เปรตได้รับส่วนบุญที่อุทิศไปให้ได้อย่างไร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย พระศุภกิจ ปภัสสโร, 22 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    การทำบุญอุทิศไปให้ผู้ตายนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณ ทรงรอบรู้ทุกอย่างด้วยพระปัญญา ตรัสรู้ของพระองค์เอง ซึ่งไม่สามารถจะนำเข้าไปเทียบกับศาสนาอื่น ซึ่งมิได้สัพพัญญุตญาณเช่นพระพุทธองค์
    ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการนั้นมี
    ทาน การให้
    ศีล การรักษากายวาจาให้สะอาด
    ภาวนา การอบรมจิตใจด้วยสมถะและวิปัสสนา
    เวยยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือกิจการงานอันชอบธรรมของผู้อื่น
    อปจายนะ กระประพฤติอ่อนน้อม
    ปัตติทาน การให้ส่วนบุญที่ตนทำแล้วแก่ผู้อื่น
    ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาคือชื่นชมยินดีในบุญที่ผู้อื่นกระทำแล้ว
    ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม
    ธัมมเทศนา การแสดงธรรม และ
    ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง
    ปัญญา ซึ่งบุญประการสุดท้ายนี้คือมีปัญญารู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะยอมรับการทำบุญที่เหลืออีก ๙ ประการ<!--ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้-->ว่า เป็นสิ่งที่เป็นความจริง

    จริงอยู่สัตว์ทั้ง<WBR>หลายเป็นไปตามกรรมที่ตนทำไว้ ใครทำดีก็ได้รับผลดี ใครทำชั่วก็ได้รับผลชั่ว ไม่มีใครรับผลของกรรมแทนกันได้ แม้พวกเปรตที่สามารถรับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศไปให้จากโลกนี้ได้ ก็เพราะเปรตได้ทำบุญด้วยตนเองในข้อปัตตานุโมทนา คือชื่นชมในบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ ถ้าไม่ชื่นชมอนุโมทนาบุญก็ไม่เกิดแก่เปรต การอนุโมทนานั้นเปรตต้องทำเอง ไม่มีใครทำให้เปรตได้ พวกเราในโลกมนุษย์นี้ทำได้แต่เพียงบุญในข้อปัตติทาน คืออุทิศ<WBR>บุญ<WBR>ที่<WBR>ทำ<WBR>แล้ว<WBR>ให้<WBR>เปรต<WBR>เท่า<WBR>นั้น ถ้าเปรตยอมรับบุญที่เราอุทิศไปให้ เขาก็จะชื่นฃมอนุโมทนา เมื่อเขาชื่นชมอนุโมทนา บุญก็จะเกิดแก่เปรต แต่ถ้าเปรตไม่ยอมรับหรือไม่ทราบ ไม่ได้ชื่นชมอนุโมทนาบุญก็ไม่เกิดแก่เปรต เปรตก็ไม่ได้รับบุญที่มีผู้อุทิศให้ เมื่อบุญไม่เกิดแก่เปรต เปรตก็ต้อง<WBR>ทน<WBR>ทุกข์<WBR>ทรมาน<WBR>ต่อ<WBR>ไป แต่ถ้าบุญเกิดแก่เปรต เปรตก็จะพ้นจากความทุกข์ทรมาน
    บางครั้งถ้ากรรมของเปรตเบาบาง อนุโมทนาแล้วก็ พ้นจากสภาพเปรตเป็นเทวดาทันที ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีเล่าไว้ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
    สำหรับเทวดานั้น แม้ท่านจะมีความสุข มีอาหารทิพย์ แต่ถ้าท่านทราบว่ามีผู้คนในโลกมนุษย์นี้ทำบุญแล้วอุทิศให้ท่าน ท่านก็ยินดีรับ ถ้าท่านเป็นสัมมาทิฏฐิ ท่านก็ชื่นชมอนุโมทนาด้วย บุญในข้อปัตตานุโมทนาก็เกิดแก่ท่าน
    แต่การอนุโมทนาของเปรตกับเทวดานั้นต่างกัน เทวดาอนุโมทนาแล้วบุญก็เกิดเทวดาเท่านั้น แต่สำหรับเปรตนั้น เมื่อเปรตอนุโมทนาแล้ว นอกจากบุญจะเกิดแก่เปรตแล้ว เปรตยังได้รับข้าวของอันสมควรแก่ฐานะของเปรต ตรงตามที่ผู้อุทิศไปให้ด้วย เช่นมีผู้ถวายอาหารแล้วอุทิศให้เปรต เปรตอนุโมทนาแล้ว ได้บุญในข้อปัตตานุโมทนาแล้ว ยังได้รับอาหารอันสมควรแก่ฐานะของเปรตด้วย ทำให้เปรตอิ่มหนำสำราญ พ้นจากความหิวโหย หรือเราถวายผ้า เปรตก็จะได้รับผ้าทิพย์ปกปิดร่างกาย ทำให้พ้นจากสภาพเปลือยกายได้ เราถวายน้ำแล้วอุทิศให้ เปรตก็ได้ดื่มน้ำทิพย์พ้นจากความหิวกระหายด้วยอำนาจของการอนุโมทนา
    การอุทิศบุญที่ทำแล้วให้เปรตนั้น มิใช่หยิบยื่นของส่งให้ เพราะบุญเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เกิดที่ใจ
    เมื่อใดที่ใจเกิดบุญ ใจก็จะผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ธรรมชาติของบุญก็คือเป็นเครื่องชำระจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญเป็นชื่อของความสุข เพราะผู้ที่ทำบุญแล้วย่อมได้รับผลวิบากอันเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ บุญจึงเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า ตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่
    อีกประการหนึ่ง พระที่ท่านฉันอาหารของเรานั้น ท่านก็มิได้เป็นบุรุษไปรษณีย์นำบุญของเราไปส่งให้แก่เปรต ท่านเป็นเนื้อนาที่เราจะหว่านบุญลงไปเท่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ ท่านเป็นปัจจัยให้เราเกิดบุญในข้อทานการให้ เมื่อให้แล้ว เรากรวดน้ำอุทิศไปให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าเขาไปเกิดเป็นเปรต และทราบว่าเราอุทิศบุญไปให้เขา ถ้าเขาชื่นชมอนุโมทนา บุญและวัตถุทานที่เราอุทิศให้มีข้าว น้ำเป็นต้น ก็จะเกิดแก่เปรตนั้นตามสมควรแก่ฐานะและภพภูมิของเขา ไม่ใช่เราถวายแกงส้ม เปรตก็จะได้กินแกงส้ม ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะแกงส้มไม่ใช่อาหารของเปรต

    หวังว่าคำตอบนี้จะช่วยให้คลายความสงสัยลงไปได้
    <CENTER>________________________________________</B></CENTER>
    ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    ปุญญกิริยาวัตถุสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=4992&Z=5046

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คำว่า บุญกิริยาวัตถุ 3, บุญกิริยาวัตถุ 10http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บุญกิริยาวัตถุ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    ชาณุสโสณีสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=24&A=6420&Z=6522

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
    ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสารhttp://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=26&A=3021&Z=3052

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    มาตาสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=1437&Z=1537

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    กาลทานสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=22&A=900&Z=915

    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    ปุญญวิปากสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=1939&Z=1976
    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

    อันนสูตรที่ ๓http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=15&A=934&Z=942
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2010
  2. tong5959

    tong5959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,056
    ค่าพลัง:
    +6,083

แชร์หน้านี้

Loading...