ย้อนรอย 4 นักคิด ทำไมต้อง ป่าชุมชน ?

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย หนุมาน, 27 เมษายน 2005.

  1. หนุมาน

    หนุมาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +281
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>[​IMG] </TD></TR><TR><TD height=19>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=11 width=680 align=center border=0 color="red"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><!-- InstanceBeginEditable name="one" -->ย้อนรอย 4 นักคิด ทำไมต้อง ป่าชุมชน ? จากกรณีที่ผู้แทนเครือข่ายป่าชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ จำนวน 14 คน เข้าพบ ฯพณฯ ยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมข้าราชการระดับสูง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2548 หารือถึงทิศทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนและหาทางออกในแง่การปฎิบัติส่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปสำคัญ 2 ประการ

    -สำหรับร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการตามกระบวนการทางนิติบัญญัติและนำเสนอผ่านเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายในแง่หน้าที่ของการมีป่าชุมชนต่อไป
    -สำหรับประเด็นการสร้างการมีส่วนร่วม ที่ประชุมมีมติให้เกิดการบริหารงานสนับสนุน ชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ อย่างเป็นรูปธรรม และระหว่างที่รอความสมบูรณ์ในทางนิติบัญญัติให้เกิดการทำงานเชิงปฎิบัติการป่าชุมชนโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างป่าชุมชนจาก 4 ภาค ทั่วประเทศเน้นความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ ประเพณี และลักษณะของการร่วมกลุ่ม ชุมชน ตำบล ลุ่มน้ำย่อยและความหลากหลายในระดับความสามารถของชุมชน

    [​IMG]
    ทั้งนี้ไทยเอ็นจีโอ ย้อนถึง ทำไมต้องป่าชุมชน จากนักคิด 4 คน อันเป็นการเรียบเรียงจากเวทีเสวนา 4 นักคิด เปิดทิศทาง พ.ร.บ.ป่าชุมชน วันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย เครือข่ายป่าชุมชน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#002878 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=12 width="99%" align=right bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]ศ. เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ป่าชุมชนจะมีนัยสำคัญต่อการสร้างฐานความรู้ที่สร้างสรรค์และเป็นความรู้ที่เป็นศักยภาพสำคัญของความอยู่รอดของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ป่าชุมชนจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมฐานความรู้อย่างแท้จริง เพราะว่าชุมชนได้จัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยาการที่เป็นฐานต้นทุนชีวิตของประชาชนคนไทยทั้งชาติ

    ผมเริ่มต้นศึกษาปัญหาที่ทำกินของชาวบ้านก่อน และต่อมาได้ศึกษาเรื่องป่าชุมชนทำให้ผมมองเห็นว่า ป่าชุมชนเป็นขุมทรัพย์สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมไทยเพราะความหลากหลายทางชีวภาพของป่าเขตร้อนจะเป็นขุมทรัพย์สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปี 20-30 ปี ข้างหน้าและเป็นที่มาของการผลิตอาหารกับยาของโลก

    ป่าเขตร้อนมีไม่ถึงร้อยละ 7 ของพื้นที่ในโลกแต่เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพถึง 60% ของโลก เพราะฉะนั้น ป่าชุมชนไม่ใช่ป่าสีเขียว แต่เป็นขุมทรัพย์ทั้งทางวัตถุและปัญญาให้เราได้เรียนรู้อย่างแท้จริง

    ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยจะต้องสร้างสังคมฐานความรู้จากสังคมไทย อยากจะให้มองป่าชุมชนที่กินความกว้างขึ้น ในระยะยาวผมมองว่าการจัดการป่าชุมชนนั้น เป็นการจัดการที่สร้างฐานความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนาร่วมระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านกับนักวิชาการเพราะภูมิปัญญาภายนอกมีข้อจำกัด ป่าชุมชนจะเป็นขุมขบวนของการศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม

    ตลอดเวลา 10-15 ปี เราฝากความหวังไว้กับเศรษฐกิจโลก ยามที่เศรษฐกิจบูมขึ้นมาทุกคนก็ตาพอง ปี 2540 เราได้บทเรียนแล้วว่าเศรษฐกิจโลกที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นเพียงความเสี่ยงเท่านั้นเพราะฉะนั้นโปรดอย่าบริหารความเสี่ยงอยู่เลย หันกลับมาร่วมกับชนบท ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ทั้งสังคมศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์มาร่วมกันทำงานวิจัยกับชาวบ้าน ทั้งเรื่องยาและอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่นำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล

    ป่าชุมชนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้และการศึกษาของสังคมเรา ป่าชุมชนจะเป็นบทนำไปสู่การเรียนรู้อีกมากมาย ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญา การวิจัย การพัฒนายาและอาหาร ซึ่งเป็นพรสวรรค์ของคนในสังคมไทย โดยเฉพาะ อาหารซึ่งเป็นจุดแข็งในการพัฒนาเศรษฐกิจ ผมอยากจะถามนักเศรษฐศาสตร์ไทยว่า เคยนึกถึงเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า เวลานี้กล่าวได้ว่าเรากำลังบริหารความเสี่ยง ทำไมจะต้องเสี่ยงผมเรียนเศรษฐศาสตร์ ผมไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน

    ป่าชุมชนจะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าแรกของสังคมในการมองไปข้างหน้าลำพังชุมชนท้องถิ่นก็ทำไม่สำเร็จ ยังมีข้อจำกัด คนชั้นกลางทุก ๆ ส่วนโปรดอย่าดื้อดึง ควรหันกลับมาจุดนี้แล้วพัฒนาเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบอย่างแท้จริง ไม่ใช่พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความเสียเปรียบตลอดเวลาอย่างทุกวันนี้</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#002878 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=12 width="99%" align=right bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>[​IMG]ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ผมเองเป็นนักวิทยาศาสตร์ ชื่นชมวิทยาศาสตร์เพราะว่าให้ความรู้ที่คมชัดลึก นับตั้งแต่มีการค้นพบวิทยาศาสตร์ในยุโรปเมื่อ 400 ปีก่อน คุณูปการอันยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์ควรจะนำไปสู่ปัญญาแต่ชาวยุโรปเลือกลงต่ำ นำวิทยาศาสตร์ไปผลิตอาวุธไล่ฆ่าฟันคนและแย่งชิงทรัพยากร

    -ชาวยุโรปไปอเมริกาใช้ปืนกลไล่ฆ่าอินเดียนแดงซึ่งอยู่มาหมื่นสองพันปี
    -ในอินเดียที่รัฐอะมาริสะทหารอังกฤษใช้ปืนกลยิงชาวบ้านที่ยืนชุมนุมตาย
    -ในประเทศจีนกองพันจีนใช้ง้าวทวนต่อสู้แต่ทหารอังกฤษใช้ปืนกลยิงตายหมด สิ่งเหล่านี้ คือ ฐานที่มาของความรู้ฝรั่ง ความรู้วิชาการต่าง ๆ มาจากฐานการแย่งชิงทรัพยากร

    ในปัจจุบันนี้ เรื่องโลกาภิวัตน์เหมือนเป็นสัจธรรม เป็นธรรมะอันยิ่งใหญ่แต่โลกาภิวัตน์ที่กล่าวกัน หมายถึง การเงินเสรี การค้าเสรี โดยแท้จริงแล้ว ก็คือ การแย่งชิงอย่างเสรี เป็นโลกาภิวัตน์แบบด้อยพัฒนา ไม่ได้เจริญขึ้นและเรารับเอาฐานความคิดและความรู้นี้เข้ากระทำกับชนบทของเราเองเหมือนชนบทของเราเป็นประเทศอื่นใช้เรื่องการเงินการจัดการ ครอบงำจากต่างชาติ

    ป่าชุมชนจะเป็นการสร้างฐานที่แข็งแรงเพื่อยันการรุกรานจากต่างชาติ เรา ควรรวมพลกันสร้างความเข้มแข็งทางสังคม เศรษฐกิจ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม รักษาทรัพยากรของเราไว้เรียนรู้ร่วมกัน

    ผมเป็นแพทย์ก็ขอมองแบบแพทย์ว่าสังคมไทยป่วยเป็นโรคจิตในท่ามกลางความซับซ้อน มองแบบแยกส่วน เข้าใจเป็นส่วน ๆ เหมือนตาบอดคลำช้าง มองไม่เห็นช้างทั้งตัว เรื่องป่าชุมชน รัฐมองว่า ถ้าเป็นป่าอนุรักษ์จะต้องไม่เป็นป่าเศรษฐกิจ ขณะที่ชาวบ้านมองป่าเป็นเรื่องชีวิตการอนุรักษ์และเศรษฐกิจในตัว นี่คือ โลกทัศน์แบบแยกส่วน

    [​IMG]ความรู้พื้นฐานของฝรั่ง คือ การคิดแบบแยกส่วน เรารับเข้ามาโดยไม่รู้ตัว นับตั้งแต่ระบบการศึกษาสมัยใหม่เมื่อ 100 กว่าปีเป็นต้นมาเป็นการศึกษาที่ทำให้คนทั้งแผ่นดินไม่เข้าใจแผ่นดินไทยเพราะเราเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัยโดยเอาวิชาการเป็นตัวตั้ง หนังสือก็คนกรุงเทพฯ เขียน คนกรุงเทพฯไปลอกฝรั่งมา แต่ว่าไม่ได้สัมผัสความเป็นจริงของแผ่นดินไทยเพราะฉะนั้นจึงไม่เข้าใจคนไทยอย่างแท้จริงเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ

    โดยความจริงแล้ว ปัญหาต่าง ๆ แก้ไม่ยาก ความยากจนก็แก้ไม่ยาก แต่ว่าแก้ไม่ได้เพราะไม่ได้ใช้ความจริงเป็นฐาน เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เป็นโรคติดขัดทางปัญญา มองไม่เห็นว่า ป่าชุมชนเป็นเรื่องใหญ่กว่าป่าและชุมชน เรืองป่าชุมชนเป็นทิศทางของบ้านเมือง เป็นการพลิกฟื้นชาติ ถ้ามองฐานของชาติได้อย่างสมดุลแต่การพัฒนาที่ผ่านมาได้ทำลายฐานดังกล่าวโดยสิ้นเชิง

    ประเทศไทยพังลงไปทุกวันนี้เพราะว่าเราไปใช้ระบบที่ เรียกว่า เส้นทางเดียว ในการจัดการ ใช้ระบบรัฐเข้าไปจัดการทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่ระบบที่ดีที่สุด คือ ร่างกายของเรา ระบบในร่างกายของเราไม่มีวันที่จะใช้เส้นทางเดียว ไม่ว่าจะเป็นปอด หัวใจ ตับ ถ้าเส้นทางหนึ่งตีบตันก็จะใช้เส้นทางอื่น

    เราคิดว่ากรมไม้เป็นผู้รักษาป่าและมันก็พิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ทำไม่ได้ วุฒิสภาก็ยังอยากจะให้กรมป่าไม้เป็นผู้รักษาป่าอีก แทนที่จะเลือกใช้หลายวิธี กฎหมายป่าชุมชนไม่ได้เสนอให้ชาวบ้านจัดการฝ่ายเดียวแต่มีหลายช่องทาง ชาวบ้านก็มีส่วน รัฐก็มีส่วน ใครต่อใครก็มีส่วนช่วยกันเป็นการปฏิรูปการจัดการเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางเดี่ยวมาเป็นหลายเส้นทางที่เชื่อมโยงกันตรงนี้จะช่วยให้เกิดการจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนเป็นการปฎิรูปการจัดการเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

    ผมมองเห็นว่า ความรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตจะมาจากความยากจนและการแย่งชิงทรัพยากรในชนบท ซึ่งรัฐเป็นส่วนสำคัญของการแย่งชิงทรัพยากร ผมเตือนมาหลายปีแล้วว่า อนาคตอาจเกิดการนองเลือด เพราะว่าการแก้ปัญหาไม่มีทางออก เรื่องป่าชุมชนจะเป็นการถอดชนวนความรุนแรงดังกล่าว โดย ให้ชาวบ้านมีสิทธิในการจัดการ วางแผนระยะยาวได้เพราะถ้าเขารู้ว่าเขาไม่ถูกไล่ออกจากป่าเขาสามารถอยู่อาศัยทำกินได้ตลอดชั่วลูกชั่วหลาน เขาจะฟื้นฟูดูแลป่า ฉะนั้น เรื่องป่าชุมชน คือ การถอดชนวนความรุนแรงในประเทศไทยนั่นเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#002878 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=12 width="99%" align=right bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>[​IMG]ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ผมคิดว่าการที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ประชาชนสามารถเสนอกฏหมายได้นั้นเป็นการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยทางตรงแก่ระบอบการปกครองของเราหลังจากที่เราประสบความล้มเหลวในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนมาเป็นเวลานานเพราะประชาธิปไตยทางตรงเปิดโอกาสเรื่องการทำงานร่วม กำกับร่วมและถ่วงดุลได้

    อย่างไรก็ตาม เราเคยอยู่กับระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนมานานจึงมีคนจำนวนมากพอสมควรที่เข้าไปสร้างผลประโยชน์และฝังตัวในระบบ เช่น นักการเมือง นักการเมืองท้องถิ่น นายทุนท้องถิ่น ระบบราชการซึ่งฝังตัวในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้อย่างหนาแน่นและมีคนชั้นกลางเป็นพันธมิตร คนชั้นกลางจึงค่อนข้างเป็นมิตรจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม นอกจากนี้ คนชั้นกลางยังคุ้นเคยกับการจัดทรัพยากรแบบรวมศูนย์

    ผมมองว่า สังคมไทยมีอคติที่ใหญ่มหึมาต่อการกระจายการจัดการทรัพยากรไม่ใช่เพียงแค่อคติกับคนมีอำนาจเท่านั้น คนชั้นกลางในเมืองเองก็มีอคติด้วย เมื่อใดก็ตามที่มีการกล่าวถึงการจัดการทรัพยากรคนชั้นกลางจะมองด้วยความระแวงสงสัย ทั้งที่ก็ยอมรับว่ารัฐเองก็ไร้ประสิทธิภาพในการจัดการแต่ก็ยังรู้สึกว่า ให้รัฐจัดการดีกว่า

    ดังนั้น เรื่องกฎหมายป่าชุมชนถ้ามองให้ลึกลงไปจริง ๆ มันไม่ใช่ปัญหาแต่เพียงเรื่องการจัดการป่าชุมชนแต่เป็นเรื่องการเมืองของสังคมไทยที่แบ่งแยกระหว่างคนชั้นกลางในเมืองกับประชาชนชนบทส่วนใหญ่ เรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของป่าชุมชนทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของอาจารย์ประเวศ วะสี

    [​IMG]ประการแรก คือ กรณีป่าชุมชนเป็นการผลักดันกฎหมายจากภาคประชาชนที่ค่อนข้างตรงกับทฤษฎี ดังกล่าว คือ เริ่มต้นจากตัวความรู้ก่อน ผมคิดว่า ไม่เคยมีเร่างกฎหมายฉบับใดที่มาจากประชาชนซึ่งมีฐานมาจากการสร้างฐานความรู้มาก่อน เนื่องจากเรื่องป่าชุมชนมีงานศึกษาวิจัยมานานกว่า 10 ปีแล้ว และยังมีการวิจัยศึกษาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงว่ามีตลาดของผู้อ่านจำนวนมาก

    ประการถัดมา คือ การขับเคลื่อนสังคมผ่านแนวคิดเรื่องป่าชุมชน ผมมองว่าได้ผลดีพอสมควรเพราะอย่างน้อยที่สุดผลลัพธ์ก็สามารถวัดกันได้ เช่น รายการทุ่งแสงตะวันของคุณ นิรมล เมธีสุวกุล ที่นำเสนอถึงความสำเร็จของป่าชุมชนสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีโดยที่ยังมีโฆษณาสนับสนุนอยู่ , การตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับป่าชุมชนในหนังสือพิมพ์เนชั่น , หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ หรือสกู๊ปข่าวในหน้ากลางของหนังสือพิมพ์มติชนและฉบับอื่น ๆ เกี่ยวกับความสำเร็จของชุมชนที่รักษาป่าหรือว่าการนำเที่ยวป่าแบบอีโคทัวร์ลิสซึ่มก็ตาม

    ผมคิดว่าเป็นการขับเคลื่อนสังคมที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า คนชั้นกลางมีอคติในเรื่องนี้และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องป่าชุมชนไประดับหนึ่งแล้วแต่สัดส่วนที่เป็นการให้ความรู้ยังไม่ค่อยเพียงพอ เนื่องจากว่า อคติที่ฝังแน่นในคนชั้นกลาง ดังนั้น การให้ความรู้ที่ไม่เพียงพออาจจะไม่สามารถทำลายอคติได้

    ประการสุดท้าย คือ การขับเคลื่อนทางการเมือง แม้ว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนไปได้ แต่ว่าการขับเคลื่อนดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้าใจที่แท้จริงให้กับนักการเมือง ในขณะที่การขับเคลื่อนทางสังคมหรือการเมืองภาคประชาชนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว จึงกลายเป็นส่วนที่สำคัญในการผลักดันให้ ส.ส.ลงมติผ่านตัวร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนออกมา

    เราจำเป็นต้องคำนึงถึงการประสานเครือข่ายกับคนชั้นกลางให้มากขึ้น อย่างเช่น ในกรณีชุมชนคนรักป่าพยายามที่จะนำเอาความรู้เกี่ยวกับป่ามาเชื่อมต่อกับคนชั้นกลางในเมือง ภารกิจดังกล่าวจะเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญมากในอนาคต</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#002878 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=12 width="99%" align=right bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>[​IMG]พิศิษฐ์ ชาญเสนาะ สมาคมหยาดฝน ผู้ได้รับรางวัลโกลแมนไพร์ส 2545 ผมได้ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในภาคใต้มาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ทำงานกับชาวประมง ป่าไม้ของเขา ก็คือ ป่าชายเลนชายฝั่ง ในมุมมองของชาวบ้านคิดว่าป่าชุมชนเป็นเรื่องป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ และป่าเชิงวัฒนธรรม

    ชีวิตชาวบ้านต้องพึ่งปากท้องอยู่กับป่าเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวประมง การทำมาหากิน กุ้ง หอย ปู ปลา จะต้องพึ่งพาป่าชายเลนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเขาจะต้องมีจิตสำนึกว่าชีวิตในอนาคตของเขาต้องอยู่อาศัยควบคู่ไปกับการคงอยู่ของป่าชายเลน แต่ว่า ป่าอนุรักษ์ในความหมายของกรมป่าไม้ ชาวบ้านกลับไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลยหรือไม่สามารถแตะต้องป่าชายเลนได้

    เท่าที่ผ่านมา นโยบายการจัดการป่าชายเลนของรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับป่าบกหรือป่าไม้บนบกแล้ว ยังถือว่า ล้าหลังมาก นับตั้งแต่ปี 2532 รัฐได้ประกาศหยุดสัมปทานป่าบก แต่ว่าป่าชายเลนยังไม่สิ้นยุคสัมปทาน ยังคงมีการตัดไม้เผาถ่านอยู่ จนกระทั่ง ภายหลังเกิดกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสังคมอย่างมากมาย รัฐ ถึงมองเห็นคุณค่าของป่าชายเลนแล้วประกาศยกเลิกการสัมปทานโดยเปลี่ยนไปสู่การใช้กฎหมายป่าไม้เพื่อเตรียมประกาศป่าอนุรักษ์ในเขตป่าชายเลน

    ดังนั้นถ้าหากรัฐประกาศป่าชายเลนทั้งหมดเป็นป่าอนุรักษ์แล้วไม่อนุญาตให้ชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์จัดการป่าชุมชนได้ ผมคิดว่า นี่คือประเด็นสำคัญของ พ.ร.บ.ป่าชุมชน เพราะเรากำลังพูดถึงความอยู่รอด ไม่ใช่ความโลภหรือต้องการตัดไม้ขายและไม่ใช่การฮุบที่ดินเหมือนกับที่หลายท่านกล่าวหา แต่เขาทำเพื่อฝากชีวิตไว้กับป่า เขาจึงจัดการป่าด้วยจิตวิญญาณและทุ่มเทเสียสละด้วยชิวิต เพราะฉะนั้น การจัดการป่าชุมชนเป็นเรื่องระหว่างป่ากับชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และการเสียสละเพื่อส่วนรวม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
    ทีมงานไทยเอ็นจีโอ รายงาน
    20 เมษายน 2548
    <!-- InstanceEndEditable --></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#003366 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 align=center bgColor=#003366 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle width=774>ส่งบทความ-ข่าวสาร,แจ้งประเด็นสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ทีมงานลงพื้นที่ --> webmaster@thaingo.org </TD></TR></TBODY></TABLE></TABLE><!-- InstanceEnd -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...