หลวงตาอำพัน จิรวุฑโฒ หลวงปู่อรุณ อุตตโม หลวงปู่รินทร์ทอง กิตติสัทโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 5 พฤษภาคม 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    หลวงตาอำพัน จิรวุฑโฒ หลวงปู่อรุณ อุตตโม หลวงปู่รินทร์ทอง กิตติสัทโท

    07 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 12:32 น.

    <!-- end articleDetailPanel --><SCRIPT type=text/javascript> var TWEETMEME_URL = 'http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0/8794/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%91%E0%B9%82%E0%B8%92-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%97'; tweetmeme_url = window.location; tweetmeme_service = 'digg.com'; tweetmeme_source = ""; </SCRIPT><SCRIPT src="http://tweetmeme.com/i/scripts/button.js" type=text/javascript></SCRIPT><IFRAME src="http://api.tweetmeme.com/button.js?url=http%3A//www.posttoday.com/%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0-%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2588/%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259C%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0/8794/%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599-%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2591%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2592-%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2593-%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A1-%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587-%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2597&style=normal&service=digg.com" frameBorder=0 width=50 scrolling=no height=61></IFRAME>
    <!-- end tweetmeme_button --><SCRIPT>var fbShare = {url: 'http://bit.ly/cbKlF8' }</SCRIPT><SCRIPT src="http://widgets.fbshare.me/files/fbshare.js"></SCRIPT><IFRAME src="http://widgets.fbshare.me/files/fbshare.php?size=large&url=http://bit.ly/cbKlF8&title=หลวงตาอำพัน จิรวุฑโฒ หลวงปู่อรุณ อุตตโม หลวงปู่รินทร์ทอง กิตติสัทโท" frameBorder=0 width=53 scrolling=no height=69 allowTransparency></IFRAME>
    <!-- end facebook-share -->
    <!-- end main-sns --><!--end articleDetailPanel-->พระสุปฏิปันโน 3 รูปนี้ ล้วนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบสายธรรมและนำกัมมัฏฐานจากอีสานสู่ภาคใต้
    โดย....ภัทระ คำพิทักษ์

    ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2552 ที่ผ่านมา มีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับพระกัมมัฏฐานที่น่าสนใจหลายประการ หนึ่งในนั้นคือ การให้เบาะแสร่องรอยของพ่อแม่ครูอาจารย์ 3 รูป ซึ่งประวัติยังมิได้แพร่หลายนัก
    3 รูปนั้น คือ หลวงตาอำพัน จิรวุฑโฒหลวงปู่อรุณ อุตตโมและ หลวงปู่รินทร์ทองกิตติสัทโท
    ประวัติศาสตร์พระป่าร่วมสมัยมักจะบันทึกไว้ตรงกันว่า หลัง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตดับขันธ์ในปีพ.ศ. 2992 คณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดงานถวายเพลิงศพท่านเมื่อปีพ.ศ. 2493 หลวงปู่เทสก์เทสรังสีก็นำคณะพระป่าส่วนหนึ่งล่องใต้เพื่อเผยแผ่ธรรมะตามคำอาราธนาของ พระมหาปิ่นชลิโต และพุทธบริษัททั้งหลาย รายนามพระกัมมัฏฐานที่ล่องใต้ในคราวนั้นมีอาทิ หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่มหาปิ่น ท่านพ่อลี ธัมมธโร หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่เหรียญวรลาโภ พระอริยเวที หรือหลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท หลวงปู่เม้า ธัมมุตตโม หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ พระอาจารย์วันอุตตโม หลวงปู่จันทร์โสม กิตติสาโร หลวงปู่คำพอง ติสโส หลวงปู่หล้า เขมปัตโต หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ หลวงปู่บุญรักษ์ ฐิตปุญโญหลวงปู่ประสาน สุมโน หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญพระราชภาวนาพินิจ หรือหลวงปู่สนธิ์ อนาลโย
    พระอาจารย์พูน จิตตธัมโม หลวงปู่อรุณ อุตตโมหลวงปู่รินทร์ทอง กิตติสัทโท พระอาจารย์พรหมา พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระสีหา สุธัมโม ฯลฯ น้อยนักจะทราบว่า หลวงตาอำพัน จิรวุฑโฒเป็นพระกัมมัฏฐานจากอีสานรูปแรกที่ลงไปเผยแผ่ธรรมในภาคใต้
    ก่อนหลวงปู่เทสก์จะเคลื่อนทัพพระกัมมัฏฐานในคราวนั้น หลวงตาอำพันได้ลงมาเผยแผ่ธรรมะในแถบ จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ก่อนแล้ว
    หลวงตาอำพันเป็นใคร?
    คณะบรรณาธิการผู้จัดทำหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เหรียญ ได้ดั้นด้นไปเก็บข้อมูลและตามหาภาพหลวงตาอำพันมาบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย จากการได้สัมภาษณ์ พระราชพิศาลสุธี ( เสน่ห์ ฐานยุตโต)ทำให้ทราบว่า หลวงตาอำพันรูปนี้เคยอยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่เทสก์มาก่อน
    นามเดิมก่อนบวช ท่านชื่อ อำพัน เดชอุดมท่านมิได้มีพื้นเพเป็นชาวไร่ชาวนาเหมือนเพื่อน
    สหธรรมมิกรูปอื่นๆ หากแต่เป็นข้าราชการฝ่ายปกครอง เป็นถึงอดีตนายอำเภอแห่งหนึ่งในจ.อุบลราชธานี มีบรรดาศักดิ์ที่ "ขุนศิริเตโชดม"ยังไม่พบหลักฐานว่า ท่านบรรพชาที่ไหนเมื่อไหร่
    ข้อมูลล่าสุดที่เสาะหามาได้ คือ "ทราบแต่เพียงว่าเมื่อปลายปีพ.ศ. 2493 หลวงตาเดินธุดงค์ผ่านมาทาง จ.ชุมพร ชาวบ้านมีความเลื่อมใสในคำสั่งสอนและการปฏิบัติของท่าน จึงได้อาราธนาให้จำพรรษาที่เชิงเขาดิน หมู่ 5 ต.ทุ่งคา อ.เมือง จ.ชุมพร และต่อมาท่านเห็นว่าสถานที่นี้เหมาะแก่การสร้างวัด ชาวบ้าน ต.ทุ่งคา จึงได้สร้างวัดขึ้นในที่แห่งนี้ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและตั้งเป็นวัดต่อมาคือ วัดเขาดิน ในปัจจุบันนี้ และหลวงตาได้อยู่จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่แห่งนี้ 2 พรรษา
    "ลุงดี เกียงสุภา ซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ใกล้วัดเขาดิน ได้เล่าให้ฟังว่า ลุงได้เคยอุปฐากหลวงตาอำพัน เมื่อครั้งที่จาริกธุดงค์มาพักบริเวณเนินดินซึ่งต่อมาได้สร้างวัดเขาดินขึ้นมา บางครั้งหลวงตาได้เล่าอดีตของท่านให้ฟัง
    "หลวงตา เล่าว่า ท่านเคยรับราชการเป็นนายอำเภอ และได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในคดีกบฏบวรเดช ต้องถูกจองจับอยู่ 8 เดือน เมื่อสอบสวนเสร็จได้รับการปล่อยตัว จึงลาออกจากราชการออกบวช ทางราชการได้ส่งหนังสือเชิญให้กลับเข้ารับราชการอีก แต่ท่านก็ไม่ต้องการ หลังจากบวชแล้วท่านก็ได้ธุดงค์ลงมาทางใต้ และได้พบกับหลวงปู่มหาปิ่นที่ อ.ท้ายเหมืองจ.พังงา..."
    หลังจำพรรษาที่นั่น 2 พรรษา ในปีพ.ศ. 2495 ก็ออกจาก จ.ชุมพร จาริกลงใต้ไปอีก จุดหมาย
    คราวนี้คือ ใต้แถบฝั่งตะวันตก ภูเก็ต พังงา กระบี่ท่านไปพักหนึ่งก็ย้อนกลับขึ้นมาที่ชุมพรอีก หนหลังนี้ไปพักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์นวลประดิษฐ์นภาราม ซึ่งอยู่บริเวณหลังที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพร ต่อมาได้ไปพำนักที่วัดเสกขาราม ต.วังตะกอ อ.หลังสวน และเจ้าคณะจังหวัดชุมพรก็ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอารามแห่งนั้นตามความประสงค์ของญาติโยม
    หลวงตาอำพันได้ปักหลักโปรดญาติโยมอยู่ ณ อารามแห่งนั้นเรื่อยมา กระทั่งปีพ.ศ. 2519 จึงอาพาธและมรณภาพในปีนั้นเอง
    แล้วเรื่องราวของพระกัมมัฏฐานรูปแรกจากอีสาน ผู้จาริกลงไปเผยแผ่ธรรมะในภาคใต้ก็ค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลาและความทรงจำของผู้คน
    ก่อนนี้เรื่องราวของท่านปรากฏอยู่เพียงไม่กี่บรรทัดในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโตความนั้นมีว่า
    "หลวงปู่มหาปิ่นได้เล่าให้ศิษย์ฟังว่า ปีพ.ศ.2492 หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านได้จาริกธุดงค์ไปยัง จ.ภูเก็ต และธุดงค์ต่อไปยังอ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ณ ที่นี้เอง ท่านได้พบกับหลวงตาอำพัน ซึ่งจาริกธุดงค์มาจากภาคอีสานหลวงปู่มหาปิ่นประทับใจในข้อวัตรปฏิบัติของหลวงตามาก จึงได้พำนักอยู่ด้วยกันและได้ประสบเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสลดใจอย่างมาก จึงตกลงอยู่ช่วยหลวงตาอำพันอบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมให้แก่ญาติโยมทาง จ.พังงา จนเกิดคณะธรรมยุตจากภาคอีสาน ซึ่งล้วนเป็นศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นำโดยหลวงปู่เทสก์เทสรังสี ได้ลงไปเผยแผ่ศาสนธรรมแก่ประชาชนในหลายจังหวัดทางภาคใต้ต่อมา..."
    ถ้าปราศจากเบาะแสอันเป็นปฐมนี้ เรื่องราวของหลวงตาอำพันก็คงเป็นแต่ฝุ่นในสายลม
    สำหรับ หลวงปู่อรุณ อุตตโมนั้น มีข้อมูลชัดเจนว่า มีนามเดิมว่า หรั่ง พิมพาศรีเป็นบุตรของนายคำตา พิมพาศรีเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 ม.ค. ปีพ.ศ. 2454 หรือวันแรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านกุดบง ต.กุดบง อ.โพนพิสัยจ.หนองคาย
    ท่านอุปสมบทครั้งแรกที่วัดศรีโสภณธรรมทาน อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย เมื่อปีพ.ศ. 2489 ต่อมาได้ญัตติใหม่ ณ พัทธสีมาวัดศรีเมือง อ.เมืองจ.หนองคาย เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2490 ขณะอายุ 36 ปี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์หรือหลวงตารักษ์ เรวโตขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระวิชัยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกานาคเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    หลังอุปสมบท ท่านมิได้เปลี่ยนเพียงเพศ หากแต่ยังได้เปลี่ยนนามจาก "หรั่ง"เป็น "อรุณ"อีกต่างหาก
    เมื่อเกิดใหม่แล้ว ท่านได้เข้าไปขอรับการขัดเกลาจากหลวงปู่มั่นที่สำนักหนองผือนาในจ.สกลนคร อยู่ 2 พรรษา และเป็นผู้หนึ่งที่ติดตามหลวงปู่เทสก์ลงใต้เมื่อพ.ศ. 2993
    ในกาลต่อมา หลวงปู่อรุณศิษย์พระอาจารย์มั่นรูปนี้ ได้มาปักหลักอยู่ที่วัดพระบาทนาสิงห์อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย และละขันธ์ไปเมื่อวันที่31 ม.ค. ปีพ.ศ. 2537 ที่โรงพยาบาลส่องดาวจ.สกลนคร ขณะอายุ 83 ปี 47 พรรษา
    บางถ้อยคำที่ท่านได้บันทึกไว้ถึงหลวงปู่เทสก์และหลวงปู่เหรียญ ได้บอกถึงความสัมพันธ์ตลอดจนความเป็นไปของท่าน ซึ่งน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
    "ท่านพระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ ท่านพระอาจารย์องค์นี้ได้ไปรู้จักท่านสมัยไปภูเก็ต ท่านมาจากทางเหนือ ท่านไปนมัสการท่านพระอาจารย์เทสก์อยู่ จึงได้รู้จัก ท่านก็ได้มาอยู่ด้วยกัน สมัยนั้นทางภูเก็ต พังงา ยังไม่มีพระธรรมยุต ท่านพระอาจารย์เทสก์จึงจัดตั้งวัดธรรมยุตขึ้นประมาณ 12 วัดด้วยกัน แล้วแบ่งให้พระไปอยู่จำพรรษาเพื่อฉลองศรัทธาญาติโยม
    ท่านพระอาจารย์องค์นี้ ท่านมีอัธยาศัยเยือกเย็นมาก ข้าพเจ้าพบเข้าทีไรก็เปรียบเสมือนลูกอ่อนเห็นมารดาก็เข้าไปกราบไหว้และนมัสการตามธรรมเนียมสมณะ ท่านก็ต้อนรับปราศรัยดีเหมือนกับมารดาเห็นลูกอ่อนก็สงสารอุตส่าห์แนะนำสั่งสอน ด้วยอัธยาศัยใจคอเยือกเย็น จะหาอื่นใดมาเปรียบปานมิได้ จนกระทั่งทุกวันนี้ก็เช่นกัน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า"
    ส่วน หลวงปู่รินทร์ทอง กิตติสัทโทนั้น ขึ้นชื่อว่า "เป็นพระกัมมัฏฐานรูปเดียวจากอีสานที่ลงไปเผยแผ่ธรรมะทางภาคใต้แล้วยืนหยัดเผยแผ่ธรรมอยู่ ณ ภาคใต้ จนกระทั่งสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน"
    หลวงปู่รินทร์ทองมีนามเดิมว่า รินทร กว้างเลาะพุงเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 1 เม.ย. ปีพ.ศ. 2470 เป็นบุตรของ นายแง่และนางนา กว้างเลาะพุงชาวบ้านบัว อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร บรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุ 18 ปี อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2490 มี พระพุทธิโสภณ (แหวว ธัมมาทินโน)เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่รินทร์ทอง มีความเกี่ยวดองทางสายเลือดกับพ่อแม่ครูอาจารย์รูปหนึ่ง กล่าวคือ มีศักดิ์เป็นหลานชายของ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่พออุปสมบทแล้ว ท่านก็ได้ไปศึกษาธรรมะและข้อวัตรปฏิบัติจากหลวงปู่สิม จากนั้นจึงมีโอกาสได้รับการชี้แนะจากพ่อแม่ครูอาจารย์อื่นๆ อาทิ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่เทสก์ ท่านพ่อลีธัมมธโร หลวงปู่เหรียญฯลฯ ในปีพ.ศ. 2492 หลวงปู่เหรียญได้นำบิดาของท่านคือ นายผาไปบวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่ จ.ลำปาง จากนั้นหลวงปู่เหรียญได้ล่องใต้ไปกับคณะหลวงปู่เทสก์ จนเวลาผ่านไประยะหนึ่งท่านจึงกราบเรียนหลวงปู่เทสก์ปรึกษาว่าจะนำพระพ่อมาอยู่ด้วยกันที่ภาคใต้ เมื่อหลวงปู่เทสก์ไม่ขัดข้อง พระลูกชายจึงขึ้นเหนือเพื่อไปรับหลวงพ่อผาที่ จ.ลำปาง
    เหตุนี้เองทำให้ชะตาชีวิตของพระรินทร์ทองหลานหลวงปู่สิมพลันต้องพลิกเปลี่ยนไปด้วย
    เมื่อหลวงปู่เหรียญแวะไปกราบคารวะหลวงปู่สิมจึงได้พบกับพระรินทร์ทอง ต่างสบอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ว่ากันว่า เมื่อพระรินทร์ทองได้ประสบกับความเมตาของหลวงปู่เหรียญก็เกิดความเคารพศรัทธาอย่างสุดซึ้ง ข้างหลวงปู่เหรียญก็เมตตาผู้อ่อนอาวุโสกว่าถึงกับเอ่ยปากขอหลวงปู่สิม ให้พระรินทร์ทองจาริกลงใต้ไปกับท่าน
    แล้วพระรินทร์ทองก็ได้ติดตามคณะพ่อแม่ครูอาจารย์ลงมาเผยแผ่ธรรมะที่ภาคใต้ และปักหลักอยู่ที่วัดพุทธิการาม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จนปัจฉิมวัย
    หลวงปู่รินทร์ทองเจริญธรรม เจริญวัย มากระทั่งอายุ 72 ปี ในวันที่ 11 พ.ค. ปีพ.ศ. 2542 ขณะที่ท่านไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แว่น ธนปาโลที่วัดป่าสำราญนิวาสอ.เกาะคา จ.ลำปาง ท่านเองกลับมาดับขันธ์ตามไปอีกรูปหนึ่ง ด้วยเหตุอาพาธจากโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน และภาวะต่อมลูกหมากโต
    พระสุปฏิปันโน 3 รูปนี้ ล้วนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบสายธรรมและนำกัมมัฏฐานจากอีสานสู่ภาคใต้ เรื่องราวของท่านเหล่านี้ล้วนทรงคุณค่า ควรจะจดจารไว้ก่อนจะปลิดปลิวจางหายไปกับกาลเวลาหลวงตาอำพัน จิรวุฑโฒ หลวงปู่อรุณ อุตตโม หลวงปู่รินทร์ทอง กิตติสัทโท
     

แชร์หน้านี้

Loading...