ทัวร์วัฒนธรรมยกเล็ก "กุฎีทอง" ริมน้ำ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 28 มิถุนายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    รูปปั้นนางยักษ์สัญลักษณ์ชฎานางหุ่นกระบอก

    ภายในพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาพระพุทธรูปที่ทำจากวัสดุต่างๆสวยงามล้ำค่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>อาทิตย์นี้ไปอัมพวากัน!

    แค่ประโยคเดียวเท่านั้นก็ปลุกความคึกคักให้เกิดขึ้นในใจ พร้อมกับอารมณ์ "อยากเที่ยว"

    แม้ว่าจะล่วงมาถึงปลายเดือนมิถุนายน แต่แดดที่สาดลงมาเปรี้ยงๆ เต็มๆ อย่างถ้วนทั่วทุกขุมขนสามารถเสกให้ตัวดำในพริบตา แต่...แค่นี้ไม่กระไรหรอก เมื่อได้ยินคำ "ท่านพระครูวิมลภาวนาจารย์" เจ้าอาวาสวัดภุมรินทร์กุฎีทอง ที่ว่า

    "อัมพวาไม่ได้มีแค่หิ่งห้อย!"

    เราจึงมาเดินร่อนอยู่ภายในบริเวณวัดภุมรินทร์กุฎีทอง ที่จังหวัดสมุทรสงคราม

    เส้นทางไปวัดภุมรินทร์ฯ นั้นไปไม่ยาก เพราะเป็นเส้นเดียวกับตลาดน้ำอัมพวา คือลงจากทางด่วนกรุงเทพฯ-พระราม 2 แล้วให้วิ่งตรงไปเรื่อยๆ ก่อนถึงจังหวัดเพชรบุรีจะมีเส้นทางลอยฟ้าให้เลี้ยวขวาไปทางสมุทรสงคราม พอเห็นวัดป้อมแก้ว ให้เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟ แล้วเลี้ยวขวา-เลี้ยวซ้ายอีกครั้ง จากนั้นก็ตรงไปเรื่อยๆ ผ่านวัดช่องลม วัดแก้วฟ้า พอถึงวัดบางกะพ้อมให้ชะลอความเร็ว วัดภุมรินทร์ฯจะอยู่ฝั่งเดียวกัน คือฝั่งซ้ายมือ ก่อนจะถึงทางเข้าตลาดน้ำอัมพวา

    พอเข้ามาในเขตวัด ยิ่งตื่นตาตื่นใจ และ "รู้สึกดี" ที่ได้เห็นว่ามีคนไม่น้อยที่สนใจเข้ามาเที่ยววัดเที่ยววาอยู่เช่นกัน

    ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นเพราะความตั้งใจจริงของพระคุณเจ้า เจ้าอาวาสวัดภุมรินทร์ฯ ท่านพระครูวิมลภาวนาจารย์ ที่มุ่งมั่นที่จะทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่ง

    อาศัยที่มีทำเลเป็นต่อ อยู่ริมน้ำตรงข้ามอุทยานฯ ร.2 พอดิบพอดี มีเรือข้ามฟากให้บริการตลอดทั้งวัน จอดที่ท่าเรือทางเข้าตลาดน้ำอัมพวา

    นั่นหมายถึงเส้นทางเดินเที่ยวที่...ถ้าขับรถมาเอง แนะนำให้มาเริ่มต้นจากที่วัดภุมรินทร์ฯ แห่งนี้ จอดรถสบายๆ ใต้ร่มไม้แล้วไปไหว้พระ เดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ กุฎีทอง กินข้าวเที่ยงริมน้ำแบบชิลล์ชิลล์

    อิ่มหนำแล้วค่อยนั่งเรือข้ามฟากไปเดินตลาดน้ำอัมพวา พอบ่ายแก่ๆ ก็เดินต่อไปเที่ยวในอุทยาน ร.2 ก่อนจะข้ามเรือกลับมา เป็นอันครบรอบทัวร์เชิงวัฒนธรรม 1 ยกเล็ก <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    รอยพระพุทธบาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ซึ่งถ้าต้องการทัวร์ยกใหญ่ในคลองอัมพวายังมีโปรแกรมทัวร์ให้เลือกใช้บริการอีกเพียบ

    กลับมาที่วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ซึ่งจริงๆ แล้วเมื่อก่อนวัดนี้มีชื่อแค่ "วัดภุมรินทร์" แต่ "กุฎีทอง" นั้นมาเพิ่มเข้าไปในภายหลังเมื่อมีการนำ "กุฎีเรือนไม้สักทอง" ซึ่งสมเด็จพระชนกของสมเด็จพระอมรินทร์ทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ 1 สร้างถวายวัดบางลี่น้อย ซึ่งอยู่ตรงหัวคุ้งน้ำแม่กลอง (วัดภุมรินทร์อยู่เยื้องเข้ามาด้านใน) มาไว้ที่วัดแห่งนี้ก่อนที่จะพังลงน้ำไปเสียหมด

    เล่ากันถึงเรือนไม้สักทองนี้ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งมีเศรษฐีตระกูลหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณวัดจุฬามณี แขวงบางช้าง ซึ่งปัจจุบันคืออัมพวานี่เอง

    เศรษฐีทองและเศรษฐีสั้นแม้จะมีบุตรธิดาอยู่หลายคน แต่หนึ่งในนั้นซึ่งมีชื่อว่า "นาค" นั้นจัดได้ว่าเป็นกุลสตรีที่มีความงามเป็นที่เลื่องลือ กระทั่งพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาส่งคนไปทาบทามสู่ขอ แต่เศรษฐีผู้พ่อรู้สึกสงสารธิดาซึ่งไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวัง

    ที่สุดจึงพร้อมด้วยเจ้าเมืองสมุทรสงครามนำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอักษร (ทองดี) เสมียนตรามหาดไทย หลวงพินิจอักษรได้เกิดปัญญาว่า นาย "ทองด้วง" บุตรชายได้บวชเรียนแล้วยังไม่มีคู่ครอง ทั้งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดรับราชการในวัง หากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่งนัก

    ทั้งสองเห็นดี จึงทำฎีกากราบทูลขอพระราชทานธิดาของเศรษฐีบางช้าง ว่า หลวงพินิจอักษรนั้นได้สู่ขอให้นายทองด้วง ผู้บุตรชายแล้ว

    หลังจากนั้นเศรษฐีทองได้ชวนภรรยาและธิดาไปทำบุญที่วัดบางลี่บน และขอให้สมภาร ซึ่งก็คือ " หลวงปู่ทิม" เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดภุมรินทร์ ตรวจดวงชะตา พร้อมทั้งกำหนดฤกษ์วันวิวาห์ สมภารตรวจดูแล้วกล่าวว่า

    "ธิดาของท่านจะมีบุญวาสนามาก จะได้เป็นนางพญามหากษัตริย์ ยกวงศ์ตระกูลให้เป็นสุข เป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย"

    เศรษฐีทองจึงให้คำมั่นว่า ถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวาย
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    พระพุทธรูปห่มจีวรลายดอกพิกุลหาดูที่อื่นไม่ได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กุฎีที่เศรษฐีทองสร้างถวายหลวงพ่อ มีทั้งหมด 3 หลัง แต่ถูกกระแสน้ำค่อยๆ กัดกร่อนพังลงน้ำไป 2 หลัง หลวงพ่อเกีย เจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัดภุมรินทร์ เห็นว่าเหลือเพียงหลังเดียวเลยรื้อมาปลูกไว้ที่วัดภุมรินทร์

    นั่นเป็นเรื่องราวที่ร้อยโยงกันระหว่างสองวัดริมแม่กลอง ในส่วนของวัดภุมรินทร์เองก็มีที่มาเช่นกัน

    ท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เล่าว่า วัดภุมรินทร์ เมื่อก่อนชาวบ้านเรียกว่า "วัดปากคลอง" เพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง บ้างก็เรียก "วัดกะลิงปลิง"

    "สภาพวัดก่อนนั้นทรุดโทรมมาก หลังคาก็ยุบ ไม่มีคนมาทำบุญ โยม "ภู่" พงษ์พิทักษ์ เศรษฐินีอัมพวา เจ้าของโรงงานน้ำตาลที่นครปฐม กลับมาบ้านเห็นวัดทรุดโทรม จึงนำทรัพย์สินส่วนตัวมาบูรณะวัด แล้วถวายให้หลวงพ่อดูแล ตอนนั้นราวปี พ.ศ.2325 วัดนี้ก็เลยให้ชื่อว่า "วัดภุมรินทร์" แปลว่า "แมลงภู่หรือผึ้ง"

    น่าเสียดายที่วันที่แวะเข้าไป กุฎีทองกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิสังขรณ์พอดีจึงได้มุมภาพออกมาไม่สวยเท่าที่ควร

    นอกชานที่แดดลามเลียอยู่ตั้งแต่เช้า เมื่อสัมผัสกับเท้าที่ถือว่าเป็นส่วนที่ (ผิว) หนังหนาที่สุดของร่างกายแล้ว ยังอดเต้นเป็นหนุมานลุยไฟไม่ได้

    ภายในมี ด.ช.ไพรวัลย์ ปิ่นวิเศษ มัคคุเทศก์น้อยทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวยามมีลูกค้าก้าวผ่านเรือนชานเข้ามา

    "...หลวงพ่อปลัดทิม ท่านได้ทำนายดวงชะตาแก่ นางสาวนาค ลูกสาวของเศรษฐีทองและเศรษฐีสั้น ว่าต่อไปภายหน้า นางสาวนาคจะได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ ภายหลังได้เป็นพระมเหสีในรัชกาลที่ 1 เศรษฐีทองเลยสร้างกุฎีทองถวายหลวงพ่อ 3 หลัง ผุพังลงน้ำไป 2 หลัง เหลือหลังนี้หลังเดียวที่บูรณะไว้ได้

    ตอนนี้อายุได้ 226 ปีแล้ว เหลือเสาต้นกลางเพียงต้นเดียวที่เป็นเสาเก่า นอกนั้นเป็นของใหม่ ส่วนเพดาน ฝาข้าง บานประตู เป็นของเก่าหมด"

    ส่วนห้องด้านในซึ่งในอดีตเป็นที่พักของท่านเจ้าอาวาสนั้น ปัจจุบันปรับเป็นพื้นที่จัดแสดงข้าวของ มีเจ้า "มารวย" แมวเหมียวที่อาสามาทำหน้าที่เฝ้า

    กุฎีทองให้ตั้งแต่แรกเปิดประตูเรือน

    จากบนกุฏิ เราแวะเข้าไปดูในอีกส่วนที่สำคัญที่สุดของวัดแห่งนี้ คือ พิพิธภัณฑ์ อยู่ชั้น 2 ของศาลาการเปรียญ เป็นที่เก็บรักษาพระพุทธรูปโบราณ ส่วนใหญ่อยู่ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีทั้งที่เป็นพระพุทธรูปที่หล่อจากปูน จากโลหะ ลักษณะแปลกตา เช่น พระพุทธรูปที่ห่มจีวรลายดอกพิกุล พระพุทธรูปที่มีรอยยิ้มเยื้อนแสดงความเมตตา ฯลฯ

    รวมทั้งพระพิฆเณศที่เชื่อกันว่า ใครที่มาอธิษฐานจิตขอพรให้การงานรุ่งเรืองพร้อมกับก้มศีรษะลงแตะกับองค์พระพุทธรูป จะพบกับความสำเร็จสมหวัง

    ที่น่าทึ่งคือ พระพุทธรูปไม้ มีทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่ ได้มาจากการที่ท่านเจ้าอาวาสเห็นว่ากุฏินั้นหลังคาผุพังไปมาก สั่งให้รื้อปฏิสังขรณ์เสีย จึงพบกรุพระอยู่บนหลังคากุฏิ ที่คนรุ่นเก่าใช้เป็นที่เก็บซ่อนสิ่งมีค่าไว้เพื่อให้พ้นจากน้ำมือของโจรปล้นชิงต่างๆ พระพุทธรูปเหล่านี้จึงยังคงมีเหลือตกทอดมาเป็นสมบัติความรู้แก่คนรุ่นหลังๆ จัดแสดงร่วมกับบรรดาโบราณวัตถุที่ชาวบ้านพร้อมใจกันนำมาถวายวัด

    พอเวลาบ่ายคล้อย ท้องเริ่มอุทธรณ์ ลูกทัวร์ทั้งหมดที่มีทั้งสิ้น 2 ชีวิต มุ่งไปที่เต๊นท์ขายอาหารที่เรียงรายอยู่ริมน้ำ ใช้บริการเย็นตาโฟกันคนละชาม กับกาแฟเย็นอีกคนละแก้ว

    ระหว่างที่กำลังสุขสำราญกับอาหารมื้อเที่ยง ฝั่งตรงข้ามที่อาคาร ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมไทย "ชฎานางหุ่นกระบอก" เด็กน้อย 2 คนในเสื้อขาวโจงกระเบนแดง ยืนซ้อมหุ่นกระบอกมือ

    แอบเข้าไปเมียงๆ มองๆ จึงได้ทราบว่า ชฎานางหุ่นกระบอก มาจาก ครูปิ๊ก-คชาภรณ์ สำราญใจ ลูกศิษย์ครูชื้น สกุลแก้ว ผู้หลงใหลงานศิลปะประเภทหุ่นละคร เข้ามาเปิดสอนให้เด็กๆ ในละแวกนั้นที่สนใจได้เรียนรู้ทั้งแต่ศิลปะการรำ การเชิดหุ่น ไปจนถึงการทำส่วนประกอบฉากต่างๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

    เห็นว่าเร็วๆ นี้ทางวัดยังจะมีตลาดวัฒนธรรมเพิ่มเติมเข้ามาอีก

    ให้ครบเครื่องเป็น "เอดูเทนเมนต์" แบบไทยๆ สไตล์วัดภุมรินทร์



    ˹ѧ
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    อยู่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ เดินทางไม่ไกล
     
  3. กิตติ_เจน

    กิตติ_เจน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,657
    ค่าพลัง:
    +1,281
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่ดีๆ
     
  4. สังสารวัฏ

    สังสารวัฏ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +5,382

แชร์หน้านี้

Loading...