สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    อรรถกถา พระวินัย ชื่อ สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ หน้า ๑๓๒ (๒) อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ชื่อ ปรมัตถโชติกา ๑๗/๐/๙๕ (๓) ปกรณ์พิเศษ ชื่อ วิสุทธิมรรค ภาค ๑ หน้า ๒๗๐ และ (๔) อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส ชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา (เล่มนี้แต่งโดยพระอุปเสนะ ) ๔๕/๕๐/๒๖๓

    มีข้อความดังนี้


    อาห เจตฺถ ภคฺคราโค ภคฺคโทโส ภคฺคโมโห อนาสโว ภคฺคสฺส ปาปกา ธมฺมา ภควา เตน วุจฺจตีติ. ภาคฺยวตาย จสฺส สตปุญฺญลกฺขณธรสฺส รูปกายสมฺปตฺติ ทีปิตา โหติ ภคฺค โทสตาย ธมฺมกายสมฺปตฺติ ฯ


    คำแปล : อนึ่ง ในตอนนี้ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงหักราคะได้แล้ว ทรงหักโทสะได้แล้ว ทรงหักโมหะได้แล้ว หาอาสวะมิได้ ธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงหักเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงเฉลิมพระนามว่า "ภควา" ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงมีพระกายสมส่วน ความถึงพร้อมแห่ง พระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว .

    ขยายความ :

    คำว่า ธมฺมกายสมฺปตฺติ แปลว่า ความถึงพร้อม หรือความสำเร็จแห่งพระธรรมกาย หมายถึง เข้าถึงกายอันเป็นโลกุตตระ คือ ธรรมกายพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหัตอย่างพร้อมบริบูรณ์ เพราะอาศัยอริยมรรคญาณหัก คือทำลายธรรมที่มีโทษทั้งหมดได้เป็นลำดับและสำเร็จอย่างเด็ดขาด พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า "ภคฺคโทส" คือหักโทษทั้งปวงได้แล้ว มิได้หมายเพียงหักโทสะได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายรวมอกุศลมูลทั้งหมด คือ ทั้งราคะ โทสะ และโมหะ ซึ่งเป็นรากเหง้าของธรรมที่มีโทษทั้งมวล พระองค์ก็ทรงหักทำลายได้อย่างเด็ดขาดแล้ว

    อีกนัยหนึ่ง ที่ท่านยกโทสะเป็นประธาน เพราะโทสะเป็นกิเลสที่มีอาการปรากฏชัดรู้ได้ง่าย เช่น คนที่โกรธแล้วย่อมแสดงอาการทางกายบ้าง ทางวาจาบ้างให้ปรากฏ ทางกาย เช่น มีสีหน้าบึ้งตึง หน้าแดงตาแดงกร่ำ ทำร้ายตนหรือผู้อื่นด้วยกายบ้าง ทางวาจา เช่น ด่า บริภาษผู้อื่นบ้าง ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า

    "คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ถือเอาสิ่งที่ เป็นประโยชน์แล้ว แต่กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาตด้วยกายและวาจา... คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้... เป็นต้น "

    อนึ่ง ท่านยกโทสะเป็นประธานก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังคงหมายเอาถึงกิเลสทั้ง ๓ ตระกูล คือ ทั้งราคะ โทสะและโมหะ อยู่นั่นเอง คนจึงแสดงความโกรธ ให้ปรากฏเห็นได้ชัดดังที่ตรัสไว้ในจัณฑสูตร ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ว่า

    "คนที่ยังละราคะ...ละโทสะ...ละโมหะไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ "

    ก็กิริยาเหล่านี้ที่แสดงถึงความเป็นผู้ยังละธรรมอันมีโทษ คือ ราคะโทสะและโมหะ หาได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พร้อมมูลด้วย ธรรมกาย ดังกล่าวไม่ ฉะนั้น พระองค์จึงทรงได้เนมิตตกนามว่า ภควา อันเป็นพระนามในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรคเพราะทรงหักธรรมที่มีโทษทั้งหลายได้ด้วยอรหัตมรรคญาณของ ธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพาน 20/25


    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพา
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    อาตาปี ( เสียงเทศน์โดยหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จันทสโร ))

    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=f3753eae0&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=1&screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=f3753eae0&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=1&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%9b-video_f3753eae0.html" target="_blank">หลวงพ่อวัดปากน้ำ - อาตาปี</a></p>
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    จะอยู่ที่ไหน กรรมก็ตามเจอ : พระราชญาณวิสิฐ - จะอยู่ที่ไหน กรรมก็ตามเจอ


    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี


    ขอขอบคุณข้อความ (คัดลอกบางส่วน) จากหนังสือ "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ ๑๓๘ " ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ : มิถุนายน ๒๕๔๒


    จากคำถาม : การนำสัตว์ต่าง ๆ มาทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาตินั้น ผู้ที่จะทำการทดลองได้กระทำการทดลองแล้ว จะต้องรับกรรมหรือไม่?


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    "หลวงป๋า" เคยเล่าว่า ...
    มารตัวสำคัญ ที่คนส่วนมากนึกไม่ถึงก็คือ
    "อุปาทานในอภิสังขารมาร"
    "อภิสังขารมาร" ที่ว่านี้ก็อย่างเช่น ...
    ความร่ำรวย ความอยู่ดีมีสุข
    ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    (ที่ทำให้หลงยึดติด)
    บางคนถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    แต่จิตใจยังเป็นโลกียะอยู่
    วิชชาที่เกิดขึ้นยังเป็น "โลกียวิชชา"
    แล้ว "หลงในวิชชา" นึกว่าตัวเองเก่งแล้ว
    ทั้งหมดนี้เรียกว่า ...
    "อุปาทาน" ใน "อภิสังขารมาร"
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ถ้าเราเริ่มต้นสิกขาวิชชาธรรมกาย ไปจับจุดเอาซะว่าเป็นปาฏิหาริย์มหัศจรรย์แล้ว ก้าวต่อไป มันก็จะหลงไปเรื่อยๆ หาแก่นไม่เจอครับ ทีนี้พอไม่เจอปาฏิหาริย์ที่ถูกใจ ก็จะพาลด่าทอไปหมดเพราะความผิดหวัง ก็เพราะจับจุดผิดมาแต่ต้น ...
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    
    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?
    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม

    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)

    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”

    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น

    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    สติปัฏฐานสี่ ไม่มีสำนัก ไม่มีสาย ไม่มีพวก ไม่มีเหล่า มีเพียงผู้ตามรอยธรรมพุทธองค์

    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
    อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
    ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
    ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
    ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
    หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
    เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
    ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
    เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
    ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
    พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
    อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
    พระอนาคามี ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
    สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
    บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
    ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว
    แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต




    ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

    --------------------------------------------------------

    ...จะกรรมฐานสำนักไหน ชื่ออะไร


    ถ้าบุคคลใด เข้าถึงแก่นวิชา คือ สติปัฏฐานสี่ ที่เป็นเนื้อแท้ในวิชาสำนักนั้นๆ

    ก็ย่อมได้ผลตามพุทธดำรัสรับรอง ไม่ช้าก็เร็ว


    ...วิชชาธรรมกายของแท้ ที่ตกทอดมายังสายตรง มีสติปัฏฐานสี่ในตัวครบถ้วน

    ถ้าปฏิบัติครบ และไม่ทิ้งหลักกำจัดกิเลสตนเองตลอด ย่อมพาตนไปถึงฝั่งได้


    ช้าหรือเร็ว มีผลกำไรเป็นอภิญญาอะไรบ้าง ของแถมบ้าง ก็แล้วแต่วาสนาและ
    การมีอิทธิบาท พยายามฝึกฝนเฉพาะตน


    ......ทั้งหมด ก็แค่นี้ ถ้าเข้าใจ ก็ไม่ต้องยึดอัตตาใหม่ว่าสำนักฉัน

    สายของฉัน

    ...มีเพียงธรรมอันเอกของพระพุทธองค์ ที่เป็นแก่นแท้ นำสัตว์โลกพ้นจากกองทุกข์

    เท่านั้น
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    อรรถกถา พระวินัย ชื่อ สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ หน้า ๑๓๒ (๒) อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ชื่อ ปรมัตถโชติกา ๑๗/๐/๙๕ (๓) ปกรณ์พิเศษ ชื่อ วิสุทธิมรรค ภาค ๑ หน้า ๒๗๐ และ (๔) อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส ชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา (เล่มนี้แต่งโดยพระอุปเสนะ ) ๔๕/๕๐/๒๖๓

    มีข้อความดังนี้


    อาห เจตฺถ ภคฺคราโค ภคฺคโทโส ภคฺคโมโห อนาสโว ภคฺคสฺส ปาปกา ธมฺมา ภควา เตน วุจฺจตีติ. ภาคฺยวตาย จสฺส สตปุญฺญลกฺขณธรสฺส รูปกายสมฺปตฺติ ทีปิตา โหติ ภคฺค โทสตาย ธมฺมกายสมฺปตฺติ ฯ


    คำแปล : อนึ่ง ในตอนนี้ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงหักราคะได้แล้ว ทรงหักโทสะได้แล้ว ทรงหักโมหะได้แล้ว หาอาสวะมิได้ ธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงหักเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงเฉลิมพระนามว่า "ภควา" ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงมีพระกายสมส่วน ความถึงพร้อมแห่ง พระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว .

    ขยายความ :

    คำว่า ธมฺมกายสมฺปตฺติ แปลว่า ความถึงพร้อม หรือความสำเร็จแห่งพระธรรมกาย หมายถึง เข้าถึงกายอันเป็นโลกุตตระ คือ ธรรมกายพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหัตอย่างพร้อมบริบูรณ์ เพราะอาศัยอริยมรรคญาณหัก คือทำลายธรรมที่มีโทษทั้งหมดได้เป็นลำดับและสำเร็จอย่างเด็ดขาด พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า "ภคฺคโทส" คือหักโทษทั้งปวงได้แล้ว มิได้หมายเพียงหักโทสะได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายรวมอกุศลมูลทั้งหมด คือ ทั้งราคะ โทสะ และโมหะ ซึ่งเป็นรากเหง้าของธรรมที่มีโทษทั้งมวล พระองค์ก็ทรงหักทำลายได้อย่างเด็ดขาดแล้ว

    อีกนัยหนึ่ง ที่ท่านยกโทสะเป็นประธาน เพราะโทสะเป็นกิเลสที่มีอาการปรากฏชัดรู้ได้ง่าย เช่น คนที่โกรธแล้วย่อมแสดงอาการทางกายบ้าง ทางวาจาบ้างให้ปรากฏ ทางกาย เช่น มีสีหน้าบึ้งตึง หน้าแดงตาแดงกร่ำ ทำร้ายตนหรือผู้อื่นด้วยกายบ้าง ทางวาจา เช่น ด่า บริภาษผู้อื่นบ้าง ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า

    "คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ถือเอาสิ่งที่ เป็นประโยชน์แล้ว แต่กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาตด้วยกายและวาจา... คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้... เป็นต้น "

    อนึ่ง ท่านยกโทสะเป็นประธานก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังคงหมายเอาถึงกิเลสทั้ง ๓ ตระกูล คือ ทั้งราคะ โทสะและโมหะ อยู่นั่นเอง คนจึงแสดงความโกรธ ให้ปรากฏเห็นได้ชัดดังที่ตรัสไว้ในจัณฑสูตร ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ว่า

    "คนที่ยังละราคะ...ละโทสะ...ละโมหะไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ "

    ก็กิริยาเหล่านี้ที่แสดงถึงความเป็นผู้ยังละธรรมอันมีโทษ คือ ราคะโทสะและโมหะ หาได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พร้อมมูลด้วย ธรรมกาย ดังกล่าวไม่ ฉะนั้น พระองค์จึงทรงได้เนมิตตกนามว่า ภควา อันเป็นพระนามในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรคเพราะทรงหักธรรมที่มีโทษทั้งหลายได้ด้วยอรหัตมรรคญาณของ ธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ทำอย่างไรเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาองค์ธรรมกายให้ชัดอยู่ได้นานๆ ?

    ธรรมกายนั้นอุบัติขึ้นเพราะความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ จากธรรมปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะรักษาธรรมกาย จึงต้องรักษากาย วาจา และใจของตนให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ โดย
    1. เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต กล่าวคือ
      ไม่เจตนา ฆ่าสัตว์-ลักฉ้อ-ประพฤติผิดในกาม ไม่ติดอบายมุข เช่น นักเลงสุรา นักเลงผู้หญิง นักเลงการพนัน และไม่หมกมุ่นอยู่แต่กับพัสดุกาม เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ร่วมโลก รู้จักแบ่งปันทรัพย์และความสุขส่วนตนแก่ผู้อื่น มีสันโดษในคู่ครองของตน และไม่เสพติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งปวง
      ไม่มักพูดจาโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้อื่น-พูดคำหยาบ-สาบถ-สาบาน-พูดยุแยก ให้เขาแตกสามัคคีกัน และไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระจนเป็นอาจิณ จงพูดแต่คำพูดที่จริง พูดแต่คำพูดที่สุภาพไพเราะ อ่อนหวาน พูดแต่คำพูดที่เป็นสิริมงคลมีแกนสารมีสารประโยชน์ เป็นปกติ
      ไม่เป็นคนมักโกรธ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น เป็นผู้มักไม่ลุแก่โทสะ ตัณหาราคะ ไม่โลภ และเห็นแก่ตัวจัด ไม่หลงมัวเมาในเรื่องหรือสิ่งที่เป็นโทษที่มิใช่พระธรรมวินัย ให้เป็นผู้ดำรงอยู่แต่ในพระธรรมพระวินัยเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ และมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ต่อกัน
    2. หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันจิตที่มักใฝ่ชั่วด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานและมิจฉาทิฏฐิ มีความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อกระทบเข้ากับ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย มิให้หลงเคลิบเคลิ้ม สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารักและ มิให้หลงเคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสฟุ้งและให้ตัณหา อุปาทาน เข้าครอบงำได้
    3. เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานโดยมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตใจอยู่เสมอ และเพียรระวังป้องกันมิให้กิเลสเกิดขึ้นใหม่อีก เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน และรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมด้วยธรรมปฏิบัติมีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
      ยามว่างจากธุรกิจหน้าที่การงาน ก็ให้หมั่นเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัย (ปหาน อกุศลจิต) พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระและรักษาธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ อย่างน้อยที่สุดก็ให้หมั่นจรดใจสักเสี้ยวหนึ่งของใจไว้ ณ ศูนย์กลางธรรมกาย หรือพระนิพพาน หรือต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อยู่เสมอ
    4. ควรหมั่นพบครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชชาธรรมกาย เพื่อฝึกวิชชาชั้นสูง ต่อๆ ไป ก็จะช่วยให้ธรรมเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้เสื่อมถอย
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    คำสอนของคุณยายทองสุก สำแดงปั้น

    เรื่อง “ ตาบอดคลำช้าง ”
    เพื่อเอาไปพิจารณา มหาพิจารณา
    จงอย่าทำตนเป็นตาบอดคลำช้าง

    “ …. นานน่ะ กว่าเราจะมองดู กามภพ รูปภพ ให้ชัดเจน
    นี้เรามองดูให้ชัดเจนดีแล้ว เราหัดพูดกับพระพุทธเจ้าให้คล่อง
    แคล่วเชียว เราหัดพูดกับพระพุทธเจ้าทีแรกเหมือนยังกับเด็กยัง
    งั้น แหล่ะ รู้เรื่องมั่ง ไม่รู้เรื่องมั่ง หัดอยู่อย่างนั้นทุกวัน เราเดิน
    ฌาณสมาบัติ นิโรธ แล้ว เราก็หัดพูดกับพระพุทธเจ้าทุกวัน จน
    กว่าเราจะรู้เรื่อง หูทิพย์ เราก็ได้ยินถนัดชัดเจน เราได้ยินถนัด
    ชัดเจนก็เพราะว่า เราต้องใช้ความหยุดตรึก นิโรธ ..หยุดตรึกนิ่ง
    ให้หนักขึ้น บนพระนิพพาน นั่น เราหัดไปทำวิชาบนพระนิพพาน
    น่ะ มันจะถนัดท่าไหนล่ะ เราก็ดูขยับเอาในตัวของเราเอง ให้รู้ว่า
    อย่างไหนถนัดมาก อย่างไหนถนัดน้อย เราต้องหัดให้ชัดเจน
    พอเราหัดพูดกับพระพุทธเจ้าได้ชัดเจนดีแล้ว เราก็มาหัดพูดกับ
    ผี กับเปรต เราต้องหัดพูดให้รู้เรื่องรู้ภาษาของเค้าให้หมด เรา
    ต้องหัดพูดทั้งนั้นนะ กับมด กับสัตว์ กับนกวิหคบินบนอากาศ
    เราก็ต้องหัดให้รู้จักภาษาสัตว์ ……… ………. ตรัสรู้

    สมมติว่าเราไปเจอสัตว์สักฝูงหนึ่ง สัตว์ตัวนั้นมีบารมีเท่า
    นั้นมาเกิดใช้ชาติเป็นอย่างนั้น เป็นโพธิสัตว์ หรือไม่ใช่
    โพธิสัตว์ หรือจะเป็นเทพบุตร หรือจะเป็นเทวดาอยู่ชั้นไหน
    ลงมาใช้ชาติ ให้เรารู้ ตรัสรู้ ผุดในรู้ บอกให้เรารู้เรื่องหมด หรือ
    เราจะเจอะคนสัก 100 คน เดินมา หรือ 10 คน เดินมา คนนั้น
    จะต้องตายไปตกนรกอยู่ชั้นนั้น คนนั้นจะต้องตายไปอยู่สวรรค์
    ชั้นนั้น ให้รู้หมดเชียว เพื่อเราจะดูได้ง่าย เราจะดูด้วยญาณ ด้วย
    ตาเนื้อ นั่ง นอน ยืน เดิน ตรึกไว้ด้วย ทุกอิริยาบถ

    คนบาปน่ะ ไอ้ห่วงคอมันติดอยู่ที่กายเนื้อ คนไหนบาปมาก
    ทำความชั่วมาก ห่วงมันก็ติด แต่ตาเนื้อไม่เห็น ตาเนื้อมันเรียก
    ว่า ตาบอดคลำช้าง มันไม่เห็นน่ะ แต่เราอยู่ในโลกมันโตเต็ม
    เมือง มันมาเกิดในโลกมันโตเต็มเมือง มันทำความชั่วครั้งหนึ่ง
    มันก็เอา มันลงโทษตัวมันเอง ทุกคนเหมือนกันหมด ไม่ว่าใคร
    ทั้งหมด เราไม่รู้หรอกว่าความชั่วของเรามีมากน้อยเท่าใด แต่
    ว่าไอ้ห่วงคอมีอยู่ ติดอยู่ในตัวเรา เราเห็นมันลู่ๆ เราก็รู้แล้วว่า
    อ้ายคนนั้นทำความชั่วมาก ห่วงคอมันใหญ่นัก มันเป็นเหล็ก
    เครื่องหมายมันมีอยู่อย่างนี้แหล่ะ แล้วเวลาตายนั่น แหล่ะ ไอ้
    จำพวกนั้น เวลาเวทนามันเกิด มันจะตายงี้ เวลาเค้ามาเก็บ เค้า
    กระชากลากเอาไม่ปราศรัย ที่เค้าจะมาเด็ดเอาวิญญาณนั้นน่ะ
    เค้าตีไปตลอดทาง เรื่องนี้เราก็ต้องดูต้องให้เห็นชัดเจนเลย

    พวกบุญล่ะ! พวกบุญเค้าก็จะมีราชรถมารับ …ราชรถมารับ
    เวลาจะตายเค้าก็มาลอยอยู่คอยรับ ก็ราชรถนั่นก็มาจากวิมาน
    ของเค้านั่นแหล่ะ เวลานายเค้าจะกลับบริวารเค้าให้ราชรถมา
    รับ คนพูดนี่ได้ตรวจเสร็จ ได้สอบเสร็จจึงจะกล้ามาพูด ได้สอบ
    เสร็จ ได้ดูเสร็จ เวลาเจ้าของเค้าจะกลับจะละจากโลกมนุษย์
    ราชรถนั่นก็มาคอยรับ เวลาจะไปผ้าหลุดผ้าลุ่ยมันก็ผ้าหลุดผ้า
    ลุ่ยไปยังงั้นแหล่ะ มันเหมือนยังกับไอ้ลิงจ๋อบนราชรถ ราชรถ
    เค้าสวยงาม…. นั่งราชรถไป เหมือนยังกับไอ้ลิงจ๋อ…..นั่งไป
    เหมือนไอ้ลิงจ๋อนั่นแหล่ะ พอราชรถเค้าไปเทียบวิมานนั่นแหล่ะ
    ตัวก็ก้าวออกไป… ก้าวลงไปจากรถ ก้าวขึ้นไปเหยียบที่วิมาน…
    ตัวก็กะเล่อกะล่าเหมือนไอ้คนบ้าลำพองนั่นน่ะ มันก็ไม่รู้เรื่องรู้
    ราวอะไร เพราะจิตของมันยังไม่ขาดจากโลก จิตมันยังเกาะอยู่
    ในโลก จิตมันยังเกาะผัว เกาะเมีย เกาะพ่อ เกาะแม่ เกาะสมบัติ
    เกาะลูก เกาะหลาน ไปยังงั้นแหล่ะ ทุกคนเหมือนกันหมด จิตมัน
    เกาะ มันนึกถึงบุญบ้าง บาปบ้าง เวลาไปนั่นมันก็จิตเกาะสมบัติ
    เกาะลูก เกาะสามี ภรรยา ไปตามหน้าที่ของมัน ก็ยังไม่รู้ชัดว่า
    จะเป็นบ้านของใครแน่ มันเป็นวิมานสวยนัก มีหน้ามุข 4 ทิศ
    เหมือนกันหมดในโลกบนชาวสวรรค์ มันก็กว้างพออยู่ ถ้าบุญ
    มากเค้าก็มีบริวารแห่ห้อมล้อมเค้า…ห้อมล้อมเค้า มีเครื่อง
    ดนตรี จับ ดีด สีซอบนสวรรค์ที่วิมานของเค้า ถ้าใครมั่งมีก็มี
    สมบัติมาก มีบริวารมาก มีเครื่องประดับประดาวิมานสวยงาม
    อันประณีต ถ้าเราจะดูที่มนุษย์น่ะ เหมือนยังกับขอทาน ยังงั้น
    แหล่ะ ชาวสวรรค์เค้าสวยงาม แต่จิตมันก็ยังไม่ขาดจากโลก
    เพราะว่า มันไปใหม่

    ทีนี้เจ้าตายไปใหม่ ละจากโลกมนุษย์นี้ไปใหม่ๆ ยมบาล
    น่ะ เค้าก็เป็นเจ้าหน้าที่ เค้าเอาบัญชีเล็กๆ มาจดมาถามตัวของ
    ตัวน่ะอยู่ในมนุษย์โลกทำความชั่วไว้เท่าไร ความดีไว้เท่าไร ทำ
    ไว้มากน้อยเท่าไหร่ เค้ามาสอบสวนมาจดเอาไป แล้วเค้าจด
    เรียบร้อยเค้าก็กลับไป ตัวก็เสวยบุญอยู่บนวิมานนั่นน่ะ ในฝ่าย
    ทางความดี ที่อยู่ในมนุษย์โลก เราประพฤติดี ทำดี ประพฤติถูก
    ทำถูก คิดถูก เห็นถูก รู้ถูก จึงได้ไปเสวยสุขสมบัติอยู่บนสวรรค์
    โน่น

    ทีนี้บุญน่ะที่ตัวได้ทำของตัวไว้ ได้บวช บวชหลานได้ทำบุญ
    ไว้ ไอ้เครื่องที่บวชไว้นั่นแหล่ะ เครื่องอัฐฐะ หรืออะไรทุกชนิด
    จะทอดกฐิน ผ้าป่านั่นแหล่ะ ไอ้ของหยาบนี่แหล่ะ ถ้าทำ
    ประณีต มันก็ขึ้นไปประณีตอยู่บนโน้น ถ้าทำไม่ประณีต มันก็ไม่
    ประณีตอยู่บนโน้น สวย มันก็ไปสวยอยู่บนโน้น จะทำบุญให้
    ทานอะไร ชามปากแตกปากวิ่นอะไร มันก็ไปวิ่นอยู่บนโน้น ถ้า
    สวย มันก็ไปสวยอยู่บนโน้น ทีนี้ทางฝ่ายลูกหลานทางนี้เค้าก็ทำ
    บุญไปให้ เค้าทำบุญไปให้ทางโน้นเค้าก็รับรู้ ลูกหลานคนนั้น
    คนนี้ ได้ทำบุญอุทิศมาให้กับผู้ตาย อย่างนี้ อย่างนั้น ได้รับตาม
    หน้าที่ของตัว ที่ไปอยู่สวรรค์น่ะ ได้รับส่วนบุญเร็วที่สุด ไวที่สุด
    ทีนี้ลูกหลานเค้าก็จะให้ศีลนี่สิ นิมนต์พระมาจะให้ศีล ก็ไปเคาะ
    โลง กุกๆ กุกๆ กุกๆ ไปเคาะโลงจะเรียกให้พ่อแม่ของตนก็ตาม
    ให้มารับศีล ข้างบนนั้นเค้าก็ได้ยินทีเดียว ว่าลูกหลานร้องเรียก
    มารับศีล เค้าก็ลงมาทีเดียว บางทีเค้าก็เอาบริวารเค้าลงมา
    ด้วย เอาลงมานั่งอยู่ที่หน้าศพนั่นแหล่ะ หน้าไอ้สังขารไอ้กาย
    เน่านี่แน่ะ เอาบริวารมานั่งอยู่หน้าโลงนี่แน่ะ รับศีลกับพระ

    พระเค้าจะสวด คนตายนี้มารับศีล เพราะว่าไปสุข ถึงได้ลง
    มาได้อย่างนั้น มารับศีล ไอ้ลูกหลานมันก็ไม่รู้ ไอ้ตาบอดคลำ
    ช้างมันก็ไม่เห็น บริวารเค้ามาด้วยก็ดี หรือไม่มาก็ดี นั่งจ้ำไปนั่น
    แหล่ะ ไอ้ลูกหลานน่ะ เดินหลีกกันหลีกกันมาก็เตะเค้า เค้าก็หลบ
    เรา ตนตายน่ะ บางทีนั่งจ้ำไปบนหัวเค้าน่ะนะ เพราะว่ามันไม่
    เห็น ไอ้ตาเนื้อน่ะมันตาบอด มันมองไม่เห็น เค้ามารับศีลแล้ว
    เค้าก็กลับ เค้าไม่อยู่นานหรอก เค้ากลับไป เค้าก็ไปตรวจวิมาน
    เค้า ยังใหม่อยู่นี่ ตรวจตรงนั้นสวย ตรงนี้ดี ตรงนั้นไม่ดี เหมือน
    กันแหล่ะ เหมือนยังกับมนษย์เรานี่ สร้างบ้านใหม่ๆ มันก็เห่อไป
    พักนึง ชาวสวรรค์ก็เช่นเดียวกัน เห่อเหมือนกันแหล่ะ ใหม่ๆๆน่ะ

    พอครบกำหนดมันเลย 7 วันแล้ว มันก็ลืม มันไปยินดี อยู่
    ทางโน้นแล้ว มันไปติดอยู่ทางโน้นแล้ว มันลืมโลก มันขาดจาก
    โลก จิตมันขาดจากโลก ถ้าลูกหลานนึกถึงเค้า ก็ทำบุญอุทิศให้
    กับเค้าเค้าก็นึกได้ว่าอ้อลูกหลานเค้าเรียก ทำบุญส่งมาให้ เค้าก็
    ให้ศีลให้พร …ให้ศีลให้พรกับลูกหลานเค้า

    ฝ่ายปีศาจ เปรตในโลกนี้ล่ะ! ในมนุษย์ขั้นหยาบนี้ล่ะ พอ
    ใครเค้าทำบุญกันที่ไหน ไอ้พวกเปรต พวกผีปีศาจน่ะ มันชวน
    กันอย่างเราอย่างนี้ล่ะ ไปโว้ย ๆ พวกเราไปโว้ย เค้าทำบุญ จะ
    ได้ไปรับส่วนกุศลเค้าบ้าง มันก็เดินบ่นกันมา ไอ้บ้างกูก็หิวมาก
    ไอ้บ้างกูก็หิวน้อย ไอ้บ้างข้าก็ไม่ค่อยหิว ทีนี้ไอ้ลูกหลานหรือพี่
    น้องวงศ์ตระกูลของตนทำบุญใส่บาตรอยู่ที่วัดนั่นน่ะ มันก็มา
    ชะเง้อคอยมอง ไอ้พวกผี พวกเปรต พวกปีศาจเหล่านั้น มันมา
    ชะเง้อคอยมองว่า เค้าจะกรวดน้ำให้เราบ้างมั้ย มันคอยมองอยู่
    อย่างนั้นนะ พอเค้ากรวดน้ำให้มัน มันก็ดีไจ ข้าได้กินอิ่ม ลูก
    หลานข้าอุทิศให้ มันก็ดีใจทีเดียว มันก็ให้ศีลให้พรไป ให้ศีลให้
    พรกับลูกหลาน ให้ความเจริญกับลูกหลาน ถ้าเผื่อว่าเค้าไม่ได้
    กรวดน้ำให้ล่ะ มันก็บ่นทีเดียว เค้าไม่กรวดน้ำ ไม่อุทิศให้กับเรา
    หรอกโว้ย เค้าไปนั่งคุยกันซะแล้ว หรือเค้าไปซะแล้ว เค้าไม่ทำ
    กัน เค้าไม่กรวดน้ำมาให้กับคนตายที่มาคอยชะเง้อส่วนกุศล
    หรือ คอยชะเง้อกินอาหารของเค้า ก็บ่นพึมพำไป พึมพำไป ก็
    ด่ากันแช่งลูกหลานว่ามันใจดำ ที่ไม่ได้มาทำบุญให้กับปู่ย่าตา
    ยาย และพี่น้องของตน ไอ้ผีที่ตายล่ะ มันก็แช่ง..ใจมันดำ มัน
    ไม่นึกถึงอะไรต่ออะไร หิวโหยเดินกลับไปเชียวไอ้พวกนั้นน่ะ
    มันบ่น

    ถ้าเหมือนยังกับพระสวดมนต์หรือเค้ามีงานที่วัดล่ะ ต้อง
    สอบให้หมดถ้าไม่สอบแล้วเราไม่รู้ความเป็นไปของพวกปีศาจ
    พวกเปรตเหล่านี้น่ะมันจะอดอยากซักแค่ไหน เราต้องสอบสวน
    ให้แน่นอนลงไป ตานี้เวลาเค้าทำบุญกันหรือเค้าสวดมนต์หรือ
    เค้ามีงานในวัด เจ้าพวกผีพวกเปรตนั่นมันก็มากันล่ะ มันมา
    ชะเง้อรอบศาลาเชียว แล้วมันก็ขึ้นไปดูกันบ้าง ถ้าคนเราไม่แล
    เห็นมันนี่ เดินไปเหยียบเอาตีนเอามือมันเข้า บางคนมันดุมันก็
    เอาเราเหมือนกันนั่นน่ะ ไอ้พวกผีนี่มันเจ็บมันก็เอาเหมือนกัน
    เพราะไอ้ตาบอดคลำช้างมันไม่แลเห็น

    พอพระท่านสวดมนต์เสร็จมันรับอนุโมทนาพร้อมกันเชียว
    พอพระวางตาลปัตร มันก็ไปเหมือนกัน มันไปดูละคร ละเมงกัน
    เหมือนกัน ถ้าเค้ามีงานกันละก็ นี่ผู้พูดได้สอบได้ดูมันมาเหมือน
    กัน พอพระคว้าตาลปัตรจะสวดมนต์ มันก็ชวนกันอีกแล้ว มัน
    บอกว่า มาเถอะ พระจะสวดมนต์อีกแล้ว เราจะได้มารับส่วน
    กุศลกัน มันก็มาออกันอยู่อีก แล้วพวกเปรตพวกปีศาจในพื้น
    มนุษย์ แล้วไอ้พวกเปรตมันก็อดอยากเหลือเกินเหมือนกัน หมา
    เน่าตายลอยน้ำหรืออะไรตายที่ไหน มันก็ลากเอามากิน มันยัง
    เคยเรียกผู้พูดนี่น่ะนะ มันบอกว่าให้ไปกินหมาเน่ากับมัน เสลด
    น้ำลาย ขี้หมู ขี้หมาไอ้เจ้าพวกเปรตที่พื้นมนุษย์นี่เก็บกิน มัน
    ลามกนัก ดูแล้วก็น่าทุเรศ!!! เราต้องพิจารณาดูสัตว์จำพวกนี้
    เราต้องดูมันต้องสังเกต ต้องพินิจ พิเคราะห์ เพราะงั้นให้นั่ง
    นอน ยืน เดิน ให้คอยตรึก ………"
    (เนื้อหา เกิดจากการถอดเทป เสียงของคุณยายทองสุก สำแดงปั้น ที่ท่านอัดไว้ ตอนสอนลูกศิษย์ พอดี มีคนถอดเทปไว้แล้ว เลยนำมาให้ได้อ่านกันครับ)




    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ประวัติคุณยายทองสุข สำแดงปั้น

    แม่ชีทองสุข สำแดงปั้น อดีตวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียง เกิดวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2443 ปีชวด ที่บ้านสะพานเหลือง อำเภอบางรัก กรุงเทพ ฯ เป็นลูกคนที่ 3 ของนายร่ม และนางวัน ชีวิตวัยเด็กกำพร้าบิดามารดาแต่เยาว์วัย ท่านอยู่ในอุปการะของคุณลุงและคุณอา แต่งงานกับคุณหมอชื้น สำแดงปั้น ศัลยแพทย์โรงพยาบาล จุฬา ฯ มีบุตร 2 คน แต่อยู่ไม่นานคุณหมอสามีถึงแก่กรรม ท่านประกอบการค้าขายเลี้ยงบุตรและตนเองโดยไม่ฝืดเคือง อายุ 30 ปีเริ่มศึกษาสมถวิปัสสนาแนววิชชาธรรมกาย ที่วัดปากน้ำ(ภาษีเจริญ)กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่สอนให้ จะยืน เดิน นั่ง นอน อย่าทำใจให้คลอน ให้หยุดนิ่งอยู่ที่ ศูนย์กลางกาย โดยบริกรรมภาวนาว่า"สัมมาอะระหัง" วันหนึ่งขณะที่เดินไปซื้ออาหารที่ตลาดประตูน้ำใกล้วัด ใจของท่านก็ตรึกนิ่งจรดที่ศูนย์กลางกายตามคำสอนของ หลวงพ่อ ระหว่างที่เดินท่านก็เห็นดวงธรรม ดวงใส สะอาดอยู่ศูนย์กลางกายมองครั้งใดที่ใดเห็นสว่างไป หมด ท่านจึงรีบกลับวัดกราบเรียนหลวงพ่อ ฯ ท่านได้ธรรมกายอายุ 35 ปี ท่านศรัทธามากจึงบวช เป็นชีวัดปากน้ำ ฯ อายุ 40 ปี เมื่อศึกษาจนความรู้มั่นคง แล้วหลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้มอบหมายส่งท่านออกเผยแพร่ ธรรม สอนพระกัมมัฏฐาน แม่ชีทองสุข เป็นครูชั้นเลิศ มีวิธี การสอนที่ละเอียดละออ ท่านเน้นและทบทวนธรรมที่สอนอยู่ เสมอไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์รู้ จำได้ เข้าใจจริง จนประสบความสำเร็จ สมกับที่หลวงพ่อ ฯ วางใจให้เป็นครู แม่ชีทองสุขมีความสามารถในการสอน เมื่อถามก็ตอบ ให้เข้าใจ และจะแนะนำแก้ไขข้อขัดข้องอุปสรรคต่าง ๆ ด้วย เมตตา ท่านสอนหลักการแก่ศิษย์ว่า "อย่างเกร็งตัว อย่ากด ลูกนัยน์ตา กำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาเรื่อยไป กำหนดใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย รู้เฉย ๆ ว่าใจเรานี้ อยู่ที่ศูนย์ ฯ รู้เพียงเท่านี้ก่อน ไม่ต้องร้อนใจ ทำใจให้ เฉย ๆ เรื่อย ๆ ตัดความอยากรู้อยากเห็นเร็ว ๆ นั้นเสีย ตัดความกังวล ยังไม่เห็นก็อย่าเสียใจ ขอให้ทำให้ถูก ต้องและมีความเพียรเถิด ธรรมะเป็นของจริง ถึงเวลาแล้ว เห็นเอง เมื่อเห็นแล้วก็อย่าดีใจเกินไป เพราะจะทำให้ นิมิตนั้นหายได้ ขณะที่ท่านสอนจะเรียบเรียงถ้อยคำ ลำดับเหตุ ลำดับ ผลจัดวางความยากง่ายอย่างเหมาะสมกับศิษย์จนเข้าถึงแก่น และการนำเรื่องเปรียบเทียบที่ให้ความกระจ่างแจ้งแก่เนื้อหา ดังเช่นคำสอนของท่านที่ว่า "ใจของเราเป็นของละเอียด ไม่ใช่ของหยาบ ถึงแม้ใจเราจะไม่วอกแวกไปไหนต่อไหน แล้วก็ตาม แต่หากจะบังคับให้หยุดทันทีก็ยังลำบาก เราต้องใช้วิธีตะล่อมใจทีละเล็กทีละน้อย ใจเราก็จะยอม หยุดเอง อุปมาเหมือนเราจะจับไก่เข้าเล้า หากใช้วิธีวิ่ง พรวดพราดเข้าไปจับ ไก่จะหนีไปจับตัวไว้ไม่ได้ แต่หากใช้ วิธีค่อย ๆ ตะล่อมเข้าหาไก่ เรียกไก่เข้ามา ไก่นั้นจะเชื่อง ยอมให้เราจับได้โดยง่าย จึงเปรียบเหมือนเรา เมื่อเพ่งแรง เกินไปใจก็จะไม่ยอมหยุด ก็หากค่อย ๆ ภาวนาประคับประ คองนิมิตให้เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง ในที่สุดใจนั้นก็จะเชื่องหยุด ในที่ตั้งของใจ คือ ที่ศูนย์กลางกายนั้นเอง" ท่านกับศิษย์แม่ชีเธียร ธีรสวัสดิ์ ได้จาริกเผยแพร่ สมถวิปัสสนา ตามแนววิชชาธรรมกาย ตามบัญชาของหลวง พ่อวัดปากน้ำ ในสถานที่หลายแห่ง แห่งละนานบ้าง ไม่นาน บ้าง มี วัดปากน้ำ บางปะกง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี บ้านบึง พนัสนิคม พนมสารคาม ปราจีนบุรี ท่าเรือ ท่าประชุม หาด ยาง ระแหง นครปฐม ราชบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ ตะพาน หิน พิษณุโลก และเชียงใหม่ ท่านจึงมีลูกศิษย์มากมาย เฉพาะเข้าถึงธรรมได้ธรรมกายมีจำนวนเป็นพัน ท่านมิได้ละทิ้งหน้าที่ที่พระอาจารย์ของท่านมอบหมาย ไว้ให้เลย จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2506 เวลา 19.35 น. ในที่พักวัดปากน้ำ ท่ามกลางญาติมิตรและศิษยานุศิษย์ สิริอายุย่าง 63 ปี อยู่ในเพศผู้ทรงศีลประมาณ 23 ปี


    พัฒนะ และ สุนีรัตน์ รวบรวมและเรียบเรียง



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2016
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]


    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471



    ทานในพระปรมัตถ์ ๖




    วันนี้ท่านเจ้าภาพได้บริจาคทาน ถูกทักขิไณยบุคคล ผู้มี
    ธรรมกายมากด้วยกัน บุญกุศลจึงยิ่งใหญ่ไพศาลไหลมาสู่
    สันดานของเจ้าภาพ ติดอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่กลางดวงนั้น ฯ

    ถ้าบุคคลทำบุญได้อย่างนี้แล้ว ให้เอาใจไปจรดอยู่ศูนย์
    กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุ
    ซ้าย กลางกั๊กนั้น ให้เอาใจจรดให้ถูกต้องตรงกลางดวงนั้น เมื่อ
    ต้องทุกข์ภัยอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ระลึกถึงดวงบุญที่ตนได้
    กระทำไว้ อย่าไประลึกนึกถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ดวงบุญของตน ฯ

    เมื่อเราบริจาคทานและตามระลึกถึงบุญอย่างนี้แล้ว ภัย
    อันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดทำอะไรไม่ได้จะประกอบกิจการ
    งานอย่างใด ก็เกิดลาภและสักการะยิ่งใหญ่ไพศาลก็เพราะนึกถึง
    บุญนั้น บุญย่อมนำผลสมบัติมาให้ในปัจจุบันนี้เชียว ฯ


    ทานในพระปรมัตถ์ ๖ คือมีอายตนะ ๖
    คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความ
    ยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้ ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดีกันอยู่
    อย่างนี้ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เหล่านี้
    ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดีใน รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ธรรมารมณ์ อย่างนี้เหมือนกัน ความยินดี เหล่านี้ หากถอน
    อารมณ์ออกเสียได้ไม่ให้มาเสียดแทงเราได้พิจารณาว่านี้เป็น
    อารมณ์ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์
    เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้
    หยุด ให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์ เป็นทาน ย่อมมีกุศล
    ใหญ่ เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้ และเป็นทานอันยิ่ง
    ใหญ่ทางปรมัตถ์ ฯ

    รู้จักพระรัตนตรัย

    เราเป็นพุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี เป็นคฤหัสน์หรือ
    บรรพชิตก็ตาม ต้องรู้จักพระรัตนตรัยนี้ ถ้าไม่รู้จักรัตนตรัยทั้ง
    สามนี้แล้ว การนับถือศาสนาปฏิบัติในศาสนาเอาตัวรอดไม่ได้
    ถ้าได้เข้าถึงพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ แล้วก็แก้
    โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆให้หายได้บ้าง ทำอะไรได้ผลอันศักดิ์สิทธิ์
    บ้าง นั่นก็เพราะคุณของรัตนตรัยที่มีอยู่ในตัวเรา แต่หากใช้ไม่
    เป็นก็ไม่ปรากฏเหมือนกัน ถ้าใช้เป็นทำเป็นถูกส่วนเข้าแล้วเห็น
    ปรากฏ จริงแต่ว่าเป็นชั้น ๆ เข้าไป ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของ
    ยากลำบากอยู่ จะว่ายากก็ไม่ยากจนเกินไป จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย
    จนเกินไป หรือว่าไม่ยากไม่ง่ายนั้นก็ถูก คือ ไม่ยากสำหรับคนที่
    ทำได้ ปฏิบัติได้ ไม่ง่ายสำหรับคนที่ทำไม่เป็นปฏิบัติไม่ถูก คน
    ทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่เป็นก็บอกว่ายาก แต่คนทำได้ ปฏิบัติถูกก็
    บอกว่าง่าย เพราะฉะนั้นจึงว่าไม่ยากไม่ง่าย ไม่ยากแก่คนทำ
    ได้ ไม่ง่ายแก่คนที่ทำไม่ได้ หลักนี้เป็นของสำคัญนัก เพราะเป็น
    ชั้น ๆ เข้าไปให้รู้จักกายเหล่านี้เสียก่อน ให้รู้จักพระรัตนตรัยเสีย
    ก่อน ถ้าไม่รู้จักพระรัตนตรัยเสียก่อนแล้วเอาหลักไม่ได้ ถึงจะฟัง
    ธรรมฟังเทศน์ไปสักเท่าใด ก็จับจุดเอาหลักไม่ได้

    พระรัตนตรัยนั้นอยู่ในตัวของเรานี่เอง อยู่ตรงไหน อยากจะ
    พบ ตัวของเรามีศูนย์กลางอยู่คือ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย
    สมมติว่าเราขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่ง จากหน้าท้องตรงสะดือทะลุ
    หลัง และอีกเส้นหนึ่งจาก กึ่งกลางสีข้าง ขวาทะลุซ้าย ถึงตรง
    กลางกั๊ก ที่ด้ายกลุ่มนั้นจด จุดที่กลางได้ กลุ่มสองเส้นจดกันนั้น
    แหละเรียกว่า กลางกั๊ก ตรงกลางกั๊กนั้นถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็น
    กายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ให้เอาใจไปหยุด
    อยู่ตรงกลางกายมนุษย์นั้น ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ ที่ตรงนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีแห่งเดียว
    ก่อนมนุษย์จะมาเกิด หญิงก็ดี ชายก็ดี ต้องเอาใจไปจรดตรงนั้น
    จึงเกิดได้ ถ้าไม่หยุด ไม่นิ่ง เกิดไม่ได้ พอหยุดถูกส่วนเข้า เกิด
    ได้ทันที ตรงนั้นแหละ เป็นที่หยุดและเป็นที่เกิด ที่ตาย พอใจ
    หยุดถูกส่วนเข้า ก็เกิดและตาย ตรงนั้นเป็นที่เกิด ที่ดับ แห่ง
    เดียว ไม่ใช่แต่ที่เกิด ที่ดับเท่านั้น ตรงกลางนั้นเวลาจะนอน
    หลับ ใจก็ตรงไปหยุดอยู่ที่ตรงกลางนั้น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าก็
    หลับ ถ้าไม่ถูกส่วนตรงนั้นก็ไม่หลับอีกเหมือนกัน หลับตรงไหน
    ตื่นขึ้นก็ตรงนั้น ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ในบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที
    หลับ ที่ตื่น แห่งเดียว อย่าได้เอาใจไปไว้ที่อื่น ให้เอาใจไปจรด
    ไว้ตรงนั้น จึงจะถูกต้อง พอใจหยุดถูกที่เท่านั้น เราจะรู้สึกตัวที
    เดียวว่า ช่างเป็นสุขอะไรอย่างนี้หนอ ฯ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471


    .........เมื่อมีทุกข์ ชีวิตทั้งหลายก็ดิ้นรนไปตามทางที่เคยชิน

    หาทางดับทุกข์หรือหนีจากอาการทุกข์ ด้วยการเสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์ที่ไม่เที่ยง ที่คาดหวังว่าจะไม่ต้องเสพอารมณ์อันเป็นทุกข์อีก

    ยิ่งกว่านั้น ก็ไปหาหมอดู ทรงเจ้าเข้าผี เซ่นสังเวย วิญญามิจฉาทิฐิ พาตนเข้าสู่วังวนแห่งกองทุกข์เหนียวแน่นขึ้นไปอีก

    บ้างก็ก่อกรรมใหม่ที่ไม่ดี ไปทำสิ่งผิดศีล ก่อเวรกับชีวิตอื่นเพื่อหาสิ่งต่างๆมาสนองความอยาก อันมีแต่จะนำพาให้วนในทะเลทุกข์ไม่สิ้นสุด


    .....ลืม ไม่ทราบว่า ผลแห่งกรรมดี อันปรากฏเป็นดวงบุญ อยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั่นแหละ เมื่อทุกข์ ให้ระลึกถึงบุญกุศลที่ตนบำเพ็ญมาเป็นที่พึ่งเสียสิ ตรงกลางกายนั่นแหละ ..........มิตรแท้ คือความดีที่ตนทำสั่งสมมานั่นแหละ...







    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    สติปัฏฐานสี่ ไม่มีสำนัก ไม่มีสาย ไม่มีพวก ไม่มีเหล่า มีเพียงผู้ตามรอยธรรมพุทธองค์

    มหาสติปัฏฐานสูตร



    10 ตุลาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    [​IMG]





    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ. อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนฺสส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรตีติ.




    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น โดยอุเทศวาร ปฏินิเทศวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศวารนั้น ตามวาระพระบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย. แค่นี้ จบอุเทศวารของมหาสติปัฏฐานสูตร


    แปลภาษาบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อยํ มคฺโค อันว่า หนทางนี้ เอกายโน เป็นเอก เอกายโน อยํ มคฺโค หนทางนี้เป็นหนทางเอก ไม่มีสองแพร่ง เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ เอกน่ะ คือหนึ่ง

    เอโก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่ออัสดงคตหมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุซึ่งธรรมที่ควรรู้ นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้ เรียกว่า อุเทศวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศวารสืบต่อไป

    กตเม จตฺตาโร 4 อย่างอะไรบ้าง ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา นี้คือ สติปัฏฐาน 4 กตเม จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สติปัฏฐาน 4 คืออะไรบ้างล่ะ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. 4 อย่างนี้ เรียกว่าปฏินิเทศวาร อุเทศวารแสดงแล้ว อีก 2 นี้เป็นปฏินิเทศวาร อุเทศน่ะแสดงออกเป็นหนึ่งทีเดียว ปฏินิเทศนั้นแสดงหนึ่งออกไปเป็น 4 กาย เวทนา จิตธรรม แปลภาษาบาลีว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ นั้นเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ถ้าเห็นเข้าแล้ว ทำให้ อาตาปี เพียรเทียว เพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว สมฺปชาโน รู้รอบคอบอยู่ เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ สติมา มีสติด้วยไม่เผลอ รู้รอบคอบไม่เผลอ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ คอยกำจัดความเพ่งเฉพาะอยากได้และโทมนัสเสียใจที่ไม่ได้สมบัติ นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง มันจะทำกายในกายให้เป็นที่เสื่อมไปเสีย อภิชฌา สำคัญนัก เพ่งเฉพาะอยากได้ เมื่อไม่ได้ มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดลอดเข้าไปได้ทีเดียว เมื่อเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่แล้วก็ อาตาปี มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว มีความรู้รอบคอบ ประกอบด้วยสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ นี่ข้อต้น ข้อที่ 2 คือ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้รอบคอบ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน นำอภิชฌา โทมนัสในโลกออกเสีย ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่ส่วนเวทนา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติไม่พลั้งเผลอ นำอภิชฌาในโลกนี้ออกเสียได้ อย่าให้ความยินดียินร้ายมันลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่เป็นข้อ 3 ข้อที่ 4 ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เมื่อเห็นแล้วให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้ 4 ข้อนี้แหละเรียกว่า ปฏินิเทศวาร กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไปเป็นลำดับ

    เห็นกายในกาย นี่เห็นอย่างไร เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ เห็นชัดๆ อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป ทำหน้าที่ไป ผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง เห็นเวทนาในเวทนาล่ะ มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน เห็น นี่ ไม่ได้พูดรู้นี่ เวทนาในเวทนานั่นเป็นอย่างไรล่ะ สุข กายนั้นเป็นสุข ก็เห็นเป็นสุข กายนั้นเป็นทุกข์ ก็กายละเอียดนั่นแหละ ที่เห็นกายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เห็นว่าไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ อย่างนี้ เห็นจิตในจิต ล่ะ ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ ไม่ใช่เห็นง่ายๆ นี่ จิตเป็นดวงนี่ เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ เท่าดวงตาดำของตัวทุกคนๆ นั่นแหละดวงจิต เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ เป็นประธาน เห็นกายในกายชัดๆ ก็เห็นกายละเอียดนั่น

    เห็นเวทนาในเวทนา เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกาย เห็นกายน่ะ ต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก้อ นั่นแหละ ตาเห็นกาย ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ เห็นเวทนาล่ะ เป็นอย่างไรล่ะ เห็นสุขเป็นดวงกลมใสอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียดนั่น เห็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ เป็นดวงอยู่กลางกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก เวทนาของกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดข้างใน นั่นแหละเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต ล่ะ ดวงจิต ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นดวงจิต มั่นอยู่ในกลางดวงจิตนี่แหละ อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่เห็นจิตในจิต

    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ มันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น พอไปเห็นกายละเอียด มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เป็นธรรมข้างใน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ นี่เป็นดวงธรรมข้างนอก เห็นจริงอย่างนี้นะ วัดปากน้ำเขาเห็นกัน จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นเล่นๆ

    นี่ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นจริงๆ อย่างนี้ นี่อุเทศวาร แล้วก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง 18 กายนั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ 18 กาย ชัดๆ ทีเดียว ชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ เห็นชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหละ ถ้าว่าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆ เห็นจริงๆ อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงๆ เป็นจริงๆ อย่างนี้แล้วละก็ ตำราบอกไว้ตรงๆ อย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว แล้วจะได้แสดงในกาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปอีก คัมภีร์นิเทศวารต่อไป

    มีคำถามสอดเข้ามาว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ อันนี้แล้ว อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา นี่ปฏินิเทศวาร อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฑีฆํ วา อสฺสสนฺโต ฑีฆํ อสฺสสามีติ ฯเปฯ ฑีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ฯเปฯ อสฺสสนฺโต ฯเปฯ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํปสฺสสามีติ ปชานาติ. นี่เป็นปฏินิเทศวาร กว้างออกไปทีเดียว กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว ท่านจัดออกเป็น ข้อกำหนด เป็น ปัพพะ คือเรียก อานาปานปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยลมหายใจเข้าออก อิริยาปถปัพพะ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถแห่งอวัยวะ รู้อยู่เสมอ นั่นเรียกว่า สัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายของคนเราแห่งฟัน หนัง เนื้อ ตามบาลีว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย ปฏิกูลแห่งร่างกาย นี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ที่ไหน ประสมกันแล้วก็เป็นร่างกาย ล้วนแต่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไป นี้เป็น ธาตุปัพพะ พอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้วก็เน่ากันทั้งนั้น เป็นปฏิกูลอย่างนี้ ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่ 5 นวสีวถิกปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยศพ 9 รูป ตายวันหนึ่ง สองวัน ท้องเขียว น้ำเลือดน้ำหนองไหล เป็นลำดับไปจนกระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น นี้ได้แสดงมาแล้ว

    วันนี้จะแสดง เห็นเวทนาในเวทนา สืบต่อไปว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ สามิสํ วา สุขํ เวทนํเวทิยมาโน สามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ ทุกขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย เป็นของฟังยากนัก แต่ว่าท่านแสดงไว้ย่อๆ ว่า สุข เมื่อเราเสวยความสุขอยู่ ก็รู้ชัดว่าเวลานี้เสวยความสุขอยู่ เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์อยู่ เมื่อเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่ เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยสุขที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส นี้เรียกว่า เวทนา รู้จักเวทนาอย่างนี้ แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง เวทนาในจิต

    คำว่า จิต นะ เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นมันก็บังคับเราใช้มันอยู่ทุกๆ วัน ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันตามวาระพระบาลีว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากราคะ สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโทสะ วีตโทสํ วา จิตฺตํnbsp; วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโทสะ สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหดหู่ ก็ทราบชัดว่าจิตหดหู่ วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตฟุ้งซ่าน ก็ทราบชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตเป็นมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกุศล กุศลเกิดด้วยรูปฌาน เป็นมหัคคตกุศล อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตยิ่งก็ทราบชัดว่าจิตยิ่ง อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตตั้งมั่น อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตหลุดพ้น อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่หลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้ แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อันเป็นภายนอกอยู่ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิต ในจิตเนืองๆ ทั้งเป็นภายในและภายนอกอยู่ สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็น ธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเสื่อมไปในจิตอยู่ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเพียงในจิตอยู่ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าปรากฏว่าจิตมีอยู่ ยาวเทว ญาณมตฺตาย เพียงสักแต่ว่ารู้ ปติสฺสติมตฺตาย เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึก อนิสฺสิโต จ วิหรติ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิยึดถือไม่ได้ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ยึดถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อย่างนี้แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ ความเพียงเท่านี้

    ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่องจิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น หนึ่งใน 4 ของใจ ดวงวิญญาณเท่าดวงตาดำข้างใน ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่

    ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด

    ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างใน เขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ

    เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด

    โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ

    โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือ ดวงกายทีเดียว 4 ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ

    ดวงกาย นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลาง อยู่ศูนย์กลางกำเนิดดวงกายนั้น อ้ายดวงใจนั่นแหละเป็นที่ตั้งของจำ ธาตุจำอยู่ศูนย์กลางดวงใจนั่นแหละ อ้ายดวงจิตนั่นแหละเป็นที่ตั้งของคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางจิตนั่นแหละ อ้ายดวงวิญญาณเป็นที่ตั้งของรู้ ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ ธาตุเห็น จำ คิด รู้ 4 ประการนั้น ธาตุเห็นเป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุจำเป็นที่อยู่ของจำ ธาตุคิดเป็นที่อยู่ของคิด ธาตุรู้เป็นที่อยู่ของรู้ เห็น จำ คิด รู้ 4 ประการ ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศรีธรรมราช ไปแล้ว เห็นจำคิดรู้ไปแล้ว ยกไปอย่างนั้นแหละไปได้ ไปได้ ไปเสียลิบเลย ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น ถ้าว่าคนเขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช ไปเห็นเอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว อ้ายคนนี้ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น แต่งเนื้อแต่งตัวเป็นอย่างนั้น เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ ส่งไปนครศรีธรรมราช อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช เห็นทีเดียว เขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว เราก็ยกเห็น จำ คิด รู้ ไปนี่ ไม่ได้ไปทั้งตัว นั่นแหละกายละเอียดไปแล้ว ไปยุ่งอยู่โน้นแล้ว ดูก็ได้ ลองไปดูก็ได้ พวกมีธรรมกายเขามี เขาเห็นทีเดียว อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี่แล้ว จำหน้าจำตาจำตัวได้ เอ! ก็แปลกจริงนะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย พระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่ แต่ว่าจะส่งใจไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามเถอะ ไปได้อย่างนี้แหละ 4 อย่างไปได้อย่างนี้ คือ เห็น จำ คิด รู้ มันหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็นกายละเอียด มันแยกกันไม่ได้ แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว เป็นตัวเป็นตัวตายอยู่ เหมือนกายมนุษย์นี่เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย จากหัวใจเสีย หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้ ถ้าแยกไม่เป็นเลย แยกตายหมด ถ้าแยกเวลาใด มนุษย์ก็ตายเวลานั้น ถ้าไม่แยกก็เป็นอย่างนี้ เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างนี้แยกไม่ได้ แยกก็ตายเหมือนกัน แยกเข้าอ้ายกายละเอียดนั้นตาย แยกหัวใจออกไป ดวงจำ ดวงเห็น ตาย แยกไม่ได้ หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกัน แยกไม่ได้ มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เอาแต่ตัว กายมนุษย์ละเอียด มันก็ละเอียดพอแล้ว พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก ละเอียดพอแล้วหรือ พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก

    นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก้อ มันฉลาดกว่ามนุษย์หลายสิบเท่าเชียวนะ นี่พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว เข้าถึงกายทิพย์ก็ 2 เท่าแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็ 3 เท่าแล้ว กายรูปพรหม 4 เท่า กายรูปพรหมละเอียด 5 เท่า กายอรูปพรหมหกเท่า กายอรูปพรหมละเอียดเจ็ดเท่า เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด 8-9 เท่าเข้าไปแล้ว มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้ เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้วก้อ วันนี้ที่จะแสดง จิต ตำราท่านวางไว้แค่จิต เอาดวงจิตนี้เท่านั้น ดวงเห็นก็ไม่ได้เอามาพูด ดวงจำไม่ได้มาพูด ดวงรู้ไม่ได้มาพูด มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว ที่เราแปลจิต ถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด เพราะจิตมีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้นแหละ ดวงรู้ก็มีหน้าที่รู้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่คิด ดวงจิตก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว ดวงเห็นก็มีหน้าที่เห็นอย่างเดียว จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ แต่ว่า ถ้าไม่รู้หลักความจริงแน่นอนอย่างนี้ละก็ ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้ากับรู้เสียว่า รู้ก็คือจิตนั่นแหละ วิจิตฺตารมฺมณํ ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นี่วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ อย่างนี้ ดวงจิตนั่นอีกนัยหนึ่ง อารมฺมณํ วิชานาตีติ จิตฺตํ จิตรู้ซึ่งอารมณ์ จิตรู้เสียอีกแล้ว เอาละซี เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้ว พูดเป็นรู้เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น คำว่า จิต นี่แหละ เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอก ใสเกินใส ปกติมโน ใจเป็นปกติ คือ ภวังคจิต จิตที่เป็นภวังคจิตน่ะ ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นนา เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะเล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปน น้ำเขียวเข้าไปปนระคนเสียแล้ว จิตระคนด้วยโมหะเหมือนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป ก็รู้นะซี

    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ จิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตหดหู่ที่ใสน่ะ หดหู่ไป ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย ไม่คงที่เสียแล้ว ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้สร้าง จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ เป็นมหัคคตจิต จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็น จิตประกอบด้วยกุศลก็เห็นชัดๆ ดังนี้ สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นใสมั่นดิ่งลงไปก็เห็นชัดๆ ดังนี้ รู้ชัดๆ อย่างนี้ จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตพ้น ใสพ้นจากเครื่องกิเลส ก็รู้ว่าพ้น ไม่พ้นก็รู้ว่าไม่พ้น เห็นชัดๆ อย่างนี้ เมื่อเห็น ชัดเข้าดังนี้ละก็ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ภายในน่ะคือจิตกายละเอียดเห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตเป็นภายนอกนี้ จิตของกายมนุษย์ เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิต ทั้งภายในภายนอก เห็นเป็นรูปจิต เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นทั้ง 2 ทีเดียว เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไป ความเกิดขึ้นของจิต เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิต คือความดับไปในจิต เมื่อเห็นเนืองๆ เป็นธรรมดา ทั้งเกิดขึ้นทั้งความดับไป เมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าไปปรากฏว่าจิตมีอยู่ เห็นจิตแล้ว เมื่อจิตมีสติของเธอ ปรากฏว่าจิตมีอยู่ เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยความระลึก อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ถือมั่นอะไรเลยในโลก รู้ว่าปล่อยวางแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ติด ไม่แตะ ไม่อะไรแล้ว ให้รู้ชัดๆ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อย่างนี้แหละเรียกว่าภิกษุทั้งหลาย เห็นในจิต เนืองๆ อยู่ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เพราะได้ยินเสียงระฆังหง่างๆ อยู่แล้ว เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมาตามสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต

    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต
    ๑ ตุลาคม ๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)


    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต
    จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถา ติ


    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา "






    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า
    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น ๔ ประการ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน, ๔ ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส
    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง
    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป
    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๕๒ ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔, อุปาทายรูป ๒๔ รวมเป็น ๒๘ นิพพานแยกออกไปเป็น ๓ คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น ๓ ดังนี้
    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต ๘๙ ดวง หรือจิต ๑๒๑ ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง กามาวจรจิต ๒๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง และโลกุตตรจิต ๘ ดวง นี่เป็นจิต ๘๙ ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง ๑๘ กับ ๑๒ รวมกันเป็น ๓๐ กามาวจร ๒๔ รวมกันเข้าเป็น ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ รวมกันเข้าเป็น ๖๙ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ รวมกันเข้า เป็น ๘๑ ดวง โลกุตตรจิต ๘ ดวง รวมเข้าเป็น ๘๙ ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ คงเหลือจิต ๘๑ ดวง จิต ๘๙ ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง ๕ ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง ๕ นั้น ฌานละ ๘ ดวง คูณกับ ๕ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๑ ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มาบวกกันเข้า ๘ ก็รวมเป็นจิต ๑๒๑ ก็จิต ๘๑ ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง ๘ ดวง ก็เป็นจิต ๘๙ ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕ ก็เป็น ๑๒๑ ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน
    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี
    ในอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก โลภมูล ความโลภ มี ๘ ดวง โทสมูล ความโกรธมี ๒ ดวง โมหมูล ความหลงมี ๒ ดวง ๘ กับ ๔ รวมเป็น ๑๒ ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง ๑๒ ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น ๘ ดวง
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง ๑
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง ๑ นี้ดวงที่ ๓
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง ๑ รวมเป็น ๔ ดวง
    จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๕
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๖
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง ๑ เป็น ๗ ดวง
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็น ๘ ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง ๘ ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น ๒ ดวง
    จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง ๑
    จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตหลง ก็มี ๒ ดวง
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง ๑
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง ๑
    รวมเป็น ๑๒ ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านี้ ฟังยากไหมล่ะ ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง
    จิตดวงที่ ๑ ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ ๑๐ ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ ๑๐๐ ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง
    ดวงที่ ๒ ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้
    ดวงที่ ๓ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ ๓
    ดวงที่ ๔ ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ ๔
    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น ๘ ดวง
    ดวงที่ ๕ จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ ๕
    ดวงที่ ๖ จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ ๖
    ดวงที่ ๗ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ ๗
    ดวงที่ ๘ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ ๘
    จิต ๔ ดวงก่อนกับ ๔ ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต ๘ ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ
    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี ๒ ดวง
    จิตโทสะดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง
    จิตโทสะดวงที่ ๒ มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น
    จิต ๒ ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง ๑ เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง ๑ จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ
    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี ๒ ดวง
    จิตหลงดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลงดวงที่ ๒ อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลง ๒ ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป
    นี้จิต ๑๒ ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต ๑๒ ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต ๑๒ ดวงนี่แหละ
    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง ๑๒ ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน ๔ อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน ๔ อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด
    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


    จบเทศนา โดยหลวงปู่สดฯ เรื่อง พระปรมัตถปิฎก
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,413
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ยังมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนไป บางพวกก็กล่าวห้าม ปิดกั้น จะเป็นวิบากอย่างยิ่ง ...

    18 กาย เป็นเพียงวิชชาเบื้องต้นเพื่อสอนให้ทราบถึง 31 ภูมิผ่านกายทั้ง 18 หลวงปู่สดสอนในที่สาธารณะ ...


    ส่วนคู่มือสมภาร เพิ่มเติมวิชชาธรรมกายเบื้องกลาง ซึ่งหลวงปู่สั่งให้คุณยายฉลวย สมบัติสุข จัดทำขึ้น เพื่อถวายพระสังฆราชในยุคนั้น และแจกจ่ายเป็นธรรมทาน ...


    เพื่อการศึกษาและปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนจากทางเดิมอันตรงต่อมรรคผลที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดผ่านกันมาควรอยู่ภายใต้การแนะนำของครูบาอาจารย์ก่อนนะครับ





    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...