อุเบกขา... หรือ...ใจดำ..??

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พงษ์ญาดา, 20 กันยายน 2010.

  1. พงษ์ญาดา

    พงษ์ญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2009
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +1,871
    อุเบกขา .... หรือ.... ใจดำ

    <EMBED height=375 type=application/x-shockwave-flash width=500 src=http://img443.imageshack.us/img443/3476/k118.swf wmode="transparent" allowscriptaccess="never"></EMBED>

    [​IMG]
    ประมาณหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้รับรู้ข่าวจากเพื่อนบ้าน ว่าลูกชายของเขา ซึ่งอายุประมาณ 12-13 ปี ไม่สบาย เรากับเพื่อนก็ไปเยี่ยม ตอนนั้นหมอบอกว่าเป็น "น้ำท่วมปอด" และก็สงสัยว่าอาจจะเป็นวัณโรค ก็เลยแยกให้พักห้องคนเดียวเพราะกลัวว่าจะไปแพร่เชื้อให้คนไข้รายอื่น เรากับเพื่อนไปเยี่ยม พยาบาลก็ยังไม่อยากให้เข้า พยาบาลบอกให้บอกให้พ่อของเด็กออกมาคุยนอกห้องจะดีกว่า สงสัยกลัวเรากับเพื่อนจะติดมั้ง

    พ่อของเด็กก็ออกมาคุยกับเรานอกห้อง แต่ดูสีหน้าจะไม่ค่อยดีเท่าไร พ่อของเด็กเค้าวิตกกังวลว่าลูกของเขาจะอาการหนัก เราก็ช่วยกันปลอบว่าอย่าคิดมาก เพราะวัณโรค รักษาหายเพียงแต่ต้องใช้เวลาหลายเดือนเท่านั้นเอง แต่พ่อของเด็กก็บอกว่า กังวลเพราะที่คอของลูกเขามีก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นมา ช่วงก่อนหน้านี้ไม่มี แล้วเขาก็กลัวเพราะว่าญาติ เขาเป็น " มะเร็ง" ตายมาหลายรายแล้ว

    เราก็ได้แต่ปลอบว่าอย่าคิดมาก อาจจะไม่ร้ายแรงก็ได้

    หลังจากนั้นสองสามวัน ก็ได้ข่าวว่า หมอบอกว่าลูกของเขาเป็น "มะเร็งปอด" อาจอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน ทำให้เรากับเพื่อนรู้สึกสงสารน้องเขามาก เพราะว่าตอนที่น้องเขาอายุได้ประมาณ 7-8 ขวบ เขาก็ถูกรถชน ทำให้ต้อง "ผ่าตัดสมอง" มาแล้ว ไม่รู้ว่าไปทำเวรกรรมอะไรมากมายถึงได้เจอแต่เรื่องร้ายๆ แบบนี้

    เรากับเพื่อนก็คุยกันว่า ถ้าเราเสนอแนะให้พ่อของเด็กไปบวช เพื่อแผ่เมตตาให้แก่ลูกของเขา ลูกของเขาจะได้รับอานิสงส์หรือเปล่า เพื่อนเราก็บอกว่าถ้าพ่อของเด็กไปบวช แต่ไม่ได้เกิดความศรัทธาในการบวช แล้วก็คงไม่ได้ผลอะไร เพราะทำไปเพราะมีคนมาบอก

    เราก็เลยส่งอีเมลไปถาม คุณฐิติขวัญ เพื่อให้สอบถามไปยัง ดร.สนอง วรอุไร คุณฐิติขวัญ ก็เมตตา ตอบอีเมลกลับมา รวมความแล้ว ประมาณว่า ให้เรารู้จักอุเบกขา คือให้วางเฉยบ้าง คนเราไม่สามารถที่จะไปแก้กรรมใด ๆได้ ถึงพ่อเด็กจะบวชให้ลูก แต่ถ้าเจ้ากรรมนายเวรของลูกไม่อโหสิกรรมให้ก็ไม่เกิดผลใดๆ

    ทำให้เราปลงตกกับชีวิตมากขึ้น "ตัวเรา" ไม่ใช่ของเรา สุดท้ายก็เอาอะไรไปไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้นต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุด เหมือนว่าวันนี้จะเป็น "วันสุดท้าย" ของเรา จะได้ไม่ต้องเสียใจเมื่อจะจากโลกนี้ไป


    [​IMG]

    เรื่องการปล่อยวางนั้น มีคำโต้เถียงกันมากมาย บ้างว่าคนที่ปล่อยวาง มองดูคนที่ตกทุกข์ได้ยากนั้น
    เป็นคนใจดำ บ้างก็ว่า คนที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ไม่รู้จักปล่อยวางนั้น เป็นคนที่แส่ ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น
    จากประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมของปอป้า เห็นว่า หลาย ๆ คนไม่เข้าใจคำว่า “ อุเบกขา “ หรือการปล่อยวาง วันนี้ก็เลยขอนำเรื่องนี้มาเขียนให้อ่านกัน..นะคะ

    คำว่า “ อุเบกขา “ ภาษาบาลีเขียนว่า อุเปกขา ส่วนภาษาสันสกฤตเขียนว่า อุเปกษา แปลว่า การวางเฉย การวางใจเป็นกลาง

    ส่วนความหมายของ “ อุเบกขา “ คือ การวางเฉยแบบวางใจให้เป็นกลาง ไม่โอนเอียงเข้าข้างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น เพราะชัง เพราะรัก เพราะกลัว เพราะหลง เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนที่มีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ดีใจเสียใจจนเกินเหตุ กล่าวคือ มีพรหมวิหารสี่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา นั่นเอง

    “ อุเบกขา “ ต่างกับ “ เมินเฉย “..นะคะ ถ้าไม่พิจารณาดูให้ดี จะเห็นว่ามีอาการคล้ายกันมาก แต่การเมินเฉย หมายถึงอาการไม่แยแส ไม่คิดอยากให้ใครเป็นสุขหรือพ้นทุกข์ ไม่ให้ความสนใจ แม้จะได้รับการร้องขอความช่วยเหลือ ทั้ง ๆ ที่สามารถช่วยได้ เรียกว่าใครจะทุกข์จะสุขอย่างไร ฉันไม่สนใจ แม้ว่าจะช่วยได้ก็ไม่คิดช่วย อันนี้ต้องดูให้ดี แยกแยะให้ออกว่าเป็นอุเบกขา หรือเมินเฉย

    คำว่า วางเฉย นิ่งเฉย เฉยเมย หรือ อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่ทำอะไร ในภาษาบาลีใช้คำว่า ตุณฺหี (อ่านว่า ตุณฮี) หรือ ตุณฺหีภาวะ ทั้งสองคำนี้ แปลว่า นิ่งเฉย วางเฉย เฉยเมย หรือ อยู่นิ่ง ๆ

    ในความเป็นจริง อารมณ์กลาง ๆ ไม่ยินดียินร้ายนั้น มีอยู่ในตัวของเราเป็นปกติอยู่แล้ว คือเมื่อประสบอารมณ์อันทำให้ยินดี ก็รู้สึกยินดี เมื่อประสบอารมณ์ทำให้ยินร้าย ก็ยินร้าย ต่อเมื่อประสบอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ก็เกิดความรู้สึกกลาง ๆ เฉย ๆ อารมณ์เหล่านี้ถือเป็นปกติ ไม่ได้เป็นธรรมปฏิบัติ ถ้าจะเป็นธรรมปฏิบัติได้นั้น ต้องหมายถึงการวางเฉยได้ด้วยความรู้ คือรู้และเข้าใจ แล้วก็วางเฉย การที่จะรู้แล้ววางเฉยได้นั้น ต้องปฏิบัติทำจิตใจให้เกิดการวางเฉยขึ้น และการวางเฉยด้วยความรู้นี้ก็เป็นอาการของจิตที่มีความทนทาน รู้แล้ววางเฉยได้ เป็นอาการของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาเพ่งพิจารณารู้เรื่องที่เป็นไป รู้ด้วยปัญญา ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติที่เรียกว่า “ โยนิโสมนสิการ “ คือทำไว้ในใจโดยแยบคาย พิจารณาให้เห็นเหตุและผล เห็นถึงสัจจะคือความเป็นจริง นี่ถือเป็นข้อปฏิบัติให้เกิดอุเบกขาอันเป็นจุดมุ่งหมายในทางธรรมปฏิบัติ

    สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรฯ ทรงวิสัชนาไว้ว่า... " อุเบกขา คือ ภาวะของจิตที่มีอาการเป็นกลาง เห็นเสมอกันในสัตว์ บุคคลทั้งหลาย ในคราวทั้งสอง คือในคราวประสบสมบัติ และในคราวประสบวิบัติ ไม่ยินดียินร้าย มองเห็นว่าทุก ๆ คนมีกรรมที่ทำไว้เป็นของของตน จะมีสุข จะพ้นจากทุกข์ จะไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้ ก็เพราะกรรม จึงวางเฉยได้ คือวาง ได้แก่ ไม่ยึดถือไว้ วางลงได้ เฉย คือไม่จัดแจงวุ่นวาย ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือตามกำหนดของกรรม......อุเบกขานี้เป็นพรหมวิหารธรรมเป็นข้อสุดท้ายจาก เมตตา กรุณา มุทิตา ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธีอบรมคือ ระมัดระวังใจมิให้ขึ้นลง ด้วยความยินดียินร้าย ทั้งในคราวประสบสมบัติ ทั้งในคราวประสบวิบัติ เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็พยายามระงับใจ หัดคิดถึงกรรมและผลของกรรม หัดคิดวางลงไปให้แก่กรรม เหมือนอย่างให้กรรมรับผิดชอบเอาไปเสีย...."





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    [​IMG]

    บางคนรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นเพื่อนร่วมโลก หรือคนใกล้ชิดของตัวเองต้องประสบทุกข์ อยากเข้าไปช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถจะคิด จะทำ ให้ความช่วยเหลือเขาได้ คิดมากจนสุดท้าย ตัวเองต้องแบกความทุกข์ตามเขาไปด้วย ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคนที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนทางด้านจิตใจหรือเข้าใจหลักพระธรรมดีพอ แต่ถ้าหากเรามีความเข้าใจในพระธรรม เราจะรู้ว่า ถ้าเราช่วยเขาไม่ได้ นั่นเป็นเพราะกรรมของเขาเองที่ต้องชดใช้ เหลือวิสัยที่เราจะเข้าไปช่วยได้ แล้ววางใจลง ไม่นำมาเป็นทุกข์ใส่ตัว เพราะเห็นแล้วว่า นั่นคือกรรมของเขา อย่างนี้เรียกว่า อุเบกขา

    แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราเห็นว่าเพื่อนเราหรือใครก็ตามที่กำลังจะจมน้ำตาย เราว่ายน้ำได้ แต่ไม่คิดลงไปช่วยเหลือเขา กลับยืนมองเฉยอยู่ ไม่คิดแม้แต่จะเรียกให้ใคร ๆ มาร่วมมือกันช่วยชีวิตเขา แล้วบอกว่านี้คืออุเบกขา อย่างนี้ไม่ใช่ ไม่ถูกต้องแล้ว อันนี้ถือเป็นการเฉยเมย ไม่ใช่อุเบกขา แต่ถ้าเราลงไปช่วยแล้ว ไม่สามารถช่วยได้ทัน เขาต้องมาตายไปต่อหน้าต่อตาเรา เราก็ต้องวางใจลง เพราะนั่นคือกรรมของเขา ช่วยแล้ว แต่ไม่สามารถรอดได้ ก็ไม่ต้องไปเก็บมาเป็นทุกข์ใจ ลงโทษตัวเองว่า ช่วยเขาไม่ได้ ช่วยเขาไม่ทัน ถ้าหากเราวางใจได้เช่นนั้น นั่นคืออุเบกขา

    เคยไหมคะ..ที่เวลาเพื่อนมีปัญหา เราพยายามช่วยหาวิธีแก้ไขให้ วิธีการของเราก็พ้องกับความคิดของคนอื่น ซึ่งคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว แต่เพื่อนของเราก็ไม่สามารถทำได้สักที เช่นเรื่องของความรัก ทำอย่างไรเพื่อนของเราก็ตัดใจจากคนรักไม่ได้สักที อยู่ด้วยกันไป คบกันไป เพื่อนเรามีแต่เศร้าเสียใจอยู่ตลอดเวลา แต่เพื่อนของเราก็ไม่สามารถตัดใจเลิกกับแฟนได้สักที เป็นต้น ตัวอย่างเช่นนี้ เราก็คงต้องทำใจว่ามันเป็นกรรมของเพื่อนเรากับแฟนของเขาแล้วล่ะ สิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะทำได้ก็คือ ยืนอยู่ข้าง ๆ เพื่อนของเรา คอยให้กำลังใจ ประคับประคอง ไม่ให้เพื่อนเดินทางผิด เราไม่ทอดทิ้งเพื่อน แต่เราต้องวางใจว่ามันเป็นกรรมของเพื่อนเราเอง แต่ถ้าเรากลับไปโมโหใส่เพื่อน ต่อว่าเพื่อน เดินหนีออกจากเพื่อน อย่างนี้ถือว่าเราใจร้ายเกินไป อย่าลืมว่า สรรพสัตว์ในโลกนี้ ล้วนมีกรรมเป็นของตัวเอง เกิดแต่กรรม อยู่ด้วยกรรม และเป็นไปด้วยกรรมกันทั้งสิ้น ไม่เว้นเรา-เขา ต่างคนต่างมีกรรม ช่วยเขาแล้ว เขาไม่สามารถพ้นบ่วงกรรมได้ ก็ต้องรู้จักวางใจให้เป็นกลาง อย่านำทุกข์เขามาเพิ่มทุกข์ให้ตัวเรา ทำให้ตัวเองจิตตก เศร้าหมอง อย่างนี้ถือว่าไม่ถูก

    เมื่อพูดถึงเรื่องอุเบกขาแล้ว เราขยับเข้าใกล้พระธรรมกันอีกสักนิด ถือว่าเป็นธรรมปฏิบัติอย่างหนึ่งของผู้ที่ฝักใฝ่ในการปฏิบัติให้ถูกต้องพึงรู้ไว้ ในพระสุตตันตปิฎกกล่าวไว้ว่า อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ

    ๑. ฉฬงคุเปกขา คือ ความเพิกเฉยในอารมณ์ทั้ง ๖ ที่ผ่านทวารหรืออายตนะทั้ง ๖ เช่น ตาเห็นรูป รู้ว่าเป็นรูปแล้วก็วางเฉยเสีย หูได้ยินเสียง รู้ว่าเป็นเสียงอะไร แล้วก็วางเฉยเสีย

    ๒. พรหมวิหารุเปกขา คือ การวางเฉยในพรหมวิหารสี่ เช่น มีเมตตาแล้ว กรุณาแล้ว มุทิตาแล้ว แต่ไม่สามารถช่วยอะไรเขาได้ ก็ต้องวางใจเป็นกลางเสีย ปลงใจเสียว่า นั่นเป็นเพราะกรรมของเขา โดยเว้นเสียซึ่งอคติ ๔ ไม่ลำเอียง เพราะรัก เพราะเกลียด เพราะกลัว หรือเพราะหลง

    ๓. โพชฌงคุเปกขา คือความเป็นกลางในธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งอิงวิราคะ วิเวก อันเป็นธรรมที่สูงพอสมควร (วิราคะ หมายถึง ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ใยดี, พระนิพพาน ส่วนวิเวก หมายถึง เงียบสงัดทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ, เงียบสงัดทำให้รู้สึกวังเวงใจ)

    ๔. วิริยุเปกขา คือวางใจเป็นกลางในการทำความเพียร เดินด้วยสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป

    ๕. สังขารุเปกขา คือความเป็นกลางในการพิจารณา ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์ ๕

    ๖. เวทนูเปกขา คือการวางใจอุเบกขาท่ามกลางระหว่างสุขและทุกข์ คือ อทุกขมสุขเวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข

    ๗. วิปัสสนูเปกขา คืออุเบกขาในวิปัสสนา โดยพิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ๘. ตัตตรมัชฌัตตุเปกขา ข้อนี้ถือเป็นอุเบกขาในเจตสิก (อารมณ์ที่เกิดกับใจ เป็นไปในจิต เช่นสุข หรือทุกข์ที่เกิดในจิต)

    ๙. ฌานุเปกขา คือการวางเฉยต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นในฌาน ไม่ตกไปฝ่ายข้าศึกหรือสุขแห่งตน

    ๑๐. ปาริสุทธุเปกขา คือความขวนขวายในการระงับข้าศึก หรือซึ่งบริสุทธิ์จากข้าศึกทั้งปวง คือ อุเบกขาในความบริสุทธิ์

    เรื่องของการวางเฉยนี้ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงกล่าวไว้ว่าการวางเฉยด้วยปัญญาเป็นการวางเฉยอย่างถูกวิธี การฝึกหัดปฏิบัติตนจึงจำเป็นและมีประโยชน์ต่อทุกคน เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับบรรเทา หรือแก้ไขปัญหาชีวิตได้ในระดับหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะได้ศึกษา และหัดปฏิบัติ

    [​IMG]

    [​IMG]

    อุเบกขา เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้ยาก หากไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน แม้แต่ผู้ที่ฝึกฝนอยู่ บางครั้งก็อาจจะวางใจเฉยกับปัญหาที่อยู่ข้างหน้าแทบจะไม่ได้ เพราะจิตมันมักจะต่อต้าน ค้านกันอยู่เสมอ ระหว่างการวางเฉย กับเฉยเมย ปอป้ามีเรื่องจริงเล่าให้อ่าน..ค่ะ

    คุณแม่คนหนึ่ง มีลูกชายคนเดียว เธอเป็นคนดีมีศีลธรรม ทำมาหากินด้วยสัมมาอาชีพ เป็นแม่ที่รักลูกมาก พยายามสอนลูกให้เป็นคนดี อยู่ในศีลในธรรม ลูกก็เจริญเติบโตมาตามลำดับ เกเรบ้าง ดื้อบ้างตามวัยของเขาในแต่ละช่วง แต่ลูกก็ไม่เคยสร้างปัญหาหนัก ๆ ให้กับผู้เป็นแม่เลย อยู่มาวันหนึ่งลูกกินยาเพื่อฆ่าตัวตาย ผู้เป็นแม่รู้สึกเสียใจเศร้าใจเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความที่เป็นคนมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา เธอเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างกล้าหาญ จัดการแก้ไขปัญหาตามขั้นตอนที่คิดว่าถูกต้องแล้ว ดีที่สุดแล้ว ลูกชายของเธอผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้ เธอพาลูกไปรักษากับจิตแพทย์ที่ลงความเห็นว่า ลูกของเธอมีปัญหาทางด้านสภาวะจิต เธอให้ความรัก ความเมตตาต่อลูก พยายามพร่ำสอนให้ลูกมีจิตใจที่เข้มแข็ง เข้าใจสัจจะธรรมและพระสัทธรรม

    เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ของเธอและจิตแพทย์ ลูกชายของเธอเกือบจะหายเป็นปกติ แต่แล้ววันหนึ่ง ลูกของเธอก็กินยาเพื่อฆ่าตัวตายอีก ในเหตุการณ์ครั้งที่สองที่เธอต้องยืนดูลูกนอนดิ้นทุรนทุรายขณะที่หมอและพยาบาลช่วยกันล้างท้องให้ลูกของเธอนั้น เธอเกิดสภาวะอย่างหนึ่งขึ้นในใจ มีคำพูดเกิดขึ้นในจิตของเธอ คือ ลูกเอ๋ย ถ้าโลกนี้มันโหดร้ายมากนัก ลูกอยากไป ก็ขอให้ลูกไปอย่างสงบเถิด เอาบุญกุศลที่แม่ปฏิบัติสะสมมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ติดตัวไปนะลูก เธอเล่าว่า ณ เวลานั้น เธอไม่ได้เกิดความรู้สึกเศร้าสะเทือนใจ เสียใจ เหมือนครั้งแรก ความรู้สึกมันเหมือนกับปลง คล้าย ๆ กับว่างเปล่า แต่ไม่อ้างว้าง มองเห็นว่าลูกมีกรรมที่ต้องชดใช้ด้วยตัวของเขาเอง เธอไม่สามารถจะเข้าไปช่วยได้ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม เพราะที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ เธอได้ช่วยเขามามากแล้ว ช่วยทุกวิถีทางแล้ว แต่เขาก็เลือกที่จะฆ่าตัวตายอีก เธอมาถามปอป้าว่า เธอเป็นแม่ที่ใจดำหรือเปล่า..??...

    แล้วเพื่อน ๆ คิดว่าอย่างไร...คะ..อุเบกขา หรือ ใจดำ..??

    [​IMG]


    //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=prommayanee&month
    =09-2010&date=18&group=3&gblog=48 by พรหมญาณี .... ปอป้า
    ขอบคุณ พระไดบุทสึ จาก ก๋าเคน-นิชคุณ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กันยายน 2010
  2. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    พรหมวิหารุเปกขา ธรรม 4 ประการ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เกี่ยวเนื่องกัน อารมณ์สัมพันธ์กันอยู่ คนละเรื่องกับใจดํา อนุโมทนาครับ
     
  3. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    ถ้าในความเห็นเราคือ อุเบกขา จะเกิดเมื่อเราได้พยายามทำสิ่งนั้นแล้วแต่มันไม่สำเร้จ ค่อยอุเบกขา ปล่อยวางแล้วบอกว่าไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
    ใจดำคือ ไม่สนใจอะไรเลย ตั้งแต่ต้น..ตอนนี้เราก็พยายามทำบางอย่างเพื่อช่วยคน แม้เราอาจต้องรับกรรมนั้น แต่เราก็นั่งปฎิบัติแผ่เมตตาให้เขาไป แต่สุดท้าย ถ้าเราช่วยไม่สำเร็จ เราต้องอุเบกขา แน่นอน ...
     
  4. คนวิเชียร

    คนวิเชียร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +1,298
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ ครับ อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้ สาธุ
     
  5. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    พระรัตนตรัย ท่านวางอุเบกขา จากกิเลส แต่คุณแห่งพระรัตนตรัยไม่เคยจางหายไปไหน มีพระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ แผ่ออกมาอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้สูญหายไปไหน ความจริงย่อมเป็นความจริง เฮ็ดจริง ทำจริง ย่อมได้ผลจริง
     
  6. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    อนุโมทนาค่ะ.
    ขออนุญาติตอบตามความคิดของดิฉันน๊ะค่ะ เพราะเคยเป็นห่วงลูกชายเหมือนกันตอนที่เกิดอุบัติเหตุรถชนกันใหม่ ๆ คือห้ามแล้วและไม่รู้จะห้ามยังไงแต่เขาก็ต้องใช้รถทุกวันจนกระทั่งวันนึงคิดหนัก ๆเข้าก็พลันได้คิดถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องการปล่อยวาง ฉะนั้นเรื่องนี้จึงได้เข้าใจเธอค่ะว่าเธอไม่ได้ใจดำเพราะเธอเลือกที่จะเอาคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาใช้เหมือนกัน:VO
     
  7. Reynolds

    Reynolds เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +1,501
    โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าควรช่วยให้ถึงที่สุดก่อนอะไรที่พอจะทำได้ก็ควรทำ โดยเฉพาะลูกด้วย ใครจะมาวางอุเบกขาได้ง่ายๆ ในขณะที่คิดว่ายังมีหนทางแม้ริบหรี่ก็ตามก็ต้องทำเพื่อว่าหนทางริบรี้นั้นจะเปิดกว้างมากขึ้น คนเป็นพ่อเป็นแม่เค้าต้อาทุกวิถีทางเพื่อลูกอยู่แล้วครับ แต่เมื่อช่วยจนสุดทางแล้ว ไม่มีหนทางใดจะทำ ก็ค่อยวางอุเบกขา ค่อยเข้าใจคามเป็นไปของโลก แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ลูกครับ คนเราเป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา ใครก็ต้องรักลูกเป็นธรรมดาครับ
     
  8. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
    ยึดหลักคำสอนขององค์พระพุทธเจ้าท่านฯ ตามที่ทรงบัญญัติไว้

    นำไปปฏิบัติแบบง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องไปเครียดแล้วก็คิดมากครับ

    เมตตา

    กรุณา

    มุทิตา

    อุเบกขา ก็คือ วางเฉย

    ไม่ใช่ว่าใจดำ ใจไม้ไส้ระกำ ในเมื่อช่วยอะไรเขาไม่ได้ ก็ต้องวางเฉย

    แบบครูบาอาจารย์ หลวงปู่ หลวงตา ท่านสอนไว้

    "มันเป็นบาปเป็นกรรมของเขา เราก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้"

    "ใครทำอะไร ก็ได้อย่างงั้น"

    "ไม่ว่าใครก็ตามแต่ หรือแม้กระทั่งพระองค์ไหนๆ ก็ไม่สามารถรับบาป รับเสนียดจัญไรของ คนๆ นั้นได้"

    "เพราะมันเป็นกรรมเก่าของ คนๆ นั้น ไม่มีใครช่วยได้"
     
  9. วรรณนรี05

    วรรณนรี05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +903
    เมตตา หมายถึง มีความหวังดีต่อผู้อื่นเป็นที่ตั้ง เป็นความรู้สึกที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว


    กรุณา ความสงสารคิดช่วยผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ มี ความหวั่นไหว ไม่สบายใจเมื่อเห็น

    ผู้อื่นได้รับความลำบาก

    มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี มีความรู้สึกชื่นชม ยินดี ปราศจากความอิจฉาในความ

    สำเร็จของผู้อื่น

    อุเบกขา ความวางเฉย ความรู้สึกเป็นกลาง ไม่เสียใจเมื่อ คนที่ตนรักพบความวิบัติ ไม่

    ดีใจ เมื่อคนที่ตนไม่ชอบพบความวิบัติ รวมถึงการวางใจว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมได้รับผลแห่ง

    กรรมที่กระทำมาแล้ว ตัวอุเบกขา นี้ ยังทำหน้าที่ รักษา เมตตา กรุณา มุทิตา ไม่ให้

    มาก หรือ น้อยเกินไปจนเกิดโทษ ** ยกตัวอย่างถ้าเมตตมาก แต่ไม่สามารถ จะช่วยเขา

    ได้ และไม่มีอุเบกขามา ยับยั้ง ก็จะทำให้เกิด ใจ อุเบกขา จึงต่างกับความใจดำ
     
  10. kotak50

    kotak50 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +163
    อะไรจะเกิด อะไรจะเป็น ปล่อยให้เป็นไปตามวิถีนั้นเถอะ...สาธุๆๆๆๆๆๆๆ
     
  11. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    ระหว่างคำว่า อุเบกขา และ ใจดำ มันเป็นคนละเรื่องกัน ในส่วนอุเบกขานั้นเกี่ยวกับการวางเฉยทางด้านจิตใจ อย่าไปยึดเหนี่ยวเกาะเอาไว้ เพราะจะไม่มีผลดีกับจิตใจของตนเอง ส่วนในเรื่องของ ใจดำ นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเมตตากรุณา หากว่าเราสามารถเข้าไปช่วยเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคทาน จะเป็นเงินทอง เสื้อผ้า อาหาร ฯลฯ หรือแสดงความคิดเห็น คำปลอบใจ ต่างๆ แต่เมื่อเหตุการณ์เกินกว่าที่เราจะไปช่วยเหลือแล้ว หรือไม่สามารถช่วยเหลือแล้ว ก็จำเป็นที่เราต้องวางเฉย เพื่อให้เราสามารถรักสมดุลย์ในจิตของเราไว้ได้ ไม่สุขเกินไปและไม่ทุกข์เกินไป ขออนุโมทนา ในความดีที่คุณมีให้กับลูกของเพื่อน จงมีกำลังใจที่จะทำความดีต่อไป อย่าได้ท้อถอยเลย
     
  12. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    แล้วพวกขอทานตามสะพานลอย เราไม่ให้ตังส์เขาเรียกว่าใจดำ หรืออุเบกขาครับ แล้วถ้าเราเรียกเทศกิจมาจับ เรียกว่าใจดำ หรืออุเบกขาครับ ตำรวจวิสามัญมือปืนรับจ้างเรียกว่าใจดำหรืออุเบกขาครับ ช้างที่เดินตามถนน เราก็รู้ว่าเขาเจ็บเท้าและเหนื่อย เราไม่ยอมซื้ออ้อยหรืออะไรก็ตามให้เขากิน เรียกว่าใจดำ หรืออุเบกขาครับ การบำเพ็ญบารมีของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ต้องบริจาคลูกเมียแบบนั้นควรจะเรียกว่าอะไรครับ อย่าบอกนะว่าสิ่งทั้งหลายนั้นช่วยไม่ได้
     
  13. yaka

    yaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +1,384
    ถือว่าคุณก็เต็มที่แล้วอย่าคิดมากเลยค่ะ

    คุณพยายามวางอุเบกขาส่วนคำว่าใจดำยาว่ามันคนละเรื่องกันเลยกับสิ่งที่คุณได้พยายามอยู่

    คำว่าใจดำนี่คือการไม่สนใจหรือแม้แต่ถามข่าวยังไม่ถามเลยค่ะแต่ใช้กับคุณไม่ได้แน่นอนจริงไหมค่ะ
     
  14. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    อุเบกขานี้จะมองว่าเป็นใจดำไปไม่ได้ครับเพราะมันเกิดจากการที่เราเมตตา กรุณาคือการปรารถนาให้ผู้อื่นไม่เป็นทุกข์ไม่ทำร้ายตนเอง ปรารถนาให้เขาเกิดประโยชน์กับตัวเอง การกระทำเพื่อสงเคราะห์เขาก็เป็นไปทางที่เกิดประโยชน์อันสูงสุดกับเขาที่เราพิจารณาแล้วว่ามีความยั่งยืน ต่างกับใจดำคือรู้ว่าช่วยได้แล้วหรือทำประโยชน์ให้เขาได้มากแล้วเลือกที่จะไม่ทำ หรือทำให้แค่ให้หมดเรื่องกันไปไม่เดือดร้อนตัวเอง จิตใจมันคนละชั้นเลย ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งมีคนถามผู้รู้คนหนึ่งว่า "ญาติของผมคนหนึ่งโชคร้ายมาก ทั้งหูหนวก ตาบอด เป็นไบ้ และเป็นอัมพาต ไท่รับรู้อะไรเลย แต่ได้เครื่องช่วยชีวิตยื้อชีวิตอยู่ผมควรทำอย่างไรดีควรที่จะถอดเครื่องช่วยชีวิตไหมเพิ่อให้เขาไม่ต้องทรมาณ" ผู้รู้ท่านนั้นตอบกลับไปว่า "ผู้ที่มีคุณธรรมจอมปลอม หรือคนที่ชอบทำดีอวดคนอื่นจะบอกว่าให้ใช้เครื่องช่วยต่อไปไม่ต้องถอดต้องยื้อชีวิตเขาไว้ให้นานที่สุด แต่ผู้ที่มีความเมตตากรุณาจะถอดเครื่องช่วยหายใจ ให้เขาตัดสินใจเองว่าจะอยู่หรือจะไป การที่คนเรามีแต่ลมหายใจนั้นไม่ได้หมายความว่ามีชีวิต ถ้าไม่มีการรับรู้อะไรไม่มีการเติบโตหรือพัฒนาได้เป็นเหมือนกับต้นไม้ เหมือนผัก ในความเป็นจริงแล้วเขาอาจกำลังทุกข์ทรมาณ การที่คนจอมปลอมพยายามยื้อชีวิตของเขาไว้อาจเป็นการทรมาณเขาอย่างที่สุดก็ได้" ก็ลองตัดสินใจดูว่าอุเบกขาหรือใจดำ แต่การสงสารนี่ไม่มีประโยชน์อะไรเลยช่วยเถอะครับถ้าช่วยได้ หรือถ้าสงสารแล้วไม่รู้จะช่วยอะไรก็แผ่เมตตาให้เขา การบอกว่าโอ้คนนี้ช่างน่าสงสาร น่าเวทนานัก ก็ดีแล้วครับยังเป็นมนุษย์อยู่แต่ถ้าแผ่เมตตาให้เขาได้จะไม่ยิ่งดีหรือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...