เรื่องเด่น 16 ก.ค.2501 คิดถึงพ่อหลวง คิดถึง “วันทรงดนตรี”

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    รู้จักที่มาและความสำคัญของ “วันทรงดนตรี” ที่กำเนิดขึ้นเมือวันนี้ของ 61 ปีก่อน



    วันนี้เมื่อ 61 ปีก่อน คือวันที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินตามคำกราบบังคมทูลเชิญของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เพื่อทรงดนตรีและทรงสังสรรค์ร่วมกับนิสิตนักศึกษาเป็นการส่วนพระองค์


    โดยในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรวมทั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย


    โดยที่สุดแล้วในวันนี้ หรือ วันที่ 16 กรกฎาคม จึงนับเป็น “วันทรงดนตรี”



    0b896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887.jpg



    สำหรับประวัติที่มาของ “วันทรงดนตรี” ถือกำเนิดมาจากพระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบเนื่องมาจากวันพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500


    และในท้ายพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงแจ้งข่าวต่อที่ประชุมว่า “พระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัยมากที่มิได้ประทับอยู่เพื่อเสวยพระสุธารสในวันนั้นได้ อย่างที่เคยทุกๆ ปีมา เพราะสมเด็จพระบรมราชินีนาถกำลังจะประสูติเจ้าฟ้าฯ”


    และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาาช บรมนาถบพิตรจึงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานนามให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ในพระนามนั้นด้วย และก็ได้พระราชทานนามว่าเจ้าฟ้า “จุฬาภรณ์”


    ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร



    896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887-1.jpg



    มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรงกับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจะทรงดนตรี กับ วงลายคราม เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.


    ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่าอยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต


    และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อีกด้วย


    ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำวงลายครามไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร


    จากนั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี


    เว้นปีที่มีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย



    896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887-2.jpg



    หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรยังได้เสด็จทรงดนตรีตามคำกราบบังคมทูลเชิญของมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรทรวิโรฒ เพื่อทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์อีกหลายครั้ง


    อย่างไรก็ดี ต่อมาวันทรงดนตรีได้ยุติลงไป เนื่องจากมีพระราชกรณียกิจมากมายและสถานการณ์ไม่เอื้อต่อการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี


    โดยรวมแล้วพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาฯจำนวน 15 ครั้ง โดยเสด็จฯมาทรงดนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 เป็นปีสุดท้าย


    แต่ต่อมา ช่วงปี 2543 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี ในวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


    อนึ่ง วงลายคราม (Lay Kram) เป็นวงดนตรีในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงตั้งขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถานภายหลังเสด็จนิวัตประเทศไทย เล่นดนตรีในแนวแจ๊ส Dixieland ซึ่งมีความสนุกสนานเบิกบาน เปิดโอกาสให้ผู้เล่นแสดงความสามารถเฉพาะตัว



    896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887-3.jpg


    “วงลายคราม” ประกอบด้วยนักดนตรีสมัครเล่นทั้งหมด ซึ่งล้วนเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่พระองค์ทรงคุ้นเคยมาแต่ทรงพระเยาว์ อาทิ หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์หม่อมเจ้าแววจักร จักรพันธุ์หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์


    หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพลหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากรหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชหม่อมเจ้าชุมปกบุตร ชุมพลหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์นายดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยานายสุรเทิน บุนนาคนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์


    896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887-4.jpg


    นักร้องของวงลายครามได้แก่ หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุลหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากรเป็นต้น


    เนื่องจากวงลายคราม เป็นวงดนตรีของนักดนตรี นักร้องสมัครเล่น หลายครั้งที่นักดนตรีมักจะเล่นผิดๆ ถูกๆ แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็มีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงแนะนำ พระราชทานกำลังใจ ให้ทุกคนมีความสนุกครึกครื้นอยู่กับการเล่นดนตรีอยู่เสมอ วงลายครามจะมาร่วมเล่นดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ทุกเย็นวันศุกร์


    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธ์เพลง Lay Kram Goes Dixie พระราชทานให้เป็นเพลงประจำวง


    มาฟังเพลงอันทรงคุณค่าเพลงนี้ เพื่อรำลึกถึงองค์พ่อหลวง ร. 9 ของปวงชนชาวไทยกันดีกว่า


    [embedded content]


    ****************///***************

    Shares :

    เปิดอ่าน 141 ครั้ง

    ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกัน ไลน์@komchadluek ที่นี่ 0b896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887.png 896e0b8b6e0b887e0b89ee0b988e0b8ade0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b884e0b8b4e0b894e0b896e0b8b6e0b887-1.png

    ขอขอบคุณที่มา
    https://komchadluek.net/news/today-in-history/379642
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,667
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047

แชร์หน้านี้

Loading...