เรื่องเด่น “มีคติแน่นอน” (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 1 ธันวาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    333.jpg

    วันนี้วันพระตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะเมีย

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    คำว่า “มีคติแน่นอน” นี่ก็หมายความว่า ถ้าตายจากความเป็นคนจะต้องไม่ตกนรก แล้วก็เดินทางตรงเพื่อพระนิพพาน ถึงแม้ว่าจะยังไม่ถึงพระนิพพานในชาตินี้ เกิดไปเป็นเทวดาหรือพรหมก็ต่อไปนิพพานเลย….ที่พูดกันว่าคติแน่นอนจริงๆ ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าหมายเอาพระโสดาบันเป็นที่ตั้ง ถ้าถึงพระโสดาบันแล้วขึ้นชื่อว่าบาปอกุศลทั้งหมด ที่ทำมาในกาลก่อนทั้งหมดงด! ไม่สามารถจะลงโทษได้ คือบาปตามไม่ทัน!
    คติมีอยู่ว่า ถ้าเกิดเป็นคนกับเกิดเป็นเทวดา สลับกันไปสลับกันมา ไม่ช้าก็ไปพระนิพพาน หรือบางท่านเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว ไปเกิดเป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี พบพระพุทธเจ้าฟังเทศน์เพียงจบเดียวก็เป็นอรหันต์
    ฉะนั้น วันนี้ก็จะขอนำเอาคติเพื่อความแน่นอนของบรรดาพุทธบริษัททุกท่าน ซึ่งมีคนบ่นกันมาก จดหมายก็มีมาหลายสิบฉบับ บอกว่าเจริญกรรมฐานมาแล้วหลายสิบปี ๑๐ ปีเศษบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ไม่เห็นได้อะไรเลย
    แต่ความจริงได้นะ ได้หลับตาเรื่อยใช่ไหม
    คำว่า “ไม่ได้” ของท่านนี้เพราะท่านมุ่งฌานเป็นสำคัญ ถ้ามุ่งฌานเป็นสำคัญก็ผิดความหมายทุกคน
    เพราะฌานสมาบัติต้องอาศัยร่างกาย บางวันร่างกายดีฌานก็ทรงตัวดี ร่างกายเพลียเกินไป ฌานทรงตัวน้อย เกิดเสียใจ เอ๊อ! วันนี้ดีไม่เท่าเมื่อวาน
    การเจริญพระกรรมฐานไม่ได้มุ่งหมายเฉพาะตรงนี้ มุ่งหมายตัวตัดกิเลสหรือว่าตัวบรรเทากิเลส
    กิเลสที่เราจะตัดจริงๆ ในการเจริญพระกรรมฐานมีอยู่ ๑๐ อย่าง ไม่ได้มีเป็นเล่มๆ อย่างที่เราอ่านหนังสือกันหรอก มีแค่ ๑๐ อย่าง คือ
    (๑) สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถือว่าร่างกายมันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เป็นเรือนร่างอาศัยของจิตชั่วคราว
    (๒) วิจิกิจฉา ความสงสัยในความดีของพระรัตนตรัย
    (๓) สีลัพพตปรามาส การรักษาศีลไม่แน่นอน
    (๔) กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
    (๕) ปฏิฆะ ความไม่พอใจ
    (๖) รูปราคะ ติดในรูปฌานเกินไป
    (๗) อรูปราคะ ติดในอรูปฌานเกินไป
    (๘) มานะ ถือตัวถือตนเกินไป
    (๙) อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่านเกินไป
    (๑๐) อวิชชา ไม่เชื่อใน “อริยสัจ”
    กิเลสที่บรรดาพุทธบริษัทจะตัดจริงๆ น่ะมีอยู่ ๑๐ อย่าง แต่ว่าไอ้การตัดจริงๆ เขาตัดตัวเดียวคือตัดที่ “สักกายทิฏฐิ”
    ฉะนั้น การปฏิบัติพระกรรมฐาน พระพุทธเจ้าให้ทุกคนมุ่งนิพพาน อันดับแรกให้เอาจิตมุ่งนิพพานไว้ก่อน ถึงหรือไม่ถึงเราจะไป ตั้งใจไว้เพื่อจะไป
    ทีนี้เกณฑ์ที่จะไปเป็นขั้นๆ ก็มีดังนี้
    พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
    ถ้าทำลายกิเลส ๓ ตัวนี้ได้ชื่อว่าเป็น “พระโสดาบัน” หรือ “พระสกิทาคามี”
    ถ้าตัดกิเลสได้อีก ๒ ตัว คือ กามฉันทะ กับ ปฏิฆะ ก็เป็น “พระอนาคามี”
    ถ้าตัดได้อีก ๕ ตัว คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เป็น “พระอรหันต์”
    ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานก็มุ่งเอา “คติแน่นอน” เป็นสำคัญ คือที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    “ถ้าเป็นพระโสดาบันจะมีคติแน่นอน คือไม่ต้องกลับย้อนไปลงอบายภูมิอีก ไม่ต้องเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าไปสวรรค์จะกลับมาเกิดก็แค่คน แล้วก็ย้อนไปสวรรค์หรือพรหม ในที่สุดก็ไปนิพพาน”
    พระพุทธเจ้าต้องการอย่างนี้เป็นอย่างน้อย ถ้าหากว่าท่านผู้ใดเจริญพระกรรมฐานก็พิจารณาจิตของท่านเอง
    แต่ความจริงพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ถ้าไล่ตามแบบสังโยชน์นี้เข้าใจยาก รู้สึกว่าหนัก ก็ต้องดูตามภูมิที่พระพุทธเจ้าตรัส ท่านตรัสว่า
    พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรง “อธิศีล”
    พระอนาคามี เป็นผู้ทรง “อธิจิต”
    พระอรหันต์ เป็นผู้ทรง “อธิปัญญา”
    “อธิ” นี่เขาแปลว่า ยิ่ง
    อีกตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า “พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีเป็นผู้มีสมาธิและปัญญาเล็กน้อย แต่ว่าทรงศีลบริสุทธิ์” มันก็ต้องจับมุมนี้ก่อน
    ทีนี้สำหรับความเป็นพระโสดาบันจริงๆ ท่านบอกว่า
    “มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์”
    สำหรับสมาธิของพระโสดาบันนี่ ถ้าปฐมฌานก็ใช้ได้ ปฐมฌานเป็นอารมณ์สบายๆ ตามปกติ ไม่เครียด ไม่หนัก ทั้งที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ตัวปัญญานี่เข้าไปตัด “สักกายทิฏฐิ” ยังไม่มีความรู้สึกว่า “ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา”
    ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้จริงเป็น “พระอรหันต์”
    ฉะนั้น การตัดตัวนี้ก็ตัดแค่มีความรู้สึกว่า
    “ชีวิตที่เราเกิดมานี้มันต้องตาย”
    มันจะอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยไปไม่ได้ ดังนั้นเมื่อความตายมีกับเรา เราจะไม่ยอมลงอบายภูมิ นั่นก็คือจะยึดความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เพราะความดีของท่านดีจริงๆ
    ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส ไม่ลูบคลำศีล คือศีล ๕ บริสุทธิ์ พระโสดาบันมีเท่านี้เอง ต้องไปดูคนที่เป็นพระโสดาบัน คือต้องดูตัวอย่าง ไม่งั้นจะจับมุมไม่ถูกตัวอย่างที่ท่านเป็นพระโสดาบัน อย่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกา ท่านเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี ท่านก็ยังมีการประกอบอาชีพเป็นปกติ เมื่อถึงอายุ ๑๖ ปี ก็แต่งงาน นี่จะเห็นว่าพระโสดาบันยังแต่งงานได้ ยังไม่ได้เลิกแต่งงานกัน โดยมากคนมักจะหนักใจตรงนี้มาก จึงเข้าใจพลาด บางทีเห็นคนเจริญพระกรรมฐานไม่กี่วันไปแต่งงานเข้า พวกนินทาเสียแล้ว….


    โพสต์โดย achaya



    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2017
  2. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,634

แชร์หน้านี้

Loading...