เรื่องเด่น วัดแสนฝาง! สถาปัตยกรรมแบบพม่าแห่งเมืองล้านนา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 8 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a.jpg

    วัดแสนฝาง ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านการค้าของพ่อค้าชาวพม่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปะการก่อสร้างแบบพม่า โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม

    วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาไปชม “วัดแสนฝาง” วัดที่ผสมผสานศิลปะทั้ง พม่าและล้านนา ได้อย่างลงตัว รวมถึงเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม

    ะวัติของ วัดแสนฝาง

    วัดแสนฝาง เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๘ ถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๖๘ ตารางวาและมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๙๐ ตารางวา ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-1.jpg

    ตามตำนานเล่าว่าวัดแสนฝางสร้างขึ้นในสมัยพระญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณปี พ.ศ.๒๑๑๙ และคงอยู่จนกระทั่งถึงสมัยพระญากาวิละ โดยวัดแห่งนี้ได้รับความอุปถัมภ์ด้วยดีจากเจ้านครเชียงใหม่ทุกพระองค์ ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในแผ่นจารึกไม้สักในวัด ซึ่งติดอยู่ที่หอพระไตรปิฎกว่า

    ชื่อวัดแสนฝางแต่เดิมเรียกกันว่า “วัดแสนฝัง” โดยที่มาของชื่อนี้ คือการที่พระเจ้าแสนภูทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้กับพุทธศาสนา ตามอย่างพระเจ้าปู่และพระราชบิดา อีกทั้งพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฝังพระราชทรัพย์เหล่านั้นไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ ๆ แม่น้ำสายเล็ก ห่างจากแม่น้ำระมิงค์พอประมาณ

    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-2.jpg
    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-3.jpg

    เมื่อพระเจ้าแสนภูทรงตัดสินพระทัยสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสร้างวัดขึ้นเป็นการฝากพระราชศรัทธาและพระราชสมบัติของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” โดยคำว่า “แสน” มาจากชื่อของพระเจ้าแสนภูและคำว่า “ฝัง” คือการบริจาคพระราชทรัพย์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” หรือ “วัดแสนฝาง” มาตราบเท่าทุกวันนี้

    สถานที่และสิ่งสำคัญภายใน วัดแสนฝาง

    1.พระเจดีย์มงคลแสนมหาชัย

    ที่วิจิตรงดงาม มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองพม่า และพระวิหารลายคำ ซึ่งเป็นที่ประทับเก่าของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์

    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-4.jpg
    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-5.jpg
    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-6.jpg
    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-7.jpg

    2.พระอุโบสถ

    สร้างโดยพระราชศรัทธาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ตัวอาคารเป็นตึกสองชั้นแบบร่วมสมัย ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ชายคาประดับด้วยไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ส่วนชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ลวดลายวิจิตร ด้านข้างประดับรูปดาว สันหลังคาประดับรูปกินรี

    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-8.jpg
    89de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-9.jpg

    3.พระวิหารลายคำ

    เป็นวิหารที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (ราชวงศ์พระเจ้าเจ็ดตน) องค์ที่ 7 และเจ้าทิพเกสรราชเทวี (พระราชบิดาและพระราชมารดาในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี) โปรดให้รื้อพระตำหนักของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ลง แล้วนำมาถวายวัดเมื่อ พ.ศ. 2420 โดยให้ปรับปรุงดัดแปลงสร้างเป็นวิหารปิดทองล่องชาดทั้งหลัง เมื่อแล้วเสร็จจึงโปรดให้ฉลองสมโภชพระวิหารในปี พ.ศ. 2421 วิหารหลังนี้สร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาเตี้ย และลาดต่ำ ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก และปูนปั้นปิดทอง หน้าบันตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลายก้านขด และสัตว์หิมพานต์ขนาดความยาว 49 เมตร กว้าง 12 เมตร

    9de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-10.jpg
    9de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-11.jpg

    นอกจากวิหาร เจดีย์ และพระอุโบสถที่งดงามแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นให้ชมอีก เช่น กุฏิ 100 ปี โยนการพิจิตร ที่หน้าต่างทำซุ้มปูนปั้นแบบตะวันตก หอไตรเก่าแก่ และหอเวรยามที่ใช้รักษาความปลอดภัยเมื่อครั้งโบราณ

    9de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-12.jpg
    9de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-13.jpg
    9de0b8b2e0b887-e0b8aae0b896e0b8b2e0b89be0b8b1e0b895e0b8a2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b981e0b89a-14.jpg

    ่ตั้งของ วัดแสนฝาง

    188 ถนน ท่าแพ ตำบล ช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50300

    วิธีการเดินทางไปยัง วัดแสนฝาง

    1.โดยรถยนต์ส่วนตัว
    วัดแสนฝางสามารถเข้าได้หลายทาง ทางทิศใต้เข้ามาถนนท่าแพ ประตูนาควิไทยสว่างฟ้า เป็นเส้นทางวันเวย์เข้าเมืองไม่มีที่จอดรถ หรือมาตามถนนช้างม่อย มาจนเจอแยกที่มีซุ้มประตูจีนเลี้ยวขวาข้ามคลองมาเลี้ยวขวาอีกที ตรงไปจะเจอประตูทางเข้าวัดแสนฝางทางทิศเหนือ

    2.โดยรถสาธารณะ
    สามารถนั่งรถสองแถวสีแดงที่ให้บริการรอบเมืองค่าโดยสารแล้วแต่ระยะทาง

    สรุป

    นับว่าวัดนี้เป็นวัดที่ผสมผสานศิลปะแบบต่างๆ ทั้ง พม่า ล้านนา และแบบตะวันตกได้อย่างลงตัว ควรค่าแก่การมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอิ่มใจเมื่อได้ทำบุญแล้ว ยังได้ตื่นตากับความงดงามของสถาปัตยกรรมภายในวัดแห่งนี้ด้วย

    เรียบเรียงโดย “เชียงใหม่นิวส์”

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/967588
     

แชร์หน้านี้

Loading...