หมอไทยเจ๋ง เส้นเลือดสมองแตก รักษาได้เกือบ100%

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 มกราคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=516 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=50>[​IMG]</TD><TD class=text width=416>น.พ.มัยธัช สามเสน ผอ.สถาบันประสาทวิทยา เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ว่า ปัจจุบันโรคเส้นเลือดสมองตีบ และโรคเส้นเลือดสมองแตก กำลังเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และผลพวงจากการเกิดเส้นเลือดสมองตีบและแตก คือ ผู้ป่วยจะมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา ผู้ที่มีอาการนี้ กว่า 10% จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานหรือทันที กว่า 50% มีความพิการ และกว่า 30% หายเกือบปกติหรือปกติ ในจำนวน 3 กลุ่มนี้ ทางการแพทย์ ให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ 1 และ 2 คือ ทำอย่างไรจะลดอัตราความพิการจากอัมพฤกษ์ อัมพาต และเพิ่มอัตราการหายเป็นปกติให้มากขึ้น
    น.พ.มัยธัชกล่าวว่า มีการวิจัยมานานกว่า 4-5 ปีแล้วว่า หากผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก โดยเฉพาะเส้นเลือดสมองแตก ได้รับการวินิจฉัยโรคเร็ว และได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง อัตราการหายเป็นปกติจะมีถึงเกือบ 100% วิธีการก็คือ ให้ยาละลายลิ่มเลือดทันทีภายใน 3 ชม.หลังมีอาการ เพื่อให้ยาเข้าไปอุดเส้นเลือด ไม่ให้มีเลือดออกมากขึ้น ที่ผ่านมามีการทดลองรักษาด้วยวิธีนี้ พบว่า ในกลุ่มที่ 3 ซึ่งมีประมาณกว่า 30% สามารถหายเป็นปกติได้ และในกลุ่มที่ 2 มีอัตราการฟื้นตัวเร็ว ใช้เวลาอยู่ใน รพ.น้อยลง
    ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กล่าวอีกว่า ในประเทศ ไทย มีโรงพยาบาลรัฐที่มีความพร้อมในการรักษาด้วยวิธีนี้เพียง 4 แห่ง คือ สถาบันประสาทวิทยา รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี และ รพ.จุฬาฯ เหตุผลที่ รพ.ไม่สามารถทำได้ทุกแห่ง เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีทางด่วนหรือ Stroke Fastrack นี้ ต้องมีความพร้อมใน 3 ด้านหลักๆคือ เครื่องมือพร้อม เจ้าหน้าที่พร้อม และรังสีแพทย์มีความพร้อมที่จะสามารถเรียกตัวได้ตลอดเพื่อทำการรักษา ในส่วนของสถาบันประสาทวิทยาและอีก 3 รพ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์มีความพร้อมใน 2 ส่วนนี้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว ด้านที่ 3 คือการนำส่งผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ที่จะทำการรักษาอย่างรวดเร็วได้ภายใน 3 ชม.
    น.พ.มัยธัชกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเคยมีแพทย์ ผู้ใหญ่ที่มีความสามารถมากท่านหนึ่ง เส้นเลือดสมองแตก พอดีภรรยาเป็นหมอ เห็นอาการแล้วรู้ทันที จึงรีบนำส่ง รพ. ทำการรักษาอย่างทันท่วงที ขณะนี้อาจารย์แพทย์ ท่านนี้กลับไปทำงานได้ตามปกติ ทั้งบริหารงาน รพ.และรักษาคนไข้ ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายแล้วถือว่าคุ้ม เพราะค่ายาละลายลิ่มเลือดต่อครั้งที่ต้องให้ประมาณ 40,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายอื่นตกราว 60,000-70,000 บาท แต่ สามารถทำให้คนดีๆไม่ต้องพิการถือว่าคุ้มค่ามาก ยิ่งถ้าเป็นแพทย์หรือคนที่มีความสำคัญมากๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น ปัจจุบันมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต รายใหม่ ประมาณ 150,000 รายต่อปี หากสามารถเข้าโครงการนี้ได้เพียง 10% ก็จะลดอัตราความพิการ ภาระทางสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ผู้ดูแล และเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้จากการทดลองระบบ กรมการแพทย์ จะขยายรูปแบบการดำเนินการไปยังสถานพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศให้มากขึ้น โดยคัดเลือกสถานพยาบาลที่มีศักยภาพ เพราะผู้ป่วยบัตรทองขณะนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เบิกจ่ายยาสำหรับโรคกลุ่มนี้ได้ประมาณ 20,000 บาท เท่ากับว่าจ่ายเพิ่มอีกไม่มาก แต่คุ้มค่าก็น่าที่จะทำ และทุก รพ.ที่มีศักยภาพขณะนี้ ส่วนใหญ่มีมูลนิธิที่สามารถใช้เงินมาสนับสนุนได้ จะได้ ไม่ต้องเห็นคนไทยนับล้านเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตเพิ่มขึ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : .thairath.co.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...