พุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย KeLBeRoS, 11 มกราคม 2007.

  1. KeLBeRoS

    KeLBeRoS Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +6,367

    [​IMG]

    "ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย "พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร

    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ

    ๑. อุสสาโห
    ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ย่อท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล

    ๒. อุมมัคโค
    มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี

    ๓. วะวัตถานัง
    มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง

    ๔. หิตจริยา
    ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น

    ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ
    อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ

    อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔

    ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี "

    [​IMG]

    "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ คำว่า "อัจฉริยธรรม" นั้นแปลว่า ธรรมะที่น่า อัศจรรย์ คำว่า "อัศจรรย์" แปลว่า ควรปรบมือให้ ควรยกนิ้วให้ว่าดี เลิศ ประเสริฐ ยอดเยี่ยม อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์นั้น มีธรรมควรที่เทวดา มนุษย์จะยกนิ้วให้ ปรบมือให้ว่ายอดเยี่ยมที่สุด

    อัจฉริยธรรมนั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือ

    ๑. ปาปะปะฏิกุฏจิตโต
    มีจิตหดหู่จากบาป คือ จิตของนิยตโพธิสัตว์นั้น ไม่สู้กับความชั่ว ไม่สู้กับบาปอกุศล มีแต่ละอายบาป กลัวบาป ละอายชั่ว กลัวชั่ว เกลียดความบาป เกลียดความชั่ว

    ๒. ปะสาระณะจิตโต
    มีจิตแผ่ออกแต่ความดี คือ เป็นจิตที่เบิกบานต่อ ความดีอยู่เป็นนิจ คอยรับแต่ความดีอยู่เสมอ มีอาการแผ่ออก ไม่ถอย จากความดี ถ้ายังไม่ถึงจุดมุ่งหมาย เป็นอันไม่หยุดความเพียร ไม่ละเลิก ความเพียรเป็นอันขาด

    ๓.อธิมุตตะกาละกิริยา
    น้อมใจตาย คือ เมื่อได้เกิดในสวรรค์ที่มีอายุ ยืนนาน ท่านกลัวเสียเวลาสร้างบารมีไปนาน จึงอธิษฐานขอให้สิ้นชีวิต คำอธิษฐานนั้นว่า "ขออย่าให้ชีวิตของข้าพเจ้ามีอยู่ต่อไปเลย" พออธิษฐานเสร็จก็จุติทันที
    ข้อนี้ถ้าไม่ใช่นิยตโพธิสัตว์ทำไม่ได้

    ๔. วิเสสะชะนัตตัง
    ความเป็นคนวิเศษ คือ เป็นคนแปลกไม่เหมือนคนอื่นๆ เมื่อนิยตโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์มารดาในชาติที่สุด จะไม่เหมือนคนทั้งหลายคือ คนธรรมดาเรานั้น เมื่ออยู่ในครรภ์มารดานั่งทับอาหารเก่า ทูนอาหารใหม่ของมารดาไว้ ๑ ผินหน้าเข้า ข้างหลังมารดา ๑ ผินหลังออกไปข้างหน้ามารดา ๑ นั่งยองๆ เอามือทั้งสอง ค้ำคางไว้ ๑ ส่วนนิยตโพธิสัตว์ตรงกันข้ามคือ นั่งอยู่ในที่สะอาด ไม่เปื้อน อะไร ๑ ผินหน้าออกทางหน้ามารดา ๑ นั่งพับพะแนงเชิงเหมือนพระนั่งเทศน์ บนธรรมาสน์ ๑

    ๕.ติกาลัญญู
    รู้กาล ๓ นิยตโพธิสัตว์ในชาติที่สุดนั้น รู้พระองค์ใน ๓ กาล คือ เมื่อจะจุติจากสวรรค์ลงสู่พระครรภ์ ก็รู้ว่าจะจุติลงสู่พระครรภ์ ๑ เวลาที่ อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ก็รู้ว่าอยู่ในพระครรภ์ ๑ เวลาประสูติจากพระ ครรภ์ก็รู้ว่าประสูติจากพระครรภ์ ๑ ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า กับพระอัครสาวกทั้ง สอง เป็น ทวิกาลัญญู รู้กาล ๒ คือ เวลาจุติลงสู่ครรภ์ ๑ เวลาที่อยู่ในครรภ์ ๑ อสีติมหาสาวกใหญ่ทั้ง ๘๐ เป็น เอกาลัญญู รู้กาลเดียว คือ เวลาจะถือ ปฏิสนธิเท่านั้น
    นอกจากบุคคล ๓ ประเภทนี้ เป็น อกาลัญญู คือ ไม่รู้กาลทั้งหมด

    ๖. ปสูติกาโล
    กาลประสูติ เวลาประสูติ หมายความว่า ในชาติที่สุดนั้น นิยตโพธิสัตว์มีการประสูติดังนี้ คือ เวลาจะประสูติ พระมารดายืน ส่วน พระองค์ท่านที่อยู่ในครรภ์ ก็ยืนขึ้นและทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสองลงไป ตามลำขา มีอาการเหมือนพระเทศน์ลงจากธรรมาสน์ ไม่รู้สึกลำบาก พระองค์และพระมารดาเลย หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวใหญ่

    ๗. มะนุสสะชาติโย
    เกิดเป็นมนุษย์ หมายความว่า การที่นิยตโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภินิหารเต็มที่สามารถเลือกเกิดได้ตามชอบใจในชาติที่สุด แต่ต้องเกิดเป็นมนุษย์นั้น ก็นับเป็นข้อควรอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ท่านอ้างเหตุ ไว้ ๓ อย่าง คือ

    ๑.มนุษยโลก
    สมควรเป็นที่ตั้งศาสนพรหมจรรย์ คือ การบรรพชาอุปสมบท ซึ่งทรงคำสั่งสอนไว้

    ๒. เป็นที่อัศจรรย์ในพุทธานุภาพ

    ๓. เป็นที่มีโอกาสไว้พระสารีริกธาตุในเวลาพระองค์นิพพาน "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มกราคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...