เรื่องเด่น ถอดรหัสปริศนาธรรมหลวงปู่ขาวศิษย์หลวงปู่ใหญ่:หลวงปู่เทพอุดร๑

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 25 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b8aae0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a8e0b899e0b8b2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89b.jpg

    เมื่อไม่นานมานี้ คุณธนอรรถ ตรีธิติธัญ ประธานมูลนิธิ โอ.เค ไลฟ์มากราบขอบารมี พระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ และขอพรหลวงปู่ขาว พุทธรักขิโต วัดป่าคูณคำวิปัสสนา อ.กุดบาก จ. สกลนคร ท่านบอกว่า ชีวิตช่วงนี้ไม่ต้องกังวลอะไร และทันทีที่ท่านแตะตัวผมท่านบอกว่า ผิวตัวที่ดำไม่ใช่ผิวหนังดำ…นี่มันดำน้ำยางว่าน….โยมไปทำอะไรมา !?!

    –—–
    หลวงปู่ขาว รูปนี้ท่านไม่ธรรมดาจริงๆแฮะ!!!
    ท่านทราบได้อย่างไรว่า ผมลงแช่ว่านรางยามาแล้ว
    –——-



    ผมอดทึ่งในใจไม่ได้ที่ท่านทราบ เพราะด้วยความสัตย์จริงผมเพิ่มได้มีโอกาสมากราบท่านครั้งแรกในชีวิต เคยแต่ได้ยินชื่อเสียงของท่านว่าเป็๋นพระนักพัฒนาและมีวิชาพุทธาคมไม่น้อย เพราะการที่พระรูปหนึ่งจะสร้างพระธาตุขึ้นมาได้ให้เสร็จสมบูรณ์ สวยงามกลางป่ากลางเขาไม่ใช่เรื่องที่ใครก็สามารถจะทำได้…แต่ท่านทำได้

    ความงดงาม สูงตระหง่านเสียดฟ้าของพระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ คือคำตอบที่ประดิษฐานตระหง่านอยู่เบื้องหน้าทุกท่านที่ไปเยือนวัดป่าคูณคำวิปัสนาแห่งนี้

    หลวงปู่ขาว หรือ พระอธิการสุพัตร พุทธรักขิโต ท่านได้มีดำริที่จะสร้างองค์พระธาตคูณคำธรรมเจดีย์เพื่อประดิษฐ์ฐานพระบรมสารีริกธาติและเป็นพุทธบูชา โดยเริ่มก่อสร้างอค์พระธาติ (องค์เดิมก่อนที่จะทำการบูรณะ) องค์พระธาติมีส่วนสูง ๑๒ เมตร กว่างด้านละ ๓ เมตร และมีพระธาตุ องค์ล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ เริ่มก่อสร้างในวันพฤหัสบดีที่ ๙ กันยายน พ.ส.๒๕๓๕ จนแล้วเสร็จในเดือนเมษรยน พ.ศ.๒๕๓๖ รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง ๘ เดือน ใช้งบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน ๙๙0,000 บาท

    ต่อมาการบูรณะองค์พระธาตุคูณคำธรรมเจดีย์ นำโดยพระอธิ การสุพัตร พุทธรักขิโต เป็นประธานในการนำคณะสงฆ์ สามเณรวัดป่าคูรคำวิปัสสนา ศิษยานุศิษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งชาวบ้านกลางร่วมกันบูรณะองค์พระธาติให้มีความมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น

    เนื่องจากพระธาติองค์เดิมมีขนาดเล็กและเริ่มชำรุดทรุดโทรมพร้อมกันนั้นยังมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างพระธาติคูณคำธรรมเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาติที่ได้รับประทานมาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒และเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาติเบื้องซ้ายที่ได้รับประทานจาก ดร.ธรรมเสน มหาเถโร สมเด็จพระสังฆราชประเทศบังคลาเทศ อีงค์ที่ ๑๒ แห่งประเทศบังคลาเทศ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕

    ให้เป็นที่สักการะบูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนตลอดชั่วกาลนาน เป็นการสร้างเพื่อครอบพระธาตุองค์เดิม ซึ่งองค์พระธาติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดความกว้างของฐานด้านละ ๑๘ เมตา ความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตร ๖0 เมตร เป็นการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมด้วยเหล็ก ก่อด้วยอิฐและฉาบด้วยปูน ยอดฉัตรทำจากทองคำหนัก ๑๕ บาท

    ซึ่งเริ่มบูรณะในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕0 ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งหมด ๖ ปี สิ้นงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๔0 ล้านบาท

    นอกจากนี้ท่านยังได้ร่วมสร้างและบูรณะพระธาตุอีก ๔ แห่งคือ พระธาติเจดีย์ศรีคันไชยวัดท่าเดื่อ ต.ท่าเดื้อคันไชย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร , พระธาติเจดีย์หินศิลามงคล วัดสว่างอารมณ์บ้านหนองหอย ต.ธาตุทอง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร , พระธาตุศิลามงคล วัดศิลามงคลตำบลพระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนมและพระเจดีย์พุทธมงคลศรีพยัคฆื วัดหนองแคน ต.เมืองเสือ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

    วัดป่าคูรคำวิปัสสนาแห่งนี้ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยหลวงพ่อเบี้ยว ฐานวิโร (อดีตประธานสงฆ์) ได้พิจารณาพื้นที่แห่งนี้ ว่ามีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงพ่อเบี้ยว ฐานวิโร พร้อมกลุ่มชาวบ้านกลาง จึงได้มีความประสงค์และร่วมกันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น

    จนกระทั้ง เมื่อ พ.ส.๒๕๓๓ หลวงปู่ขาว หรือ พระอธิการสัพัตร์ พุทธรักขิโต ภายหลังจากธุดงค์ได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดของท่านและได้พิจารณาร่วมกับชาวบ้านกลางแล้วเห็นสมควรที่จพัฒนาสำนักสงฆ์แห่งนี้เพื่อเป็นวัดสืบต่อไป ต่อมาได้มีมติความเห็นชอบชองคณะกรรมการมหาเถรสมาคมและกรมการศาสนาในสมัยนั้น (ปัจจุบันกรมการศาสนาได้เปลี่ยนเป็นสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ) ได้อนุญาตให้สำนักสงฆ์ป่าคูณคำวิปัสสนายกลำดับฐานะขึ้นเป็นวัดในวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘

    วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดป่าที่มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่มากมายอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง

    กุฏิของหลวงปู่ขาวอยู่ลึกเข้าไปในป่าใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ทางเดินเล็กๆ เทหล่อด้วยคอนกรีตลดเลี้ยวเลาะไปตามใต้โคนไม้ ผมเดินตามหลังผู้ใหญ่หลายท่านเข้าไปพร้อมซึมซัมบรรยากาศที่หายากยิ่งจากวัดกลางเมืองหลวง

    ………………

    หลวงปู่ขาว นั่งรออยู่ด้วยใบหน้าที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านยิ่มแย้มทักท่ายทุกคนอย่างเป็นกันเอง แม้ว่าผมจะได้ยินร่ำลือมาบ้างถึงความดุของท่านเวลาลูกศิษย์เข้ามาหา แต่ผมเข้าใจว่า ท่านคงดุด้วยความเป็นครูที่มุ่งมากปรารถนาที่จะอบรมสั่งสอนมากกว่าจะดุด้วยโทสะจริต

    และจริงอย่างที่ผมคิดไว้ในใจ ท่านเป็นพระที่มีความเป็นครูสูงและมุ่งเน้นที่จะสอนธรรมะแบบไม่ได้ตั้งหน้าตั้งหน้าอบรมสั่งสอนดั่งเป็นผู้วิเศษที่บรรลุธรรม แต่ท่านสอนธรรมะแบบธรรมชาติด้วยการดูจริตของคนๆนั้นว่าสามารถรับธรรมได้ในระดับใด.. ท่านก็จะสอนไประดับนั้น

    เรื่องปลกแต่จริงก็คือ ข้างๆ ตั่งแคร่ที่ท่านนั่งจะประดิษฐานรูปปั้นขนาดใหญ่ของพระภิกษุรูปหนึ่งด้วยปูนสีขาวที่สีหม่นไปตามกาลเวลาที่ฐานสลักนามไว้ว่าหลวงปู่เทพอุดร

    แต่ใบหน้าของพระรูปปั้นกลับละม้ายคล้ายกับท่าน อย่างน่าประหลาด

    ทุกคนในขณะยืนยันว่าเป็นรูปปั้นเก่าแก่ที่หนึ่งในคณะเก็บรักษาไว้นานหลายสิบปีก่อนจะได้รูจักกับหลวงปู่ขาวเสียอีก แต่เมื่อมีโอกาสได้รู้จักท่านและมีโอกาสมากราบก็อัญเชิญมาเพื่อขอให้ท่านเจิมให้เพื่อความเป็นศิริมงคล แต่เมื่อนำมาปรากฎว่าเพิ่มสังเกตว่ารูปปั้นหลวงปู้เทพอุดรหรือหลวงปู่ใหญ่มีความคล้ายกับท่านมาก จึงตัดสินถวายไว้ที่กุฎิของท่านตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    เมื่อเอ่ยถามว่า เพราะเหตุใดจึงมีความคล้ายคลึงกันขนาดนั้น ท่านหัวเราะแต่ไม่มีอธิบายขยายความใดๆ แต่ผมเข้าใจของผมเองว่า “ความบังเอิญ” ไม่มีอยู่จริงหรอกในโลกใบนี้

    กลับมานั่งย้อนค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่มีการเขียนบันทึกถึงเรื่องราวของหลวงปู่ขาว จึงพบว่า ท่านมีความสัมพันธ์โยงใยกับหลวงปู่เทพอุดรเป็นอย่างมาก
    (อ่านต่อฉบับหน้า)

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.komchadluek.net/news/knowledge/372981
     

แชร์หน้านี้

Loading...