เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 5 ตุลาคม 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,373
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,373
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ อย่างที่พวกท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ที่วัดท่าขนุนนี้ได้เห็น ก็คือผ้าไตรกบินกองเป็นกำแพงเมืองจีนเลย..! น่าจะเกิน ๑,๓๐๐ ผืนไปแล้ว

    ในเรื่องของผ้าไตรกฐิน ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของกองกฐิน เพราะว่าผ้ากว้างคืบยาวคืบขึ้นไป ในบาลีเรียกว่าผ้าจีวร สามารถนำมาเย็บต่อกันจนเป็นผืนจีวรสำหรับใช้งาน ซึ่งผู้ออกแบบก็คือหลวงปู่พระอานันทเถระ ซึ่งถ้าใครอ่านพระไตรปิฎกก็เจออยู่ตลอดว่า "ดูก่อน..อานนท์" นั่นแหละ เพราะฉะนั้น..ทุกเรื่องท่านจะดูทีหลังใครไม่ได้ ต้องดูก่อนไว้เสมอ...!

    ท่านเป็นผู้ออกแบบจีวร ซึ่งต้องเก็บเอาผ้าเก่าจากกองขยะบ้าง จากที่เขาทิ้งบ้าง มาซัก ตัด เย็บ ย้อม จนกระทั่งกลายเป็นจีวรอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จัดว่าเป็น "แฟชั่นนิสต์" ที่ไม่เคยเสื่อมความนิยมมาตลอด ๒,๖๐๐ ปี โดยลักษณะของจีวรก็เลียนแบบ "ตารางนา" ของแคว้นมคธสมัยนั้น

    คราวนี้ถ้าหากว่าใครเรียนนักธรรมโท นักธรรมเอกก็จะมีหลักสูตรการทำจีวร สมัยนี้ยังทำหรือเปล่าก็ไม่รู้ ? ทุกท่านจะเห็นว่าจะมีจีวรกระทงใหญ่ จีวรกระทงเล็ก มีตัวคั่นยาว ตัวคั่นสั้น แล้วก็มีขอบ กระทงใหญ่เขาเรียกว่า มณฑล กระทงเล็กเรียกว่า อัฑฒมณฑล ตัวคั่นแนวยาวเรียกว่า กุสิ ตัวคั่นแนวสั้นเรียกว่า อัฑฒกุสิ

    ถ้าหากว่าเป็นผ้าเย็บเก็บขอบ เขาเรียกว่าอนุวาต แล้วยังประกอบไปด้วยรังดุมและลูกดุม ซึ่งถ้าเป็นพระมหานิกายไม่ค่อยได้ใช้ แต่พระสายวัดป่ายังใช้อยู่ รังดุมกับลูกดุมก็ไม่ได้มีอะไรวิลิศมาหรามาก เป็นการใช้ด้ายมาเย็บติดชายด้านหนึ่งให้เป็นห่วง ก็คือรังดุม

    ส่วนลูกดุม หรือที่ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า "ลูกกระดุม" นั่นก็คือการเอาด้ายมาม้วนให้เป็นก้อนแล้วก็เย็บปลายติด เอาด้านที่เป็นก้อนไปขัดกับด้านที่เป็นห่วง ซึ่งเป็นรังดุมก็จบแล้ว มีไว้เพื่อเก็บชายจีวรให้เรียบร้อย

    ส่วนใหญ่แล้วรังดุมจะอยู่ปลายด้านล่าง ลูกดุมจะอยู่แถวประมาณต้นคอของเรา ถึงเวลาถ้าหากว่าชายจีวรจะลากพื้นก็ตลบขึ้นมา แล้วก็เอาลูกดุมขัดไว้ ฟังดูแล้วแปลก ๆ เพราะว่าพวกท่านไม่เคยทำกัน สมัยนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นจีวรสำเร็จรูป ความขี้เกียจของโรงงาน ทำให้ไม่ได้ใส่รังดุมกับลูกดุมมาด้วย
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,373
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    คราวนี้ย้อนกลับมากล่าวถึงผ้าไตรกฐิน ซึ่งสมัยก่อนยังนิยมจุลกฐินอยู่ ก็คือมีการปั่นด้าย ทอผ้า ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียว ซึ่งสมัยก่อนทุกบ้านทอผ้าได้ ก็ไม่มีปัญหาตรงนี้ เพราะว่ากำหนดไปเลยว่าใครจะทอส่วนไหน อย่างถ้าหากว่า ๙ มณฑล หรือที่เรียกว่า ๙ ขันธ์ ก็แบ่งกันไปเลยคนละขันธ์ ก็แค่ทอประมาณคนละศอกเดียว คนทอเก่ง ๆ ถ้าตั้งหน้าตั้งตาทำจริง ๆ ประมาณ ๓ - ๔ ชั่วโมงก็เสร็จแล้ว

    สมัยนี้ค่านิยมในการทำในลักษณะอย่างนั้นน้อยลง เพราะว่าคนทอผ้าเป็นน้อยลงไปเรื่อย ๆ ก็เหลือจุลกฐินแค่สายวัดป่าเสียส่วนใหญ่ โดยที่เจ้าภาพถวายเป็นผ้าขาว ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว อาจจะเป็นสบงผืนหนึ่ง หรือว่าจีวรผืนหนึ่ง หรือสังฆาฏิผืนหนึ่งก็ได้ แต่เป็นสีขาว แล้วให้พระไปทำการย้อมให้เรียบร้อย ตากแห้งแล้วก็พับเข้าไตร กลายเป็นผ้ากฐินไปเลย

    คราวนี้ในเรื่องของกฐินนั้น ห้ามขอจากเจ้าภาพอย่างเด็ดขาด วัดไหนขอกฐินแปลว่ากฐินเดาะ พระทั้งวัดไม่ได้อานิสงส์กฐินเลย ญาติโยมอาจจะสงสัยว่า อานิสงส์ก็คือผลบุญที่จะพึงได้ ทำไมไปเกี่ยวกับพระ ? ก็เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่า พระจำพรรษามาตลอด ๓ เดือน โดนบีบอยู่ในกรอบไปไหนไม่ได้เลย อาจจะมีการอึดอัด เครียดบ้าง จึงผ่อนคลายสิกขาบทให้หลายข้อ

    อย่างเช่นว่า "เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา" แต่ข้อนี้วัดท่าขนุนห้ามใช้ จะไปก็ต้องลา ต้องลงสมุดลาให้เรียบร้อย จะได้รู้ว่าไปตายที่ไหน ? ถึงเวลาจะได้ตามไปเก็บศพถูก..!

    "ฉันคณโภชนาและปรัมปรโภชนาได้" คณโภชนาก็คืออาหารที่ฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปแล้วไม่โดนอาบัติ เพราะว่าเป็นอาหารที่ญาติโยมถวายโดยออกชื่อ อย่างเช่นถ้าเป็นวันนี้ที่ในสนามสอบ โยมที่ถวายก็อาจจะบอกว่า "มีแกงส้มชะอมไข่นะขอรับพระคุณท่าน ใส่กุ้งทะเลตัวเท่าหัวแม่มือด้วย..!"

    เหตุเป็นเพราะว่าสมัยก่อนพระที่บวชเข้ามายังมีความเป็นปุถุชนอยู่มาก เมื่อมหาเศรษฐีนิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปไปฉัน โดยระบุว่าจะถวายข้าวมธุปายาส ซึ่งบางทีทั้งชีวิตคนเราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ลิ้มรสเลย จึงมีรายการแย่งกิจนิมนต์กัน ในเมื่อเขาไม่จัดให้ไปก็เสนอหน้าไปเองอีกต่างหาก..!

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงต้องกำหนดไว้ว่า ถ้าหากว่าเจ้าภาพนิมนต์โดยออกชื่อภัตตาหาร ห้ามภิกษุฉันรวมกันเกิน ๓ รูป ถ้าหากว่าเกิน ๓ รูปขึ้นไปเมื่อไร ปรับอาบัติทุกคำที่กลืน..!
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,373
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น คณโภชนาคืออาหารที่พระภิกษุฉันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ต้องเป็นอาหารที่เจ้าภาพไม่ออกชื่อ หรือว่าเป็นอาหารของสงฆ์ ที่พวกท่านที่สวดปาฏิโมกข์ได้ก็คือ "สมณภตฺตสมโย" ในสมัยที่อาหารนั้นเป็นของพระสงฆ์เอง อย่างเช่นว่าเราเอาของที่ได้รับถวายมาในคลังไปทำเป็นอาหาร อย่างนี้ไม่ต้องประเคนยังได้เลยนะ เพราะเป็นของพระเองอยู่แล้ว

    แต่ถ้าหากว่าบุคคลที่รับกฐินแล้ว สามารถที่จะฉันได้ ต่อให้บอกว่าวันนี้จะมีหูฉลาม ปลิงทะเล อุ้งตีนหมีตุ๋นน้ำแดงก็เอาเถอะ แต่ต้องอยู่ในกำหนด ก็คือไม่เกินกลางเดือน ๔

    คำว่าปรัมปรโภชนาก็คือ ฉันก่อนในที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง อย่างเช่นว่าเราได้รับนิมนต์จากเจ้านี้ ฉันไปเสียอิ่มแล้ว อีกเจ้าหนึ่งมานิมนต์ต่อ สมัยก่อนพระท่านรับเอาไว้แค่อาหารในบาตรเท่านั้น แล้วญาติโยมก็มักจะศรัทธาแบบที่ว่า "พระจะต้องฉันจะต้องใช้ ถึงจะได้บุญ" อย่างนี้เป็นต้น

    ในเมื่อฉันของเขาได้น้อย เขาก็พลอยรู้สึกว่าได้บุญน้อย ต่อให้พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญนั้นได้ตั้งแต่คิดที่จะทำแล้ว" ก็ไม่มีใครยอมเปลี่ยนแนวคิดนี้ จึงกลายเป็นว่า ถ้าหากว่าไม่ได้อานิสงส์กฐิน ห้ามฉันอาหารอื่นก่อน ต้องไปฉันที่เจ้าภาพเขาก่อน ถึงได้เรียกว่าปรัมประ ก็คืออื่นแล้วอื่นอีก

    ใครเรียนบาลี แปลคำนี้ออกอยู่แล้วใช่ไหม ? ปร คือ อื่น ถ้า อปร ก็อื่นอีก

    ข้อที่ ๑ เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา วัดเราไม่อนุญาต

    ข้อที่ ๒ ฉันคณโภชนาหรือปรัมปรโภชนาได้

    ข้อที่ ๓ เดินทางไม่ต้องเอาผ้าไตรไปครบสำรับก็ได้ กระผม/อาตมภาพไม่เคยใช้ข้อนี้เลยนะ ไปไหนก็เอาไปครบ คงไม่ได้หนักเกินไปหรอก

    ข้อที่ ๔ ผ้าไตรที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของเธอ คำว่า เป็นของเธอ ในที่นี้ก็คือ ไม่ต้องวิกัปเป็นเจ้าของร่วมกับคนอื่น อย่างเช่นว่ากฐินวัดท่าขนุน
    กระผม/อาตมภาพก็ให้เลือกผ้าไตรไปคนละชุดเลย ถ้าอยู่ในช่วงนั้นไม่ต้องวิกัปนะ พ้นจากกลางเดือน ๔ แล้วค่อยตาลีตาเหลือกไปวิกัปให้เรียบร้อย คือทำเป็นของ ๒ เจ้าของ จะได้ไม่สะสมเป็นของตนเองคนเดียว
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,373
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    อานิสงส์พวกนี้ ถ้าหากว่าเราจำพรรษาก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าได้แค่กลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ไปถึงกลางเดือน ๔ แต่กระผม/อาตมภาพบวชมาจนป่านนี้ ไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย เพราะรู้สึกว่าทำให้ขี้เกียจ ไม่ต้องรักษาผ้าครอง ไม่ต้องเอาไปครบ ๓ ผืนอย่างนี้ พอถึงเวลาพ้นกลางเดือน ๔ ไป เราอาจจะเผลอ คราวนี้ความซวยก็จะมาเยือน เพราะว่าผ้าขาดครอง กลายป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ไป ต้องสละทิ้งให้คนอื่น ตัวเองต้องไปหาใหม่

    สมัยนี้ไม่ยากเพราะว่าหาซื้อได้ง่าย แต่สมัยก่อนกว่าจะเก็บผ้ามาเพียงพอที่จะตัดจีวรได้สักผืนหนึ่ง บางทีเป็นปี เสียจีวรไปก็เรียกง่าย ๆ ว่า "น้ำตาไหล"

    แล้วในส่วนที่สำคัญก็คือ กองกฐินนั้นจะเป็นกฐินได้ก็เฉพาะผ้าไตรเท่านั้น ส่วนอื่นเรียกว่าบริวารกฐิน ต่อให้ได้เงินมาสิบล้านร้อยล้านอย่างที่บางวัดเขาได้กัน นั่นก็เป็นแค่บริวารกฐิน ถ้าไม่มีผ้ากว้างคืบยาวคืบขึ้นไป กฐินกองนั้นก็ไม่เป็นกฐิน เป็นได้แค่ผ้าป่าเท่านั้น..!

    ดังนั้น..บรรดาท่านที่เข้าใจตรงนี้ถึงได้แย่งกันเป็นเจ้าภาพ ไม่รู้เหมือนกันว่าอยากได้วัตถุมงคลหรืออยากได้อานิสงส์กฐิน ? เดี๋ยว
    กระผม/อาตมภาพจะตั้งข้อกำหนดว่า ใครรับวัตถุมงคลไปต้องแบ่งอานิสงส์กฐินให้กระผม/อาตมภาพครึ่งหนึ่ง..!

    ก็เป็นอันว่า ถ้าหากว่าใครจองผ้าไตรกฐินวัดท่าขนุน คือจองเป็นเจ้าภาพมา ผ่านทางเว็บเพจวัดท่าขนุนที่ไอ้ตัวเล็ก (พัชรีภรณ์ หยกอุบล) เขาดูแลอยู่ กรุณาให้ชื่อให้ที่อยู่เขาไว้ด้วย ถึงเวลาเขาจะมาเบิกวัตถุมงคลไปส่งให้ ก็แปลว่าช่วยบวกค่าส่งให้เขาด้วย สักคนละ ๕๐ บาท

    ส่วนทางวัดของเราที่จองอยู่ ถึงเวลาเจ้าภาพยกผ้าไตรมา ๑ ไตรก็รับวัตถุมงคลไป ๑ องค์ ถึงเวลาผ้าไตรไปเข้ากองแล้วห้ามแตะต้องอีก ใครแตะต้องให้เจ้าหน้าที่ตีมือเลย..! เพราะว่าจะทำการล้อมสายสิญจน์แล้วถวายให้กระผม/อาตมภาพเป็นตัวแทนรับไปคนเดียว ไม่เช่นนั้นแล้วมัวแต่ไปยุ่ง ๆ กันอยู่ตรงนั้นแบบปีก่อน ๆ อาจจะทำให้เกิด "คลัสเตอร์เชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ระบาดในงานกฐินวัดท่าขนุน" ก็เจริญ ชื่อเสียงโด่งดังขึ้นไปอีก

    จึงขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวญาติโยมทั้งหลายได้ทราบไว้แต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...