เรื่องเด่น สถาปนา2สมเด็จพระสังฆราชเจ้าครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการสงฆ์ไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b8aae0b8a1e0b980e0b894e0b987e0b888e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88a.jpg

    28 ก.ค.2562 – เพจโบราณนานมา ซึ่งมีผู้ติดตามถึง 798,006 คน ได้โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาที่น่าสนใจในหัวข้อ “
    สถาปนา 2 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” ระบุว่า ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชฐานันดรศักดิ์สามัญชน ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า”

    ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2562 นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเฉลิมพระนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระราชอุปัธยาจารย์ และสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชกรรมวาจาจารย์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

    การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า 2 พระองค์เป็นการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชที่มีฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย และยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เป็นการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในพระบรมโกศหรือที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว

    ยศพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีทั้งหมด 3 ยศประกอบด้วย 1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า คือ อิสริยยศของพระสังฆราช ที่มีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบวรราชเจ้าหรือมีฐานันดรศักดิ์ในอดีตเป็นพระองค์เจ้า 2.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า คือ อิสริยยศของพระสังฆราชที่มีฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า และราชนิกูล ชั้นหม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวงที่ได้รับการสถาปนาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ 3.สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราช คือ พระยศของพระสังฆราชที่มีฐานันดรศักดิ์ เป็นสามัญชนและเป็นพระประมุขฝ่ายสงฆ์ซึ่งตั้งแต่อดีตกรุงรัตนโกสินทร์มีสมเด็จพระสังฆราชมาแล้ว 15 พระองค์ โดยแต่ละยศจะมีพัดยศประจำสมเด็จและเงินนิตยภัตที่แตกต่างกัน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/42142
     

แชร์หน้านี้

Loading...