เรื่องเด่น “พระพุทธนวราชบพิตร” อีกหนึ่งพระอัจฉริยภาพด้านประติมากรรม “ในหลวง ร.9”

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 12 ตุลาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    lg.jpg

    งานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “ในหลวงรัชกาลที่ 9” พระผู้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” นอกจากที่เป็นประติมากรรมลอยตัว (Round Relief) พระรูปปั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครึ่งพระองค์ ความสูง 12 นิ้วแล้ว พระองค์ท่านยังทรงสนพระราชหฤทัยในการสร้างพระพุทธรูป ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. เพื่อให้ประชาชนได้ไว้สักการบูชา และทรงมีพระราชดำริแก่ช่างปั้น เกี่ยวกับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง และภายหลัง ได้มีพระราชประสงค์ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระราชทานชื่อ “พระพุทธนวราชบพิตร” เป็นพระพุทธรูปปฎิมาแบบพิเศษ ปางมารวิชัย โดยให้แกะแบบแม่พิมพ์ด้วยหินลับมีด แล้วหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์

    0b897e0b898e0b899e0b8a7e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ae0b89ee0b8b4e0b895e0b8a3-e0b8ade0b8b5e0b881e0b8ab.jpg

    พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีแนวพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ควรมีลักษณะสง่างาม เข้มแข็ง แต่ไม่แข็งกระด้าง และให้มีความรู้สึกที่ว่าเป็นที่พึ่งเหล่าพสกนิกร เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ จึงได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบพระพุทธรูป โดยส่วนฐานของพระพุทธรูปจะเป็นกลีบบัว ใต้กลีบบัวเป็นขาสิงห์ ที่ผ้าทิพย์ประดิษฐานอักษรพระปรมาภิไธย ย่อว่า ภ.ป.ร. และที่ฐานรองพุทธบัลลังก์มีอักษรบาลีจารึกว่า “ทยยชาติยา สามคคิย์ สติสญชนเนนโภชิสิย รกขนุติ” และบรรทัดถัดมาเป็นอักษรไทยจารึกว่า “คนไทยจะรักษาความเป็นไทย อยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกในความสามัคคี” ฐานด้านหลังจารึกว่า “เสด็จพระราชดำเนินในพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508”

    897e0b898e0b899e0b8a7e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ae0b89ee0b8b4e0b895e0b8a3-e0b8ade0b8b5e0b881e0b8ab-1.jpg

    ต่อมาภายหลัง ได้ทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง และทรงบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์จากปูชนียสถานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ภายในพระพิมพ์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้บรรจุพระพิมพิ์ขนาด 2 x3 เซนติเมตร ไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าขององค์ “พระพุทธนวราชบพิตร” พร้อมทั้งทรงพระราชทานแก่ข้าราชการ ข้าราชบริพาร และบุคคลต่าง ๆ เพื่อไว้สักกะบูชา โดยให้ผู้รับพระราชทานนำไปปิดทองที่ด้านหลังองค์พระพิมพ์ และให้พระบรมราโชวาทโดยสรุปว่า “ให้ทำดีเหมือนกับการปิดทองหลังองค์พระพิมพ์” โดยเรียกว่า “พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ “พระกำลังแผ่นดิน” ด้วยพระราชประสงค์ เพื่อประดิษฐานในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นสิริมงคล และเป็นนิมิตรหมายแห่งความผูกพัน ระหว่างพระมหากษัตริย์ และพสกนิกร

    ที่มา : sites.google.com , www.silpa-mag.com

    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.komchadluek.net/news/487839
     

แชร์หน้านี้

Loading...