วิปัสสนาญาณ..หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 กันยายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิปัสสนาญาณ (๑)


    [​IMG]



    กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอารยะวังโส
    โดย..พระอาจารย์อารยะวังโส
    กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอารยะวังโส

    โยมมีข้อ ปุจฉา ดังนี้

    ด้วยโยมรักษาศีลแปดมาได้ ๕ ปีแล้ว แต่ภาวนาอยู่ที่บ้านเนื่องจากไม่ต้องการไปรบกวนพระสงฆ์ที่วัด จึงไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ โยมเป็นลูกศิษย์พระป่าจึงภาวนาพุทโธ เมื่อโยมได้ฝึกอานาปานัสสติตามวิธีของพระคุณเจ้านั้น เพราะหวังความก้าวหน้า (โดยฝึกจาก MP๓ ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต) โยมรู้สึกว่าเจ็บที่หน้าอกหายใจไม่สะดวก ควรแก้อย่างไร ขอพระคุณเจ้าโปรดเมตตาชี้แนะด้วย

    กราบนมัสการด้วยความเคารพ

    โยมอัจฉรา แก้วใส




    วิสัชนา ขอเจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ผู้ใคร่ต่อการศึกษาปฏิบัติ เพื่อมุ่งหวังความหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดมัดยึดอันเกี่ยวเนื่องกับโลกวิสัย อันเห็นภัยของวัฏสงสาร จึงมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาธรรม เพื่อน้อมนำมาเป็นแนวปฏิบัติ จะได้เห็นแจ้งในความจริง อันปรากฏมีอยู่เป็นปกติในธรรมชาติ ได้แก่ ความเกิดดับแห่งนามรูปนั้น โดยให้รู้จักพิจารณาค้นคว้าสืบสาว หรือสอบสวนเพื่อเข้าให้ถึงในความจริงที่ปรากฏมีอยู่ จนสามารถพิจารณาเห็นแจ้งในเหตุปัจจัยที่นำเข้าไปถึงชั้นของความจริงอันสูงสุดที่เป็นอริยสัจ และสามารถรู้ได้ว่า...

    “สิ่งใดทำให้ไม่เห็น อนิจจังทุกขังอนัตตา” และด้วยกำลังแห่งสติปัญญาที่แก่กล้าสมบูรณ์ด้วยกำลังธรรม จนยกขึ้นสู่ระดับญาณรู้ในเบื้องต้นที่เรียกว่า อุทยัพยญาณหรืออุททัพพยญาณ อันมีกำลังสติปัญญาตั้งมั่น เห็นแจ้งจริงในความเกิดดับของนามรูป และเมื่อใช้กำลังในการโยนิโสมนสิการ หรือการพิจารณาโดยแยบคาย จนสามารถเห็นจริงในชั้นของปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถเห็นถึงความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเป็นอนัตตา ที่ปรากฏมีอยู่อย่างปกติในสรรพธรรมทั้งหลาย อันอยู่ในอำนาจแห่งโลกวิสัย ซึ่งเป็นไปตามกฎในสังสารวัฏ ดังที่ทราบชัดด้วยอุบายวิธีต่างๆ ในการพิจารณา จนจับใจความได้ว่า...

    ความสืบต่อแห่งนามรูป... อันได้แก่ รูปที่เกิดต่อกันเป็นนิตย์หมายความว่า รูปนี้โดยปกติที่สืบทอดอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า มีชีวิตอยู่ เพราะมีความเกิดดับ สืบอยู่อย่างต่อเนื่อง จนเกิดความสืบต่อแห่งรูป คนทั้งหลายจึงไม่เห็นความเป็นอนิจจัง ทั้งนี้เพราะความสืบต่อของการเกิดดับเป็นนิตย์ปิดบังอยู่นั้นเอง...

    เมื่อพิจารณาต่อไปว่า “สิ่งใดทำให้ไม่เป็นทุกข์” ก็จะพบว่าความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ ๔ อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ปิดบังอำพรางความทุกข์ที่ปรากฏมีอยู่ และเมื่อค้นคว้าสืบสาวต่อไปก็จะพบว่า สิ่งใดปกปิดทำให้ไม่เห็นอนัตตา ซึ่งจะเห็นจริงในปัญหาดังกล่าว เมื่อพิจารณาค้นคว้าอย่างรู้จักแยกแยะแตกกระจายดู ในความเป็นก้อนเป็นแท่ง จนสำคัญผิดคิดว่าเป็นตัวตนด้วยความเป็นรูปชั่วขณะที่กำบังอำพรางปกปิดความเป็นจริงอยู่ จึงทำให้ไม่เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมนั้นๆ และเมื่อทราบชัดในความเป็นมหาภูตรูป ๔ ที่ประชุมควบคุมกันเข้าเป็นรูป เป็นก้อน อันเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อยู่ในวิถีกฎแห่งกรรม ด้วยความรวมตัวของธาตุ ๔ ควบคุมกันเข้าเป็นก้อน แล้วแตกเป็นปัญจสาขาอันนี้แหละ จึงทำให้ไม่เห็นกฎอนัตตา

    เมื่อสาวสืบค้นคว้าจนพบความจริง อันปิดบังไม่ให้เราได้รู้ชัดในความมีอยู่จริงของกฎแห่งพระไตรลักษณญาณตามที่กล่าวมาได้แล้วนั้น ก็นับว่ามีสติปัญญาพอที่จะตามเห็น ตามพิจารณา ตามรู้ ในความเกิดดับ แห่งนามรูป อันนับว่าเป็นการเข้าสู่วิปัสสนาญาณในเบื้องต้นที่เรียกว่า อุททัพพยญาณ (อุทยัพยญาณ)

    ต่อเมื่อเข้าสู่ความสืบต่อเนื่องของการพิจารณา จนเกิดความรู้ความเห็นในการดับไปของจิต อันมีรูปเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นไปตามสภาพความจริงที่ปรากฏมีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา นั้นเอง ดุจเหมือนความแตกไปแห่งฟองน้ำ หรือความสูญไปของพยับแดด ด้วยอุบายการพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ้ง จึงจะสามารถเห็นความดับไปแห่งสังขารทั้งปวง

    เมื่อเข้าถึงความจริงในชั้นที่ ๒ นี้ ที่เรียกว่า ภังคานุปัสสนาญาณ ก็จะพบความจริงว่า “สังขารทั้งหลายล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ทั้งนี้ให้พิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้งจนเข้าถึงความจริงที่ว่า “สังขารทั้งหลายเป็นของน่ากลัว น่าเบื่อหน่าย” ควรคลายจากความรัก ควรดับความรัก ควรละความยินดีในสังขาร และยอมรับความจริงว่า ไม่ควรยึดถือในสังขารด้วยความเป็นของน่ากลัว ดุจกองไฟสามกอง ซึ่งมีผู้อยู่เป็นทุกข์ จึงให้เห็นภัยในสังขาร และความเป็นไปของสังขาร เมื่อนึกถึงความแตกดับ หรือความไม่เที่ยงของสังขาร... ความทุกข์ที่บีบคั้นอยู่เนืองๆ แห่งสังขาร


    -----------
    ที่มา : โพสต์ทูเดย์
    วิปัสสนาญาณ (๑)
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา (๓)


    [​IMG]


    ปุจฉา : ๑.กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอารยะวังโส โยมมีข้อปุจฉาดังนี้ ด้วยโยมรักษาศีลแปดมาได้ ๕ ปีแล้ว แต่ภาวนาอยู่ที่บ้านเนื่องจากไม่ต้องการไปรบกวนพระสงฆ์ที่วัด จึงไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ โยมเป็นลูกศิษย์พระป่าจึงภาวนาพุทโธ เมื่อโยมได้ฝึกอานาปานสติตามวิธีของพระคุณเจ้านั้น เพราะหวังความก้าวหน้า (โดยฝึกจาก MP๓ ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต) โยมรู้สึกว่าเจ็บที่หน้าอก หายใจไม่สะดวก ควรแก้อย่างไร ขอพระคุณเจ้าโปรดเมตตาชี้แนะด้วย

    โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส

    ๒.ปัจจุบันมีภิกษุณีและสามเณรีอยู่มาก ในพื้นที่ที่โยมอยู่ก็มีสำนักนี้อยู่ด้วย โยมไม่แน่ใจว่าควรจะไปศึกษาจากที่นี่หรือไม่ เพราะโยมได้ฟังพระธรรมเทศนามาว่า ฝ่ายเถรวาทไม่มีภิกษุณีอยู่แล้ว เพราะมีภิกษุณีทำให้อายุพระศาสนาสั้น

    กราบนมัสการด้วยความเคารพ
    โยมอัจฉรา แก้วใส



    วิสัชนา : กลับมาพิจารณาวิสัชนาธรรมตามที่ปุจฉามาในข้อที่ ๑ ซึ่งกล่าวถึงความรู้สึกว่า เจ็บที่หน้าอก หายใจไม่สะดวกนั้น เข้าใจว่าคงเป็นวิธีการควบคุมลมหายใจเข้าหยุดลมและหายใจออก คงไม่ใช่วิธีการกำหนดตามดูรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ซึ่งเป็นอุบายวิธีเพื่อควบคุมจิตให้ตั้งมั่น โดยการควบคุมลมหายใจทั้งเข้าและออก ที่กล่าวเป็นนัยว่าตั้งจิตไว้ที่ลม อย่าให้หล่นลงมาจากลมที่หายใจเข้าออก ดังนั้นหากรู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก แสดงว่าการควบคุมลมหายใจหนักแน่นเกินไป ให้ผ่อนคลาย และเปลี่ยนแปลงมาเป็นการกำหนดรู้ลมเข้ายาวลมออกยาว หรือ เมื่อลมหายใจเข้าเปลี่ยนแปลงมาเป็นสั้นก็พึงตามรู้ ก็จะคลายจากลมที่อัดแน่นอยู่ที่หน้าอกจนหายใจไม่ค่อยสะดวก หรือปฏิบัติไปตามที่สอน แต่ให้รู้จักการผ่อนคลาย อย่าควบคุมจนกดแน่นเกินไป เพราะปัญหาสุขภาพร่างกายของโยมอัจฉราไม่เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง จึงต้องบรรเทาการกำกับควบคุมจิต อย่าบีบเค้นบีบคั้นจิตจนเกินไป แล้วจะคลายจากอาการจุกเจ็บที่หน้าอก

    สำหรับการรักษาศีล ๘ มาห้าปีแล้วนั้นเป็นเรื่องที่ดี ขออนุโมทนาอย่างยิ่ง เพราะมีอานิสงส์อย่างยิ่ง เป็นการเข้าสู่การประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติเนกขัมมะนิสัย ด้วยเห็นโทษภัยในการเกี่ยวข้องกับกามคุณ...

    ในการภาวนา “พุทโธ” นั้น ถือได้ว่าเป็นองค์ภาวนาที่ประเสริฐเลิศล้ำ โดยเฉพาะเมื่อพุทโธรวมลงเป็นหนึ่งเดียวกับจิต จนเกิดญาณรู้ในจิต สอดส่องเห็นความจริงในการเกิดดับ และตามพิจารณาอย่างลุ่มลึก อันเป็นไปตามลำดับของวิปัสสนาญาณ ในความจริงของสังขารทั้งหลาย จนประชุมความรู้ลงที่ความรู้แจ้งเห็นจริงว่า

    สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง
    สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์
    ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา

    ดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นเมื่อไหร่... ก็ย่อมตรัสรู้ในธรรมอริยสัจได้อย่างแท้จริง ดังที่ครูบาอาจารย์ พระอริยสาวกท่านได้ถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
    การปฏิบัติธรรมตามแบบแผนในพระพุทธศาสนานั้น ต้องเรียนรู้หลักการหลักธรรมให้ถูกต้องตามแบบแผน และอุบายวิธีของแต่ละท่านที่นำมาสั่งสอน อันเป็นไปตามวิสัยของสัตว์ที่มีจริตแตกต่างกันไป จึงควรเข้าหาพระสงฆ์ที่สามารถในการสั่งสอน อย่าคิดว่า “ไปรบกวน” เรื่องการให้ธรรมะหรือการถามธรรมะ ไม่ถือว่าเป็นการรบกวน เป็นเรื่องควรสงเคราะห์ต่อกัน... หากไม่สงเคราะห์ตามฐานะที่ควรสงเคราะห์ได้ ถือได้ว่าไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

    จากปุจฉาข้อที่ ๒ ปัจจุบันมีภิกษุณีและสามเณรีอยู่มาก ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติของโลกยุคไร้พรมแดน ซึ่งมีการบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนาในสายมหายาน ในส่วนของพุทธศาสนาเถรวาทของเรานั้นถือว่าได้ขาดตอนไปแล้ว จึงไม่มีภิกษุณีสามเณรี โดยมหาเถรสมาคมถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในเรื่องดังกล่าว อันเป็นไปตามแบบแผนของ “พุทธศาสนาเถรวาท” ดังที่ปรากฏมีอยู่ในประเทศไทย ก็สืบสายตามความเชื่อของมหายาน ซึ่งมักจะผ่านการบรรพชาอุปสมบทมาจากคณะสงฆ์มหายาน ประเทศไต้หวัน ดังเช่น ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งได้ละไปแล้ว อาตมาเคยพบและพูดคุยด้วยกับหลวงแม่วรมัย ที่วัดทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม


    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้


    --------------
    ที่มา:โพสต์ทูเดย์
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา (๓)
     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา (ตอน ๔)

    [​IMG]


    ปุจฉา : ๑.กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอารยะวังโส โยมมีข้อปุจฉาดังนี้ ด้วยโยมรักษาศีลแปดมาได้ ๕ ปีแล้ว แต่ภาวนาอยู่ที่บ้านเนื่องจากไม่ต้องการไปรบกวนพระสงฆ์ที่วัด จึงไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ โยมเป็นลูกศิษย์พระป่าจึงภาวนาพุทโธ เมื่อโยมได้ฝึกอานาปานสติตามวิธีของพระคุณเจ้านั้น เพราะหวังความก้าวหน้า (โดยฝึกจาก MP๓ ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต) โยมรู้สึกว่าเจ็บที่หน้าอก หายใจไม่สะดวก ควรแก้อย่างไร ขอพระคุณเจ้าโปรดเมตตาชี้แนะด้วย

    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

    ๒.ปัจจุบันมีภิกษุณีและสามเณรีอยู่มาก ในพื้นที่ที่โยมอยู่ก็มีสำนักนี้อยู่ด้วย โยมไม่แน่ใจว่าควรจะไปศึกษาจากที่นี่หรือไม่ เพราะโยมได้ฟังพระธรรมเทศนามาว่า ฝ่ายเถรวาทไม่มีภิกษุณีอยู่แล้ว เพราะมีภิกษุณีทำให้อายุพระศาสนาสั้น

    กราบนมัสการด้วยความเคารพ

    โยมอัจฉรา แก้วใส


    วิสัชนา : ดูท่านก็บำเพ็ญเพียรสร้างบารมี ยึดแนวปฏิบัติทางโพธิสัตว์ตามความเชื่อในมหายาน ซึ่งมุ่งสั่งสอนให้สัตว์ทั้งหลาย ละชั่วทำดี เจริญจิตตภาวนาเช่นเดียวกัน ส่วนหลักธรรมคำสั่งสอนนั้นก็คงจะต้องพิจารณากันไป... ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนาเถรวาท หรือมหายาน หรือจะเป็นในบ้านเมืองของเรา ที่พุทธศาสนาเถรวาทแบ่งเป็น ๒ คณะ ได้แก่ มหานิกายกับธรรมยุติกนิกาย ก็ขอให้พิจารณากันมากๆ ก่อนจะปักใจเชื่อลงไป ทั้งนี้เพราะมีความเคลื่อนไหวที่ให้ผิดเพี้ยน ไม่ถูกต้อง และแม้จะสั่งสอนถูกต้องทุกคำ แต่ก็ไม่แน่ว่ามีการประพฤติตนตรงตามธรรมที่นำมาสั่งสอนหรือไม่... จึงขอให้ทำใจเป็นกลางๆ รับฟังนำมาพิจารณา หากถูกต้องตามพุทธศาสนาดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง และหากผู้สอนปฏิบัติตนถูกต้องตรงตามธรรม ก็สามารถเชื่อถือได้ยิ่งขึ้น... สำคัญอย่างยิ่ง หากเราปฏิบัติตามแล้วนำไปสู่การละความชั่ว เบาบางจากอกุศล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะจริง อย่างนั้นถือประโยชน์ได้


    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้



    -------------------------
    ที่มา: โพสต์ทูเดย์
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา (ตอน ๔)
    ภาพประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา (๕)


    [​IMG]


    ปุจฉา : กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอารยะวังโส
    โดย....พระอารยะวังโส



    ๒.ปัจจุบันมีภิกษุณีและสามเณรีอยู่มาก ในพื้นที่ที่โยมอยู่ก็มีสำนักนี้อยู่ด้วย โยมไม่แน่ใจว่าควรจะไปศึกษาจากที่นี่หรือไม่ เพราะโยมได้ฟังพระธรรมเทศนามาว่า ฝ่ายเถรวาทไม่มีภิกษุณีอยู่แล้ว เพราะมีภิกษุณีทำให้อายุพระศาสนาสั้น


    ๓.โยมเคยไปอินเดียเมื่อปี ๒๕๕๐ พักที่วัดไทยพุทธคยา พบกับลูกศิษย์พระคุณเจ้า เขามาทำอาหารภาคใต้ที่ครัว และเล่าเรื่องพระคุณเจ้ากลับมาที่ดงคสิริอีกครั้ง และวันนั้นจะลงมาที่ต้นโพธิ์ เขาจะไปหาพระคุณเจ้าที่ต้นโพธิ์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้พบหรือไม่ โยมได้ขอตามไป แต่เขาไปตอนไหนก็ไม่ทราบ โยมก็เลยไปลำพัง แต่ไม่พบพระคุณเจ้า โยมไม่เคยได้กราบพระคุณเจ้ามาก่อน แต่ได้เห็นภาพโปสเตอร์ของพระคุณเจ้าที่ติดไว้บนวัดที่ดงคสิริ เมื่อโยมไปที่ต้นโพธิ์ได้มองหาพระคุณเจ้า โยมไม่พบ แต่มีเรื่องน่าแปลกคือ พบพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระฝ่ายมหานิกาย หน้าตาผ่องใสมาก โยมไม่เคยเห็นพระฝ่ายมหานิกายหน้าตาผ่องใสเช่นนั้นมาก่อน และท่านมองโยมแบบยิ้มๆ ทำให้โยมแปลกใจ โยมได้ทราบว่าพระคุณเจ้าใช้ชื่ออารยะวังโสเหมือนภิกษุรูปหนึ่งที่มรณภาพไปแล้ว ซึ่งท่านมีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่ที่อยู่เหนือโลกนี้ไปแล้ว โยมจึงมีความเห็นว่าพระคุณเจ้าได้ใช้มโนมยิทธิญาณใช่หรือไม่ จึงแปลงรูปโฉมได้

    กราบนมัสการด้วยความเคารพ
    โยมอัจฉรา แก้วใส


    วิสัชนา : โดยจะต้องถูกต้องตรงตามจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ ที่เป็นแบบแผนของพระพุทธศาสนา จึงจะถูกต้องจริง และควรแก่ความศรัทธา จึงไม่ควรไปติติงเพียงแค่เหตุผลว่าเป็นภิกษุณีหรือสามเณรี หากบวชมาถูกต้องไม่ปลอมแปลงมา มีสังกัดนิกาย มีที่ไปที่มาตามแบบแผนก็ไม่ผิดอะไร เพราะประเทศไทยเป็นดินแดนเสรีทางความศรัทธาในศาสนาทุกศาสนา อันเป็นไปตามวาสนาบารมีของแต่ละผู้นาม ส่วนที่ควรมองดูก็คือข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าเป็นไปตามพระธรรมวินัย มีการถือปฏิบัติถูกต้องก็น่าอนุโมทนา และหากรู้จักเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้อง

    ไม่ดัดแปลง ต่อเติม แก้ไข หรือคิดสร้างคำสอนขึ้นมาเอง ก็น่าเลื่อมใสทั้งนั้น ส่วนจะศรัทธาหรือไม่อย่างไร ก็เป็นไปตามภูมิปัญญาของแต่ละบุคคล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธจะต้องเรียนรู้หลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าของเราทรงสั่งสอนหลักธรรมอันใด ซึ่งธรรมอันนั้นเป็นไปเพื่อการนำออกจากความทุกข์ ที่เรียกว่า นิยยานิกธรรม...” จึงขอทำใจให้เป็นกลางๆ จับหลักแก่นธรรมตามที่กล่าวเป็นธงชัย เราก็จะเดินไปไม่ผิดทาง ไม่ว่าจะเป็นความศรัทธาต่อภิกษุหรือภิกษุณี ซึ่งเนื้อแท้อยู่ที่ฐานความจริงของการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยต่างหาก ควรเป็นตัวบทกำหนดของจริงหรือของปลอม หากไม่ติดขัดเรื่องนิกาย...


    จากปุจฉาที่ ๓ อาตมามีชื่อตามฐานะพระสงฆ์ว่า อารยะวังโสภิกขุ หรือ พระอธิการอารยะ อารยะวังโส หรือ พระอาจารย์อารยะวังโส ตามที่หลวงปู่จันทร์ กุสโล (พระพุทธพจนวราภรณ์) ได้ตั้งมงคลนามนี้ให้เมื่อเกิดใหม่ในฐานะภิกษุในพระพุทธศาสนา และท่านจะเรียกอาตมาว่า “อารยะวังโส” จนติดปากคณะศรัทธาญาติโยม จึงเป็นที่มาของ พระอาจารย์อารยะวังโส เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จ.ลำพูน หลวงพ่อท่านบัญชาให้อาตมารับภาระเป็น “ตุ๊หลวง” บริหารวัด จัดการดูแลพระเณรชี ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกา ที่เป็นศรัทธาของวัดป่า โดยให้ยึดถือแบบแผนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ด้วยความที่ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น เมื่อสมัยหลวงปู่มั่นมาทำหน้าที่เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ในอีกเส้นทางหนึ่งของความเป็นพระป่ากรรมฐาน อาตมาถือความเป็นศิษย์พระป่าจากหลวงปู่ขาน ได้ถวายพานธูปเทียนกับมือ และนำพานดอกไม้ไปถวายหลวงปู่ขาวตามคำสั่ง เพื่อสืบปฏิปทาพระป่ากรรมฐาน และชอบอยู่ป่าช้ามากกว่าป่าอื่นๆ สมัยนั้นว่างๆ ก็ขึ้นดอยลงดอยภาคเหนือ

    และมักจะเดินทางไปโขงเจียม ศรีเมืองใหม่ ท่องไปในภาคอีสานแถบลุ่มน้ำโขง บางคราวก็ล่องลงภาคใต้ ขึ้นภูเขาไปอยู่ที่พระธาตุภูหว้าทางภูเก็ต ต่อมาเมื่อเดินทางกลับชมพูทวีปไปจำพรรษาอยู่แถบภูเขาดงคสิริ (อุรุเวลาฯ) อินเดีย, วัดนิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ในเนปาล และมาจำพรรษาบนภูเขารัตนคีรี (คิชฌกูฏ) ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธในอดีต จนชาวฮินดูในเนปาลในอินเดียตามพื้นที่ซึ่งอาตมาเคยจำพรรษาอยู่ มีความศรัทธาเรียกอาตมาว่า “กูรูจี” ได้ใส่บาตรดูแลอาตมาอย่างดียิ่ง หวังว่าอาตมาจะได้อยู่กับพวกเขานานๆ... ในสมัยประพฤติธรรมดังกล่าว อาตมาบิณฑบาตเป็นปกติตามบ้านเรือนของชาวฮินดูวรรณะต่ำ ซึ่งได้ใส่บาตรกันเป็นปกติกับอาตมา


    จนเป็นที่กล่าวขานไปทั่ว โดยเฉพาะวัดไทยทั้งหลายแถบพุทธคยาทราบดี ต่อมามหาโพธิสมาคมในอินเดียขออาราธนานิมนต์อาตมาไปเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ พระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา เป็นประธานนำกองทัพธรรมยาตราของพระสงฆ์นานาชาติ และเป็นประธานจัดงานมาฆบูชาโลกให้ชาวพุทธในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า ๑๐ ล้านคน ที่ให้ความเคารพนับถืออาตมาในฐานะเป็น “กูรูจี” ของชาวพุทธในอินเดียเช่นกัน ซึ่งในวันครบรอบ ๑๔๖ ปี ของท่านอนาคาริก ธรรมปาละ รัตนบุรุษแห่งศรีลังกาของปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ มหาโพธิสมาคมในอินเดียจะได้จัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต และได้ติดต่อขอนิมนต์อาตมาไปแสดงธรรมเทศนาในหลักวิปัสสนากรรมฐานของพระพุทธศาสนา ณ วัดพุทธศรีลังกา พุทธคยา


    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้

    --------------
    ที่มา : โพสต์ทูเดย์
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา (๕)
    ภาพประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต
     
  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา(จบ)

    [​IMG]

    ปุจฉา : กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอารยะวังโส

    โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส

    ด้วยโยมไม่ทราบว่าท่านมีชื่อและฉายาว่าอย่างไร จึงใช้ชื่อตามที่คนทั่วไปเรียกกัน โยมมีข้อ ปุจฉา ดังนี้

    ๑.ด้วยโยมรักษาศีลแปดมาได้ ๕ ปีแล้ว แต่ภาวนาอยู่ที่บ้าน เนื่องจากไม่ต้องการไปรบกวนพระสงฆ์ที่วัด จึงไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ โยมเป็นลูกศิษย์พระป่าจึงภาวนาพุทโธ เมื่อโยมได้ฝึกอานาปานสติตามวิธีของพระคุณเจ้านั้น เพราะหวังความก้าวหน้า (โดยฝึกจาก MP๓ ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต) โยมรู้สึกว่าเจ็บที่หน้าอก หายใจไม่สะดวก ควรแก้อย่างไร ขอพระคุณเจ้าโปรดเมตตาชี้แนะด้วย

    ๒.ปัจจุบันมีภิกษุณีและสามเณรีอยู่มาก ในพื้นที่ที่โยมอยู่ก็มีสำนักนี้อยู่ด้วย โยมไม่แน่ใจว่าควรจะไปศึกษาจากที่นี่หรือไม่ เพราะโยมได้ฟังพระธรรมเทศนามาว่า ฝ่ายเถรวาทไม่มีภิกษุณีอยู่แล้ว เพราะมีภิกษุณีทำให้อายุพระศาสนาสั้น

    ๓.โยมเคยไปอินเดียเมื่อปี ๒๕๕๐ พักที่วัดไทยพุทธคยา พบกับลูกศิษย์พระคุณเจ้า เขามาทำอาหารภาคใต้ที่ครัว และเล่าเรื่องพระคุณเจ้ากลับมาที่ดงคสิริอีกครั้ง และวันนั้นจะลงมาที่ต้นโพธิ์ เขาจะไปหาพระคุณเจ้าที่ต้นโพธิ์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้พบหรือไม่ โยมได้ขอตามไป แต่เขาไปตอนไหนก็ไม่ทราบ โยมก็เลยไปลำพัง แต่ไม่พบพระคุณเจ้า โยมไม่เคยได้กราบพระคุณเจ้ามาก่อน แต่ได้เห็นภาพโปสเตอร์ของพระคุณเจ้าที่ติดไว้บนวัดที่ดงคสิริ เมื่อโยมไปที่ต้นโพธิ์ได้มองหาพระคุณเจ้า โยมไม่พบ แต่มีเรื่องน่าแปลกคือ พบพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระฝ่ายมหานิกาย หน้าตาผ่องใสมาก โยมไม่เคยเห็นพระฝ่ายมหานิกายหน้าตาผ่องใสเช่นนั้นมาก่อน และท่านมองโยมแบบยิ้มๆ ทำให้โยมแปลกใจ โยมได้ทราบว่าพระคุณเจ้าใช้ชื่ออารยะวังโสเหมือนภิกษุรูปหนึ่งที่มรณภาพไปแล้ว ซึ่งท่านมีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่ที่อยู่เหนือโลกนี้ไปแล้ว โยมจึงมีความเห็นว่า พระคุณเจ้าได้ใช้มโนมยิทธิญาณใช่หรือไม่ จึงแปลงรูปโฉมได้

    ๔.จำเป็นต้องมีศรัทธาแรงกล้าก่อนใช่หรือไม่ จึงจะนำไปสู่ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

    กราบนมัสการด้วยความเคารพ
    โยมอัจฉรา แก้วใส


    วิสัชนา : ขั้นตอนที่ ๒ ทำเหมือนขั้นตอนที่ ๑ แต่เปลี่ยนจากการกำหนดนับตัวเลขมาเป็นคำบริกรรมว่า “นะโม พุทธเมตตา” ตรงตำแหน่งที่หยุดลมไว้ โดยพยายามกลั้นลมให้นานที่สุด แล้วบริกรรม จนรู้สึกว่า จิตเบา กายเบา ขณะปล่อยลมออก ต้องไม่ไหลจิตตามลมออก และไม่ไหลจิตตามลมเข้าขณะหายใจเข้า แต่กำหนดรู้อยู่ที่ตำแหน่งกลางทรวงอกที่เดิม ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดที่นิ่งสงบ จนเวทนาเกือบจะไม่มี

    ขั้นตอนที่ ๓ ให้กำหนดรู้อยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว แล้วแผ่เมตตาให้กับตนเองด้วยบท


    “อะหัง สุขิโต โหมิ ขอข้าพเจ้า จงมีความสุข
    นิททุกโข โหมิ จงเป็นผู้ปราศจากทุกข์
    อเวโร โหมิ จงเป็นผู้ปราศจากเวร
    อัพพะยาปัชโฌ โหมิ จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
    อะนิโฆ โหมิ จงเป็นผู้ไม่ทุกข์กาย ไม่ทุกข์ใจ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ รักษาตนให้มีความสุขเถิด”


    หลังจากนั้น รวมจิตแผ่ให้ทั่วทั้งร่างกายด้วย “นะโมพุทธเมตตา” ทำให้จิตมีกำลังมากขึ้น (ในขั้นตอนนี้ อาจใช้ลมหายใจช่วยโดยการหยุดลมไว้ แล้วเบ่งแผ่ไปให้ทั่วร่างกาย ในบางรายอาจเห็นกรรมนิมิต อันเป็นเหตุให้เกิดโรคภัย และสามารถหลุดพ้นจากกรรมนั้น) หลังจากนั้น แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายด้วยบท

    “สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ถึงความสุข”
    “สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร”
    “สัพเพ สัตตา อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน”
    “สัพเพ สัตตา อะนิฆา โหนตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่ทุกข์กาย
    ไม่ทุกข์ใจ
    “สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงรักษาตนให้มีความ
    สุขเถิด”



    เจริญพร



    ----------------
    ที่มา : โพสต์ทูเดย์
    วิปัสสนาญาณ...หลักธรรมในพระพุทธศาสนา(จบ)
    รูปภาพประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต
     

แชร์หน้านี้

Loading...