"ฟันเฟือง"ใต้เบื้องยุคลบาท

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 8 เมษายน 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    "ฟันเฟือง" ใต้เบื้องยุคลบาท

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>เบื้องหลังความยิ่งใหญ่งดงามสมพระเกียรติ "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" แท้จริงแล้วประกอบไปด้วยคณะทำงานหลายฝ่าย ที่ต่างทุ่มเทเวลาและความเชี่ยวชาญอย่างสุดความสามารถ

    เช่นเดียวกับ "นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น" ผู้ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะทำงานออกแบบและจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพิธีฯ เนื่องด้วยมีผลงานด้านสถาปัตยกรรมของแหล่งโบราณสถานอาคารสำคัญในเมืองไทย ที่ผู้คร่ำหวอดในแวดวงสถาปัตยกรรมไทย วัย 66 ปีคนนี้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ออกแบบอาคารบริเวณศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์ บูรณะวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง รวมทั้งประสบการณ์การออกแบบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี 2538 <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ปัจจุบันแม้จะเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่นาวาอากาศเอกอาวุธก็ยังได้รับมอบหมายหน้าที่ออกแบบพระเมรุในครั้งนี้ ซึ่งไม่เพียงต้องทุ่มเทเวลาอย่างหนัก แต่ยังต้องตอบคำถามมากมายจากสื่อมวลชน เรียกว่ารับโทรศัพท์วันละเกือบ 100 สาย !

    "อารักษ์ สังหิตกุล" อดีตอธิบดีกรมศิลปากรเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกดึงตัวมาช่วยในงานวิศวกรด้านโครงสร้าง เนื่องจาก

    รู้งาน และคุ้นมือกันดีกับนาวาอากาศเอกอาวุธ เพราะเคยร่วมงานกันมาตั้งแต่ครั้งพิธีของสมเด็จย่า ได้เล่าให้ฟังว่าความยากอยู่ตรงวัสดุ เพราะในสมัยโบราณจะใช้ซุงต้นใหญ่เป็นเสาหลัก ครั้งนี้ไม่ใช้ไม้เพราะหายาก ราคาแพง จึงใช้เหล็กฉากทำโครงสร้างของเสาหลักที่มีลักษณะย่อมุม โดยวางเหล็กฉากสลับฟันปลาจากฐานไปถึงส่วนยอดของเสา จากนั้นจะใช้ไม้อัดประกบทุกด้านให้เหมือนเสาไม้จริง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พอมาถึงในส่วนของงานก่อสร้าง ก็ต้องเอ่ยนาม "ประมุข บรรเจิดสกุล" ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.ว.ช.ลิขิตการสร้าง บริษัทเก่าแก่รับเหมาก่อสร้างพระราชวังและพระอาราม ซึ่งจากประสบการณ์งานกว่า 50 ปี ผ่านมาแล้ว 3 พระเมรุ ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2498 ของสมเด็จพระพันวัษษาอัยยิกาเจ้าที่ใช้พระเมรุของ ร.8 มาบูรณะใหม่ ต่อด้วยพระเมรุของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มาจนถึงครั้งหลังสุดที่ได้ร่วมงานกับนาวาอากาศเอกอาวุธและอดีตอธิบดีฯอารักษ์ในงานสมเด็จย่า

    "ผมดีใจที่ยังอยู่จนได้รับใช้เจ้านายอีกครั้ง ถ้ารวมครั้งนี้ก็ถือว่าผ่านมา 4 พระเมรุแล้ว แต่ละงานที่ผ่านมามีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างออกไปตามลำดับยศ สำหรับงานในครั้งนี้ ยอดพระเมรุทำยากสุด เพราะทรวดทรงสูงลวดลายละเอียด แต่ก็ไม่เกินความสามารถ เพราะร่างแบบที่นาวาอากาศเอกอาวุธทำให้ในอัตราส่วน 1:1 จึงเทียบเคียงได้ไม่ยาก"

    นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานผู้เป็นฟันเฟืองเบื้องหลังงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯอีกมากมาย ทั้งในส่วนของกรมศิลปากร สำนักพระราชวัง ตลอดจนเอกชนอื่นๆ ที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ด้วยคณะทำงานทุกคนล้วนสำนึกในพระกรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จึงสนองงานรับใช้ใต้เบื้องยุคลบาทด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ

    -----------
    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://matichon.co.th/prachachat/pr...g=02dlf04070451&day=2008-04-07&sectionid=0225
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...