เรื่องเด่น องครักษ์ของอวิชชา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 3 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
    e0b8aae0b8a1e0b8b2e0b898e0b8b4.jpg





    (พูดท้ายเทศน์) กัณฑ์ที่ ๕๒ "องครักษ์ของอวิชชา" หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์อบรมพระ เมื่อ ๑๐ กันยายน ๒๕๒๑

    ธรรมะหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือพระธรรมวิสุทธิมงคล วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี·8 ตุลาคม 2016


    พูดท้ายเทศน์ ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มากนี้เอง มันชัดตรงนี้ แต่มันไม่ได้เข้าง่าย ๆ นะ เวลามันเพลียเต็มที่ถึงจะบังคับกันทีหนึ่ง ๆ เวลาผ่านไปแล้วถึงมารู้ชัด โห เรื่องสมาธินี้เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง กับวิปัสสนานี้แยกกันไม่ออก

    แม้แต่พระขีณาสพท่าน ท่านก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่สบายในทิฏฐธรรม จนกระทั่งวันท่านนิพพานท่านถึงจะปล่อยนี้ได้ อันนี้เป็นวิหารธรรมของท่านคือสมาธิ ปัญญาพิจารณาเหตุผลเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องธรรมในแง่ต่าง ๆ หรือพิจารณาร่างกายเป็นวิหารธรรมเหมือนกัน มันก็เป็นเครื่องรื่นเริงระหว่างกายกับจิตที่ครองตัวกันอยู่ มันก็ไปด้วยจีรังถาวรถึงอายุขัย บางทีจนรำคาญเหมือนกันนะ เพราะมันหมุนไม่หยุดไม่ถอย เอ๊ นี่มันอะไรกัน แต่มันคิดได้ชั่วขณะเท่านั้นนะ แต่พอหยุดคิดปั๊บมันพุ่งใส่งานนั้นเลย คือความคาดของเรานั้นกับความจริงนี้มันห่างกันคนละโลกเลย คือเราคาดไว้อย่างนี้นะ ว่าจิตนี้ได้มีความละเอียดลออเข้าไปเท่าไรก็ยิ่งจะมีความผาสุกสบาย งานก็ยิ่งจะน้อยเข้าไป ๆ สบายเข้าไปเรื่อย ๆ

    นี่เราคาดเราคิดนะ แต่เวลาความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น เข้าสมาธินี้ก็เหมือนงานน้อยจริงๆ พอพิจารณาปั๊บ ๆ ก็รวมสงบแล้วอยู่สบายเป็นคนขี้เกียจ นอนตายอยู่ในสมาธินั้น ความจริงเจ้าของขี้เกียจต่างหาก ตอนนี้งานน้อยนี่ คือมันอาศัยความสงบ มันติดความสบาย พอออกทางด้านปัญญา พอได้เหตุได้ผลทางด้านปัญญาแล้ว ทีนี้มันเห็นผลแล้วทีนี้นะ มันเริ่มละที่นี่ เริ่มหมุนเรื่อยๆ พิจารณาเข้าไปเรื่อยเข้าใจเรื่อยแก้เรื่อย ถอดถอนกิเลสได้ด้วยขาดเรื่อยไปเรื่อย ๆ เอาละที่นี่นะ

    ทีนี้ก็เป็นธรรมจักรหมุนตัวเป็นเกลียว เอาละที่นี่ต้องได้รั้งเอาไว้ แล้วทีนี้บทเวลามันเพลีย ถึงร่างกายก็เพลียด้วยไม่ได้เพลียแต่ตรงนี้นะ ในร่างกายทุกส่วนก็รู้สึกเพลีย เพราะจิตทำงาน ปัญญาพิจารณาค้นคว้าเขาเรียกว่าทำงาน ก็รำพึง เอ๊ เราคิดไว้ว่าเมื่อจิตมีความละเอียดลออเข้าไปเท่าไร ยิ่งจะมีความสุขมาก ๆ ทำไมเดี๋ยวนี้ถึงเป็นอย่างนี้มันสุขมากยังไง มันวุ่นกับงานตลอดจนแทบจะเป็นจะตาย ถ้าว่างานมันก็ยิ่งมากเข้าไปโดยลำดับ มันไม่เหมือนกันตั้งแต่ก่อนที่เราคาดไว้ว่าจิตละเอียดเข้าไปเท่าไรงานยิ่งจะน้อยลงไป ๆ และจะมีความสุขยิ่งสบาย ๆ แล้วหมดไปเลยสิ้นไปเลย นี้เป็นความคาดต่างหากไม่ใช่ความจริง เวลาความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น พอถึงขั้นปัญญานี้แล้ว โอ้โห มันกว้างขวางยิ่งกว่าอะไร มันหมุนติ้ว ๆ นี้ครอบโลกธาตุในส่วนร่างกายหยาบนี้ อันนี้แหละตัวมันดิ้นมาก เหมือนกับน้ำไหลโจนลงมาจากภูเขา เหมือนกับน้ำตกนะ เช่นแม่สาที่เชียงใหม่ มันเหมือนอย่างนั้น ปัญญาขั้นพิจารณาร่างกายมันรุนแรงมากเหมือนกับน้ำตกนั่นแหละ ทีนี้ พอร่างกายนี้หมดนั้นแล้ว มันเข้าไปส่วนอาการของขันธ์ ๔ นี้คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเป็นน้ำซับน้ำซึมที่นี่ ไหลรินอยู่ทั้งแล้งทั้งฝน คือตลอดเวลาหากไม่แบบน้ำตก

    เพราะอันนี้มันส่วนละเอียดแล้ว มันก็หมุนอยู่เหมือนกันเป็นแต่เพียงว่าหมุนแบบนี้ คือหมุนเบา ๆ หากหมุนไม่หยุด ตอนพิจารณาร่างกายนี้เหมือนกับน้ำตกไหลโจนมาจากภูเขา เสียงซ่า ๆ ดังถึงไหนโน้นน่ะถ้าเราจะเทียบ พออันนี้หมดปัญหาไปแล้ว เหลือแต่นามธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทีนี้ มันก็ไหลรินอยู่นั่น มันพิจารณาไม่หยุดไม่ถอยนี่นะ เอ๊ นี่มันจะสิ้นสุดเมื่อไร ก็เราคิดคาดไว้ตั้งแต่ต้นว่า จิตมีความละเอียดลออเท่าไรก็ยิ่งจะมีความสุขความสบาย งานการก็จะค่อยเบาไป ๆ ทำไมมันกลับตรงกันข้ามไปเสียหมด แล้วเมื่อไรจะได้สะดวกสบายสักที ว่างี้ พอหยุดกันแล้วปั๊บมันก็ทำงานแล้ว คือเรารั้งมันไว้มันคิดเท่านั้น

    พอปล่อยปั๊บมันปุ๊บใส่งานที่กำลังทำยังไม่เสร็จ คือยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงอันไหนแล้วมันจะต้องตายด้วยกันพูดง่าย ๆ เรื่องจะแพ้นี้มันไม่ยอม นอกจากตายกับให้รู้ให้ผ่านไปได้เท่านั้น จนกระทั่งมันไปเสียหมดกำลังของมันที่จะไปอีกแล้วมันก็ระงับไปเอง สติปัญญาที่หมุนตัวเป็นเกลียวอยู่นั้นก็ระงับไปเองเป็นหลักธรรมชาติเหมือนกัน เป็นอัตโนมัติเหมือนกัน พอถึงขั้นมันระงับแล้วหายเงียบไปเลยเหมือนกับคนไม่มีสติปัญญาอะไร อยู่เฉย ๆ ถ้าว่าขี้เกียจก็เหมือนขี้เกียจ ก็มันไม่มีงานทำ มันหมด เดินจงกรมก็เหมือนบ้านะ นี่เราก็พูดในวงกันเอง เดินจงกรมเห็นกระรอกกระแตก็เล่นกับมันเสีย เล่นกับมันด้วยความรักมันสงสารมัน ไม่ได้เล่นด้วยความคะนองนะ คือความเมตตานั้นละสำคัญมาก เห็นสัตว์อะไรก็เล่นกับสัตว์นั้น เล่นด้วยความสงสาร บางทีหยุดจงกรมดูนี่ นอกจากมีธรรมแง่ใดแง่หนึ่งที่เป็นปัญหาขึ้นมา

    ธรรมแง่นี้มีความหมายแค่ไหน มันจะมีความสัมผัส มันจะตามเลย จนกระทั่งเข้าใจแล้วก็ปล่อยเฉย ๆ เหมือนกับไม่มีสติปัญญาอะไรเลยเฉย ถ้าหากว่าสัมผัสธรรมบทใดแง่ใด มีความหมายลึกตื้นหยาบละเอียดแค่ไหน พอสัมผัสนั้นมันจะตามเลยที่นี่ มันจะหมุนเลย เพราะฉะนั้นการบิณฑบาตจึงไปกับหมู่เพื่อนไม่ค่อยได้ เดินฉุบฉับ ๆ ตามหลังไม่ค่อยได้ คือเรากำลังพิจารณาของเรา เพลินไปตามเรื่องของเราอยู่ เวลาขากลับมาก็หลีกให้หมู่เพื่อนมาก่อน แล้วเราก็พิจารณาของเรามาเรื่อย ก็ไม่ทราบจะอยู่กับอะไร อาศัยธรรมพอให้อยู่สะดวกสบาย นั่งภาวนาก็ภาวนาอยู่นั้นนะ ทุกวันนี้ ภาวนาอยู่นั้น มันเป็นการพยุงระหว่างธาตุขันธ์กับจิตอยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ถ้าเราใช้กิริยาของจิตมาก ๆ นั้นธาตุขันธ์มันก็เพียบ ถ้าเพียบแล้วมันก็ไปแพ้ทางธาตุขันธ์นั่นแหละ จิตมันจะไปแพ้ได้ยังไง มันแพ้ธาตุขันธ์นี่ คือไม่ถึงอายุขัยพูดง่าย ๆ

    ก็เหมือนอย่างเรามีเงินร้อยบาท วันหนึ่งเราใช้ ๒๕ บาทพอดีกับครอบครัวของเรานี้ เราไปใช้เสียวันเดียวร้อยบาท มันก็หมดภายในวันเดียวแทนที่จะได้ถึง ๔ วันก็ไม่ได้ เงินร้อยบาทใช้วันละ ๒๕ บาทแทนที่จะถึง ๔ วันมันก็ไม่ถึง ทีนี้อายุขัยของเราสมมุติว่า ๗๐ หรือ ๘๐ นี้เป็นอายุขัย ถ้าเราสมบุกสมบันไม่มีวิหารธรรมให้เป็นเครื่องอยู่ระหว่างขันธ์กับจิตแล้ว จะให้อยู่ถึงโน้นมันก็ไม่ถึงเสีย ถ้าเราพยายามรักษาให้พอเหมาะพอสมกันมันก็ถึงอายุขัยได้ มันรู้อยู่ภายในจิตนี่ ถ้าหากว่ามันขัดกันเมื่อไรแล้ว ฝ่ายธาตุฝ่ายขันธ์นั้นละจะเป็นฝ่ายบอบช้ำ ส่วนจิตอันนี้จะบอบอะไร ถ้าหากว่าจิตเลยสมมุติทุกสิ่งทุกอย่างแล้วไม่มีอะไรบอบ อยู่อย่างนั้นเป็นอกาลิโก อกาลิกจิต อกาลิกธรรม พระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวก ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านทำความพากเพียรอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงวันท่านนิพพานก็เพราะเหตุนั้นเอง มีความจำเป็นระหว่างขันธ์กับจิต หากไม่มีเรื่องที่จะถอดถอนกิเลสตัวใด

    เพราะหมดไปแล้วก็จะเอาอะไรมาถอน มันไม่มีอะไรมันเงียบเหมือนบ้านร้างพูดง่าย ๆ เมื่อกิเลสหมดไปแล้วก็เงียบเท่านั้นเอง มันไม่เงียบก็เพราะกิเลสก่อกวนยุแหย่อยู่ตลอดเวลา พอธรรมชาตินั้นหมดไปแล้วก็ไม่มีอะไรมาก่อกวนมายุแหย่อะไร ๆ ให้ลำบากลำบน ขันธ์นั้นมีแต่ขันธ์ล้วน ๆ คิดปรุงยิบแย็บ ๆ ของมัน คิดปรุงอะไรก็ดับพร้อม ๆ โดยหลักธรรมชาติของมัน เราไม่ต้องไปเข้มงวดกวดขันหรือระมัดระวังรักษา มันจะเป็นภัยหรือมันจะนำเรื่องอะไรมาสู่เรา ไม่จำเป็น

    เป็นธรรมชาติของมัน คิดเรื่องอะไรมันคิดปั๊บ ๆ ผ่านไปพร้อม ๆ ดับไปพร้อม ๆ ทุกขณะที่คิดดับไปพร้อม ๆ รู้กันอยู่อย่างนั้นเป็นหลักธรรมชาติ เราก็รู้อยู่โดยหลักธรรมชาติ ขันธ์ที่ใช้ก็เป็นไปตามหลักธรรมชาติของมัน ถ้าหากว่ามีกิเลสอยู่ภายในก็เป็นเครื่องมือของกิเลส ขันธ์นี่มันก็เป็นภัยเหมือนกัน เหมือนมีดเล่มนี้ถ้าเอาไปฟันอะไรให้เป็นโทษก็ได้ ฟันหัวคนก็ได้ ทิ่มแทงใครก็ได้ มาฟันทำผลประโยชน์ก็ได้มีดเล่มนี้ ขันธ์นี้ก็ของกลาง แต่ก่อนเป็นเครื่องมือของกิเลส กิเลสเอาไปใช้ให้ทำลายเจ้าของทำลายอะไรต่ออะไรยุ่งไปหมด ทีนี้ พอกิเลสตัวสำคัญดับไปแล้ว เรียกว่าโจรหัวโจกที่เป็นเจ้าของของขันธ์นี้ดับไปแล้วก็มีธรรมขึ้นแทนที่ แล้วเป็นเครื่องมือของธรรม พระพุทธเจ้าประกาศธรรมสอนโลกก็อาศัยขันธ์นี้ เสด็จไปที่ไหนมาไหน ตลอดถึงปรุงภายในจิตที่จะแสดงมาเป็นอรรถเป็นธรรม พินิจพิจารณาเรื่องอะไรนี้ก็อาศัยขันธ์ ปัญญาก็เป็นกิริยาอันหนึ่ง ๆ ยึดเอามาใช้งานเพื่อทำประโยชน์ให้โลก จึงเรียกว่าขันธ์ล้วน ๆ นั่นเป็นอย่างนั้น ใช้ไปถึงอายุขัยถึงกาล

    นี่ถ้าหากว่าเราจะเทียบนะ ถ้าหากว่าจิตนี้มีเครื่องมือเป็นของตน คือจิตที่บริสุทธิ์แล้วมีเครื่องมือเป็นของตน โดยไม่ต้องอาศัยสมมุติเป็นเครื่องมือ สมมุติคือขันธ์ ๕ นี้เป็นเครื่องมือของกิเลสมันเป็นวัฏจักรเป็นสมมุติ จิตที่เป็นวิมุตติให้มีเครื่องมือเป็นวิมุตติมาใช้ จะไม่มีอันใดที่จะสวยงามจะน่าดูจะอัศจรรย์ ยิ่งกว่าลวดลายของจิตที่บริสุทธิ์แสดงตัวออกไป สมมุติว่าแสดงการเทศนาว่าการหรือการแนะนำสั่งสอนใครก็ตาม ให้มีเครื่องมือสำหรับจิตนั้นโดยเฉพาะ จะไม่มีอะไรน่าดูยิ่งกว่าพระอรหันต์ ท่านแสดงกิริยาแห่งธรรมออกมา ด้วยเครื่องมือของท่านโดยเฉพาะ

    อันนี้ท่านไม่มีก็ต้องมาอาศัยขันธ์นี่เป็นเครื่องมือ ขันธ์นี้เป็นสมมุติ จิตเป็นวิมุตติก็ต้องมาอาศัยสมมุตินี้ใช้ เพราะฉะนั้นกิริยานี้จึงเป็นเหมือนโลก เคยช้าเคยเร็วจริตนิสัยเป็นอย่างไรก็ต้องคงเส้นคงวาของมันไปอย่างนั้นตามเดิม จึงเรียกว่านิสัย ควรที่จะพูดหนักเบามากน้อยเข้มข้นถึงเรื่องธรรมทั้งหลาย ทีนี้ ก็เอาเรื่องขันธ์นี้มาใช้ มันก็เป็นลักษณะเหมือนโกรธเหมือนโมโหโทโสไปเสีย ความจริงเป็นพลังของธรรมแสดงออกมา

    ไม่ใช่พลังของกิเลสพลังของอารมณ์ที่เกิดจากกิเลสแสดงออกมา ผิดกันตรงนี้ ถ้าหากว่าธรรมจิตตวิสุทธิมีเครื่องมือเป็นของตนใช้ โอ้โห จะน่าดูที่สุด ไม่มีอะไรน่าดูยิ่งกว่า อวิชชาแท้นั่นละจอมกษัตริย์ของกิเลสทั้งหลาย ถ้าเป็นไม้ก็เรียกว่ารากแก้ว รากฝอยตัดเข้าไป ๆ เข้าไปถึงรากแก้ว ถ้าเป็นต้นก็เรียกว่าแก่น ถ้าเป็นรากก็เรียกว่ารากแก้ว อวิชชาจริง ๆ แม้แต่มหาสติมหาปัญญายังหลงกลมายาของมันว่าไง ละเอียดขนาดไหน ละเอียดขนาดนั้น ขนาดสติปัญญาอัตโนมัติยังหลงกลมัน เป็นองครักษ์รักษามันเสียด้วยซ้ำไป เฮ้อ ฮ้อ พูดถึงเรื่องความโง่ต่ออวิชชานี่ก็น่าบัดซบเหมือนกันนะ มันทุเรศ ไม่ให้อะไรมาแตะต้อง

    เพราะมันผ่องมันใสมันละเอียดลออ มันอ้อยอิ่งไม่มีอะไรเหมือนเลย เวลาเข้าไปถึงตัวอวิชชาจริง ๆ แทนที่จะเป็นภาพเหมือนเสือโคร่งเสือดาวเหมือนยักษ์เหมือนผีอย่างนั้น มันกลับเป็นนางงามจักรวาลไปซิ เจ้าสติปัญญาที่ฝึกมาอย่างเกรียงไกรนั้นก็เลยกลายเป็นองครักษ์รักษาอันนี้ ไม่ให้อะไรมาแตะต้องมัน สลัดปั๊บ ๆ อะไรจะมาแตะไม่ได้ สัมผัสอะไรเรื่องอะไรนี้มันสลัดปั๊บ ๆ เลยรักษาอวิชชาไว้เสียนี่ กลายเป็นองครักษ์ของอวิชชา ในเบื้องต้นเป็นอย่างนั้น

    เพราะไม่มีอะไรเหลือ มีอันเดียวเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะพิจารณาแล้ว..หมด สิ่งเหล่านี้มันรู้หมดแล้ว มันปล่อยทั้งนั้นแหละไม่ไปสนใจ รู้อะไรแล้วปล่อย มันจะดูรู้สึกที่สง่าผ่าเผยที่ว่าความผ่องใสองอาจกล้าหาญ ถ้าพูดถึงว่าอัศจรรย์ของอวิชชานี้ก็อัศจรรย์จนขนาดสติปัญญาอัตโนมัติชมเชยพูดง่าย ๆ นะ ยกย่องชมเชยถวายตัวเป็นองครักษ์พูดง่าย ๆ แต่เพราะขึ้นชื่อว่าสมมุติแล้วจะละเอียดขนาดไหนก็ตาม มันจะแสดงอาการพิรุธให้เห็นจนได้

    ด้วยสติปัญญาอัตโนมัตินี้ก็แหลมคมไม่ใช่เล่น เพราะไม่ใช่แต่เพียงรักษาอย่างเดียว ยังต้องสังเกตว่ามีอะไรเกี่ยวข้องกับนี้ ๆ ทีนี้มันก็มีเพราะอันนี้เป็นตัวสมมุติ ทีนี้ สมมุติที่จะแทรกกันขึ้นมากับสมมุตินี้ก็ได้แก่ความผ่องใสความเศร้าหมอง คือความผ่องใสนั้นผ่องใสตามส่วนของธรรมละเอียด เศร้าหมองก็เศร้าหมองตามส่วนของธรรมละเอียด มันหากมีจนได้ แม้จะละเอียดขนาดไหนสติปัญญานี้ก็ทันก็รู้ เมื่อแสดงขึ้นมาหลายครั้งหลายหนก็ทำให้เอะใจ เอ๊ะ ทำไมธรรมชาติอันนี้นึกว่าจะคงเส้นคงวาแล้ว ทำไมจึงมีอาการแปลกๆ ให้เห็น เดี๋ยวว่าผ่องใสเดี๋ยวว่าเศร้าหมอง ถึงจะละเอียดแค่ไหนก็ตามนะ

    จิตละเอียดแค่ไหนความเศร้าหมองความผ่องใสก็จะละเอียดไปตาม ๆ กันนั้นแหละ แม้เช่นนั้นมันก็ไม่ทนกับสติปัญญาที่จ่ออยู่ตลอดเวลาได้ ทั้ง ๆ ที่รักษาอยู่มันก็แสดงอาการให้เห็นพิรุธก็จับปั๊บเข้าไปซิ เลยเอาจุดนี้เป็นสนามรบละที่นี่ เอ๊ นี่มันอะไรถึงเป็นอย่างนี้ กว่าจะรู้นะ ว่าเป็นของดิบของดีว่าเป็นของวิเศษวิโส

    ทำไมจึงมามีอาการเศร้าหมองบ้างอาการผ่องใสบ้าง มีลักษณะทุกข์บ้างสุขบ้าง ทำไมจึงมาเป็นอย่างนี้ คือทุกข์ก็ทุกข์ตามส่วนละเอียดของธรรมของจิตนั่นแหละ ไม่ทุกข์มากก็พอให้รู้จนได้ เพราะสติปัญญาขั้นนี้เป็นขั้นที่แหลมคมมาก ก็จับซิ นั่นเป็นต้นเหตุให้พิจารณา ทีนี้ จุดนั้นเลยเป็นจุดพิจารณาขึ้นแล้วที่นี่ เหมือนกับสภาวธรรมทั้งหลาย เราผ่านไปได้ก็เพราะเราพิจารณาเข้าใจแล้วผ่านไป ๆ ทีนี้อันนี้กำลังสงสัยมันก็จ่อเข้ามานี้อีก มันพิจารณาเข้าใจปั๊บก็ขาดลอยไปเลยไม่มีอะไรเหลือ ทีนี้เมื่อเราเทียบถึงว่าความอัศจรรย์ของอวิชชาอันนี้กับความอัศจรรย์ของจิตที่บริสุทธิ์นั้นมันเป็นคนละโลกเลย ถ้าหากว่าเราจะเทียบก็เหมือนกับกองขี้ควายกับทองคำทั้งก้อนผิดกันยังไง ความบริสุทธิ์นั้นเหมือนทองคำทั้งแท่งทั้งก้อน อวิชชานี้เหมือนกับกองขี้ควาย มันห่างกันขนาดนั้นนะ ผิดกันขนาดนั้น เพราะฉะนั้นจึงใครก็ตามถ้าไปเจอนี้ได้หลงกลอันนี้แล้วและค่อยผ่านไปทีหลัง ยังไงก็ต้องเกิดความสลดใจเห็นความโง่ของตัวเอง โอ้โห ๆ ขนาดนี้เชียวเหรอ อวิชชาขนาดนี้เชียวเหรอ โอ้โห ๆ เลย เรานึกว่ามันอัศจรรย์ขนาดไหน

    อัศจรรย์อะไรกองขี้ควาย มันมาหลงกองขี้ควายจนได้ เพราะสติปัญญาอันนั้นแหละ เพราะทางไม่เคยเดินสิ่งไม่เคยรู้ แต่เวลาพิจารณาเข้าไป ๆ มันก็ตะล่อมเข้าไป ๆ ก็ไปถึงจุดสุดท้ายของมัน จุดสุดท้ายคือจุดนี้ ถ้าหากว่าแก้ไม่ได้มันก็ต้องอยู่นี้แหละ ยังพาให้หลง แม้จะไม่กลับมาเกิดอีกก็ตาม ก็ยังจะต้องเกิดอีกขั้นนั้นขั้นนี้ ถึงจะต่อถึงที่สุดก็ยังเรียกว่าเกิด ไปเกิดในพรหมโลก ๕ ชั้นเป็นต้น อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ๕ ชั้นนี้เป็นชั้นที่อยู่ของพระอนาคามีซึ่งกำลังดำเนินอรหัตมรรค อรหัตมรรคกำลังจะเต็มภูมิแล้ว พอรู้ปั๊บก็เป็นอรหัตผลขึ้นมาเต็มภูมิ นี่พูดอย่างนี้ก็ไม่อยากจะพูด คือเกี่ยวกับผู้มาอบรมศึกษา เวลาเข้าไปแล้วพอถึงธรรมขั้นละเอียดแล้วมักจะหมายนะ คือมักจะหมายมักจะคาด ครูบาอาจารย์พูดอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วนึกน้อมเอาจิตของตัวเองไปเป็นอย่างนั้นทั้ง ๆ ที่มันไม่จริง แล้วก็เป็นความผิดของผู้นั้น จึงต้องระวังเหมือนกัน ถ้าหากว่าไม่อธิบายไว้บ้างพวกนี้ก็ไม่เข้าใจ เวลาไปถึงจุดใดจุดหนึ่งเข้าไปก็จะได้ยึดเอาอันนี้มาเป็นหลัก อ๋อ ท่านว่าอย่างนั้นนะ มันก็มีทางที่จะพิจารณาไปอีกได้ ถ้าบอกอย่างนี้แล้ว ผู้ที่เป็นเถรตรงนั้นสติปัญญาไม่ค่อยรอบนัก ถึงว่าจะเป็นขั้นนั้นก็ตามก็ยังขึ้นอยู่กับนิสัยอีกเหมือนกัน

    มันจะคล่องแคล่วแกล้วกล้าต่างกันอืดอาดต่างกัน ถึงมหาสติมหาปัญญาเหมือนกันก็ตามไม่ใช่ว่าจะเป็นแบบเดียวกันหมด อาจจะไปน้อมนึกเอาอันนั้นมาเป็นของตัวเสียบ้าง เข้าใจว่าตัวเป็นอย่างนั้นเสียบ้างแล้วก็นอนใจ แน่ะลำบาก ท่านอาจารย์มั่นรู้สึกว่าท่านฉลาดมาก พออธิบายถึงจุดนี้ท่านเว้นเสียปั๊บ ไปเอาข้างหน้าอธิบาย พอไปถึงจุดนั้นท่านเว้นปั๊บๆ ท่านไม่เข้าจุดนั้นเลยคือกลัว ทำไมท่านถึงไม่เข้า เราจึงมาทราบทีหลังว่าที่ท่านไม่เข้า เพราะกลัวจะไปเกิดสัญญาความสำคัญมั่นหมายขึ้นมาในวงปฏิบัติ พูดถึงเรื่องธรรมะนี่เพลินไม่ทราบอย่างไร อะไรก็ไม่เพลินเหมือนธรรม พูดอย่างนี้เพลินเลย เพลินดี นี่อยากให้หมู่เพื่อนรู้เห็น พูดคนเดียวเหมือนกับบ้าเหมือนมาโกหกหมู่เพื่อน

    ธรรมของจริงมีอยู่กับหัวใจทุกคน ทำไมจึงกอดแต่ของปลอมไว้ตลอดเวลาทุกอิริยาบถ ฟาดฟันหั่นแหลกกันลงไปมันไม่อยู่ที่ไหน อย่าไปคาดอดีตอนาคตยิ่งกว่าปัจจุบันซึ่งเป็นที่อยู่ของสัจธรรม ให้พิจารณาลงตรงนั้น ท่านพูดอะไรก็ตามในวงปฏิบัติโดยเฉพาะแล้วอย่าไปคาดเป็นอันขาด..ผิด เอ้ารู้ขึ้นมาจากไหนก็ให้เป็นเรื่องของเราเป็นอย่างนี้ เรื่องของท่านเป็นอย่างนั้น เรื่องของเราเป็นอย่างนี้ ให้เป็นเครื่องยืนยันกันอย่างนี้ เราจะไปน้อมของเราอยากให้เป็นเหมือนท่านอะไรอย่างนี้ไม่ได้..ผิด เช่นว่าสมาธิ รวมอย่างสนิทอย่างนี้นะ

    แล้วก็น้อมจิตให้มันสนิททั้ง ๆ ที่มันไม่สนิทก็ผิด มันเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นตามหลักนิสัยของตัวเอง ให้รู้ด้วยตัวเอง เป็นสมบัติของตัวเอง สมบัติของเราเป็นอย่างนี้ สมบัติของเขาเป็นอย่างนั้น สมบัติของตัวเป็นอย่างนี้ ให้รู้ชัด ๆ ว่านี้เป็นของตัว ๆ นั้นละถูกต้อง ให้ระวังกันที่เตือนนั้น มันยึดได้นะ มันหากเป็นเอง

    คือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มันหากไปยึดได้ ยึดจนได้นั่นแหละ จึงต้องได้เตือนไว้เสมอ ระวัง จิตจะเข้าถึงขั้นละเอียดมันยึดแบบละเอียดนั่นแหละ เราไม่ทันมันเสีย นี่ละที่สอนหมู่เพื่อนถึงเรื่องสติปัญญา ก็สอนเพื่อธรรมขั้นนี้เป็นสำคัญ สติปัญญาจึงต้องประมวลมาตั้งแต่บัดนี้เรื่อยมา เริ่มฝึกสติปัญญา เมื่อเข้าตาจนแล้วจะได้มีทางออกได้ด้วยสติปัญญา

    เพียงหยาบๆ สติปัญญาก็ไม่มีใช้แล้วจะทำยังไง เมื่อเข้าถึงธรรมอันละเอียดก็ตายอยู่อย่างนั้นซิ ไปไม่ได้ ที่ดุด่าว่ากล่าวหมู่เพื่อนก็เพราะอย่างนี้เอง พอมองไปดูเปิดนี้ไว้แล้ว พูดออกมาคำหนึ่งสองคำก็เปิดนี้ไว้แล้ว แสดงให้เห็นความโง่ความฉลาดอยู่ในตัว นี่ ระยะนี้พวกญาติโยมอุดรฯ ชักตื่นกันละนะ พอไปเทศน์ข้างในครัวบ้างแล้วถึงวันพระมารุมกันมาแล้วนี่ เหมือนจะมาตั้งเป็นกฎอันหนึ่งให้เรา เราได้ดุอยู่เรื่อย อย่าให้มันเป็นกฎนะ คัด



    ลอกมาจาก http://www.luangta.com/thamma/thamm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • UBaYWd6OClP.png
      UBaYWd6OClP.png
      ขนาดไฟล์:
      596 bytes
      เปิดดู:
      194
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2017
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,463
     

แชร์หน้านี้

Loading...