เรื่องเด่น เปิด”กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต”ถามหาคำพูดที่ยูเอ็น

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    เปิด”กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต”ถามหาคำพูดที่ยูเอ็น
    วันจันทร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560, 10.19 น.

    62 ปี “พระพรหมบัณฑิต” มอบทุนการศึกษาระดับ”ตรี-เอก” พร้อมมอบโล่ “อาชีวศึกษาวิถีพุทธยอดเยี่่ยม” เปิดนิทรรศการ “กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต” เป็น “KM” ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ถามหาผลงานไปพูดที่ยูเอ็นจนถึงขณะนี้ยังไม่เห็น

    โอกาสอายุวัฒนมงคล 62 ปี วันที่ 17 ก.ย. ของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต) กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ในวันที่ 17 ก.ย. มีพิธีบำเพ็ญกุศลบรรยายพิเศษเรื่อง “ศาสตร์พระราชาในมิติพระพุทธศาสนา” จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และพระพรหมบัณฑิต กล่าวอนุโมทนียกถาศาสตร์พระราชา สรุปที่จำง่ายๆ คือ “ที่ขาดเติมให้เต็ม เต็มให้รู้จักพอ พอให้รู้แบ่ง แบ่งให้เป็นธรรม” วัดประยุรวงศาวาส วันที่ 16 ก.ย.2560

    และวันที่ 17 ก.ย.2560 มีพิธี มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในการนี้พระพรหมบัณฑิตได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 815 ทุน เป็นปัจจัยมากกว่าสามล้านบาท สำหรับการวิจัยและเป็นทุนระดับปริญญาตรี โท เอก โดยระดับปริญญาเอกมีจำนวน 52 ทุน ได้กล่าวให้โอกาสเน้นย้ำศาสตร์พระราชาดังกล่าวอีกครั้ง

    e0b8a5e0b989e0b8ade0b88ae0b8b5e0b8a7e0b8b4e0b895e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8abe0b8a1e0b89a.jpg

    โอกาสนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ภายใต้การบริการจัดการของอุบาสิการะเบียบ ถิรญาณี ประธานการขับเคลื่อนอาชีวศึกษาวิถีพุทธ เข้ารับโล่รางวัลวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธยอดเยี่ยมพร้อมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธทั่วประเทศ ด้วยการพัฒนาด้านคุณธรรมตั้งแต่ผู้ครูบริหารและนักศึกษาอย่างเป็นระบบจากวิถีพุทธ สู่วิถีปฏิบัติ พัฒนาสู่วิถีชีวิต ส่งเสริมให้เกิดลักษณะของปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ

    เปิดนิทรรศการ”กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต

    ขณะเดียวกันพระพรหมบัณฑิตได้เป็นประธานเปิดนิทรรศการ “กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต” ที่หอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร แบ่งออกเป็น 5 ประเด็น คือ 1) พระพุทธศาสนาสร้างบัณฑิต 2) บัณฑิตสร้างมหาจุฬาฯ 3) พระพุทธศาสนาพึ่งพาบัณฑิต 4) บัณฑิตนำมหาจุฬาฯสู่ศูนย์กลางพุทธโลก 5) บัณฑิตผู้นำธรรมสู่สังคม

    b8a5e0b989e0b8ade0b88ae0b8b5e0b8a7e0b8b4e0b895e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8abe0b8a1e0b89a-1.jpg

    ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิตได้กล่าวว่า มีการพัฒนาการมหาจุฬาฯในรอบ 130 ปี จึงมีการรวบรวมผลงานแนวคิดบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมหาจุฬาฯเพื่อคนรุ่นหลังจะได้ทราบว่า มหาจุฬาฯเป็นมาอย่างไร? เมื่อผ่านไป 50 ปี จะไม่มีใครรู้เลยว่าอธิการบดีมหาจุฬาฯคิดอะไร? ถ้าไม่จัดการความรู้

    b8a5e0b989e0b8ade0b88ae0b8b5e0b8a7e0b8b4e0b895e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8abe0b8a1e0b89a-2.jpg

    ถามหาผลงานไปพูดที่ยูเอ็นจนถึงขณะนี้ยังไม่เห็น

    “อธิการบดีทำงานเยอะมาก บรรยายเยอะมาก แต่มีใครรู้บ้างว่าอธิการพูดอะไร? อธิการไปพูดที่องค์การสหประชาชาติ ยังไม่เห็นสิ่งที่พูดเลย ทีมงานต้องรวบรวมไว้เพื่อคนรุ่นหลังๆจะได้ศึกษา มุ่งให้บุคคลและนิสิตได้ศึกษา ทำไมมหาจุฬาจึงสามารถผลิตบัณฑิตอย่างสมด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เราต้องทำโรดแม็พว่าเส้นทางแห่งการพัฒนตนเองท่านเป็นอย่างไร? จึงประสบความสำเร็จ เราต้องไปสัมภาษณ์ศึกษาว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร? มีกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างไร ? เราต้องทำ KM ไว้ เพื่อคนรุ่นหลังๆ ต่อไปคนรุ่นหลังจะไม่ได้ลำบากและเตือนสติว่ากว่าจะมาเป็นมหาจุฬาฯจึงจำเป็นจะต้องจัดการความรู้ด้วยการรวบรวมผลงานทุกรูปแบบ เพื่อเป็นสาธารณปัญญาให้คนปัจจุบันและรุ่นหลังได้เรียนรู้ ” อธิการบดี มจร กล่าว

    แรงบันดาลใจจากพระมหาเถระนามเอกอุ”ป.อ.ปยุตฺโต”

    พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ได้กล่าวกล่าวว่า นิทรรศการกงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต เป็นการนำเสนอชีวิตของมนุษย์ที่สุดแสนจะธรรมดา เริ่มต้นจากเด็กต่างจังหวัด ได้แรงบันดาลใจจากพระมหาเถระนามเอกอุ “ป.อ.ปยุตฺโต” ตัดสินใจมุ่งหน้าไปแสวงหาโอกาสในเมืองหลวง ใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องขัดเกลาและนำพาไปสู่การศึกษาจนจบประโยค 9 พร้อมกับปริญญาตรี สาขาปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาฯ แล้วมุ่งหน้าไปจบปริญญาเอกสาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยเดลี แล้วกลับมาทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาและมหาจุฬาฯ จวบจนปัจจุบัน บนตำแหน่งที่มากมาย หาเวลาพักน้อยยิ่ง เพราะตรงดิ่งไปรับใช้เพื่อนมนุษย์ การศึกษาเป็นเครื่องมือยกระดับจากเด็กน้อยธรรมดา เป็นมหาปราชญ์ที่ทรงอิทธิพลรูปหนึ่งของโลก โชคอยู่ที่บุญนำพา วาสนาอยู่ที่การกระทำโดยแท้

    กว่าจะเป็นกงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต

    พระมหาหรรษา ระบุด้วยว่า ระยะเวลา 6 เดือนก่อน ผู้บริหารระดับสูงนำโดยเจ้าคุณอาจารย์รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พระราชวรเมธี และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พระราชปริยัติกวี ได้ปรึกษาหารือถึงการทำการจัดทำหอจดหมายเหตุมหาจุฬาฯ แต่เนื่องจากหอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติยังไม่แล้วเสร็จ จึงทำให้โครงการดังกล่าวลดสเกลลงมาเป็นห้องนิทรรศการกงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต ซึ่งถือเป็นการสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่ออธิการบดี ที่มุ่งให้เตรียมการทำ KM ของมหาจุฬาฯ เพื่อใช้ห้องนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการรวบรวมประวัติและพัฒนาการทั้งหมดของมหาจุฬาฯ

    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ได้หยุดชะงักไป เพราะอยู่ในช่วงปลายปีงบประมาณจึงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะจัดสร้างห้องดังกล่าว ถึงกระนั้น ด้วยความที่เป็นโครงการที่ดี และมีประโยชน์ต่อมหาจุฬาฯ รวมถึงการมุ่งที่จะสร้างถวายเป็นอาจริยบูชาแด่หลวงพ่ออธิการบดี จึงเป็นเหตุให้ ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ในฐานะรองประธานมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และคณะกรรมการได้ปรึกษาหากันแสดงเจตจำนงค์ถวายปัจจัยจำนวน 4,000,000 บาท เพื่อนำไปจัดสร้างในครั้งนี้

    จากจำนวนเงินดังกล่าวดูประหนึ่งว่าจะสูงในเชิง “มูลค่า” แต่ถ้ามองถึง “คุณค่า” แล้วจะพบว่า ห้องนี้แฝงไว้ด้วยแง่มุมที่น่าสนใจหลายประการ (1) การจัดทำเป็นดิจิทัล ที่จัดเก็บข้อมูลและการนำเสนอแบบดิจิทัล ทั้งไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง ของกิจกรรม และหนังสือจำนวนมาก (2) เป็นการนำเสนอด้วยรูปแบบของ KM อันเป็นการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของมหาจุฬา และหลวงพ่ออธิการบดี ตลอด 130 ปีที่ผ่านมา (3) เป็นการทอดบทเรียนแนวนโยบายและการปฏิบัติว่าด้วย มจร 4.0 ที่เน้นนวัตกรรมทั้ง 4 มิติ คือ นวัตกรรมด้านการผลิต ด้านการบริหาร ด้านกระบวนการ และด้านการบริหารจัดการ

    “การมาเยี่ยมชมนิทรรศการนี้ นอกเหนือจะทำให้ผู้ชมได้รับแรงบันดาลใจจากการมองเห็นเส้นทางชีวิตของอดีตสามเณรประยูรที่ลัดเลาะผ่านลุ่มน้ำท่าจีนสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนก้าวไปสู่การพระมหาเถระที่ทรงอิทธิพลของโลกรูปหนึ่งแล้ว ยังจะทำให้ผู้ชมได้เข้าใจถึงชีวิตมหาจุฬาฯ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึง 130 ปี โดยเริ่มจาก 2430-ปัจจุบัน ได้มองเห็น มจร ตั้งแต่ยุค 1.0 2.0 3.0 จนถึงยุค 4.0 ว่าเกิดเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง มีบทเรียนสำคัญอะไรบ้างที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร โดยเฉพาะประชาคมมหาจุฬาฯ ฉะนั้น การชมนิทรรศการนี้ จึงหมายถึงการเยี่ยมชมตัวตนที่แท้จริงของมหาจุฬาฯ เพื่อจะได้รู้จัก และเข้าใจมหาจุฬาฯ เพื่อจะได้วางท่าที และวางแนวทางการบริหารให้สอดรับ และอยู่รอดกับโลกในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิผลต่อไป” พระมหาหรรษา กล่าว

    …………………………..

    (หมายเหหกตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก hansa dhammahasoและpramote od pantapat)

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/91049
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...