ปุจฉา - วิสัชนา ** ท่านพุทโธ ว.ญาณ***

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย MayBuddhaBlessYou, 15 กรกฎาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    0.jpg

    ปุจฉา ข้าพเจ้า :
    กราบท่านพ่อเจ้าค่ะ ท่านพ่อคงทราบว่าลูกร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างสมเด็จองค์ปฐมและพระเกศโมลีที่ลานธรรม น้อมถวายปัจจัย 100,000 บาท

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ :
    ขอลูกทำด้วยศรัทธาอย่างยิ่ง 100,000 บาท ควรกล่าวกับองค์พระครูบาเจ้า อย่างนี้ว่า "สิ่งใดที่ค้างคาในเรื่องปัจจัยที่ผ่านมา ครั้งนี้ เป็นการทำบุญชดใช้หนี้กรรมในสิ่งที่ผ่านมาทั้งหมด"

    ปุจฉา ข้าพเจ้า : หากเราจะขอใช้หนี้กรรมทั้งหมดได้ไหมค่ะท่านพ่อ


    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ : เหมือนเราตีเขา เขาก็ต้องตีเรา เพราะยังไม่มีโอกาส... แต่รอจังหวะเวลาที่จะกระทำสิ่งที่ค้างคาใจ เรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เคยทำผิดไว้อย่างไร ก็ต้องเป็นบุคคลนั้น อย่างเช่นลูกเจน อาจจะพลั้งพลาดบางสิ่ง ที่ได้รับปากรับคำเอาไว้ แต่ไม่กระทำ.... นี่คือ "กรรม" ที่มีแก่ทางลานธรรมฯ ทำกันตรง ๆ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่. ส่วนบุคคลอื่น สัตว์อื่น... ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต แม้จะได้รับบุญ อยู่ที่ว่า "เขาเหล่านั้นจะยอมรับหรือไม่"

    ปุจฉา ข้าพเจ้า : ลูกทำแบบเต็มกำลังใจและกำลังทรัพย์ และบอกบุญต่างๆ มากมาย ทั้งใช้เวลาส่วนใหญ่ช่วยการสร้างสมเด็จปู่ให้สำเร็จดั่งที่ตั้งใจกันไว้ แต่ทำไมงานยังมีปัญหาอีก ใหญ่มากด้วยค่ะท่านพ่อ การที่เรากำลังสร้างบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่ มักจะมีเรื่องแบบนี้มาเสมอ แบบนี้เรียกว่าอะไรหรือเจ้าค่ะท่านพ่อ

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ : คำว่า "บุญ" ต้องทำด้วยเจตนา เพื่อการปล่อยวางทั้งหมด เรื่องของวิบากกรรมที่ได้กระทำมา ทั้งดี และชั่ว อันไหนมีเหนือกว่ากัน สิ่งนั้นย่อมปรากฏ จึงต้องละชั่ว กระทำความดี เพื่อเพิ่มบุญบารมีให้กับตน. และช่วงใดที่เรามีความวิตกกังวล เป็นทุกข์ ช่วงเวลานั้น จะเพิ่มพูนในสิ่งไม่ดีให้เกิดขึ้น. ดังนั้น การรักษาใจเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

    เมื่อทำให้จิต ว่าง วาง สงบ ถือว่า "เราทำดีถึงที่สุดแล้ว" อะไรจะเกิด ก็เกิดไปตามวาระแห่ง "กรรม" ที่ได้กระทำมา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ยอมรับๆ เพราะในปัจจุบันเราทำได้ถูกต้องแล้ว. ดังนั้น วาระแห่งกรรมก็เป็นของไม่เที่ยง เช่นกัน / พ่อเองก็เข้าไปหนุน ในเรื่องความดีให้กับลูก เพื่อให้สูงกว่ากรรมที่ไม่ดี ที่ลูกได้กระทำมาแล้ว เมื่อครั้งอดีต.

    *** บันทึก ณ วันที่ 28 เมษายน 2562 ***



     
  2. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    ปุจฉา ข้าพเจ้า : ช่วงก่อนยุ่งมากเจ้าค่ะท่านพ่อ วันนี้ลูกเดินทางไปประเทศจีน เช็คงานให้ลูกค้าค่ะ

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ :
    ทำได้ดีแล้วๆ พ่อกลัวว่าลูกไม่สบาย สิ่งไหนที่มีสภาพธรรมค้างคาใจขอให้ถามพ่อได้

    ปุจฉา ข้าพเจ้า : เจ้าค่ะท่านพ่อ

    เรื่อง ที่ 1 วันเกิดลูก ตอนแรกกะว่าจะไปถวายสังฆทาน วัดข้างบ้าน แต่คิดอีกที ไม่ได้อานิสงส์สังฆทาน เพราะมีพระเพียง 2 รูปเท่านั้น ลูกเลยไปวัดอื่นทีมีพระ 4 รูปขึ้นไป แม่ลูก อะไรๆ ก็หลวงพ่อข้างบ้าน แบบต้องการให้ถวายอะไรก็หลวงพ่อเท่านั้น ลูกเข้าใจแม่ ที่อยากให้หลวงพ่อชื่นชม ลูกไม่ได้โกรธแม่ แต่ลูกขอทำเพื่อตนเองในวันเกิดค่ะท่านพ่อ เรื่องนี้ลูกวางกำลังใจพอใช้ได้ใช่ไหมค่ะ

    เรื่องที่ 2 พอไปวัดอีกวัดที่มีพระเป็นจำนวนมาก เจ้าอาวาสออกตุ้งติ้งหน่อย แต่ลูกวางกำลังใจคือ ถวายสงฆ์ ท่านเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของท่าน แต่ลูกตั้งใจว่า ถวายสังฆทานค่ะ

    เรื่องที่ 3 มีเรื่องวุ่นวายในการทำบุญ สร้างบุญ ที่เกี่ยวเนื่องกับคนหมู่มาก พยายามรักษากำลังใจไว้อยู่ค่ะ

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ :


    เรื่องที่ ๑ : หากวัดนั้นมีบางสิ่งที่ไม่เหมาะสม ก็ต้องไปทำวัดอื่น. แต่ถ้าวัดนั้นมีศีลธรรมอันดีก็ควรกระทำ พ่อแม่จะได้พึ่งพาอาศัยในวัยแก่
    เรื่องที่ ๒ : คำว่า "สังฆทาน" ถวายแก่สงฆ์เป็นกองกลาง จิตใจของเราก็ต้องดำรงความว่างสงบให้ได้ ไม่เอนเอียงไปข้างใด

    เรื่องที่ ๓ : สิ่งภายนอกเมื่อเห็นว่า วุ่นวายสับสน มีโอกาสผิดพลาดได้ ก็ต้องดำรงความดีของเราเอาไว้ให้มั่นคง การทำอะไรเกี่ยวเนื่องกัน ล้วนมีแต่ปัญหา เรื่องของโลกียโลก ย่อมเป็นเช่นนั้น ยังละทิฏฐิมานะไม่ได้ เมื่อพูดออกไปแล้ว เพื่อเตือนสติบุคคลนั้น ก็ต้องรักษาจิตให้เป็นกลาง ให้จงได้

    (*)(*)สรุป : การวุ่นวายทางโลกหนีไม่พ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน ต้องรับรู้เพื่อความเข้าใจ ใครยึดมากย่อมทุกข์มาก ใครยึดน้อย... ย่อมได้สัมผัสทุกข์อย่างบางเบา เพราะ รักษาจิตใจเป็นกลางไว้ได้

    จงยุ่ง... แต่อย่าวุ่น เป็นดีที่สุด

    ปุจฉา ข้าพเจ้า : ลูกถึงสนามบินที่กวางเจาแล้วค่ะแต่ รอ taxi 2 ชมค่ะท่านพ่อ ยังไม่มา ซึ่งเรา booking ไวก่อนหน้านี้แล้ว ควรต้องมาทันที่เมื่อลงเครื่อง

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ : รอ..! ก็ยังมีกายใจอยู่ด้วยกันไม่ซัดส่าย..สบาย

    ปุจฉา ข้าพเจ้า : เจ้าค่ะท่านพ่อ ทำไม่ได้ตามนั้นค่ะ เพราะติดต่อโทรไปถึงต้นกัดทียุโรปเลยค่ะ ว่ารถอยู่ไหนค่ะ ตอนนั้นนะค่ะ ลูกตามทั้งจีน ทั้งยุโรป ค่าโทรหานี่อาจจะแพงกว่าค่ารถที่มาส่งโรงแรมอีกค่ะ

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ : เราสัมผัสได้รู้ได้เห็น จงเอาสติไปหารสอง ให้เป็นกลางให้ได้ลูก

    *** บันทึก ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2562 ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2019
  3. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    ปุจฉา ข้าพเจ้า : กราบท่านพ่อเจ้าค่ะ ลูกน้องลูกเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ลูกไปเยี่ยมลุง แล้วบอกว่าลูกสร้างสมเด็จองค์ปฐมให้ลุงนะ พร้อมทั้งนำภาพสมเด็จปู่ให้ลุงได้เห็น แล้วแกก็ยกมือโมทนาสาธุ สาธุ จากนั้นไม่นานเพียง 1 สัปดาห์ ลุงก็จากไปค่ะ

    ลูกขอกราบสอบถามค่ะ การที่ลูกโอนเงินสร้างสมเด็จปู่ให้ลุง ลูกโอนวันละ 100 บาท บุญนี้ลุงจะได้รับไหมค่ะ เพราะเมื่อก่อนแกไม่รู้ตัวเท่าไหร่ค่ะ และท้ายที่สุดลุงก็จากไปแล้ว แต่ลูกก็จะยังคงทำบุญสร้างสมเด็จปู่ ในนามชื่อของลุงเอง จนกว่าจะหล่อองค์จริงค่ะ อยากทราบว่าบุญนี้ลุงจะได้รับหรือไม่ค่ะ เสมือนหนึ่งว่าลุงได้ทำด้วยตนเองไหมค่ะ เพราะลูกตั้งจะยกบุญนี้เสมือนหนึ่งว่าลุงได้สร้างบุญนี้เอง

    วิสัชนา ท่านพุทโธ ว. ญาณ :
    การที่ลูกได้โอนเงินสร้างสมเด็จปู่ เป็นการแสดงเจตนา เพื่อแผ่ส่วนบุญให้กับผู้ล่วงลับ โดยการให้เขาได้มีส่วนร่วมในบุญครั้งนี้. บุคคลที่เป็นเจ้าของเงิน ยอมแบ่งปันให้ เพื่อให้ได้รับบุญตามเจตนาของเรา ย่อมได้รับบุญสมประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของเรา โดยการยกมือขึ้นเหนือหัววันละ 100 บาท ตามแรงอธิษฐานจิตให้ได้อย่างนั้น เพราะเรามีเจตนาที่ดีในการทำบุญ และแผ่เมตตาในแต่ละครั้ง ต้องกระทำจิตต้องสงบเยือกเย็นให้จงได้ มันจะทะลุไปยังเป้าหมายที่ได้เจตนาเอาไว้

    แม้จะไม่สำเร็จในภพภูมิที่ไปเกิดใหม่ โดยการมีเจตนา + กับความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของเรา ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนได้ปรารถนา.
    ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับ แต่เรามีเจตนาที่ดี เมื่อแผ่ไปแล้ว จงทำจิตใจให้สบาย ปล่อยวางๆ ถือว่าเราได้กระทำสำเร็จสมบูรณ์แล้ว นั่นล่ะ คือ "ยอดแห่งบุญตัวสำคัญ" จิตใจของเราก็จะเอิบอิ่มเบิกบานขึ้นมาทันที และนี่คือตัวตรวจสอบจิตของเรา จะกลายเป็นพลังอันสำคัญ ให้กับตน และผู้อื่น.

    ปุจฉา ข้าพเจ้า : น้อมกราบท่านพ่อเจ้าค่ะ เป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยทราบมาก่อน ลูกจะทำตามที่ท่านพ่อสอนเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ

    *** บันทึก ณ วันที่ 1 ก.ค 2562 ***
     
  4. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    *** มรณานุสสติ สู่ธรรมชาติ ***
    โลกนี้มีแต่ความเสื่อม ความพังอยู่ตลอดเวลา ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะคงทนตั้งอยู่ได้ชั่วกัปชัวกัลป์ แม้หินผา ภูเขา ที่ว่าแข็งแกร่งยังไง เมื่อถึงกาลสิ้นสุดของเค้าก็ต้องราบเป็นหน้ากอง เสมอแผ่นดิน ไม่มีอะไรสูงกว่าแผ่นดิน สิ่งที่สูงกว่าท้ายที่สุดย่อมจมลงไปในดิน ร่างกายของเราเพียงเล็กน้อย ก้อนเล็กก้อนน้อย แตกต่างกันไป สูงต่ำดำขาว ตัวเล็ก ตัวใหญ่ เป็นก้อนเล็กนิดเดียวไฉนเลยจะตั้งได้นาน ต้องจมลงไปสู่ดิน สู่น้ำ สู่ไฟ สู่ลมในที่สุด ในอีกไม่ช้านาน ในอนาคตอันใกล้นี้ หมั่นพินิจพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าเหล่านี้ก็ต้องตายจมดินไปให้ได้เนือง ๆ การที่พิจารณาซึ่งมรณานุสสตินี้ ทำให้ใจที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น รวมทั้งกามราคะ ให้เห็นสิ่งเหล่านี้ประจักษ์จิตอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งทั้งหลายที่เจือด้วยกามราคะ กามะตัณหา ภาวะตัณหา วิภาวะตัณหาเหล่านี้ เนื่องด้วยอัตตาตัวตน ของตน ของกู ทั้งนั้น โดยอาศัยอวิชชาอยู่เบื้องหลัง ทำให้ความอยากและความไม่อยาก จึงเป็นตัวนำไปสู่ความทุกข์ โดยการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมั่น ของที่เค้าจะตกจะร่วงหล่นอยู่แล้ว ไม่ให้มันตกมันหล่น เอามือเข้าไปรองรับ ยึดเอา ยึดเอา แล้วบอกว่ามันไม่ใช่ของที่เป็นสภาพของความไม่ใช่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะตัวกูเข้าไปยึด เพราะตัวกูเอามือเข้าไปรองรับ จึงถือว่าตัวเรานี้เป็นเจ้าของ ของสุขของทุกข์ทั้งหลายที่มันจะดับ มันจะร่วงมันจะหล่นลงไปแล้ว ไปรองรับมันนี่แหละบอกว่านี่แหล่ะ ของกู ของกูมันซะหมด

    นี่แหล่ะคือสภาพความเป็นจริงของเราที่เข้าไปยึดถือโดยที่เรา ไม่รู้ตัว ตลอดเวลาเราก็ทำเช่นนี้ ของจะดับไม่ยอมให้ดับ ตัวเราเข้าไปแก้ไข รับเอาไว้ รับเอาไว้ มีทั้งพอใจไม่พอใจ เป็นสุขเป็นทุกข์อยู่กับมันตลลอดเวลา สภาพ สุขสภาพทุกข์นั้นมีอยู่ได้เฉพาะคนที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันเท่านั้น เป็นบุคคลที่ไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งงอยู่ดับไป อย่างแท้จริง เค้าไม่สามารถ ที่จะเข้าใจธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย

    ฉะนั้นการประพฤติปฏิบัตินั้น ต้องหมั่นตรวจตรา ดูจิตของเราว่ามันมีสุข มีทุกข์ มีความพอใจ มีความขุ่นข้องหมองใจ อยู่ในจิตใจตนหรือไม่ จิตดูจิตต้องเพียรดูจิตอยู่ตลอดเวลา จึงถือว่าเป็นผู้ที่เพียรรักษาดูแลใจตนอย่างแท้จริง เราจึงจำเป็นที่จะต้องหมั่นฝึกฝนอบรมบ่มปัญญา โดยพยายามที่จะตั้งสติของเรานี้ให้ได้สืบทอดตลอดเวลา
    เพราะตัวสตินั้นจะเป็นตัวปัญญาอย่างแท้จริงที่จะทำให้เรานั้น เข้าถึงความเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติคือธรรมะ ธรรมะคือแก่นแท้ของธรรมชาติ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสรู้ความเป็นจริงอันนี้คือ อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้ตั้งใจคิดว่าปัจจุบันนี้เรากำลังเดินทางไปสู่ทิศทางไหน เราไม่ได้เดินทางเข้าไปสู่โลกที่มีความสับสนวุ่นวายที่มีสภาพยึดมั่นถือมั่น ตัวกูของกู


    แต่เรากำลังเดินเข้าไปสู่ธรรมชาติคือธรรมะ ธรรมะคือความเป็นจริง ธรรมะคือที่สุดแห่งชีวิต มนุษย์และสัตว์ ทั้งกายหยาบ กายละเอียด ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต กำลังเดินเข้าไปหาความดับไปความสิ้นไปเห็นที่สุด มิใช่เดินไปเพื่อความงอกงามไพบูรณ์เพื่อความใหญ่โต ความเติบโดมั่นคงแต่ประการใด แต่เดินไปเพื่อไปสู่จุดจบของชีวิตด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น หากไม่เพียรคิดพิจารณา ถึงความเป็นจริงในข้อนี้ใจของเรามีแต่ความมุ่งมั่น ความใฝ่ฝันทะเยอทะยายอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น พยายามที่จะแบกหามทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งภาระหน้าที่ หนี้สิน ทรัพย์สินเงินทอง อันเกิดมาจากความทะเยอทะยานอยากนั่นเอง ความทะยานอยากได้เกิดขึ้นได้นั้น เพราะตัวเองคิดว่าตัวเองนั้นจะไม่ตาย เพราะไม่เคยระลึกนึกถึงความตาย เพราะคิดว่ามันจะเจริญไพบูรณ์งอกงาม ไม่เสื่อมโทรม มันคิดไปนอกทาง คนละอัน หันหลังให้กับความเป็นจริง ทุกคนจึงประสบแต่ความทุกข์ในที่สุด

    แม้จะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายก่ายกองก็ดี มันก็เป็นสภาพทุกข์ ทุกข์ที่เราหามา คิดว่ามันจะทำให้เราเป็นสุข แต่ความเป็นจริงนั้น มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ทุ่มเทเข้าไป ทุ่มเทเขาไป เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุกาม ความพอไม่รู้จักพอ ก็ทุ่มแรงกายแรงใจเข้าไปไม่หยุดหย่อน เพื่อให้ได้วัตถุกามนั้น เพื่อวัตถุกามนั้น จะกองโตเท่ากับภูเขาโลกาก็ตาม แต่เขาก็ยังไม่หยุดหย่อนเพื่อจะให้ได้มาซึ่งวัตถุกาม โดยแลกจากแรงเหงื่อ แรงกาย แรงใจของตน อยู่ตลอดเวลา เขามุมานะที่จะทำสิ่งเหล่านั้นแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ก็บอกว่านี่แหล่ะคือภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบทำ การหาอย่างนี้ เรียกว่าหากันไม่รู้จักจบจักสิ้น ไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตเรามันจะสิ้นไป ช่วงเวลาที่เหลือไม่เคยคิดเพราะว่าไม่คิดว่ามันจะตาย ฉะนั้นขอให้หยุดคิดสักนิดนึงว่า ทรัพย์สินเงินทองเหล่านี้ แม้จะหยุดทำก็ยังพอเลี้ยงชีพ พอแล้ว หันมาประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ไม่ขัดสนเรื่องการหาอยู่หากินหรืออาชีพที่มีอยู่นึกว่าพอแล้ว พอแล้ว ไม่ต้องไปหาอะไรที่เกินตัว เพราะเวลาที่ตายไปทรัพย์สินเงินทองสมบัติเหล่านั้นเอาไปก็ไม่ได้ หากพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันพอที่จะเลี้ยงชีพได้แล้ว อาชีพก็สามารถที่จะตั้งหลักตั้งเกณฑ์ได้แล้ว ไม่ทำให้เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่พยายามคิดหาทางออกให้กับชีวิตของตน ไม่หลงมัวเมาในวัตถุกามอีกต่อไป อย่าให้วัตถุกามนั้นมาเป็นตัวถ่วงในความดีของเรา หากรู้จักวาง มองหาโอกาสที่จะเข้ามาประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เป็นทรัพย์สมบัติตามติดตัวเราไป ทั้งปัจจุบัน และอนาคตชาติสืบๆ ไป

    นี่เรียกว่าเป็นบุคคลที่ไม่ประมาทในชีวิต คนที่จะออกจากทรัพย์สมบัติของตนที่ทีมากมาย ได้ หรือพอปานกลางหรือพอหาเลี้ยงชีพได้ พอที่จะเลี้ยงชีพของตนได้โดยไม่ขัดสน การที่จะออกมาได้ ออกมาได้ยากมากโดยเฉพาะคนที่มีทรัพย์สินเงินทอง เป็นบ่วงคล้องคอของตน ไม่ให้ออกจากกองทรัพย์สินเงินทองนั้น คนที่ออกมาได้ก็จะรู้จักใช้ทรัพย์สินเงินทองของตนนั้นมาสะสมความดี เอามาหนุนทาน เอามาหนุนผู้รักษาศีล ผู้ทำสมาธิ ผู้เจริญปัญญา นี่เรียกว่าเอาทรัพย์สมบัตินั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุด ดีกว่าตายไปแล้วนั้นนำทรัพย์สมบัติที่หามาด้วยความเหน็ดเหนื่อยนั้นต้องทิ้งไว้ทางโลก ไม่เกิดประโยชน์ แต่อย่างใด ประโยชน์ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่น ไม่เป็นประโยชน์สำหรับเรา ถ้าเราไม่รู้จักเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ คนที่รู้จักการออกจากทรัพย์สินเงินทอง หาโอกาสมาสร้างโอกาสสร้างทรัพย์ภายใน ไม่มัวมาครุ่นคิดอยู่แต่เรื่อง โลกีย์โลก วัตถุกามของโลก หาได้น้อยมากในปัจจุบันนี้

    **** ท่าน พุทโธ ว.ญาณ วันที่ 16 เมษายน 2554 *****
     
  5. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินเส้นทางนั้น คือการสละทรัพย์สมบัติของพระพุทธองค์ พระองค์ทรงทิ้งทุกอย่าง ลาภ ยศ สุข สรรเสริญทั้งหลาย เพราะพระองค์ท่านทรงเห็นว่ามันเป็นกองทุกข์ ที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงติดตรง นั้น หากพระองค์ยังรงพอใจในทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้น การตรัสรู้ ของพระพุทธองค์ย่อมไม่เกิดขึ้น ทรัพย์สินเงินทองเป็นบ่วงอันหนึ่ง บุตร สามี ภรรยา ก็เป็นบ่วงอีกอันหนึ่ง คล้องคอเข้าไว้แต่ละอันแต่ละบ่วง นี่พระพุทธองค์ทรงรู้เท่าทันถึงความเป็นจริง จึงรู้เท่าทันความเป็นจริงเหล่านั้น และออกจากราชสมบัติ หนีออกจากพระราชวัง มากับนายจุนทะ มาทางฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วใช้พระขันธ์ตัดพระเมาลี โยนขึ้นไปบนอากาศ และทรงปลดเครื่องทรงของพระองค์ลง ให้พระจุนทะ (นายจุนทะในขณะนั้น) ส่งกลับพระราชวัง ว่าไม่ต้องมาห่วง ว่าไม่ต้องมาห่วงพระองค์ พระองค์ทรงผนวชเรียบร้อยแล้ว พระองค์ไม่สนใจกามวัตถุที่เป็นเครื่องล่อของมนุษย์ ให้ติดกัน ท่านไม่ติดอะไร ไม่ติดกับลาภสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ อันเป็นสมบัติขิงโลกอีกต่อไป เหตุเพราะว่าพระพุทธองค์นั้น ต้องการหลุดออกจากโลก จึงจำเป็นที่ต้องทิ้งโลก หาโมกขธรรม เพื่อที่ว่าจะได้ออกจากโลก หาความพ้นทุกข์ จึงไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    พวกเราทุกคนก็เหมือนกัน หากเราติดโลก เราจะต้องอยู่กับโลก หากรู้จักปล่อยวางโลกอย่างมีสติ คำว่ามีสติหมายความว่าต้องรู้ว่าเมื่อไหร่วาง เมื่อไหร่พอมาได้ เมื่อไหร่มาไมได้ เพราะว่าเราจำเป็นที่ต้องเลี้ยงธาตุขันธ์ ก็เพราะว่าทรัพย์สมบัติของเรายังไม่พอเพียงที่จะเลี้ยงธาตุขันธ์ขงเราได้จนตลอดชีวิต หากคนที่สามารถที่จะเลี้ยงประมาณที่ว่าทรัพย์สินขณะนี้พอที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมได้แล้ว ก็ควรจะประพฤติปฏิบัติเยี่ยงพระพุทธองค์ที่เคยนำพา ที่พระองค์ทำในสิ่งซึ่งยากมาก ก็เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงทำให้เห็น เพื่อที่ว่าคนรุ่นหลังนั้นได้เจริญรอยตามพระพุทธองค์นั้น อย่าให้ทรัพย์สินเงินทองนั้น มาเป็นตัวถ่วงในการที่จะถึงวิมุตหลุดพ้นเลย ทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของคู่กับโลกตามสมมุติบัญญัติของเค้า ของก็มีอยู่แล้วตามสมมุติบัญญัติ ตามธรรมชาติของเค้า มีการดัดแปลรูปร่างลักษณะของมันให้ผิดแผกไปจากธรรมชาติ และบอกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นทรัพย์สินเงินทอง สิ่งนั้นสิ่งนี้มีค่ามีราคา แล้วเราก็เข้าไปยึด ไปเกาะ ไปจับเอาตามสมมุติบัญญัติของโลก อย่าให้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นอุปสรรคขวากหนาม เป็นเครื่องมัดแข้งมัดขา ปิดตา ปิดใจ ของเราอีกต่อไป ใครออกมาได้ชนิดที่ว่าบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นทั้งทางโลกและทางธรรม ก็ขอให้มีปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงเหล่านั้น จึงได้ชื่อว่าเราเป็นผู้ที่สติอย่างแท้จริง

    จงหมั่นพิจารณาถึงมรณานุสสติ มรณานุสสติเป็นคุณอย่างใหญ่หลวง เป็นปลายทางรวมลงของสิ่งทั้งหลายทั้งมวลในโลกนี้ ไม่มีใครหลีกหนีไปได้ แม้กระทั่งโลกทั้งใบๆ นี้ ที่เราอาศัยดำเนินชีวิตอยู่ ไม่ช้าไม่นานก็จะต้องแตกสลายไปด้วยเช่นเดียวกัน โลกนี้จึงได้ชื่อว่าธรรม สิ่งทั้งหลายทั้งมวลที่อยู่ในโลกใบนี้จึงได้ชื่อว่า นาม รูป นามรูปจึงได้ชื่อว่ารวมลงไปสู่ธรรม ธรรมนั้นคือโลก สรุปรวมลงทุกสิ่งทุกอย่างลงอยู่ในโลกใบนี้ รอวันการแตกสลายถึงที่สุด เห็นความว่างเปล่าของมันบ้างหรือยัง ว่าท้ายที่สุดแล้วมีอะไรบ้าง ว่าท้ายที่สุดแล้วมีอะไรบ้าง ๆ ลองคิดพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงซิ มันจะได้หายจากทุกข์โศกโรคภัย จะได้คลายจากตัณหา อุปาทาน ที่เป็นกิเลสเผาใจเราอยู่ในขณะนี้ ลองพิจารณาอยู่ซิว่า ในขณะที่เราหาอยู่หากิน หาอยู่หากิน หายใจเข้าหายใจออก แท้ที่จริงเราพยายามไขว่คว้าหาอะไรกัน เราพยายามที่จะมีอะไร เพื่อที่ว่าจะทำให้มันเป็นอะไร มีอะไรกัน ให้พิจารณาย้อนหน้าย้อนหลัง กลับมากลับไป กลับไปกลับมา เรากำลังจะทำให้เป็นอะไร ในสิ่งที่มันไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร จริงหรือไม่ มันจะก่ออะไรให้มันจีรังยั่งยืนอยู่ตลอดเวลามีบ้างไหม ที่กำลังทำๆ กันอยู่นี้มีอะไรบ้างไหมที่มันมั่นคงถาวร ที่ทำๆ กันอยู่นี้มีอะไรที่จะไม่แตกสลาย มีบ้างไหม นี่พูดให้พิจารณากัน มันจะได้เกิดหนทางแห่งปัญญาได้ชัดเจนที่สุด การหาอยู่หากินทางโลกใบนี้ยังคงดำเนินอยู่ หากไม่รู้เท่าทันมันมันก็จะเป็นตัวรวมตัวเกาะ ไม่ให้เราออกจากโลกไม่ได้เลย

    **** ท่าน พุทโธ ว.ญาณ วันที่ 16 เมษายน 2554 *****
     
  6. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    เมื่อรู้ว่าพอควร พอเหมาะ พอเจาะ บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นทั้งทางโลกและทางธรรมแล้ว รีบๆ หาทางพิจาณาแล้วออกมาประพฤติปฏิบัติ เริ่มต้นที่บ้านของเราเป็นเบื้องต้น ให้ได้เสียก่อน หมั่นสวดมนต์ไหว้พระ นั่งทำสมาธิเข้าไปสู่ความสงบ แล้วหมั่นคิดทบทวนความเป็นจริงโดยเฉพาะความตาย เรามีอะไรในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ในเบื้องต้นเรามีอะไร ในท่างกลางเรามีอะไร ในท่างกลางมีอะไรบ้างที่มันจะไม่แปรปรวน และในที่สุดอนาคต จะใกล้ จะกลาง จะไกล ยังงัย มีขอบเขตที่สุดคือความตายเท่านั้น ขณะนั้นสิ้นสุดทุกสิ่งทุกอย่าง ว่ามี ว่าเป็นสิ้นสุดทุกอย่างเพราะความตายมาตัดไปซะแล้ว หาตัวเรา หาของเรา หาทรัพย์สินเงินทองของเราที่หามาได้ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของเรานั้นก็พลันจบสิ้น ทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ร้อยล้านพันล้าน หามาได้ก็เป็นเพียงแต่ดิน เป็นแต่เพียงสมมุติบัญญัติเท่านั้น ไร้ค่า ไร้ราคาสำหรับเรา นี่เขาเรียกว่าไม่มีปัญญา หามาเพื่อทิ้ง หามาจนเกินกำลัง หามาจนเกินดี เขาก็ว่าเขามีปัญญา แต่ก็เป็นปัญญาทางโลกีย์โลก แต่ไม่สามารถเข้าไปหาปัญญาทางโลกุตระธรรม คือพระนิพพานได้เลย

    น่าเสียดาย กำลังกายกำลังสติปัญญา มีปัญญาหามาได้ แต่ปราศจากซึ่งปัญญาทางธรรม บุคคลผู้นี้แหล่ะน่าสงสาร เพราะตลอดเวลาเขาใช้แรงกายแรงใจของเขาหามาด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่เขาก็พอใจของเค้า มากมายก่ายกองกว่าผู้อื่น เขามีวัตถุกามมากมาย เขาว่าเขาดี เขาว่าเขาเหนือกว่าใคร ถ้าคิดว่าหามาได้พอประมาณแล้วหยุด เพื่อสร้างสมคุณงามความดีของเรา หยุด นี่แหล่ะถือว่าควร ขณะที่หาอยู่หากินนั้น ก็หมั่นที่ต้องบริจาค หมั่นเอามาทำบุญผู้ด้อยโอกาส หมั่นเอามาทำบุญส่งเสริมผู้ที่ต้องการ ศีล สมาธิ ปัญญา เดินทางไปทางนั้น เกื้อหนุนคนที่ยากไร้กว่าเรา จึงจะเป็นประโยชน์กว่า เพราะทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของเราก็ควรจะใช้สมบัตินั้น ตามสมมุติบัญญัตินั้นให้เกิดมรรคผล พระนิพพานแก่เรา จึงจะควร ไม่ใช่ทิ้งไว้เพื่อให้ทีการยื้อแย่งกัน ฆ่ากัน มันไม่เป็นประโยชน์สำหรับเรา แต่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่น ที่เขาเห็นสมมุติบัญญัตินั้น ที่จะใช้สมมุติบัญญัตินั้นให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเค้าเหล่านั้น แต่ไม่ได้เกิดประโยชน์แก่ตัวของเราเลย ทั้งๆ ที่ตอนเรามีชีวิตอยู่นั้นเป็นประโยชน์แก่ตัวของเรา เราสามารถที่เราจะสามารถที่จะเอาไปใช้อะไรก็ได้ นั่นเป็นประโยชน์ของเรา แต่เมื่อเราไม่มีชีวิตแล้ว ประโยชน์เหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นของเราเลย มีอะไรบ้าง ที่เหนือกว่ากันและกัน มีแต่ความเป็นก้อนอิฐก้อนหิน แต่ละก้อน ผู้ชายผู้หญิง สูง ต่ำ ดำ ขาว เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ ยาจก ยากจนเข็ญใจ มีความเสมอกันซึ่งความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม มีความเสมอกันเป็นที่สุดของความตาย มีความเสมอกันซึ่งโรคะ พยาธิ ชรา มีไฟ 3 กองเสมอกัน มีอะไรเหนือกันและกันได้อย่างไร

    ทุกคนเกิดมาด้วยกรรมของตน ทุกคนเกิดมามีทุกข์ เป็นที่ไป ทุกคนเกิดมาเนื่องด้วยทุกข์ เท่านั้น ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้ มีแต่ความทุกข์ เกิดมาเพื่อความทุกข์ ดังนั้นจงมีความเห็นอกเห็นใจ มีความเมตตาต่อกัน คิดจะโกรธ ข่มความโกรธเอาไว้ อย่าให้ไฟ 3 กองนั้นทำงาน เราเกิดมาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ตาดำๆ มีทุกข์ เหมือนกันหมด คือทุกข์แห่งความแก่ ความเจ็บ ความตาย นั่นเอง แต่ก็อยู่ที่ว่าใครยึดมั่นถือมั่นมากก็ทุกข์มาก ใครยึดมั่นถือมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย คนที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นเลยไม่ทุกข์ เราปฏิบัติเพื่อละอุปาทานคือละความยึดมั่น ถือมั่น จุดประสงค์อยู่ที่ตรงนี้ แต่เรามักจะคลาดเคลื่อนตลอดเวลา เมื่อเรามีลาภสักการะ สุข สรรเสริญ เกิดขึ้นในจิตในใจ และมองเห็นช่องทางนั้น มันละอุปาทาน ไม่จึงหลงไปตลอดเวลา จึงเดินถอยหน้า ถอยหลัง ถอยหน้า ถอยลังอยู่ตลอดเวลา มีความลังเล ในการกระทำของตน จะทำอย่างไหนกันแน่ โอกาสอย่างนี้ คือโอกาสที่จะมีลาภยศ โอกาสที่จะมีลาภสักการะ สุข สรรเสริญอยู่จะเอายังงัย ยังมีความลังเลสงสัยอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าทำด้วยเรื่องธรรมแล้วตรงไปตรงมา ไม่มีการใช้เล่ห์เพทุบาย อันนั้นคือธรรม แต่ถ้าใช้เล่ห์เพทุบายให้ได้มาซึ่งสิ่งขิงต้องแระสงค์แล้วอันนั้นคืออำนาจของความเป็นตัวกู เข้าไปทำงานในหัวจิตหัวใจแล้ว

    วันนี้ได้ฟังธรรมกัน ร่างกายของเราไม่ไหวติง เพราะจิตมันมาจับเอาเสียงของพ่อกัน จิตมันไม่พะวงเรื่องอาการของกาย กายก็ไม่ซัดส่ายไปมา จิตก็ไม่ไปจับเอาเวทนา นี่เรียกว่าจิตเค้าไปจับได้ทีละ 1 ขณะจิต จับได้ทีละสิ่ง ทีละสิ่งเท่านั้น สมจริงในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ จับเอาสิ่งหนึ่งสิ่งหนึ่งย่อมตกไป ร่วงไป เบาบางไป อันนี้จริงแท้แน่นอน ดังนั้นนักปฏิบัติควรใช้อุบายธรรมตรงนี้ เกิดปัญหาอะไรขึ้นมา มันจะทุกข์ก็ให้จับเอาที่องค์บริกรรมภาวนา หรือจับเอาลมหายใจก็สุดแท้แต่ จับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งหนึ่งย่อมร่วงไปตกไปเป็นธรรมดา มันก็เป็นการหนีทุกข์ ดับทุกข์หนีทุกข์ได้ชั่วคราว หากไม่ดับด้วยปัญญาแล้ว มันก็เกิดขึ้นมาใหม่ วนเวียนกลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา เพราะตัวที่ดับนั้นเป็นการดับด้วยจิตที่มีสติ มีสมาธินั่นเอง แต่ยังไม่ได้ดับด้วยปัญญาที่มีความรู้จริงเห็นจริง มันจึงเกิดหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา จนกว่าเราจะดับด้วยปัญญา คือดับด้วยอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การที่จะดับทุกข์ได้ต้องรู้เหตุแห่งทุกข์ ต้นตอของความทุกข์นั้นซะก่อน และจึงปฏิบัติได้ถึงความดับทุกข์ได้สมุจเฉทประหารและจึงจะได้ชื่อว่าเป็นเหตุของการดับทุกข์แห่งการ เวียนว่ายตายเกิดได้อย่างแท้จริง ขอจบไว้เพียงเท่านี้

    **** ท่าน พุทโธ ว.ญาณ วันที่ 16 เมษายน 2554 *****
     
  7. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    *** คน...และดอกบัว 4 เหล่า ***

    คำว่า "คน"
    ไม่ช้านานก็ตายจมดินไป ไม่กี่ขณะจิตย่อมหมุนเวียนไปตาม ๓๑ ภพภูมิ เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมที่ได้สร้างสมมา

    คำว่า "ดอกบัว๔เหล่า" ดังนั้น ๓ เหล่า ที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ ย่อมอยู่ภายใต้กฎแห่งวัฏวน ส่วนเหล่าที่ ๔ โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ที่เรียกว่า "พระนิพพาน" จิตนี้..."ไม่เคยตาย" ที่เรียกว่า "อมตธาตุ" เมื่อครั้งที่ได้เกิดมาในโลกมนุษย์ ได้เจริญ มรรค ผล นิพพาน จนถึงที่สุดแห่งธรรม สุดท้าย ได้ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน เป็นการแสดงส่งคืนธาตุ ๔ เป็นครั้งสุดท้าย คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เข้าไปอยู่ในท่ามกลางความว่างตามธรรมชาติ คือ ว่างจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง

    ทุกชนชั้นชายหญิง เด็กเล็ก คนชรา ที่ได้ปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ แยกออกเป็นกองๆได้ ๓ กอง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นเครื่องไม้เครื่องมือแห่งการดับทุกข์ สามารถปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งธรรม คือ "พระนิพพาน" ได้ทุกคนหากทำจริง


    **** ท่าน พุทโธ ว.ญาณ วันที่ 14 มกราคม 2561 *****
     
  8. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    1.jpg

    บทถอดเทปการบรรยายธรรม : การสอนกรรมฐานของท่านพุทโธ ว.ญาณ

    สถานที่แสดงธรรม : ลานธรรมอรหันตาหน่อแก้วฟ้าโพธิญาณ ณ วันมาฆบูชา วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554


    ผู้ถอดเทป : นางสาวกัลญวัจณ์ รุ่งรัตนกาล

    ท่านพุทโธ ว.ญาณ : ขอกราบคารวะคุณธรรมภายในขององค์ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าและขอแสดงอนุโมทนากับพ่อขาวแม่ขาวทั้งหลายที่ มาร่วมประพฤติปฏิบัติทำบุญทำกุศลในงานมาฆบูชาในครั้งนี้ วันนี้ก็ไม่ได้คิดว่าจะได้นำพาผู้ใฝ่บุญใฝ่กุศลประพฤติปฏิบัติกัน แต่เนื่องด้วยบุญที่มีความสัมผัสสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าคนผู้นั้น มีบุญสัมผัสสัมพันธ์กับเราหรือเปล่า เพราะฉะนั้น พูดได้ง่ายๆ ว่าวันนี้องค์ครูบาเจ้าท่าน ก็ได้ให้โอกาสอันดีแก่กระผม ได้มาอบรมปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ ก่อนหน้านั้นก็ได้มีมีการนำพาประพฤติปฏิบัติกันแล้ว ช่วงเวลาต้อนรับปีใหม่ส่งท้ายปีเก่าเป็นเวลา 7 วัน ใช่มั๊ยครับ มีใครเคยมาแล้วลองยกมือสิครับ ดูซิว่ามีมากี่คน (อาจารย์พ่อนับ)หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ก็ใช้ได้อยู่ ถือว่ายังมีพื้นฐานในการประพฤติปฏิบัติอยู่บ้าง คนที่ยังไม่มีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติว่า แนวทางประพฤติปฏิบัติที่นี่นำพาประพฤติปฏิบัติอย่างไร แต่ทั้งนี้การนำพาประพฤติปฏิบัติครั้งนี้ก็ไม่ได้ไปแตกต่างอะไรจากที่อื่นเพราะว่าเรามีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน การประพฤติปฏิบัติอาจจะผิดเพี้ยนกันนิดนึง แต่จุดสุดท้ายคือการรวมลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุดนั่นเอง

    เพราะฉะนั้นบุคคลที่ตั้งใจใฝ่ปฏิบัตินั้น นอกจากการตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความสุขในปัจจุบันชาติและก็หมายถึงอนาคตชาติ และท้ายที่สุดแล้วตั้งใจคือพระนิพพานนั่นเอง ฉะนั้นการมาประพฤติปฏิบัติในครั้งนี้ก็เพื่อให้ท่านสร้างหลักจิตหลักใจของเรานั้นให้มีหลักในการประพฤติปฏิบัติให้ถูกให้ตรงต่อมรรคผลนิพพาน ถ้าพูดถึงมรรคผลนิพพานมากกว่า ก็คือการหาอยู่หากินมีทรัพย์สินเงินทอง มันก็ถือว่าเป็นส่วนเปลือก ก็เอาส่วนเปลือกไปด้วย ส่วนเนื้อในนั้นก็คือส่วนสำคัญภายในก็คือใจของเรานี่แหล่ะ คือเป็นส่วนที่สำคัญ ฉะนั้นเรายังได้ชื่อว่ายังอยู่ในโลกสมมุติในโลกียะโลก ก็ยังต้องการทรัพย์สินเงินทองอันเป็นสมมุติบัญญัติของโลกอยู่ ดังนั้นเมื่อมาประพฤติปฏิบัตินั้น เราบอกได้ว่าทรัพย์สินเงินทองของทางโลกนั้นเราก็ต้องการ ทรัพย์สินทางธรรมก็คือโลกุตระธรรมเราก็ต้องการเช่นเดียวกัน

    เพราะฉะนั้นการมาประพฤติปฏิบัติที่นี่เราได้ทั้งสองสิ่งสองอย่างในเวลาเดียวกัน
    “ ฉะนั้นขอให้เพียรพยายามตั้งหลักจิตหลักใจนะว่า การมาประพฤติปฏิบัติที่นี่ การมาตั้งแต่ตั้งจิตตั้งใจที่จะมาประพฤติปฏิบัติธรรมที่นี่ บุญก็เกิดขึ้นตั้งแต่เจตนานั้นแล้ว “ ยิ่งการตั้งใจมาทำบุญที่นี่ยิ่งได้บุญเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเพราะการนำพาประพฤติปฏิบัติที่นี่คือว่าทุกคนมาที่นี่ทำการให้ทานทางกายทางใจ แทนที่จะเอากายเอาใจเรานั้นไปที่อื่นไปดูการละเล่น ดนตรี ไปดูการขับร้องฟ้อนรำ ซึ่งมันหาประโยชน์อะไรไม่ได้เลย นั่นคือการพยายามบังคับจิตบังคับใจของเรานั้นมาทางบุญทางกุศลดีกว่าไปหายใจทิ้งหายใจขว้าง

    เพราะฉะนั้นประพฤติปฏิบัติตั้งแต่เรามานั่งอยู่ตรงนี้ให้จับลมหายใจด้วย ลมหายใจเข้าให้นึกว่า “ พุทธ ” ลมหายใจออกให้นึกว่า “ โธ “ ต่อไปนี้ให้ทำท่าตั้งท่าในการทำสมาธิทำความเพียรได้เลย แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติ ตั้งใจฟัง แล้วก็ให้กำหนดลมหายใจไปด้วย เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติบางคนก็ยังไม่มีหลักในการประพฤติปฏิบัติ ก็ขอให้นำว่าการประพฤติปฏิบัตินั้น ให้พยายามคงสภาพที่ถูกต้อง คือมือขวาขวาทับขาซ้ายมือขวาทับมือซ้าย ตั้งหายให้ตรง คอนี้ต้องตั้งบ่า ยืดกายให้ตรง ประการแรกให้ยืดกายให้มันตรงซะก่อน อย่าไปหลังให้ค่อมหลังงอ มันนั่งได้ไม่นานหรอกเดี๋ยวมันก็ปวดหลัง มันนั่งไม่นานหรอกเดี๋ยวมันก็หลับ เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัตินั้นเราไม่ได้หมายถึงสมาธิ คือความสงบความสุขแต่เพียงอย่างเดียว เราหมายถึงสติสัมปชัญญะ เราจะไม่เอาสมาธิเกินหน้าเกินตาสติ เราเอาสตินำหน้าสมาธิ โดยมีสมาธิเป็นฐานของสติ ตัวสตินี่คือตัวปัญญาอย่างแท้จริง สำหรับบุคคลที่ต้องการความสุขทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอาจจะสิ้นภพสิ้นชาติในปัจจุบันชาตินี้ก็ได้ หากมีความเพียรพยายามอย่างยิ่งโดยการเพียรเป็นปกตินิสัย จากนิสัยให้เป็นขันธสันดานประพฤติปฏิบัติด้วยทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ประพฤติปฏิบัติด้วยทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นที่สุด
     
  9. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    ดังนั้นในการมาทำความเพียรครั้งนี้ก็ขอให้ตั้งใจว่าลมหายใจของเราที่มีอยู่ เราต้องทำความเพียรพยายามโดยให้ลมหายใจของเรานี้ให้มีค่ามีราคา เราจะมีลมหายใจเข้าหายใจออกกันอีกสักกี่ครั้งเชียว เวลาที่ล่วงเลยมาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เราหายใจทิ้งหายใจขว้างกันมามากแล้ว วันหนึ่งวันหนึ่งเราหายใจทิ้งหายใจขว้างเป็นเวลาเท่าไหร่ ลองเอาจำนวนปี จำนวนเดือน จำนวนวันคูณไปซิ มันน่าใจหาย เพราะว่าลมหายใจทั้งเข้าทั้งออกนั้น เป็นลมหายใจที่จะสร้างบุญสร้างกุศลได้ ก็เพียงคือ ลมหายใจเข้าให้นึกว่า “ พุทธ “ ลมหายใจออก ให้นึกว่า “ โธ “ ใครที่นึกให้ได้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นบุคคลที่เพียรพยายามทำสติ ทำสมาธิไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการทำความเพียรของเราขณะนี้ จิตของเราอย่าส่งออกไปข้างนอก พยายามสงบรู้อยู่ที่กายที่ใจของเรา ฟังกระแสเสียงให้ฟังสงบรู้อยู่ข้างใน ในขณะที่ฟังอยู่ลมหายใจและองค์บริกรรมภาวนานั้นจำเป็นต้องมีอยู่ด้วย เพื่อการมั่นอกมั่นใจว่าการฟังนั้นเป็นการดำรงสติในปัจจุบัน ผู้พูดนั้นก็พูดภาษาธรรมนั้นในปัจจุบันอารมณ์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นบุคคลที่ทำจิตอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ ผู้พูดก็พูดอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ การฟังธรรม มันจึงจะเข้าใจ แต่ถ้าผู้พูดพูดอยู่ในปัจจุบัน แต่ผู้ฟังเคลื่อนจิตออกไปสู่อดีตหรืออนาคตย่อมฟังธรรมไม่รู้เรื่อง ดังนั้นการมาฟังธรรมในที่นี้ก็เพื่อที่ว่าจะต่อยอดการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นให้ดีงาม ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือการเจริญอานาปานสตินั่นเอง คือลมหายใจเข้าก็รู้ชัด ลมหายใจออกก็รู้ชัด ลมหายใจเข้าให้นุกว่าพุทธ ลมหายใจออกให้นึกว่าโธ พุทธกับลมหายใจ ให้แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จิตของเรานั้นให้มาจับลมหายใจให้ได้ เมื่อพุทธโธ กับลมหายใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจิตแล้ว สมาธิกับสติย่อมเกิดขึ้นกับบุคคลผู้นั้น บุคคลผู้นั้นถือว่าสมารถดำรงสติอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้ส่งจิตออกนอกกายนอกใจ ไปอยู่ที่ในอดีตหรือในอนาคต


    เพราะฉะนั้นช่วงเวลาที่นั่งอยู่นี้จะเป็นช่วงเวลาที่นั่งและฟัง แล้วนำธรรมนี้ไปประพฤติปฏิบัติอยู่ที่บ้านได้ นี่ถือว่าเป็นการมาหาทุนในการที่จะต่อยอดในการทำบุญ อยู่ที่ไหนก็สามารถที่จะทำบุญได้ตลอดเวลา บุญนั้นอยู่ในอิริยาบถทั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน เราทำได้ทั้งหมด กิเลสก็สามารถเข้ามาได้ทั้งสี่อิริยาบถ ดังนั้นถ้าใครมาทำความเพียรแล้ว ยังคิดว่าการมาทำความเพียรนี้ ต้องอยู่มนท่านั่งหลับตา แล้วก็บริกรรมภาวนา นั่นก็ถือว่าขาดทุน นั่นก็หมายถึงว่าเรากันกิเลสได้เพียงแค่หนึ่งอิริยาบทเท่านั้นเอง อีกสามอิริยาบทเราขาดทุนเพราะว่ากิเลสนั้นมันเข้ามาทั้งสี่อิริยาบท ดังนั้นการทำความเพียรนี้จะบอกว่า การทำความเพียรทั้งสี่อิริยาบถนั้นทำสติอย่างไร ตอนนี้พยายามทำลมหายใจเข้าให้รู้ชัด ลมหายใจออกให้รู้ชัด อย่ามีความลังเลสงสัยว่าขณะนี้เราหายใจเข้าหรือหายใจออก ให้ถูกต้องแม่นยำเสียงอื่นอย่าสนใจ จงสนใจภาษาธรรม อันนี้ธรรมรส ใครได้ฟังแล้วมีปิติธรรมคือจะเกิดความซาบซึ้งในธรรมขึ้นมา เพราะว่าผู้พูดก็พูดอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ มีจิตใจที่ต้องการให้ทุกคนนั้น ให้ได้รู้ได้สัมผัสธรรมที่ได้เพียรประพฤติปฏิบัติมา มิได้แสดงตัวว่ามีคุณธรรมเหนือใคร แต่อยากจะแบ่งปันประสบการณ์แห่งการประพฤติปฏิบัติ ให้พวกเราได้มีแนวทางในการเลือกประพฤติปฏิบัติให้ดียิ่งขั้น ให้มีความเพียรยิ่งขึ้น เพราะว่าเรานี้มีอายุมากแล้ว เข้าสูวัยปัจฉิมวัย เรายิ่งจะต้องเร่งทำความเพียร ไม่เช่นนั้นเราก็จะตายไปเสียเปล่าๆ โดยที่ไม่สามารถที่จะได้สัมผัสธรรมที่แท้จริง
     
  10. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    a.jpg

    การทำความเพียรที่ทำกันแบบเอาความตายเข้าแลกนั้นเขาทำกันอย่างไร การทำความเพียรอย่างนี้ต่อให้ 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง ยังน้อยไป วันทั้งวันเรามี 24 ชั่วโมง จะทำความเพียรกัน 3-4 ชั่วโมง แค่นี้ก็ว่ายากแล้ว แต่ถึงแม้จะทำได้จริงๆ ก้เถอะลองคิดดู 24 ชั่วโมง หักเวลานอน อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำวัดหรือนอนนั่นเอง 4 ชั่วโมงต่อวัน หักไปแล้วเหลือ 20 ชั่วโมง เราทำความเพียร 3 ชั่วโมง อีก 17 ชั่วโมง นั้นเป็นเวลาที่กิเลสเข้ามาทำงานในหัวใจของเรา 17 ชั่วโมง กับ 3 ชั่วโมงในการทำความเพียรนี้มันจะพอมั๊ย บอกได้เลยว่า ไม่พอ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟไฟที่กำลังเผาใจของเราอยู่ตลอดเวลาขณะนี้คือไฟสามกองนั่นเอง ไฟสามกองคือไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ นั่นเอง เราเกิดมาต้องทุกข์ระทม หม่นหมอง เศร้าอก เศร้าใจ อันเรียกว่าทุกข์อันเนื่องมาจากไฟสามกองนี่เอง ทำอย่างไรที่เราจะดับไฟสามกองนี้ได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเพียรให้ครบรอบ เหมือนกับการทำความเพียรทั้งสี่อิริยาบถให้มีสติสัมปชัญญะ เพราะเรารู้ว่ากิเลส ตัณหา อุปาทานทั้งหลายนั้น มันเข้ามาทั้งสี่อิริยาบถ เพราะฉะนั้นจงตั้งใจว่า การทำความเพียรทั้งสี่อิริยาบนี้ที่จะต่อสู้กับมารยาของกิเลสที่ทำงานบนหัวใจของพวกเรานี้มันเข้ามาอย่างไร และเราจะต้องทำอย่างไรบางคนมีอาการของการง่วงเหงาหาวนอน ขอแนะนำว่าขอให้วางลมหายใจชั่วขณะหนึ่ง และเร่งองค์บริกรรมภาวนาให้ถี่ๆ พุทธโธ พุทธโธ พุทธโธ พุทธโธ พุทธโธ พุทธโธ (พูดเร็วๆ )ขอให้ตั้งสติ ถ้าไม่มีสติ ไม่รู้จิตหายไปไหน ใจหายไปไหน อย่างนี้ไม่เชื่อว่าเป็นการทำความเพียร เขาเรียกว่านั่งหลับ กุศลก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นแก่เราได้

    การที่ทำความเพียรเขานับเอาที่การทีมีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้อาการของกาย ว่ากายขณะนี้มันยงคงตั้งตรง เหยียดตรงอยู่หรือเปล่า หรือว่ามันนั่งหลังงอโยกเยกไปมา ต้องมีการรู้สภาพของกายว่ากายนี้มีอาการมั่นคงตั้งตรงอยู่ เพราะกายนี้แหล่ะจะเป็นที่ตั้งของจิต หากกายนี้โยกเยก จิตนี้ก็ไม่สามารถที่จะตั้งมั่นคง สมาธินี้ก็ไม่สามรถที่จะตั้งได้เลย
    เพราะฉะนั้นต้องจำเป็นที่จะต้องตั้งกายให้มั่นคงให้ได้ เพราะกายนี้แหล่ะที่จะเป็นที่ตั้งของจิต กายนี้แหล่ะเป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นที่ระลึกของสติ กายนี้สำคัญ ให้รู้ว่ากายนี้สำคัญพอๆ กับจิต แม้ว่าการประพฤติปฏิบัตินี้เป็นการประพฤติปฏิบัติทางจิต กายก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เค้าอาศัย 2 สิ่งคือ กาย กับ ใจ นั่นเองใครมีกายกับใจอยู่ด้วยกันจึงจะมีพลัง จึงจะเป็นทางแห่งการสร้างบุญสร้างกุศลอย่างแท้จริง หากนั่งอยู่อย่างนี้ จิตไปอยู่ที่บ้าน จิตไปอยู่ที่อดีต อนาคต ห่วงลูก ห่วงหลาย อยู่อย่างนี้ จิตดวงนี้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบันอารมณ์ ย่อมฟังธรรมไม่เข้าใจ ย่อมไม่มีหลักในการนำไปประพฤติปฏิบัติที่บ้านได้ ฉะนั้นขอพยายามให้แยกสติกลับคืนมาโดยการเร่งองค์บริกรรมภาวนาสำหรับคนที่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนอยู่นี้ จะไม่มีสภาพใดๆ เกิดขึ้นว่า เสียงภายนอกนี้เขาพูดว่าอย่างไร วันนี้เป็นวันสำคัญเนื่องจากเป็นวันมาฆบูชา ก็ถือว่าเป็นบุญของพวกเรา ที่ได้มีโอกาสมาประพฤติปฏิบัติธรรม อยู่ที่ลานธรรมอรหันตาหน่อแก้วฟ้าโพธิญาณนี้ เพราะฉะนั้นขอให้พยายามตั้งสติให้มันได้ เพื่อจะได้นำหลักของการประพฤติปฏิบัตินี้ ไปประพฤติปฏิบัติได้
     
  11. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    ทีนี้เรามาพูดถึงการทำความเพียรในท่ายืน ท่าเดิน อีก 2 ท่า ไปพร้อมๆ กัน เพราะว่าคนเราท่ามันจะเดินมันก็ต้องยืนก่อน เพราะฉะนั้นท่ายืนและท่าเดินนั้นมันจะร่วมๆ กัน ถ้าเราพุดถึงท่าเดิน มันก็เหมือนกับพูดถึงท่ายืนเช่นเดียวกัน การที่จะกำหนดสติในการที่จะเดินนั้นเราทำกันอย่างไร 1. ก้าวขาขวา นึกว่า พุทธ ก้าวขาซ้ายนึกว่า โธ ตามจังหวะขาที่ก้าวไป นี่เขาเรียกว่าท่าการเดินจงกลม ขาขวานึกว่าพุทธ ขาซ้ายนึกว่าโธ ทำอย่างนี้ให้ได้ไม่อยู่ที่บ้านหรืออยู่ไหน ๆ ขึ้นชื่อว่าเดิน เราจะไม่เดินเปล่าๆ ให้กำหนดพุทธโธ ตามจังหวะขา ตามจังหวะขาที่ก้าว ช้าบ้างเร็วบ้าง หากเดินเร็วสติของเราก็ตื่น หากเดินช้าความง่วงเหงาหาวนอนอาจจะมาเข้ามาแทรกซึมในจิตในใจของเราก็ได้ ผู้ปฏิบัติหากมีสติสัมปชัญญะแล้วย่อมรู้เนื้อรู้ตัวว่า ในขณะนี้เราอยู่ภายใต้อำนาจของความง่วงเหงาหาวนอนหรือเปล่า หรือว่ามีสติดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตัวนี้แหล่ะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญของสติที่จะบอกเราว่า เราควรที่เร่งความเร็วแห่งเท้าหรือว่าจะเดินตามปกติ หากมันง่วงนอนมาก ๆ พยายามสืบเท้าเร็วๆ หรือว่าขาขวา นุกว่า “ พุทธโธ “ ขาซ้ายนึกว่า “ พุทธโธ “ เพื่อที่ว่าจะเร่งจังหวะ ของความเร็วให้มันเร็วยิ่งขึ้นเพื่อว่าสติของเรานั้นมันจะได้ตื่นขึ้นมาคำว่าตื่นนี้หมายถึง “ สติ “ สตินี้หมายถึงความระลึกรู้ “ สัมปชัญญะ “ คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เพราะฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำอย่างนี้ทุกครั้งขึ้นชื่อว่าเดินจะไม่เดินเปล่า ใครที่ทำได้อย่างนี้ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นบุคคลที่ทำความเพียรอยู่ตลอดเวลาหรือบางครั้งบางคราว เราจะทำความเพียรในลักษณะที่ว่ากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจเข้านึกว่าพุทธ ลมหายใจออกนึกว่าโธ ๆๆๆ เราก็สามารถที่จะทำได้เช่นเดียวกันใครที่ทำได้เช่นนี้โดยมีองค์บริกรรมภาวนาแนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับลมหายใจเข้าลมหายใจออกแล้ว เรียกว่าเป็นความเพียรอย่างยิ่ง

    เพราะฉะนั้นใครที่สามารถทำความเพียรโดยใช้องค์บริกรรมภาวนทั้งลมเข้าลมออกเสมอซึ่งลมหายใจ ทำ 17 ชั่วโมง มีสติทั้งลมหายใจเข้าลมหายใจออก 17 ชั่วโมง ได้ขึ้นชื่อว่าทำความเพียร 17 ชั่วโมง บวกกับความเพียรอีก 3 ชั่วโมง ได้ชื่อว่าทำความเพียรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยของเรา ความเพียรของเราเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นเวลาหลับ ความดีของเราจำเป็นที่จะต้องทำให้ได้ ถึงขณะนี้เราต้องพยายามพลิกวิกฤตให้มาเป็นโอกาสให้ได้ ส่วนที่เราเสียไปมันเสียไปมากเสียเหลือเกิน ในความเพียรที่เราจะได้นั้นมันได้มาไม่กี่ชั่วโมง ทำความเพียรกัน 3 ชั่วโมง ยังทำความเพียรกันแทบไม่ได้อยู่แล้ว ยังต้องมาเสียเวลาอีก 17 ชั่วโมง ที่เราไม่ได้กำหนดสติ กำหนดรู้ เพราะว่าอะไร เพราะว่าเราคิดไม่ถูก เห็นไม่ถูกตามความเป็นจริงว่า การประพฤติปฏิบัตินั้น ต้องมาที่วัดที่วา การประพฤติปฏิบัติต้องเป็นท่านั่งหลับตาอย่างเดียว จริงๆ แล้วการที่เราหาอยู่หากินในระหว่างวันนั้น เราก็สามารถที่จะทำความเพียรได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่าเรามีลมหายใจมิใช่หรือลมหายใจนี้ ไม่ว่ามันจะยุ่งเหยิงอย่างไร มันก็ยังหายใจอยู่ แม้ว่ามันจะเจ็บป่วยอย่างไรถ้ามันไม่ตายซะก่อนมันก็ยังหายใจอยู่ แม้กระทั่งเวลานอนมันก็ยังหายใจอยู่ ตลอดเวลานี้ลมหายใจมันทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เห็นมั๊ย ลมหายใจนี่แหล่ะมีความดีขนาดไหน ลองพิจารณาดู จึงบอกได้ว่า ใครที่สามารถทำความเพียร ได้เสมอลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้สืบเนื่องตลอดเวลา บุคคลผู้นั้นสามารถตกกระแสพระนิพพานขั้นหนึ่งขั้นใดได้โดยง่าย เพียงเพียรตลอด กิเลสมันก็เข้ามาตลอดเช่นเดียวกัน หากเรามีสติสัมปชัญญะอย่างนี้แล้ว จะเอากิเลสหน้าไหนที่จะเข้ามาสู่กายสู่ใจของเราได้หล่ะ นี่เขาเรียกว่าเป็นการระงับดับไฟ ไฟ 3 กอง ที่มันคอยแผดเผาใจของเราอยู่ตลอดเวลา
     
  12. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    a.jpg

    การทำมาหากินทางโลก อย่าถือว่าเป็นการหากินทางโลกเสียอย่างเดียว หากเป็นบุคคลที่ฉลาดต่อการหาอยู่หากิน มีความฉลาดต่อทางโลก ก็ให้มีความฉลาดทางธรรมเช่นเดียวกัน อย่าให้ได้ชื่อว่าฉลาดในการหาทรัพย์สินเงินทองทางโลก แต่ไปเสียประโยชน์ทางธรรม เขาเรียกว่าควรจะให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม การทำมาหากินอย่าคิดว่าทำงานแต่ทางโลกอย่างเดียวการทำมาหากินทางโลกก็ยังมีการหายใจเข้าหายใจออกมิใช่หรือ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ทำไมไม่กำหนดองค์บริกรรมภาวนา ไปพร้อมๆ กับลมหายใจ ไปพร้อมๆ กับการทำมาหากินของเราหล่ะ จะได้ไม่ต้องมาบ่นว่า ยุ่งกับการทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเลี้ยงครอบครัว อ้างไม่ได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่ามันหายใจตลอดเวลา ความเพียรย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาสำหรับบุคคลที่มีจิตใจตั้งใจทำความเพียรจริงๆ สามารถทำความเพียรได้หากมีความตั้งใจ อาศัยสตินั่นแหล่ะจะเป็นตัวเตือนเราว่าอย่าหายใจทิ้งขว้าง หายใจเข้าหายใจออกให้มันมีราคาแก่เรา เพราะว่าลมหายใจของเรานี้มันจะตั้งได้สักกี่เวลา อย่าพูดว่าพรุ่งนี้ มะรืนนี้ การประพฤติปฏิบัติ รอว่าพรุ่งนี้ก็ยังชื่อว่าเป็นบุคคลที่ยังประมาทอยู่ เพราะว่าอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้านี้เราอาจจะตายก็ได้

    ฉะนั้นการทำความเพียรอย่ามัวผัดวันประกันพรุ่งว่าพรุ่งนี้ ไม่ไหวแล้ว เพราะวันนี้เหนื่อยมาทั้งวันตื่นนอนมาตี 4 ตี 5 เพื่อมาเตรียมสำรับกับข้าวให้กับครอบครัวหรือส่วนหนึ่งปันมาเพื่อทำบุญทำกุศลเพื่อเป็นกรค้ำจุนพระพุทธศาสนา อ้างไม่ได้ เพราะถือว่านั่นเป็นภาระหน้าที่ของเราที่เราพึงกระทำ เพราะว่าเราเป็นพุทศสนิกชน เราจำเป็นที่จะต้องบำรุงทำนุพระพุทธศาสนา สำหรับสมณะที่เป็นผู้ทรงดำรงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ห่มผ้ากาสาวพัตร์ แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเรียกว่าพระสงฆ์ พุทธศาสนิกชนจำเป็นต้องสนใจเรื่องอาหารขบฉันท์ หยูกยาทั้งหลาย ที่จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พระสงฆ์องค์เจ้านั้น ดำเนินศาสนกิจให้เจริญสืบเนื่องต่อไปยังลูกยังหลานให้ได้ นี่เรียกว่าถ้ารู้จักหน้าที่แล้ว เราทำหน้าที่ของเรา แต่เราก็ไม่ทิ้งความดีของเราที่เป็นอริยทรัพย์ที่เป็นทรัพย์ที่เราสามารถทำได้ก็คืออาศัยกายและใจของเรานั่นเอง
    กายและใจจึงถือว่าเป็นยอดแห่งของที่มีค่าทั้งหมดในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่มีค่ามีราคามากกว่าลมหายใจ มาหกว่ากายละจิตของเรา เหตุก็เพราะว่ามีลม มีกาย มีจิตนี่แหล่ะ เป็นสิ่งที่นำพาความอยู่ดีมีสุขเป็นสิ่งที่นำพาซึ่งแก้ว แหวน เงิน ทอง เสื้อผ้าทั้งหลายนั้น ให้เรามีเครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกาย กันร้อน กันหนาว กันแดด กันเหลือบ ไร ทั้งหลาย เราหามาได้เพราะว่าเรามีกายกับใจของเรานี่เอง

    แต่เราก็คิดว่าสิ่งที่หามาได้นั้นก็เนื่องมาด้วย “ ตัวกู “ คำว่าตัวกูนี่มันมาครอบครองกายและจิตเลยไม่เห็นความสำคัญของของกำลังกายกำลังจิตที่กำลังกระทำอยู่ เพราะว่าอะไร เพราะว่าเนาองด้วยความผิดเห็นผิด ไม่ตรงกับความเป็นจริง มันก็เลยมองหาแต่ประโยชน์ข้างนอก กอบโกยเข้ามาใส่กายใส่ใจตน คิดวาข้างนอกนั้น นอกกายนอกใจนั้น จะประเสริฐกว่าจะดีกว่าการและใจของตน มันจึงพยายามเคลื่อนจากปัจจุบัน ก็คือเคลื่อนจากกายและใจของตนนั่นเอง ไปหาที่อดีตและอนาคต จริงๆ แล้วมันเคลื่อนไปหาเอาเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต จริงๆ แล้วมันเคลื่อนไปหาเอาฟืนเอาไฟ คือไฟ 3 กองนั้น มาทับถมกายและใจของตนต่างหาก กายและใจของตนนั้นก็ยังมีไฟ 3 กอง รออยู่ตลอดเวลา ตลอดเวลานี้เรามีความคิดความเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเต็มไปด้วยความคิดความคิดนี่แหล่ะที่เราเรียกว่า “ จิตสังขาร “ จิตสังขารความคิดทั้งหลายมาสู่ใจตนตลอดเวลา แต่เราก็มองไม่เห็น เราคิดอย่างนี้ เราคิดว่าเราเป็นผู้มีปัญญา เราคิดแล้ว เราก็ได้ทรัพย์สินเหล่านั้นมา เราก็มีความลำพองใจ เพราะอำนาจการเป็นตัวกูของกูเท่านั้นยังไม่พอ ตัวมานะทิฐิว่าข้าดีข้าเก่งประเสริฐกว่าใคร ข้ามีฐานะดี นี่แหล่ะ มันเข้ามาอย่างนี้ เพราะว่าอะไร เพราะว่ามันไปแสวงหาสิ่งที่อยู่ข้างนอกว่ามันดีกว่ากายกว่าใจ ของตน แต่กายและใจตนนี้ที่นำพาทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้มา มันไม่ได้สนใจที่จะมาดูแลร่างกาย
     
  13. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    a.jpg

    คำว่าดูแลเราจะดูแลกันอย่างไรในเรื่องของกายและใจของเรา ก็ต้องพยายามเอาใจของเรานี้อยู่ในกายของเรานี้ เอากายนี้แหล่ะ เป็นที่คุมขังของจิตหากจิตมันพยายามที่จะส่งจิตออกไปข้างนอก ก็ต้องวาง “ อุเบกขา “ ใจที่มันดิ้นรนที่จะออกไปข้างนอกนั้นอย่าให้มันออก เอากายเป็นที่คุมขังของจิต หากมันอยากจะออกจริงๆ ก็ต้องวางอุเบกขา ใจมันจะได้ไม่ต้องดิ้นรน สภาพสุขสภาพทุกข์มันก็จะได้ไม่เกิดขึ้นในกายในใจของเรานี้ นี่เค้าเรียกว่าเพียรพยายามหันมาดูแลกายและใจของคน เพราะว่านี่แหล่ะที่จะต้องตอบแทนกายและใจ เพราะว่าเราได้ทุกสิ่งทุกอย่างบ้านช่องห้องหอ ทุกสิ่งทุกอย่าง ลูก สามี ภรรยา ก็เนื่องด้วยกายด้วยใจนี่เอง หากไม่มีกายและใจแล้วเราจะได้สิ่งเหล่านี้มาได้อย่างไร ดังนั้นพยายามให้นึกถึงกายและใจ หันมาดูแลกายและใจที่มันแห้งเหี่ยวอยู่บ้าง อย่าไปส่งจิตออกนอกกายนอกใจมัน ไม่ใช่ความสุขอย่างแท้จริง พยายามเอาจิตนี้อยู่ที่กายของเรา พยายามเอาจิตนี้อยู่ใน “ ป่ามหานครกาย “ ของเราว่ากายนี้มันตั้งอยู่ไม่นาน ไม่นานมันก็ต้องแตกสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติคือความเป็น ธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง

    ทำอย่างไรถึงจะมองได้อย่างนั้น มันมองไม่ได้เพราะว่ายังไม่รู้จักทุกข์ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างตอนนี้มองได้เพราะอำนาจการเป็นตัวกูของกูทั้งนั้น มันยังไม่สามารถสละอำนาจความเป็นตัวกูของกูไปได้ เพราะเป็นอำนาจกิเลสที่มันครอบงำจิตใจของเรานั่นหล่ะ ใจนี้มันก็เลยหมายว่ากายนี้ก็เป็นของมัน ใจก็เป็นของมัน ทั้งๆ ที่ทั้งหายและใจไม่เป็นของใครทั้งสิ้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของ กายและใจก็ไม่รู้ว่าใครเป็นของมัน ใครเป็นหัวหน้าใคร ไม่มี ในโลกนี้ไม่มีใครที่จะเป็นของใคร เป็นก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน คนละก้อนกันเท่านั้น ไม่มีใครเป็นของใคร ไม่มีใครถูกเป็นของใครแต่อย่างใด สิ่งที่เป็นของเรามันก็ไม่ใช่ของเรา

    คือกายของเรานี้ประกอบด้วยมหากุตรุ 4 คือ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง หากไม่เห็นตามความเป็นริงอย่างนี้ มันก็ไม่สามารถเข้าไปพิจารณาป่ามหานครกายให้เห็นตามความเป็นจริงได้เลย ความรู้ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงย่อมปรากฏแก่จิตใจของบุคคลผู้นั้น ย่อมหนีไม่พ้นจากวัฏวนคือการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง การที่ชำระหรือตัดทอนภพชาตินั้นจำเป็นที่จะต้องรู้อยู่ที่กายของตนให้ได้ถ่องแท้ ไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาหรือไปรู้เรื่องกายของผู้อื่น ไม่จำเป็นที่จะต้องไปรู้จิตใจของผู้อื่นแต่ประการใด เพราะว่าทุกคนนั้น ไม่ว่าหญิงหรือชายนั้น ประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม เสมอกันหมด ผู้หญิงผู้ชายเสมอกันด้วยความเป็นธาตุ 4 ผู้หญิงผู้ชายเสมอกันด้วยเบญจขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่แหล่ะคือการเดินทางของจิตอย่างแท้จริง แต่การเดินของจิตนี้เป็นลักษณะการเดินของจิตที่ยังมีกิเลสอยู่ก็คือมี “ อุปาทาน “ คือมีการยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งมวล ทำไมเราเรียกว่า“ ทางเดินของจิต “และมีการบอกว่ามีการยึดมั่นถือมั่นด้วยความเป็นตัวกูของกู เหตุที่มีการยึดมั่นถือมั่นด้วยความเป็นตัวกูของกู ก็ด้วยอำนาจของกิเลสที่มันพยายามครอบครองแสดงตัวว่า กายนี้เป็นของมัน จิตนี้เป็นของมัน มันเลยไม่เห็นความเป็นจริงตามธรรมชาติ ธรรมชาติทั้งหมดนี้เค้าเดินกันยังงัย

    ธรรมชาติก็เดินด้วยทิศทางของจิตที่เดินกัน ก็คือเดินตามเบญจขันธ์ นั่นเอง ก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ภูมิจิตของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เวลาท่านเดิน ท่านก็เดินตรงนี้เหมือนกัน แต่เป็นเพียงกิริยาของการเดินของพระอริยะเจ้า ซึ่งปราศจากอาสวะกิเลสแล้ว เพราะว่าอะไร เพราะว่าปราศจากอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
     
  14. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    แต่พวกเรายังมีการยึดมั่นถือมั่นอยู่ เพราะว่าไม่รู้จักเรื่องกายเรื่องจิต เพราะว่าชอบส่งจิตออกนอกไม่อยู่ที่กายที่ใจของเราเลย เราเลยกลายเป็นผู้ที่ไม่รู้ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงตามอริยะสัจสี่ ตามไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเรามีกันถ้วนหน้า ตั้งแต่เกิดจนถึงขณะนี้ว่ามีความดับไปกี่ครั้ง ตั้งแต่เกิดจากเด็กกลายมาเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่กลายมาเป็นคนชรา และท้ายที่สุดแล้วจากคนชราก็ต้องตาย นี่แหล่ะคือทางเดินของไตรลักษณ์ ใดๆในโลกนี้ล้วนอนิจจัง ขึ้นชื่อว่าเกิดแล้วที่ว่าจะไม่ดับไม่มี ขึ้นชื่อว่าเกิดแล้ว ย่อมมีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง ความสูง ความต่ำ ความหนัก ความเบา แห่งสุขเวทนา แห่งทุกขเวทนานั้นย่อมมีความแตกต่างกัน เพราะมันมีความแปรปรวนในท่ามกลางและท้ายที่สุดแล้วมันก็ดับลงไป หาสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา อะไรไม่ได้ ไหนละตัวกูการทำความเพียรนี้ให้รู้ว่า เมื่อนั่งอยู่นานๆ มันย่อมมีความเจ็บปวดใช่ไหม ทำไม่ถึงต้องมีความเจ็บปวดหล่ะ ก็เนื่องด้วยความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวกูนะ มันเนื่องด้วยความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อนั่งอยู่นี้มันมีความแปรปรวน มันไม่ขยับ ธาตุไฟ ธาตุลม มันเดินไม่สะดวก และเราก็ไปเหมาเอาว่า นี่แหล่ะคือเจ็บ นี่แหล่ะคือความทุกข์ นี่แหล่ะคือความไม่รู้ตามความเป็นจริงของเค้า ไม่รู้ความจริงของความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ว่ามันมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ถึงได้บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีความคงเส้นคงวา มีความแปรปรวนไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนทุกสิ่ง ก็ขอให้เข้าใจว่า ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วย ธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม

    หากเรามีสติสัมปชัญญะ พยายามหมั่นศึกษาค้นคว้าในเรื่องของกาย กายของเรานี้แหล่ะเป็นของหนัก เหตุเพราะว่ามีกายนี่แหล่ะจึงเป็นที่ตั้งของนาม ก็คือของสุขของทุกข์นั่นเอง หากว่าไม่มีกายแล้ว จะเอาสุขเอาทุกข์มาแต่ไหนดังนั้นการที่จะดับทุกข์ได้จำเป็นที่จะต้องมารู้กายของตน ว่าคำว่าตัวกูของกู และคำว่าธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้น เรามีความยึดถืออะไรมากกว่ากัน ทุกคนที่นั่งอยู่ในที่นี้ไม่มีคนหรอกบอกว่าไม่เคยเสียใจ ไม่เคยทุกข์ ไม่เคยเจ็บปวด ทุกคนเจ็บปวด ผิดหวัง เศร้าหมอง ด้วยกันหมดทุกคน แต่ก็ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์นั้น ตัวที่เป็นต้นสายปลายเหตุนั้นอยู่ที่ตัวเดียวเท่านั้น คือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ทั้งหลายทั้งมวล มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติของเค้าไม่มีชื่อมีแซ่ใด ๆ

    เหตุที่มันมีมันมีได้เพราะสมมุติบัญญัติที่ตั้งกันขึ้นมา โดยที่เราไปยึดเอาสมมุติบัญญัตินั้นโดยที่ไม่รู้จักวาง วางกันไม่เป็น คำว่าทรัพย์สินเงินทองเราอยากได้มันมาก เรายึดถือมันมาก เรายึดว่าทรัพย์สินเงินทองนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ในการนำพาให้เราเกิดสุข ความสมบูรณ์ แห่งครอบครัวของเรา ทุกคนก็เลยมุ่งไปที่สมมุติบัญญัติที่ทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียงก็คือสมมุติบัญญัติอีกตัวหนึ่งแล้วคุณธรรมไม่มี ทุกคนมุ่งไปที่สมมุติบัญญัติคือทรัพย์สินเงินทอง หากบุคคลผู้นั้นไม่มีคุณธรรม ย่อมใช้เล่ห์เพทุบายไม่คำนึงถึงความถูกต้องศีลธรรมอันดี ผิดศีลก็จะเอา ขอให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่างสมความปรารถนา ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อน ไม่คำนึงถึงความเบียดเบียนผู้อื่นเลย แต่ขอให้ได้มาเป็นของตัวเท่านั้น นี่เขาเรียกว่าคนยึดถือสมมุติบัญญัติเลยข้ามความถูกต้องดีงามไปหากใครที่คำนึงว่าร่างกายของเราพอที่จะเชื่อถือได้ว่าประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว ก็ต้องคิดว่าถ้าเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว และตัวเราอยู่ที่ไหนหล่ะ ถ้าตัวเราไม่มีแล้วของเราจะมีได้อย่างไร ความละโมบโลภมากที่อยากจะได้สมมุติบัญญัติคือทรัพย์สินเงินทอง ที่หมายจะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง ได้เท่าไหร่ไม่รู้จักพอมันจะได้ลดน้อยลงไป ใจที่มันดีดดิ้นอยากได้ทรัพย์สินเงินทองนั้น มันจะได้รับความสุขสงบใจลงได้บ้าง กำลังใจแห่งไฟ 3 กองนั้น มันจะได้ลดความร้อนลงไปได้ ใจที่มันร้อนรุ่มอยากได้ อยากมี อยากเป็นในโลกียะทรัพย์นั้น มันจะได้ถดถอยออกไป ยิ่งมีความรู้ความเข้าใจแล้ว และมีความเข้าอกเข้าใจว่ากายของเราเป็นแต่เพียงธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ได้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมรู้ได้ถึงความเป็นจริงได้อย่างแน่นอน ใครรู้ได้ว่าร่างกายเรานั้นเป็นแต่เพียง ธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ย่อมเข้าใจสมมุติบัญญัติของโลก ว่าทรัพย์สินเงินทองก็เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นมาโดยมนุษย์นี่แหล่ะ สมุมุติบัญญัติขึ้นว่าเงินนั้นเป็นแบงค์ร้อย แบงค์พัน แบงค์ห้าร้อย เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมาทั้งนั้น แท้ที่จริงแล้วมันก็เป็นแต่เพียงธาตุดิน เป็นธาตุดินมา เราไปหาธาตุดินมาแล้วก็สมมุติว่าธาตุดินนั้น เป็นของที่มีค่ามีราคา ถ้าคิดว่ามีค่ามีราคาอย่างนั้น มันก็เลยพยายามที่จะยื้อแย่งเอาทรัพย์สินเงินทอง พยายามที่จะเอาธาตุดินนั่นแหล่ะ แย่งเอาธาตุดินนั้น เราก็เลยเดือดร้อนกันเพราะธาตุดินนี้แหล่ะ
     
  15. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ทำมาหากิน ไม่ให้ทำหน้าที่การงาน เพื่อที่ให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง แต่เพียงจะบอกว่าทรัพย์สินเงินทองนั้นก็เป็นสมมุติบัญญัติรู้จักใช้ รู้จักวาง อย่าให้มันมาก อย่าให้มันมีความต้องการจนเกินเหตุ ตัวนั้นแหล่ะคือฟืนคือไฟที่จะเผากายเผาใจของเราอยู่ตลอดเวลาคือไฟ 3 กองนั่นเอง หากคนที่รู้จักใช้ รู้จักสมมุติบัญญัติ ก็ตามกำลังสติปัญญาของเรา หาด้วยความเป็นธรรม ใจเขา ใจเรา ใครๆ ก็อยากได้ทรัพย์สินเงินทองใครๆ ก็อยากชนะ ใครๆ ก็อยากได้ทรัพย์สินเงินทอง หรือถ้าอยากจะชนะ ด้วยจิตใจที่เป็นธรรม ด้วยจิตใจที่ดีงาม แม้จะแพ้แต่ก็ยังได้ใจ แม้จะเสียใจแต่ก็ยังได้ใจ ใจเราไม่เสียนั้นเป็นบุคคลที่รู้จักรักษาใจหากใจของเราเสียแล้ว ร่างกายของเราก็จะทรุดโทรมเสื่อมโทรม ไปด้วยเช่นเดียวกัน เพราะกายและใจนี้มันอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะเสียอะไรก็ให้มันเสียไปเถิดหากเรื่องนั้นมันมีเหตุมีผลสมเหตุสมผลในการที่จะต้องเสีย ก็ให้เสียด้วยความเป็นธรรม และก็ต้องยอมรับมัน แต่ถ้าเราไม่ยอมรับ เราใช้เล่ห์เพทุบายแล้วเพื่อจะได้ทรัพย์สินนั้นกลับมาเป็นของเราดังเดิมเราก็จะทุกข์ เราก็จะทำการอะไรที่จะเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม

    ดังนั้นการประพฤติปฏิบัตินั้นเราพยายามเพ่งเล็งไปที่กายที่ใจของเรา ใครที่มีสภาพของกายของใจที่อยู่ด้วยกัน มีสติสัมปชัญญะ มีสติระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้านึกว่าพุทธ ลมหายใจออกนึกว่าโธ อยู่ตลอดเวลา บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่ามีสติสัมปชัญญะ มีสติอยู่มนปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา
    คำว่าปัจจุบันอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์สดๆ ร้อนๆ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ สำหรับคนที่มีสติอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ได้จริงๆ ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ ลมหายใจเข้าออกเกิดขึ้นสด ๆ ร้อนๆ ในปัจจุบัน ปัญญาก็เกิดขึ้นได้ตั้งได้ในปัจจุบัน สติตั้งอยู่ได้ในปัจจุบัน มรรคผลนิพพานก็เกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน มันไม่สามารถที่จะไปตั้งอยู่ในอดีตและอนาคตได้ปัญญาทั้งหลายทั้งมวลที่จะเกิดขึ้นมีขึ้นในปัจจุบันทั้งนั้น ใครที่เพียรพยายามจับองค์บริกรรมภาวนา จนมีจิตใจแนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับลมหายใจ ได้ชื่อว่าบุคคลผู้นั้นดำรงจิตอยู่ในปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา จึงได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้มีปัญญา
     
  16. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    ปัจจุบันอารมณ์นี้หมายความว่าอย่างไร ที่บอกว่าปัจจุบันอารมณ์เป็นอารมณ์ที่สดๆ ร้อนๆ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ปัจจุบันอารมณ์นี้หมายความว่าหากผู้ใดดำรงสติสัมปชัญญะได้ชื่อว่าดำรงสติอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ จิตใจย่อมไม่เศร้าหมอง จิตใจเค้าจะไม่มีสุขไม่มีทุกข์อะไรที่ไปนอนเนื่องอยู่ในจิตใจ การตัดสินใจ เมื่อจิตใจอยู่ในความเป็นปกติ เป็นกลางวางเฉย ว่างจากสภาพสุข สภาพทุกข์ เข้าไปนอนเนื่องในจิตในใจแล้ว การตัดสินใจก็ไม่ต้องอาศัยอารมณ์เข้าไปนอนเนื่องในจิตในใจ เราหมายถึงสุขและทุกข์ ก็หมายถึงกิเลสที่จะเป็นตัวชี้นำให้ใจเรานั้นตัดสินใจตามอารมณ์ที่มันนอนเนื่องอยู่ในจิตในใจนั้น ถ้ามันเป็นสุขเราก็พอใจ เราก็เอา ถ้ามันเป็นทุกข์เราก็จะอาศัยอารมณ์ที่มันนอนเนื่องอยู่ในจิตในใจนี่แหล่ะ เป็นตัวชี้ว่าไม่เอา ไม่ตกลง การตัดสินใจอย่างนั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยกำลังสติปัญญาของเรา จึงมีความคิดเห็นผิดอยู่ตลอดเวลา ก็เพราะว่าไปยึดเอาอารมณ์ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตในใจนั้นมาเป็นเครื่องตัดสิน เป็นบุคคลทีด้อยปัญญานั่นเอง

    หากเป็นบุคคลที่ดำรงสติอย่างมีสัมปชัญญะอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ได้ เป็นบุคคลที่ตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำ เพราะไม่มีอารมณ์ใดๆ มาเป็นตัวชี้นำดังแต่ก่อน ถ้าทำได้อย่างนี้เราไม่ต้องไปคำนึงถึงอนาคต อนาคตย่อมไหลมาสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันเรามีสติสัมปชัญญะย่อมตัดสินใจทุกสิ่งทุกอย่างแม่นยำ

    เมื่อมันล่วงไปจากปัจจุบัน กลายไปเป็นอดีต ก็ไม่จำเป็นต้องไปคิดถึงเรื่องอดีตทั้งหลายทั้งมวลแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างตัดสินใจด้วยความมีสติสัมปชัญญะ มีปัญญารู้ตัวทั่วพร้อมแล้ว ไม่ต้องไปโหยหาเรื่องราวในอดีตอีกต่อไป นี่คือความดีของบุคคลที่ดำรงสติอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ได้ ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ เราจะเป็นคนที่รู้จักทุกข์ การที่จะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญา การที่จะรู้แจ้งเห็นจริงได้ก็เพราะเราดำรงสติอยู่ในปัจจุบันอารมณ์ การที่เราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปได้ เราเห็นกันได้อยู่กับปัจจุบันนี่แหล่ะสภาพรู้เกิดขึ้นในปัจจุบันเพราะสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นในปัจจุบัน ใครที่ไม่สามารถดำรงสติอยู่ในปัจจุบันแล้ว ด้วยความไม่มีสติสัมปชัญญะ ย่อมไม่สามารถเข้าสู่ธรรมชาติที่แท้จริงคือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้เลย

    กายของเราก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยธาตุ4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้าจะให้พูดมากว่านั้นคือธรรมชาติประกอบด้วย ธาตุ4 ดิน น้ำ ไฟ ลม และยังมีอากาศธาตุและวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยของ 6 สิ่งนี้เป็นธรรมชาติ เป็นของจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติถ้าเราสามารถเข้าใจตามความเป็นจริงว่ากายของเรานั้นประกอบไปด้วยอะไร ที่มาที่ไปของเรานั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และก็มีความเข้าใจจริงๆ ว่าร่างกายของเรานี้ประกอบไปด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุและวิญญาณธาตุอย่างแท้จริงแล้ว เราจะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นทันที เท่านั้นยังไม่พอ พอเห็นสภาพว่าร่างกายของเรานี้มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ตลอดเวลา สภาพทุกข์คือสภาพที่คงอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนในท่ามกลางและท้ายที่สุดก็ดับไป นี่คือธรรมชาติที่สามารถสัมผัสได้ที่กายที่ใจของเรา นี่คือสภาพเขาเรียกว่าโลกจำลองในแต่ละก้อน ธรรมชาติของแต่ละก้อนคือความเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กันทุกก้อนคนทุกคนนี้เปรียบเสมือนก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดินกันคนละก้อนเท่านั้นเอง ธรรมชาติภายนอกก็เป็นเช่นเดียวกันคืออยู่ภายใต้ธรรมชาติคือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่แหล่ะ เขารียกว่าธรรมชาติอันแท้จริง
     
  17. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    a.jpg

    ธรรมชาติอันแท้จริงในวังวนทั้งหลายเราเรียกว่า “ นามและรูป “ นามคือสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสแตะต้องได้ รูปคือส่งที่สามารถรู้ สัมผัสและแตะต้องได้ ทั้งนามและรูปนี้เรารวมกันแล้วเรียกว่า “ ธรรม “ ธรรมก็คือ ธรรมะนั่นเอง ธรรมะมาจากไหน ธรรมะมาจากธรรมชาติเราจึงบอกว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบธรรมนั้นก็คือค้นพบมาจากธรรมชาตินั่นเอง เราจึงบอกว่าธรรมะนั่นแหล่ะคือธรรมะแห่งชาติ ใครที่ต้องการปฏิบัติเข้าถึงธรรมชาติก็คือต้องปฏิบัติเข้าถึงธรรมะ แต่ธรรมะที่อยู่นอกกายนอกใจนั้น มันประกอบด้วย 2 สิ่งคือ คือสิ่งที่มีสาระและไม่มีสาระ ถ้าเราปฏิบัติตนเข้าสู่ธรรมชาติ ไปตามสิ่งที่มีสาระและไม่มีสาระนั้น ย่อมไม่สามารถเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้เลย การที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้ามาอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นความโชคดีของพวกเราที่พระพุทธองค์สามารถค้นพบธรรมะจากธรรมชาติ เอาทุกสิ่งทุกอย่างที่มีสาระมารวมกันเป็นธรรมหรือพระธรรมนั่นเอง เราไม่ต้องไปเรียนรู้อะไรมากมายแค่ 84000 พระธรรมขันธ์ เท่านั้นเองเราไม่ต้องไปเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มีสาระและไม่มีสาระ เรามาเรียนตรงนี้ที่ 84000 พระธรรมขันธ์ นี่คือสิ่งที่มีสาระทั้งสิ้น 84000 พระธรรมขันธ์ รวมลงตรงไหน รวมลงตรงความเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเองนี่คือธรรมชาติที่แท้จริง เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมเข้าหาธรรมะ เพราะธรรมะก็คือธรรมชาติ เพราะธรรมะเป็นแก่นแท้แห่งธรรม นี่เค้าเรียกว่าเข้าทางถูกเข้าทางตรง ไม่ต้องไปเสียเวลาไปค้นคว้าหาทุกอย่างซึ่งเราจะประสบกับสิ่งที่มีสาระและไม่มีสาระ มันเป็นการเสียเวลา พระพุทธองค์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางแนวทางให้กับพวกเราเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ทรงตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านต้องทรงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปรารถนาโพธิญาณเพื่อที่หวังมาโปรดพวกเราให้พ้นจากทุกข์ ให้มีดวงตาเห็นธรรมเพื่อที่จะได้ตัดภพตัดชาติ คือให้พยายามเจริญสติออกปัญญาให้ได้ บุคคลที่ทำความเพียรไม่ถึงขั้นวิปัสสนาทำได้แค่ ทาน ศีล สมาธิแล้ว หากไม่เจริญวิปัสสนาแล้ว ไม่สามารถที่จะดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง ใครที่มีปัญญาก็พยายามปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างนั้นตามธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีททรงกลั่นกรองทุกสิ่งทุกอย่างตามสติปัญญาของพระพุทธองค์ ให้จงได้อย่างมั่นคงและขอให้มั่นใจว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกได้ตรง ตามศีล สมาธิ ปัญญา คือมัชชิมาปฏิปทาแล้ว ย่อมถึงฝั่งพระนิพพานได้อย่างไม่ต้องสงสัย

    แต่การปฏิบัติธรรมด้วยคือมัชชิมาปฏิปทานั้น เราอย่ามาบอกว่าปฏิบัติธรรม ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน แต่ปราศจากซึ่งความเป็นปกติสม่ำเสมอแล้ว มัชชิมาปฏิปทานั้นไม่สามารถเกิดหรือบรรลุแก่บุคคลผู้นั้นได้เลย เพราะว่าอะไร กำลังจิตกำลังใจไม่ถึง เพราะว่าอะไรเพราะว่าเจ็บนิดเจ็บหน่อยก็ไม่ทำความเพียรเสียแล้ว ร้อนนิดร้อนหน่อยก็ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องเสียแล้ว มักมีข้ออ้างแม้จะบอกว่าปฏิบัติด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา แล้ว มรรคผลนิพพานก็ย่อมไม่เกิดเพราะมัชชิมาปฏิปทาต้องมีห้อยท้ายด้วยว่า ปกติ สม่ำเสมอให้ได้ทุกวัน จึงจะสัมฤทธิผลของมัชชิมาปฏิปทา ที่พระพุทธองค์ได้ทรงรับรองไว้ว่าบุคคลที่ปฏิบัติธรรมตามมัชชิมาปฏิปทาคือ “ มรรคมีองค์แปด” ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว บุคคลผู้นั้น สามารถหยั่งจิตเข้าสู่กระแสพระนิพพานได้ หากไม่สามารถปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ไม่สามารถเข้าทางดับทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้เลย หากอยากพ้นทุกข์ อยากมีสุขทั้งปัจจุบันชาติและอนาคตชาติ ก็ต้องเพียรพยายามรักษาศีล ทำสมาธิให้เกิด เพราะสมาธินี่จะเป็นบาทฐานของปัญญานั่นเอง การปฏิบัติธรรมนี้ย่นย่อมากหากเราปฏิบัติตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระธรรมนั่นเอง
     
  18. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    เราไม่ต้องไปวิ่งค้นหาที่ไหน คือให้เดินรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ หรือเดินรอยตามพระอริยะเจ้า พระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ไม่ต้องมีความคิดเห็นใด ๆเพียงแต่เดินให้ถูกให้ตรงให้รู้ถูกตามความเป็นจริงว่า ในโลกนี้ขึ้นชื่อว่าเกิดแล้วที่ว่าไม่ดับไม่มี ขึ้นชื่อว่าเกิดแล้วที่ว่าไม่ตายไม่มี เราเกิดขึ้นมาพร้อมกับความตาย จงหมั่นพยายามพิจารณาถึงความตายเนือง ๆ เถิด เพื่อที่จะไปตัดกำลังของไฟ 3 กองนั้นให้ได้ แม้ว่ายังไม่เข้าถึงกระแสพระนิพพานเพียงใด แต่การเพียรระลึกรู้ถึงมรณานุสสติคือความตายนั้นย่อมตัดกำลังความร้อนแห่งไฟ 3 กองนั้นได้มันจะได้ทุเลาเบาบางพอที่จะได้มีความเย็นกาย สุขใจได้บ้าง เราอย่าเพียงคิดว่าเรายังมีลมหายใจอยู่ยังไม่ตาย ไม่ว่าจะอายุมากขนาดไหนก็ยังปรารถนาความมั่งมีศรีสุข ปรารถนาทรัพย์สินเงินทองอยู่ลอดเวลา อยากจะทำโน่นทำนี่ ให้เกิดมีซึ่งทรัพย์สนเงินทอง ปรารถนาซึ่งลาภสักการะทั้งหลาย ยังไม่หยุด หยุดกันไม่เป็น พอกันไม่เป็น มันจึงต้องทุกข์ตั้งแต่เกิดยันตาย หายใจกันจะอีกสักกี่ครั้งเชียว หายใจกันขณะนี้สิ้นเปลืองกันไปเท่าไหร่แล้ว บุคคลที่หายใจเข้าหายใจออก ถ้าไม่รู้สภาพของลมหายใจเข้าหายใจออกแล้วหาบุญหากุศลไม่ได้ เพราะว่ามันไม่มีสติสัมปชัญญะพูดมาตั้งแต่ต้นมาถึงขณะนี้ใครสามารถเข้าใจ ตั้งแต่ต้นจนจบก็ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้นั้นมีสติสัมปชัญญะสืบทอดตลอดสายตลอดเวลา บุญเกิดขึ้นแล้วตลอดเวลาในขณะนั้น หากใครจับต้นชนปลายไม่ได้ไม่มีความเข้าใจ ก็ชื่อว่าขาดสติ ฟังในขณะนี้ใช้เวลาชั่วโมงกว่าแล้ว ใครตั้งสติได้ 5 นาที ก็ชื่อว่าทำความเพียรได้ 5 นาที คนอื่นเค้าได้เป็น 1 ชั่วโมง 15 นาที แล้ว ถ้าเค้าตั้งได้ตลอดเวลา ต่างกันนะ

    มานั่งรวมลงอยู่ในสถานที่เดียวกัน ฟังธรรมกับบุคคลคนเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน แต่ทำไมบุญนั้นจึงมีความแตกต่างกันอย่างนี้ ไม่เป็นธรรมนี่ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความเพียรที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ เราไม่เรียกว่าความเพียร ต่อให้ทำทั้งวันทั้งคืนเถิด หากไม่มีสติสัมปชัญญะไม่เรียกว่าทำความเพียร ย่อมหาบุญหากุศลอะไรเกิดขึ้นไม่ได้เลย

    คนที่มีความเจ็บปวดนั่งอยู่ในขณะนี้เค้าเรียกว่าธาตุแปรปรวน จะขยายความว่าถ้ามันแปรปรวนแล้วเราประสบกับความเจ็บปวดของขาของแข้ง จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม มันแปรปรวนต่างหาก ใจที่มันนอนเนื่องอยู่มันไปยึดเอาอวิชชาเป็นของมัน มันบอกว่ากายนี่เป็นของกู ครั้งความเจ็บปวดนั้นคือความแปรปรวนของ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้นเกิดขึ้น มันก็ไปเหมาเอาว่านี่แหล่ะคือความเจ็บปวดของกู
    แต่การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราจำเป็นที่จะต้องแยก“ จิตส่วนจิต กายส่วนกาย “แยกกันให้ออก หน้าที่ของเราคือพยายามตั้งองค์บริกรรมภาวนาให้แนบแน่นกับลมหายใจ พยายามให้แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อจิตมันจับองค์บริกรรมภาวนาและลมหายใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว แม้ว่าจะมีความเจ็บปวดของสังขารร่างกายเรา หากจับพุทธโธได้แล้ว ความเจ็บปวดก็จะทุเลาเบาบางไปหรือจะหายไปในที่สุดหากจับพุทธโธไม่ได้มันก็จะไปจับเอาความเจ็บปวดนั่นแทน ความเจ็บปวดจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเพราะอะไร เพราะว่าเราเอาจิตไปเพ่งดูมัน จึงบอกว่าหน้าที่ของเราคือเพียรตั้งองค์บริกรรมภาวนา หน้าที่อย่างอื่นนั้นไม่ใช่ของเรา อย่าไปสนใจอาการของกายเพราะกายไม่ใช่ของเรา กายส่วนกาย จิตส่วนจิต แยกกันให้ได้อย่างนี้ พยายามตั้งสติให้ได้ เอาสติมาคุมจิตจึงจะได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะ ให้เอาสติมาคุมจิต จิตจึงจะมีพลัง จึงจะได้ชื่อว่ามีจิตอยู่เหนือทุกขเวทนา เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำอย่างนี้ เพราะมันมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงสำหรับนักปฏิบัติธรรม ไม่นำพาประโยชน์เปล่าๆ หรอกมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ทำไมถึงว่าอย่างนั้น
     
  19. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    หากเราสามารถทนต่อความเจ็บปวดไม่ไปขยับมัน เราจะเห็นความเกิด ความดับ ความทุกข์นั้น ความเจ็บปวดนั้น ที่สุดของความเจ็บปวดนั้นถ้าเราไม่ไปสนใจมัน มีความอดทนคือการพยายามสร้างขันติบารมี มีความเจ็บอย่างยิ่งก็คือการสร้างวิริยะบารมีของเรา เพียรให้มีสัมมาสติ เพียรให้มีสัมมาสมาธิ ได้ชื่อว่าบุคคลที่มีความเห็นถูกคือมีสัมมาติคือบุคคลที่รู้ถูกตามความเป็นจริงด้วย คือรู้เหตุรู้ผล รู้ถึงความดับทุกข์ ดับอย่างไร คือดับที่เหตุนี่คือสัมมาทิฐิ ถ้าเรามีวิริยะบารมี ขันติบารมีแล้ว เราจะเห็นความทุกข์หรือความเจ็บปวดนั้น ไม่ว่าความเจ็บปวดนั้นเจ็บปวดอย่างไร ที่สุดแล้วมันก็ดับ หากเรามีขันติบารมีเหนือกว่ามัน เราจะได้เห็นความเกิดดับแห่งทุกขเวทนานั้นๆ แต่ถ้าเราอ่อนแอกว่ามัน เรานี่แหล่ะจะแสดงท่าถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้ง แพ้กันมาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา เราจึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ยังงัย เพราะว่าเราไม่เคยชนะความเจ็บปวดตรงนี้ซักที หากใครทนได้ที่สุดแห่งความเจ็บปวดแล้วมันต้องดับ เพราะความอดทนของเรานั้นสูงกว่ามัน ไอ้ความเจ็บปวดนั้นก็ เลยแสดงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอทุกข์ดับไปสุขก็เกิดขึ้น สุขตั้งได้ไม่นาน ทุกข์ก็เกิดขึ้น สุขทุกข์มันเกิดขึ้นที่เดียวกันนั่นแหล่ะ

    เราจึงบอกว่าทั้งสุขและทุกข์เป็นตัวเดียวกัน หากไม่อยากทุกข์อีกต่อไปอย่าไปดิ้นรนไปกอดเอาสุข เพราะสุขก็คือทุกข์ ทุกข์ก็คือสุขนั่นเอง จงพยายามวางจิตวางใจให้เป็นกลางวางเฉย ไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปตดฝั่งขวา จงวางจิตให้เป็นกลางๆ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในสุขหรือทุกข์อีกต่อไป หากใจของเราเป็นกลางๆ เป็นอุเบกขา ไม่ไปติดฝั่งสุข ไม่ไปติดฝั่งทุกข์แล้ว จิตของเรานี้ย่อมไหลไปสู่ทะเลหลวงอันหมายถึงพระนิพพานนั่นเอง ถ้าเราทำไก้อย่างนี้สามารถมีความอดทนเหนือทุกขเวทนา มีจิตเหนือทุกขเวทนา ครั้นเมื่อเราจะเข้าไปสู่วาระสุดท้ายของเรา ความตายนี่แหล่ะมันจะสร้างความเจ็บให้กับเราอย่างแสนสาหัส ทั้งทางกายและทางใจ มันพยายามหยิบยื่นความเจ็บปวดให้เราอย่างเต็มที่เพื่อที่ว่าจะให้เรานั้นร้องโอดครวญด้วยความเจ็บปวด เพื่อที่ว่าจะให้เรานั้นไปจับเอาความเจ็บปวดไปยึดเอาความเจ็บปวด จิตดวงสุดท้ายที่มันไปยึดไปเกาะเอาความเจ็บปวดนั้น จิตมันก็จะเศร้าหมอง จิตที่เศร้าหมองนั้นจะเป็นจิตของพวกที่จะไปเกิดสู่อบายภูมิ 4 คือ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์เดรัจฉาน จิตของเราเจ็บปวดนี่ไปจับเอาความเศร้าหมองไม่สามารถแยกจิตอออกจากกาย ไม่สามารถแยกจิตออกจากเวทนาได้ เราจึงต้องเวียนเกิดเวียนตายโดยเฉพาะสัตว์เดรัจฉานนี้ผ่านกันมาแล้วทุกคน ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ ภพที่เกิดมาเป็นมนุษย์นี้น้อยมากจริงๆ เพราะว่าอะไร เพราะว่าทุกครั้งทุกคราวก่อนตายนี้ดวงจิตมันมักจะไปจับเอาความเจ็บปวดนี่เสมอ
     
  20. MayBuddhaBlessYou

    MayBuddhaBlessYou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    2,419
    ค่าพลัง:
    +9,538
    0-2.jpg
    นี่แหล่ะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า“ บุคคลที่ตายจากความเป็นคนแล้ว จะได้กลับมาเกิดเป็นคนนั้นมีจำนวนเท่ากับเขาของโค นอกนั้นเมื่อตายจากความเป็นคนแล้วกลับไปสู่อบายภูมิ 4 คือ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์เดรัจฉาน มีจำนวนเท่ากับขนของโค “แตกต่างกันขนาดไหน มันน่าอดสูมั๊ยที่บอกว่าเกิดเป็นคนแล้วมีสภาพเหนือกว่าสัตว์เดรัจฉาน ถ้าบอกว่าเหนือจริงๆ แล้ว ทำไมเมื่อตายจากความเป็นคนแล้ว ทำไมต้องกลับไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานหล่ะ ก็เพราะว่ามันไปจับเอาความเจ็บปวดไม่เชื่อพระพุทธองค์ ไม่ว่าพระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะเข้าไปสู่มรรคผลนิพพานนั้น จำเป็นต้องผ่านความเจ็บปวด ต้องมีขันติ ต้องมีวิริยะ เหตุที่ไม่เชื่อพระพุทธองค์นั่นเองเราจึงอยู่ภายใต้ความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา แม้จะทำความเพียรเจ็บนิดเจ็บหน่อยก็ขยับซะแล้ว แล้วเมื่อไหร่หล่ะจะรู้จักความเจ็บปวดที่แท้จริง ทุกข์ที่แท้จริงก็คือทุกข์จากการเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย แต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของเรานั้น มันไม่ได้เกิดมาเป็นคนหน่ะสิ มีจำนวนน้อยที่เกิดเป็นคน แต่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเพราะว่าจิตของเราเศร้าหมอง เจ็บนิดเจ็บหน่อยไม่มีความอดทน

    พระพุทธองค์ให้จับอานาปานสติ ให้มีความรู้สึกลมเข้า ลมออก ลมสั้น ลมยาว ลมหยาบ ลมละเอียด ให้รู้ถึงกองลมนั้นมีสภาพแปรปรวนไป ให้รู้ถึงกองลมนั้นมีกองเกิดกองดับ คือความเป็นไตรลักษณ์นั่นแหล่ะแต่เราก็ไม่เข้ใจถึงความเป็นไตรลักษณ์ที่เค้าแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา มีลมแต่ไม่รู้ลมมันจะไปแตกต่างอะไรจากสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานเค้าก็มีลมเข้าลมออกแต่ไม่มีสภาพรู้ถึงลมหายใจ แต่เราได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์เหนือกว่าสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าไม่มีการรู้ถึงลมหายใจเข้าลมหายใจออกจะไปต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉานเล่า นี่แหล่ะที่เค้าเรียกว่าเตรียมตัวเพื่อการไปตกอยู่อบายภูมิ 4 หากไม่รู้ลมเข้ารู้ลมออกไม่มีสติสัมปชัญญะอย่างนี้ นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งให้ไปตกอยู่อบายภูมิ 4 ถ้าเหนือกว่าสัตว์เดรัจฉานจริงๆ ต้องมีสภาพรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกซิ ไม่อยากให้ภพภูมิของเราข้างหน้านั้นต้องตกไปสู่อบายภูมิ 4 แล้ว จำเป็นที่ต้องรู้ลมเข้ารู้ลมออก ให้เหนือกว่าสัตว์เดรัจฉาน หากเชื่อพระพุทธองค์เมื่อทำความเพียรแล้วเจอความเจ็บปวด ให้รู้จักทุกข์เสียก่อน ให้จิตนั้นเหนือความทุกข์ให้ได้ เราจะได้มีชัยชนะ จะได้ไม่ต้องไปตกในอบายภูมิ 4 นี่เค้าเรียกว่าการประกันภพชาติของเราก็ทำได้ในวิธีนี้เหมือนกัน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...