ย้อนรำลึก "60 ปี วันพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก" แห่งรั้วม.มหิดล

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 เมษายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ย้อนรำลึก "60 ปี วันพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก" แห่งรั้วม.มหิดล </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>2 เมษายน 2553 13:40 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>“60 ปีแห่งการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน”</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> วันนี้ (1 เมษายน 2553) ณ อาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “60 ปีแห่งการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน” พร้อมตั้งโต๊ะเสวนารำลึกอดีตครั้งแรกกับบัณฑิตรุ่นแรกที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร จากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยากร อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนัททน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นประธานในพิธี

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ซึ่งมีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันนั้น เป็นบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์สาธารณสุขศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ อนุปริญญาพยาบาล – ผดุงครรภ์และอนามัย จำนวน 200 คน นับจากวันนั้นจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2553 นับเป็นวันครบรอบ 60 ปี และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานนามาภิไธย “มหิดล” ให้เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บัณฑิตรุ่นแรกที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นายแพทย์เฉก ธนะสิริ บัณฑิตรุ่นแรกของคณะแพทย์ศาสตร์ (พ.ศ. 2493) เล่าว่า ช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลก มหาวิทยาลัยอื่นๆ ปิดการเรียนการสอนแต่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ (ม.มหิดล) ในปัจจุบัน ไม่ปิดการเรียนการสอน ยังคงมีแพทย์รุ่น 1,2,3,4 มาเรียนรวมกัน

    “ผมยังจำได้ว่าสมัยแพทย์รุ่นผม มีอยู่ 100 คน แต่จบเข้ารับพระราชทานปริญญาในวันนั้น 95 คน เป็นชาย 50 หญิง 45 คน และพระราชทานปริญญาพยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์สาธารณสุขศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ด้วย ทุกคนที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนั้นตื่นเต้นดีใจกันมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวันนั้นถึงวันนี้ 60 ปีแล้ว พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาวไทยทุกคน”

    ทญ.ดวงแข (เกียรตินันทน์) จักรพันธุ์ ณ อยุธยา บัณฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์(พ.ศ. 2493) เล่าว่า พิธีประสาทปริญญา จัดขึ้นศาลา 100 ปี บริเวณพิธีสร้างขึ้นเป็นพลับพลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชทานดำเนินทางเรือ ตอนนั้นยังไม่ได้ทรงชุดครุย เวลาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร บัณฑิตทุกคนต้องนั่งคุกเข่าหน้าพระพักตร์

    “รู้สึกว่าบัณฑิตทุกคนได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดท่านมาก จำได้ว่าตื่นเต้นดีใจมาก ตอนแรกตั้งใจว่า เวลาเข้ารับจะหยุดมองท่านสัก 5 นาที เพราะรู้สึกว่าท่านหล่อเหลือเกิน หลังจากที่จบแล้วได้ทำงานที่แผนกสูติกับศาสตราจารย์ นพ.เติม บุนนาค ท่านเคยตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนกไปศึกษาต่อต่างประเทศ จึงได้สอบทอดความเอาใจใส่ เสียสละเพื่อคนไข้มาจากสมเด็จพระบรมราชชนก เราได้ทำงานใกล้ชิดกับท่าน จึงซาบซึ้งในความเสียสละของท่านและท่านก็เคยเล่าว่า ได้รับแบบอย่างที่ดีมาจากสมเด็จพระบรมราชชนก”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=338 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=338>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"เมย์"-"ยุ้ย"</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากนี้ภายในงานยังมีเหล่านักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าร่วมย้อนอดีตกับเหล่าบัณฑิตรุ่นแรก อย่าง “เมย์” ศุภมาส สืบวสุธากุล” นักศึกษาชั้นปี 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เอ่ยถึงความประทับใจกับบัณฑิตรุ่นแรกที่กว่าจะมาถึงวันนี้เป็นเวลา 60 ปี ยังคงสร้างความภูมิใจให้กับรุ่นน้องได้เป็นอย่างดี

    “ต้องยอมรับในความสามารถของท่านทั้งหลาย เพราะกว่าจะเรียนจบเป็นบัณฑิตรุ่นแรกในช่วงสงครามโลกถือว่า ลำบากมาก ไม่เหมือนกับสมัยเราที่มีแต่ความสะดวกสบายทั้งการเดินทางและอุปกรณ์การเรียน จากที่ได้ฟังเขาต้องเรียนกันเอง ผลัดกันเป็นตัวอย่าง เพราะไม่มีเคสให้ศึกษา เรียกได้ว่าต้องใช้จินตนาการสูงมาก”

    เช่นเดียวกับ “ยุ้ย” วิไลวรรณ ศิริสัจจวัฒน์ นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ (รพ.รามาธิบดี) มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง หากย้อนเวลากลับไปสมัยก่อนคงต้องขอยอมแพ้ เพราะไม่ใช่แค่เพียงต้องค่อยหลบลูกระเบิดในช่วงสงครามโลก ยังต้องลำบากที่จะเรียนรู้จากตำราเรียนที่ไม่มีตัวอย่างให้ศึกษา

    "สมัยก่อนคุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟังว่า กว่าจะเรียนจบประถม มัธยมได้ถือว่ายากมาก แต่นี้อาจารย์หมอทั้งหลายสามารถเรียนจบปริญญาได้ แถมยังต้องลำบากทั้งเรื่องเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีเหมือนสมัยนี้ รวมไปถึงสมัยก่อนที่มีสงครามโลก การเดินทางลำบาก เรียกได้ว่าต้องใช้ความอดทนอย่างสูง ยุ้ยจึงอยากทำแนวคิด วิํธีการต่อสู้เพื่อรำเรียนและศึกษาหาความรู้ เพื่อนำมาช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวััด ให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับรนักศึกษาแพทย์รุ่นต่อไป"


    -------------
    Campus - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...