ใครจะซับน้ำตาม้งบ้านป่ากลางจ.น่าน

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 พฤศจิกายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ใครจะซับน้ำตา ม้งบ้านป่ากลาง จ.น่าน

    โดย สุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



    [​IMG]

    ชาวม้งจากตำบลป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน ร่วมกับกำนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และรองนายก อบต. ป่ากลาง เดินทางมาถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แต่เช้า ท่าทีกึ่งหวังกึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีทางแก้ไขปัญหาพวกเขาได้ เพราะมันยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2542 จนบัดนี้ก็ไม่สามารถกลับเข้าไปทำกินได้ และสวนลิ้นจี่ก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงและชาวบ้านที่ อ.เชียงกลาง เข้าใจผิดไปตัดฟันทิ้งหมดแล้ว วันนี้ไม่มีใครรับผิดชอบใดๆ ทั้งๆ ที่พวกเขาอยู่มาก่อนป่าสงวนแห่งชาติ และมีการพิสูจน์สิทธิโดย จ.น่าน ชัดเจนแล้ว รวมทั้งมีมติคณะรัฐมนตรีรับรอง และมีสิทธิในทรัพย์สินโดยชอบธรรม

    รายงานผลการตรวจสอบของ กสม. ชัดเจนว่า มีการละเมิดสิทธิและมีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรง หลังจากที่เสนอให้นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อสั่งการแก้ไขเยียวยาแล้ว กสม.จึงจัดแถลงข่าว พร้อมกับประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวม้งผู้เดือดร้อน เพื่อเข้าใจข้อเท็จจริงร่วมกันระหว่างรอการสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยเชิญรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ สภาความมั่นคงแห่งชาติ แม่ทัพภาค 3 ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.) ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

    ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คนไทยเชื้อสายม้งกลุ่มนี้เคยอยู่บริเวณต้นน้ำเปือ-น้ำกอน อ.เชียงกลาง (จุดที่ถูกตัดสวนลิ้นจี่) มานับร้อยปี แต่ถูกทหารอพยพไปอยู่บ้านป่ากลางสมัยสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เมื่อสงบลงก็ได้กลับมาทำกินในที่เดิม และมีหน่วยงานของรัฐส่งเสริมให้ปลูกลิ้นจี่ ร่วมกับชาวไทยที่ราบอีกหลายหมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงกัน

    11 กุมภาพันธ์ 2542 มีประกาศของ อ.เชียงกลาง ขับไล่ออกจากที่ทำกินใน 30 วัน ข้อหาบุกรุกป่า ชาวม้งร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีในนามเครือข่ายสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มปัญหาที่ดินและป่าไม้ ภาคเหนือ มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 เรื่อง การเจรจาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรภาคเหนือ โดยในระหว่างการแก้ไขปัญหา ให้ยุติการจับกุม ข่มขู่คุกคาม และละเมิดสิทธิ
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    มติ ครม.ฉบับนี้ ระบุว่า กรณีปัญหาม้งบ้านป่ากลาง ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน นั้น รัฐบาลจะคุ้มครองสิทธิชั่วคราว ก่อนการพิสูจน์สิทธิไม่จับกุมคุมขัง ขึ้นทะเบียนขอบเขตพื้นที่ทำกินเดิม ชี้เขตและปักหมุดที่ทำกินและพื้นที่ส่วนรวม เพื่อสำรวจรายแปลงปักหมุด และมีคณะกรรมการช่วยเหลือติดตามการแก้ไขปัญหา

    ผู้ว่าฯ จ.น่าน แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการครอบครองพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกลิ้นจี่ในท้องที่ อ.เชียงกลาง (รองผู้ว่าฯ นายปริญญา ปานทอง เป็นประธาน) ได้แต่งตั้งคณะทำงานพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดิน ตามมติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 และมติ ครม. 11 พฤษภาคม 2542 มีผู้แทนชาวม้ง และชาวที่ราบ อ.เชียงกลาง เข้าร่วมฝ่ายละ 3 คน

    แต่ไม่ทันที่ผลการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินจะปรากฏ...

    21 สิงหาคม 2542 อธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้น (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) นำกำลังจำนวนมาก พร้อมด้วยชาวบ้าน อ.เชียงกลาง ไปปลูกป่า 200,000 ต้น โดยเจาะจงปลูกทับลงในสวนลิ้นจี่ของม้งบ้านป่ากลางเสียหายไปจำนวนมาก โดยอ้างโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

    ชาวที่ราบได้ข้อมูลว่า ชาวม้งบ้านป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน เป็นคนต่างถิ่นมาบุกรุกป่านับหมื่นไร่ และการปลูกสวนลิ้นจี่อยู่ต้นน้ำ ทำให้แย่งชิงน้ำที่ลงมาที่ราบ เกิดความแห้งแล้ง จึงร่วมกับเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงไปตัดฟันสวนลิ้นจี่อีกสองระลอกจนเสียหายทั้งหมด

    ชาวม้งไม่กล้ากลับเข้าไปที่ทำกินอีก

    19 ธันวาคม 2544 ผลการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของคณะทำงานพบว่า รวมยอดผู้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์บนต้นน้ำเปือ-น้ำกอน อ.เชียงกลาง มี 6 หมู่บ้าน 569 ราย พื้นที่ 6,369 ไร่

    มีผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์มาก่อนปี 2531 จำนวน 515 ราย จำนวน 6,071 ไร่ โดยเป็นของชาวม้งที่มาจากบ้านป่ากลาง 170 ราย พื้นที่ 1,656 ไร่

    ทั้ง 6 หมู่บ้านมีการปลูกสวนลิ้นจี่ เช่นกัน

    มติของคณะทำงาน คือ พื้นที่ที่ทำประโยชน์มาก่อนประกาศเขตป่าสงวนฯตามผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ ให้ครอบครองทำกินต่อไป ห้ามขยายพื้นที่

    กสม.ไปตรวจสอบความขัดแย้งและความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาตามมติต่างๆ พบว่า ชาวบ้านเชียงกลางถูกปกปิดข้อเท็จจริง ไม่ได้รับรู้มติดังกล่าวนี้เลย และยังเชื่อว่าม้งมาจากที่อื่น บุกรุกป่านับหมื่นไร่เช่นเดิม

    มติคณะ กสม. คือ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและไม่เป็นธรรม จากคำสั่งของ อ.เชียงกลาง ให้ออกจากพื้นที่ใน 30 วัน การเข้าไปปลูกป่าทับซ้อนในพื้นที่สวนลิ้นจี่ การตัดฟันสวนลิ้นจี่และเผาที่พัก การดำเนินการแก้ไขปัญหาของอำเภอและจังหวัดที่ล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรายงานของ จ.น่าน ต่อทุกหน่วยงานรวมถึงนายกรัฐมนตรี ได้ปกปิดผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ การครอบครองที่ดิน และมติให้ชาวม้งมีสิทธิทำกินต่อไป และถือว่ายุติเรื่องร้องเรียนของชาวม้งจากบ้านป่ากลาง กระทั่งมีการไปปลูกป่าเพิ่มเติมในพื้นที่เดิมอีก

    ชาวม้งจึงไม่ได้กลับเข้าไปทำกิน และไม่มีใครรับผิดชอบค่าเสียหายต่อทรัพย์สิน

    กสม.เสนอให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายตามความเป็นจริงและเป็นธรรม และเร่งรัดการรับรองสิทธิทำกินของชาวบ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน ตามผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของ จ.น่าน ถ้าจำเป็นต้องมีการอพยพผู้มีสิทธิทำกินแต่อยู่ในพื้นที่กระทบต่อระบบนิเวศ ต้องมีมาตรการช่วยเหลือหาที่ทำกินใหม่ และพิจารณาช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีที่ทำกินที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย

    ข้อเสนอเชิงนโยบายคือ ให้รัฐบาลสนับสนุน จ.น่าน ให้มีโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบนลุ่มน้ำเปือ-น้ำกอนอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งชาวไทยที่สูงและชาวไทยพื้นราบ

    อ. เสน่ห์ จามริก ประธาน กสม. ได้ขอให้ทุกหน่วยงานพิจารณาพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2516 ที่ทุกหน่วยงานมีการอ้างอิงกันเสมอแต่หน่วยงานรัฐยังไม่มีการปฏิบัติตามเลย กล่าวคือ การขีดเส้นป่าสงวนหรือป่าจำแนกในกระดาษแล้วถือว่าประชาชนฝ่าฝืนกฎหมาย แท้จริงทางราชการบุกรุกชาวบ้าน

    ทุกหน่วยงานที่มาร่วมประชุมหารือ ดูจะเห็นด้วยว่า ต้องมีมาตรการแก้ไขเยียวยาเร่งด่วน คำถามสำคัญคือ ใครควรเป็นเจ้าภาพ กสม.ไม่มีอำนาจสั่งการ ต้องรอนายกรัฐมนตรีสั่งการเท่านั้น กฎหมายบอกว่า ถ้านายกรัฐมนตรีไม่แก้ไขภายใน 60 วัน กสม.ก็เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป...เท่านั้นเอง?

    ชาวม้งผู้หญิงขอพูดด้วยน้ำตา ที่ทุกคนสะเทือนใจ ...ขอขอบคุณทุกคน ขอร้องเถิด ขอให้มีคนช่วย มันนานมากและเจ็บปวดเหลือเกินที่ไม่มีที่ทำกิน และยังมีหนี้สินจำนวนมากจากสวนลิ้นจี่ที่ไปกู้เงินทั้ง ธ.ก.ส. และนอกระบบ วันนี้ยังถูกทวงหนี้พร้อมดอกเบี้ยมหาศาล...


    ------------------------------
    ที่มา:มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01way04261149&day=2006/11/26
     

แชร์หน้านี้

Loading...