เรื่องเด่น ทำอย่างไรถึงทรงอารมณ์วิปัสสนาญาณได้เป็นปกติ ?( ตามแนววิชชาสาม-อภิญญาหก)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 26 ตุลาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,335
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ?temp_hash=1fd7fa4547d17fa0bb234091c5fd9b62.jpg


    เปิดดูไฟล์ 5470549

    ทำอย่างไรถึงทรงอารมณ์วิปัสสนาญาณได้เป็นปกติ ?


    เรื่องพระต้องถามยายเจี๊ยบ เมื่อวานนี้ เขามานั่งถามปัญหาตรงนี้ อาตมาส่งพระให้คุณเทพฤทธิ์ ยายนั่นก็มือไวคว้าหมับไปดูเสร็จก็ร้อง..โอ้โห..พระศักดิ์สิทธิ์จังเลย ขนลุกทั้งตัวลูบเท่าไรก็ลูบไม่ลง รายนั้นสมาธิเขาดี ทรงอารมณ์วิปัสสนาญาณได้เป็นปกติเลย เขาได้อยู่ในระดับที่ว่าอยู่ก็ได้ตายก็ดี พร้อมที่จะไปแล้ว

    ถาม : ทรงฌานหรือคะ ?
    ตอบ : ทรงวิปัสสนาญาณจ้ะ

    ถาม : ต่างกับทรงฌานอย่างไร ?
    ตอบ : ฌานอย่างเดียวจะนิ่ง ถ้าวิปัสสนาญาณปัญญาจะมี

    ถาม : อย่างนั้นก็ต้องยากกว่าใช่ไหมคะ ?
    ตอบ : ง่ายกว่า ทรงฌานต้องเสียเวลาไปนั่งภาวนา วิปัสสนาญาณเราก็พิจารณาไปเลย

    ถาม : แล้วทำอย่างไรถึงจะทำได้แบบเขา ?
    ตอบ : ก็ทำแบบเขา...(หัวเราะ)... ตอบกำปั้นทุบดินดีไหม ?

    #เขาเอาใจขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้าเป็นปกติ เสร็จแล้วก็พิจารณาอยู่ตรงนั้น จนกระทั่งกายในใสเป็นแก้วทั้งองค์ แล้วก็ค่อยกราบลาพระลงมา แล้วก็ประคองรักษาอารมณ์นั้นเอาไว้ ตัวนี้แหละคือการใช้มโนมยิทธิที่ถูกต้อง ตามที่หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านต้องการ

    คนอื่นที่เอาไปดูอดีต ไปดูปัจจุบัน ดูอนาคต ถ้าดูแล้วไปยึดก็เจ๊งหมดทุกรายแหละ แต่ว่ารายนี้เขาทำตรงพอดี เขาจะขึ้นไปกราบพระข้างบน พิจารณาจนกระทั่งใจของเขาใสสว่างสะอาดหมดทั้งดวง แล้วก็ประคับประคองรักษาอารมณ์นั้นเอาไว้

    เขาก็เลยสงสัยตอนนี้เขาผิดปกติหรืออย่างไร เจออะไรก็เฉย คนเขาด่าก็ยิ้มเฉย พอฟังเขาด่าเสร็จแล้วก็ไป ฟังเขาด่าได้ตลอดโดยที่ไม่คิดอะไรเลย #ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน #ได้เห็นสักแต่ว่าได้เห็น #รายนี้ถ้าไม่ยั้งไว้อีกไม่นานก็ไป #เพราะว่าอารมณ์แบบนี้ใกล้จุดสุดท้ายเต็มทีแล้ว

    ถาม : ยั้งเอาไว้ให้ช่วยกัน ?
    ตอบ : เขาบอกว่า ตอนนี้ความรู้สึกผูกพันระหว่างครอบครัวก็ไม่มี ที่เคยรักก็เฉย ๆ ที่เคยเกลียดก็เฉย ๆ ไม่รักไม่เกลียดใครแล้ว

    ถ้าใครฟังปฏิปทาท่านผู้เฒ่าบ่อย ๆ จะจำได้ #ตรงจุดนี้จะเป็นสุดท้ายของอารมณ์ที่หลวงพ่อท่านบอก #ไม่รักในฐานะที่ควรรัก #ไม่เกลียดในฐานะที่ควรเกลียด #ไม่ขัดเคืองในฐานะที่ควรขัดเคือง

    นั่นขนาดคนข้างบ้านด่าก็ยืนฟังเขาด่าจนตลอด ประเภทให้กำลังใจเขาหน่อย เขาอุตส่าห์ด่าทั้งที พอฟังเสร็จ เขาด่าจบแล้วก็ไป เฉย ๆ ไม่ได้ติดหูมาสักคำเดียว ของพวกเราอย่างน้อย ๆ ก็ต้องเก็บมาคิด ของเขาตัวความคิดปรุงแต่งไม่มีแล้ว ปล่อยได้แล้ว ใครเอาอะไรมา ก็กองอยู่ตรงนั้นแหละ

    ถาม : แล้วไปยืนฟังเขาทำไมละคะ ?
    ตอบ : ให้กำลังใจเขาหน่อย เขาอุตส่าห์มาด่าแล้ว ถ้าไม่ยืนฟังเดี๋ยวเขาไม่มีอารมณ์จะด่า สงสารเขา..!

    ที่พูดมานี้พวกเราก็ทำได้ แต่ว่าทำแล้วยังไม่ทรงตัวอย่างเขา ได้เพียงครู่เดียว จะได้ตอนที่มีสติ พอขาดสติไปไหลตาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อไรก็อารมณที่ได้ก็ขาดไปด้วย ของเขาควบคุมได้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น ได้รสสักแต่ว่าได้รส สัมผัสสักแต่ว่าสัมผัส ป้องกันไม่ให้ทุกอย่างเข้ามาในใจได้
    แรก ๆ ก็ต้องระวังป้องกันอยู่ พอนานไปก็ไม่ต้องระวังแล้ว เพราะไม่เก็บเอาไว้เลย ฟังดูง่ายไหม ?

    ถาม : แล้วอย่างนี้เวลาเขาทำงานปกติ ก็เป็นคนประหลาดสิคะ ?
    ตอบ : ก็ประหลาด... ถึงได้บอกว่า คิดว่าเราทำหน้าที่รอเวลาตายเท่านั้น เพราะฉะนั้น..#งานของเราก็ทำให้ดีที่สุด #หลังจากนั้นแล้วจะเป็นอย่างไรก็เรื่องของงาน #เราก็ไปพระนิพพานของเรา

    เมื่อวานลองไล่อารมณ์ให้เขาฟังหลายอย่าง ตรงกันหมด ถ้าตรงกันหมดก็ใช่ ใช่ตรงที่ว่าที่เราทำมา เออ..ก็คล้ายกับเขา นี่พัฒนาการทางจิตในระดับที่ควรจะทำให้ได้อย่างยิ่ง

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
    ที่มา : www.watthakhanun.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,335
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ถาม : ถ้าเราไม่ค่อยได้นั่งสมาธิเท่าไร เราใช้การพิจารณาแทนได้ไหมคะ ?
    ตอบ : ได้..เพียงแต่ว่าถ้าไม่มีกำลังสมาธิ การพิจารณาก็จะทำได้น้อย ถ้าใช้กำลังของสมาธิช่วยในการพิจารณา จะตัดอะไรก็ตัดได้ง่ายขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้ากำลังไม่พอ จะแบกหามไม่ไหว ดังนั้น..ต้องพยายามสร้างกำลังสมาธิให้สูงเข้าไว้

    ถาม : การนั่งสมาธิดูลมหายใจ ติดมาตั้งแต่เด็กที่ถูกสอนว่า หายใจเข้า...พุท หายใจออก...โธ อยากทราบว่าต้องพุทโธอย่างเดียว หรือดูลมหายใจอย่างเดียว หรือใช้สองอย่างร่วมกัน ?
    ตอบ : จะดูลมอย่างเดียวก็ได้ แต่บางคนตามดูลมอย่างเดียวรู้สึกว่างานมีไม่พอ ใจยังฟุ้งซ่านได้ ก็เพิ่มคำภาวนาเข้าไปด้วย พอเพิ่มคำภาวนาเข้าไปด้วย ยังรู้สึกว่าใจฟุ้งซ่าน ก็ตามดูฐานกระทบของลมไปด้วย ขึ้นอยู่กับว่าเราฟุ้งซ่านมากน้อยแค่ไหน ถ้าฟุ้งซ่านมากก็หางานให้ใจทำมาก ๆ ถ้าใจมีงานทำก็จะได้ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อื่น
    __________________
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๖๓
    ภาพและที่มา : เว็บวัดท่าขนุน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,335
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    fa0a9b8c-60a8-4a7b-88ee-b3351fb16e4d-copy-jpeg.jpg

    การปฏิบัติที่คนหมู่มากใช้อยู่ในปัจจุบัน คือการกำหนดคำภาวนา หรือการกำหนดลมหายใจเป็นอารมณ์

    ซึ่งวิธีการเช่นนี้เรียกว่าการกระทำ สมถกรรมฐาน เพื่อก้าวสู่ความสงบระงับเป็นอารมณ์เดียว

    การทำสมถกรรมฐานนี้ โบราณาจารย์ท่านอุปมาเช่นการเอาก้อนหินไปทับหญ้า เมื่อนำก้อนหินออก หญ้าก็จะงอกงามขึ้นเหมือนเดิม ฉะนั้นการขุดรากถอนโคนกิเลสตัณหา จำต้องใช้ ‘วิปัสสนากรรมฐาน’ เป็นเครื่องมือ

    พุทธศาสนาสอนเรื่องปัญญา หากเป็นปัญญาภายในสำหรับการ ‘รู้’ เท่าทันถึงรากถึงเหง้าแห่งกิเลสอันเป็นเหตุร้อยรัดสัตว์โลกให้ตกอยู่กับชาติภพอย่างมิรู้จบสิ้น นั่นคือประเด็นสำคัญที่จะกล่าวถึงในวันนี้

    ก่อนจะเข้าเรื่องการเจริญวิปัสสนาตามหัวข้อที่วางไว้ ขออธิบายถึงเหตุผลของความคิดที่จะยกประเด็นนี้มาเขียนถึงสักเล็กน้อย ประการแรกคือในสมัยที่ผู้เขียนเริ่มต้นทำสมาธิ ด้วยการภาวนาพุทโธ ๆ พร้อม ๆ กับการกำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่นานหลายปี ทำโดยไม่รู้จุดมุ่งหมายอะไร

    นอกจากความต้องการเข้าสู่ความสงบเท่านั้น

    หลายครั้งจิตสงบ แต่มากครั้งกว่าคือความล้มเหลว ทำเสร็จก็ลุกออกจากที่โดยไม่มีอะไรก้าวหน้า จนวันหนึ่งจึงได้พบครูบาอาจารย์ ท่านจึงให้ความรู้ที่สำคัญยิ่ง สิ่งที่ได้ก็คือ ภาวนาให้จิตสงบ จากนั้นควรพิจารณาธรรม

    คำถามคือ “พิจารณาธรรม พิจารณาอย่างไร? ”

    ครูบาอาจารย์ท่านจึงอธิบายเรื่องการภาวนาให้ฟังอย่างละเอียดถี่ถ้วน การปฏิบัติที่ถูกวิธีก็คือการทำจิตเข้าสู่ความสงบ เมื่อได้ความสงบแล้วค่อยถอยออกมาที่อุปจารสมาธิ พิจารณาเรื่อง กาย เวทนา จิต ธรรม

    ครูบาอาจารย์ท่านพูดสั้น ๆ หากเรายากจะเข้าใจ จนมาอ่านหนังสือมุตโตทัย ที่ถอดคำเทศนาของหลวงปู่มั่นเอาไว้ กับหนังสือทิพยอำนาจที่เรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง) ปุสโส จึงเข้าใจขึ้นพอสมควร ว่าการเจริญวิปัสสนาคือการยกเอาขันธ์ 5 อันเป็นที่อาศัยของอาสวะนั้นให้เห็นชัดโดยกฎไตรลักษณ์ พิจารณาให้แจ่มแจ้งแล้วแจ่มแจ้งอีก จนกว่าจะถอนอาลัยในขันธ์ 5 ได้เด็ดขาด จิตใจจึงมีอำนาจเหนือขันธ์ 5 รู้เท่าทันตามความจริง อาสวะก็ตั้งไม่ติด จิตใจก็บรรลุถึงความมีอิสระ เต็มเปี่ยมชื่อว่าบรรลุอาสวขยญาณในที่สุด

    ขันธ์ 5 ที่กล่าวมานั้นประกอบด้วย รูป นาม เวทนา สังขาร วิญญาณ รูปกับนามคือรูปกายกับนามกาย เวทนาคือความรู้สึกในรสผัสสะทั้งปวง สังขารคือการปรุงแต่งคิดอ่านทางใจ วิญญาณคือธาตุซึ่งถือปฏิสนธิในรูปธาตุตามความคิด

    การยกเอาขันธ์ 5 มาพิจารณา ส่วนมากจะนำเอาเรื่องรูปนามมาพิจารณามากกว่าประการอื่น ด้วยเป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ชินชา เช่นอาการสามสิบสองในร่างกายเรานี้เอง ตั้งแต่ ผม เล็บ ฟัน หนัง ตับ ปอด หัวใจ ฯลฯ

    แม้อาการแห่งรูปจะมีถึงสามสิบสองประการ หากครูบาอาจารย์ท่านให้ยกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่เห็นบ่อย ๆ อย่างเช่น ผม หนัง เล็บ หรือฟัน มาเป็นข้อพิจารณาอยู่เนือง ๆ วิธีการมีสองลักษณะคือทำสมาธิให้เข้าสู่ความสงบเต็มที่ จากนั้นจึงถอยออกมาพิจารณาในขั้นอุปจารสมาธิ (ข้อนี้สำหรับผู้สามารถเข้าสมาธิระดับฌานแล้ว) กับอีกวิธีการคือ ทำสมาธิสลับกับการพิจารณาเรื่อยไป สำหรับผู้มีภูมิสมาธิต่ำ ประการหลังนี้อย่าพิจารณาด้านเดียวโดยไม่ทำสมาธิให้จิตสงบ เพราะจะกลายเป็นการฟุ้งในธรรมเกินไป จะทำให้หลงสัญญาตัวเองว่าเป็นวิปัสสนาญาณไป

    การพิจารณาวิปัสสนานั้น โบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ชัดเจนว่า การเจริญวิปัสสนาไม่ว่าโดยวิธีใดจะต้องมี ‘พระไตรลักษณญาณ’ เป็นเครื่องบ่งชี้เสมอ จึงเป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้อง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...