พระเทพฯรับสั่งให้ม.เกษตรฯแก้ปัญหาน้ำใต้ดินสวนจิตรฯ

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 13 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    พระเทพฯรับสั่งให้ม.เกษตรฯ แก้ปัญหาน้ำใต้ดินสวนจิตรฯ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกต้นไม้ ร่วมกับคณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ บริเวณโรงเรียนจิตรลดา สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระเทพฯทรงปลูกต้นไม้ร่วมกับนิสิตคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรฯ รับสั่งต้นไม้ใหญ่ในสวนจิตรลดา วังสระปทุม เจริญเติบโตช้า โค่นล้มบ่อย เพราะน้ำใต้ดินเพิ่มสูงขึ้น เหตุพื้นที่รอบนอกถมดินสูงปลูกสิ่งก่อสร้างมากขึ้น ส่งผลสวนจิตรลดาเป็นพื้นที่ลุ่ม ทรงแนะใช้ไส้เดือนช่วยพรวนดิน

    เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 12 กรกฎาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังบริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนจิตรลดา สวนจิตรลดา ทรง ปลูกต้นไม้ร่วมกับนิสิตคณะวนศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา โดยมีนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก. ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม คณบดีคณะวนศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตคณะวนศาสตร์ จำนวน 300 คน เฝ้าฯ รับเสด็จ

    เมื่อเสด็จฯถึงบริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนจิตรลดา รศ.วุฒิชัยกราบบังคมทูลเชิญทรงปลูกต้นไม้ 3 ต้น ได้แก่ ต้นราชพฤกษ์ ต้นนนทรี และต้นอินทนิล จากนั้น ดร.ดำรงค์ถวายรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยที่สนองแนวพระราช ปรารภในเรื่องการถวายรายงานเกี่ยวกับการดูแลรักษาต้นไม้ในวังสระปทุม และทูลเกล้าฯถวายหนังสือสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติในวัง สระปทุม รวมทั้งความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์วิจัยไม้เมืองหนาวที่มหาวิทยาลัยจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

    โอกาสนี้ภาควิชาเกษตรกลวิธาน ทูลเกล้าฯถวายเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจำนวน 2 เครื่อง เพื่อใช้ตามพระราชประสงค์ต่อไป ทั้งนี้ เครื่องสีข้าวขนาดเล็กแบบเคลื่อนที่ได้ เป็นเครื่องสีข้าวที่ออกแบบใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน ลักษณะเด่นของเครื่องสีข้าวนี้ สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ในระดับ ครัวเรือน ซึ่งเป็นการลดภาระการขนส่งย้ายข้าวเปลือกไปยังโรงสี มีระบบลมดูดเพื่อการป้อนข้าวเปลือกสู่ชุดกะเทาะแกลบ สามารถแยกการผลิตได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวสาร มีกรวยแยกรำและแกลบโดยอิสระทำให้สามารถควบคุมมิให้ฝุ่นรำและแกลบปนเปื้อนในอากาสช่วยรักษาสิ่งแวด ล้อมของชุมชนและใช้วัสดุในประเทศประมาณ 90% เครื่องนี้สามารถทำงานได้ประมาณ 150 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อชั่วโมง โดยได้ข้าวสารประมาณ 65-70%

    จากนั้น เสด็จฯทอดพระเนตรนิทรรศการ เสร็จแล้วทรงฉายพระรูปร่วมกับคณาจารย์ และนิสิต ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ

    ดร.ดำรงค์กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คณะวนศาสตร์ มก.เข้ามาปลูกต้นไม้ในสวนจิตรลดา ครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 เนื่องจากมีพระราชดำริที่จะสร้างป่ายางสาธิตในสวนจิตรลดา ด้วยทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของไม้ยางที่ถูกตัดมาใช้สอยมากขึ้นทุกปี โดยเริ่มปลูกไม้ยางนาในเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน จำนวน 1,096 ต้น และมีพระบรมราชานุญาตให้อาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ เข้ามาวิจัยการเจริญเติบโตของไม้ยางนาได้ตลอดเวลา และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกต้นไม้ร่วมกับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประจำทุกปี

    คณบดีคณะวนศาสตร์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งถึงการปลูกไม้ยางนา รวมทั้งต้นไม้ใหญ่ในสวนจิตรลดา มีปัญหาเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร บางต้นก็ล้มง่าย เพราะน้ำใต้ดิน มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทำให้รากของต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถหยั่งลงลึกลงไปในดินได้ เนื่องจากพื้นที่รอบๆ สวนจิตรลดามีการปลูกสิ่งก่อสร้าง ถมดินสูงขึ้น ทำให้พื้นที่ของสวนจิตรลดากลายเป็นพื้นที่ลุ่ม ส่งผลให้น้ำใต้ดินมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ รับสั่งด้วยว่า ที่วังสระปทุมปัจุบันมีต้นไม้ 2,256 ต้น จำนวน 208 ชนิด ก็มีปัญหาต้นไม้โค่นล้มเหมือนกัน เนื่องจากน้ำใต้ดินมีมากขึ้น ดินแน่น อากาศในดินมีน้อย ทำให้รากต้นไม้ฝังลงลึกไม่ได้ ซึ่งพระองค์ทรงรับสั่งให้คณะ วนศาสตร์ลองไปศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ พระองค์ทรงแนะนำวิธีการแก้ปัญหาดินแน่นด้วยว่า น่าจะลองใช้ไส้เดือนลงไปช่วยพรวนดิน เพราะในวังสระปทุมมีไส้เดือนจำนวนมาก

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในวังสระปทุมนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ มก. โดยคณาจารย์จากคณะวนศาสตร์ได้เข้าศึกษา สำรวจ ถ่ายภาพสัตว์ที่พบ ระหว่างเดือนมีนาคม 2551 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีสัตว์กว่า 76 ชนิด จัดทำเป็นหนังสือเพื่อให้ทราบถึงความสมบูรณ์ งดงามธรรมชาติที่ยังคงรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.)

    ------
    มติชนออนไลน์
    ˹ѧ��;������Ԫ�����ѹ : ˹ѧ��;�����س�Ҿ ����ͤس�Ҿ�ͧ������
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2009
  2. ichikung

    ichikung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +11
    ต้นที่ทรงรดน้ำ คงจะโตวันโตคืนแน่ๆเลย อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...