ทาน กับ จาคะ มีผลกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 24 พฤษภาคม 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คำว่า ทาน นั้นหมายถึงการให้และการเสียสละในสิ่งอันเป็นที่รักของตนเพื่อคนอื่นๆ เพื่อประโยชน์และความสุขของคนอื่นๆ มีผลมากต่อจิตใจเพราะช่วยชำระจิตใจ ให้เป็นผู้มีเมตตา ไม่โลภ เมื่อไม่โลภเมื่อเป็นผู้ให้จิตใจย่อมเต็มไปด้วยคุณของการให้คือความไม่อยากได้ของๆใคร ไม่ว่าจะเป็นตัวตน บุคคล สิ่งของเมื่อพิจารณาดีๆ สิ่งนี้ที่เราเห็นได้ง่ายๆและทุกคนต้องเห็นแต่บางคนอาจยังไม่เข้าใจก็คือ การให้ของบิดามารดา ท่านให้เราโดยส่วนมากก็ในลักษณะนั้น และสิ่งเหล่านี้มันจะเป็นการสืบสานต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น เว้นเสียว่า บิดามารดาของเราจะเป็นผู้ไม่รู้ว่าการให้ได้ประโยชน์ใดมีผลดีอย่างไร แต่นั่นไมใช่ปัญหาแต่อย่างใดเพราะ เมื่อเรารู้แล้วเราก็เกื้อกูลกันไปได้ทั้งบิดามารดาและตัวเรา บุญที่เกิดจากทานคือการให้นั้นมีด้วยกันหลักๆ ก็ตามที่พระศาสดาตรัสไว้ในเรื่องอานิสงส์แห่งทาน
    พระพุทธองค์ตรัสเรื่องอานิสงส์แห่งทาน

    พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงทักขิณาวิภังคสูตร เพื่อจำแนกลักษณะแห่งการให้ทานเฉพาะบุคคล และการให้ทานแก่พระสงฆ์ทั่วไป (สังฆทาน) ลักษณะดังนี้

    - การให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานที่ตนเลี้ยงหรือให้ทานสัตว์อื่นแม้คำหนึ่งหรือครึ่งคำก็ตาม ย่อมมีอานิสงส์ถึง ๕๐๐ชาติ
    - การให้ทานแก่มนุษย์ผู้ทุศีลนั้นมีอานิสงส์ถึง ๑,๐๐๐ ชาติ
    - การให้ทานแก่มนุษย์ผู้มีศีลจารวัตร มีอานิสงส์ถึงแสนชาติ
    - การให้ทานแก่ดาบส ผู้ได้อภิญญาสมาบัติมีอานิสงส์แสนโกฏิชาติ
    - การให้ทานแก่ผู้ประพฤติธรรมบรรลุโสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ รวมทั้งผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ และปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งโสดาบันนั้น ย่อมมีอานิสงส์ อสงไขยนับประมาณมิได้.......จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงพระโสดาบันถึงพระอรหันตสาวกเลยว่ามีอานิสงส์เท่าไหร่นับประมาณมิได้
    หากทานทั้งหมดมีผลเท่ากันแล้ว ก็จะไม่มีอะไรเป็นคุณวิเศษยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

    ในอนาคตนั้น ภิกษุผู้ทุศีลที่เรียกกันว่า “โคตรภูสงฆ์” ซึ่งมีเพียงผ้ากาสาวพัสตร์ห้อยหูพันคอเท่านั้น และสำคัญตนว่าเป็นภิกษุ หากการถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์เช่นนี้ แต่อุทิศเป็นสังฆทานก็ได้ มีอานิสงส์อสงไขยกัปเช่นกัน
    ตถาคตกล่าวว่า “สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าการให้ทานเฉพาะบุคคล (ปาฏิบุคลิกทาน)”

    การให้ทานในลักษณะที่เป็นการถวายเฉพาะบุคคล (ปาฏิบุคลิก) มี ๑๔ ประการคือ การถวายให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ได้แก่
    ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
    ๓. พระอรหันตสาวก
    ๔. ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อการรู้แจ้งแห่งพระอรหันต์
    ๕. พระอนาคามีบุคคล
    ๖. ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุพระอนาคามีผล
    ๗. พระสกิทาคามีบุคคล
    ๘. ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุพระสกิทาคามีผล
    ๙. พระโสดาบันบุคคล
    ๑๐. ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุพระโสดาปัตติผล
    ๑๑. บุคคลภายนอกศาสนาผู้บำเพ็ญได้โลกิยสมาบัติ
    ๑๒.คฤหัสถ์ผู้เลี้ยงตนด้วยเกษตร พาณิชย์โดยชอบธรรม
    ๑๓.คฤหัสถ์ผู้ทุศีล
    ๑๔.การให้ทานแก่สัตว์เดียรฉาน

    การสมบูรณ์แห่งการให้ทานจึงมีเงื่อนไขอยู่ ๔ ประการ ที่ทำให้ผลแห่งทานได้ไม่เสมอกัน
    ๑.ความบริสุทธิ์จากผู้ให้ แต่ผู้รับไม่บริสุทธิ์
    ๒.ความบริสุทธิ์จากผู้รับ แต่ผู้ให้ไม่บริสุทธิ์
    ๓.ความบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายผู้ให้และฝ่ายผู้รับ
    ๔.ความบริสุทธิ์มิได้เกิดในผู้ให้และผู้รับ

    ปุจฉา – วิสัชนา
    ปุจฉา : ทานที่บริสุทธ์ฝ่ายผู้ให้ แต่ผู้รับไม่บริสุทธ์เป็นอย่างไร
    วิสัชนา : ผู้ให้มีศีลจารวัตรและกุศลธรรมประจำตัว แต่ผู้รับนั้นเป็นผู้ทุศีลขาดศีลาจารวัตรประจำตัว
    ปุจฉา : ทานที่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ แต่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับเป็นอย่างไร
    วิสัชนา : ผู้ให้เป็นผู้ทุศีลขาดศีลาจารวัตร แต่ผู้รับนั้นมีศีลาจารวัตรมีกุศลธรรมประจำตัว
    ปุจฉา : ทานที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายผู้ให้และฝ่ายผู้รับเป็นอย่างไร
    วิสัชนา : ผู้ให้และผู้รับต่างมีศีลาจารวัตรด้วยกันทั้งสองฝ่าย
    ปุจฉา : ทานที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างไร
    วิสัชนา : ทั้งผู้ให้และผู้รับต่างไม่มีศีลธรรมทั้งคู่

    ของที่นำมาทำทาน
    - ผู้มีศีลย่อมนำของที่มาให้เป็นทาน ที่ได้มาโดยบริสุทธ์ ไม่ได้ลักขโมยมาให้ทาน
    - ผู้ที่นำของที่ไม่บริสุทธิ์เช่นลักขโมยมาให้เป็นทาน ถือว่าเป็นผู้ทุศีล(ทานนั้นไม่บริสุทธิ์)
    และเหตุที่ทานนั้นสำคัญมากเพราะทานเป็นอริต่อรากเหง้าของกิเลสอันมีชื่อว่าโลภะโดยตรง ซึ่งด้วยโลภะนี้เองก็เป็นเหตุให้เกิดสืบเนื่องต่อไปด้วยโทสะและโมหะ จะยิ่งทวีความมีอยู่อย่างไม่อาจลดละได้หากยังไม่พิจารณาด้วยปัญญาเพื่อให้เกิดการให้ทาน ทานจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการชำระล้างจิต และทานสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ อภัยทาน ซึ่งจะนำไปสู่ความสละซึ่งเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายอันเรียกว่า จาคะ คือสละความโกรธ ความโลภ ความหลง ที่มีในใจในจิต ให้จิตมีความผ่องใสประณีตยิ่งขึ้นๆ เพราะในเบื้องต้นจะรู้ว่าเมื่อความอยากได้ในสิ่งทั้งหลายนั้นมีน้อยลงแล้ว การจะมองเห็นว่า ความอยากได้ และการมีอยู่ซึ่งความพยายามในการที่จะทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อยากได้นั้นอันอาศัย โทสะ เคล้าด้วยโมหะ นั้น ก็จะถูกบรรเทาลง จิตที่ถูกบดบังด้วยสิ่งเหล่านี้ก็จะเบาบางจากกิเลส ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขความสงบและเป็นปัจจัยให้บำเพ็ญกริยาธรรมเบื้องสูงได้ต่อไปอย่างดีและดีที่สุด
    อนุโมทนาแก่ทุกๆท่านที่ร่วมกันพิจารณา
     
  2. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    การให้ทำให้ใจเป็นสุขก็จงทำเถิดค่ะ อนุโมทนาสาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...