เรื่องเด่น ไหว้พระนั่งดิน อันซีน “พะเยา”

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 11 พฤศจิกายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b894e0b8abe0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b899e0b8b1e0b988.jpg

    “สายอรุณ ปินะดวง”

    หมู่บ้าน “พระนั่งดิน” แห่ง อ.เชียงคำ จ.พะเยา เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง ปลอดภัยจาก ยาเสพติด ชาวบ้านดำรงชีวิตกันอย่างมีความสุข

    ตามตำนานเล่าว่า พระยาผู้ครองเมือง พุทธสะ ค้นพบพระเจ้านั่งดิน เมื่อจุลศักราช 1213 ปีระกา วันจันทร์ เมื่อสมัยที่การปกครองแบบหัวเมือง พ่อขุนคนสุดท้ายได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านพระนั่งดิน มีนามว่าพ่อขุนวุฒิเวียงชัย มีลูกหลานอยู่ในหมู่บ้านพระนั่งดินเป็นจำนวนมาก เป็นต้นตระกูลเวียงคำมาจนถึงปัจจุบัน

    เอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือ “วัดพระนั่งดิน” ในวัดมีพระพุทธรูปประดิษฐานในวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน

    ความโดดเด่นของวัดพระนั่งดินที่ไม่เหมือน วัดใด คือประดิษฐานบนพื้นดินไม่มีฐานชุกชี ขนานนามกันว่า “อันซีนไทยแลนด์” แห่งที่ 2 ของ จ.พะเยา รองจากพระเจ้าตนหลวง ที่วัดศรีโคมคำ อ.เมืองพะเยา

    ตลอดทั้งปีมีนักท่องเที่ยว และประชาชนชาวพะเยามากราบไหว้ขอพรอันเป็นมงคลต่อชีวิตอย่างเนืองแน่นทุกวัน

    พระครูอภิวัฒนกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดพระนั่งดิน กล่าวว่าวัดพระนั่งดินเป็นวัดเก่าแก่ มีนักท่องเที่ยวและประชาชนนิยมมาทำบุญถวายสังฆทาน บูชาเทียนสะเดาะเคราะห์ทุกวันเป็นจำนวนมาก นับเป็นวัดท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัด และเป็นวัดที่มีชื่อเสียงประจำ อ.เชียงคำ

    ใครที่มาวัดพระนั่งดินแล้วจะต้องมาบูชาเทียนไขที่ทางกลุ่มผู้สูงอายุได้ทำขึ้น เรียกว่า “เทียนคาถา” เป็นเทียนมงคล จุดเพื่อให้เกิดมงคลแก่ชีวิต สะเดาะเคราะห์ ขอให้เกิดสิ่งดีๆ แก่ชีวิตผู้ที่บูชาหรือญาติมิตร แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวและประชาชนที่เข้ามากราบพระนั่งดินแล้วบูชาเทียน ทำให้กลุ่มเทียนไขของผู้สูงอายุมีรายได้แต่ละปีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาท

    เจ้าอาวาสเล่าว่า เทียนถาคาเป็นผลงาน ของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านพระนั่งดินที่มีสมาชิกกว่า 20 คน ผู้สูงอายุจะรวมกัน ทำเทียนคาถา โดยคาถาที่เขียนใส่เทียนแต่ละเล่ม อาตมาเป็นผู้เขียนเรียกว่าคาถาบูชาเทียนประจำวันเกิดแต่ละวัน ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึง วันจันทร์ ครบ 7 วัน

    894e0b8abe0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b899e0b8b1e0b988-1.jpg

    ขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนคาถาทางวัดจะสั่งซื้อมาจาก จ.ลำปาง นำมาผลิตเป็นเทียนคาถาโดยมีผู้สูงอายุเป็นแรงงาน ให้บูชาเล่มละ 10 บาท วางให้บูชาภายในวิหารวัดพระนั่งดิน รายได้จากการบูชาเทียนทางวัดมอบให้กลุ่มผู้สูงอายุเล่มละ 1 บาท แต่ละวันจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาบูชาเทียนคาถาเฉลี่ยวันละ 1,000-5,000 เล่ม

    โดยเฉพาะหน้าเทศกาลที่มีนักท่องเที่ยวมาจำนวนมาก ยอดเทียนคาถาถูกบูชาประมาณวันละ 5,000 เล่ม ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุจะมีรายได้เข้ากลุ่มเฉลี่ยวันละ 1,000-5,000 บาทเช่นกัน

    นอกจากกลุ่มเทียนคาถาแล้ว ที่บ้านพระนั่งดิน ยังมีกลุ่มชาวบ้านทำตุ๊กตาผ้าถัก ใช่เพียงเป็นของเล่นสำหรับเด็กผู้หญิงเท่านั้น หากแต่ในยุคปัจจุบัน ตุ๊กตากลับกลายเป็นสิ่งของที่ช่วยทำให้ส่งเสริมด้านพัฒนาการ และทักษะการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น

    คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ “ตุ๊กตาผ้าถัก” เรียกว่า “ตุ๊กตาหัวโต” ทำมาจากเส้นไยคอตตอน ที่ถูกสั่งมาจากโรงงานในกรุงเทพฯ แล้วนำแจกจ่ายให้สมาชิกกลุ่มที่มีอยู่กว่า 50 คน นำไปถักแยกชิ้นส่วนต่างๆ คือ หัว ลำตัว แขน แล้วนำเส้นใยสังเคราะห์ยัดไส้ด้านใน

    894e0b8abe0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b899e0b8b1e0b988-2.jpg จากนั้นนำมาถักประกอบกันเป็นตุ๊กตาทั้งตัว อีกทีหนึ่ง ทำให้รายได้มีการกระจายไปอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีกลุ่มสมาชิกที่รับงานไปทำที่บ้านมีอยู่ทั่วพื้นที่ อ.เชียงคำ ปัจจุบันเป็นสินค้า โอท็อปที่ขึ้นชื่อวางจำหน่ายในเมืองท่องเที่ยว เช่น จ.เชียงใหม่ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

    สายอรุณ เวียงคำ เจ้าของไอเดียตุ๊กตาถักทอ กล่าวว่าตอนนี้ กลุ่มขยายงานให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบ โดยรับงานไปทำ ที่บ้าน เช่น ถักและประกอบตุ๊กตา หรืองานถักอื่นๆ เช่น หมวก กระเป๋า หลายขนาด เนื่องจากเป็นงานฝีมือที่ทำจากความทุ่มเท จึงใช้เวลา ในการถักทอ รายได้ที่ก่อเกิดจึงกระจายไปสู่ชุมชนบ้านพระนั่งดิน มากขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมี “กลุ่มผ้าทอพื้นเมืองบ้านพระนั่งดิน” เกิดจากการรวมตัวของแม่บ้านพระนั่งดินและหมู่บ้านใกล้เคียง ที่ต้องการ จะอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมผ้าทอ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าทอพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่สามารถเป็นของฝากของดี อ.เชียงคำ

    โดยผ้าพื้นเมืองที่ทอขึ้นมีลายน้ำไหลของชาติพันธุ์ไทลื้อ เป็นที่นิยมของผู้ที่นิยมผ้าทอเป็นอย่างมาก วางจำหน่ายภายในวัดพระนั่งดิน เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการของฝากกลับไปฝากคนที่รัก หรือญาติมิตร

    “บ้านพระนั่งดิน” เป็นอีกหมู่บ้านท่องเที่ยววัฒนธรรมแห่งหนึ่ง จ.พะเยา มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา

    ใครที่ผ่านไปมานอกจากแวะไหว้พระทำบุญ ท่องเที่ยวอย่างสบายใจแล้ว ยังมีสถานที่พักโฮมสเตย์ในหมู่บ้านพระนั่งดิน ไว้รองรับผู้มาเยือนด้วย สนใจติดต่อสอบถามได้ที่นายภูวนัย เกิดสุข ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านพระนั่งดิน โทรศัพท์ 08-9266-1154




    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/uncategorized/news_630197
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤศจิกายน 2017
  2. tharaphut

    tharaphut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,721
    ค่าพลัง:
    +5,211
    กราบสาธุครับ
    พระนั่งดิน อันซีน “พะเยา ขออธิฐานกราบสาธุครับ ขอให้ร่ำรวย สุขภาพแข็งแรงขอให้พบแต่ความดี...ไม่มีความทุกข์ และครอบครัวอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ขอให้บ้านอยู่สงบสุข ปลอดภัยจากราชภัยทั้งปวง แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
     

แชร์หน้านี้

Loading...