แฉ30บาทรักษาทุกโรคเหลว คนไข้ฟ้องแพทย์สูงกว่าเดิมหลายเท่า

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 6 มกราคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 มกราคม 2549 19:42 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> นายกแพทยสภาชี้ปัญหาข้อผิดพลาดทางการแพทย์ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฟ้องแพทย์ หรือดำเนินคดีทางอาญา แนะทั้งผู้ป่วยและแพทย์ต้องเปิดเผยข้อมูลตามความเป็นจริง และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ระบุ 30 บาทรักษาทุกโรคส่งผลให้คนไข้เข้ารพ.เยอะขึ้นมากขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ยังน้อยมาก เวลาในการตรวจคนไข้แต่ละคนจึงน้อยตามไปด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา และ นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล รองเลขาธิการแพทยสภา ชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวว่าแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแทบทุกวัน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขได้ยกให้ปี 48-49 เป็นปีของการปรับคุณภาพการรักษาให้เท่าเทียมกันว่า จากการใช้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาท ทำให้มีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบมากกว่าเดิมจากที่เคยซื้อยาแก้ไข้รับประทานเอง ประชาชนก็เข้าโรงพยาบาลทันทีเมื่อรู้สึกปวดหัว ตัวร้อน ขณะที่แพทย์ผลิตได้เพียงประมาณ 1,400 คน และต้องใช้เวลานานถึง 6 ปีบวกประสบการณ์ในการรักษาจริง จึงจะเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญสวนทางกับแพทย์ที่ลาออกจากระบบไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน เพราะค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม ทำให้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศขาดแคลนแพทย์ โดยเฉพาะวิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์เฉพาะทางต่าง ๆ

    ส่งผลให้เมื่อมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลชุมชน พยาบาลวิชาชีพจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ทันที และเมื่อผู้ป่วยไปแออัดที่โรงพยาบาลศูนย์การใช้เวลากับผู้ป่วยแต่ละรายจะน้อยลง ข้อบกพร่องก็อาจเกิดขึ้นได้ อย่างกรณีผู้ป่วยที่มีแผลถูกแทงโดยไม่รู้ตัวและบอกพยาบาลให้ทำแผลซึ่งกว้างเพียง 1-2 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่จนไม่เห็นลักษณะผิดปกติใด ๆ แต่หลังจากนั้น 2 วันรู้สึกปวดแผลเมื่อกลับมาเอกซเรย์จึงรู้ว่ามีใบมีดอยู่ภายในและแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ได้ผ่าตัดจนอาการปลอดภัยแล้ว ซึ่งแพทยสภาพิจารณาข้อมูลแล้วเห็นว่าทั้งผู้ป่วยและแพทย์ต่างไม่มีข้อมูลที่แท้จริง และถือว่าการผ่าตัดจนผู้ป่วยปลอดภัยก็เป็นการกระทำที่ครบถ้วนตามกระบวนการรักษาแล้ว

    ด้าน นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล รองเลขาธิการแพทยสภา และเป็นศัลยแพทย์ ให้ความเห็นกรณีแพทย์ไม่ผ่าตัดทำคลอดทารกที่เสียชีวิตในครรภ์ จนทำให้มารดาเสียชีวิตไปด้วยเพราะน้ำคร่ำเป็นพิษว่า ในฐานะศัลยแพทย์ การมีทารกเสียชีวิตในครรภ์แพทย์จะพิจารณาให้ยาให้มดลูกขับทารกออกมาตามธรรมชาติ ไม่มีใครจะผ่าตัดหน้าท้อง เพราะจะกระทบกับอวัยวะหลายส่วน

    แต่สำหรับกรณีนี้มารดาเสียชีวิตจากน้ำคร่ำไหลย้อนท่วมปอดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งพบได้แม้ในครรภ์ปกติ ถือเป็นภาวะเสียชีวิตของมารดาที่แม้แพทย์ผ่าหน้าท้องก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งการแก้ปัญหาในภาพรวม แพทยสภาเห็นว่าถ้าแพทย์และผู้ป่วยเปิดเผยข้อมูลและไม่คิดว่าชีวิตหรือร่างกายของญาติที่สูญเสียไปต้องชดเชยด้วยเงินทอง หรือมุ่งเอาผิดแพทย์ทางอาญา เพราะแพทย์ทุกคนถูกสอนให้รักษาชีวิตผู้ป่วยเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่แล้ว อีกทั้งอย่าตั้งความคาดหวังสูง เพราะตัวเลขการเสียชีวิตจากการคลอดบุตรของไทย หรือการรักษาโรคต่าง ๆ ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับทางยุโรปแล้ว

    นายกแพทยสภาเปิดเผยว่า ช่วงปี 2540 คดีที่ผู้ป่วยฟ้องแพทย์มีน้อยมากประมาณปีละ 20-30 รายเท่านั้น แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมา คดีเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะปี 2548 มีถึง 280 คดี ในส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขตนเห็นว่าควรเป็นผู้ที่มีพื้นฐานในแวดวงสาธารณสุขที่จะรู้ปัญหาและเข้าใจพื้นฐานของการรักษาพยาบาล รวมทั้งการแยกแยะภาระการรักษาออกจากภาระอื่นๆ เช่น อุปกรณ์การแพทย์ อาคารสถานที่ เป็นต้น พร้อมเสนอว่าในการสัมมนาที่รัฐมนตรีกำลังจะจัดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องด้านกฎหมาย และผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษา

    แพทยสภาอยากเสนอใน 3 ประเด็น คือ 1.ไม่ควรมีการฟ้องแพทย์ทางคดีอาญา 2.ควรมีกองทุนช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากการรักษาทางการแพทย์ทุกรูปแบบ ทั้งระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และโครงการ 30 บาท 3. ต้องมีเพดานในการฟ้องแพทย์ เปรียบเทียบกับค่ารักษา 30 บาท แต่เมื่อมีการฟ้องร้องแพทย์กลับถูกฟ้องค่าเสียหายนับล้านบาท ขณะที่แพทย์จบใหม่เงินเดือน 8,100 บาท ค่าวิชาชีพและค่าเวรอีก 6,000-7,000 บาท จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ปัจจุบันแพทย์โรงพยาบาลชุมชนมักไม่ยอมผ่าตัดคนไข้ มักส่งมายังโรงพยาบาลศูนย์ เพราะกลัวความผิดพลาด

    อย่างไรก็ตาม นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ รองประธานชมรมแพทย์ชนบทและผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง เปิดเผยข้อมูลการผ่าตัดที่โรงพยาบาลชุมชนว่า ไม่ได้ลดน้อยลงตามที่นายกแพทยสภากล่าว เช่น โรงพยาบาลชุมชนในภาคเหนือมีผู้ได้รับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นในปี 47-48 ถึงร้อยละ14.18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 4.94 ภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.51 ภาคตะวันออกร้อยละ 51.88 ขณะที่ภาคกลางลดลงร้อยละ 1.13 ซึ่งเป็นเพราะมีโรงพยาบาลระดับใหญ่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...