หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    Por_lee.jpg
    ประวัติหลวงปู่ลี กุสลธโร
    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่ลี กุสลธโร เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2465 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ ที่บ้านเก่า ตำบลนาหอ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ ชาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมกัน 9 คน เรียนจบชั้นประถม 3 เมื่ออายุ 12 ปี และแต่งงานกับนางสาวตี เมื่ออายุประมาณ 20 ปี นางสาวตีตั้งท้อง เมื่อคลอดปรากฏว่าลูกเสียชีวิต ท่านได้รู้สึกเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง

    การแต่งงานครั้งนี้ ท่านเล่าว่า ที่แต่งกับนางสาวตี มิได้แต่งเพราะความรัก หากแต่เป็นการแต่งแบบคลุมถุงชน โดยที่ท่านยังไม่เคยรักผู้ใดเลย ท่านอยู่กับภรรยาได้เพียง 2 ปี 3 เดือน จึงขอออกบวชเพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นแล้วรู้สึกเลื่อมใส

    อุปสมบท
    หลวงปู่ลี อุปสมบทที่ วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมือวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๙๓ โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชพระเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และเมื่ออุปสมบทได้ฉายานามว่า “กุสลธโร” แปลว่า “พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี” )

    400px-Pardang1.jpg
    พระพุทธรูปองค์ประธาน บริเวณศาลาโรงฉัน วัดป่าภูผาแดง
    โอวาทธรรม
    ...บ่ทันนาน คั่นจิตเป็นปัจจุบันอยู่ฮั่น บ่เห็นหนึ่งต้องแนวหนึ่งหละ มันซิเกิดเฮ็ดให้มันเป็นปัจจุบัน อดีตที่ล่วงมาแล้ว ก็อย่าไปคำนึงเลย มันก็ออกไปจากปัจจุบันนั่นหละ อนาคตคือกัน มันออกไปจากปัจจุบันนี่ละ อย่าไปคำนึงมันเลย คุมมันเข้า เบิ่ง ให้เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่นละ อย่าไปเบิ่งหัวใจผู้อื่น... คั่นคุมเจ้าของแท้ๆ ต้องเห็น คั่นพิจารณาสภาพร่างกายก็พิจารณาอยู่ฮั่น แต่พื้นเท้ามาศีรษะ แต่ศีรษะลงมาพื้นเท้า ให้พิจารณาอยู่ฮั่น เอาแหมะ ๒๔ ชั่วโมงนี่ บ่ให้มันปากมาเลย ต้องเกิดแน่... อันนี้หัวใจมันแลนอยู่นำโลกนำสงสารพุ่น มันบ่ปักมั่น แล้วซิเห็นหยังฮั่น คือกินข้าวเนี่ย กินนอนอยู่ ย้ายไปนั่น นอนอยู่ก็ไปฮั่น นอนก็ไปนี่ เลยบ่อิ่มจักที นี่เรื่องมัน

    เอ้า พิจารณามันซี คั่นคุมเข้าแท้ๆ มันซิต้องจับได้เงื่อน เดี๋ยวมันซิเกิดอันนั้นเกิดอันนี่โลด นี่เฮ็ดจริงทำจริงมันต้องรู้จริง... ไอ้ พิจารณาโตนี่ละ โตสำคัญ ถ้าหากว่าได้จับจุดได้ละ เออ มันซิออกอุทานบัดทีนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจทั้งนั้น... คั่นตีแตกอริยสัจนี่ได้แล้ว ฮ่วย! กราบพระพุทธเจ้ากราบครูอาจารย์ โอ๊ย มันก็กราบอยู่จังซั่นหละ หมดคืนหละ นี่ เพิ่นเว่าจริงเฮ็ดจริง มันซิประมวลมาหมดดอก อันพระพุทธเจ้าเพิ่นเห็นนะ มันซิมาเกิดจากใจเฮานี่ละ...

    ให้พากันเร่งความพากความเพียร...

    — หลวงปู่ลี กุสลธโร
    วัดป่าภูผาแดง
    350px-Jeedee5.jpg
    พุทธมหาเจดีย์ ณ วัดป่าเกสรศีลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) ถ่ายเมื่อ ตุลาคม 2560




    การมีส่วนร่วมในโครงการผ้าป่าช่วยชาติ
    หลวงปู่ลีเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยมักน้อย สันโดษ มีความเคารพรักครูบาอาจารย์เป็นสำคัญ
    เช่นเหตุการณ์ผ้าป่าช่วยชาติที่ หลวงตามหาบัวจัดตั้งขึ้น ท่านได้ร่วมถวายทองคำเข้าโครงการกว่า 500 กิโลกรัม ซึ่งแสดงให้เห็นความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างที่สุด หลังจากนั้นสาธุชน ก็มีศรัทธาเลื่อมใสและได้มีร่วมทำบุญกับหลวงปู่ลี ตั้งแต่นั้น

    ละสังขาร
    หลวงปู่ลีมีอาการอาพาธตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ด้วยโรคชราและละสังขารอย่างสงบในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 15.15 น. ณ ห้องปลอดเชื้อ ข้างศาลาใหญ่ สิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 วัน โดยก่อนหน้านี้ได้มีข่าวการละสังขารของหลวงปู่ เมือ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และได้มีแถลงการณ์เรื่องการอาพาธของหลวงปู่ลี ว่ายังอยู่ในการดูแลของทีมแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี และแพทย์ทางเลือกเป็นระยะ ๆ และได้ละสังขารอย่างสงบ ตามประกาศล่าสุดของทางทีมแพทย์
    :- https://th.wikipedia.org/wiki/หลวงปู่ลี_กุสลธโร
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    พระนางอุบลวรรณาเถรี อัครสาวิกาเบื้องซ้าย | แม้เป็นพระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์...ก็มิอาจหนีกรรมพ้น

    ธรรมไม่ยาก
    Jun 8, 2023

    เรื่องราวในวันนี้ เป็นเรื่องราวของภิกษุณีรูปหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา นั่นคือ พระนางอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะฝ่ายภิษุณี หรือ ภิกษุณีผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีอื่นทางด้านฤทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้านั้น ถึงกับทรงยกย่องให้ท่านเป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย แต่แม้ว่าท่านจะเป็นเลิศทางด้านฤทธิ์ แต่เมื่อกรรมเก่าตามมาให้ผล ท่านก็มิอาจหลีกเลี่ยงได้
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    พระสารีบุตร ที่สุดของความอบอุ่น

    เผือก สีขาว
    Aug 25, 2022

    พระสารีบุตร เรารู้จักท่านในนามอัครสาวกเบื้องขวา ของพระพุทธเจ้าผู้เลิศด้วยปัญญา แต่รู้มั้ยว่า ถ้าใครได้รู้จัก จะยิ่งรักท่านมากขึ้นไปอีก ว่าท่านนี่แหละ ที่สุดของการดูแลเอาใจใส่ ใครอยู่ใกล้ก็อบอุ่นใจเหมือนไมโครเวฟเลย มาฟังเรื่องราวของท่าน ในมุมที่ทุกคนไม่เคยได้ฟังแน่นอน ยาวหน่อย ฟังกันให้ได้นะค้าา
    0:00 เกริ่นก่อน
    0:48 กำเนิดอุปติสสะ
    1:16 อุปติสสะเบื่อไม่ไหว
    2:10 อุปติสสะเจอพระอัสสชิ
    4:07 ทั้ง 2 สหายเจอพระพุทธเจ้า
    5:34 พระสารีบุตรไม่เคยลืมอาจารย์
    5:58 คอยดูแลพระในวัดอย่างดี
    6:47 บวชให้ราธพราหมณ์
    7:32 อยู่เคียงข้างศิษย์จนวันสุดท้าย
    8:52 ไม่เคยคิดว่าตนดีกว่าใคร
    10.36 บั้นปลายไปโปรดแม่
    *อ้างอิง กำเนิดพระสารีบุตร วิ.มหา. (ไทย) 6/64/122
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    อยู่ภาวนากับหลวงปู่ชา

    ปู่ดอน station
    Jun 2, 2024

    หลวงพ่อเลี่ยม ได้ไปอยู่ภาวนาที่วัดหนองป่าพงกับหลวงปู่ชาเป็นครั้งแรก ท่านได้ทำข้อวัตรกิจวัตรทุกอย่างตรมคำแนะนำของหลวงปู่ชา จนการปฏิบัติทางจิตเกิดความก้าวหน้า..
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    พระเทพวชิรญาณ_(เลี่ยม_ฐิตธมฺโม).jpg
    ประวัติพระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม)
    พระเทพวชิรญาณ,วิ. นามเดิม เลี่ยม จันทำ ฉายา ฐิตธมฺโม เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีมหานิกาย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงถัดจากพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ด้วยนิสัยมักน้อย สันโดษ ถ่อมตน[1] จึงเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เมื่อครั้งหลวงพ่อชา ท่านอาพาธหนัก ได้ขอให้พระอาจารย์เลี่ยม รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน ทำให้ท่านต้องรักษาการแทนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ประวัติ
    ชาติกำเนิด
    พระเทพวชิรญาณ,วิ. นามเดิม เลี่ยม จันทำ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ตรงกับวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง ที่บ้านโคกจาน ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บิดาชื่อนายเพ็ง จันทำ มารดาชื่อนางเป้ง จันทำ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน โดยท่านเป็นคนที่ 4

    อุปสมบท
    พระอาจารย์เลี่ยม ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ 2504 โดยมีพระครูถาวรชัยเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทิพย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระจันลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี 2507

    ปฏิบัติกรรมฐาน
    ในปี 2512 พระอาจารย์เลี่ยม ได้ออกเดินทางเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อเรียนรู้ธรรม จนได้มาพบสำนักของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดที่ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน เสนาสนะมีระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วเย็นใจ และได้กราบนมัสการหลวงพ่อชา ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ในการนี้เอง หลวงพ่อชา ท่านได้เมตตาเปลี่ยนบริขารทุกอย่างให้หมด

    ระเบียบปฏิบัติของหลวงพ่อชา ถือว่าเข้มงวดมาก แต่หลวงพ่อเลี่ยมก็ไม่ได้ย่อท้อแต่อย่างใด เพราะเคยฝึกมาตั้งแต่สมัยอยู่ที่วัดเดิม ซึ่งถือว่าตรงกับรูปแบบของตัวเองมากกว่าที่จะสร้างความยุ่งยากในฝึกฝน เพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของพระศาสนา ด้วยความพากเพียร แม้แต่ในวันพระก็ถือ เนสัชชิก คือ การไม่นอนตลอดคืน ก็อยู่ได้อย่างสบาย จนจิตรู้สึกสว่างไสวและมีความสุขจากการปฏิบัติธรรม

    โอวาทธรรม
    เรื่องที่พูดกัน ก็พูดแต่เรื่องการปรุงแต่งของกริยามารยาท ของความรู้สึกที่เป็นเพลิดเพลินเท่านั้น อย่าไปมองว่าคนนั้นดี คนนั้นเลว คนนั้นเกลียดเรา คนนั้นรักเรา ถ้าเรามองในแง่อย่างนี้ เราจะหลงไปในทิศทางมืด
    ถ้าเราวางความรู้สึกของเราในสภาพว่าเป็นสภาวะธาตุ สภาวะขันธ์ มันเป็นกฎธรรมชาติแล้ว จะทำให้เรามีอารมณ์เป็นปกติ…

    — พระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม)
    สมณศักดิ์
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    นิโครธสามเณร ผู้ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

    Jaiyut24hr.
    Nov 26, 2021

    นิโครธสามเณร ผู้ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    ประมาณ ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งนามว่า สามเณรนิโครธ อายุเพียง ๗ ขวบ ได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ สามเณรน้อยมีผิวพรรณผ่องใสและเป็นผู้ที่ฝึกตนเป็นอย่างดีจึงมีบุคลิกที่สงบเสงี่ยมสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทำให้พระราชาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในทันทีที่เห็นสามเณรเดินผ่าน จึงนิมนต์ขอฟังธรรมสามเณรได้ให้โอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่พระเจ้าอโศกมหาราชว่า "ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย" เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงเปลี่ยนพระองค์ใหม่ เปลี่ยนจากผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) มาเป็นผู้มีความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) เปลี่ยนจากนิสัยดุร้าย เป็นผู้ที่มีแต่ความเมตตา ทรงเปลี่ยนแว่นแคว้นของพระองค์ให้เป็นอาณาจักรแห่งธรรม ทำให้บ้านเมืองสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง ต่อมาได้ทรงเผยแผ่และปักหลักพระพุทธศาสนาให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงในหลายดินแดนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    หลวงพ่อสาย ร่างกลายเป็นหิน

    หลวงตา
    Jun 2, 2024
    หลวงพ่อสาย ร่างกลายเป็นหิน

    พระครูสมุทรมงคล (หลวงพ่อสาย สุมังคโล)
    วัดจันทร์เจริญสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
    ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข ศิษย์เอกหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม--> https://www.pra-maeklong.com/2020/10/watchanjareansuk.html
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    ทำบาปทุกวันให้ผลทันตา (กรรมบันดาล )

    หลวงตา
    Aug 3, 2021
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    พระมหาโมคคัลลานะ ลูกผู้ชายตัวจริง ท้าชน ไม่เกรงใจใคร

    เผือก สีขาว
    Feb 13, 2023
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    lputtama.jpg
    หลวงพ่ออุตตมะ พระธุดงค์มอญ

    หลวงตา
    Jun 5, 2024

    หลวงพ่ออุตตมะ พระธุดงค์มอญ พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ)
    วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี
    ประวัติ
    :- https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชอุดมมงคล_(เอหม่อง_อุตฺตมรมฺโภ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2024
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    หญิงสาวใจกล้า แหวกมุ้งกลดเข้ามาจ้องมองหลวงปู่จวน

    ปู่ดอน station
    May 2, 2024

    หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ พระอรหันต์แห่งภูทอก ศิษย์หลวงปู่มั่น สมัยที่ท่านยังหนุ่ม ท่านได้จาริกธุดงต์ไปจำพรรษาในเขตภาคเหนือ ทำให้ท่านได้พบเจอกับภัยคุกคามจากสตรีสาวที่ัเข้ามาอ่อยท่านหลายต่อหลายครั้ง สุดท้ายท่านก็เอาตัวรอดมาได้อย่างหวุดหวิด!..
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    หลวงพ่อจาด ปลุกทหารผี อินโดจีน

    หลวงตา
    Jun 3, 2024

    หลวงพ่อจาด ปลุกทหารผี อินโดจีน
    พระครูสิทธิสารคุณ (จาด คงฺคสโร) วัดบางกระเบา จังหวัดปราจีนบุรี
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    หลวงพ่อจาด คงฺคสโร.jpg
    ประวัติหลวงพ่อจาด คงฺคสโร
    หลวงพ่อจาด (17 มีนาคม พ.ศ. 2415 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2499) ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะเบา นามของท่านเป็นที่รู้จักในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีสมญานามเรียกขานคล้องจองว่า จาด จง คง อี๋ สำหรับค่านิยมอันสูงสุดของวัตถุมงคลของท่านนั้นได้แก่ เหรียญลงยานั่งเต็มองค์ปี พ.ศ. 2483 ตอกหมายเลข และที่ตามมาเป็นอันดับสองคือ เหรียญ จ.เจริญลาภ ทั้งสองเหรียญนี้ถ้าอยู่ในสภาพเดิมๆสวยสมบูรณ์มีค่านิยมสูงถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว
    ประวัติ
    หลวงพ่อจาด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา บิดาชื่อ นายเป๊อะ วงษ์กำนุช ส่วนมารดาได้ถึงแก่กรรมในขณะที่ท่านยังเด็ก อุปสมบทเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระครูปราจีนมุนี (หลวงพ่อทอง) วัดหลวงปรีชากูล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่วัดเกาะแก้วเวฬุวัน จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์จัน ครั้นพรรษาที่ 2 จึงได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์อยู่ วัดไกรสีห์ กรุงเทพมหานคร เมื่อพรรษาที่ 4 ท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางกะเบา จังหวัดปราจีนบุรี ปี พ.ศ. 2497 เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 และเป็นพระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ. 2470 รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสิทธิสารคุณ วัตถุมงคลของท่านที่สร้างในครั้งที่ยิ่งใหญ่คือ ครั้นที่เกิดสงครามเอเซียบูรพาปี พ.ศ. 2483 ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั่วประเทศก็ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกทหารกันในปีนี้เป็นปีพิเศษ ส่วนหลวงพ่อจาดท่านสร้างเป็นเหรียญนั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์นั่งอยู่กลางดอกบัว มีเนื้อเงินลงยาและเหรียญทองแดง ได้มีผู้ประจักษ์ถึงความศักดิ์สิทธิ์กันเป็นจำนวนมาก ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมอายุได้ 84 ปี 63 พรรษา

    รายละเอียดวัตถุมงคลของท่านสามารถดูได้ที่ : https://www.pra-gejisiam.com/2023/09/watbangkrabao.html
    :- https://th.wikipedia.org/wiki/พระครูสิทธิสารคุณ_(จาด_คงฺคสโร)
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    คู่บารมีเจ้าชายสิทธัตถะ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่คือความตั้งใจ

    เผือก สีขาว
    Jan 12, 2024
    0:00 เกริ่นก่อน

    1:03 การพบกันครั้งแรก
    2:51 ชาติสุดท้ายเกิดเป็นพระนางพิมพา
    6:21 แม้เกิดเป็นสัตว์ก็มีรักมั่นคงที่สุด
    9:13 ให้ราหุลไปหาพระบิดา
    12:12 สรุปจบ

     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    ๓๐๖.พลอยแดง ผจญภัยกลางดง ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Jun 16, 2024
    ส่างใบชาวเมืองหนองรัฐฉานใต้ ไปขุดได้พลอยแดงเม็ดงาม ต้องผจญภัยกลางดงจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่โชคดีมีพระธุดงค์หนุ่มไปช่วยไว้.

     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    อาจารย์ยอด : หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ออกธุดงค์ [พระ]

    อาจารย์ยอด
    Jun 16, 2024
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    ๑๖๘.ปอบดงหมาดำ ลี้ลับห้วยปูลิง ผจญภัยบนดอยสูง

    thamnu onprasert
    Jun 19, 2024

    ที่บ้านห้วยปูลิงกลางดง เกิดเรื่องน่าสะพรึงกลัวปอบดงหมาดำกินคน ไม่มีใครช่วยแก้ไขได้ จนส่างอุ่นเปิงไปพบเห็น จึงช่วยเหลือให้เรื่องร้ายนั้นสูญหายไป.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2024
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    ตำนาน หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว

    หลวงตา
    Jun 19, 2024
    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ วัดอุสภารามบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา

     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,805
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,055
    lpdingkangkasuwanno.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูพิบูลย์คณารักษ์
    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ

    วัดบางวัว (วัดอุสภาราม)
    บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา


    ชาติภูมิและประวัติทั่วไป

    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๐
    ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู จ.ศ. ๑๒๓๙
    ที่บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    เป็นบุตรของ คุณพ่อเหม และคุณแม่ล้วน เหมล้วน
    มีพี่น้องทั้งหมดรวม ๑๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    พอเข้าวัยการศึกษา บิดามารดาได้นำท่านไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียน
    อยู่กับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดบางวัว ซึ่งท่านก็ได้รับการอุปถัมภ์ด้วยดี
    รสพระธรรมได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจของท่านอย่างลึกซึ้ง
    ยามว่างก็จะเข้ามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ คือ การทำนา
    สมัยก่อนทำนาปีละครั้ง ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงมีเวลาว่างมาก
    เพราะต้องรอคอยฤดูฝนจึงจะทำนากันได้

    การอุปสมบท

    อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐
    ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา ณ พัทธสีมา วัดบางวัว
    โดยมี พระอาจารย์ดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร
    ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์จ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    และพระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับนามฉายาว่า “คงฺคสุวณฺโณ” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า
    “ผู้มีจิตชุ่มเย็นเช่นดังแม่น้ำ และแกร่งเช่นดังทองคำ”
    นับตั้งแต่นั้นมาท่านก็ซาบซึ้งในรสของพระธรรม
    และครองสมณเพศจนตลอดสิ้นอายุขัย

    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดบางวัว
    เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๒ พรรษา
    หลังจากนั้นท่านก็เดินทางเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม
    ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม (วัดสามจีน) ในสมัยที่หลวงพ่อโม ยังมีชีวิตอยู่

    พระอาจารย์

    จากคำบันทึกที่หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า
    ขณะที่มาอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ เพียง ๑ พรรษา
    พระอธิการเปีย เจ้าอาวาสวัดบางวัว ก็มรณภาพลง
    พระภิกษุในวัดและญาติโยมได้ประชุมปรึกษากัน
    มีมติให้ไปนิมนต์ท่านกลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป
    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่อาจขัดศรัทธาของญาติโยมได้ จึงเดินทางมาครองวัดบางวัว
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่าบวชเพียง ๓ พรรษาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว
    เมื่อหลวงพ่อดิ่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็เริ่มพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ ในวัด
    ซึ่งขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
    ได้พัฒนาให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร

    หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังเสมอว่า
    อาจารย์ที่ฉันได้เล่าเรียนวิชามาด้วยกันจริงๆ มีอยู่ ๓ องค์ คือ
    (๑) หลวงพ่อดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของฉันเอง
    (๒) หลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี
    องค์นี้ท่านเก่งมาก ขนาดปราบฝรั่งที่มันมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์จนต้องยอมสยบต่อท่าน
    แน่ไม่แน่ขนาดฝรั่งยิงปืนไปที่โบสถ์วัดบ้านเก่า ไม่ออกก็แล้วกัน
    (๓) หลวงพ่อเปอะ วัดจวนเขื่อนขันธ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
    องค์นี้ท่านเก่งทางสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ


    สมณศักดิ์และหน้าที่ทางคณะสงฆ์

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางวัว

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง
    (ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอบางปะกง ในปัจจุบัน)

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง
    (เจ้าคณะอำเภอบางปะกง ในปัจจุบัน)

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิบูลย์คณารักษ์

    วัตถุมงคลและเหรียญคณาจารย์

    บรรดาเหรียญพระคณาจารย์ของจังหวัดต่างๆ นั้น
    บางจังหวัดสนนราคาเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าค่อนข้างสูง
    ถ้าจะจัดลำดับความสำคัญ โดยถือเกณฑ์เฉลี่ยของเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าเป็นดัชนีในการจัด
    จะพบว่าในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเหรียญดัง อีกทั้งสนนราคาเหรียญค่อนข้างสูงอยู่หลายเหรียญ
    สำหรับที่เด่นและเป็นที่รู้จักแพร่หลายในยุทธจักรวงการเหรียญพระคณาจารย์ คือ

    เหรียญหลวงพ่อโสทร รุ่นปี พ.ศ. ๒๔๖๐

    เหรียญหลวงคง วัดซำป่างาม

    เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดอุสภาราม

    ทั้ง ๓ เหรียญพระคณาจารย์ดังกล่าว คือเหรียญยอดนิยมของจังหวัดฉะเชิงเทรา

    หลวงพ่อดิ่ง ท่านเป็นพระเถราจารย์ยุคอินโดจีนที่เคร่งในวัตรปฏิบัติ
    มีเมตตาจิต และเชี่ยวชาญแตกฉานในทุกสาขาวิชา รวมถึงพุทธาคมต่างๆ
    ทั้งเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา
    วัตถุมงคลของท่านล้วนทรงไว้ซึ่งพุทธานุภาพเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น
    ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษและปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง
    เพราะผู้มีไว้ต่างหวงแหน คือ “ลิงไม้แกะ”
    ที่แกะจากรากต้นรักและรากต้นพุดซ้อนอันทรงพุทธานุภาพ
    และ “เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑”

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะศิษย์ มรรคนายกของวัด และญาติโยมผู้เคารพเลื่อมใส
    ได้พร้อมใจกันจัดงานพิธีทำบุญอายุครบ ๖๑ ปี ถวายแด่หลวงพ่อดิ่ง
    ในงานพิธีนี้ท่านได้ปลุกเสกวัตถุมงคล ประเภทเหรียญแจกคณะศิษย์ มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ

    เหรียญพระพุทธรูปจำลองพระประธานอุโบสถ

    เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก เนื้อเงินลงยา มีจำนวนน้อย

    เหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่ เนื้อทองแดง มีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ

    สำหรับพระเครื่อง “เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑”
    ที่ท่านสร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ ๖๑ ปี โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง
    และเพิ่มเนื้อพิเศษสำหรับแจกกรรมการเป็นเนื้อเงินลงยา
    ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหูเชื่อมเช่นเดียวกันนั้น

    เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก เนื้อทองแดง เหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่
    ด้านหน้ายกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป
    มีอักษรไทยกำกับโดยรอบว่า
    “พระครูพิบูลย์คณารักษ์ เจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง วัดอุสภาราม ฉะเชิงเทรา”
    ด้านหลังยกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นยันต์ ภายในบรรจุอักขระขอมว่า “มิ มะ นะ อะ อุ”
    ล่างสุดเป็นปี พ.ศ. ที่สร้าง คือ “พ.ศ. ๒๔๘๑”

    ส่วนเหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก เนื้อเงินลงยา เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก
    ด้านหน้ากรอบใน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป
    ด้านบนเป็นปี พ.ศ. ที่สร้าง คือ “๒๔๘๑”
    กรอบนอก เป็นอักษรไทยจารึกว่า
    “ทำบุญที่ระลึกอายุ ๖๑ ปี พระครูพิบูลย์คณารักษ์” ด้านหลังพื้นเรียบ

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงพ่อดิ่งทำพิธีปลุกเสก ลิงจับหลัก หรือ หนุมานแกะ
    ซึ่งการทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในครั้งนั้นจัดพิธีใหญ่มาก
    มีการทำพิธีตัดไม้ข่มนาม มีการเอาหนังเสือมาปูทับอาวุธนานาชนิด
    แล้วหลวงพ่อดิ่งก็ขึ้นไปนั่งปลุกเสกบนหนังเสือ ปลุกเสกจนสว่าง
    โดยที่หลวงพ่อดิ่งไม่ลุกขึ้นไปไหนเลยขณะที่ปลุกเสกลิงจับหลัก
    การบูชาให้ถูกต้องตามตำราของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
    จะต้องตั้งนะโม ๓ จบก่อน แล้วค่อยว่าพระคาถาหนุมาน ดังนี้
    หนุมานะ นะ มะ พะ ทะ ตามกำลังวัน
    เช่น วันเสาร์ ๑๐ วันอาทิตย์ ๖ วันจันทร์ ๑๕ วันอังคาร ๘ เป็นต้น
    ถ้าเข้าหาผู้ใหญ่ ให้นำลิงจับหลักจุ่มน้ำมันจันทน์แล้วเจิมที่หน้าผาก
    สำหรับคุณวิเศษของลิงจับหลัก หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว นั้น
    เป็นที่รู้กันว่าดี ทั้งทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

    การมรณภาพ

    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ
    ในวันธรรมสวนะ ขณะที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมสวดปาฏิโมกข์
    ตรงกับวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ สิริอายุรวมได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔

    ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ
    fb. วัดบางพลีน้อย : ประวัติหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
    https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%A ... 5551581259

    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงพ่อดิ่ง-วัดบางวัว/history
     

แชร์หน้านี้

Loading...