บูชาครูงานมหรสพ สมโภชงานพระศพ "พระพี่นาง"

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 28 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    บูชาครูงานมหรสพ สมโภชงานพระศพ "พระพี่นาง"

    ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ - เรื่อง สุรินทร์ มุขศรี - ภาพ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ก่อนจะถึงงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตามโบราณราชประเพณีจะต้องมีการแสดงมหรสพสมโภชอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติเพื่อเป็นการส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์

    แต่ก่อนจะเปิดการแสดงสมโภชนั้น ก็ต้องมีพิธีไหว้ครูของการแสดงก่อน ซึ่งในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีบูชาครูดนตรี-นาฏศิลป์ ก่อนแสดงมหรสพสมโภช ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    พิธีบูชาครูดนตรี-นาฏศิลป์เป็นพิธีที่มีความสำคัญยิ่งของศิลปินที่สืบทอดมาแต่โบราณ แสดงถึงความกตัญญูของศิษย์ที่มีต่อครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อให้ศิษย์ได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรือง และเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนการแสดง รวมทั้งบันดาลให้ศิลปินต่างๆ หรือผู้ปฏิบัติงานในกิจการนั้นๆ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    การกำหนดจัดพิธีบูชาครูนับเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม อีกทั้งยังเป็นการรักษาจารีตก่อนการแสดงทุกครั้ง เช่นเดียวกับการปฏิบัติเมื่อครั้งการจัดพิธีไหว้ครูหนังใหญ่ โขน ละคร และหุ่นกระบอก ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    พิธีบูชาครูครั้งนี้มี ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ผู้อำนวยการสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร เป็นประธานประกอบพิธีบูชาครู <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    สมเด็จพระเทพรัตนฯ เสด็จเป็นประธานบูชาครูดนตรี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดร.สิริชัยชาญ เล่าถึงการแสดงมหรสพประโคมดนตรี ว่าจะจัดแสดงในคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เป็นการแสดงมหรสพที่ยิ่งใหญ่เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    การแสดงในครั้งนี้มีการนำ "ดนตรีสากล" มาร่วมบรรเลงในการสมโภชด้วย ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแสดงดนตรีสากลร่วมในการสมโภชพระบรมศพหรือพระศพ

    สำหรับการจัดแสดงนั้นจะประกอบด้วยการแสดงหนังใหญ่ การแสดงโขน การแสดงละคร การแสดงหุ่นละครเล็ก การแสดงหุ่นกระบอก ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนฯ

    "ที่ผ่านมาคณะแสดงใช้เวลาฝึกซ้อมหลายเดือน ขณะนี้ก็ยังฝึกซ้อมอยู่โดยมีผู้ปฏิบัติงานคือนักแสดงประมาณ 2,000 คน ดังนั้น การจัดบูชาครูก่อนเปิดแสดงจริงครั้งนี้จึงถือเป็นการบูชาขอพรจากครูให้งานทุกอย่างสำเร็จลุล่วงด้วยดี"

    อาจารย์สิริชัยชาญเล่าอีกว่า สมเด็จพระเทพรัตนฯ มีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดการประโคมดนตรี โดยกรมศิลปากรเป็นหลัก และให้วงปี่พาทย์โกศลมาร่วมด้วย ส่วนการแสดงดนตรีสากลนั้นนำมาแสดงร่วม เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านทรงโปรดและทรงอุปถัมภ์อยู่ นอกจากนี้ยังมีวงดนตรีของกองทัพต่างๆ ร่วมแสดง

    "สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงแนะนำหลายอย่าง เพราะท่านเองก็ทรงเป็นนักดนตรี ทั้งการทำหนังสือ ซีดี ในแง่วิชาการเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะด้านต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นมรดกตกทอดสืบไป"

    สำหรับการแสดงในพิธีสมโภชจะเริ่มตั้งแต่ตอนเย็นวันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นการแสดงบรรเลงดนตรีต่างๆ จากนั้นแต่ละเวทีก็จะเปิดการแสดงของตนเองไปตั้งแต่ 19.00 น. เรื่อยไปจนสว่าง มีพักเบรกบ้างแล้วก็แสดงต่อไปจนรุ่งเช้าใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 11-12 ชั่วโมง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (บน) ทุกครั้งก่อนการแสดงจะต้องมีพิธีบูชาครู (ล่าง) ประธานประกอบพิธีบูชาครู

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ที่น่าแปลกใจ คือความปราดเปรื่องของสมเด็จพระเทพรัตนฯ ท่านทรงทราบได้อย่างไรว่ากรมศิลปากรของเรามีของเก่า ของดีถึงเพียงนี้ ขณะที่กรมศิลปากรเองไม่เคยคิดกันมาก่อน หลายเรื่อง อย่างเรื่องของการค้นพบเพลงที่ครูบาอาจารย์ทำไว้ให้เป็นโน้ตสากล ตั้งแต่ปี 2479-2480 เป็นต้น มีเก็บไว้สมบูรณ์มาก แต่กรมศิลปากรไม่รู้ว่าจะนำมาเป็นประโยชน์อย่างไร และครั้งนี้จึงได้นำโน้ตสากลนั้นมาประโคม และทำเป็นหนังสือและซีดีออกมา เพราะพระราชกระแสรับสั่งของท่านทำให้ได้พบงานที่มีคุณค่ามหาศาล" อาจารย์สิริชัยชาญกล่าว

    การแสดงมหรสพสมโภชงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในครั้งนี้ กรมศิลปากรได้จัดให้มีการแสดง 3 เวที คือ เวทีที่ 1 การแสดงหนังใหญ่-โขน เวทีที่ 2 การบรรเลงดนตรีสากล และเวทีที่ 3 การแสดงหุ่นกระบอกหุ่นละครเล็ก และละครนอก

    เวทีที่ 1 การแสดงหนังใหญ่ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ เริ่มระหว่างเวลา 19.00-06.00 น. ใช้เวลาแสดงประมาณ 11 ชั่วโมง โดยจัดแบ่งการดำเนินเรื่องออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคที่ 1 เป็นการแสดงหนังใหญ่เบิกหน้าพระและเบิกโรง ต่อด้วยการแสดงโขนชุดรามาวตาร ระบำวานรพงศ์ ขับพิเภก สุครีพถอนต้นรัง จบลงที่ตอน ศึกนาคบาศ

    เริ่มภาคที่ 2 เวลาประมาณ 23.00 น. ประกอบด้วยการแสดงโขน ชุดศึกมังกรกัณฐ์ ศึกแสงอาทิตย์ และจบที่ ศึกพรหมาสตร์ ต่อด้วยภาคที่ 3 การแสดงโขน ชุดระบำอสุรพงศ์ ทศกัณฐ์รบพระราม ถวายลิง หนุมานชูกล่องดวงใจ และจบด้วยตอนพระรามคืนพระนคร

    เวทีที่ 2 การบรรเลงดนตรีสากลของวงต่างๆ อาทิ วงดุริยางค์เยาวชนไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ T.Y.O., วงซิมโฟนีออเคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร N.S.O., วงฮาร์พ แชมเบอร์ (Harp Chamber) ศิลปินจากศูนย์ฮาร์พตำหนักประถม และวงดุริยางค์ผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร

    เวทีที่ 3 การแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี ตอนรักจำพราก โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เนื้อเรื่องแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 จำพรากรักดับชีวา ตอนที่ 2 สุดสาครตามบิดา ตอนที่ 3 นางละเวงก่อศึก จบแล้วเป็นการแสดงนาฏยศาลาหุ่นละครเล็กคณะโจหลุยส์ เรื่องกูรมาวตาร ตำนานพระราหู จบแล้วเป็นการแสดงละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ เริ่มตั้งแต่สุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว-กุมภณฑ์ถวายม้า โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

    นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ วงบัวลอย ของสำนักการสังคีต และวงปี่พาทย์มอญ ของบ้านพาทยโกศล บรรเลงประโคมในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพตลอดงาน

    โปรดเตรียมตัวให้พร้อมกับการชมการแสดงตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืนเต็ม


    -----------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01281051&sectionid=0131&day=2008-10-28
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...