เรื่องเด่น วีดีโอ ทำไมคนเราต้องศึกษาอภิญญาสมาบัติ ? - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์, 24 มิถุนายน 2017.

  1. โพธิสัตว์

    โพธิสัตว์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +734
    ทำไมคนเราต้องศึกษาอภิญญาสมาบัติ ? - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ



    สื่อฉบับนี้สร้างด้วยจิตอันเป็นกุศล ขออนุโมทนาสาธุแด่สาธุชนทุกท่านที่รับฟัง
    ภูมิใจเสนอ อภิญญาและธรรมะโดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง
    ให้เสียงภาษาไทยโดย
    สิทธา
    สำหรับบทความเพื่อการอ่านนั้นสามารถหาอ่านตามลิงก์ด้านล่างวิดีโอนี้ได้เลยนะครับ
    J

    วันนี้เสนอตอน มโนยิทธิ และการรักษาฤทธิ์ทางใจ ๑๐ ประการ


    ลูกหลานที่รัก จงจำปฏิปทานี้ไว้ "ถ้ามีความจำเป็นเราต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปวงชนชาวไทย แม้แต่ชีวิตก็ต้องยอม"
    พ่อขอเตือนลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้เสมอว่า ขณะที่ฟังพ่อพูดให้ตั้งใจไว้ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ฟังไปด้วย ใช้ศีล สมาธิ ปัญญา รวมตัวกันเข้าไว้ในใจจุดเดียวกันจะทำให้สะอาด
    ศีล ขัดเกลาภาคพื้นของใจให้ดีขึ้น
    สมาธิ จับอารมณ์ใจให้นิ่งขึ้น
    ปัญญา ชำระล้างความสกปรกของจิต จิตมีอารมณ์ผ่องใสมากขึ้น
    เมื่อจิตมีอารมณ์ผ่องใส กำลังใจก็เป็นทิพย์ เมื่อกำลังใจเป็นทิพย์อยากจะรู้อะไรก็รู้ได้ทันทีทันใด ที่เราเรียกกันว่า ใช้ทิพย์จักขุญาณ หรือจุตูปปาตญาณ เจโตปริยญาณ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุบันนังสญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และยถากรรมมุตาญาณ โดยเฉพาะลูกรักของพ่อทุกคนได้อภิญญาเล็ก คือ มโนมยิทธิ หมายถึงมีฤทธิ์ทางใจ คำว่า ฤทธิ์ทางใจ ก็คือ ใจมีฤทธิ์ คำว่า ฤทธิ์ หมายถึง เก่ง คือ ใจเก่งกว่าใจธรรมดา สามารถถอดจิตออกจากร่างไปสู่ภพต่างๆ ได้ เราจะไปเที่ยวเมืองสรรค์ก็ได้ ไปเที่ยวพรหมโลกก็ได้ ไปเที่ยวเมืองนิพพานก็ได้ ไปเที่ยวเมืองนรกก็ได้ สู่แดนเปรต อสุรกายก็ได้ และในโลกมนุษย์นี่จะไปมุมไหนก็ได้ ประเทศไหนๆ ก็ไปได้ บ้านใครสำนักงานไหนเขาหวงเราก็ไปได้ นี่การมีฤทธิ์ทางใจเป็นของดี

    แต่ทว่ามีบางคน ตำหนิพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าไม่น่าจะสอนหลักวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ เพียงสอนขั้นสุขวิปัสโกอย่างเดียวก็พอ คำว่า สุขวิปัสโก หมายความว่า จิตสะอาดปราศจากกิเลส ไม่มีความรักในเพศ ไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลง จิตมีอารมณ์เป็นสุข จิตมีความเยือกเย็น ไม่มีทุกข์ มีอารมณ์สบาย นี่ความเป็นพระอรหันต์

    เตวิชโช (วิชชาสาม) สามารถทำทิพย์จักขุญาณให้ปรากฏ และหมดกิเลสสามารถระลึกชาติได้ มีวิชชาแปดอย่างที่เรียกว่า ญาณ ๘

    ฉฬภิญโญ หมายถึงอภิญญาหก สามารถเนรมิตอะไรก็ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีทิพย์จักขุญาณ มีญาณแปดครบเช่นเดียวกับ เตวิชโช และมีอิทธิฤทธิ์ มีฤทธิ์ทางใจ เป็นต้น และ จิตหมดกิเลส

    ปฏิสัมภิทาญาณ หมายถึงความรู้พิเศษ สามารถรู้ธรรมะทุกอย่าง ทรงพระไตรปิฏก คำว่า ไม่รู้ ไม่มี และสามารถรู้ภาษาสัตว์ และภาษาทุกภาษา ได้โดยไม่ต้องศึกษา แต่ทว่าเนื้อแท้จริงๆ ก็คือ ความเป็นพระอรหันต์ มีความรู้ทั้ง เตวิชโช และฉฬภิญญโญด้วย

    เป็นอันว่าบางท่านบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่น่าจะสอนแบบนี้ เสี่ยงภัยเกินไป แต่พ่อก็ขอเตือนลูก ถ้ามีใครเขาถามวา "ทำไมต้องเรียน อภิญญาสมาบัติ ทำไมจะตองมีทิพย์จักขุญาณ เห็นผี เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ เห็นนรกได้ ทำไมต้องมีการยกจิตไปท่องเที่ยวภพต่างๆ ได้ การรู้ว่าคนและสัตว์นี่ ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน เจโตปริยญาณ รู้วาระนำจิตของคนและสัตว์ว่า มันชอบอะไร คิดอะไร คิดดี คิดชั่ว มีกิเลสตัวไหนอยู่บ้าง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกชาติต่างๆ ได้ ถอยหลังไปดูว่าเราเกิดมาแล้วกี่ชาติ เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีต อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอนาคต ปัจจุบันนังสญาณ ว่าเวลานี้ใครอยู่ที่ไหน ใครกำลังทำอะไรอยู่ ยถากรรมมุตาญาณ รู้ว่าเขามีสุข มีทุกข์เพราะผลจากอะไรเป็นสำคัญ ความจริงรู้แบบนี้ ถึงแม้ว่าเราไม่เป็นพระอรหันต์ เราก็รู้ได้ถ้าใครเขาถามว่า ศึกษาทำไม" ก็ควรตอบว่า "ศึกษาเพื่อกันความสงสัย จะได้ไม่สงสัยคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้ไม่ประมาทในชีวิต"

    ถ้าใครเขาจะแย้งว่า "ดูอย่างพระเทวทัตเพราะอาศัยได้อภิญญาสมาบัติจงอเวจีมหานรก" อย่างนี้ก็ต้องย้อนถามเขาลงไปว่า "ท่านที่ได้อภิญญาสมาบัติในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือว่าปรินิพพานไปแล้วก็ตาม คนที่ได้อภิญญาสมาบัติลงนรกกี่คน และคนที่ได้อภิญญาสมาบัติไปนิพพานเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเทวทัต ถ้าไม่อภิญญาสมาบัติความยับยั้งก็ไม่มี ต้องลงอเวจีตามกฏของกรรมคือ ๑ กัป แต่นี่พระเทวทัตลงอเวจีเพียงแค่ไม่ถึง ๑ วันอเวจี เพราะผลความดีที่มีความรู้ด้านอภิญญา มีการยับยั้ง...

    ..."เหมือนกับคนตาดี เดินไปในกลุ่มหนามหรือเดินไปบนลานแก้วแตก จะวางเท้าลงไปก็ค่อยๆ วาง เพราะมองเห็นหนามและแก้วแตก เกรงว่าจะบาดเท้า ตำเท้า จะเจ็บบ้างก็เล็กน้อย" ...

    "ไม่เหมือนกับคนตาไม่ดี ไม่เห็นว่าที่นั้นมีอันตราย เดินสวบๆ เข้าไป ผลที่สุดก็โดนทั้งแก้วแตกทั้งหนามตำเต็มกำลัง"...

    ข้อนี้ฉันใด แม้คนที่ได้ "อภิญญาสมาบัติ" และ "วิชชาสาม" ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่ากฏของกรรมบางอย่างจะบีบบังคับ ก็มีการยับยั้ง รู้ผิดรู้ชอบ เหมือนคนที่รู้กฏหมายกับคนที่ไม่รู้กฏหมาย คนที่เขารู้กฏหมายเขาทำผิดก็จริงแหล่ แต่ทว่าเขารู้ทางออกจะรับโทษก็รับไม่มาก ไม่เหมือนคนไม่รู้กฏหมาย อยากจะทำอะไรก็ทำตามใจชอบ ดีไม่ดีติดคุกติดตะราง คิดว่าของมันเล็กน้อย แต่ที่ไหนได้ของมันใหญ่ เช่น คิดจะฆ่าควายตัวมันใหญ่โทษจะมาก ฆ่าคนดีกว่าตัวเล็กกว่า แต่ที่ไหนได้ฆ่าคนมีโทษมากกว่า ฆ่าควายมีโทษน้อย (นี่ในแง่ของกฏหมายน่ะ) เช่น ฆ่าไม่เอาหนักไป ด่าดีกว่า แอบไปด่าพระมหากษัตริย์เข้า เจ๊งไปเลย ถูกลงโทษหนักฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือด่าศาลว่าศาลคด ศาลโกง ศาลไม่ยุติธรรม นี่ถือว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีโทษหนัก

    อันนี้ คนมีความรู้ แม้จะมีโทษหนัก ก็มีการยับยั้งในการทำความผิด ซึ่งผิดกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย ทำก็ทำลงไปเต็มอัตราศึก ไม่รู้บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์เป็นอันว่า ที่พ่อให้ลูกศึกษาวิชาความรู้อันนี้ ต้องระมัดระวัง รักษาไว้ด้วยดี อย่าไปอวดเขา "รักษาไว้เพื่อชำระจิตใจของเราให้เป็นสุข"

    เวลานี้ลูกรักของพ่อกำลังรบกับสงครามสำคัญ คือ กิเลส สงครามภายนอกน่ะมันเรื่องเล็ก สงครามครามกิเลสมีความสำคัญมาก เจตนาของพ่อก็มีอยู่ว่า "ความเกิดมันเป็นทุกข์" ลูกทุกคนนี่ต่างคนต่างมีความทุกข์กันหมด แต่ว่า "ให้ทุกข์มันมีเพาะขันธ์ ๕ จิตเราจงอย่าทุกข์" บรรดาลูกรักของพ่อทุกคนต่างคนต่างมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา พ่อดีใจ เวลาฟังพ่อพูดพยายามใช้สมาธิให้คล่องตัว สำหรับอภิญญาสมาบัติ อิทธิฤทธิ์ ยกจิตไปตามที่ต่างๆ ให้คล่อง ทิพย์จักขุญาณทำให้แจ่มใส ศีล สมาธิ ปัญญา ดีแล้วจะเห็นชัดเจน จุตูปปาตญาณ มองหน้าคน มองหน้าสัตว์ อยากรู้ว่าก่อนเกิดมาจากไหนจะรู้ได้ทันที ตายแล้วไปไหนก็รู้ได้ทันที เจโตปริยญาณ ถ้าเราอยากรู้วาระน้ำจิตของคนอื่น ให้รู้กระแสจิตของตนเองไว้เสมอก่อน เรารู้ได้ไม่ยากคนมีกิเลสหนามีความชั่ว ใจจะมีสีดำบ้าง แดงบ้าง ขาวบ้าง แต่เป็นเนื้อ ถ้าใจดีปานกลาง ใจจะเป็นแก้ว แต่คนที่ดีจริงๆ จะเป็นแก้วประกายทั้งดวงเหมือนดาว นี่ไม่ยาก แต่รู้แล้วก็นิ่งเสีย ปุปเพนิวาสาสติญาณฝึกให้คล่อง นึกถอยหลังเราเกิดมาแล้วกี่ชาติ แต่อย่าไปไล่ทีละชาติเลย เห็นอะไรก็นึกว่าเราเคยเกิดไหม เช่น เห็นสัตว์เรานึกว่า เราเคยเกิดเป็นสัตว์ชนิดนี้ไหมกี่ชาติ ภาพจะปรากฏชัด เป็นอันว่า ธรรมะ ส่วนนี้มีความสำคัญ พ่อให้ลูกไว้ชำระจิตของลูกให้บริสุทธิ์ ถอยหลังไปดูการเกิดแต่ละคราวเต็มไปด้วยความทุกข์ ดูบรรดาบรรพบุรุษกษัตริย์ทั้งหลาย ที่พ่อพูดมา และคนทั้งหลายที่กล่าวถึง ต่างคนต่างตายไปหมดแล้ว

    "ผืนแผ่นดินที่เราเดินอยู่นี่ ถ้าเราใช้ อตีตังสญาณ รู้ว่าเราเดินอยู่บนร่างกายและเลือดเนื้อของบรรดาบรรพบุรุษของเรา ฉะนั้น ถ้าใครเขาจะมาเชือดเฉือนเอาร่างกายเลือดเนื้อบรรพบุรุษของเราไป เราก็ไม่ควรยอม นี่พูดอย่างเป็นทางโลก คือ โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่เสีย"

    สำหรับกิเลสที่เราจะชนะได้ ต้องทำกำลังใจตามนี้

    ถ้าเรื่องของความรักชาติ เรื่องของความสามัคคี จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมี สังคหวัตถุ ๔

    ๑. ทาน การให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

    ๒. ปิยะวาจา พูดจาไพเราะ

    ๓. อัตถจริยา ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น ช่วยกิจการงาน

    ๔. สมานัตตตา ไม่ถือตัว ไม่ถือตน

    นี่แค่ ๔ ประการ ถ้าเราทำกันไม่ได้ เรามีความสุขไม่ได้ ฉะนั้น ชาติเราจะมีความสุข จะมีความสามัคคีก็ต้องทำ ๔ ประการนี้ได้ นี่กิเลสหยาบที่เราต้องละให้ได้ จะมีความสุข คำว่า สุข นี่อย่าเอาสุขกายนะ เอาสุขใจก็แล้วกัน

    เรื่องของร่างกายเราต้องคิดว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดมันเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ เป็นอันว่าขันธ์ ๕ มันเป็นทุกข์ แต่ใจของเราจงอย่าทุกข์ ใจเราจงอย่าทุกข์ทำยังไง รักษาอารมณ์ใจไว้ ๑๐ ประการ...

    ๑. ทาน การให้ คิดไว้เสมอว่า "เราจะมีจิตเมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้มีความสุข" โดยการให้ ให้ของ ให้ความคิด ให้กำลังกายช่วยกิจการงาน เป็นเสน่ห์ใหญ่ทำให้มีความสุข ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ

    ๒. ศีล แปลว่า ปกติ อารมณ์ของเราจะทรงความดี ๕ ประการไว้เสมอ คือ ไม่ละเมิดศีล ๕ ประการ

    ๓. เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช คือบวชใจ คำว่า บวช นี่ไม่จำเป็นต้องโกนหัว ถ้าโกนหัวแล้วจิตไม่ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นนักบวช เราบวชใจ คือ

    ๓.๑. ไม่มัวเมาในกามคุณ ๕ ให้คิดไว้เสมอว่า ไอ้รูปสวยน่ะประเดี๋ยวมันก็พัง เสียงไพเราะผ่านหูแล้วก้หายไป กลิ่นหอมผ่านจมุกแล้วก็หายไป รสอร่อยกระทบลิ้นแล้วก็หายไป สัมผัสระหว่างเพศจับแล้ว พอพ้นแล้วก็หายไป และเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความทุกข์ รักมากทุกข์มาก รักน้อยทุกข์น้อย ไม่รักเลยไม่ทุกข์เลย

    ๓.๒. ไม่ถือความโกรธความพยาบาทเป็นบรรทัดฐาน ตัดกำลังใจให้อภัยอยู่เสมอ ขึ้นชื่อว่าคนเกิดมาในโลกนี้ ไม่ทำความผิดเลยไม่มี ก็น่าเห็นใจ เพราะความพลั้งพลาดของงาน เขาจะด่าจะว่าก็ช่างเขา ไม่ช้าต่างคนก็ต่างตาย

    ๓.๓. ป้องกันการง่วงหาวนอนขณะที่จิตจะทำความดี

    ๓.๔. ระงับความฟุ้งซ่าน ก็พยายามตั้งไว้ในยามปกติ นึกถึงความดีจุดใดจุดหนึ่ง เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก

    ๓.๕. เราจะไม่สงสัยในธรรมะปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คนที่บวชห่มผ้าเหลืองน่ะ ถ้าระงับเหตุ ๕ ประการที่ว่ามานี่ไม่ได้ เขาเรียกว่า "เถนะ" เถน แปลว่า หัวขโมย ขโมยเอาเพศของสมณมานุ่ง นี่นักบวชจริงๆ อันดับแรกต้องระงับนิวรณ์ ๕ ประการได้ ขอลูกจงระงับใจตามนี้ให้เป็นะรรมดา พิจารณาหาความจริงว่า นี่มันเป็นปัจจัยของความสุขหรือความทุกข์ ทำงานตามหน้าที่ ถือว่าชาตินี้เป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะต้องทำงาน ชาติใหม่ไม่มีสำหรับเรา เราไปนิพพาน ถ้าสงสัยนิพพาน ก็ต้องใช้วิปัสสนาญาณให้เข้มข้น ใช้มโนมยิทธิแป๊บเดียวก็ถึงนิพพาน จับอารมณ์นิพพานได้ว่า มีความสุขแค่ไหน

    ๔. ปัญญา มีความรอบรู้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเป็นโทษ ทำสิ่งที่เป็นโทษแล้ว ใช้ปัญญาหาความจริงว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย จริงไหม ถ้ายังเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้จะไม่หมดทุกข์ เราจะมีความสุขก็คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป ได้แก่รักษาธรรมะ ๑๐ ประการนี้ให้ครบถ้วน

    ๕. วิริยะ มีความเพียร ทำกิจการงานฝ่ายโลกและธรรม ต้องอดทนทุกอย่าง เพื่อรักษาความดีให้คงอยู่ เรียกว่า เพียร พังให้มันทะลุไปเลย

    ๖. ขันติ ความอดใจ อดทนต่อความเหนื่อย อดทนต่อความร้อน อดทนต่อความหนาว อดทนต่อความขัดข้องใจ

    ๗. สัจจะ ความจริงใจ ตั้งใจไว้แบบไหนก็ทรงกำลังใจแบบนั้น เช่น ตั้งใจไว้ว่า จะรักษาศีล เราก็ทำจริง ใครมาชวนด่าเราก็ไม่ด่า

    ๘. เมตตา เราจะมีเมตตา ความรักคนและสัตว์เสมอด้วยตัวเรา ใครเขามาชวนโกรธเราก็ไม่โกรธ

    ๙. อธิษฐาน ตั้งใจไว้ว่า การทำอย่างนี้เพื่อทรงคุณธรรมอะไร จะไปไหนมีเมตตาอยู่เสมอ เหมือนคิดว่าเป็นถิ่นของเรา

    ๑๐. อุเบกขา วางเฉยในอารมณ์ต่างๆ ที่ไม่เป็นที่ถุกใจเรา หมายความว่าอะไรก็ตาม ถ้าไม่เป็นที่ถูกใจเรา เราก็เฉยๆ เขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทาอะไรก็ช่างเขาประเดี๋ยวก็ตาย จะไปยุ่งอะไรกัน

    กำลังใจ ๑๐ ประการนี่ลูกรัก ถ้าทรงไว้ได้ความสุขจะเกิด ทำเสมอๆ นะลูกเพื่อความไม่ประมาท


    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    (คัดลอกเฉพาะบางตอนจากหนังสือ เรื่องจริงอิงนิทานพิเศษตั้งแต่ย่อหน้า ๒ ของหน้า ๘๔-๑๐๐)

    ที่มา
    http://dharmaxp.blogspot.com/2017/05/blog-post_27.html
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,047
    ชอบบทความนี้มาก ช่างจัดมา
    ได้ ตรงประเด็น
    ที่ท่านสอนจริงๆครับ...
    หลวงพ่อท่านนะสุดยอดแล้ว
    บอกไว้แล้วว่าเพื่ออะไร....
    ว่าอะไรเป็นอะไร.....

    แต่มันมีพวกลูกนอกคอก
    พวกชอบเอาท่านไปอ้าง
    แต่พฤติกรรมกลับตรงข้าม
    กับปฏิปทากับที่ท่านได้กล่าวไว้เยอะมาก
    สมัยนี้นะครับ
    ไปยึดติด ในลาภ ในยศ ในสุข
    ในสรรเสริญ ทั้งๆที่ไม่ใช่ ปฏิปทา
    ที่หลวงพ่อท่านกล่าวเลยซัดนิด
    ป่านนั้นทุกวันนี้ยังอ้างท่านแล้วอ้างอีก..


    เที่ยวไปแสดงโชว์มุขเทพ
    ทักคนโน้น คนนี่ไปเรื่อย
    ว่ามีเทพ โน้นนี่นั้น
    หรือมีนั่นโน้นนี่ตาม...

    ฝึกไปฝึกมา พอมีความสามารถระดับเหรียญสลึง
    แค่พอลูบๆคลำๆ ไม่เข้าใจปฎิปทา
    ว่าหลักท่านสอนให้เพื่ออะไรจริงๆ
    ไปคุย ไปยกตน ว่าตนเองป่านเทพมาจุติ
    คุยว่าตนบารมี หากใครไม่คิดหรือทำไม่เหมือนตนเอง..
    บ้างก็ไปดูดวง เพื่อลาภ ยศ สุข สรรเสริญซะงั้น...
    อวดตน ยกตน ข่มท่าน
    เดินสวนกับคนอื่นๆ ป่านว่าตัวเองเป็นเทพ..
    ยึดแต่อดีตหล่อๆเท่ห์ สวยๆ
    (ตอนเกิดเป็นมด เป็นปลวก ไม่เคยเอามาพูด)
    ว่าตนเป็นผู้วิเศษวิโส เป็นบุคคล
    สำคัญในอดีตท่านโน้นนี่นั้น ปัจจุบันบรรลุโน้นนี่นั้น
    ป่านเทพองค์สำคัญลงมาเกิด
    คุยว่าตัวไปนิพพานแน่ๆ
    แต่พฤติกรรมทางกายและจิต
    ตรงกันข้ามกับปฏิปทาหลวงพ่อท่านชัดเจน....

    ปล.ถ้ารู้ตัวก็เลิกซะ อย่าโต้เต๋ นาน
    สงสาร หลวงพ่อที่พวกที่เป็นอยู่ชอบ
    เอามาอ้างยกตัว ทำมาหารับประทานบ้าง....

    ขอบคุณอีกครั้งสำหรับบทความดีๆครับ...
    อ่านแล้วจบไป...
     

แชร์หน้านี้

Loading...