แพทย์ เผย องค์การอนามัยโลกเตือน ภายใน 2030 ซึมเศร้าจะครองโลก

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 27 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b89ce0b8a2-e0b8ade0b887e0b884e0b98ce0b881e0b8b2e0b8a3e0b8ade0b899e0b8b2e0b8a1e0b8b1e0b8a2e0b982.jpg


    ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เผย โรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่คิดมาก อยากให้ช่วยกันสังเกต องค์การอนามัยโลก เตือนภายใน 2030 ซึมเศร้าจะครองโลก


    นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เปิดเผยว่า โรคทางกายที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตนำโด่งเป็นอันดับต้นที่ใคร ๆ ก็ทราบดีคือโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป เมื่อ องค์การอนามันโลก(WHO)พยากรณ์ไว้ใน Provisional agenda item 6-2 ว่า ตั้งแต่ปี 2011 ว่าในราวปี 2030 นั้นโรคซึมเศร้าจะขึ้นมาเป็นสาเหตุของภาระโรคในระดับโลก และได้ประมาณตัวเลขให้ไว้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นเหตุการตายอันดับ 2 ในกลุ่มคนอายุ 15-29 ปี

    “ขออย่าลืมว่าช่วงวัยนี้คือวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังของทุกชาติ หากปราศจากความเข้าใจโรคนี้ก็จะทำให้สูญเสียชีวิตดีๆที่เปี่ยมคุณภาพไปอย่างมากมายทั้งที่เป็นเรื่องป้องกันได้ แต่ทำไมถึงยังตายกันอยู่อย่างน่าตกใจ แม้มียารักษาได้ก็ตาม นั่นเป็นเพราะมีคนป่วยซึมเศร้าเพียงไม่ถึง 50% ที่เข้าสู่ขั้นตอนรักษาหรือในหลายประเทศนั้นตัวเลขที่เข้ารักษาไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ ดังนั้นทางแก้จึงต้องให้ถูกจุดนั่นคือทำให้ตระหนักรู้ ถึงความน่าห่วงของมัน ในฐานะที่เป็นหมอที่ดูแลด้านสุขภาพชะลอวัย เรื่องซึมเศร้าถือเป็นปัจจัยใหญ่ที่ลิขิตชีวิตคนไข้ให้มีสุขภาพดีหรือร้ายได้ ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ยากหากได้รับการรักษาจากจิตแพทย์” นพ.กฤษดา กล่าว

    ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวต่อว่า การตระหนักรู้เบื้องต้นสำหรับคนทั่วไป เพื่อสังเกตสัญญาณโรคซึมเศร้าที่สะท้อนออกมาได้ดังนี้ คือ อารมณ์เปลี่ยนไป อ่อนไหวในเรื่องเล็กน้อย,ร้องไห้บ่อย,หงุดหงิดง่าย ผิดกับเมื่อก่อน, ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ เช่นไม่อยากออกไปพบเพื่อนฝูง,เลิกเข้าวัด,ไม่อยากไปทำงาน,ไม่ลุกไปยิมอย่างเคยหรือเรื่องบนเตียงลดลง ,ไม่มีสมาธิ-ขี้ลืม โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆเช่นเพิ่งวางของไว้ก็ลืม ใจลอย ไม่อาจจดจ่อกับสิ่งเดิมๆได้เช่น อ่านหนังสือได้ประเดี๋ยวก็วาง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง, การนอนผิดปกติ อาจนอนมากหรือนอนไม่หลับก็ได้ อ่อนเพลียไม่มีแรงเหมือนคนไร้พลังจากข้างใน, น้ำหนักลดหรือน้ำหนักเพิ่ม จากภาวะกินผิดปกติไปจากเดิม,การปฏิบัติตัวกับคนรอบข้างไม่เหมือนเดิม อาจเก็บตัว พูดน้อย ขี้หงุดหงิดหรือทะเลาะกับแฟนบ่อยๆ ,ประสิทธิภาพการเรียนหรือการทำงานแย่ลง แม้แต่แม่บ้านก็ทำงานบ้านแบบไม่ถี่ถ้วนไม่ประณีตเพราะไร้สมาธิและรู้สึกหมดพลังจากข้างใน จนถึงขั้นไม่อยากทำงาน หยุดงานหรือขาดเรียนบ่อย

    อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษดา บอกว่า ฟังแล้วอย่าเพิ่งตกใจถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากยังมีโรคทางกายหรือยาบางตัวที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคซึมเศร้าได้ อาทิ ยากลุ่มสเตียรอยด์และฮอร์โมน,ยาลดความดันโลหิตอย่างโพรพราโนลอลหรือยารักษาโรคพาร์กินสัน นอกจากนั้นยังมีโรคเนื้องอกในสมอง,ไทรอยด์ต่ำหรือขาดวิตามินก็ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคซึมเศร้าได้ส่วนความจริงในแง่มุมต่างๆของโรคซึมเศร้าที่ควรรู้ยังมี

    89ce0b8a2-e0b8ade0b887e0b884e0b98ce0b881e0b8b2e0b8a3e0b8ade0b899e0b8b2e0b8a1e0b8b1e0b8a2e0b982-1.jpg

    1) ซึมเศร้าเกิดได้จากหลายปัจจัยมา “รุม” ให้เกิด เช่นสังคม,จิตใจหรือทางชีวภาพจากสารเคมีสมองไม่ปกติ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรขอให้ทราบว่าอย่าหมั่นไส้หรือใส่อารมณ์กับผู้ป่วยซึมเศร้าว่าเขาแกล้งทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ

    2) ซึมเศร้ามีหลายแบบ ทั้งแบบซึมเศร้าหนักนาน,ซึมเศร้าต่อเนื่องนานกว่าร่วมกับอารมณ์ผิดปกติ และโรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์หรือ 2 ขั้วที่อาจแสดงออกด้วยการช็อปปิ้งมากมายจนเป็นหนี้บัตรเครดิตก็ได้

    3) โรคซึมเศร้ารุนแรง มีความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมถึง 1.4 เท่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ซึ่งต้องไม่ลืมว่าผู้มีปัญหาสุขภาพหลายโรคเสี่ยงซึมเศร้าได้เช่นมะเร็ง,เบาหวาน,ติดเชื้อ HIV หรืออื่นๆอาจมีความเครียดจนเข้าขั้นซึมเศร้าได้

    4) ในเด็กหรือวัยรุ่นก็เป็นโรคซึมเศร้าได้ อาจแสดงออกด้วยอารมณ์หงุดหงิดหรือผลการเรียนที่แย่ลง

    5) ยาบำบัดอย่าให้ขาด โรคนี้รักษาได้ ในช่วงแรกอย่าเพิ่งท้อในการกินยาเพราะอาจใช้เวลาราว 1-2 สัปดาห์อาการจึงดีแบบเห็นชัด มีรายงานว่าคนไข้จะตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าตัวแรกที่ให้ แต่หากยังไม่ดีแพทย์จะทำการปรับหรือเปลี่ยนให้ แต่ไม่อยากให้หยุดหรือลดขนาดยาเอง

    6) ให้ระวังเรื่องฉุกเฉินที่สุด คือ ความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือคิดสั้นอยากลาตายไม่อยากอยู่ในโลกนี้แล้ว

    สิ่งสำคัญคืออยากให้แยกให้ได้ก่อนว่า โรคซึมเศร้านี้ไม่เหมือนกับภาวะอารมณ์เศร้าแบบฟีลลิ่งทั่วไปที่หายได้ถ้าเหตุการณ์ต่างๆคลี่คลายลง แต่โรค นั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแล้วจะพาให้คนไข้ออกมาจากโลกอันหดหู่ได้ ขอแค่ช่วยใส่ใจกันคนละไม้ละมือถือธรรมะแห่งเมตตาเป็นโอสถก็จะช่วยลดเสี่ยงแล้วยังเปลี่ยนชีวิตเพื่อนมนุษย์เราให้ดีขึ้นได้แน่นอน




    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/social/general/601952
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    “WHO” เตือน!! ภายในปี 2030 โรคซึมเศร้าจะเข้าครองโลก แพทย์ชี้โรคนี้ไม่ใช่แค่คิดมาก อยากให้ช่วยกันสังเกต

    e0b88be0b8b6e0b8a1e0b980e0b8a8e0b8a3e0b989e0b8b2e0b888e0b8b0e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b884e0b8a3.png
    ภาพจากเฟซบุ๊ก นพ.กฤษดา ศิรามพุช

    นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า โรคทางกายที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตนำโด่งเป็นอันดับต้นที่ใคร ๆ ก็ทราบดีคือโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป เมื่อ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO พยากรณ์ไว้ใน Provisional agenda item 6-2 ว่า ราวปี 2030 นั้นโรคซึมเศร้าจะขึ้นมาเป็นสาเหตุของภาระโรคในระดับโลก และได้ประมาณตัวเลขให้ไว้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นเหตุการตายอันดับ 2 ในกลุ่มคนอายุ 15-29 ปี

    “ขออย่าลืมว่าช่วงวัยนี้คือวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังของทุกชาติ หากปราศจากความเข้าใจโรคนี้ก็จะทำให้สูญเสียชีวิตดีๆที่เปี่ยมคุณภาพไปอย่างมากมายทั้งที่เป็นเรื่องป้องกันได้ แต่ทำไมถึงยังตายกันอยู่อย่างน่าตกใจ แม้มียารักษาได้ก็ตาม นั่นเป็นเพราะมีคนป่วยซึมเศร้าเพียงไม่ถึง 50% ที่เข้าสู่ขั้นตอนรักษาหรือในหลายประเทศนั้นตัวเลขที่เข้ารักษาไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ ดังนั้นทางแก้จึงต้องให้ถูกจุดนั่นคือทำให้ตระหนักรู้ ถึงความน่าห่วงของมันในฐานะที่เป็นหมอที่ดูแลด้านสุขภาพชะลอวัย เรื่องซึมเศร้าถือเป็นปัจจัยใหญ่ที่ลิขิตชีวิตคนไข้ให้มีสุขภาพดีหรือร้ายได้ ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ยากหากได้รับการรักษาจากจิตแพทย์” นพ.กฤษดา กล่าว


    ทั้งนี้ การตระหนักรู้เบื้องต้นสำหรับคนทั่วไป เพื่อสังเกตสัญญาณโรคซึมเศร้าที่สะท้อนออกมาได้ดังนี้ คือ อารมณ์เปลี่ยนไป, อ่อนไหวในเรื่องเล็กน้อย, ร้องไห้บ่อย, หงุดหงิดง่าย ผิดกับเมื่อก่อน, ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ เช่น ไม่อยากออกไปพบเพื่อนฝูง, เลิกเข้าวัด, ไม่อยากไปทำงาน, ไม่ลุกไปยิมอย่างเคยหรือเรื่องบนเตียงลดลง, ไม่มีสมาธิ-ขี้ลืม โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ เช่น เพิ่งวางของไว้ก็ลืม ใจลอย ไม่อาจจดจ่อกับสิ่งเดิมๆได้ เช่น อ่านหนังสือได้ประเดี๋ยวก็วาง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง, การนอนผิดปกติ อาจนอนมากหรือนอนไม่หลับก็ได้ อ่อนเพลียไม่มีแรงเหมือนคนไร้พลังจากข้างใน, น้ำหนักลดหรือน้ำหนักเพิ่ม จากภาวะกินผิดปกติไปจากเดิม, การปฏิบัติตัวกับคนรอบข้างไม่เหมือนเดิม อาจเก็บตัว พูดน้อย ขี้หงุดหงิดหรือทะเลาะกับแฟนบ่อยๆ เป็นต้น

    “ฟังแล้วอย่าเพิ่งตกใจถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากยังมีโรคทางกายหรือยาบางตัวที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคซึมเศร้าได้ อาทิ ยากลุ่มสเตียรอยด์และฮอร์โมน,ยาลดความดันโลหิตอย่างโพรพราโนลอลหรือยารักษาโรคพาร์กินสัน นอกจากนั้นยังมีโรคเนื้องอกในสมอง,ไทรอยด์ต่ำหรือขาดวิตามินก็ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคซึมเศร้าได้ส่วนความจริงในแง่มุมต่างๆของโรคซึมเศร้าที่ควรรู้ยังมี” นพ.กฤษดา กล่าว

    ทั้งนี้ ซึมเศร้าเกิดได้จากหลายปัจจัยมา “รุม” ให้เกิด เช่นสังคม, จิตใจหรือทางชีวภาพจากสารเคมีสมองไม่ปกติ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรขอให้ทราบว่าอย่าหมั่นไส้หรือใส่อารมณ์กับผู้ป่วยซึมเศร้าว่าเขาแกล้งทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยซึมเศร้ามีหลายแบบ ทั้งแบบซึมเศร้าหนักนาน, ซึมเศร้าต่อเนื่องนานกว่าร่วมกับอารมณ์ผิดปกติ และโรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์หรือ 2 ขั้วที่อาจแสดงออกด้วยการช็อปปิ้งมากมายจนเป็นหนี้บัตรเครดิตก็ได้

    โรคซึมเศร้ารุนแรง มีความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมถึง 1.4 เท่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ซึ่งต้องไม่ลืมว่าผู้มีปัญหาสุขภาพหลายโรคเสี่ยงซึมเศร้าได้เช่นมะเร็ง,เบาหวาน,ติดเชื้อ HIV หรืออื่นๆอาจมีความเครียดจนเข้าขั้นซึมเศร้าได้ โดยในเด็กหรือวัยรุ่นก็เป็นโรคซึมเศร้าได้ อาจแสดงออกด้วยอารมณ์หงุดหงิดหรือผลการเรียนที่แย่ลง

    “ยาบำบัดอย่าให้ขาด โรคนี้รักษาได้ ในช่วงแรกอย่าเพิ่งท้อในการกินยาเพราะอาจใช้เวลาราว 1-2 สัปดาห์อาการจึงดีแบบเห็นชัด มีรายงานว่าคนไข้จะตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าตัวแรกที่ให้ แต่หากยังไม่ดีแพทย์จะทำการปรับหรือเปลี่ยนให้ แต่ไม่อยากให้หยุดหรือลดขนาดยาเอง ให้ระวังเรื่องฉุกเฉินที่สุด คือ ความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือคิดสั้นอยากลาตายไม่อยากอยู่ในโลกนี้แล้ว สิ่งสำคัญคืออยากให้แยกให้ได้ก่อนว่า โรคซึมเศร้านี้ไม่เหมือนกับภาวะอารมณ์เศร้าแบบฟีลลิ่งทั่วไปที่หายได้ถ้าเหตุการณ์ต่างๆคลี่คลายลง แต่โรคนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแล้วจะพาให้คนไข้ออกมาจากโลกอันหดหู่ได้ ขอแค่ช่วยใส่ใจกันคนละไม้ละมือถือธรรมะแห่งเมตตาเป็นโอสถก็จะช่วยลดเสี่ยงแล้วยังเปลี่ยนชีวิตเพื่อนมนุษย์เราให้ดีขึ้นได้แน่นอน” นพ.กฤษดา กล่าว

    Add Friend Follow ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thebangkokinsight.com/214785/
     
  3. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    อ่านกระทู้ข้างล่างได้เลยครับ ช่วยได้อย่างแน่นอนครับถ้าเราหันมาปฏิบัติกัน อนุโมทนาครับ

    โรคซึมเศร้าแก้ด้วยอานาปานสติ โดยหลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน

    ef672a96-6382-4419-bc57-2e3759eccc20-jpeg.jpg

    ถาม : โรคซึมเศร้ารวมถึงโรคทางจิตเภทนั้น เกิดจากบุพกรรมใดในอดีตครับ ? เพราะมีญาติเป็นอยู่ โดยตอนนี้รักษากับจิตแพทย์และใช้ยาแผนปัจจุบัน (ยาต้านเศร้า) แต่ทำได้เพียงแค่ทรงอาการไว้ ไม่สามารถหายเป็นปกติได้
    ตอบ : การเจ็บไข้ได้ป่วยทุกอย่างมีผลจากเศษกรรมปาณาติบาตทั้งสิ้น ที่บอกว่าเป็นโรคซึมเศร้าแล้วรักษาไม่ได้เพราะเป็นกรรม นั่นเข้าใจผิด ถ้าสามารถสอนให้เขาภาวนาได้ เมื่ออารมณ์ใจตั้งมั่น โรคนี้จะหายเอง

    ถาม : หายขาดเลยหรือครับ ?
    ตอบ : ถ้าหลุดจากสมาธิเมื่อไรก็เป็นอีกเพราะชอบคิด ส่วนใหญ่เกิดจากการคิดสงสารตนเอง เพราะรักตัวเองมากจนเกินไป มีอะไรก็โทษว่าตัวเองเป็นหลัก ท้ายสุดเป็นย้ำคิดย้ำทำ ไม่สามารถถอนจิตออกมาจากตรงนั้นได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือแนะนำให้ปฏิบัติในอานาปานสติ ให้จับลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก ถ้าภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวได้ โรคนี้จะหาย

    ต้องบอกว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากใจที่ไม่มีเครื่องยึด ฉะนั้น...อยู่ที่ตัวเขาเอง ถ้าสภาพจิตของตัวเองมีเครื่องยึด ไม่มัวไปคิดถึงเรื่องของตัวเองอยู่ก็ไม่เป็นหรอก ถ้าสามารถคิดถึงพระได้ทั้งวันเหมือนกับที่คิดสงสารตัวเองนี่บรรลุธรรมไปนานแล้ว

    ถาม : คิดมากแล้วทำให้กลายเป็นซึมเศร้า ?
    ตอบ : จริง ๆ แล้วก็คืออย่าไปคิดต่อ ส่วนใหญ่แล้วเราจะไปคิดต่อ ทำให้ซ้ำหนักขึ้น แต่การที่จะหยุดความคิดได้นั้น สมาธิต้องดีพอ ก็คืออยู่กับลมหายใจปัจจุบันโดยไม่ไปคิดต่อ ถึงเวลาซักซ้อมการเข้าออกสมาธิให้คล่องตัว พอเรารู้สึกจะซึมเศร้าขึ้นมา เราก็หนีไปอยู่กับสมาธิ ก็จะรอดไปชั่วคราว

    อารมณ์โกรธ น้อยใจ เสียใจ สะสมไปนาน ๆ ก็ซึมเศร้า พวกนี้แก้ด้วยการบ้องหู...! เอาให้ขี้หูลั่นแล้วจะหาย นั่นเป็นตัวสักกายทิฐิเต็ม ๆ เลย คือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ในเมื่อเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ถึงเวลาคนอื่นทำไม่ถูกใจ กระทบขึ้นมาก็น้อยใจ เสียใจ โกรธ เกลียด ต้องบอกว่าเอาขี้ใส่ตัว ไม่กลัวเหม็นอีกด้วย

    ถาม : เขาบอกว่าเป็นสารเคมีในสมอง ?
    ตอบ : แล้วทำไมสารเคมีดี ๆ ไม่รู้จักเอาออกมาบ้าง ? ถึงเวลาก็นั่งกรรมฐานไปสิ ไม่ต้องทรงฌานหรอก เอาแค่ปีติเท่านั้นแหละ จะเอาสารเคมีฝ่ายดีสักกี่ตันก็มีให้ พวกนี้เป็นกิเลสล้วน ๆ ขี้โกรธ ขี้กลัว ขี้น้อยใจ สรุปแล้วคือขี้ทั้งนั้น ในเมื่อเอาขี้ใส่ตัวก็เหม็นเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่อยากเหม็นก็ทิ้ง ๆ ไปบ้าง

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com

    https://palungjit.org/threads/โรคซึมเศร้าแก้ด้วยอานาปานสติ-โดย-หลวงพ่อเล็ก-วัดท่าขนุน.689624/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...