สมเด็จพระเทพฯทรงประกอบพิธีบูชาครูดนตรี-นาฏศิลป์

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 23 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>สมเด็จพระเทพฯทรงประกอบพิธีบูชาครูดนตรี-นาฏศิลป์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ด้วยในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะมีการจัดแสดงมหรสพสมโภช ตามโบราณราชประเพณี ในวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2551 ณ เวทีกลางแจ้ง
    มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ก่อนการแสดงมหรสพครั้งประวัติศาสตร์นี้ กรมศิลปากรซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดการแสดง จึงได้จัดให้มีพิธีบูชาครูด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ให้แก่ผู้ร่วมบรรเลงประโคมและผู้แสดง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    เมื่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาถึง ทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระรัตนตรัย โดยมีวงดนตรีไทยบรรเลงเพลงสาธุการโดยตลอด จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชาครู <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ต่อมาเสด็จฯ ไปทรงพระสุหร่าย ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่องดนตรีไทย โขน หุ่นกระบอก หนังใหญ่ ฯลฯ ที่จะนำไปใช้ในการแสดงมหรสพในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ก่อนจะทรงวางพวงมาลัยที่หน้าตะโพน จากนั้นเสด็จฯ ไปยังโต๊ะสังเวย ทรงจุดธูปและปักที่เครื่องสังเวยจนครบ ก่อนจะเสด็จฯ มาทรงสดับ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ผู้ประกอบพิธีบูชาครู ซึ่งใช้เวลาในการทำพิธีทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 25 นาที แล้วจึงเสด็จฯ กลับ
    ++++++++++++++++++
    ล้อมกรอบ
    พิธีบูชาครูดนตรี-นาฏศิลป์ ถือเป็นพิธีที่มีความสำคัญยิ่งของศิลปินที่สืบทอดมาแต่โบราณ แสดงถึงความกตัญญูของศิษย์ที่มีต่อครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อให้ศิษย์ได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ให้มีความเจริญรุ่งเรืองและเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนการแสดง ให้แก่ศิลปินต่างๆ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกิจการนั้น สามารถฟันฝ่าอุปสรรคให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    ในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ พิธีไหว้ครู และพิธีบูชาครู ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะมีครูที่เป็นมนุษย์ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตไปแล้ว เชื่อกันว่ายังมีครูที่เป็นเทพเจ้าซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดสรรพวิชาการ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม อันมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสรรพวิทยาการด้านนาฏดุริยางคศิลป์ ดังนั้นจึงมีพิธีเคารพบูชาครู เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลก่อนจะมีการแสดง หรือบรรเลง ก็จะจัดให้มีพิธีไหว้ครูหรือบูชาครู เพื่อเป็นการขอพรจากครู ได้ประสิทธิ์ประสาทพรให้กระทำกิจการในครั้งนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อีกทั้งยังเป็นการขอขมาโทษที่ได้ประมาทโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างศิษย์ด้วยกัน เป็นการปลูกฝังความเชื่อมั่นให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง ภูมิความรู้ และความสามารถของตนเอง พิธีไหว้ครูและพิธีบูชาครูด้านดนตรี-นาฏศิลป์ เป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพิธีกรรมที่ผิดแผกไปจากพิธีกรรมไหว้ครูโดยทั่วไป จึงมีผู้ประกอบพิธีได้น้อยท่าน ในนาฏยศาสตร์บ่งบอกไว้ว่า ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธีบูชาครูดนตรี-นาฏศิลป์ จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงนี้ สุภาพเรียบร้อย มีกายใจสะอาด มีความสงบ เพราะมีขั้นตอนและพิธีกรรมที่ซับซ้อน เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่าเกรงขาม และเป็นที่ยอมรับอย่างจริงใจ การกำหนดจัดพิธีบูชาครูในครั้งนี้ นับเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงามมาแต่ครั้งโบราณ อีกทั้งยังเป็นการรักษาจารีตก่อนการแสดงทุกครั้งอีกด้วย เช่นเดียวกับการปฏิบัติเมื่อครั้งการจัดพิธีไหว้ครูหนังใหญ่ โขน ละคร และหุ่นกระบอก เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งครั้งนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ มาเป็นทรงประธานในพิธี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2539 ณ โรงละครแห่งชาติ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    -----------
    [​IMG]
    http://www.komchadluek.net/2008/10/22/x_lady_i001_226958.php?news_id=226958
     

แชร์หน้านี้

Loading...