับลักษณะที่สำคัญของพ่อค้าแขกที่เข้ามาในยุครัตนโกสินทร์ คือ จะเข้ามาในลักษณะเป็นพ่อค้าก่อน จากนั้นก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นคนควบคุมคนจีนหรือคนแขกให้อยู่ในความคุ้มครอง แล้วก็ปกครองกันเอง ความจริงแล้วพ่อค้าอินเดียก็เข้ามาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์อยู่เรื่อยๆ ซึ่งก็มีหลายกลุ่ม ทั้งฮินดู คริสต์ แต่กลุ่มที่เป็นมุสลิมก็จับกลุ่มกันอยู่

    จากจุดเริ่มต้นที่เติบโตขึ้นมาในท่ามกลางชุมชนพ่อค้าที่มีบทบาท นั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต่อมาไกรฤกษ์สนใจประวัติศาสตร์ และเข้ามาทำงานด้านประวัติศาสตร์ในบทบาทของผู้ที่ชื่มชนการสืบค้น สะสม และรวบรวมหลักฐาน เอกสารประวัติศาสตร์โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5

    "กล่าวได้ว่าสายตระกูล "นานา" เป็นพ่อค้าอินเดียที่เข้ามามีบทบาทในการค้าของเมืองไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์ก็เรียกได้ พวกเราจะโตมาจากตรงนั้นเพราะบรรพบุรุษ "พระพิเชษฐ์" อยู่ที่วัดอนงค์ บริเวณนั้นทั้งหมดเลยจะมีย่านชุมชนคนอิสลามอยู่ พอมีลูก ลูกก็เริ่มขยายออกมาแล้วก็ย้ายออกมา ลูกชายคนโตก็ไปอยู่ที่ซอยนานา ก็ไปซื้อจับจองที่ดิน นานาเหนือ นานาใต้ ของคุณปู่ผมก็มาอยู่ที่ถนนมุมเมือง ก็ยังเป็นคนที่ติดต่ออยู่กับในวัง เพราะว่าคุณปู่ก็มีคุณย่าเป็นคนมอญ ผมก็มีเชื้อสายมอญ ดังนั้นผมก็เป็นรุ่นที่ 4

    รุ่นแรกเลยจะเป็นอินเดีย แต่ว่าคุณทวดก็มีภรรยาเป็นชาวอินเดีย 3 คน แต่ว่าเป็นมอญ เป็นทวาย ฉะนั้นผมก็กลายพันธุ์เป็นไทยมากกว่ากลุ่มพวกคุณ "เล็ก นานา"ซึ่งเป็นแขก ส่วนผมจะเป็นแขกไทย แต่พูดง่ายๆ ว่าคุณทวดคนเดียวกัน แล้วคุณปู่มีพี่น้อง 13 คน ก็แตกสายออกมา

    ก็จะโยงมาว่าพ่อค้าอินเดียมีบทบาทมากขึ้น แล้วคุณปู่ก็โตขึ้นเป็นหนุ่ม แต่งงาน แล้วก็สืบทอดธุรกิจการค้าเรื่อยมา ผมจำได้ว่าคุณป้าขายเครื่องเพชรให้เจ้าจอมประดับ เพราะท่านเจ้าจอมมีอายุที่ยืนยาวมาก ฉะนั้นผมก็จะได้ยอนคุณป้า คุณอาผู้หญิง เล่าเรื่องคนในวังตลอดเวลา ผมก็เลยอินเรื่องประวัติศาสตร์ บวกกับอาชีพของเราด้วยที่ต้องหาประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ เล่าให้ลูกค้าฟัง"

    ...

    และจากบทบาทในฐานะพ่อค้าแขกนั้น จึงนำไปสู่โอกาสที่ได้เป็นส่วนหนึ่งรับเสด็จซึ่งจะมีทุกกลุ่ม แม้กระทั่งเจ้านายฝ่ายใน

    "ถึงแม้เจ้านายฝ่ายในจะเป็นพวกเจ้าจอม เจ้าจอมมารดา จะสนิทกับในหลวง แต่ก็ตั้งเป็นซุ้มต่างหาก แล้วก็จะมีพวกพ่อค้าทั้งหลาย แล้วก็เป็นพวกกระทรวง เจ้าหน้าที่กระทรวงก็จะอยู่บริเวณข้างหน้าซุ้ม พอในหลวงผ่านมาท่านก็จะจอด ก็มีการถวายความจงรักภักดี ในหลวงจะตอบหรือไม่ตอบ แล้วแต่ท่าน

    ซุ้มแขกก็เช่นกัน ก็จะมีพูด ซึ่งท่านก็จะตอบ ท่านตอบได้ซาบซึ้งมาก รวมถึงซุ้มจีนและซุ้มฝรั่ง ซึ่งไม่เชิงเป็นประเพณี แต่การบรรยายจะเห็นเลยว่า คนแต่ละกลุ่มจะเริ่มต้นจากการที่รู้สึกซาบซึ้งในการเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แล้วก็ไม่ได้ถูกรังเกียจรังงอน ในหลวงได้ให้ความเมตตา ให้นับถือศาสนา ตามที่ทุกคนที่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มีการแก่งแย่ง ไม่มีการกัดกันชั้นวรรณะ"

    จากคำบอกเล่าเรื่องราวของไกรฤกษ์ นานา พร้อมข้อมูลจากเอกสารที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน นั่นทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลและสีสันอีกด้านหนึ่งที่จะทำให้ 23 ตุลาคม 2551 ของปีนี้ พิเศษและแตกต่างไปจากที่ผ่านมา

    นอกจากวาระของการเฉลิมฉลอง 100 ปี พระบรมรูปทรงม้า หรือครบรอบ 100 ปีของการพระราชทานกำเนิดการเก็บสะสมไปรษณียบัตร เมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ.2450 แล้ว

    ยังเปิดมิติใหม่เกี่ยวกับบทบาทพ่อค้าต่างชาติในสยามที่พร้อมใจกันร่วมตั้ง ซุ้มถวายการรับเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป

    สะท้อนภาพแห่งความสมานฉันท์ และโยงถึงเรื่องราวที่น่าสนใจของกลุ่มพ่อค้าแขกในเมืองไทยได้อย่างครบถ้วน

    แม้นี่จะเป็นเพียงแค่ส่วนเดียวในงาน และการทำหน้าที่นักสืบประวัติศาสตร์ของ ไกรฤกษ์ นานา ก็ตาม

    -------------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02spe01231051&day=2008-10-23&sectionid=0223
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...