เรื่องเด่น เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 27 พฤศจิกายน 2024 at 19:39.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,372
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,372
    วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ มีพระหลายรูปขออนุญาตไปศึกษาเรื่องอักขระเลขยันต์ ซึ่งกระผม/อาตมภาพก็ได้อนุญาตให้ไป แต่สงสัยอยู่ว่าท่านทั้งหลายมั่นใจแล้วหรือว่า สิ่งที่ตนเองศึกษามาเพียงพอที่จะรักษาตัวคุ้มครองตัวได้แล้ว ? สิ่งที่กระผม/อาตมภาพพูดมานี่ไม่ได้หมายถึงวิชาการภายนอก แต่ก็คือศีลหรือว่าวินัยของพระเองเลย..!

    สมัยที่กระผม/อาตมภาพบวชใหม่ ๆ ๔ พรรษาแรก จับนวโกวาทจนเปื่อยไปทั้งเล่ม ก็คือทบทวนอยู่ทุกวัน ชนิดที่เรียกว่า
    ขยับตัวเมื่อไรจะรู้ตัวเองทันทีว่าศีลขาดหรือเปล่า ? จากนั้นก็ไปศึกษาในส่วนของอภิสมาจาร ซึ่งความจริงก็ศึกษาไปตั้งแต่ตอนเรียนนักธรรมชั้นโทแล้ว แต่ก็ต้องทบทวนเพื่อที่จะได้เข้าใจ หรือว่าจดจำได้มั่นคงยิ่งขึ้น

    พ้นจากพรรษา ๔ แล้ว ถึงไปศึกษาเรื่องของอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ ซึ่งแรก ๆ ก็ฝึกหัดเอง เขียนเอง จนกระทั่งท้ายสุด พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ ท่านได้เมตตาบอกให้ว่า "การเขียนอักขระเลขยันต์นั้น ขั้นตอนต่าง ๆ นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับว่า
    ตอนที่เขียนเราทรงสมาธิระดับไหน และคิดถึงใคร เนื่องเพราะว่าในเรื่องของเครื่องรางประเภทตะกรุด ผ้ายันต์อะไรต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่ก็คือเขียนเสร็จต้องใช้งานได้เลย ไม่ได้มีการมีจัดงานปลุกเสกกันอีกรอบหนึ่งแบบที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้"

    จึงเป็นเรื่องที่พวกเรา ถ้าหากว่ายังศึกษาในเรื่องของพระธรรมวินัยไม่แน่ชัด ไม่สามารถที่จะจดจำได้หมด หรือว่าไม่สามารถที่จะบอกกล่าวต่อให้กับรุ่นน้องได้อย่างถูกต้อง ก็ควรที่จะศึกษาเรื่องของพระธรรมวินัยเพื่อรักษาตัวเองให้รอดก่อนจะดีกว่า

    ไม่ใช่ไอ้โน่นก็ขอไปเรียนหมอดู ไอ้นี่ก็ขอไปเรียนอักขระเลขยันต์
    สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเป็นพระหรือไม่เป็นพระ เรากลับไม่คิดที่จะศึกษาให้ดี ก็กลายเป็นว่าบวชเข้ามาแล้วน่าจะผิดวัตถุประสงค์ไปหน่อย..! เนื่องเพราะว่าถ้าเราศึกษาไม่ดี ตนเองจดจำไม่ถูกต้อง อาจจะทำผิดพลาดยังไม่พอ ถึงเวลาไปบอกกล่าวสั่งสอน ก็จะทำให้รุ่นน้อง ๆ จดจำผิดพลาดไปด้วย

    อย่างที่สมัยจำพรรษาแรก ๆ มีรุ่นพี่เขาบอกว่า "ถ้าเราขอสัตตาหะฯ ไปในระหว่างพรรษาแล้วกลับมา ถ้าก่อนสว่างเข้าวัดไม่ได้ ให้ถอดจีวรโยนเข้าไป พรรษาจะได้ไม่ขาด" กระผม/อาตมภาพก็ยังท้วงบอกว่า "ถ้าแบบนั้นตัวก็ขาดพรรษา ผ้าก็ขาดครอง ถ้าเชื่อคุณผมก็บ้าแล้ว..!" นั่นก็คือลักษณะของการจดจำแล้วบอกกล่าวต่อกันไปผิด ๆ
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,372
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าวัดท่าซุงมีการปิดประตูแน่นหนา มีเวรยาม ถ้าไม่ได้อรุณเขาไม่เปิดประตูให้ แล้วถ้าพวกท่านไปเจอรุ่นพี่เขาสอนแบบนั้น ขาดความมั่นใจในสิ่งที่ตนเองศึกษามา ก็จะจดจำผิด ๆ แล้วก็ไปสั่งสอนต่อกันผิด ๆ เพราะว่าผ้าห่างตัวก่อนได้อรุณก็แปลว่าเราขาดครอง ครบ ๗ วันได้อรุณแต่กลับเข้าวัดไม่ทันก็ขาดพรรษา โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่เชื่อว่าท่านทั้งหลายก็คงไม่กล้าทักท้วงรุ่นพี่เหมือนกระผม/อาตมภาพ เพราะคิดว่าท่านบอกถูก

    แบบเดียวกับที่กระผม/อาตมภาพบอกกับพวกท่านทั้งหลายว่า ถ้าญาติโยมลืมสิ่งของเอาไว้ พระเรามีหน้าที่ต้องเก็บรักษาเอาไว้จนกว่าโยมจะมาขอรับคืน แต่คราวนี้การที่โยมเขามาขอรับคืนก็คือต้องได้คืนไปในสภาพเดิม ไม่ใช่เอาไปทิ้งตากแดดตากฝน ปล่อยให้ผุให้ซีดให้เก่า หรือโดนหมาเอาไปแทะ ถ้าทำอย่างนั้นเขาเรียกว่าศึกษามาแบบโง่ ๆ..!

    หรือไม่ก็จีวรที่ซักตากอยู่
    กระผม/อาตมภาพเห็นมา ๓ วันแล้ว ไม่ยอมเก็บเสียที ฝีมือใครตากไว้รีบไปเก็บซะ เพราะรู้อยู่ไอ้ทิดนั่นสึกไปแล้ว เพราะฉะนั้น..จึงเป็นภาระหน้าที่ของคนที่ทำ จะต้องรีบเก็บรีบงำ ไม่อย่างนั้นทิ้งเอาไว้ยิ่งนานเท่าไร โอกาสที่จะเปื่อยจะผุจะขึ้นราก็มีมากขึ้น

    พระพุทธเจ้าท่านสอนเราทุกอย่าง ไม่ว่าจะกิน จะนอน แม้กระทั่งการนุ่งห่ม หรือว่าเข้าห้องน้ำห้องส้วม คาดว่าคงไม่มีพ่อคนไหนที่สอนลูกละเอียดขนาดนี้ แม้แต่การตากผ้าก็ให้ตากเข้าหาตัว ไม่ใช่เหวี่ยงออกส่งเดช เพราะถ้าหากว่าเหวี่ยงออกไป อาจจะเกี่ยวอะไรขาดได้ แล้วการตากผ้าไม่ให้ตากครึ่ง อย่างน้อยก็ต้องเหลื่อมกันสักคืบสักศอกหนึ่ง เพราะว่าถ้าตากครึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า บริเวณนั้นก็จะเปื่อยขาดง่าย แต่พวกเราไม่ค่อยจะศึกษา แล้วก็ไม่ค่อยที่จะสนใจ ถึงเวลากูก็ตากไปเรื่อย..!

    ดังนั้น..จะศึกษาวิชาการอะไรก็ตาม กระผม/อาตมภาพไม่เคยขัด ถือว่า "รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม" แต่ส่วนที่ท่านทั้งหลายต้องศึกษาให้ชัดเจนและปรุโปร่งเลยก็คือ เรื่องของพระธรรมวินัยที่จะรักษาตัวรักษาใจของเรา โดยเฉพาะจะช่วยในการขัดเกลากิเลสของเรา เพื่อความเป็นพระสงฆ์ของเราที่ดียิ่งขึ้น เจริญยิ่งขึ้น ไม่ใช่ไอ้โน่นก็ดี ไอ้นี่กูก็จะเรียน แล้วลืมเรื่องสำคัญที่สุดไปเลย..!
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,372
    ในเรื่องของการศึกษาคณะสงฆ์ ถ้าหากว่าตามที่กระผม/อาตมภาพมีความเห็น จบสักนักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม ๓ หรือ ๔ ประโยค มีพุทธศาสตรบัณฑิตห้อยท้ายก็น่าจะพอแล้ว ที่เหลือก็ตั้งตาตั้งตาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นของเรา ซึ่งควรที่จะมาแข่งกันตรงนี้มากกว่า

    พวกท่านทั้งหลายก็เห็นแล้วว่า ปัจจุบันนี้พระพุทธศาสนาของเราโดนรุกรานหนักมาก แล้วถ้าหากว่าเราไม่สามารถที่จะบอกจะกล่าว หรือกระทำสิ่งที่ถูกต้องได้ เดี๋ยวถึงเวลาไปออกทีวี ก็จะเหมือนกับ "ท่านปีนเสา" ที่โดนเขาต้อนจนไปไม่เป็น เพราะว่า
    สักแต่บวชเข้ามาแต่ศึกษาไม่ดี ไอ้โน่นก็แค่ลักจำเขามา ไอ้นี่ก็แค่ลักจำเขามา..!

    อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือการบิณฑบาตเมื่อเช้า ส.ท.จูน (นางสาวกฤติกา มาโนช) อ้างถึงบ่อยไปหน่อย ใส่บาตรแล้วก็เรียนถวายว่า "พายจาวตาลกับคอฟฟี่เค้กเจ้าค่ะ" กระผม/อาตมภาพก็ถอนหายใจเฮือก เพราะว่าประการแรก การเอ่ยชื่ออาหาร ทำให้พระฉันได้ไม่เกิน ๓ รูป ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นโทษฉันคณะโภชนา เพียงแต่ว่าช่วงนี้ เราได้อานิสงส์กฐิน ยังสามารถที่จะฉันได้อยู่จนกระทั่งไปถึงกลางเดือน ๔ ไม่อย่างนั้น กระผม/อาตมภาพจะต้องแยกเอาอาหารชุดนี้ออกมาแล้ว

    อีกประการหนึ่งที่ต้องถอนใจเลยก็คือ กระผม/อาตมภาพไม่เคยเห็นดีเห็นงามกับไอ้เรื่องของพวกนี้เลย อาหารใครว่าอร่อย วิเศษเลิศเลอ แพงขนาดไหน ไม่เคยอยากฉันซ้ำเป็นครั้งที่ ๒ มีความรู้สึกว่า
    "เราเพิ่งจะสลัดหลุดจากบ่วงอันหนึ่งมา เอ็งก็จะเอาบ่วงอันใหม่มาคล้องให้ใหม่อีกแล้ว" ลองไปนึกถึงวัวควายหรือหมาที่โดนล่ามเชือกล่ามโซ่อยู่ สลัดหลุดออกมาได้ แล้วคนเขาถือเชือกถือบ่วงมาใหม่ ก็มีแต่อยากจะเผ่นไปให้ไกลจากตรงนั้น..!!!

    ดังนั้น ในเรื่องของข้าวปลาอาหาร กระผม/อาตมภาพจึงไม่ได้สนใจเลย อะไรก็ได้..แค่ฉันกันตายไปวันหนึ่ง จนกระทั่งคุณนวลจันทร์ เพียรธรรม ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทเอ็นซีทัวร์ ยังออกปากว่า "หลวงพ่อเล็กเป็นพระที่ฉันง่ายที่สุดในโลก" เดินทางไปด้วยกันกับคณะ ทางบริษัทเขาขนอาหารจากเมืองไทยไป ๔๐ กิโลกรัม ก็เหลือกลับมาเกือบ ๔๐ กิโลกรัม วันท้าย ๆ ต้องมาไล่ขอร้องในคณะว่า "ช่วยกันกินหน่อยค่ะ..!"
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,528
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,536
    ค่าพลัง:
    +26,372
    ดังนั้น..เรื่องของบ่วงมาร เขาอาศัยแค่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ๖ ประการนี้เท่านั้น ที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏสงสารได้ อะไรที่พอสลัดทิ้งได้ต้องสลัดทิ้งไปเลย ถ้าเป็นเรื่องของพระธรรมวินัย เราต้องสู้กันด้วยชีวิต ถ้าหากว่าอยากกินแล้วทนไม่ได้จะขาดใจตาย ก็ปล่อยให้ตายลงไปเลย..!

    พวกท่านเองถ้าหากว่าใครยังติดบุหรี่อยู่ กรุณาอย่าไปสูบให้คนอินเดียหรือคนลังกาเขาเห็น เขาจะตำหนิด่าว่าชนิดที่หนักกว่าพระโดนอาบัติปาราชิกอย่างของบ้านเราเสียอีก..! เขาถือว่า
    "เป็นนักบวชแล้วของแค่นี้ยังเลิกไม่ได้" ที่โน่นไม่ใช่แต่พุทธศาสนิกชนที่จะตำหนิ แต่ศาสนาอื่นเขาตำหนิด้วย เพราะว่าเราถือเพศนักบวช เป็นผู้ตั้งใจละกิเลส

    ดังนั้น..ในส่วนของ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ อะไรก็ตาม ถ้าละได้ให้รีบละ ทิ้งได้ให้รีบทิ้ง เลิกได้ให้รีบเลิก ไม่ใช่ลงทุนมามากแล้วไม่อยากจะเลิก ตัวเราจะเป็นพระเป็นเณรได้เต็มที่หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราปฏิบัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่เรียนจนจบประโยค ๙ ปริญญาเอกแล้ว ก็ยัง "ไม่เป็นโล้เป็นพาย" ได้แต่ความรู้ทางโลกไปเต็มหัว แค่ "ธรรมะคืออะไร ?" ยังต้องไปไล่ถามคนอื่น แบบนั้นก็น่าจะตบให้หัวทิ่มเหมือนกัน..!

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...