พุทธภูมิ (แนวทางและปฏิปทาในการบำเพ็ญบารมี)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 20 กรกฎาคม 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ความหมาย และ คุณลักษณะ ของพระโพธิสัตว์ ( พุทธภูมิ)

    ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นพระโพธิสัตว์(พุทธภูมิ) คือ
    บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีธรรมอุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์และได้เข้าถึงพระนิพพาน

    พุทธศาสนาฝ่ายมหายานเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า
    เป็นผู้มีพลังหรืออำนาจมุ่งสู่โพธิญาณ (Dayal, 1987: 7)
    เป็นผู้บำเพ็ญความดีหรือที่เรียกว่า บารมีธรรมอย่างยิ่งยวดเพื่อการบรรลุถึงพระโพธิญาณ

    การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์
    เป็นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อตนและเป็นการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน
    การกระทำทุกอย่างนี้ดำเนินไปได้ด้วยความรักความปรารถนาในพระพุทธภาวะ
    อันเป็นความหมายของพระโพธิสัตว์

    ด้วยความรักในพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์จึงสามารถกระทำได้ทุกอย่าง
    เบื้องต้นแต่สละได้ซึ่งสิ่งของภายนอกจนถึงชีวิตและสิ่งเสมอด้วยชีวิตคือบุตรและภรรยาของตน


    ดังตัวอย่างพุทธดำรัสที่ตรัสในขณะเสวยพระ ชาติเป็นพระโพธิสัตว์
    ความว่า

    เมื่อเราจะให้ทานก็ดี กำลังให้ทานก็ดี ให้ทานแล้วก็ดีจิต ของเราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
    (ขุ.จริยา. ๓๓ / ๖๖ / ๗๓๖)

    จักษุทั้งสอง เป็นที่น่าเกลียดชังสำหรับเราก็หาไม่ แม้ตัว เราเองจะเป็นที่เกลียดชังก็หาไม่ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็น ที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้จักษุ ฉะนี้แล
    (๓๓ / ๖๖ / ๗๓๖)

    เราตามรักษาศีลของเรา มิใช่รักษาชีวิตของเรา เพราะใน กาลนั้นเราเป็นผู้รักษาศีล เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
    (๓๓ / ๖๕ / ๗๕๔)


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    อย่างไรก็ตาม คำว่าพระโพธิสัตว์มาจากศัพท์สองศัพท์ประกอบกันคือ
    คำว่าโพธิ ที่แปลว่าความตรัสรู้
    กับสัตตะ ที่แปลว่า สัตว์ในคำที่เรียกว่าสัตว์โลก (วัดบวรนิเวศวิหาร, ๒๕๓๒: ๒๙)

    อันมีความหมายครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน
    ซึ่งจะเห็นได้จากอดีตชาติของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ

    นอกเหนือจากที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นมนุษย์แล้ว
    บางพระชาติพระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร เสวยพระชาติเป็นช้าง เสวยพระชาติ เป็นนาคราชเป็นต้น

    ดังพระพุทธดำรัสต่อไปนี้

    ในภพที่เราเป็นพญาวานร ช้างฉัททันต์ และช้างเลี้ยงมารดาเป็นศีลบารมี

    ในภพที่เราเป็นพญาไก่ป่า สีลวนาค และพญากระต่ายเป็นทานปรมัตถบารมี
    (ขุ.จริยา. ๓๓ / ๑๒๒ / ๗๗๖)

    พระโพธิสัตว์ไม่ว่าจะครองสภาวะความเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน
    ก็บำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย


    เพราะคำว่า "โพธิสัตว์" หมายถึงผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ คือ
    การตรัสรู้ โดยไม่ได้มีเป้าหมายเป็นอย่างอื่น
    เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ความรู้แจ้งโลก ซึ่งหมายรวมถึงโลก ทั้ง ๓ คือ

    - สัตว์โลก อันได้แก่ หมู่สัตว์ ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเทวดา มนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน

    - โอกาสโลก อันได้แก่ โลกคือที่อยู่อาศัย หมายถึง ระบบจักรวาล และดวงดาวต่าง ๆ

    - สังขารโลก อันได้แก่ โลกคือสังขารที่เกิดจากการปรุงแต่ง สรุปให้แคบเข้า ได้แก่ นามรูป นั่นเอง
    (บรรจบ บรรณรุจิ, ๒๕๒๙:๙-๑๐)

    การที่บุคคลได้บรรลุถึงพระโพธิญาณ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
    การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นได้ยาก (กิจโฉ พุทธานมุปปาโท)


    ดังนั้น บุคคลผู้จะบรรลุ พระโพธิญาณได้นั้นจึงจำต้องบำเพ็ญบารมีธรรมเป็นเวลานานยิ่ง
    เมื่อบุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ นั้นหมายความว่า
    เขาย่อมต้องประสบกับความลำบากในชีวิตนานับประการ

    นับตั้งแต่การต้องจำยอมสละทรัพย์สินภายนอกร่างกายเป็นเบื้องต้น
    จนถึงการยอมสละชีวิตของตนเข้าแลกเป็นที่สุด

    และการปฏิบัติเช่นนั้นก็ต้องประกอบไปด้วยความเต็มใจของตน
    หากไม่สามารถปฎิบัติได้ ความหมายของคำว่าพระโพธิสัตว์ในตัวบุคคลนั้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นตามมา

    แม้พระโพธิสัตว์จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องแลกด้วยชีวิตแต่พระโพธิสัตว์ก็ใช่ว่าจะหวาดหวั่นต่อสถานการณ์เช่นนั้นไม่

    ตรงกันข้ามพระโพธิสัตว์กลับมีใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ประสบอย่างเต็มใจ
    และยินดีด้วยมุ่งมั่นที่จะอุทิศตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยหวังให้คุณธรรมความดีที่บำเพ็ญนั้นเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณในกาลเบื้องหน้า

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ขอขอบคุณ http://www.buddhabhumi.info/buddhabumi/bodhisattva/bodhisattva14.html
    ( copy from : ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในทศชาติ
    written by : พระมหาจู่ล้อม ชูเลื่อน มหาวิทยาลัยมหิดล )
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>คุณลักษณะของพระโพธิสัตว์ (ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ)


    พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในข่ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นมีองค์ประกอบสำคัญอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะตน ๔ ประการ คือ

    ๑. อุสสาหะ คือ ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคง
    ๒. อุมมังคะ คือ ประกอบไปด้วยปัญญาอันเชี่ยวชาญหาญกล้า
    ๓. อวัตถานะ คือ ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงมิได้หวั่นไหว
    ๔. หิตจริยา คือ ประกอบไปด้วยเมตตาแก่สัตว์เป็นเบื้องหน้า
    (พระนันทาจารย์, ม.ป.ป.:๑๑)


    คุณลักษณะหรือเรียกว่าคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้เป็นอุปกรณ์หรือวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งที่พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติตามอย่างมั่นคงจนกว่าจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายขั้นสูงสุดคือพระโพธิญาณ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อที่ ๑ อุสสาหะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคง

    ไม่ย่อท้อต่อความลำบากที่เกิดขึ้นในวัตรปฎิบัติของตน เป็นผู้ซื่อตรงมั่นคงต่อเป้าหมายสูงสุด ด้วยความรักความปรารถนาต่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระโพธิญาณจึงทำให้พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความอุสสาหะ ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยคุณธรรมเฉพาะตน ไม่มีจิตคิดสยบต่อมารคือกิเลสเป็นต้น อันเป็นความชั่วที่คอยยั่วยุหรือขัดขวางไม่ให้บำเพ็ญความดีอย่างเต็มที่ เป็นผู้ข้ามพ้นปัญหาต่าง ๆ ด้วยความอุสสาหะยิ่ง

    และเพราะการจะบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ได้โดยยาก แต่หากพระโพธิสัตว์สามารถข้ามพ้นความยากลำบากนั้นไปได้ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ พระโพธิสัตว์ก็สามารถบรรลุถึงความสำเร็จคือความเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างแน่นอน

    ดังคำอุปมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการที่จะได้บรรลุถึงพุทธภาวะที่ปรากฎในอรรถกถาตอนหนึ่งที่ว่า

    "ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนว่ายข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นอันเป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้"
    (ขุ.ชา.อ. ๓ / ๒๕)

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อที่ ๒ อุมมังคะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยปัญญา

    อันเชี่ยวชาญหาญกล้ารู้จักไตร่ตรองคิดหาเหตุผล อย่างรวดเร็วมีศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ดี ตลอดทั้งรู้จักแยกแยะความดี ความชั่ว ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ถ้าไม่ทำจะมีผลดี ชั่ว มากน้อยแค่ไหน ทำแล้วจะเกิดผลดี เลว ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้มีความกล้าหาญ ตัดสินปัญหา ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อที่ ๓ อวัตถานะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงไม่หวั่นไหว

    คือเป็นผู้มีจิตอันแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่คิดละเลิกในสิ่งที่ทำเสียกลางคัน ตราบใดที่ภารกิจอันนั้นยังไม่ถึงที่สุด คือ ความสำเร็จก็ไม่ละทิ้งให้เสียการ
    อธิษฐานธรรมนี้ย่อมมาพร้อมกับธรรมอีก ๓ ประการ คือ วิริยะ ขันติ และสัจจะ ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นธรรมะที่มีประกอบกันอยู่ เมื่อยกขึ้นข้อหนึ่งก็ย่อมมีอีก ๓ ข้อประกอบอยู่ด้วยเสมอ (วัดบวรนิเวศวิหาร, ๒๕๓๒: ๑๙๙)

    เมื่อมีความตั้งมั่นในกิจอันใดอันหนึ่งอย่างมั่นคงแล้ว จำต้องกระทำด้วยความมีวิริยะ และอดทนทั้งอดทนต่อการกระทำกิจอันนั้นและอดทนต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวขัดขวางไม่ให้กิจที่กระทำดำเนินไปได้อย่างสะดวก สุดท้ายคือ มีความจริงใจที่จะกระทำกิจให้ลุล่วงจนถึงที่สุด กิจนั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อที่ ๔ หิตจริยา พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตาสัตว์เป็นเบื้องหน้า

    เป็นผู้ประพฤติประโยชน์ด้วยคำนึงถึงผู้อื่นเสมอโดยไม่เลือกชนิดผู้รับประโยชน์ พระโพธิสัตว์ถือว่าการบำเพ็ญการช่วยเหลือแก่ผู้อื่นนั้นคือภารกิจที่ต้องกระทำตามหน้าที่ คือเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรม

    คุณลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เป็นการสละตนเองเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นทุกชีวิตอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย คือ ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาอันเป็น
    โลกุตตรสมบัติ คือ พระสัพพัญญุตญาณ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    คุณลักษณะที่สำคัญของพระโพธิสัตว์อาจสรุปได้เป็น ๒ ประการ คือ

    ๑. การบำเพ็ญตนช่วยเหลือสรรพสัตว์ อย่างไร้ขอบเขตหรือประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ)
    ๒. การบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อการบรรลุพระโพธิญาณในอนาคตหรือประโยชน์ตนเอง (อัตตัตถะ)


    การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์อยู่กับภาระที่จะพึงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์ ๒ ประการข้างต้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พระโพธิสัตว์ทุกองค์ต้องมีและประโยชน์ทั้งสองนั้นก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

    กล่าวคือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างไร้ขอบเขตก็คือ การได้ชื่อว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ตรงกันข้ามการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ก็คือการได้มีโอกาสอุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่มวลสัตว์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ขอขอบคุณ [​IMG] http://www.buddhabhumi.info/buddhabumi/bodhisattva/bodhisattva14.html
    ( copy from : ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในทศชาติ
    written by : พระมหาจู่ล้อม ชูเลื่อน มหาวิทยาลัยมหิดล )
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ประเภทของพระพุทธเจ้า
     
  2. coolz

    coolz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,594
    ค่าพลัง:
    +1,337
    อนุโมทนาด้วย การให้ธรรมเป็นทานคือการให้ที่ยิ่งใหญ่
     
  3. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,442
    อนุโมทนาในกุศลบุญบารมีของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ สาธุ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอบคุณครับ
     
  5. วุ่นวือ

    วุ่นวือ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาสาธุด้วยนะ ครับที่ได้นำเรื่องราวดีๆ อย่างนี้มาฝาก ครับ น้องใหม่นะ ครับ ขอฝากตัวด้วยนะ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...