อานาปานสติภาวนามัย พระอาจารย์ลี ธัมมธโร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 24 ตุลาคม 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    อานาปานสติภาวนามัย พระอาจารย์ลี ธัมมธโร


    <!-- end articleDetailPanel --><SCRIPT type=text/javascript> tweetmeme_url = 'http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0/56527/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%A3'; tweetmeme_service = 'digg.com'; tweetmeme_source = ""; </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://tweetmeme.com/i/scripts/button.js"></SCRIPT><IFRAME height=61 src="http://api.tweetmeme.com/button.js?url=http%3A//www.posttoday.com/%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0-%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2588/%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259C%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0/56527/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2-%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B5-%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2598%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3&style=normal&service=digg.com&o=http%3A//www.posttoday.com/&b=1" frameBorder=0 width=50 scrolling=no></IFRAME>
    <!-- end tweetmeme_button --><SCRIPT>var fbShare = {url: 'http://bit.ly/9UZuKj' }</SCRIPT><SCRIPT src="http://widgets.fbshare.me/files/fbshare.js"></SCRIPT><IFRAME height=69 src="http://widgets.fbshare.me/files/fbshare.php?size=large&url=http://bit.ly/9UZuKj&title=อานาปานสติภาวนามัย พระอาจารย์ลี ธัมมธโร" frameBorder=0 width=53 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    <!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->เนื่องในวันออกพรรษา คาบใบลานผ่านลานพระขอนำคำอรรถาธิบายถึงความสำคัญของ อานาปานสติภาวนามัย ที่ พระอาจารย์ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม ได้เรียบเรียงไว้มาเสนอ...
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
    หมายเหตุ : เนื่องจากวันที่ 23 ต.ค.เป็นวันออกพรรษา ซึ่งจะเป็นช่วงที่พุทธศาสนิกชนจะได้ประกอบบุญกฐิน แต่นอกจากทำบุญทำทานแล้ว บุญที่ได้มากที่สุดคือ บุญจากการปฏิบัติภาวนาก็เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นจึงขอนำคำอรรถาธิบายถึงความสำคัญของ อานาปานสติภาวนามัย ที่ พระอาจารย์ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม ได้เรียบเรียงไว้จาก "ตามที่ได้สังเกตปฏิบัติมา" และ ท่านได้เรียบเรียงไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในทางสมาธิภาวนา มาเสนอดังนี้
    ขอท่านพุทธบริษัทอย่าได้สงสัยลังเลไปเอาอย่างโน้นอย่างนี้ให้ยุ่งไป ขอให้ตั้งใจจริงๆ จับเอาลมหายใจแหล่งนี้จนให้ถึงที่สุดแห่งลม ต่อจากนั้นก็จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ก็จะลุล่วงเข้าถึงนามธรรมคือ จิตเมื่อถึงที่สุด พุทธก็เกิด นั้นแลจะเป็นผู้เข้าถึงคุณธรรมที่แน่นอนคือ ปล่อยลมตามสภาแห่งลม ปล่อยจิตตามสภาพแห่งจิต ผลประโยชน์ในการปฏิบัติก็จะเป็นที่สมหวังของท่านทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัย
    จริงอยู่ธรรมดาจิตใจของคนเรา ถ้าไม่ดัดแปลงแก้ไขแล้ว ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ทุกข์ที่ชั่ว ฉะนั้นผู้หวังความสุขให้แก่ตนที่มีหลักแหล่ง ก็ควรจะต้องหาธรรมะมาฝึกตน
    คนเราถ้าไม่มีธรรมะในใจ ไม่มีสมาธิเป็นที่อยู่แล้ว ก็เท่ากับคนที่ไม่มีบ้านอยู่ฉะนั้น ธรรมดาคนที่ไม่มีบ้านอยู่ย่อมได้รับความทุกข์ตลอดกาล แดด ลม ฝน และละอองธุลีต่างๆ ย่อมเปรอะเปื้อนบุคคลชนิดนั้น เพราะไม่มีเครื่องกั้นปิดบัง คนที่ฝึกหัดสมาธิเท่ากับสร้างบ้านให้ตนอยู่
    ขณิกสมาธิ ก็เท่ากับบ้านที่มีหลังคามุงด้วยจาก
    อุปจารสมาธิ ก็เท่ากับบ้านที่มุงด้วยกระเบื้อง
    อัปปนาสมาธิ เท่ากับตึก
    [​IMG]
    เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าท่านมีทรัพย์ท่านก็จะเก็บไว้ได้อย่างปลอดภัย ทรัพย์เหล่านั้นก็มิได้บังคับใจท่านให้ไปนอนเฝ้านั่งเฝ้าทนทุกข์ต่างๆ เหมือนคนมีทรัพย์ที่ไม่มีบ้านเก็บ ต้องไปนอนตากแดดตากฝนเฝ้าทรัพย์อยู่กลางแจ้งฉะนั้น ถึงกระนั้นทรัพย์เหล่านั้นก็ยังไม่ได้รับความปลอดภัยแน่นหนา ในด้านพระศาสนาก็ฉันนั้น
    ในที่ไม่มีสมาธิ ไปแสวงหาความดีในทางอื่น ปล่อยจิตใจให้เที่ยวไปในสัญญาอารมณ์ต่างๆ แม้จะเป็นอารมณ์ที่ดีก็ตาม ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปลอดภัยอยู่นั้นเอง เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มาก เช่น ทองเพชรนิลจินดาต่างๆ เมื่อน้อมนำมาประดับร่างกายแล้วเที่ยวเร่ร่อนไปในสถานที่ต่างๆ ย่อมไม่ปลอดภัย อาจถึงแก่ความตายด้วยทรัพย์ของตนเองนั้นก็ได้ นี้ฉันใด จิตของพุทธบริษัท เมื่อไม่ได้รับอบรมในทางภาวนาเพื่อสร้างความสงบขึ้นในตนแล้ว แม้ความดีที่ตนทำได้ก็เสื่อมง่าย เพราะยังไม่เก็บเข้าฝังในดวงจิตดวงใจของตนจริงๆ
    ถ้าใครฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิตของตนให้ได้รับความสงบระงับ ก็เท่ากับเก็บทรัพย์ ของตนเข้าไว้ในตู้ในหีบฉะนั้น
    เหตุนั้น คนเราโดยมากทำดีจึงไม่ได้ผลดี เพราะปล่อยใจของตัวให้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ต่างๆ อารมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นข้าศึกศัตรู บางครั้งอาจที่จะทำให้ความดีที่มีอยู่แล้วเสื่อมไปก็ได้ เปรียบเหมือนดอกไม้ที่กำลังบาน ถ้ามีลมและแมลงต่างๆ มารบกวนเข้าแล้วอาจจะไม่มีโอกาสเกิดลูกเกิดผลขึ้นได้
    ดอกไม้นั้นได้แก่มรรคจิต (จิตสงบ)
    ส่วนผลไม้นั้นได้แก่ผลจิต (ความสุข)
    เมื่อมีมรรคจิต ผลจิตประจำใจของตัวอยู่อย่างนี้ ก็มีโอกาสจะได้รับความดี ซึ่งพุทธบริษัททั้งหลายปรารถนาอยู่ คือ สารธรรม
    ความดีอย่างอื่นนั้นก็เปรียบเหมือนยอดไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ต้นไม้
    ถ้าเราไม่ได้อบรมทางจิตใจ เราก็จะได้รับความดีเสมอส่วนภายนอกนั้น หากภายในจิตเป็นของบริสุทธิ์ดี ภายนอกก็ย่อมดีไปตามกันหมด เช่น มือเราสะอาด เมื่อเราจับสิ่งใด ของเหล่านั้นก็ไม่เลอะ แต่ถ้ามือเราสกปรก แม้จะไปจับผ้าที่สะอาด ผ้านั้นก็พลอยให้เสียไป ด้วยอำนาจแห่งความเปื้อนเปรอะของมือฉะนั้น เมื่อจิตเศร้าหมองเสียอย่างเดียวมันเศร้าหมองไปหมดทั้งสิ้น
    แม้ทำความดี ความดีนั้นก็ยังเศร้าหมองอยู่ เพราะอำนาจสูงสุดในโลกที่ดี จะชั่ว จะสุข จะทุกข์ ทั้งมวล มันสำเร็จอยู่ที่จิตใจอันเดียวเท่านั้น
    จิตใจนี้เท่ากับพระเจ้าองค์หนึ่ง ทุกข์ สุข ดี ชั่ว ล้วนสำเร็จมาจากดวงจิตนั้น ควรจะสมมติเรียกได้ว่าพระเจ้าสร้างโลกได้องค์หนึ่งเหมือนกัน เพราะโลกจะตั้งอยู่ได้ด้วยสันติก็ด้วยอำนาจแห่งจิตใจนี้เอง โลกที่จะอันตรธานสูญไปก็ด้วยอำนาจแห่งจิตใจนี้เอง
    ฉะนั้น จึงควรที่จะอบรมส่วนสำคัญของโลกทั่วๆ ไป คือ จิตให้เป็นสมาธิ เพื่อให้เป็นหลักทรัพย์ไว้ในใจ คือ สมาธิ อันเป็นเครื่องสะสมไว้ซึ่งธาตุต่างๆ ที่เรียกว่า กุศลธาตุ คือความดี เมื่อธาตุเหล่านี้ได้ผสมกันถูกส่วนดีแล้ว ก็จะเป็นกำลังของท่าน เพื่อเป็นเครื่องทำลายซึ่งข้าศึกศัตรูต่างๆ กล่าวคือ กิเลส และบาปธรรมทั้งปวง
    ท่านมีปัญญาที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ฉลาดรอบรู้ในทางโลกและทางธรรม ในทางดีและทางชั่ว ปัญญาของท่านเหล่านั้นก็เท่ากับดินระเบิด แต่ท่านมิได้อัดเข้าไปในลูกกระสุน คือ สมาธิ จิต ดินระเบิดของท่านนั้นเก็บไว้นานมันจะขึ้น และขึ้นราไปถ้าท่านเผลอ ไฟร่วงใส่ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำแล้วขณะใดมันก็จะไหม้ดินระเบิดของท่าน แล้วมันก็จะลามถึงตัวท่านนั่นเอง
    ฉะนั้น ให้รีบอัดเข้าไปไว้ในลูกกระสุนหรือลูกระเบิดนั้นเสีย ถึงคราวข้าศึกศัตรูมารุกรานเข้าเมื่อไร ก็จะวางหรือยังซึ่งระเบิดเหล่านั้น เพื่อสังหารศัตรูคือความชั่วได้ในทันที
    ผู้ฝึกหัดสมาธิย่อมได้ที่พึ่งของตน
    สมาธิเปรียบเหมือนป้อมหรือหลุมเพลาะ
    ปัญญาเปรียบเหมือนอาวุธ
    ทำสมาธิเปรียบเหมือนอัดดินเข้าในกระสุน หรือฝังตัวอยู่ในป้อม
    ฉะนั้น สมาธินี้เป็นสิ่งสำคัญและมีคุณานิสงส์มากทีเดียว ศีลอันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ปัญญาอันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรคก็ไม่ค่อยยากเท่าไหร่นัก ส่วนสมาธิอันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคต้องพยายามหน่อย เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงกันในด้านจิตใจ
    จริงอยู่การทำสมาธินั้น เปรียบเหมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำย่อมเป็นสิ่งลำบาก แต่เมื่อปักลงได้แล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่ศีลและปัญญา ศีลนั้นเหมือนปักเสาสะพานในฝั่งนี้ ปัญญาเหมือนปักเสาสะพานข้างโน้น แต่ถ้าเสากลางคือ “สมาธิ” ท่านไม่ปักแล้วท่านจะทอดสะพานข้ามแม่น้ำ คือ โอฆะสงสารไปได้อย่างไร
    พุทธบริษัททั้ง 4 ผู้จะเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยถูกต้องแล้ว มีหนทางช่องเดียวเท่านั้น คือ ภาวนา
    เมื่อภาวนาจนจิตสงบเป็นสมาธิได้แล้ว ย่อมเกิดปัญญา
    ปัญญาในที่นี้ไม่ใช่ปัญญาธรรมดา ปัญญาที่เกิดขึ้นเฉพาะในการทำจิต เช่น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
    ญาณทั้ง 3 นี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติในทางจิตใจ เรียกว่า ญาณจักขุ คือ ตาใจ ส่วนพุทธบริษัทเหล่าใด ที่ยังศึกษาวิชาอยู่ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระคนกันอยู่ ก็เท่ากับศึกษาวิชาอยู่กับพวกครูทั้งหก ยังไม่สามารถที่จะรู้แจ้งเห็นจริงได้ดังพระพุทธเจ้าที่ไปเรียนวิชาอยู่กับครูทั้งหก ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ พระองค์จึงได้หวนมาระลึกในทางจิตใจ ได้ดำเนินปฏิบัติไปด้วยลำพังพระองค์เอง ด้วยการตั้งสติกำหนดอานาปาน์ฯ เป็นเบื้องต้นจนได้บรรลุถึงที่สุด
    พุทธบริษัททั้งหลายเมื่อยังแสวงหาวิชาอยู่ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เท่ากับศึกษาวิชาอยู่กับพวกครูทั้งหก
    ฉะนั้น ตราบใดมาตั้งใจระลึกถึงลมหายใจของตน ซึ่งมีปรากฏอยู่ทุกรูปทุกนาม จนกว่าจิตสงบลงเป็นสมาธินั่นแล จะมีโอกาสได้พบของจริง คือ พุทธะ คนบางพวกยังเข้าใจไปต่างๆ อยู่ เช่น เข้าใจว่าสมาธิไม่ต้องทำ ทำปัญญาเลยทีเดียว เรียกว่าปัญญาวิมุติ การเข้าใจเช่นนี้ ไม่ถูกความจริง ปัญญาวิมุติกับเจโตวิมุติสองประการนี้ ย่อมมีสมาธิเป็นรากฐานจึงเป็นไปได้ต่างกันแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น
    คือ ลักษณะของปัญญาวิมุตินั้น ครั้งแรกต้องมีการไตร่ตรองพินิจพิจารณาเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ เสียก่อน จิตจึงค่อยสงบ เมื่อจิตสงบแล้วเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จนรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมทั้ง 4 นี้ เป็นลักษณะของปัญญาวิมุติ
    ส่วนเจโตวิมุตินั้น ไม่ต้องมีการพินิจพิจารณาเท่าไรนัก เป็นแต่ข่มจิตให้สงบลงไปถ่ายเดียว จนกว่าเป็นอัปปนาสมาธิ วิปัสสนาสมาธิ วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้นในที่นั้น และได้รู้เห็นจริงตามความเป็นจริง
    ที่เรียกว่า เจโตวิมุติ คือ ได้เจริญสมาธิก่อนแล้ว จึงค่อยเกิดปัญญาภายหลัง
    วิมุติทั้งสองมีความหมายต่างกันดังนี้
    ปัญญาอันใดที่พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียนรอบรู้ในพุทธวจนะพร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะโดยสมบูรณ์แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อันกว้างขวาง สามารถที่จะชี้แจงอรรถาธิบายในข้ออรรถข้อธรรมได้โดยเรียบร้อยชัดเจน แต่ไม่บำเพ็ญสมาธิ ให้เกิดมีขึ้นในตน ก็เปรียบประหนึ่ง บุคคลที่ขับขี่เครื่องบินไปในอากาศ สามารถจะมองเห็นเมฆและเดือนดาวได้โดยชัดเจน แต่เครื่องบินที่ตนขับขี่อยู่นั้นได้เที่ยวเร่ร่อนไปในอากาศจนลืมสนามที่จะร่อนลง ก็น่าลำบากใจอยู่
    ถ้าร่อนขึ้นไปข้างบนก็จะหมดอากาศหายใจ มัวแต่ร่อนไปร่อนมาอยู่ น้ำมันอันเป็นเชื้อเพลิง ก็จะหมดสิ้นไป ในที่สุดก็เผ่นลงมาด้วยอำนาจแห่งความหมดกำลังของตน เผ่นลงมาบนเขา เผ่นลงมาในป่า เผ่นลงในทะเล ซึ่งไม่ใช่สนามบินย่อมได้รับโทษ เช่น คนบางพวกที่มีความรู้สูง แต่มีความประพฤติเหมือนคนป่าคนดง คนเขาคนทะเล ซึ่งเป็นชาวประมงอย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะว่าเพลินอยู่ในอากาศ
    นักปราชญ์บัณฑิตผู้ติดอยู่ในความรู้ ความคิดความเห็นของตัวว่าเป็นของสูงอยู่แล้ว ไม่ก่อสร้างบำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้น ถือเสียว่าสมาธิเป็นขั้นต่ำ ควรเจริญปัญญาวิมุติทีเดียว ย่อมจะได้รับโทษ เหมือนคนขับขี่เครื่องบิน ที่ร่อนอยู่ในอากาศไม่แลเห็นสนามฉะนั้น
    ผู้บำเพ็ญสมาธิก็เท่ากับเป็นผู้สร้างสนามบินไว้อย่างดี เมื่อมีปัญญาก็จะถึงวิมุติอันปลอดภัย อีกนัยหนึ่ง เช่นเดียวกับคนเดินทาง ย่อมเดินขาเดียวไม่ได้ฉะนั้น แต่จะหนักไปในทางใด ก็สุดแท้แต่นิสัยวาสนาของบุคคลผู้นั้นต่างหาก
    ฉะนั้น พุทธบริษัทควรจะบำเพ็ญในศีล สมาธิ และปัญญา ให้ครบถ้วนจึงจะเป็นผู้สมบูรณ์ในการนับถือพระพุทธศาสนา มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นผู้รู้อริยสัจจ์ 4 ได้อย่างไร เช่น มรรค ก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาจึงจะเรียกว่ามรรคสัจจ์ เมื่อไม่ทำให้เกิดขึ้นในตน ก็ย่อมไม่รู้ เมื่อไม่รู้จะละได้อย่างไร โดยมากธรรมดาคนเรามักชอบแต่ผลไม่ชอบเหตุ เช่น ต้องการความดีความบริสุทธิ์ แต่เหตุแห่งความดี ความบริสุทธิ์ไม่ทำให้สมบูรณ์ก็ย่อมจนกันเรื่อยไป
    ตัวอย่างในทางโลก คนที่ชอบเงิน แต่ไม่ชอบทำงาน คนเช่นนั้นจะเป็นพลเมืองที่ดีมีทรัพย์ได้ที่ไหน เมื่อความจนบังคับแล้วย่อมทำทุจริตโจรกรรมได้ ฉันใด พุทธบริษัทไม่ชอบเหตุแต่มุ่งผล ก็ย่อมจนอยู่ร่ำไปเช่นนั้น เมื่อใจจนแล้วย่อมแสวงหาความมืดในทางอื่น เช่น โลภ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นอามิสอยู่ในโลก มันย่อมเป็นไปทั้งที่รู้ๆ นั่นแหละ
    นี่ก็เพราะไม่รู้จริง รู้ไม่จริง ก็คือทำไม่จริงนั่นเอง
    มรรคสัจจ์ซึ่งเป็นของจริงนั้นย่อมมีอยู่ตามธรรมดา ศีลก็มีจริง สมาธิก็มีจริง ปัญญามีจริง วิมุติก็มีจริง แต่คนเราไม่จริงจึงไม่เห็นของจริง บำเพ็ญศีลก็ไม่จริง สมาธิก็ไม่จริง ปัญญาก็ไม่จริง เมื่อเราทำไม่จริง ก็ได้ของไม่จริง จะได้ของเทียมของปลอมกันเท่านั้น เมื่อใช้ของเทียมของปลอมย่อมได้รับโทษ
    ฉะนั้น พวกเราควรที่จะต้องแสดงความจริงให้ปรากฏขึ้นในใจของตนเอง
    เมื่อความจริงปรากฏก็จะได้ดื่มรสของธรรม รสของธรรมย่อมชนะรสของโลกทั้งหมด อานาปานสติภาวนามัย พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
     
  2. #Hanako#

    #Hanako# สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +12
    สาธุ ๆ ๆ


    อ่านธรรมของพระอาจารย์ลีแล้วได้ข้อคดเรื่องการภาวนาดีมากๆ อ่านหนังสือของท่าน ท่านก็เน้นๆย้ำๆตลอดให้ภาวนาๆ

    เวลาเราจิตตก เราก็จะได้ธรรมเทศนาของท่านกระตุ้นให้เราเร่งภาวนาให้เห็นผลสักที

    อนุโมทนากับผู้นำมาโพสด้วยค่ะ ^_^
     
  3. dhammatanui

    dhammatanui สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    กัมมัฏฐานท่านพ่อลี

    มีวิธีฝึกจากท่านพ่อลีที่เป็นเสียงจริงองค์จริงครับ

    เปิดดูได้จาก Youtube ครับผม

    ตาหนุ่ย

    YouTube - ช่องของ DHAMMATANUI
     

แชร์หน้านี้

Loading...