เรื่องเด่น เกิดเป็น "เจ้าเหนือหัวคน" เพราะสะสมบุญบารมี แต่กลายเป็น "เจ้าในหัวใจคน" เพราะสั่งสมคุณความดี สมเด็จพระเทพฯ เทพธิดาในดวงใจไทยทั้งผอง

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 เมษายน 2017.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    เกิดเป็น "เจ้าเหนือหัวคน" เพราะสะสมบุญบารมี แต่กลายเป็น "เจ้าในหัวใจคน" เพราะสั่งสมคุณความดี สมเด็จพระเทพฯ เทพธิดาในดวงใจไทยทั้งผอง

    95249_6895.jpg

    นิตยสาร Secret ฉบับที่ ๙๐ (๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕) ได้อัญเชิญพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพฯ ขึ้นปก โดยทางด้านคุณ อุษาวดี สินธุเสน ที่บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Secret ได้เขียนส่วนของ Editor's Talk ไว้ดังนี้




    SECRET2012-03-090_00-001.jpg

    เกิดเป็น "เจ้าเหนือหัวคน"
    เพราะสะสมบุญบารมี
    แต่กลายเป็น "เจ้าในหัวใจคน"
    เพราะสั่งสมคุณความดี


    วันที่ ๒ เมษายน ที่จะถึงนี้ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้านายผู้ทรงเป็นที่รักของประชาชนมากที่สุดพระองค์หนึ่ง

    Secret จึงขออัญเชิญพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านมาเป็นปก พร้อมด้วยเรื่องราวที่ทั้ง "น่ารู้" และ "น่ารัก" ที่หลายท่านอาจยังไม่ทราบเกี่ยวกับเจ้านายพระองค์นี้มานำเสนอให้ได้อ่านกัน

    สำหรับดิฉัน สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นแบบอย่างของ "ผู้ที่มีความสุขจากภายใน" อย่างแท้จริง เวลาเห็นพระองค์ท่าน ดิฉันจะสัมผัสได้ถึงความเรียบง่าย สงบเย็น และเป็นธรรมชาติ และทุกครั้งที่สื่อนำเสนอภาพพระองค์ท่านเสด็จฯ ไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจยังที่ต่าง ๆ ซึ่งในสายตาของดิฉันมองว่าน่าเบื่อเสียเหลือเกินนั้น ดิฉันกลับเห็นท่านมีพระพักตร์ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส รวมทั้งมีพระอิริยาบถที่ผ่อนคลายดูราวกับมีความสุข ความสำราญพระทัยในสิ่งที่ทรงทำอยู่ตลอดเวลา ทำให้ดิฉันนึกอยากทูลถามพระองค์ท่านเหลือเกินว่า ทรงใช้หลักธรรมข้อไหนจึงทำให้สามารถทรงงานที่ดิฉันรู้สึกว่าทั้งไม่สนุกทั้งน่าเบื่อได้ตลอดทั้งวัน โดยที่ยังคงแย้มพระสรวลได้อย่างนั้น แถมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นรอยแย้มพระสรวลที่ออกมาจาก "ข้างในพระทัยจริง ๆ" ไม่ได้เป็นรอยยิ้ม "ตามมารยาท" อย่างที่เราทั้งหลายมักเป็นกันเวลาต้องทนฝืนใจทำอะไรบางอย่าง

    บอกตรง ๆ ว่า ดิฉันอดรู้สึกอิจฉาผู้ที่ได้ทำงานใกล้ชิดพระองค์ท่านไม่ได้ พวกเขาช่างโชคดีเหลือเกินที่ได้อยู่ใกล้ ๆ เจ้านายที่ทรงน่ารักและมีพระทัยเปี่ยมด้วยความเมตตาพระองค์นี้ ดิฉันคิดว่า บรรดาคนเหล่านั้นคงจะได้รับกระแสพลังงานดี ๆ ที่เป็นพลังบวกตลอดเวลา และไม่ว่างานจะหนักจะเหนื่อยแค่ไหน แต่เมื่อมองไปเห็นพระพักตร์ที่ระบายไปด้วยรอยแย้มพระสรวลของพระองค์ท่าน ก็คงจะชื่นใจหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

    ตลอดเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงแสดงให้เห็นแล้วว่า ทรงเป็น "ลูกสาวที่แสนดี" เป็น "ลูกศิษย์ที่น่ารัก" เป็น "ครูที่น่ายกย่อง" และยังทรงเป็นอะไรต่ออะไรที่ล้วนแล้วแต่น่าชื่นชมอีกมากมาย

    เหนือสิ่งอื่นใดคือ ทรงเป็น "เจ้าหญิงในดวงใจ" ของประชาชนชาวไทยตลอดมา และแน่นอนว่าจะทรงเป็นเช่นนี้ตลอดไป...

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


    อุษาวดี สินธุเสน
    บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Secret


    905Bio1(1).jpg
    699981.jpg


    เรียบเรียงโดย

    สถาพร เกื้อสกุล : สำนักข่าวทีนิวส์


    ---------------
    ที่มา
    http://www.tnews.co.th/contents/307934

     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    tnews_1491093983_4275.jpg


    "เจ้าฟ้านักพัฒนา"..ตามรอยพระบาท ในวิถีพอเพียง ชม "บ้านดินของพระเทพฯ" ที่ประทับแสนเรียบง่าย ครั้งเสด็จทอดพระเนตรโครงการ "เดินตามรอยเท้าพ่อ"


    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่23 มีนาคม 2560 เวลา 17.00 คุณวาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหาร หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้เผยแพร่ข้อความและภาพที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2560 ที่ผ่านมาในสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว "Wassana Nanuam" โดยข้อความดังกล่าวมีรายละเอียดที่ทำให้พสกนิกรไทยล้วนซาบซึ้งในพะจริยวัตรอันเรียบง่ายของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังต่อไปนี้ ...





    17457436_1393521704039617_327161344232354013_n.jpg



    "บ้านดิน ของ "พระเทพฯ"...น่ารัก เนอะ

    "บ้านดูสวย" ที่ประทับ ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงมาประทับ เมื่อ 15 ก.พ.2560 ใน มณฑลทหารบก ที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช เชียงราย เป็นบ้านที่สร้างจากดิน จาก "ภูดูดี" ภูเขาในค่าย หลังคาสีม่วง สีประจำพระองค์ ด้วย

    ครั้งที่ เสด็จมาทอดพระเนตร "โครงการ เดินตามรอยเท้าพ่อ"

    ทหาร ทำการเกษตร ทั้ง ทำนา เลี้ยง แพะพระราชทาน พันธุ์ Bengal จาก บังคลาเทศ ปลูกหญ้า เนเปียร์ เลี้ยงสัตว์ ไผ่ยักษ์
    โดยใช้เวลา เช้า ตี5.30 มาดูแล และตอนเย็น 16.30


    งานนี้ พลตรีบัญชา ดุริยพันธุ์ ผบ.มทบ.37 นายทหารนักพัฒนา จอมเทคโนโลยี"




    i8(2).jpg





    17498547_1393521700706284_341701083281604118_n.jpg





    ที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือ "บ้านดูสวย" เป็นบ้านที่สร้างจากดินจากภูดูดี ภูเขาภายในมณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช ต.รอบเวียง อ.เมืองฯ จ.เชียงราย ประกอบด้วยหลังคาเมทัลชีทสีม่วง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ และประดับบริเวณโดยรอบด้วยไม้ดอกไม้ประดับและหินก้อนใหญ่ สำหรับบ้านหลังดังกล่าวอำนวยการสร้างโดย พล.ต.บัญชา ดุริยพันธุ์ ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 37.



    ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินยัง “โครงการเลี้ยงแพะพันธุ์แบล็คเบงกอล” ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงาน และเสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลทหารบกที่ 37 เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ "เดินตามรอยเท้าพ่อ"

    PNOHT600215001028001_15022017_052938.jpg



    phrathep1.jpg





    phrathep2.jpg





    ที่มา : Wassana Nanuam



    -------------------------
    คัดลอกจาก ::
    http://www.tnews.co.th/contents/307931

     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    “น้องน้อยของพี่ชาย” พระราชนิพนธ์ซาบซึ้งใจที่ในหลวงร. 10 ทรงมีต่อสมเด็จพระเทพฯ เมื่อครั้งเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ 2 เม.ย. 2534


    91099048_1644.jpg


    ขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ “น้องน้อยของพี่ชาย” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเขียนถึง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๓ รอบ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ เนื่องจากอ่านแล้วรู้สึกถึงความน่ารักของทั้งสองพระองค์ที่มีต่อกัน จึงอยากเผยแพร่ให้ประชาชนทุกคนได้อ่านและชื่นชมในความน่ารักของทั้งสองพระองค์กันอีกครั้ง

    โดยเนื้อหาภายในบทพระราชนิพนธ์นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบรรยายถึงพระอิริยาบถและพระจริยวัตรอันงดงามของสมเด็จพระเทพฯ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์



    559000010750501.JPE

    ภาพจากหนังสือ ปิยชาติสยามบรมราชกุมารี "ดาวประจำเมือง" และภาพจากแฟ้มภาพ ทรัพยากรกลุ่มงานแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ



    เนื่องในปีนี้ น้องน้อยของพี่ชายครบ 3 รอบ ประชาชนชาวไทยได้จัดงานและแสดงออกซึ่งความรักต่อน้องน้อย พี่ชายนึกอยากจะทำอะไรเพื่อน้องบ้าง จึงทำให้พี่คิดย้อนไปถึงเมื่อตอนที่เรายังเล็กๆ กันอยู่

    ขณะนั้นพี่ชายอายุประมาณ 3 ปี ก่อนน้องน้อยเกิด พี่ก็เริ่มจำความได้บ้างว่า บัดนี้เราได้พ้นจากความเป็นลูกคนเล็กแล้ว ซึ่งก็ได้มีน้องน้อยเพิ่มขึ้นในครอบครัว พี่จำได้ว่า ขณะนั้นพี่กำลังนอนเล่นอยู่ก็มีคนมาบอกว่า สมเด็จแม่ได้ทรงมีประสูติกาลแล้ว เป็นองค์หญิง พี่ก็ยังจำอะไรมากไม่ได้ในตอนนั้น เพียงแต่มันรู้สึกเป็นสิ่งแปลกใหม่ พี่ได้เห็นเด็กตัวเล็กๆ นอนอยู่ในเตียง พี่ได้มาดูน้องตัวเล็กๆ ที่นอนอยู่ในเตียงเสมอ เมื่อน้องน้อยโตขึ้น เราก็เล่นกันเรื่อย

    ที่พี่จำได้คือ เมื่อตอนเล็กๆ น้องน้อยเป็นเด็กที่บอบบางมาก ไม่ค่อยชอบเสวย ในการเลี้ยงดู คุณพี่เลี้ยงต้องถนอมมาก แต่ก็แข็งแรง มีสิ่งหนึ่งที่ติดตัวน้องน้อยแลยและพี่จำได้แม่น คือน้องน้อยเป็นเด็กที่คล่องแคล่ว ว่องไว และเป็นเด็กที่ฉลาด มีความคิดริเริ่มสูง




    559000010750502.JPE

    ภาพจากหนังสือ ปิยชาติสยามบรมราชกุมารี "ดาวประจำเมือง" และภาพจากแฟ้มภาพ ทรัพยากรกลุ่มงานแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ

    เมื่อตอนเล็กๆ ถือได้ว่าเราสองคนเป็นลูกคนกลางทั้งคู่ จึงเป็นเพื่อนเล่นกันมาตลอด น้องน้อยเป็นเด็กที่เชื่อฟังและอยู่ในโอวาทของพี่ๆ เสมอ อยากที่จะมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ กับพี่ๆ เป็นเด็กที่กล้า ตรงไปตรงมา ซนแบบเด็กๆ ทั่วไป และชอบเล่นแบบผู้ชาย

    เราได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมพ่อ-สมเด็จแม่ ไปตามต่างจังหวัดเมื่อตอนเล็กๆ เราก็จะไปเล่นกัน หาไม้มาทำเป็นปืน หาของว่าง-ขนมไปปิกนิกกัน และสร้างจินตนาการในการเล่นกันแบบเด็กๆ ในสมัยนั้น

    น้องน้อยจะเป็นผู้ช่วยที่ดีของพี่ๆ ช่วยถือของตามไปเสมอ ยังเป็นผู้ดูแล และเป็นองครักษ์ที่ดีของพี่อีกด้วย ไม่เอาเปรียบใคร ไม่คิดถึงตัวเองก่อน




    559000010750503.JPE

    ภาพจากหนังสือ ปิยชาติสยามบรมราชกุมารี "ดาวประจำเมือง" และภาพจากแฟ้มภาพ ทรัพยากรกลุ่มงานแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ

    สิ่งที่พี่จำได้อีกอย่าง คือ เมื่อเวลาเราพี่น้องเล่นด้วยกัน เมื่อมีเรื่องหรือเกิดเรื่องขึ้น เราก็จะโดนลงโทษด้วยกันเสมอ ถึงแม้พี่ชายบางครั้งจะสั่งให้ทำอะไรก็ตาม น้องน้อยก็ไม่เคยฟ้องว่าพี่ชายสั่งเลยสักครั้ง น้องน้อยเป็นเด็กที่กล้าที่จะเล่นกับพี่ชายด้วยความรักและซื่อสัตย์ ไม่เคยเอาเปรียบในพี่น้องเลย

    มีอีกช่วงหนึ่งที่พี่พอจะจำได้และสนุกมาก คือ ช่วงตอนที่พวกเราได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมพ่อ-สมเด็จแม่ ไปต่างประเทศ พวกเราได้เห็นอะไรหลายสิ่งหลายอย่าง ได้ฝึกหัดเล่นกีฬาของฝรั่งหลายประเภท แต่ความที่บุคลิกของน้องน้อยเป็นเด็กฉลาดและว่องไวมาแต่เล็กๆ มีอยู่ครั้ง เราไปเล่นสเกตกัน มีครูฝรั่งสอน น้องน้อยจะเป็นก่อนใครเพื่อน และเล่นได้ดีจนแซงพวกพี่ๆ และครูที่กำลังสอนอยู่ เพียงเรียนแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น จนฝรั่งให้สมญานามว่า “สลาตัน” เพราะทำอะไรจะเร็วมาก วิ่งขึ้นวิ่งลงเร็วไปหมด เห็นต้นไม้ก็ปีนต้นไม้ ทำอะไรว่องไวมากและกล้า เป็นเด็กที่กล้าเสี่ยง

    อย่างตอนที่เราอยู่ที่ประเทศสวิส ทูลกระหม่อมพ่อ-สมเด็จแม่เสด็จออกไปทรงงาน พวกเราก็แอบไปปีนต้นแอปเปิลกัน เพราะที่สวิสเขาจัดให้พวกเราพักตำหนักที่มีสวนสนามเหมือนป่า มีผลไม้น่าทานมาก ทำให้เด็กอย่างเราทั้งสองเกิดความสนุก จึงปีนขึ้นไปขโมยแอปเปิลมาแอบทานกันที่ข้างๆ ต้นไม้ แต่ในช่วงนั้น พอน้องน้อยได้กัดแอปเปิลเข้าไปคำแรก ฟันน้ำนมของน้องน้อยที่กำลังผลิของใหม่ก็ได้หลุดติดออกมากับแอปเปิล ทำให้เราสองคนหัวเราะและขำกันมาก แต่น้องน้อยก็ไม่ร้องไห้ กลับเป็นเรื่องที่สนุก และฟันหลออยู่นาน (ถ้าพวกเราสังเกตให้ดีๆ ภาพตอนทรงพระเยาว์ของน้องน้อย ส่วนใหญ่ฟันจะหลอ)



    559000010750504.JPE

    ภาพจากหนังสือ ปิยชาติสยามบรมราชกุมารี "ดาวประจำเมือง" และภาพจากแฟ้มภาพ ทรัพยากรกลุ่มงานแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ

    ถ้ายิ่งมีช่างภาพสื่อมวลชนทั้งไทยหรือต่างชาติ ขอมาฉายพระรูปครอบครัว เราสองคนก็จะเป็นตัวที่ทำอะไรให้มันยุ่งไปหมด ทำให้ถ่ายไม่เสร็จ (ทำหน้าทำตา) จนผู้ที่มาฉายพระรูปปวดหัวกันไปหมด พอตอนหลังเวลาฉายพระรูป จึงจะเห็นบ่อยๆ ที่สมเด็จแม่ต้องคอยจับพวกเราไว้ให้นิ่งๆ ด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง พี่ชายข้าง น้องน้อยข้าง เสมอ กันช่างภาพเป็นลมและพระองค์ท่านด้วย

    พอช่วงหลัง เมื่อพี่ชายต้องจากทุกคนไปเรียนเมืองนอก เราก็เริ่มห่างกัน แต่น้องน้อยก็ยังเขียนจดหมายถึงพี่ชายสม่ำเสมอ และยังคอยดูแลของให้พี่ชายที่อยู่เมืองไทยอีกด้วย

    ความทรงจำของพี่ที่นึกถึงน้องน้อยนี้ อาจจะเป็นบางส่วน บางเสี้ยวในชีวิตของเราเมื่อเด็กๆ แต่ความดี ความน่ารักของน้องน้อยที่มีต่อพี่น้อง และที่พี่จำได้ดีเสมอ คือ น้องน้อยมีน้ำใจกับพี่น้อง เป็นเด็กดี ฉลาด ร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ปฏิบัติร่วมกันเสมอ ไม่เคยหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ไม่เคยทำให้ใคร หรือผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เคยฟ้อง ไม่เคยแก้ตัว และเมื่อมีอะไรก็จะหันซ้าย-หันขวานึกถึงพี่น้องก่อนเสมอ

    ในโอกาสที่น้องน้อยครบ 3 รอบในครั้งนี้ พี่ขอมีส่วนร่วมกับประชาชนชาวไทย ส่งความรักมายังน้องน้อยที่ดีและน่ารักของพี่ ขอให้น้องน้อยจงเป็นที่รักเคารพของประชาชนตลอดไป และมีกำลังกาย กำลังใจที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติ เป็นมิ่งขวัญของประชาชนตลอดไป

    จากพี่ชายที่รักน้องเสมอมา

    “พี่ชาย”
    ๒ เม.ย. ๓๔



    เรียบเรียงโดย

    บุญชัย ธนะไพรินทร์ : สำนักข่าวทีนิวส์



    -------------------
    ที่มา
    http://www.tnews.co.th/contents/307941
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    tnews_1487916300_1230.jpg
    ท้อได้แต่อย่าถอย!!! เห็น "สมเด็จพระเทพฯ" ทรงงานหนักแต่พระพักต์ยิ้มแย้มสดชื่น พวกเราก็มีความสุข พร้อมกำลังใจที่จะก้าวเดินต่อ (ชมภาพชุด)

    เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจยังโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน ปางมะหัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีนายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการ กปร.เฝ้า ฯ รับเสด็จในครั้งนี้ด้วย #PRสำนักงานกปร

    1-1(19).jpg

    1-2(18).jpg

    1-3(17).jpg

    1-4(12).jpg

    1-5(8).jpg




    1-6(5).jpg

    1-7(5).jpg

    1-8(7).jpg

    1-9(5).jpg

    1-10(3).jpg



    1-11(4).jpg

    1-12(4).jpg

    1-13(4).jpg

    1-14(3).jpg

    1-15(4).jpg

    1-16(3).jpg

    1-17(3).jpg

    1-18(2).jpg


    -------------------------------

    Cr : นายช่างภาพ สำนักงาน กปร.

    ภัทราพร วโรภาสพิมาน สำนักข่าวทีนิวส์





    --------------

    ที่มา
    http://www.tnews.co.th/contents/bg/302717
     
  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    tnews_1491102408_6349.jpg
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงบาตรพระสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงบาตรพระสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2560 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2560

    17758501_1134114613367259_9019272681837171940_o.jpg

    ภาพจาก : IG_chitpas



    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์

    B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C_.jpg

    พระราชพิธีสถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์




    การศึกษา

    8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-2.jpg
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพุทธศักราช ๒๕๒๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสมัครเข้าศึกษาต่อ ระดับมหาบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกันทั้งสองแห่ง ทรงสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีการศึกษา ๒๕๒๒ หลังจากนั้น ทรงสำเร็จการศึกษา อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี - สันสกฤต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีการศึกษา ๒๕๒๔ ต่อมา ด้วยความสนพระทัยงานด้านการพัฒนา โดยอาศัยหลักวิชาการศึกษา หรือการเรียนรู้เป็นแกน จึงทรงสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทรงสำเร็จการศึกษา และรับพระราชทานปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ในปีการศึกษา ๒๕๒๙
    พระราชกิจ

    17630049_1471512642893802_6564624751828709377_n(2).jpg
    นอกเหนือจากพระราชภารกิจในหน้าที่ราชการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ครอบคลุมงานสำคัญ ๆ อันเป็นประโยชน์หลักของบ้านเมือง เกือบทุกด้าน และทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจที่ทรงสืบสาน ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ มอบหมาย



    พระอัจฉริยภาพ
    17523605_1133562563422464_4905902156794085640_n.jpg
    ด้านภาษา



    พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีน และทรงกำลังศึกษาภาษาเยอรมันและภาษาละตินอีกด้วย ขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสอนภาษาไทยแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา โดยทรงอ่านวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ พระราชทาน และทรงให้พระองค์ทรงคัดบทกลอนต่าง ๆ หลายตอน ทำให้พระองค์โปรดวิชาภาษาไทยตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ยังทรงสนพระทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย

    เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาไทยนั้น พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งด้านหลักภาษา วรรณคดี และศิลปะไทย เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจำการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้ และเข้าพระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้ นอกจากนี้ ยังทรงเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสแทนการเรียนเปียโน เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่มีอยู่ในตู้หนังสือมากกว่าการซ้อมเปียโน

    เมื่อทรงเข้าศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น พระองค์ทรงเลือกเรียนสาขาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอก และวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตเป็นวิชาโท ทำให้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยในระดับชั้นสูงและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นทั้งด้านภาษาและวรรณคดี ส่วนภาษาบาลีและสันสกฤตนั้น ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบดั้งเดิมของไทย คือ แบบที่เรียนกันในพระอารามต่าง ๆ และแบบภาษาศาสตร์ซึ่งเป็นวิธีการตะวันตก ตั้งแต่ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง และเรียนตามวิธีการอินเดียโบราณเป็นพิเศษในระดับปริญญาโท ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้ส่งศาสตราจารย์ ดร. สัตยพรต ศาสตรี มาถวายพระอักษรภาษาสันสกฤต โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทของพระองค์ เรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท นั้น ยังได้รับการยกย่องจากมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า เป็นวิทยานิพนธ์ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถ ในภาษาบาลีพุทธวจนะเป็นพิเศษ

    พระปรีชาสามารถทางด้านภาษาของพระองค์นั้นเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับการทูลเกล้าถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัยบักกิงแฮม สหราชอาณาจักร เป็นต้น



    ด้านดนตรี

    T0010_0002_01.jpg
    พระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง โดยทรงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทย ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก และได้ทรงดนตรีไทยในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียน รวมทั้ง งานวันคืนสู่เหย้าร่วมกับวงดนตรีจิตรลดาของโรงเรียนจิตรลดาด้วย หลังจากที่ทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมรสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะอักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลัก และทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่น ๆ ด้วย

    ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เครื่องดนตรีที่ทรงสนพระทัยนั้น ได้แก่ ระนาดเอกและซอสามสาย[18] ซึ่งพระองค์ทรงเริ่มเรียนระนาดเอกอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2528 หลังจากการเสด็จทรงดนตรีไทย ณ บ้านปลายเนิน ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยมี สิริชัยชาญ พักจำรูญ เป็นอาจารย์ผู้ถวายการสอน พระองค์ทรงเริ่มเรียนตั้งแต่การจับไม้ระนาด การตีระนาดแบบต่าง ๆ และท่าที่ประทับขณะทรงระนาด และทรงเริ่มเรียนการตีระนาดตามแบบแผนโบราณ กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยเพลงต้นเพลงฉิ่งสามชั้น แล้วจึงทรงต่อเพลงอื่น ๆ ตามมา ทรงทำการบ้านด้วยการไล่ระนาดทุกเช้า หลังจากบรรทมตื่นภายในห้องพระบรรทม จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 พระองค์จึงทรงบรรเลงระนาดเอกร่วมกับครูอาวุโสของวงการดนตรีไทยหลายท่านต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 17 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเพลงที่ทรงบรรเลง คือ เพลงนกขมิ้น (เถา)

    ในด้านการขับร้อง พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในด้านการขับร้องเพลงไทย โดยทรงเริ่มฝึกหัดการขับร้องด้วยพระองค์เองเมื่อครั้งยังทรงศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนจิตรลดา ทรงเริ่มต้นเรียนการขับร้องกับ เจริญใจ สุนทรวาทิน อาจารย์ประจำชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องเพลงไทยสำหรับพระราชทานให้แก่สถาบันการศึกษาและวงดนตรีไทยเพื่อนำไปบรรเลงและขับร้องเนื่องในโอกาสต่าง ๆ

    นอกจากดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา แต่ได้ทรงเลิกเรียนหลังจากนั้น 2 ปี และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสามารถทรงทรัมเปตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต





    ด้านพระราชนิพนธ์

    พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีหลายหลากประเภททั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เช่น เกล็ดหิมะในสายหมอก ทัศนะจากอินเดีย มนต์รักทะเลใต้ ประเภทวิชาการและประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กษัตริยานุสรณ์ หนังสือสำหรับเยาวชน เช่น แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย เช่น สมเด็จแม่กับการศึกษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกับพระราชกรณียกิจพระราชจริยาวัตรด้านการศึกษา ประเภทพระราชนิพนธ์แปล เช่น หยกใสร่ายคำ ความคิดคำนึง เก็จแก้วประกายกวี และหนังสือทั่วไป เช่น นิทานเรื่องเกาะ (เรื่องนี้ไม่มีคติ) เรื่องของคนแขนหัก เป็นต้น และมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ นอกจากจะแสดงพระอารมณ์ขันแล้ว ยังทรงแสดงการวิพากษ์ วิจารณ์ในแง่ต่าง ๆ เป็นการแสดงพระมติส่วนพระองค์

    นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว พระองค์ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่

    "ก้อนหินก้อนกรวด" เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึง พระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็น ก้อนหิน หมายถึง พระองค์เอง ส่วนก้อนกรวด หมายถึง กุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เราตัวโตเลยใช้ว่า ก้อนหิน หวานตัวเล็ก เลยใช้ว่า ก้อนกรวด รวมกันจึงเป็น ก้อนหิน-ก้อนกรวด” นามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียวตอนประพันธ์บทความ "เรื่องจากเมืองอิสราเอล" เมื่อปี พ.ศ. 2520

    Cover_kaewjomson.jpg

    "แว่นแก้ว" เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ชื่อแว่นแก้ว นี้ตั้งเอง เพราะตอนเด็ก ๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ แว่นแก้ว" พระนามแฝง แว่นแก้วนี้ พระองค์เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน



    "หนูน้อย" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า หนูน้อย" โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2523

    17523675_1471513146227085_6584056360607595690_n(1).jpg


    เรียบเรียงโดย

    ภัทราพร วโรภาสพิมาน : สำนักข่าวทีนิวส์


    ------------
    http://www.tnews.co.th/contents/307954

     

แชร์หน้านี้

Loading...