เรื่องเด่น “วัดราชบพิธฯ-วัดบวรฯ” สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร “ร.9”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 27 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvODA1LzQwMjUwMTgvXzkyNzEyNDgwXzAzNjYzNjg3Mi0xLmpwZw==.jpg
    “วัดราชบพิธฯ-วัดบวรฯ” สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร “ร.9”

    การเก็บพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร จะประกอบพิธี ณ พระจิตกาธาน เมื่อเสด็จขึ้นพระเมรุมาศเจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้า คลุมพระบรมราชสรีรางคาร ทรงสรงพระบรมอัฐิด้วยน้ำ พระสุคนธ์เจ้าพนักงานแจงพระบรมอัฐิ โดยเชิญพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคาร เรียงเป็นลำดับให้มีลักษณะ เหมือนรูปคน หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก จากนั้นหันพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคารที่แจงไว้มาทางทิศตะวันออกเรียกว่า แปรพระบรมอัฐิ แล้วจึงถวายคลุมด้วยผ้า เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคลุมด้วยผ้า 3 ชั้น คือ แพรขาว ผ้าตาด และผ้ากรองทอง ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการทองน้อย ทรงกราบถวายบังคม พระบรมอัฐิ แล้วเสด็จลงมาประทับพระที่นั่งทรงธรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าราชนิกุล ข้าราชการ เดินสามหาบ

    ต่อมาเปลี่ยนเป็นการทำสำรับภัตตาหารสามหาบตั้งถวาย พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองน้อย ทรงทอดผ้าไตร สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะสดับปกรณ์ ทรงโปรยเหรียญทองเหรียญเงินพระราชทาน

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvODA1LzQwMjUwMTgvZTYtY29weS5qcGc=.jpg

    เจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าคลุมพระบรมอัฐิ ทรงเก็บพระบรมอัฐิลงสรงในขัน ทรงพระสุคนธ์ การเก็บพระบรมอัฐิจะเลือกเก็บแต่ละส่วนของพระสรีระอย่างละเล็กน้อย พร้อมกันนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่ได้รับพระบรมราชานุญาตขึ้นรับพระราชทานพระบรมอัฐิไปสักการบูชา แล้วทรงประมวลพระบรมอัฐิบรรจุพระโกศ หลังจากนั้นเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม ทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญลงบรรจุในพระผอบโลหะปิดทองประดิษฐานบนพานทองสองชั้นคลุมผ้าตาดพักรอไว้บนพระเมรุมาศ สำหรับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นั้นจะเชิญโดยพระที่นั่งราเชนทรยานไปประดิษฐานยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvODA1LzQwMjUwMTgvZTYuanBn.jpg

    สำหรับพระบรมราชสรีรางคาร คือ เถ้าถ่านที่ปะปนกับพระบรมอัฐิชิ้นเล็กชิ้นน้อยของพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่เผาแล้ว ซึ่งอาจเรียกว่า พระสรีรางคาร ตามลำดับพระอิสริยยศของพระบรมวงศ์ และเรียกว่า อังคารสำหรับสามัญชนการบรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็นขั้นตอนสุดท้ายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชบุพการี และสมเด็จพระบรมราชินี เกิดขึ้นครั้งแรกในคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียมการลอยพระบรมราชสรีรางคาร และโปรดให้เชิญพระบรมราชสรีรางคารมาประดิษฐาน ณ รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชภายในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

    จึงกลายเป็นธรรมเนียมในการเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระสรีรางคารไปประดิษฐานในสุสานหลวงหรือสถานที่อันควรแทน โดยเจ้าพนักงานจะเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากสถานที่ที่พักไว้แล้วตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังสถานที่บรรจุอันเหมาะสมพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นั้นจะเชิญไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ออกแบบผอบอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารองค์ใหม่เพื่อใช้ทรงพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐานในพระถ้ำศิลาที่ฐานชุกชีพระประธานพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และที่ฐานองค์พระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยได้ศึกษารูปแบบจากผอบองค์เดิมที่มีอยู่แล้ว และนำมาประยุกต์ออกแบบใหม่ให้มีรูปทรงและลวดลายชั้นเชิงต่าง ๆ งดงามสมพระเกียรติยิ่งขึ้น

    ผอบองค์นี้แบ่งส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นฐาน ส่วนตัวผอบและส่วนที่เป็นฝา ซึ่งส่วนฐานจะมีชั้นหน้ากระดานบัวคว่ำรองรับชั้นลูกแก้ว มีลวดและท้องไม้สลับคั่นระหว่างชั้นลูกแก้ว โดยลวดลายลูกแก้วหรือชั้นเกี้ยวตามโบราณราชประเพณีจะใช้ออกแบบเครื่องสูงสำหรับพระมหากษัตริย์และเป็นหนึ่งในลวดลายประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ ตัวผอบเป็นทรงดอกบัวบาน มีลักษณะทรงกลม ลักษณะพิเศษของผอบองค์ใหม่มีกลีบบัวขนาดเล็กรองรับ สลับกันไป ส่วนกลีบบัวของผอบมีจะขนาดเล็กกว่าองค์เดิมและมีเส้นเดินรอบกลีบ ด้านในกลีบเพื่อให้เกิดน้ำหนักและมิติของงานสลักดุน ตรงกลางกลีบบัวจะทำเป็นสันขึ้นมาเมื่อเวลาแสงตกกระทบจะทำให้เกิดแสงเงาที่สวยงามมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ส่วนฝาเป็นลักษณะยอดทรงมัณฑ์ มีชั้นหน้ากระดานถัดขึ้นไป ถัดขึ้นมาใช้เป็นชั้นบัวคว่ำ 3 ชั้น ลักษณะบัวคว่ำชั้นแรกจะมีขนาดใหญ่ชั้นถัดไปจะลดหลั่นไปตามสัดส่วนและรูปทรง

    โดยจะมีการสลักดุนเหมือนกับกลีบบัวที่ตัวผอบเพื่อให้เกิดมิติของแสงเงาเพื่อให้เกิดความสวยงาม ถัดจากชั้นกลีบบัวจะเป็นปลียอด และชั้นบนสุดจะเป็นลูกแก้ว หรือเม็ดน้ำค้าง โดยมีรูปแบบทรงกลมและส่วนปลายจะเรียวแหลมเล็กน้อยลักษณะเป็นดอกบัวตูมการจัดสร้างผอบเชิญพระบรมราชสรีรางคารได้ใช้วัสดุโลหะเนื้อเงินมาทำการขึ้นรูป เทคนิควิธีการเกี่ยวกับการจัดสร้างพระโกศทองคำเป็นวิธีการแบบช่างโบราณ โดยการกลึงหุ่นแบ่งเป็นส่วนฐาน ส่วนตัวผอบ และส่วนฝาผอบ หลังจากกลึงเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาถอดพิมพ์ด้วยยางซิลิโคน เมื่อได้พิมพ์ยางซิลิโคนแล้ว จะนำเรซิ่นมาเทในพิมพ์ยางซิลิโคน เมื่อเสร็จจากขั้นตอนนี้ก็จะได้หุ่นเพื่อการเคาะขึ้นรูป โดยนำโลหะเงินมาหลอมรีดให้เป็นรูปทรงส่วนฐานตัวผอบและฝา จากนั้นช่างจะนำมาสลักดุนตามแบบและลวดลายที่ออกแบบไว้จนสำเร็จออกมา แล้วจึงนำแต่ละส่วนประกอบเข้าด้วยกันจนสำเร็จเป็นผอบเชิญพระบรมราชสรีรางคาร

    ทั้งนี้ พระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ หมายถึงกระดูก จะเก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรมราชสรีรางคาร พระราชสรีรางคารหรือพระสรีรางคาร หมายถึง ขี้เถ้านอกจากกระดูกเป็นส่วนที่เหลือหลังจากการถวายพระเพลิง โดยอัญเชิญไปประดิษฐานตามพระอารามหลวงต่างๆ

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvODA1LzQwMjUwMTgvZTYtLS1jb3B5LmpwZw==.jpg

    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามโดยแต่เดิมบริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวง บดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413 แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาอยู่ พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ร.5 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ โดยสร้างเลียนแบบ 2 วัดคือ วัดพระปฐมเจดีย์กับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 โดยภายในวัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง ตัวพระอุโบสถภายนอกสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม(มือ) ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ พระพุทธอังคีรส ภายใต้พระประธานมิได้เพียงบรรจุพระสรีรังคารของ ร.5 เพียงเท่านั้นยังบรรจุพระสรีรังคารของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ด้วยอาทิ พระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี ,พระราชสรีรางคารสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รวมทั้งพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    วัดบวรนิเวศวิหาร

    วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศน์และถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่วัดยังสร้างไม่เสร็จพระองค์ก็สวรรคตเสียก่อน โดยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่า วัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศวิหารนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศวิหาร จึงถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6

    ทั้งนี้วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวช คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 รวมไปถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์

    ขณะเดียวกันวัดวัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานพระราชสรีรางคารของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี โดยใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

    ขอบคุณข้อมูลจาก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม , เว็บไซต์ ธรรมะไทย , สำนักงานวัดบวรนิเวศวิหาร

    ขอขอบคุณที่มา
    http://news.sanook.com/4025018/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...