เรื่องราว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 13 พฤศจิกายน 2011.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในเรื่อง สิ่งที่นับไม่ได้ ไม่มีที่สิ้นสุด เป็น อนันตะ เช่น
    พุทธวิสัย ปัญญาพระพุทธเจ้า ไม่มีที่สิ้นสุด นับไม่ได้ จักรวาล นับไม่ได้ ไม่มีที่สิ้นสุด
    และอีกประการหนึ่ง คือ จำนวนของหมู่สัตว์ ไม่มีประมาณ เป็นอนันตะ คือ ไม่มีที่สิ้นสุด
    ดังนั้น สัตว์โลกจึงมีไม่สิ้นสุด แม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาในโลก ซึ่งข้อความใน
    อรรถกถาแสดงไว้ครับว่า จำนวนพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้มาแล้ว เท่ากับ เม็ดทรายในแม่น้ำ
    คงคา นั่นแสดงถึงความมากมายของพระพุทธเจ้าที่ตัสรู้มาแล้วในอดีต แต่ก็ไม่สามารถ
    ช่วยสัตว์โลกได้หมด เพราะจำนวนสัตว์โลกเป็นนอนัตตะ คือ หาประมาณไม่ได้ ไม่มีที่
    สิ้นสุด พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้เท่าไหร่ ก็ไม่สามารถช่วยสัตว์โลกได้หมดครับ ประการที่
    สำคัญที่สุด ที่พระพุทธเจ้าไม่สามารถจะช่วยเหลือสัตว์โลกได้หมด อีกประการหนึ่ง คือ
    ต้องไม่ลืมครับว่า ผุ้ที่จะตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า จะต้องเป็นผู้ที่มีศรัทธา อบรมปัญญามา
    ผู้ที่ไม่ได้สะสมปัญญา สะสมศรัทธามา แม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นเท่าไหร่ก็ไม่สามารถ
    ช่วยผู้นั้น ผู้ที่ไม่ได้สะสมศรัทธา สะสมปัญญามาครับ พระธรรมจึงไม่ใช่สาธารณะ
    สำหรับสัตว์โลกทั้งหมดที่จะบรรลุได้หมด แม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาในโลกใน
    อนาคตครับ อีกประการหนึ่ง ข้อความในอรรถกถาก็ได้แสดงว่า ผู้ที่มีความเห็นผิดที่ดิ่ง
    เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ คือ มีความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่น ไม่เชื่อเรื่อกรรมและผลของกรรมเลย
    เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ พระองค์แสดงว่า เป็นตอวัฏฏะ คือ ไม่สามารถจะพ้นจากวัฏฏะการ
    เกิดได้ แม้พระพุทธเจ้า กี่ร้อยพระองค์ก็ไม่สามารถช่วยเขาได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีทาง
    เลยที่พระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคตที่มีจำนวนหาประมาณไม่ได้ จะช่วยสัตว์โลกได้ทั้ง
    หมดตามที่กล่าวมาครับ ซึ่งหากได้อ่านพระธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ทรง
    แบ่งสัตว์โลกเป็น 2 จำพวก คือ ภัพพสัตว์ และ อภัพพสัตว์
    ภัพพสัตว์คือสามารถบรรลุได้ เพราะสะสมศรัทธา ปัญญา ไม่เห็นผิด ส่วนอภัพพสัตว์
    คือ เหล่าสัตว์ที่ไม่สามารถบรรลุได้ เพราะไมได้สะสมศรัทธา ปัญญามาและเห็นผิด
    พระองค์ทรงละเว้นชนเหล่านั้นครับ
    เห็นไหมครับว่า พระองค์จะตรัสรู้เท่าไหร่ก็ไม่สามารถช่วยเหล่าสัตว์ได้หมด ด้วย
    เหตุผล 2 ประการคือ 1. สัตว์มีจำนวน อนันตะ ไม่มีที่สิ้นสุด และ 2.สัตว์โลกสะสมต่างๆ
    กันมา ผู้ที่ควรบรรลุก็มี ไม่ควรบรรลุก็มีครับ

    ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง
    ชื่อว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึก
    ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก ละความรำคาญ ได้แก่ความ
    ตรึก ๙ อย่าง คือความตรึกในกาม ความตรึกในความพยาบาท ความ
    ตรึกในความเบียดเบียน ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความ
    ตรึกถึงเทพเจ้า ความตรึกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความ
    ตรึกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความตรึกอัน
    ปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง.
    กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง
    พยาบาทวิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งวิหญิงสาวิตก.
    อีกอย่างหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ
    อุทธัจจะ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก คือความดำริทั้งหลาย ชื่อว่า
    ความรำคาญ คือความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญ
    มือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่า
    ไม่ควร ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่า
    ไม่มีเทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือด
    ร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง
    ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ
    ๒ ประการ คือเพราะกระทำและไม่กระทำ.
    ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ
    กระทำ และเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต
    ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต
    เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโน-
    สุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติปาต
    เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เรา
    ทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร
    เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณา-
    วาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา
    เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่
    ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำ
    อนภิชฌา เราทำพยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เรา
    ไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจย่อม
    เกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ
    ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่
    คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
    เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่
    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ
    สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕
    เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรค
    มีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค
    เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ.
    คำว่า พึงเข้ารูปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่
    อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด
    ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก
    ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ
    ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น

    พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง

    ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

    ความโกรธและความดูหมิ่น
    ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ
    ความโกรธและความดูหมิ่น คือ ความอาฆาต ความมุ่งร้าย ฯลฯ
    ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพราะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ชื่อว่า
    ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง
    โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง. คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ
    ความโกรธและความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความ
    ดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธ
    และความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธ
    และความดูหมิ่น.
    รากของความโกรธและความดูหมิ่น
    รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและ
    ความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ เป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ
    อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ.
    รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ
    อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น.
    คำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด
    รื้อ ถอน ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
    ซึ่งความโกรธและความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงขุด
    รากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่.
    ว่าด้วยที่รัก ๒ อย่าง
    บทว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุ เมื่อปราบก็พึงปราบที่รัก
    และที่เกลียดชังเสียโดยแท้ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-
    ปูรณะ ศัพท์ที่ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับ
    บท. ชื่อว่าเป็นที่รัก ได้แก่ที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็น
    ที่รักเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาประโยชน์
    เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส
    แก่บุคคลนั้น คือ เป็นมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตร
    ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ผู้สืบสาย) สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็น
    ที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน
    เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่รัก ชื่อว่าที่เกลียดชัง ได้แก่เป็น
    ที่เกลียดชัง ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน
    สัตว์ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
    ประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ปลอดโปร่ง
    จากโยคกิเลส ปรารถนาจะปลงเสียจากชีวิต แก่บุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้
    ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง. สังขารเป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น
    รส โผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง.
    คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย
    เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น
    คำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวมิได้รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด.
    คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบ
    ก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้ ความว่า ภิกษุเมื่อปราบก็พึง
    ปราบ เมื่อย่ำยีพึงย่ำยีซึ่งที่รักและที่เกลียดชัง ที่ยินดีและยินร้าย สุขและ
    ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อิฐารมณและอนิฐารมณ์ เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธ และความดูหมิ่น
    พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง
    ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

    เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
    รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
    รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
    สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
    ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
    ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ
    และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...