มนุษย ์คือ จักรวาล

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ๙๙๙๙๙๙๙๙๙, 27 มีนาคม 2006.

  1. ๙๙๙๙๙๙๙๙๙

    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +2,808
    ปริศนาจักรวาล ปรัชญาอริสโตเติล <!--colorc--><!--/colorc-->

    เท่าที่ได้อ่านได้ค้นคว้ามานาน เชื่อว่านักคิดนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์
    โดยเฉพาะนักฟิสิกส์ ระดับนำทุกคนกระมัง

    ที่พูดเหมือนๆ กันว่า <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->มนุษย์คือจักรวาล <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#6600CC--><!--/coloro-->ภายในคือจิตรู้ที่มีขึ้นมาเพื่อเรียนรู้จักรวาลภายนอก <!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->หรือพูดว่ามนุษย์คือจักรวาล ที่มีขึ้นเพื่อเรียนรู้ตัวเอง <!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#CC33CC--><!--/coloro-->หรือพูดว่ามนุษย์มีขึ้นมา เพื่อให้จิตรู้มีที่ตั้งหรือเป็นฐาน เพื่อการเรียนรู้ความจริง <!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#CC6600--><!--/coloro-->
    ปริศนาปรัชญาศาสนา และวิทยาศาสตร์จึงเกี่ยวกับ นิยามของความเป็น มนุษย์อย่างแยกจากกันไม่ได้
    ปริศนาอาจเป็นคำถามที่มีเป้าหมายเบื้องต้นที่ความลี้ลับของ จักรวาล
    ความเป็นมาและจุดมุ่งหมายของการเกิดขึ้นมาและการดำรงอยู่
    รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกันของธรรมชาติและชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ <!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ส่วนปรัชญาอาจเป็นคำตอบหรือความพยายามที่จะแสวงหาความจริงที่อยู่ เบื้องหลังคำถามธรรมชาติเหล่านั้น
    ด้วยปัญญา เพื่อยังหาความรู้ความเข้า ใจร่วมกันของมนุษย์เราต่อความจริงแท้
    ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตั้งคำถาม ต้องตั้งปริศนาขึ้นมาเพื่อหาคำ ตอบของความจริงให้ได้
    ตรงนี้หากเราคิดให้ลงไปถึงที่สุด เราก็จะได้คำตอบ ต่อคำถามข้อที่หนึ่ง นั่นคือคำตอบต่อคำถามที่ถามว่า

    <!--coloro:#CC9933--><!--/coloro-->- มนุษย์เกิดมาทำไม?
    - หรือทำไมต้องมีมนุษย์?<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#009900--><!--/coloro-->เพราะหากเพียงต้องการกิน ต้องการสืบพันธุ์ ต้องการต่อสู้หรือหนีภัยเอาตัวรอด
    ก็ไม่เห็นจำเป็นอะไรที่ต้องมีมนุษย์ขึ้นมา เป็นแค่สัตว์ธรรมดาๆ ทั่วไปก็พอแล้ว
    ธรรมชาติหรือจักรวาลไม่จำเป็นต้องมี วิวัฒนาการของสติปัญญาให้มันยุ่งยาก
    ไม่จำเป็นต้องสร้างระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองพร้อมกับองค์กรวิชาการบริวารขึ้นมารองรับ
    เพราะที่สร้างขึ้นมาทั้งหมด ไม่ว่าจะวิลิศมาหราแค่ไหน ตีไข่ใส่สีให้ดูดีงาม ประการใด
    ก็คือกิน คือสืบพันธุ์ หรือว่าคือการต่อสู้หนีภัย อันเป็นสัญชาตญาณ ของสัตว์ธรรมดาๆ อยู่วันยังค่ำ <!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ดังนั้นคำตอบเพื่อตอบว่าทำไมต้องมีมนุษย์ที่ ต้องมีคำถามปริศนา หรือพยายามหาความจริงให้ได้
    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->ก็เพราะว่ามนุษย์ไม่ใช่ สัตว์ธรรมดาๆ <!--colorc--><!--/colorc-->

    หากว่ามนุษย์จำเป็นต้องอาศัยทางผ่าน ต้องอาศัย วิวัฒนาการของสสารวัตถุรูปกายแห่งชีวิตมาตามลำดับบ้าง
    นั่นก็เพื่อให้โอกาส ต่อการเรียนรู้ความจริงแท้ของธรรมชาติหรือจักรวาลนั่นเอง การเรียนรู้จากคำตอบที่ได้ด้วยปัญญาต่อปริศนาคำถามทำให้ต้องมีมนุษย์ขึ้นมา

    ในด้านปฏิบัติ
    ปริศนามักจะซ่อนเงื่อนงำของประสบการณ์ ธรรมชาติที่คนทั่วไปมักจะนึกไม่ถึงหรือนึกไม่ทันเอาไว้
    แต่หากว่าปริศนาใด ซ่อนเงื่อนของประสบการณ์ทางจิตที่ประณีตและล้ำลึก
    ย่อมต้องอาศัยความ ล้ำลึกและประณีตเช่นเดียวกันของปัญญาหรือปรัชญา มาใช้ในการตีความหรือ พิจารณานั้น

    ดังเช่นปริศนาธรรมในศาสนา ล้วนเป็นปรัชญาแทบทั้งนั้น
    ซึ่งแน่นอนการตีความย่อมมีระดับความล้ำลึกประณีตต่างกันไปตามระดับของ ปัญญาของผู้พิจารณานั้นๆ ดังนั้นการคาดหวังที่จะเห็นข้อสรุปของการ พิจารณาให้เป็นเช่นเดียวกันจากทุกคนจึงเป็นไปไม่ได้
    เพราะปัญญาของคน เราล้วนเป็นจิตมยปัญญาหรือสูตมยปัญญาทั้งสิ้น

    ซึ่งประเด็นแรกเป็นปัญญาที่ ได้มาจากประสบการณ์บนสัญชาตญาณ
    ส่วนประเด็นหลังเป็นการได้มาจาก วัฒนธรรมความเชื่อและจากความรู้หรือวิทยาศาสตร์ที่สะสมเป็นความทรงจำ ไล่ขึ้นมาตามช่วงเวลาและความก้าวหน้าของความรู้ความเชื่อนั้นๆ

    ดังนั้นจึงเป็นไม่ได้ที่ความเห็นของคนเราอาศัยการรับรู้มาจากสองประเด็นสอง
    ปัญญาดังกล่าวเป็นไปในทำนองเดียวกันทุกประการ

    ยกเว้นสำหรับน้อยคนยิ่งนักที่สามารถมีปัญญาระดับพิเศษที่เรียกว่า
    <!--coloro:#FF6600--><!--/coloro-->ภาวนามยปัญญา นั่นคือปัญญาที่ ได้มาจากการปฏิบัติจิตปฏิบัติสมาธิ <!--colorc--><!--/colorc-->

    อย่างไรก็ตาม น่าจะต้องเชื่อได้ว่ามันมี ปัญญาอีกระดับหนึ่งที่อยู่ก่อนหน้าระดับพิเศษนั้น
    นั่นคือปัญญาของนักปรัชญา หรือกวีเอกยอดศิลปิน รวมทั้งนักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ผู้คร่ำเคร่งอยู่กับ จินตนาการ
    ดังที่ไอน์สไตน์ และต่อมาวูลฟ์กัง พอลี ที่พูดเอาไว้มีใจความ คล้ายๆ กันว่า
    <!--coloro:#3366FF--><!--/coloro-->
    สิ่งสำคัญที่สุดที่ผลักดันในนักวิทยาศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่แท้จริงมีเพียงประการเดียว นั่นคือจินตนาการ <!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ดังนั้นเองจึงมีแต่นักปรัชญา หรือกวีชั้นยอดด้วยกันที่เข้าใจความตายของนิรันดร
    หรือนักฟิสิกส์ระดับเดียวกันที่เข้าใจความว่างของความเต็ม หรือความเต็มของความว่าง และผู้ปฏิบัติจิตด้วยกันที่เราสามารถได้ยินเสียงจากการตบมือข้างเดียว

    การพิจารณาเพื่อตีความหมายของประสบการณ์ โดยเฉพาะหลักหรือทฤษฎีปรัชญาในอดีต
    โดยคนทั่วไปที่เป็นคนธรรมดาในยุคสมัยต่อๆมา
    จึงเห็นแตกต่างกันไปตามพื้นฐานของข้อมูลของความรู้ของตนแต่ละคน นั้นๆ

    การตีความหมายจึงมีแต่การโต้แย้งกันในทุกประเด็น ทั้งนี้ก็เพราะ
    วัฒนธรรมความเชื่อและความหลากหลายกับความก้าวหน้าทางวิชาการที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา

    <!--coloro:#CC33CC--><!--/coloro-->ทุกวันนี้ทางตะวันตกจึงได้มีการเอาปรัชญาในยุคของกรีกมารื้อฟื้น
    และนำมาปรับแปรใหม่จากการเทียบเคียง (re-evaluation) กับความรู้ ใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าไปมาก
    โดยเฉพาะในด้านของฟิสิกส์ทฤษฎีและชีววิทยาใหม่ นั่นเป็นเช่นเดียวกับที่นักฟิสิกส์แควนตัมในอดีต
    <!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    เมื่อไม่นานมานี้ ที่ได้พบความแนบขนานสอดคล้องกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์ใหม่กับศาสนาที่อุบัติขึ้นมาจากทางตะวันออก
    เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ เต๋า และศาสนาอื่นๆ เมื่อหลายทศวรรษก่อน
    โดยเฉพาะจากหนังสือที่เขียนโดย ฟริตจ๊อฟ แคปร้า ในปี 1975 และโดย การี่ ซูกาฟ ในปี 1979

    <!--coloro:#666600--><!--/coloro-->หลังจากนั้นความรู้ใหม่ที่เป็นความจริงใหม่นี้ ก็ได้กลายเป็นวิสัยทัศน์ที่เป็นพื้นฐาน
    ของกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
    เปลี่ยนจากกระบวนทัศน์เก่าเดิมที่เน้นความจริงทางกายภาพบนหลักการแยกส่วน
    สู่กระบวนทัศน์ องค์รวมหรือกระบวนทัศน์ทางจิตวิญญาณ
    ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนา มากๆ แล้วอย่างรวดเร็ว <!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ด้วยมิติใหม่ทางวิชาการเช่นนั้นเอง ที่ทำให้นักคิด นักค้นคว้าในระยะหลังๆมานี้
    พากันหวนกลับไปค้นคว้ารื้อฟื้นปรัชญาเก่าๆ และความรู้เดิมๆ ของอดีตที่ถูกหลงลืมทิ้งไป หรือไม่เข้าใจกลับมาศึกษาใหม่เป็นโครงการรายวิชาในสถาบันของมหาวิทยาลัยต่างๆ
    เช่น Insitute of Integral Studies
    และพบว่า มีหลายอย่างหลายประการเหลือเกินที่ความรู้ ข้อมูลเก่าเดิมเหล่านั้น
    โดยเฉพาะปรัชญาของกรีกที่มีขึ้นระหว่างช่วงหกร้อยกว่าปี กับช่วงสามร้อยปีก่อนคริสตกาล ช่วงแห่งยุคสมัย
    <!--coloro:#CC9933--><!--/coloro-->
     
  2. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    ลำ...เอียง...
     
  3. Sunthron Ui

    Sunthron Ui Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +79
    เมื่อเรากางแผนที่โลก จะเห็นได้ว่าจุดไกลสุดซีกซ้ายกับซึกขวาอยู่ใกล้กันที่สุด

    เมื่อพัดลมเริ่มหมุนจะเห็นหมุนตามเข็มนาฬิกา เร็วอีกนิดมองเห็นหมุนทวนเข็ม
    เร็วอีกหน่อยก็กลับมาเห็นหมุนตามเข็มนาฬิกาอีก

    และเมื่อปฏิบัติจิตก็ทราบว่า จิตที่ว่าเล็กที่สุดก็ใหญ่ใกล้เคียงกับอนันตจักรวาล

    คงไม่ต้องเฉลยว่าผมเห็นด้วยหรือไม่ว่า "หนึ่งคนคือหนึ่งจักรวาล"

    น่าเสียดาย ! แนวคิดปรัชญาตะวันออกซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่าดีกว่าของตะวันตก
    มากมายนัก ถูกต่อว่าไร้สาระ พิสูจน์ไม่ได้ ตั้งแต่วิทยาศาสตร์กายภาพพัฒนาขึ้นมา

    แต่บัดนี้ ตะวันตกกับนำไปใช้ ไปปฏิบัติ และเห็นว่าถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
    หลายท่านได้รับรางวัลโนเบลด้วยซ้ำ แต่คนไทยกลับเห็นว่าของเรางมงาย

    เฮ่อ ! มีดีที่ตัว กลับยกให้คนอื่นนำไปพัฒนา แล้วย้อนมาขายให้เรา

    ดังเช่นกระเทียม บ้านเราราคาไม่เท่าไร แค่เอาไปสกัดให้ไร้กลิ่นดูน่าเชื่อถือ
    อัดใส่แคปซูลมาขายให้เรา ราคาขึ้นมโหฬาร

    เป็นห่วงแต่เมื่อเขาค้นพบ แล้วนำไปพัฒนาเป็นอาวุธจะอันตรายมาก
    จะมีใครเชื่อไหมเม็ดทราย 1 เม็ด สามารถระเบิดโลกเป็นจุลได้ ไม่เชื่อก็แล้วไป
    ถ้าเชื่อก็ช่วยกันปฏิบัติเพื่อเตรียมกอบกู้โลก

    " ตะวันออกศึกษาจากเล็กไปหาใหญ่ ตะวันตกศึกษาจากใหญ่ไปหาเล็ก"
    สุดท้ายต้องพบกันที่จุดใดจุดหนึ่ง

    "ตะวันออกศึกษาจากนั่งนิ่ง ๆ ไม่ใช้เงินตรา ตะวันตกทุ่มเทงบประมาณมหาศาล"

    คำถามคือ ถ้าต้องรบกันในจุดที่พบกันดังกล่าว "ใครจะชนะ"

    หรือว่าไม่มีผู้ชนะ มีแต่ผู้แพ้
     

แชร์หน้านี้

Loading...