ธรรมะ คือ อะไร ตอนที่ ๑๒

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 20 มิถุนายน 2011.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ธรรมะ คือ อะไร ตอนที่ ๑๒
    ท่านสาธุชน ทั้งหลาย ในตอนนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึง "นิโรธ อริยสัจ" หรือ"ความดับทุกข์" หากว่าท่านทั้งหลายที่เคยได้ศึกษา เล่าเรียนพระไตรปิฏกมาบ้าง ก็คงพอจะนึกได้ว่า "นิโรธ อริยสัจ" นั้นตามหลักพระไตรปิฏกได้กล่าวไว้ว่า
    ทุกขนิโรธ อริยสัจ เป็นไฉน
    "ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืนความพ้น
    ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว อันใด
    [๑๖๑] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ฯลฯ
    สภาวะธรรมนี้ เรียกว่า "ทุกขนิโรธ อริยสัจ"
    ความสำรอก ในที่นี้ หมายถึง การขจัดออก จากร่างกาย มิใช่มีความหมายว่า อาเจียร หรือ ขย้อน เอาสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการออกมา ซึ่ง การขจัดออกจากร่างกาย ย่อมหมายถึงขจัดเอา ทุกข์ และ สมุทัย ออกจากร่างกาย และสามารถขจัดออกจากร่างกายได้โดยไม่เหลือ คือความดับโดยไม่เหลือ
    ความปล่อยวาง คือ การไม่ยึดถือ ความวางเฉย ความมีความพอใจ ความใคร่ที่จะทำ ความใคร่ในธรรม อันจักทำให้ ทุกข์ และ สมุทัย ไม่ติดอยู่ ไม่เกาะอยู่ ไม่เกิดขึ้น ใน" รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ"
    ความส่งคืน คือ การผลักเอาสิ่งที่เป็นทุกข์,สิ่งที่เป็นสมุทัย มิให้เข้าใกล้ แม้สิ่งเหล่านั้นเข้าใกล้ ก็สามารถผลักให้พ้นจาก "รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ"แห่งตัวตนได้ โดยไม่หลงเหลืออยู่เลย
    ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ,ความปล่อยวาง,ความส่งคืน,ความพ้น,ความไม่ติดอยู่ ในสิ่งที่เรียกว่า ตัณหา
    ท่านทั้งหลาย เนื่องจากในพระไตรปิฏกนั้น ได้กล่าวไว้ อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ยากที่จะทำความเข้าใจได้ อาจเข้าใจผิด อาจให้ความหมายผิด อาจทำให้เกิดการบิดเบือนตามหลักพระไตรปิฏก
    เพราะในพระไตรปิฏกนั้น ได้กล่าวไว้ว่า ตัณหา เมื่อจะละก็ให้ละที่ตัณหานั้น เมื่อจะดับก็ให้ดับตัณหานั้น อย่างนี้เป็นต้น หากจะอรรถาธิบายโดยย่อแล้ว ในพระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่า
    "ตัณหา คือ รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ เมื่อจะละก็ให้ละที่ รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ เมื่อจะดับก็ให้ดับ ที่ รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ นี้เป็นการกล่าวโดยไม่แยกแยะรายละเอียด ซึ่งยังมีรายละเอียด ใน รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ อีกมาก
    หากท่านทั้งหลายได้อ่าน และคิดพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว และตั้งคำถามให้ตัวท่านทั้งหลายได้ค้นหาคำตอบ ก็คือ
    "ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืนความพ้น
    ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว" นั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ คำตอบที่จะต้องค้นหาก็คงมีมากมาย อีกทั้งยังต้องทดลอง ให้ได้เห็นจริงรู้แจ้ง ตามหลักคำสอนในพระไตรปิฏกกันยาวนาน เพราะท่านทั้งหลายคงเข้าใจไปคนละอย่างกัน อาจเข้าใจและให้ความหมายของภาษากันไปผิดๆ ตามแต่ความคิดของพวกท่าน
    จบตอนที่ ๑๒
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...