เรื่องเด่น "เรื่องกลัวเสือ" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 5 กรกฎาคม 2020.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    3,031
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,561
    ค่าพลัง:
    +12,656
    No_101.jpg

    .
    "เรื่องกลัวเสือ"

    .. เรื่องราวที่หลวงปู่ บันทึกไว้ มีดังนี้ : -

    " .. เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ เมื่อพูดแล้วก็ขายขี้หน้าตัวเอง แต่กิเลสมันยังขายขี้หน้าตัวมันเองเสียยิ่งกว่าเราเสียอีก นั่นคืออะไร ? กล่าวคือ เมื่อเราแยกจาก "ท่านอ่อนสี" ไปอยู่องค์เดียวแล้ว "คือวันหนึ่งเสีอร้อง เรากลัวเสียงเสีอจนตัวสั่นสะท้าน" นอนไม่ได้ภาวนาไม่ลงเลย

    ผู้คนก็ช่วยไล่ ขนาดยิงปีนขู่ เอาดุ้นฟืนติดไฟแดงโร่อยู่นั้นแหละขว้างไล่ แล้วมันก็หนีไปครู่หนึ่งแล้วก็กลับมาอีก บางทีตื่นเช้ามา เขาออกไปทำงาน "เห็นนั่งตงโมงดักหน้าอยู่แล้วก็มี" เขาเห็นแล้วก็พากันวิ่งหนี แต่มันก็ไมัเห็นทำอะไรใคร

    "เรานั่งภาวนาอย่างไร ๆ ก็ไม่รวมลงได้" แต่เราก็หาได้รู้ตัวไม่ว่า "มันกลัวเสือ" เหงื่อเปียกโชกหมดทั้งตัว เอ๊ะ! นี่อะไรนะ หนาว ทำไมจึงมีเหงื่อ? ลองเอาผ้าห่มออกดู ก็ยังสั่นเทาอยู่ เมื่อภาวนาไม่ลงแล้วมันเหนื่อยมาก นึกว่าเอนหลังลงนอนพัก เอาแรงสักหน่อยก่อน แล้วจึงจะลุกขึ้นมาภาวนากันใหม่ ขณะนั้นเอง "พอดีได้ยินเสียงเสือร้องขึ้น เลยสั่นสะบั้นกันใหญ่" เหมือนกับเป็นไข้จับสั่น "จึงได้รู้ว่า นี่มันกลัวเสียงเสีออย่างไรเล่า"

    เราได้ลุกขึ้น "ตั้งสติกำหนดจิตให้อยู่นิ่งในอารมณ์เดียว ยอมสละชีวิต" ว่าเรายอมสละความตายแล้วมิใช่หรือ จึงได้มาอยู่ ณ ที่นี้ "เสีอกับคนก็ก้อนธาตุ ๔ เหมือนกัน มิใช่หรือ" ตายแล้วก็มีสภาพเช่นเดียวกัน "แล้วใครกินใคร ใครเป็นผู้ตายและใครเป็นผู้ไม่ตาย" เมื่อยอมสละพิจารณาด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น "เสียงเสือก็ไม่ได้ยิน"

    ภายหลัง "เมื่อได้ยินเสียงมัน ใจก็เฉย ๆ เห็นเป็นลมกระทบ" วัตถุอันหนึ่งแล้วมันเกิดเสียงออกมาเท่านั้น นิสัยของเราขึ้ตกใจเป็นโรคประสาทมาตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว เมื่อมีเสียงสัญญาเดิมมาปรากฏ จึงทำให้เรากลัวโดยไม่รู้ตัว

    "กิเลสานุสัยที่นอนจมอยู่ในห้วงลึกของดวงใจจึงยากที่จะละได้" ถ้าหากไม่ยอมสละความยึดถืออุปาทานในสังขารอันไร้สาระ แลกเอาอมตรสที่ปรากฏอยู่เฉพาะกับใจแล้ว "ก็จะเอาชนะกิเลสไม่ได้เลย" .. "

    "การแก้อนุสัยกิเลส"
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     

แชร์หน้านี้

Loading...