เรื่องเด่น เหตุที่บรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็ว เมื่อฟังธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 13 มกราคม 2017.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    15940540_1381729811846796_4763768950494756652_n.jpg




    เรื่อง "เหตุที่บรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็ว เมื่อฟังธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า"

    (โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงเคยได้ทราบเรื่องของพระสาวกบางรูปมาแล้วว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลในขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธองค์นั่นเอง แล้วท่านเคยคิดบ้างไหมว่าทำไมท่านจึงสำเร็จง่ายดายนัก ท่านไม่ได้เจริญ ฌาน-สมาธิ-วิปัสสนา และมรรค ๘ บ้างหรือ

    หากท่านตั้งใจคิดและพิจารณาด้วยใจอันเป็นธรรมแล้ว คงจะเห็นชัดด้วยใจของตนเองว่า ท่านเหล่านั้นในขณะนั้นท่านไม่ได้เจริญฌาน หรือหากบางท่านจะเคยได้เจริญฌานมาก่อนแล้วก็ตาม แต่ในขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ท่านไม่ได้เจริญฌาน ท่านเจริญสัมมาทิฏฐิ อันมีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน คือดำเนินตามองค์มรรค ๘ ทีเดียว มีวิปัสสนาคือ พระไตรลักษณญาณเป็นผู้อุดหนุน

    หากจะมีความสงสัยว่าสมาธิในขณะนั้นจะมีได้อย่างไร ขอเฉลยไว้ ณ โอกาสนี้เลยว่า สมาธิ ไม่ต้องดับรูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส เหมือนฌาน แต่สมาธิจะยึดเอาอารมณ์ทั้ง ๖ นั่นแหละมาเป็นเครื่องพิจารณาจนเห็นอารมณ์ทั้ง ๖ นั้นชัดตามเป็นจริงว่า อายตนะ ๖ มีตาเป็นต้น เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น กิเลสจะเกิดขึ้นที่อายตนะ ๖ นี้เพราะความไม่รู้ตามเป็นจริง แล้วเข้าไปยึดอารมณ์ ๖ นั้นมาไว้เป็นของตัวจึงเดือดร้อนเป็นทุกข์

    ความจริงแล้ว อายตนะ ๖ ก็มีไว้สำหรับรับรู้ทำหน้าที่ของตนๆเป็นธรรมดาอยู่แล้ว อายตนะมิได้มาไหว้วอนหรือร้องขอให้ใครๆ มาหลงรักหลงชอบหรือเกลียดชังอะไร แต่ใจของเราต่างหาก แส่ไปยึดไปถือเอาอารมณ์นั้นมาเป็นตน เป็นของตน ทั้งๆที่อารมณ์เหล่านั้นก็หาได้เป็นไปตามปรารถนาไม่ มันเกิดขึ้น ณ ที่ใด มันก็ดับลง ณ ที่นั้น มันเกิดๆ ดับๆ อยู่อย่างนี้ตลอดกาล

    ผู้มาพิจารณาเห็นชัดแจ้งอย่างนี้ด้วยใจด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จิตจะไม่แส่ส่ายลังเลไปในอารมณ์นั้นๆ แล้วจะตั้งมั่นแน่แน่วอยู่ในความจริงใจว่า อายตนะทั้ง ๖ จะเป็นกิเลส และเป็นภัยก็แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจตามเป็นจริง แล้วเข้าไปยึดถือ เอามาเป็นตนเป็นของตนเท่านั้น ผู้ที่รู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอายตนะทั้งหลายก็จะเป็นอายตนะอยู่ตามเดิม และทำหน้าที่อยู่ตามเคย ใจก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเอามาเป็นตนของตนเลย ที่เรียกว่าสมาธิเกิดขึ้นเพราะเอาความเห็นอันเป็นจริงในสัจจธรรมมาเป็นอารมณ์ ต่อนั้นไป หากมีผู้มาแสดงสัจจธรรมอันเนื่องมาจากอายตนะ-ขันธ์ เป็นต้น อันมีมูลฐานอันเดียวกัน ท่านผู้นั้นก็จะส่องแสงปัญญาตามรู้ตามเห็นไปตามทุกแง่ทุกมุมจนสิ้นสงสัยในธรรมนั้นๆ ที่เรียกว่าได้บรรลุธรรม

    สมมติว่า หากท่านผู้อ่านสนใจในธรรมอยู่ ได้ไปเฝ้าฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาฉลาดเฉียบแหลมลึกล้ำ สรรเอาแต่ถ้อยคำที่เป็นอรรถเป็นธรรมนำมาซึ่งประโยชน์ เสียงก็ไพเราะเพราะพริ้ง ตรัสคำใดออกมาก็เป็นที่น่าจับใจ พระรูปพระโฉมผิวก็ผุดผ่อง นิ่มนวลชวนให้เกิดความเลื่อมใส จรณธรรมทั้งหลายของพระองค์ไม่มีบกพร่อง ทั้งด้านน้ำพระทัยของพระองค์เล่าก็เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารทั้งสี่เช่นนี้แล้ว ท่านจะทำอย่างไร หากท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนั้นเข้าแล้วท่านจะนั่งภาวนากรรมฐาน เจริญฌานกสิณ ดับอารมณ์ภายนอก มีรูปเป็นต้น เสวยความสุขยึดเอาเอกัคคตารมณ์ชมไม่รู้อิ่มไม่รู้เบื่อ จนเกิดวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วจึงจะเข้าถึงมรรคผลนิพพานอย่างนั้นหรือ หากท่านมัวทำเช่นนั้นอยู่ เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าคงจะต้องเสด็จหนีก่อนเป็นแน่

    แต่ถ้าท่านไม่ดับอารมณ์เหล่านั้น แต่มายึดเอาอารมณ์เหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงดังแสดงมาแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีจิตใจอันบริสุทธิ์ กลั่นกรองเอาธรรมที่เป็นของบริสุทธิ์มาแสดงให้ท่านผู้มีความเห็นอันบริสุทธิ์ คือสัมมาทิฏฐิและมีสัมมาสมาธิ เป็นผู้อุดหนุนนั่งฟังธรรมอยู่นั้น เมื่อถึงพร้อมเช่นนั้น ขอให้ท่านพิจารณาดูว่าจะมีอะไรเกิดตามมา เท่าที่แสดงมานี้ เข้าใจว่าท่านผู้อ่านทั้งหลาย พอจะเข้าใจเนื้อความที่ว่า ผู้นั่งฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้บรรลุมรรคผลนิพพานในขณะนั้นจะมี ฌาน-สมาธิ หรือไม่

    ขอเฉลยว่า ฌานเป็นของเล็กน้อย ฌานเป็นเครื่องอยู่เครื่องเล่นของท่านผู้ที่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้ว ท่านจะเจริญให้เกิดให้มีขึ้นเมื่อไรก็ได้ไม่เป็นของยาก เหมือนคนผู้มีความฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์แล้ว จะทำตนเป็นคนโง่ย่อมง่ายดาย แต่ถ้าคนโง่นี่ซิ จะทำตนให้เป็นคนฉลาดเปรื่องปราดมันยากนัก ถึงจะทำได้ก็ไม่เหมือน

    ขอย้ำอีกว่า ถ้าหากท่านยังเห็นว่า ฌาน- สมาธิเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ข้อความที่แสดงมาข้างต้นนั้นก็จะไม่สามารถซึมซาบเข้าไปถึงใจของท่านได้เลย

    อนึ่ง มติของบางท่านยึดเอาตัวหนังสือเป็นหลักว่าพระอรหันต์สุขวิปัสสกไม่มีสมถะ เจริญวิปัสสนาล้วนๆ คำว่า สมถะใครๆ ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ได้แก่ฌานหรือสมาธิ ถ้าพระสุขวิปัสสกไม่มีสมถะ มันจะไม่ขัดกันกับพระพุทธพจน์ที่ว่า ผู้เจริญสมาธิดีแล้วย่อมมีปัญญาเป็นผลเป็นอานิสงส์ใหญ่หรือ ที่ว่าผู้ที่จะถึงมรรคผลนิพพานต้องดำเนินอัฏฐังคิกมรรค มรรค ๘ ก็มีสมาธิอยู่ด้วย มรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น เป็นทางเอกอันจะนำสัตว์ให้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสได้

    ท่านผู้รู้ทั้งหลายทำไมไม่หยิบยกเอาคำเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาดูบ้าง หรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงมือปฏิบัติจนให้จิตเป็นสมถะ วางความยึดมั่นถือมั่นตัวหนังสือแล้วเกิดความรู้จากสมถะนั้น ภายหลังจึงเอาความรู้ทั้งสองอย่างนั้นมาเทียบเคียงกัน ท่านก็จะหายความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์

    น้ำใสแสนใสถ้าไม่นิ่งจะเห็นตัวปลาและเม็ดทรายอยู่ใต้น้ำได้อย่างไร ใจไม่สงบจะเห็นกิเลสและอารมณ์ภายในของตนได้อย่างไร








    -----------------------------------------------------------------------


    เครดิต
    https://www.facebook.com/dhammagraphic/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2017
  2. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    image_1484390117721.png
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ฌาน-สมาธิ โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง


    นิวรณ์ห้า คือ
    กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณห้า มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑
    พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่ ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่น โดยเขาไม่ทันรู้ตัวเลย ฉะนั้น ๑
    ถีนะมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น และไม่กล้าบอกแก่ ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและมึนงงไปหมด ๑
    อุทธัจจะกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑
    วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑

    ทั้ง ๕ นี้ เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้วก็จะไม่ปรากฏ เมื่อออกจากฌานก็จะปรากฏอีกตามเดิม



    จิตของฌานมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับกัน คือ
    ๑. ภวังคุบาท
    ๒. ภวังคจารณะ
    ๓. ภวังคุปัจเฉทะ

    ภวังคุบาท จิตจะรวมเป็นครั้งคราว รวมแล้วถอนออกมาจะตั้งหลักไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจิตของ เรารวม มีได้ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย เช่น เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้นว่า ถูกเขาฆ่าหรือ ทรมานด้วยประการต่าง ๆ จิตจะสลดสังเวชแล้วรวมลงขณะหนึ่ง ถ้าไม่รวมก็จะไม่ สลดสังเวช เรียกว่า ภวังคุบาท

    ภวังคจารณะ เมื่อผู้ฝึกหัดจิตแล้วจึงจะเกิด เมื่อเกิดมีอาการให้พิจารณาอารมณ์ภายใน หรือที่ เรียกว่า ส่งใน เช่น เห็นสีแสงต่าง ๆ นานา แล้วจิตจะจดจ้องมองแต่สิ่งนั้น หรืออารมณ์อื่น ๆ ก็ เหมือนกัน เป็นต้นว่า รูปพระปฏิมากร หรือพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดถึง เทวดา อินทร์ พรหม เป็นต้น แม้จะพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ก็เรียกว่า ภวังคจารณะ ทั้งสิ้น

    ภวังคุปัจเฉทะ นั้นตัดขาดเสียซึ่งอารมณ์ทั้งปวงไม่มีเหลือแม้แต่ ผู้รู้ (คือใจเดิม) ก็ไม่ปรากฏ บางท่านที่สติอ่อนย่อมนอนหลับไปเลยก็มี


    ภวังคุบาท ได้แก่ผู้ได้ ปฐมฌาน
    ภวังคจารณะ ได้แก่ผู้ได้ ทุติยฌาน และ ตติยฌาน
    ภวังคุปัจเฉทะ ได้แก่ผู้ได้ จตุตฺถฌาน






    -------------------------------------------------------------------
    ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน

    ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน

    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ

    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน

    ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน


    มีแปลก ต่างกันที่ ...
    ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียก ว่าความเห็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน

    ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ


    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ

    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมา เป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้



    พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน



    ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่าน


    ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.


    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒

    ----------------------------------------------------------------
    สิกขา ฉบับเต็ม ที่ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_18.htm
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    "การสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉย ๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอ ๆ จนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา"

    ...หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


    16106061_1372644096142141_6946302040138555888_n.jpg

    https://www.facebook.com/watasokaram.org/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    Cdaide0VIAAMvOR.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2017
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ?temp_hash=c5f79f9da41b8716398233f01beba1d8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...