ชวนวิเคราะห์ หลักอนุตตรธรรม มีผลต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วงบุญพิเศษ, 5 ธันวาคม 2010.

  1. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    อนุตตรธรรมเป็นลัทธิใหม่ที่ชักชวนคนให้สร้างสันติภาพโลกโดยการรวมทุกศาสนาเป็นหนึ่งเดียวกัน มีการเผยแพร่ที่โด่งคังมากในประเทศไต้หวันกว่า 30 ปีแล้ว เผยแพร่ในไทยกว่า20 ปี มีศูนย์ธรรมหรือพวกเขาเรียกว่า พุทธสถานใหญ่ซึ่งแต่ละแห่งใช้ทุนสร้างกว่า20ล้านบาท ในไทย 5 แห่ง คือที่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น แพร่ สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และพุทธสถานย่อยครบทุกจังหวัดในไทยแล้ว มีการประทับทรงบอกเรื่องราวการกำเนิดโลกและการรแตกดับในเชิงพุทธศาสนา สอนคุณธรรมแบบขงจื้อ ที่รู้มากเพราะป้าผมเข้าไปศึกษาและศรัทธามากจนหมดความเลื่อมใสในศาสนาพุทธ โดยที่ป้าเชื่อมากคือ เรื่องการเกิดสึนามิ ซึ่งมีการประทับทรงที่ จ.พังงาบอกล่วงหน้าโดยป้าอยู่ในเหตุการณ์

    ความเชื่อที่สอนอยู่ในลัทธิอนุตรธรรม

    1. รับธรรมะโดยการเปิดจุดทวาร เพื่อที่จะไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
    2. คาถา 5 คำและการไหว้โดยทำมือเป็นเหมือนดอกบัว เมื่อผู้รับธรรมะเสียชีวิตแล้วต้องใช้สิ่งเหล่านี้เป็นรหัสผ่านเข้าสวรรค์และจะไม่ต้องกับมาเกิดอีก
    3. ผู้ที่ไม่รับประทานอาหารเจตลอดชีวิตจะไม่สามารถบรรลุธรรมได้
    4. ผู้รับธรรมะแล้วบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วจะได้รับบุญด้วย
    5. การเชิญบุคคลอื่นมารับธรรมะ เป็นบุญใหญ่ ผู้ชักชวนมาจะได้รับการเลื่อนขั้นและเป็นที่นับหน้าถือตาในแวดวงลัทธินี้
    6. ผู้ที่มารับธรรมะทุกคนต้องทำบุญบริจาค 200 บาทขึ้นไป
    7. หลังจากรับธรรมะแล้วจะมีการเผาชื่อผู้รับธรรม เพื่อลบรายชื่อผู้รับธรรมะออกจากนรกไปสู่นิพพาน
    8. การทรงเจ้าสามารถเชิญ จี้กง เจ้าแม่กวนอิม กวนอู นาจา เทพ 8 เซียน พระกษิติครรภ์ วิญญาณเจ้ากรรมนายเวร อีกทั้งยังเคยปรากฎว่า พระพุทธเจ้าโคดม และ พระอานนท์ ก็เคยเข้าร่างทรง โดยทรงมาพูดเรื่องธรรมะล้วนๆ
    9. การเข้ารับวิถีธรรมเท่านั้นถึงจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้
    10. สำหรับวิถีอนุตตรธรรมนั้น เป็นการรับธรรมก่อนบำเพ็ญทีหลัง ส่วนศาสนาบำเพ็ญตนก่อน จึงค่อยรับธรรมะ คนในอดีตไม่ได้รับธรรมะง่าย ๆ เขาจะต้องบำเพ็ญธรรม ปฏิบัติธรรมก่อนแล้วจึงค่อยรับธรรมทีหลัง
    11. อนุตตรธรรมเป็นรากของทุกศาสนา
    12. การตัดสินว่า "อนุตตรธรรม" ควรอุบัติขึ้น เมื่อไหร่และถ่ายทอดลงสู่ผู้ใดเป็นพระวินิจฉัย ของพระองค์ธรรมมารดา
    13.ฯลฯ

    ที่หน้ากลัวคือการบอกว่าจะหมดยุคพระพุทธเจ้าสมณโคดมแล้ว พุทธบุตรเริ่มเสื่อมจากพระวินัย ให้เลิกการปฎิบัติแบบเดิม ใกล้ถึงยุคพระศรีอาริยเมตไตยเต็มที

    นอกจากไต้หวัน ไทย ยังมี จีน อเมริกา อังกฤา โปรตุเกต มาเลเซีย สิงค์โปร กัมพูชา ออสเตรเรีย

    โดยมีหวกนักเรียนนักศึกษาในไทยสนใจเป็นอย่างมาก อาจารย์ก็มาก

    ทั่งประเทศมีสาวกนับล้านนแล้ว(ดูจากรูปต่างๆของป้าที่ให้ดู)


    น่ากลัวจัง
    ลองหาข้อมูลเพิ่มใน Google ดู มีมากมากเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2010
  2. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    <TABLE style="WIDTH: 954px; HEIGHT: 9453px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=954 align=center><TBODY><TR><TD>ความล่วงไปของกายสังขารเป็นสัจธรรม
    ไม่ว่าจะเป็นปุถุชนหรือพระอริยะล้วนตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยงแท้ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่พระอริยะดวงจิตพ้นจากวัฎสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนปุถุชนยังคงท่องไปในทะเลทุกข์มิรู้จบเท่านั้น

    ในปีพุทธศักราช 2468 สองค่ำเดือนทางจันทรคติพระธรรมาจารย์ลู่ก็ดับขันธ์ทิ้งกายสังขารคืนสู่เบื้องบน

    สมัยที่พระธรรมาจารย์ลู่ปกครองธรรมจักรวาลอยู่นั้น นักธรรมอาวุโสซึ่งถือเป็นศิษย์ชั้นอาจารย์ผู้นำมีอยู่ด้วยกัน 8 คน

    นักธรรมขุยเซิง เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในจำนวนนักธรรมอาวุโส และไม่มีอะไรดีเด่นเป็นพิเศษ แต่เป็นคนซื่อสัตย์ น้ำใจดี มีอัธยาศัยไมตรีต่อคนทั้งหลาย

    หลังจากที่พระธรรมจารย์ลู่คืนกลับเบื้องบนได้ไม่นาน ศิษย์ชั้นผู้นำหลายท่านเกิดอาการรุ่มร้อน กระวนกระวายใจใคร่รู้ว่า ใครจะดำรงตำแหน่งพระธรรมาจารย์ ปกครองธรรมจักรวาลต่อไป

    ความโลภหลงในลาภสักการะ ทำให้ไม่อาจอดใจรอโอกาสอันควรต่อไปได้

    จึงอาศัยความเป็นผู้ทรงธรรมวุฒิ จัดแจงกราบอัญเชิญทิพย์ญาณของพระธรรมาจารย์ลู่ให้โปรดประทับทรงแนะนำแนวทาง การปกครองธรรมจักรวาลว่าควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

    ทิพย์ญาณของพระธรรมาจารย์ลู่ ได้โปรดเมตตาแนะนำสั้นๆ ว่า

    "รอให้ครบสามเดือนหนึ่งร้อยวันแล้ว จะส่งข่าวมายังพวกเจ้า"

    เมื่อคำตอบเป็นเช่นนี้ ศิษย์อาวุโสผู้กระหายใคร่รู้ก็จำใจรอต่อไป แต่เวลาผ่านไปไม่นานนักธรรมอาวุโสเหล่านั้น ก็หมดความอดทนที่จะรอต่อไปอีก จึงร่วมกันกราบขอพระมหากรุณาธิคุณพระอนุตตรธรรมเจ้า โปรดประทานแนวทางปกครองวงการธรรม ซึ่งพระองค์ก็โปรดด้วยข้อความที่น่าคิดว่า

    "ทุกคนต่างก็มีโองการสวรรค์กันอยู่แล้ว"

    พระดำรัสเพียงเท่านี้ แทนที่นักธรรมอาวุโสเหล่านั้นจะสำนึกรู้ได้ด้วยดวงจิตที่นอบน้อมถ่อมตน กลับเข้าใจไปว่า พระอนุตตรธรรมเจ้าทรงโปรดชี้แนะ และอนุญาตให้จัดการทุกอย่างได้ตามที่เห็นสมควร เพราะทุกคนต่างได้รับโองการสวรรค์แต่งตั้งธรรมวุฒิ เป็นชั้นอาจารย์ด้วยกันทั้งนั้น

    เมื่อตีความพระดำรัสเช่นนี้แล้ว ผู้อาวุโสทุกคนต่างก็แยกย้ายกันไปตั้งตัวเป็นใหญ่ จัดการดำเนินงานธรรมอย่างเต็มตัวและเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร คงมีแต่นักธรรมขุยเซิงเท่านั้นที่ยังคงรักษาสถานภาพเดิมไว้อย่างสงบเสงี่ยม รอสดับพระบัญชาเบื้องบนในโอกาสต่อไป

    จนกระทั่งสามเดือนล่วงแล้ว ครบรอบร้อยวันตามที่ทิพย์ญาณพระธรรมาจารย์ลู่ได้โปรดไว้เมื่อครั้งก่อน

    พระอนุตตรธรรมเจ้าทรงโปรดประทับลงประทานพระโอวาท พร้อมทั้งประทานแต่งตั้งให้ท่าย่า เหล่ากูไหน่ไน น้องหญิงของพระธรรมาจารย์ลู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักธรรมอาวุโสให้รับพระโองการสวรรค์ รักษาการแทนพระธรรมาจารย์ลู่เป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 12 ปี

    แม้จะเป็นพระบัญชาโองการสวรรค์อย่างชัดเจน แต่ศิษย์ชั้นผู้นำบางท่านก็หาได้เคารพไม่ ยังคงดำเนินงานธรรมของตนต่อไปเป็นเอกเทศ โดยไม่ยกย่องผู้รักษาการแทนพระธรรมจารย์

    คงมีแต่นักธรรมขุยเซิงเท่านั้น ที่ปฏิบัติต่อพระบัญชาของพระอนุตตรธรรมเจ้าและคำสั่งของพระธรรมาจารย์ลู่โดยเคร่งครัด

    และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ที่งานโปรดสัตว์แพร่ธรรมของนักธรรมขุยเซิง เจริญก้าวหน้าไปโดยไม่หยุดยั้ง ตรงกันข้ามกับนักธรรมอาวุโสที่ตั้งตัวเป็นใหญ่เหล่านั้นกลับมีอันเป็นไป

    บางท่านล้มหายตายจาก
    บางท่านละทิ้งงานธรรมกลับไปเป็นสามัญชน ต้องตกระกำลำบาก

    ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2473 พระอนุตตรธรรมเจ้าได้โปรดมีพระบัญชาให้นักธรรมขุยเซิงไปรับโองการสวรรค์เป็น กิจจะลักษณะ จากท่านย่าเหล่ากูไหน่ไน

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพพรหม หลายพระองค์ได้โปรดประทับลงพร้อมกันยังพุทธสถานต่างๆ ทั่วแดนดินโปรดประทานพระโอวาทมีใจความเป็นอย่างเดียวกันว่า

    "บัดนี้ถึงกาลคับขัน พระอนุตตรธรรมเจ้าทรงโปรดบัญชาให้แพร่วิถีอนุตตรธรรมโปรดทั่วไปทั้งสามโลก

    ฟากฟ้าเบื้องบนจะไม่เหลือพุทธญาณหรือแม้พระโพธิสัตว์สักพระองค์ จะทรงโปรดให้จุติเพื่อช่วยโลก เผยแพร่วิถีอนุตตรธรรม"

    เนื่องจากด้วยกาลเวลาคับขันดังนั้น แต่เดิมเบื้องบนทรงกำหนดให้น้องหญิงของพระธรรมาจารย์ลู่รักษาการแทน 12 ปี จึงต้องกำหนดใหม่เหลือ 6 ปี นับวันเดือนปีทางจักทรคติ ทบกับทางสุริยคติรวมกันเป็น 12 ปี

    แต่นักธรรมขุยเซิงก็พิจารณาตนเองว่าเรามีบารมีสูงส่งปานใดหรือ จักบังอาจรับสนองพระโองการสวรรค์ในตำแหน่งพระธรรมาจารย์สมัยที่สิบแปดได้

    แม้จะเป็นพระประสงค์ของเบื้องบนอย่างไร นักธรรมขุยเซิงก็ยืนยันมิกล้ารับ ในที่สุดพระอนุตตรธรรมเจ้า ก็ได้โปรดเข้าฝันมีพระบัญชาสำทับอีกว่า มิให้ปฏิเสธ

    นักธรรมขุยเซิง จึงจำใจเดินทางไปกราบท่านย่าเหล่ากูไหน่ไน ซึ่งท่านก็ได้ทดสอบเคี่ยวกรำนักธรรมขุยเซิงหลายครั้งหลายครา จนในที่สุดท่านย่าจึงกล่าว่า

    "ถ้าจะรับจริงๆ ก็จะให้"

    นักธรรมขุยเซิงจึงคุกเข่าลงกราบรับพระโองการสวรรค์ทันที สืบทอดพงศาธรรมต่อมาเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ 18 ณ พุทธสถาน "กวนอิม" เมืองจี้หนิง มณฑลซานตง ประเทศจีน

    ในครั้งนั้น นักธรรมขุยเซิงและนักธรรมหญิงซู่เจินได้พร้อมกันน้อมรับพระโองการ เป็นพระธรรมาจารย์กงฉังและพระธรรมาจาริณีจื่อซี่ เพื่อร่วมกันแบกภารกิจแพร่ธรรมโปรดสามโลก เก็บงานขั้นสุดท้ายในยุคปลาย สืบสายพงศาธรรมเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ 18 พร้อมกันทั้งสองพระองค์

    พระธรรมจารย์กงฉัง มีพระอริยะลักษณะ พระพักตร์สดชื่นสว่างตลอดเวลา พระองค์มักจะหลับพระเนตรรวมศูนย์อยู่ที่ธรรมจักษุ เมื่อลืมพระเนตรจะฉายประกายศักดิ์สิทธิ์สว่างจ้า

    ย่ำพระบาทเหมือนมังกร ดำเนินเหมือนพยัคฆ์
    พระอิริยาบถสง่างาม เบาสบายเหมือนเหินเมฆแตกต่างไปจากปุถุชนทั้งหลายในโลก

    พระองค์ทรงเป็นพระภาคจุติของพระพุทธะจี้กง รับสนองพระโองการสวรรค์โปรดสามโลก คือเทวโลก มนุษย์โลกและยมโลกจึงปรากฎพระอริยะลักษณะดังนี้

    แม้จะอาศัยกายเนื้อเยี่ยงปุถุชนในโลก แต่หากพระธรรมญาณอยู่เหนือรูปภาพ เป็นสภาวะธรรมเดียวกับสภาวะธรรมในธรรมจักรวาลอันกว้างไกล

    พระธรรมาจารย์กงฉังทรงปกครองธรรมจักรวาลเริ่มกำหนดการเป็นพระธรรมาจารย์องค์ที่สองแห่งธรรมกาลยุคขาว

    เมื่อสืบต่อภารกิจงานแพร่ธรรมจากพระบรมบรรพจารย์จินกงแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดประทับทรงในร่างพรหมจารีย์ เร่งรัดให้พระองค์ออกแพร่ธรรมยังหัวเมืองต่างๆ อยู่หลายครั้ง

    พระธรรมาจารย์กงฉัง จึงได้จากบ้านเกิดเมืองจี้หนิง มณฑลซานตงไปสู่เมืองจี้หนัน

    พุทธสถานแห่งแรกที่พระองค์จัดตั้งขึ้นที่เมืองจี้หนัน ก็คือ

    พุทธสถาน "จงซู่ถัง" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "ฉงหัวถัง"
    ซึ่งพระองค์ทรงปกครองดูแลด้วยพระองค์เอง
    ภายในปีนั้นเอง ก็ได้จัดตั้งพุทธสถานเพิ่มขึ้นอีกสี่แห่งสี่ทิศคือ

    "ตงเจิ้นถัง" อยู่ทางทิศตะวันออก
    "หลี่ฮว่าถัง" อยู่ทางทิศใต้
    "จินกังถัง" อยู่ทางทิศตะวันตก
    "เทียนอีถัง" อยู่ทางทิศเหนือ


    ภารกิจแพร่ธรรมที่เมืองจี้หนัน นับวันก็เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกาลกัปลำสุดท้ายนี้จะต้องฉุดช่วยเวไนยสัตว์

    ในชั้นเทวโลกได้โปรดช่วยเทพพรหม
    เบื้องล่างได้โปรดช่วยวิญญาณทั้งหลาย
    และในท่ามกลางโปรดช่วยสาธุชนชายหญิง
    การโปรดช่วยทั้งสามโลกนี้ เป็นพระโองการแห่งเบื้องบนเป็นการปฏิบัติพระภารกิจเก็บงานให้เสร็จสมบูรณ์ใน วาระสุดท้ายนี้

    การเวียนว่ายในวัฎสงสาร เกี่ยวพันกันระหว่างสามโลก คือ เทวโลก มนุษย์โลกและยมโลก ทุกชีวิตหมุนเวียนตายเกิดอยู่เรื่อยไปในสามโลก เพราะความไม่รู้เป็นเหตุก่อกรรมให้ตัวเอง ต้องเวียนว่ายชดใช้กรรมกันมิสิ้นสุด

    เทพพรหมในชั้นเทวโลก แม้จะมีกายสังขารเป็นทิพย์แต่ก็ไม่รู้ประตูเกิดประตูตาย ได้แต่เสพย์สุขในผลบุญของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องเวียนว่ายต่อไปเมื่อหมดบุญ

    การโปรดช่วยของพระธรรมาจารย์กงฉังก็คือ ทำให้รู้ถึงตัวจริงแท้แห่งตน รู้ประตูหนทางเกิดหนทางตายเพื่อให้ดวงจิตนั้นพ้นจากวัฎสงสารคืนสู่อนุตตรภาวะต้นกำเนิดเดิมนั่นเอง




    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]**************************[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD><TABLE style="WIDTH: 372px; HEIGHT: 120px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=372 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffd7>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]

    "แก้ววิเศษ 3 ประการ"
    แก้ววิเศษ สามดวง.................คู่กายเรา
    เข้าวิมานด่านสามเก้าทาง.........ต้องแสดง
    (1)นัยน์ตาศูนย์รวมจุด.......(2)ท่องสัจจคาถา
    (3)มืออุ้มเด็กน้อยพา.......คืนแดนสุทธาธรรม

    [/FONT] ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ด้วย พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ธรรมมารดา พระบารมีธรรมของพระบรรมพจารย์
    ด้วยความเมตตาของท่านนั้น เหล่าเฉียนเหยิน และอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม นักธรรมอาวุโสทั้งหลาย
    ข้าพเจ้าผู้น้อยมีความยินดีที่ได้มาร่วมศึกษาสนทนากับท่านในเรื่องของ "สามสิ่งวิเศษ"

    การได้รับถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" เป็นความล้ำค่าสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดในชีวิต เพราะทำให้เราได้รับสิ่งวิเศษ 3 อย่างคือ

    1. มโนทวาร
    2. สัจจคาถา
    3. ลัญจกร


    [/FONT]<TABLE style="WIDTH: 123px; HEIGHT: 24px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=123><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]1. มโนทวาร[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก. "จุด" ที่อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมใช้นิ้วแต้มบนใบหน้าของเรา เรียกว่า "มโนทวาร" ซึ่งก็คือ ประตูที่จิตวิญญาณเข้าและออกจากร่างกาย ประตูนี้จะถูกปิดลงเมื่อวิญญาณได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว ผู้เป็นพระวิสุทธิอาจารย์เท่านั้น ที่สามารถเปิด "ประตู" นี้ได้ ด้วยเหตุนี้เองบรรดานักปราชญ์ในสมัยก่อนจึงออกไปแสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ เพื่อขอรับการเปิด "ประตู" อันเร้นลับนี้

    ข. ณ จุดนี้ เป็นที่สถิตของจิตญาณด้วย จิตญาณนี้เป็นผู้ควบคุมความคิดและความรู้สึกของเรา เราสามารถสังเกตได้จากใบหน้า ขณะที่เราใช้ความคิดอย่างหนักหรือเมื่อได้รับความเจ็บปวด

    ค. ในทางการแพทย์ จุดนี้เป็นจุดที่ห้ามแทงด้วยของแหลมคมในการผ่าตัด แม้แต่กระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงตายได้ เราทราบไหมว่า ทำไม?
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    ประตูอันเร้นลับนี้ไม่เคยถูกเปิดเผย แต่กล่าวแผงไว้ในภัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ ซึ่งความหมายที่แท้จริงของปริศนานี้ เราไม่สามารถเข้าใจได้เลย จนกว่าผู้นั้นจะได้รับการถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" สามารถค้นพบหลักสัจจธรรม ให้เราลองมาพิจารณาดูจากพระคัมภีร์ของศาสนาทั้งหลาย

    หลักฐานสนับสนุน:
    ก. พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเทศนาสั่งสอนอยู่ถึง 45 พรรษา เพื่ออธิบายหลักสัจจธรรมของชีวิต ครั้งหนึ่งในท่ามกลางที่ประชุมพระสงฆ์สาวก พระองค์ได้ชูดอกบัวในพระหัตถ์ขึ้น และตรัสว่า
    "เราตถาคต มีธรรมะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งถูกซ่อนไว้ในตาของเราเอง สัจจธรรมอันหยั่งเห็นได้นี้ จะนำพาเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ได้บรรลุธรรม"


    ข. มีคำกล่าว
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ว่า "อย่าเที่ยวค้นหา "พุทธะ" ไกลจากภูเขา ภูเขานี้อยู่ในตัวเรา เพื่อที่จะสำเร็จธรรมจงบำเพ็ญ ณ เชิงเขาอันมี "พุทธะ" สถิตอยู่"

    "แดนสุขาวดีอยู่ไกลถึงสิบหมื่นแปดพันลี้ แต่เมื่อได้รับวิถีธรรมแล้วก็พลันปรากฏอยู่ตรงหน้าเรานี่เอง"


    ค. ในคัมภีร์คำสอนของท่านขงจื้อ ได้กล่าวไว้ว่า "ท่ามกลางคน 3 คนที่เดินมาด้วยกัน คนหนึ่งในนั้นคือ ครูของเรา"

    ง. ทำไมพระโพธิสัตว์กวนอิม จึงทรงถือแจกัน พร้อมทั้งกิ่งหลิ่ว 2 กิ่ง? ผู้ที่ได้รับวิถีธรรมแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใจปริศนาธรรมนี้

    จ. พระเยซูตรัสว่า "จงเข้าทางประตูแคบ เพราะว่าประตูใหญ่และทางกว้างนำไปถึงความพินาศ และคนที่เข้าไปทางนั้นมีมาก แต่ประตูที่เล็กและทางแคบซึ่งนำไปถึงชีวิตนั้นมีน้อยคนที่จะพบ".
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](มัดธาย 7 : 13-14)[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ประตูที่กว้าง ก็คือ กระหม่อม สะดือ หู ตา ปาก และจมูก ส่วนประตูที่แคบ คือ มโนทวาร
    ดังนั้น มีเพียงมโนทวารเท่านั้น ที่จะนำเราไปสู่ "ชีวิตนิรันดร"


    "ผู้ใดติดตามเรา ผู้นั้นต้องปฏิเสธตัวเขาเอง" "ผู้ใดมิได้แบกกางเขนของตนตามเรามา ผู้นั้นจะเป็นสาวกของเราไม่ได้"[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](ลูกา 14 ; 27) [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"ไม้กางเขน คืออะไร? เป็นสิ่งที่ผู้คนนำมาห้อยคอยนั่นใช่ไหม? ไม่ใช่! แต่เป็นไม้กางเขนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่อยู่ในตัวเรานี่เอง


    "เขาได้ตรึงใจสองคนไว้ข้างขวาคนหนึ่ง ข้างซ้ายคนหนึ่งพร้อมกับพระองค์ด้วย"
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](มัดธาย 27:38) [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความหมายก็คือ ดวงตาทั้ง 2 ข้างเป็นเสมือนหัวหน้าโจร ซึ่งสามารถนำเราไปสู่ช่องทางทั้ง 6 เพราะมันชอบมองแต่ในสิ่งที่สวยงามน่าหลงไหล และก่อให้เกิดความอยากขึ้นในใจเรา


    "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีใครไปถึงพระบิดาได้โดยไม่ผ่านเรา"

    (โยฮัน 14:6) หากเรารับวิถีธรรมแล้ว เราจึงจะสามารถเข้าใจปริศนาธรรมต่างๆ เหล่านี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ​

    [/FONT]
    <TABLE style="WIDTH: 109px; HEIGHT: 24px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=109><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]2. สัจจคาถา[/FONT][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สิ่งวิเศษอย่างที่สอง คือ สัจจคาถา ซึ่งถ่ายทอดให้แก่เราโดยอาจารย์ผู้ถ่ายทอดเบิกธรรมบอกให้เราทราบและอธิบายถึงสิ่งสำคัญ 3 อย่าง คือ

    1. นิพพาน 2. สวรรค์ 3. โลกมนุษย์

    1. นิพพาน เป็นสภาวะที่ไร้รูปลักษณ์ ไม่มีขอบเขต เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แดนสุขาวดี" หรือ "บ้านเดิมของเรา"
    2. สวรรค์ คือ โลกของจิตวิญญาณ อันเป็นสภาพ "กายทิพย์" เป็นสภาวะที่เปลี่ยนแปลงได้ ในชั้นนี้เป็นที่สถิตอยู่ของเทพ พรหม ทั้งหลาย
    3. โลกมนุษย์ อยู่ในสภาพของวัตถุหยาบ ซึ่งหมายถึง โลกที่เราอาศัยอยู่นี่เอง จิตวิญญาณของเราได้ถือกำเนิดจาก "นิพพาน" จุติลงมาเพื่อทำหน้าที่ปกครองดูแลโลก

    ในยุคแรกเริ่ม ผู้คนจะดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย มีจิตใจซื่อตรงและบริสุทธิ์จึงสามารถกลับสู่สภาวะเดิมคือ "นิพพาน" ได้เมื่อหมดวาระ
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป คนเราก็เริ่มที่จะแสวงหาอำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียงและความสะดวกสบายทางด้านวัตถุ ในการเสาะแสวงหาสิ่งเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ส่วนตน เขาจึงได้กระทำบาป เป็นเหตุให้นรกอุบัติขึ้นเพื่อลงโทษทัณฑ์คนเลว จิตวิญญาณจึงต้องผ่านออกไปสู่ทางหนึ่งใน 6 ช่องของเวียนว่ายตายเกิด ได้แก่

    1. ไปเกิดเป็น มนุษย์ผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีอำนาจวาสนา
    2. ไปเกิดเป็น มนุษย์ธรรมดาๆ หาเช้ากินค่ำ
    3. ไปเกิดเป็น สัตว์ตั้งท้องที่ออกลูกเป็นตัว
    4. ไปเกิดเป็น สัตว์ที่เกิดออกจากไข่
    5. ไปเกิดเป็น สัตว์ที่อยู่ในน้ำ
    6. ไปเกิดเป็น สัตว์จำพวกแมลง

    กรรมที่เราได้กระทำมาในอดีต จะเป็นตัวกำหนดโทษทัณฑ์ในนรกและนำเราไปสู่ 1 ใน 6 ช่องทางเวียนว่ายเพื่อเกิดใหม่ กรรมดีจะนำพาเราให้ไปสู่ภพภูมิ สภาพความเป็นอยู่ที่ดี และกรรมชั่วจะนำไปสู่สภาพที่ทุกข์ยากลำบาก

    ผู้ที่บำเพ็ญดีในช่วยชีวิตของเขา แต่ไม่มีโอกาสได้รับ "วิถีธรรม" เมื่อตายจากโลกมนุษย์ไปเขาก็จะได้อยู่ในแดนสวรรค์ ดวงวิญญาณจะพำนักอยู่ที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับกุศลผลบุญที่เขาได้สร้างสมไว้ เมื่อหมดสิ้นแรงแห่งบุญกุศลของตนแล้ว ก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ฉะนั้นเขาจึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิด

    "วัฎฎะสงสาร" อันหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ จะดำเนินไปอย่างไม่มีสิ้นสุด ดวงวิญญาณจะเปลี่ยนจากภพหนึ่งสู่อีกภพหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแรงกรรมที่ตนได้กระทำไว้ จนกระทั่งผู้นั้นจะประสบโอกาสได้รับ "การถ่ายทอดวิถีธรรม" ค้นพบหาทางกลับสู่ "นิพพาน"

    พระศรีอาริยเมตไตรย หรือ พระพุทธะผู้ทรงพระสรวล ซึ่งจะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ทรงตั้งพระปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกมนุษย์ อันเป็นทะเลทุกข์นี้ ให้กลายเป็น "โลกแห่งสันติสุข"

    "เมตไตรย" มีความหมายที่แท้จริงว่า "เมตตาที่เปี่ยมด้วยความรัก" ในการบำเพ็ญตนสู่ความหลุดพ้น เราต้องนำเอา "จิตแห่งเมตตา" ออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน เราต้องเผยแพร่ วิถีธรรมไปทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้บรรดาพี่น้องร่วมโลกของเราทั้งหลาย ได้มีโอกาสกลับคืนสู่นิพพาน โดยพร้อมเพรียงกัน และหากทุกคนรับวิถีธรรมแล้วบำเพ็ญอย่างจริงจัง เราก็จะสามารถแปรเปลี่ยน "โลกอันเป็นทะเลทุกข์" ให้กลายเป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ" ได้



    [/FONT]<TABLE style="WIDTH: 95px; HEIGHT: 24px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=95><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]3. ลัญจกร[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    ลัญจกร คือ เครื่องหมายของตราประทับอันล้ำค่า ที่พระองค์ธรรมมารดาประทานให้เรา เพื่อเป็นหลักฐานว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดสัจจธรรมอันสูงส่งนี้

    ลัญจกร ของยุคสีเขียว เป็นสัญลักษณ์ของ "ใบบัว" ในเวลานั้น ผู้บำเพ็ญธรรม จะสวดภาวนาโดยใช้มือซ้ายข้างเดียวยกขึ้นไว้ที่กลางหน้าอก ใบบัวสีเขียวแสดงถึง "เวลาแห่งความรุ่งเรืองพุทธะจิต"

    ในช่วยเวลาของยุคสีแดง ผู้บำเพ็ญธรรมจะสวดภาวนาโดยการพนมมือทั้งสองข้างขึ้นไว้ ระหว่างหน้าอก และก้มกราบลงโดยการแบมือออก เป็นเสมือน "ดอกบัวที่เบ่งบาน" ถือเป็นเครื่องหมายตราประทับของยุคดอกบัวสีแดง ดอกบัวแสดงถึง "ความเบ่งบานของพุทธะจิต"

    ลัญจกร ของยุคสีขาว เป็นเครื่องหมายของ "รากบัวสีขาว" ผู้บำเพ็ญจึงภาวนากราบไหว้ โดยการใช้มือซ้ายโอบมือขาวและอุ้มไว้ที่หน้าอก ซึ่งแสดงถึง "เวลาแห่งการเก็บเกี่ยวพุทธะจิต"

    โดยการวางนิ้วของเราลงใน ตำแหน่งเริ่มต้นและสุดท้ายของ 12 ราศีในจักรวาล ซึ่งในความหมายภาษาจีน หมายถึง "เด็ก"

    พระเจ้าทรงตรัสว่า "เราคือ อาละฟา และโอเมฆา เราเป็นเบื้องต้นและเบื้องปลาย เราเป็นจุดเริ่มต้นและสุดท้าย" (วิวรณ์ 22:13)

    อธิบาย : อาละฟา และโอเมฆา คือ อักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายในภาษากรีกโบราณ พระวจนะในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง พระเจ้าผู้ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง พระองค์คือผู้ที่ไม่มีใครหยั่งรู้ ไม่มีการกำเนิดและการสิ้นสุดในพระเจ้า พระองค์เป็นอยู่ดังที่เป็นอยู่เช่นนั้นชั่วนิจนิรันดร์ ไม่มีอะไรที่จะเหนือไปกว่านี้แล้ว

    ดังนั้น เมื่อเราอุ้มลัญจรในมือแล้วระลึกถึงพระจิตของพระเจ้าในตัวเรานี่คือการเตือนให้เราประสานจิตญาณของเรา รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระองค์ธรรมมารดาและดำรงอยู่ในความสงบเยือกเย็นของพระองค์

    พระเยซู ได้ตรัสว่า "เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายตามจริงว่า ถ้าพวกท่านไม่กลับใจเย็นเหมือนเด็กๆ ท่านจะเข้าไปในแผ่นดินสวรรค์ไม่ได้เลย" (มัดธาย 18 : 3)

    ท่านเม่งจื้อครั้งหนึ่ง กล่าวไว้ว่า "ชนทั้งหลายพึงรักษาไว้ซึ่งความไร้เดียงสาของเด็ก"

    คำพูดเหล่านี้เตือนเราว่า พวกเราทั้งหลายคือ ลูก ของพระองค์ธรรมมารดาและเราจะต้องกลับคืนสู่พระองค์ เราจะต้องย้อนกลับไปมองดูการกระทำของเราเสมอเพื่อที่จะกลับไปสู่ความไร้เดียงสา และความไม่เห็นแก่ตัวของเด็กน้อย

    สรุป :
    สามสิ่งวิเศษ ควรจะทบทวนทุกวัน โดยกำหนดจิตไว้ที่มโนทวาร และเตือนตัวเราให้ระลึกถึงความหมายของ 3 สิ่งวิเศษนี้ไว้เสมอ

    3 สิ่งวิเศษ สามารถช่วยให้เราพ้นจากมหันตภัย ในยามที่ตกอยู่ในอันตราย จงอุ้มลัญจกรไว้ที่หน้าอก กำหนดจิตไว้ที่มโนทวาร และท่องสัจจคาถาในใจ 3 ครั้ง

    สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าผู้น้อยขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้โปรดเมตตาประทานอภัยและขอกราบอภัย ที่ข้าพเจ้าผู้น้อยไม่สามารถกล่าวพรรณาให้ชัดเจนไปกว่านี้ เป็นด้วยความรู้อันจำกัดของข้าพเจ้านั่นเอง ท่านทั้งหลายพึงได้รับความกระจ่างแจ้งทั้งหมดทั้งสิ้นจากพระวิสุทธิอาจารย์ เท่านั้น


    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]****************************[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>

    ประโยชน์ของการแสวงหา "อนุตตรธรรม"
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=menu>
    <TABLE style="WIDTH: 317px; HEIGHT: 156px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=317><TBODY><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"มนุษย์ในโลก
    </TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ล้วนดิ้นรนไข่วคว้า[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เพียงเพื่อลาภ สักการะ [/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ชื่อเสียงจอมปลอม[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อันเปรียบดัง ฝุ่นธุลี[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ลมพัดก็จางหาย[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]โลกเหมือนเวทีกว้าง[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ปิดฉากก็สิ้นสูญ[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความอยู่ไม่น่าปลื้ม[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความตายไม่น่าหวั่น[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หมดรักก็หมดทุกข์[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จิตใจย่อมเป็นสุข[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu colSpan=2>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สงบชั่วนิรันดร์"[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD></TD><TD>
    องค์อนุตตรธรรมมารดา มีพระโอวาทมาเตือนชาวโลก!!!
    </TD><TD></TD></TR><TR><TD></TD><TD>องค์อนุตตรธรรมมารดา คือพระผู้เป็นเจ้าแห่งญาณทั้งเวลา ความจริงแล้ว พระองค์ประทานมาเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2484 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง แล้วค่ะ แต่ก้อยอยากจะให้สังเกตกันว่า พระองค์นั้นได้เตือนชาวโลกมานานแล้ว แต่เพราะชาวโลกไม่เชื่อกลับทำเลวขึ้นเรื่อยๆ จึงได้เกิดภัยพิบัติในยุคนี้ไงคะ เช่น สึนามิ เป็นต้น (ความจริงในหนังสือมี 10 พระโอวาท แต่ก้อยเลือกพระโอวาทที่ 5 มาให้อ่านค่ะ)ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ประทาน ณ สำนักธรรมจงอี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน โดยมี

    1.สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก
    2.ท้าวจตุมหาโลกบาลทั้งสี่ พร้อมดาวนักษัตร 24 องค์
    3.แปดมหาวชิรญาณเทพฯ
    4.องค์มหาพฤฒาชันษาแห่งทักษิณาลัย (หัวหน้าโป๊ยเซียน)
    5.พระโพธิสัตว์ในหมื่นโลกธาตุ
    6.องค์ประธานคุมสอบสามภูมิ
    7.อู้ฉันพี่เจ้า (นำเหล่าเซียนหมวดอักษรอู้)
    8.จอมทัพเม่าเหมิง (นำเหล่าเซียนหมวดอักษรเม่า)
    9.พระโพธิสัตว์อนุศาสน์
    10.จอมทัพฟ้าฝ่ายอัสนี
    11.พระพุทธธรณีกษิติครรภ์
    12.พระพุทธจี้กงแห่งหนานผิง
    13.ท้าวสักกะเทวราช พร้อมห-ลวี่ต้งปินต้าเซียน
    14.จอมเทพวินัยธรมหาราชพร้อมด้วยจอมทัพฮักซุย
    15.พระโพธิสัตว์จันทรปัญญา
    16.พระโพธิสัตว์กวนอิม
    17.พระโพธิสัตว์สมันตภัทร
    18.พระโพธิสัตว์มัญชุศรี
    19.ศาสดาอิสลามโมฮัมหมัด
    20.พระเยซูคริสต์
    21.จอมปราชญ์อมตเหลาจื้อ
    22.พระยูไลสัมมาสัมพุทธเจ้า
    23.บรมครูจอมปราชญ์ขงจื้อ
    24.พระศาสดายุคขาว พระศรีอาริยเมตไตรย
    25.สองกุมารหวินเป่า
    พระโอวาทที่ 5 มีดังนี้ค่ะ :
    พุทธบุตรลูกแม่ทั้งหลาย แม่ขอเตือน ให้ตั้งใจบำเพ็ญวิถีอนุตตรธรรม ขอให้ลูกพึงกำหนดรู้ในเกณฑ์กำหนดแห่งกาลเวลา และเจตนาของฟ้าเบื้องบนในเวลานี้ว่า ต้องการให้ลูกๆบำเพ็ญธรรมเพื่อกลับสู่ความเป็นอริยะ เป็นปราชญ์ให้ได้โดยเร็วด้วยวิธีลัดที่ไม่มีมาก่อน
    ในกัปสุดท้ายนี้ สิ่งที่ลงมาสู่โลกมนุษย์พร้อมกันสองอย่าง คือธรรมะกับภัยพิบัติ อันที่จริงแม่มีเมตตาจิตต่อลูกๆ ได้จัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างไว้อย่างเป็นระบบทั้งโลกมนุษย์ ทั้งลูกหญิง-ชาย ให้เรียบร้อยแล้ว แต่เหตุไฉนจึงกำหนดภัยพิบัติมาครอบงำกวาดล้างโลกมนุษย์ ขอให้ลูกลองคิดดู สมัยโบราณนานมาแล้วนั้น มีกษัตริย์จีนโบราณผู้ทรงคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ในสมัยห้าพันปีก่อนโน้น ทรงพระนามว่า เหยา ซุ่น อวี่ ผู้คนในยุคนั้นเป็นคนใจตรง ฟ้าเบื้องบนก็พลอยสงบไปด้วย ภัยพิบัติจึงไม่เกิด เมื่อใดที่ใจคนไม่ซื่อ มีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง เมื่อนั้นจึงมีภัยพิบัติ
    โลกมนุษย์ในยุคนี้เลวลงสุดประมาณ จารีตประเพณีอันดีงามของอารยะชนกลับถูกหมางเมิน ผู้คนรู้ฝึกฝนกลโกง โลภโมโทสัน เป็นคนร้อยเล่ห์พันเหลี่ยมโหดเหี้ยมดุร้าย หลอกลวง ไร้สิ้นคุณธรรมจริยธรรมไปทั่ว นายไร้สิ้นซึ่งคุณธรรม บ่าวข้าไม่สัตย์ซื่อ พ่อลูกขาดเมตตายำเกรงกัน ผัวไม่ซื่อสัตย์ต่อเมีย เมียไร้ซึ่งคุณธรรมหาเหตุทะเลาะตบตีกัน พี่น้องอาฆาตมาดร้ายต่อกัน เพื่อนฝูงต่างขาดสัจจะแก่กันและไม่ไว้วางใจกัน มีแต่เชือดเฉือนทิ่มแทงกัน คุณธรรม คุณสัมพันธ์ห้า และคุณธรรมแปดประการ เสื่อมถอยลง ยากแก่การฟื้นฟู นักวิชาการพูดแต่ทฤษฎี กล่าวหาว่าคนอื่นแต่ตนเองไม่ปฏิบัติ กสิกรชาวนาชาวสวนไม่มีคุณธรรมมุ่งหาแต่เงินทองหวังร่ำรวย กรรมกรหยาบกร้าน เกียจคร้านเห็นแก่ตัว ขาดความอดทน พ่อค้าวาณิชปลอมปนสินค้าตบตาคนซื้อ ดูถูกหาว่าโง่กว่าตน ขาดความจริงใจไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า พระสงฆ์องค์เณรลืมตรัยรัตน์และศีลห้า สาวกเต๋านอกลู่ทิ้งแนวเดิม ถือเอากระพี้เป็นเปลือกไม่ถึงแก่น ยึดเอาพิธีกรรมมากหลายมาสำคัญว่าเป็นทางหลุดพ้น สาวกศาสนาปราชญ์เรียนเพียงผิวเผินอวดรู้ว่าเป็นปราชญ์
    แม่เห็นแล้วอดเศร้าใจไม่ได้ โลกถึงยุคที่จะเกิดภัยพิบัติ หากคราวนี้ไม่มีภัยพิบัติลงมากวาดล้างโลกนี้แล้ว โลกนี้จะหมดสิ้นคนดี หาคนเป็นปราชญ์เป็นอริยะเป็นหลักนำไม่ได้เลย จึงได้กำหนดภัยพิบัติแปดประการนี้ขึ้นมา คือ "ภัยจากน้ำ ลมพายุ ภัยจากไฟเผาผลาญ ภัยจากอาวุธมหาประลัย ภัยจากทหาร ความแห้งแล้งกันดาร น้ำหลากอดอยาก ขาดแคลน กำหนดภัยธรรมชาติทั่วไปในโลกกว้างถึงเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดภัยกับทั้งส่งรากษส และพญามารทั้งห้ามาก่อกวนโลกมนุษย์ ใช้หมื่นพันวิธีเพื่อกวาดเก็บคนชั่วเป็นระยะๆ
    บัดนี้!ถึงกาลเวลาสิ้นชะตาฟ้าดินแล้ว คนชั่วที่สั่งสมกรรมเวรมาในรอบหกหมื่นปีมานี้ จะถูกกวาดล้างใหญ่ในครั้งนี้ ทั้งจะเป็นการจำแนกแยกแยะคนดีคนเลวเหมือนแยกหินกับหยกออกจากกัน แม่มองลงมาด้วยน้ำตาที่ไหลริน เสมือนสายธารเลือดเมฆหมอกแห่งความชั่วร้ายปกคลุมคละคลุ้งกลบไปทั่วท้องฟ้า พิบัติภัยเกิดขึ้นทุกมุมโลกโดยฝีมือมาร โจรภัยเกิดไม่เว้นแต่ละวัน สงครามย่อยเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เก้าในสิบคนต้องทนทุกข์ทรมาน น้ำท่วมฉับพลัน ฝนแล้ง น้ำแห้ง ลำคลองตื้นเขินเกิดโรคระบาดรุนแรงและโรคร้ายที่รักษายาก พืชพันธุ์ธัญญาหารไม่งอกงามอุดมสมบูรณ์เช่นแต่ก่อน
    "ในที่สุด จะเกิดเหตุการณ์สยดสยอง ท้องฟ้ามืดสนิทไร้เดือนดาวถึงสี่สิบเก้าวัน"
    ในวันนั้นประตูนรกเปิดออก ปล่อยให้ผีมาทวงหนี้คน หนี้ชีวิตเงินทองที่ค้างกันมา จะสะสางกันให้สิ้นในวันนั้น เป็นการล้างหนี้กันทั้งสามโลกในคราวเดียวจบสิ้น ไม่ค้างกันอีกต่อไป ลมพายุร้ายแรงเป็นมหาวาตภัยล้างโลก กวาดจักรวาลเป็นการชำระล้างทั้งสามโลก เปลี่ยนแกนกลางโลกเสียใหม่ ต่อให้ลูกมีร่างกายแข็งแกร่งปานเหล็กไหล มิอาจรอดพ้นมหันตภัยในครั้งนี้ได้ แม้ว่าภัยพิบัติครั้งนี้แม่เป็นผู้กำหนดขึ้นมาก็ตาม แต่แม่ก็ต้องร้องไห้ทุกวันคืน แม่มิอาจทำเป็นใจหินทำลายทุกอย่างทั้งดีทั้งชั่ว ทำลายทั้งหยกทั้งหินได้พร้อมกันในคราวนี้ แม่จึงได้หย่อนเส้นทางสายทองมาให้ลูกขึ้นกลับคืน เส้นทางอื่นใดมีเป็นพันเป็นหมื่นมิอาจพ้นได้ มีเส้นทางเดียวเท่านั้นที่จะรอดปลอดภัย คือ "เอกายนมรรค" ให้รีบขอรีบธรรมโองการสวรรค์ คือ วิถีอนุตตรธรรมเสีย
    นึกถึงลูกที่ลงมาเกิดกาย รับทุกข์ทรมานนานนักหนา แม่จึงสู้อุตส่าห์ขีดเขียนเพียรส่งสาสน์มาเตือนยังลูกๆทั้งหลาย ให้รีบบำเพ็ญเพื่อคืนกลับด้วยเกรงมหันตภัยจะทำลายล้างลูกที่แม่รัก ลูกที่ได้รับวิถีธรรมแล้ว อย่าลังเล ขอให้ลูกแม่รีบปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อให้เกิดปัญญากล้า หากยังมัวหลงโลกโลกีย์นี้อยู่ ไหนเลยลูกจะรู้จักโลกอันเป็นสมมตินี้ได้ มองโลกมนุษย์ให้ละเอียดทุกจุดทุกมุม ในขณะนี้แล้วน่าเศร้ามากไหม เมื่อมหันตภัยมาถึง ต่อให้ลูกสามารถสร้างสิ่งป้องกันอันแข็งแกร่งใดๆก็ตาม ไม่อาจพ้นความวิบัติได้เลย ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
    "พลเมืองในโลกขณะนี้ ถ้าแบ่งออกเป็นสิบส่วน ในวันเกิดมหันตภัย คนจะตายเสียเจ็ดส่วน สามส่วนที่เหลือก็ต้องทนทุกข์ยากลำบากอยู่ระยะเวลาหนึ่ง กระดูกคนตายกองโตเท่าภูเขา เลือดท่วมไหลเป็นสายธาร" หากยังมัวหลงใหลอยู่ในลาภยศ มัวโลภมัวหลงอยู่ ไม่ปฏิบัติบำเพ็ญธรรม สิ่งที่แน่นอนคือ ภัยพิบัติทั้งปวงทั้งเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดภัยจะกระหน่ำให้ญาณจิตตกไปสู่โลกันตร์มหานรก ถ้าอยากให้พ้นไปจากภัยพิบัติทั้งสิ้นนี้ ให้เร่งสร้างมหากุศล แม่จะดลจิตเทพให้คุ้มครองเจ้ามห้ได้สุขขณะครองสังขารกายเนื้อนี้อยู่
    ใครรู้สำนึกตัว ตื่นขึ้นมาบำเพ็ญ ได้ตามแม่กลับไปนิพพานแน่นอน ใครเป็นคนดื้อรั้นว่ายากสอนยาก ไม่ปฏิบัติบำเพ็ญ จะพลอยถูกกวาดส่งลงสู่นรกคราวมหันตภัยกวาดล้างในครั้งนี้ด้วย บัดนี้!เทพทุกพระองค์ที่มาพร้อมแม่ จะกลับคืนสู่เบื้องบนแล้ว ลูกๆทั้งหลายจงพร้อมกันมากราบส่ง แม่ขอเว้นช่วงพักและหยุดการเขียนสักครู่ก่อน แล้วจะมาให้คำสอนใหม่ให้เหมือนดังหยกทอง...
    พระโอวาท อนุตตรธรรมมารดา สิบบัญญัติ :
    คิดถึงลูกแทบขาดใจ สุดอาลัยพูนเทวษ
    วิมานเขตอ้างว้าง เทพเซียนต่างส่งมาสิ้น
    ด้วยถวิลช่วยพระบุตร อนิจจาลูกหลับหลง
    เฝ้าระทมแม่เฒ่า มาช่วยเจ้าเปลี่ยนโลกีย์
    เขียนวจีด้วยเลือด รำพันเกือบเป็นหมื่นแสน
    ผลตอบแทนเจ้าไม่ฟัง

    </TD><TD></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในขั้นพื้นฐาน วิถีอนุตตรธรรมคือ หลักสัจจะของจักรวาลซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างที่ล้อมรอบตัวเรา หลักสัจจะนี้เป็นผู้ก่อกำเนิดสรรพสิ่งในจักรวาร ในตัวของมนุษย์ "สัจจะ" นี้คือ "มโนธรรมสำนึกดั้งเดิม" หรือตัวจริงแท้ภายในของสิ่งที่มีชีวิตทุกรูปแบบ (พลังชีวิต) มโนธรรมสำนึกดั้งเดิมเป็น "เส้นทาง" ที่จะนำเรากลับสู่ "บ้านเดิม" (ถิ่นกำเนิดหมายถึงแดนนิพพาน) แม้ว่าสัจจธรรมนี้ไร้รูปลักษณ์แต่ก็มีอยู่ เกิดขึ้นและซึมซาบอยู่ในทั่วทุกอณูของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล

    ชีวิตทุกรูปแบบต่างก็มี "พุทธะภาวะ" แฝงเร้นอยู่ในตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นคนพาลหรือบัณฑิต "ปุถุชน" หรือ "พระพุทธะ" แต่เนื่องจาก "จิต" ที่หลงใหลในวัตถุภายนอกและมัวเมาในกิเลสต่างๆ มนุษย์ได้กระทำบาปมากมายจนเป็นเหตุให้ต้องตกอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด ไม่สามารถหลุดพ้นเป็นอิสระไปได้

    ดังนั้น "วิถีอนุตตรธรรม" จึงถูกถ่ายทอดสู่ปุถุชนที่อยู่ในครัวเรือนอันเป็นเวลาสุดท้ายของธรรมกาลด้วยจุดมุ่งหมายหลักคือ ฉุดช่วยคนดีมีเมตตาให้พ้นจากมหันตภัยใหญ่ทั้งหลาย ดังที่ท่านเม่งจื้อได้เคยกล่าวว่า "โลกที่กำลังจมลง จะถูกกอบกู้ขึ้นโดยธรรม"

    วิถีธรรมช่วยให้คนเรารู้ว่า แท้จริงแล้ว "เราเป็นใคร?" และเราควรจะเดินไปในทิศทางไหน เพื่อจะกลับคืนสู่ "ต้นกำเนิด" ของเรา หลังจากที่ทุกคนรับรู้วิถีธรรมแล้วและมาศึกษาให้เข้าใจ ก็จะเกิดคุณประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อันจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาความคิดที่ดีแก่ชีวิต และปรับปรุงความสัมพันธ์อันดีต่อทุกคนในครอบครัวและสังคม ในขั้นสูงขึ้นไปจะช่วยกระดับจิตใจให้เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิตและรู้แจ้งใน สรรพสิ่ง สามารถคลายความยึดติดในตัวตน สิ่งต่างๆ ที่เราเรียนรู้ในวิถีธรรมจะนำเราไปสู่ "ทางแห่งแสงสว่าง" ฉะนั้นเราจะต้องลงมือศึกษาไปตามขั้นตอนแต่ละขั้นเพื่อให้เห็นคุณค่า แล้วเริ่มตักตวงเอาคุณประโยชน์อันล้ำค่าจากการบำเพ็ญธรรม

    สิ่งแรกสุดก่อนอื่นใดทั้งสิ้นเราต้องขอรับวิถีธรรมด้วยความจริงใจ ท่านทั้งหลายคงจำกันได้ถึงวันที่เรามาขอรับวิถีธรรม เวลานั้นมีพิธีเพื่อขอจารึกชื่อของเราไว้เบื้องบน เราจึงได้พบ "หนทาง" ที่จะกลับคืนสู่ "บ้านเดิม" อันเป็นที่ที่เราเป็นเจ้าของ เมื่อนั้นเราจึงจะพูดได้อย่างโล่งใจว่าเราได้ค้นพบ "หนทางสู่ความเป็นนิรันดร์คือแดนนิพพาน" ณ ที่นั้นเราจะพบกับความสงบสุขชั่วนิรันดร คนที่ได้รับวิถีธรรมก็เท่ากับมีโอกาสเปิดเส้นทางให้ชีวิตของตนได้ก้าวไปสู่ สิ่งที่ดีงาม คงยังจำกันได้ว่า ในวันแรกที่ก้าวเข้ามาในสถานธรรม หลายคนอาจรู้สึกเคอะเขินต่อการต้อนรับที่เต็มไปด้วยไมตรีจิตและสุภาพอ่อนโยน ทำไมเราจึงรู้สึกอย่างนั้น? อาจเป็นเพราะเราต่างเคยชินต่อการแสดงออกที่หยาบกระด้างและแล้งน้ำใจอยู่ตลอด เวลา ดังนั้นหลังที่เราได้รับวิถีธรรมและได้รับความเมตตาจากนักธรรมอาวุโสทั้ง หลาย มันจึงง่ายขึ้นสำหรับเราที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งไม่ดีต่างๆ จนบังเกิดแต่สิ่งที่ดีงามขึ้นแทน สำหรับผู้ที่มีแต่สิ่งที่ดีอยู่ในตัวแล้ว ความดีเหล่านั้นก็จะยิ่งเพิ่มพูนทวีมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นอยู่ แท้จริงแล้วหากเราอยู่ในสถานที่ซึ่งแวดล้อมไปด้วยการพร่ำอบรมบ่มนิสัย ก็จะช่วยให้อุปนิสัยใจคอของเราเพียบพร้อมไปด้วยศีลธรรมจรรยา

    หลังจากที่เราได้รับการถ่ายทอดเบิกธรรมแล้วขั้นต่อมาเราต้องศึกษา "วิถีแห่งอนุตตรธรรม" ให้เข้าใจ การเรียนรู้ไม่มีคำว่า "จบสิ้น" ตราบที่เรายังมีชีวิตอยู่ (ชีวิตคือการเรียนรู้) ตั้งแต่โบราณกาลผู้คนต่างศึกษาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาความรู้ และพร้อมกับปรับปรุงบุคคลิกภาพอุปนิสัยใจคอให้สูงขึ้นไป ดังที่ท่านเม่งจื้อได้กล่าวไว้ว่า "จุดประสงค์อันเดียวของการเรียนรู้ คือติดตามจิตที่หลงออกนอกทางไป" นั่นหมายถึง "การศึกษาก็เพื่อค้นหาสัจจธรรม สามารถแยกแยะความดี-ชั่วละความยึกติดในตัวตน ขจัดความขัดแย้งในตัวเอง สามารถอยู่อย่างกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ"

    ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่เล่าเรียนศึกษาก็เพื่อหาเลี้ยงชีพ เพื่อไขว่คว้าหาเกียรติยศชื่อเสียงจนหลงลืมไปว่า การเรียนรู้ก็เพื่อความเป็นคนดีมีศีลธรรมด้วย การศึกษาเรียนรู้แต่เรื่องภายนอกอย่างเดียวยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ "ความรู้ต้องคู่กับคุณธรรม" ซึ่งหมายความว่าความรู้ทางโลกเพียงด้านเดียวยังไม่เพียงพอ เราจะต้องมีคุณธรรม จริยะธรรม ศีลธรรมด้วย เพื่อให้เราสามารถนำเอาความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร เราต้องใช้คุณธรรมขจัดความรู้สึกนึกคิดอุปนิสัยที่ไม่ดีในตัวเอง โดยการพิจารณาทบทวนใคร่ครวญมองดูความคิด คำพูด และการกระทำของเราตลอดเวลา การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่คนที่ใกล้ชิดได้ โดยการศึกษาเรียนรู้ที่ถูกต้องจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจ "แก่นแท้ของชีวิต" เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตซึ่งจะช่วยปลดปล่อยจิตใจของเราจากความว้าวุ่นสับสนในปัญหาต่างๆ อันเกิดจาก "ความหลง"

    หลังจากได้ศึกษาวิถีธรรมจนเข้าใจดีแล้ว เราต้องลงมือฝึกปฏิบัติด้วย นั่นหมายถึง
    "ขั้นฝึกฝนปฏิบัติตามหลักของวิถีอนุตตรธรรม"
    หลักปฏิบัติสำคัญ 3 ประการได้แก่
    1. ละเว้นจากการทำบาปทั้งปวง
    2. ทำแต่ความดี สร้างสมบุญกุศล
    3. ฉุดช่วยตนเองและผู้อื่นให้เป็นคนดีพร้อมมีคุณธรรมสมบูรณ์

    มีคำกล่าวว่า "ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติอยู่เสมอจะทำให้เกิดความสมบูรณ์พร้อม" (Practice makes Perfect) คนบางคนเกิดมาสวยงามและเฉลียวฉลาด ในขณะที่บางคนไม่เป็นเช่นนั้น การที่คนเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัย "ความขยัน" ด้วย ดังนั้นเราจึงต้องนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาปฏิบัติตามอย่างบรรดานักปราชญ์ในอดีตที่ได้กระทำคือ "การเรียนรู้และการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าคำพูดของใครจะยิ่งใหญ่แค่ไหน สวยงามเพียงใด การกระทำของเขาเท่านั้นจะเป็นเครื่องตัดสิน สมกับคำพูดที่ว่า "การกระทำย่อมก้องกังวานไปไกลกว่าคำพูด" (Acting speaks louder than words) ฉะนั้นการศึกษาและการปฏิบัติต้องควบคู่กันไปเสมอ ท่านลองคิดดูซิว่า ถ้าเราเอาแต่กินๆ เข้าไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีการย่อย อะไรจะเกิดขึ้น? มันย่อมจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ร่างกายแน่นอน เช่นเดียวกันกับคนที่มุ่งจะเรียนรู้เพียงอย่างเดียวแต่ไม่เคยที่จะนำเอาความรู้เหล่านั้นไปใช้ เขาก็ไม่แตกต่างกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย

    ฉะนั้นการลงมือปฏิบัติในหนทางของ "อนุตตรธรรม" เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะมันจะสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของเราได้ บางคนเชื่อว่า ชีวิตคือพรหมลิขิต ไม่มีอะไรจะมาเปลี่ยนแปลงมันได้เขาจึงไม่ยอมทำอะไร ปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไร้จุดหมาย ในขณะที่มีบางคนเชื่อว่า "ชีวิตอยู่ในกำมือของเราและเราจะลิขิตให้มันเป็นอย่างไรก็ได้" มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แน่นอนที่เราจะใช้ความพากเพียรพยายามในการพลิกผัน เปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของตนเอง ถ้าเรารู้จักบำเพ็ญตัวเองสร้างสมความดีอยู่เสมอ ก็จะสามารถลบล้างบาปกรรมในอดีตและคุ้มครองป้องกันเราให้พ้นจากเคราะห์ร้าย ได้อย่างแน่นอน

    สำหรับชาวพุทธทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นด้วย "กฎแห่งกรรม" อัน เป็นกฎของเหตุและผลไม่ว่าอะไรก็ตามที่เราเคยทำไว้ในอดีต จะส่งผลมาถึงเราในปัจจุบัน และอะไรที่เราทำอยู่ในปัจจุบันนี้ จะส่งผลแก่เราในอนาคตข้างหน้า หากเราไม่อยากประสบเคราะห์กรรมต่างๆ อยากจะป้องกันเหตุการณ์ร้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา เราก็จะต้องทำแต่ในสิ่งที่ดีบำเพ็ญธรรมอย่างตั้งใจ นอกจากนี้แล้วการรู้จักสำนึกในความผิดบาปของตนและปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด อยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ที่บำเพ็ญธรรม มีเรื่องๆ หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการบำเพ็ญธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาและทำลาย เคราะห์กรรมลงไปได้

    มีเรื่องเล่าดังนี้ :
    กาลครั้งหนึ่งมีผู้บำเพ็ญธรรมท่านหนึ่งนามว่า ชิว ฉาง ชุน ท่านได้ศึกษา "วิถีธรรม" ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มจากท่านอาจารย์ วัง ชุง หยาง ท่านเป็นผู้มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษา "อนุตตรธรรม" อยู่ตลอดเวลา ต่อมาเมื่ออาจารย์ของท่านได้จากไปแล้ว ท่านก็ยังคงมุ่มมั่นบำเพ็ญต่อไปด้วยความขยันขันแข็ง

    ในชีวิตการบำเพ็ญธรรมของท่านประสบแต่ความทุกข์ยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านต้องอดอยากหิวโหยจนแทบเอาชีวิตไม่รอดนับครั้งไม่ถ้วน ถึงกระนั้นท่านก็ยังมุมานะที่จะบำเพ็ญต่อไป

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วันหนึ่งหลังจากที่ท่านได้รับบริจาคอาหารกลางวันมาแล้ว เตรียมจะรับประทาน ก็มีชายชราคนหนึ่งตรงเข้ามาแย่งเอาอาหารของท่านไปเสียครึ่งหนึ่ง ท่าน ชิวฉางชุน รู้สึกประหลาดใจมากจึงได้เอ่ยปากถามขึ้น

    ชายชราคนนั้นได้ตอบว่า "ข้าเป็นหมอดูมาหลายปี เพียงแต่เห็นท่าทางอากับกิริยาก็สามารถหยั่งรู้โชคชะตาของคนๆ นั้นได้ เมื่อข้ามองดูท่าน ก็รู้ว่าท่านต้องประสบเคราะห์กรรมจากการรอดอยากและสุดท้ายจะต้องตายด้วยความหิวโหย ถ้าข้าปล่อยให้ท่ากินอิ่มในมือนี้ ท่านจะต้องอดไปอีกหลายมือ ดังนั้ข้าจึงคิดว่ามันจะดีกว่าถ้าท่านให้กินแต่น้อยๆ เพื่อจะได้มีกินไปทุกๆ มื้อ"

    ท่านชิวฉางชุน แปลกใจมากเมื่อได้ยินเช่นนั้น เพราะคำพูดทั้งหมดล้วนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวท่านตลอดมา

    ชายชราผู้นั้นชี้แจงให้ท่านฟังว่า ชีวิตคือพรหมลิขิต ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ และยังยกตัวอย่าง 2 เรื่องว่า มีจักรพรรดิ์องค์หนึ่งซึ่งเสวยสุขมาตลอดแต่สุดท้ายกลับต้องมาสิ้นพระชนม์ อยู่ในพระราชวังด้วยความหิว เพราะเกิดเหตุจราจลขึ้นในบ้านเมือง อีกเรื่องหนึ่ง มีเสนาบดี ที่มั่งคั่งร่ำรวยแต่ต่อมาท่านได้ถูกคนที่อิจฉาริษยาในความร่ำรวย ใส่ร้ายป้ายสีว่าตัวท่านเป็นผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรง สุดท้ายต้องถูกจับไปขังและตายในคุก

    เมื่อท่านชิวฉางชุนได้ยินดังนั้นแล้วก็เกิดความท้อแท้ใจและเลิกบำเพ็ญธรรม คอยแต่ก้มหน้ารับชะตากรรมที่จะเกิดขึ้นอย่างเดียว จากนั้นท่านกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายตลอดมา จนกระทั่งถึงกับพยายามฆ่าตัวตายโดยการอดอาหารเพื่อจบชีวิตตัวเองเสีย แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะทุกครั้งจะต้องมีคนมาช่วยเอาไว้ได้ทันเวลาเสมอ

    ความสิ้นหวังในชีวิตก็เพิ่มมากขึ้นๆ จนในที่สุดท่านตัดสินใจ ปลีกตัวหลบเข้าไปอยู่ในป่าแล้วล่ามตัวเองไว้กับต้นไม้เพื่อจะได้ตายสมใจ แต่แล้วในขณะนั้นเทพเจ้า ไห่ ไป่ จิน เชิน ผู้พิทักษ์ความดีได้รู้ถึงกรรมดีที่ท่านได้เคยบำเพ็ญสะสมไว้ จึงจำแลงกายลงมาช่วยชีวิตเอาไว้และชี้แนะหนทางให้ท่านชิวฉางชุนได้รู้ว่าการ บำเพ็ญธรรมด้วยความตั้งใจในอดีตที่ผ่านมา ได้พลิกผันเปลี่ยนแปลงโชคชะตาที่ท่านจะต้องตายด้วยความอดอยากให้หมดสิ้นไป แล้ว และอธิบายว่าคำทำนายของหมอดูนั้นใช้ได้เฉพาะกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่รู้จักบำเพ็ญธรรมเลยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จิตใจไม่ดีเต็มไปด้วยความอาฆาตพยาบาทมุ่งร้าย โชคชะตาของเขาก็จะยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เพราะฉนั้นชะตาชีวิตของคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะเป็นไปในทางดีหรือเลวขึ้นอยู่กับการกระทำของเขาเอง

    ท่านชิวฉางชุนจึงเกิดความเข้าใจกระจ่างแจ้ง และรู้ตัวว่าได้ทำผิดพลาดอย่างมหันต์จนเกือบเอาชีวิตไปทิ้ง ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงบำเพ็ญธรรมอย่างขยันขันแข็งและแน่วแน่มั่นคงไม่แปรเปลี่ยน จนสามารถบรรลุธรรมกลายเป็นนักบุญองค์สำคัญ มีพระนามอันร่ำลือมาจนถึงทุกวันนี้

    เราเห็นหรือยังว่า การบำเพ็ญธรรมสามารถอำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ชีวิตของเราทั้งหลาย หากเราทำด้วยความตั้งใจจริงก็ไม่มีคำว่า "ผิดหวัง" กล่าวได้ว่าทุกคนเป็นผุ้ที่โชคดีอย่างหาที่เปรียบมิได้ที่มีโอกาสบำเพ็ญตน เพื่อชดใช้หนี้สินบาปกรรมของเราโดยอาศัยการสร้างความดีสะสมไว้ ทั้งนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ธรรมมารดานั่นเอง

    เราทุกคนจดจำไว้เสมอว่า การบำเพ็ญธรรมจะช่วยปกป้องคุ้มครองให้ตัวเราปลอดภัยไปจนชั่วชีวิต เราต้องมีความเชื่อมั่นอยู่ตลอดเวลาว่า พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดและพระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วย เหลือเราให้บำเพ็ญธรรมไปได้จนถึงที่สุด เหตุนี้เราจึงควรรู้จักสำนึกและตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่แทนที่จะเรียกร้อง สิ่งตอบแทนจากการบำเพ็ญธรรม

    "ขั้นสุดท้ายในการบำเพ็ญธรรม" ก็คือ การบรรลุถึงสัจจธรรมสูงสุดที่เราเรียกว่า "ตรัสรู้" หมายถึง "การรู้แจ้งในตัวตนที่แท้จริง" การรู้แจ้ง ก็คือ "การกลับคืนสู่สภาวะธรรมดั้งเดิมแห่งความเป็นพุทธะ" ธรรมชาติแท้จริงภายใน "จิตใจ" ของมนุษย์มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมไปด้วยความดีงาม ความรัก ความเมตตากรุณา ความสงบเยือกเย็นและสุขุมคัมภีรภาพ

    แต่ทำไมมนุษย์จึงไม่สามารถนำเอา "จิตพุทธะ" ดั่งเดิมแท้จริงออกมาได้ สาเหตุก็เพราะคนพากันละโมบโลภมาก ริษยาอาฆาตโกรธเกลียดและเต็มไปด้วยความงมงาย

    "โลภ" คือ ความอยากได้ในทุกๆ สิ่งจนนำไปสู่ความขุ่นเคืองใจเมื่อไม่ได้สมกับที่ตั้งใจ แม้ว่าจะได้มาแล้วก็หลงยึดติดในสิ่งทั้งหลายจนเกิดความวิตกกังวล กลัวที่จะต้องสูญเสียมันไปในวันใดวันหนึ่ง

    "ความโกรธ" เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาขัดแย้งกับความต้องการที่เราหวังไว้ เมื่อนั้นจะทำให้จิตใจเกิดความขุ่นเคือง รำคาญ โมโห อิจฉาริษยา และนำไปสู่การตอบโต้แก้แค้นสร้างความทุกข์ให้กับทั้งสองฝ่าย

    "ความหลง" คือ ไม่รู้เท่าทันในความจริง ไม่รู้ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้วปวงไม่จีรังยั่งยืน พากันลุ่มหลงยินดีในโลกียสุขอันจะนำมาซึ่งความทุกข์ใจและความยุ่งยากลำบากต่างๆ

    ฉะนั้น เมื่อใดที่คนเราขจัดความขุ่นมัวออกไปเสียได้ เราก็จะสามารถสัมผัสกับ "พุทธะจิต" ที่สงบเยือกเย็นในตัวของเราเอง หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด สามารถฉุดช่วยบรรพบุรุษและลูกหลานให้กลับสู่นิพพานได้ในเวลาที่ "สำเร็จธรรม"

    การหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด
    การหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิดคือ การที่เราสามารถปลดปล่อยตัวเองจากการที่ต้องไปเกิดใน "อบายภูมิทั้ง 6" ได้แก่
    1. เทวโลก เป็นสถานที่ที่บรรดาเทพพรหมทั้งหลายสถิตอยู่ คนที่ทำความดีเอาไว้ ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์มาตลอด แต่ไม่ได้รับรู้วิถีธรรมก็จะจุติอยู่ในชั้นนี้

    2. โลกอสูร มีลักษณะกึ่งเทพ กึ่งมนุษย์คือ คนที่ตอนมีชีวิตทำแต่ความดีแต่ไม่สามารถขจัดความเห็นแก่ตัวยังมีความอิจฉาริษยา จึงไม่เกิดในแดนมารได้เสวยทิพยสมบัติเช่นกัน

    3. มนุษย์ภูมิ เป็นที่อยู่ของคนทั้งหลายไม่ว่าจะร่ำรวย ยากจน สูงศักดิ์หรือต่ำต้อย

    4. เดรัจฉานภูมิ ได้แก่ สถานที่เกิดของสัตว์ 4 ประเภทคือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก. สัตว์ที่กำเนิดในครรภ์ เช่น ม้า วัว ควาย หมู
    ข. สัตว์ที่เกิดในไข่ เช่น นก เป็ด ไก่
    ค. สัตว์ที่เกิดในที่อับชี้นในน้ำ เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย
    ง. สัตว์จำพวกแมลง เช่น ผึ้ง มด แมลงต่างๆ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]5. เปรตภูมิ เป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจากความสุขได้รับความทุกข์ ทรมานหิวกระหายอย่างแสนสาหัส เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาได้กระทำแต่สิ่งที่ไม่ดี

    6. นรกภูมิ เป็นที่ที่จิตวิญญาณของคนต้องไปเกิดรับทุกข์ทรมานมากเนื่องจากได้กระทำสิ่งที่ชั่วร้าย ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] อบายภูมิทั้ง 6 ดังกล่าวนี้ไม่ใช่ที่อยู่อันถาวรของดวงวิญญาณ จิตวิญญาณจะต้องไปเกิดอยู่ในภพภูมิใดก็ขึ้นอยู่กับ "กรรม" หรือ "การกระทำของแต่ละคน" เราจะต้องได้รับความทุกข์ทรมานมาก หากต้องไปเกิดในภพภูมิที่อยู่ต่ำลงไป เช่นไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปตร เป็นผีนรกเป็นต้น ถ้าไปเกิดในภูมิที่สูงขึ้นไปได้แก่เป็น เทพ พรหม แม้จะได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์แต่ในที่สุดก็ต้องกลับลงมาในโลกมนุษย์อีก เมื่อผลบุญหมดสิ้นแล้ว คนที่เกิดในโลกมนุษย์ก็ต้องประสบกับความทุกข์ทั้งหลายอันได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากของรัก ต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่สามารถสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา มีความอยากในกิเลสตัณหา รักหลงไม่รู้จักพอ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหตุให้คนเรา "ทุกข์" ทั้งทางกายและทางจิตใจ

    โลกนี้แม้จะมีความสุขอยู่บ้างแต่ก็ไม่จีรังยั่งยืน ทั้งนี้ก็เพราะ สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนต้องผันแปรเปลี่ยนเป็นอื่นอยู่ตลอดเวลา การยึดติดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวดเป็นทุกข์ ในที่สุดเราก็ต้องพลัดพรากสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักไปอย่างแน่นอน

    ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสวงหาทางพ้นทุกข์ เป็นอมตะไม่เกิดไม่ตายให้ได้ เราเคยรู้สึกแปลกใจไหมว่า ทำไมพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสามารถสละราชสมบัติ ละทิ้งโลกีย์สุขทั้งหลายออกไปค้นหาสัจจธรรมเพื่อหาทางพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

    เมื่อเราได้รับการถ่ายทอดวิถีธรรมแล้วทุกคนจะต้องมีความมั่นใจว่า ถ้าหากเราบำเพ็ญด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง "วิถีอนุตตรธรรม" นี้จะนำเราไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแน่นอน

    ฉุดช่วยบรรพบุรุษและลูกหลานให้กลับสู่นิพพาน
    ในยามที่บิดามารดาของเรายังมีชีวิตอยู่ เราจะต้องทำหน้าที่ของลูกที่พึงปฏิบัติต่อพ่อแม่ให้ดีที่สุด แต่หากท่านได้จากโลกนี้ไปแล้วผู้เป็นลูกหลานจะต้องพยายามจนสุดความสามารถ เพื่อช่วยให้ท่านพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในปรโลก วิธีที่เราทุกคนสามารถทำได้ก็คือ หลังจากที่เรารับวิถีธรรมแล้วควรตั้งใจปฏิบัติธรรมด้วยความพากเพียร นำเอา "วิถีธรรม" อันสูงส่งนี้เผยแพร่ออกไป เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของคนทั้งหลาย เมื่อนั้นดวงวิญญาณบรรพบุรุษของเราที่ล่วงลับไปแล้วไม่ว่าจะอยู่ในภพใด ภูมิใด ก็จะมีส่วนในกุศลผลบุญที่ลูกหลานได้กระทำ เราทุกคนผู้เป็นลูกหลานนับว่าโชคดีอย่างยิ่งที่สามารถสร้างบุญกุศลช่วยเหลือ ท่านได้

    เหตุนี้ขอให้เราทั้งหลายระลึกถึงพระเมตตาของเบื้องบนที่มีต่อพวกเรา ในพระพุทธศาสนามีเรื่องราวที่เล่าขานกันมากก็คือ เรื่องที่ "พระโมคคัลลานะลงไปฉุดช่วยมารดาของท่านออกจากนรกภูมิ" เรื่องมีดังนี้ :

    วันหนึ่ง พระโมคคัลลานะผู้เป็นสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ นั่งสมาธิถอนจิตญาตออกไป พบว่ามารดาของท่านได้ไปเกิดอยู่ในนรกต้องได้รับแต่ความทุกข์ทรมานเป็นอันมาก เมื่อท่านกลับมาแล้วจึงรีบเข้าเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลขอพระเมตตาของพระองค์ พระพุทธองค์จึงทรงแนะให้ท่านสร้างกุศลด้วยการบริจาคทานช่วยเหลือคนที่ตก ทุกข์ได้ยาก ด้วยความจริงใจ ด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างกุศลทานต่างๆ จึงสามารถฉุดช่วยมารดาและดวงวิญญาณอีกมากมายให้พ้นจากนรก

    ด้วยเหตุนี้การบริจาคทานสร้างกุศลเพื่อช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พ้นจากความทุกข์ทรมานในนรกจึงเป็นที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศไทย จีนและอีกหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย

    เราควรจดจำไว้ว่า การบำเพ็ญธรรมย่อมบังเกิดคุณประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อญาติพี่น้อง และต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอย่างมากมาย ทุกคนควรถือเอาโอกาสนี้ทำแต่ความดีบริจาคทานสร้างกุศลให้คุ้มค่ากับเวลาที่มีเหลืออยู่ไม่มาก เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

    สรุป
    ผู้ที่ได้รับวิถีธรรมแล้วตั้งใจบำเพ็ญอย่างจริงจังเป็นคนโชคดีที่สุด การบำเพ็ญ "วิถีอนุตตรธรรม" สร้างประโยชน์สุขต่อตัวเองและคนรอบข้างจริงๆ ฉะนั้นเราทุกคนควรทุ่มเทกำลังกายกำลังใจจนสุดความสามารถเพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในสังคม และทำให้โลกนี้บังเกิดสันติสุข
    [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]**************************[/FONT]​
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    วงจรกระแสจิต
    [​IMG]
    1. เมื่อบุคคลประสบกับรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ได้สูดดม รสที่ได้ลิ้ม สัมผัสทางกาย กระแสจะเข้าสู่จิต

    2. ถ้าอารมณ์ทั้งหล่าย ไม่ได้ถูกกำหนดหยั่งรู้ที่จิต ก็จะถูกส่งไปเก็บที่สมอง(ที่เก็บอารมณ์ในอดีต) และจะส่งลงมาที่จิตอีกครั้ง หมุนเวียนอย่างนี้ เรียกว่าวัฏฏะ คือ การหมุนเวียนของอารมณ์

    3. เมื่ออารมณ์ถูกเก็บหมักหมมมากเข้า อารมณ์หมักดอง(อาสวะ) ก็จะกลายเป็นเครื่องผูกรัดมัดจิต(สังโยชน์) ทำให้จิตหลุดพ้นไปไม่ได้

    4. เราต้องกำหนดที่จิต อยู่ระหว่างกลางทรวงอกบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งเป็นจุดรวมของอารมณ์ทั้งหมด เห็นความเกิด-ดับไปทุกขณะจิต ชื่อว่า เจริญสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด

    5. เมื่อกำหนดที่จิตแล้ว ญาณจะเข้าไปฟอกจิต กระแสจะทะลุไปข้างหลัง ผ่านขึ้นไปฟอกที่สมองเล็ก ซึ่งอยู่บริเวณท้ายทอย และจะเข้าไปฟอกที่สมองใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จากนั้น ญาณจะขับกระแสออกมาระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นทางออกของกระแสวิญญาณ เรียกว่า มโนทวาร

    6. เมื่อดูไปเนืองๆ ก็เริ่มเบื่อหน่าย คลายความติดใจในสิ่งทั้งหลาย ที่สุดจิตก็หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วัตถุประสงค์ของอนุตตรธรรม
    ทุก
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ต่างก็มีเหตุผลอยู่ในตัวของมันเองทั้งสิ้น สรรพสิ่งทั้งหลายและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นบนโลกนี้ ล้วนมี "พลังธรรมชาติ" ที่ไม่สามารถมองเห็น ซึ่งนำไปสู่วิถีทางที่ต้องดำเนินไปเช่นนั่นเองอย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลง พลังธรรมชาติอันเป็น "วิถี" หรือ "เส้นทาง" นี้ในภาษาจีนกลางเรียนว่า "เต้า" "เต้า" หรือ "วิถีทาง" คือความเป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติที่ต้องดำเนินไป และไม่มีผู้ใดจะเปลี่ยนแปลงได้

    คำว่า "เต้า" เทียบเคียงกับภาษาไทยคือ "สัจจธรรม" สัจจธรรมคือพลังอำนาจผู้ก่อเกิดและควบคุมสรรพสิ่งในจักรวาล ยกตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ต่างๆ มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระเบียบ หลักและกฎเกณฑ์การเคลื่อนที่ของเทหวัตถุในจักรวาลเราเรียกว่า "ดาราศาสตร์" การเกิดขึ้นของแผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ก็มีหลักและกฎเกณฑ์เฉพาะตัว ซึ่งเราเรียกว่า "ภูมิศาสตร์"

    ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์แขนงใดในโลก ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกซ์ และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นหลักกฎเกณฑ์ที่ "สัจจธรรม" กำหนดไว้ให้กับธรรมชาติทั้งสิ้นโดยมีมนุษย์เป็นผู้ค้นพบ

    สำหรับหลักสัจจธรรมที่ครอบคลุมอยู่ในตัวมนุษย์ก็คือ "จิตวิญญาณ"

    "จิตวิญญาณ" หรือ "จิตวิญญาณ" เป็นตัวตนที่แท้จริงสถิตอยู่ในร่างกายของคนเรา

    "จิตญาณ" เป็นผู้ควบคุมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย จิตญาณที่อยู่ภายในเป็นจุดศูนย์รวมของความรู้สึกนึกคิด ทั้งปวง "จิตญาณ" คือตัวจริงแท้ในตัวมนุษย์ทุกคน ไม่สามารถมองเห็น ไม่มีวันตาย ไม่สามารถสร้างขึ้นหรือถูกทำลายลงไปได้

    "จิตญาณ" ในตัวมนุษย์เหมือนกันหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนเชื้อชาติใด วรรณะใด ภาษาใด จิตญาณเดิมของทุกคนล้วนมีแต่ความดีงาม ความเมตตาที่สมบูรณ์พร้อมโดยธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในสภาพการณ์ที่มนุษย์ถูกยั่วยุให้เลือกที่จะสนองความอยาก ความสุขสำราญ ทางวัตถุมากกว่าที่จะพัฒนาจิตญาณของตนมรบัดนี้มนุษย์ในโลกปัจจุบันได้ละทิ้ง การพัฒนาจิตญาณของตนแล้วหันไปต่อสู้ดิ้นรนแข่งขันกัน เพื่อให้ได้ความสุขสบายและสนองความอยากที่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว เพื่อให้สมความอยากของตนบางครั้งถึงกับหลอกลวงตัวเอง มอมเมาจิตใจให้หลงใหลวิปลาสไปต่างๆ นานา

    ด้วยเหตุนี้ อาชญากรรมความรุนแรงการกระทำที่ชั่วร้ายมากมายหลายอย่างจึงเกิดขึ้นในโลกทุกวันนี้

    เนื่องจากจิตใจของผู้คนขณะนี้ตกต่ำจนถึงขีดสุด เบื้องบนจึงได้โปรดเมตตาประทานให้ "วิถีอนุตตระรรมอันสูงส่ง" เผยแพร่แก่สาธุชนทุกมุมโลกผู้ซึ่งสำนึกได้และยินดีแก้ไขในความผิดบาปทั้งหลายของตน หากมิใช่เป็นด้วยบุญสัมพันธ์ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประกอบกับบุญกุศลของบรรพบุรุษและของตัวเองที่ได้สร้างสมเอาไว้ เราจะไม่มีโอกาสรับรู้ "วิถีธรรม" ที่อุบัติขึ้นในเวลานี้ได้เลย

    หลังจากที่ได้รับถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" แล้ว เราจะต้องตั้งใจศึกษาให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ "วิถีธรรม" นี้

    วัตถุประสงค์ของ "อนุตตรธรรม" มีดังนี้ :

    1. เคารพฟ้าดิน
    2. สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และนักบุญทั้งหลาย
    3. จรรโลกคุณวิเศษในพระธรรมคำสอนของศาสนาทั้ง 5
    4. กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
    5. เคารพเทิดทูนสำนึกในพระคุณของครูอาจารย์
    6. จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตน
    7. เชิดชูรักษาศิลปะวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ดีงามของชาติ
    8. เชื่อถือและปฏิบัติตามหลักจริยะธรรมโบราณประเพณีอันดีงาม
    9. ปฏิบัติตนตามหลักคุณสัมพันธ์ 5 และคุณธรรม 8
    10. ยึดถือความสัตย์จริงใจต่อมิตร
    11. มีอัธยาศัยไมตรีต่อเพื่อนบ้านทุกคน
    12. ละทิ้งความชั่วทั้งปวง สร้างแต่คุณความดี
    13. ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ขจัดความอยากความนึกคิดที่ไม่ดีออกไปจากใจ
    14. อาศัยสังขารร่างกายตัวปลอมบำเพ็ญให้บพตัวตนที่แท้จริงภายใน
    15. ฟื้นฟู "ดวงจิตธรรมญาณเดิม" ในตัวเองให้ปรากฏออกมา
    16. พัฒนา "วิจารณญาณ และ สัญชาตญาณ" ให้ดีเลิศ
    17. ส่งเสริมผู้อื่นให้ดีพร้อม เช่นเดียวกับส่งเสริมตัวเอง
    18. ฉุดช่วยผู้อื่นให้สามารถบรรลุธรรมเช่นเดียวกับฉุดช่วยตนเอง
    19. ขจัดความเลวร้ายและบาปเวร ช่วยแปรเปลี่ยนจิตใจผู้คนให้ดีงาม
    20. พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดสันติภาพและความสุขขึ้นบนโลก
    21. มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้เป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ"

    1. เคารพฟ้าดิน
    คนที่อยู่ในโลกนี้มี "ฟ้า" อยู่เบื้องบน มีแผ่น "ดิน" อยู่เบื้องล่าง ดังมีคำกล่าวว่า "คนเกิดจากฟ้า ถูกฝังด้วยดิน"
    คนเราไม่รับสิ่งต่างๆ มากมายซึ่งธรรมชาติเมตตาประทานให้ใช้ในการดำรงชีวิตอยู่คืออากาศ น้ำ แสงแดด ฝน ผลไม้พืชพันธุ์ธัญญาหาร ฯลฯ ฟ้าดินเกื้อกูลดูแลเรา เป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ ฟ้าดินให้เราทุกอย่างโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้โดยปราศจากข้อแม้ใด ฟ้าดินให้โดยไม่ต้องพูด ลองคิดดูเถิดว่า หากปราศจากสิ่งที่อยู่รอบกายตามธรรมชาติ เราจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? เงินทองทรัพย์สมบัติความมั่งคั่งร่ำรวยชื่อเสียงเกียรติยศจะมีความหมายอะไรอีกและมีประโยชน์อะไร? ถ้าหากเราปราศจาก "ชีวิต"

    หากธรรมชาติไม่มอบทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวให้แก่เรา สิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมทั้งคน ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้

    "ฟ้าเป็นผู้ให้กำเนิด ดินเป็นผู้เลี้ยงดู"

    ด้วยความเมตตากรุณาดุจบิดามารดาที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้รับ เราจึงเป็นหนี้บุญคุณต่อฟ้าดิน สมควรมีมนุษย์ทุกคนจะต้องเคารพฟ้าดิน ด้วยความสำนึกในพระคุณอันใหญ่หลวง

    2. สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์และนักบุญทั้งหลาย
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพ พรหม และท่านผู้บรรลุธรรมทุกพระองค์ล้วนแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ นำความสันติสุขและความสามัคคีสมานฉันท์มาสู่ชาวโลก ด้วยความเอื้ออาทรห่วงใยว่า เมื่อท่านจากโลกนี้ไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลาย จะไม่มีโอาสรับรู้ "วิถีธรรมอันสูงสุด" นี้ ท่านจึงได้ฝากพระธรรมคำสอนอันแฝงด้วยปริศนาแห่ง "สัจจธรรม" จารึกไว้ในคัมภีร์และพระสูตรต่างๆ

    พระธรรมคัมภีร์ พระไตรปิฏก ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าในศาสนาทั้งหลาย ถูกรักษาสืบทอดต่อมา ด้วยความหวังว่าคนรุ่นหลังจะได้อาศัยเป็นแนวทางและแสวงหา "สัจจธรรมที่แท้จริง" ได้ในที่สุด

    มหาบุรุษทุกพระองค์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเยซูคริสต์ ท่านเหลาจื้อ ฯลฯ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่านได้สร้างคุณความดีอย่างมากมาย พระองค์เสด็จจาริกจากเมืองหนึ่งไปสู่อีกเมืองหนึ่งเพื่อเทศนาสั่งสอนถึงเรื่อง "สัจจธรรมของชีวิต" และฉุดช่วยเวไนยสัตว์

    ปณิธาน อันแรงกล้าของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ก็คือ ทำให้โลกนี้บังเกิดสันติสุข ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างรักใคร่กลมเกลียว ไม่มีความโลภ ความโกรธ ในท่ามกลางผู้คน แม้ว่าพระผู้สำเร็จธรรมเหล่านั้นจะมีแต่จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม กล่าวแต่คำสอนที่ดีงาม ก็ยังมิวายที่จะได้รับการเยาะเย้ยถากถาง กล่าวร้ายป้ายสีจากผู้คน ในบางครั้งถึงกับมุ่งทำลายเอาชีวิตของท่านก็มีไม่ว่าจะพบแต่อุปสรรคขวางกั้น อย่างไรก็ตามท่านเหล่านั้นก็มีเคยย้อท้อ ไม่ทรงหยุดยั้งที่จะปฏิบัติภาระกิจในการประกาศสัจจธรรมจนกว่าจะบรรลุปฏิธาน ที่ตั้งไว้แล้วทุกพระองค์

    จากที่กล่าวมาแล้ว เราทุกคนจึงควรเทิดทูนบูชาและเจริญรอยตามพระบาทของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์สืบไป

    3. จรรโลงคุณวิเศษในพระธรรมคำสอนของศาสนาทั้ง 5
    ศาสนาใหญ่ทั้ง 5 อันได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม เต๋า ขงจื้อ คำสั่งสอนของทั้ง 5 ศาสนานี้สอดคล้องและมีเป้าหมายที่คล้ายคลึงกัน คือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]1. ศาสนาพุทธ - สั่งสอนหลักเมตตาธรรม
    2. คริสต์ - สั่งสอนหลักอหิงสา ให้รักเพื่อนมนุษย์ทุกคน
    3. อิสลาม - สั่งสอนหลักภราดรภาพ อยู่ร่วมกันในโลกนี้เหมือนครอบครัวเดียวกัน
    4. เต๋า - สั่งสอนให้ใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติ
    5. ขงจื้อ - สั่งสอนให้มีน้ำใจโอบอ้อมอารีละทิ้งความเห็นแก่ตัว

    พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า "สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นดั่งความฝัน ประดุจภาพมายา เหมือนฟองน้ำและพยับแดด ดังนั้นท่านทั้งหลายไม่ควรยึดติดอยู่กับมัน"

    พระเยซูคริสต์ได้ทรงตรัสว่า "...ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูและอวยพรแก่ผู้ที่แช่งว่าท่านจงทำคุณแก่ผู้ที่เกลียดชังท่าน และจงอวยพรแก่ผู้ที่ประทุษร้ายเคี่ยวเข็ญท่าน...."

    ในพระคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า" ...จงสนใจในเวลา แท้จริงมนุษย์อยู่ในการขาดทุนเว้นแต่บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบการดีทั้งหลาย ผู้ตักเตือนกันและกันในสัจจธรรม ผู้ตักเตือนกันและกันในขันติธรรม...."

    ท่านเหลาจื้อกล่าวว่า "สัจจธรรม (เต้า) ที่
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สามารถนำมาเล่าขานได้นั้น ยังไม่ใช่สัจจธรรมซึ่งเป็นอมตะ[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]

    สิ่งที่มีการเรียกขานนามได้ยังไม่ใช่นามอมตะ
    ไร้นาม นั่นเป็นรากฐานแห่งฟ้าและดิน
    การเกิดมีนามขึ้น จึงเป็นมารดาของสรรพสิ่ง"


    ท่านขงจื้อกล่าวว่า "ความเมตตากรุณา คือ องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์"

    จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราคงล่วงรู้ถึงเจตนาของผู้ที่สำเร็จธรรมไปแล้วที่รักษาคำสอนของพระศาสดา ทั้งหลายสืบทอดต่อกันมา ก็เพื่อให้มนุษย์ทั้งหลายหวนกลับสู่ "บ้านเดิม" คือแดนนิพพาน โดยการได้รับ "วิถีอนุตตรธรรม" และบำเพ็ญความดี ดำเนินชีวิตตามหลักแห่งศีลธรรมจรรยา

    ฉะนั้น พระธรรมคำสอนของพระศาสดาทุกพระองค์ที่ทรงมุ่งหวังให้เราได้ค้นพบสัจจธรรมที่แท้จริง จึงเป็นเสมือนดวงประทีปส่องสว่างนำทางแก่ผู้คนที่กำลังแสวงหา "ทางหลุดพ้น"

    4. กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
    ความกตัญญูไม่ใช่เป็นความรู้สึกที่จะต้องไปเรียน ความกตัญญูเป็นสัญชาติญาณที่ฝังติดอยู่ในจิตญาณของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิด เด็กเล็กๆ หากถูกทำโทษโดยพ่อแม่ แม่ยิ่งตีลูกจะยิ่งกอดไว้แน่นทั้งๆ ที่ใบหน้านองไปดวงน้ำตา ปากก็พร่ำร้องขอเป็นผู้เป็นแม่อภัยให้เป็นธรรมชาติอยู่เองของลูกๆ จะรู้สึกปวดร้าวและเศร้าใจ เมื่อเห็นคุณพ่อคุณแม่เจ็บป่วยหรือมีความทุกข์

    เพื่อลูกพ่อแม่ยินดีทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำอย่างไม่รู้จักคำว่า "เหน็ดเหนื่อย" หาเงินมาเลี้ยงดูเราให้เจริญเติบโต

    ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมั่นคงดั่งภูเขากว้างกว่าแผ่นฟ้าลึกกว่ามหาสมุทรประเสริฐล้ำค่าสุดจะนำมาพรรณา

    มนุษย์จะต้องไม่หลงลืมและมองข้ามความเมตตาอันยิ่งใหญ่ของท่านทั้งสอง มันเป็นเรื่องโดยธรรมชาติและเป็นความถูกต้องที่เราดูแลพ่อแม่ยามที่ท่านชรา เป็นเรื่องน่าอดสูใจยิ่งนักสำหรับคนที่สรรหาข้ออ้างที่เห็นแก่ตัวมาใช้หลบ เลี่ยงหน้าที่ของลูกซึ่งต้องปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่ของตนอย่างไม่รู้สึกอะไร ถ้าเราทำเช่นนี้ก็จะเป็นเหมือนดังคำที่กล่าวว่า

    "คน" ที่ไม่รู้จักบุญคุณ ไม่ใช่ "คน"

    แม้กระทั่งอีกยังรู้จักคาบอาหารมาป้อนให้แก่พ่อแม่ที่ชรา
    แม้แต่ลูกแพะยังรู้จักคุกเข่าลงเพื่อขอดื่มนมจากแม่

    ช่าน่าอับอายอย่างยิ่งสำหรับคนที่ละเลยหน้าที่ของ "ความเป็นคน"

    การกตัญญูไม่ใช่เพียงแต่หยิบยื่น เงินทอง เสื้อผ้า อาหาร และของที่จำเป็นในชีวิตแก่ท่านเท่านั้น นอกเหนือจากวัตถุสิ่งของที่อำนวยความสะดวกสบายเหล่านี้ เราต้องนอบน้อมเคารพรักท่านอย่างสุดหัวใจ ลูกๆ ที่ปราศจากความรักจากใจอันสำนึกรู้คุณ มันคงไม่แตกต่างอะไรกับที่เขาเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เจ้านายที่ดียังมอบความรักความอบอุ่น ทะนุถนอมสัตว์เลี้ยงของตนแล้วพ่อแม่ผู้มีพระคุณท่วมท้นของเราละได้รับการดูแลในสถานใด?

    ความกตัญญูกตเวทีเป็นบันไดก้าวไปสู่ความดีทั้งหลายทั้งปวง ลูกหลานที่กตัญญูย่อมเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย ดังเช่น พระจักรพรรดิ์ซุนผู้มีความกตัญญู พระองค์ถูกพระบิดาพระมารดาและพี่น้องพากันเกลียดชังถึงกับจะปลงพระชนม์ แต่ก็หาได้โกรธแค้นไม่ จนกระทั่งพระจักรพรรดิ์เหย่าได้ยินคำร่ำรือถึงความกตัญญูอันเยี่ยมยอดของท่าน พระองค์จึงยกพระราชธิดาและมอบราชบัลลังก์ให้แก่ท่านโดยไม่ลังเลใจแม้แต่น้อย

    5. เคารพเทิดทูน สำนึกในพระคุณของครูอาจารย์
    ในสมัยก่อนจัดแบ่งครูอาจารย์ไว้เป็น 3 ประเภทดังนี้ :
    ก. ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เช่น ศิลปะช่างฝีมือ แพทย์ การครัว ฯลฯ
    ข. ครูอาจารย์ผู้ที่สามารถตอบข้อข้องใจลูกศิษย์ และช่วยสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตของลูกศิษย์
    ค. ครูผู้เป็น "พระวิสุทธิอาจารย์" ซึ่งสามารถถ่ายทอดสัจจธรรมที่สูงสุดในจักรวาล (อนุตตรธรรม) ให้แก่ศิษย์

    ในการดำเนินชีวิต เราได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูอาจารย์มากมายหลายท่านให้รู้จักทำมาหากินและ วิธีที่จะอยู่รอดในสังคม

    ครูคนแรกในชีวิตของเราคือ พ่อแม่ ผู้ซึ่งสั่งสอนให้เรา กิน เดิน พูด เขียนและเรียกชื่อตัวเองก่อนครูคนอื่นใดทั้งหมด ฉะนั้นนอกจากความกตัญญูที่ลูกต้องมีต่อพ่อแม่แล้ว ลูกๆ ทุกคนต้องเคารพเทิดทูนบูชาท่านทั้งสองในฐานะ "ครูอาจารย์คนแรก" ในชีวิตด้วย

    ต่อมาเมื่อเราเติบโตก้าวเข้าสู่สังคม ตั้งแต่วัยเด็กขึ้นมาเราก็ได้รับการอบรมสั่งสองศิลปะวิชาความรู้ในแขนงต่างๆ จากครูอาจารย์หลายท่านจนกระทั่งสามารถสร้างชีวิตและฐานะในสังคมให้มั่นคง ประกอบภาระกิจหน้าที่อันเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมต่อไป เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายต้องระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ทุกท่านในชีวิต ด้วยความเทิดทูนเคารพนับถืออย่างมีอาจลืมเลือน
    ดังมีคำกล่าวว่า "เป็นครูอาจารย์เพียงวันเดียวมีพระคุณชั่วชีวิต"

    ครูอาจารย์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นผู้ช่วยให้เราไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า แต่หลังจากชีวิตนี้แล้วเราจะไปไหน? อะไรจะเกิดขึ้นกับเรา? จะมี "อาจารย์" ท่านใดนำทางให้แก่เราล่ะ?

    มาวันนี้เราทั้งหลายผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอด "วิถีธรรม" แล้ว ก็สามารถรู้ทางไปของชีวิตในโลกหน้าว่า ถ้าเราบำเพ็ญธรรมด้วยความตั้งใจจริงในเวลานี้ ต่อไปเราก็จะสามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารไม่ต้องเวียนเว่ายตายเกิด ได้พบกับความสงบสุขและชีวิตนิรันดร มีใครคิดบ้างว่าทำไมเราจึงสามารถรับ "วิถีธรรม" ในเวลานี้

    ในสมัยโบราณ ผู้ที่แสวงหาสัจจธรรมของชีวิตจะต้องเดินทางไปไกลแสนไกลเพื่อค้นหาพระวิสุทธิ อาจารย์ผู้ที่สามารถถ่ายทอดสัจจธรรมเที่ยงแท้ให้แก่เขาได้ ท่านขงจื้อเองก็ได้คาระท่านเหลาจื้อเพื่อถามหา "สัจจธรรม" ท่านเสินกวงก็ได้ติดตามพระบรมครูโพธิธรรมเพื่อขอรับรู้ "สัจจธรรม"
    ดังมีคำกล่าวไว้ว่า "ท่านไม่สามารถจะเป็น "ผู้รู้" ได้หากยังไม่ได้พบ "พระวิสุทธิอาจารย์"

    มาบัดนี้ เราทั้งหลายได้เสาะหาพระวิสุทธิอาจารย์จนพบแล้วว่า "พระอรหันต์จี้กงและพระโพธิสัตว์จันทรปัญญาคือพระวิสุทธิอาจารย์แห่งธรรมกาลสุดท้ายนี้"

    เวลานี้เราทั้งหลายอยู่ในช่วงเวลาใกล้ค่ำของชีวิตกันแล้ว ยุคแห่งเคราะห์กรรมและมหันตภัยอันเนื่องมาจากความชั่วร้ายที่มนุษยืได้สะสม ไว้กำลังส่งผลมาถึง และเพื่อคัดแยกความดีและความชั่วออกจากกัน ตามที่พระอาจารย์มีดำรัสไว้ว่า "บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่หินและหยกต้องแยกจากกัน"

    เพราะเหตุนี้เอง "วิถีอนุตตรธรรม" อันล้ำค่าจึงถูกถ่ายทอดลงสู่ครัวเรือน พระวิสุทธิอาจารย์ของเราได้เข้ามาแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ในการเผยแพร่ "อนุตตรธรรม" ในยุคสุดท้ายนี้

    ในการเผยแพร่อนุตตรธรรมพระวิสุทธิอาจารย์ทั้งสองพระองค์ ต้องผ่านความทุกข์ยากลำบากตรากตรำมากมายนับประการ เพื่อให้ชาวโลกทั้งหลายมีโอาสได้รับการถ่ายทอดวิถีธรรมอันเป็นสัจจธรรมที่จะนำเราเข้าสู่หนทางแห่ง "นิพพาน" สามารถหนีออกจากวงเวียนแห่งการเกิดตาย ไปสู่ชีวิตที่สงบสุขชั่วนิรันดร

    หากแม้นมิใช่ด้วยพระบารมีธรรมของพระวิสุทธิอาจารย์บุกเบิกนำทางลงมา จะมีใครบ้างได้พบ "วิถีอนุตตรธรรม" นี้

    เราทั้งหลายเป็นหนี้ในพระมหาเมตตาบารมีของพระวิสุทธิอาจารย์ ที่ช่วยให้เราได้รับรู้ "วิถีธรรม" อันล้ำค่า ดังนั้นเราจึงต้องเคารพเทิดทูนสำนึกในพระคุณของพระองค์ท่านตลอดไป

    6.จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตน
    การจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองของตน เป็นหน้าที่อันชอบธรรมมีคำกล่าวว่า "หากสิ้นชาติแล้ว บ้านของเราจะอยู่ที่ไหน?"

    ประเทศชาติประกอบขึ้นด้วย แผ่นดิน ประชาชน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเทศและวิถีชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง ชาติเป็นที่ตั้งของมหาชนที่รวมกันเป็นหนึ่งเพื่ออยู่ร่วมกัน ช่วยเหลืออนุเคราะห์ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทุกคนต้องทะนุบำรุงปกป้องคุ้มครองชาติบ้านเมืองของตนให้อยู่อย่างรมเย็นเป็น สุข

    หากผู้คนในบ้านใดเมืองใดไม่ใส่ใจในหน้าที่ปล่อยให้คนชั่วร้ายไร้คุณธรรมเข้าปกครองรุกรานย่ำยี เมื่อนั้นเรายังจะมีบ้านที่ให้ความสุขและความอบอุ่นอยู่อีกหรือ?

    การซื่อตรงต่อหน้าที่ของตน คือรู้จักรับผิดชอบในภาระที่มีต่อตัวเองและต่อผู้คนในสังคมกล่าวได้ว่าความ รับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าคนเราขาดความรับผิดชอบเสียแล้ว ย่อมจะไม่สามารถประสบความสำเร็จไว้ว่าจะเป็นเรื่องอะไรในชีวิต

    การมีความรับผิดชอบคือ คุณธรรมสำคัญของมนุษย์ ผู้ที่มีความรับผิดชอบเมื่อได้รับมอบหมายภาระกิจการงานใด ก็จะควบคุมตรวจตรานับตั้งแต่เริ่มต้นจนกว่าจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คนที่มีสำนึกในการรับผิดชอบ จะไม่ยอมปล่อยให้งานที่ได้รับมอบปมายสะดุดหยุดลงครึ่งๆ กลางๆ

    ถ้าแต่ละคน ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่เคารพในหน้าที่ ไม่ดูแลภาระกิจการงานให้ลุล่วง ไม่เอาใจใส่ถือว่าไม่ใช่ธุระของตน หากในครอบครัวเรามีแต่คนเป็นอย่างนี้ บ้านจะเป็นอย่างไร? เมืองจะเป็นอย่างไร? มันน่ากลัวเหลือเกินที่จะคิดว่าแล้วโลกนี้จะเป็นอย่างไร? ฉะนั้น" ประเทศชาติจะได้ดีทุกครอบครัวต้องมีวินัย"

    7. เชิดชูรักษาศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามของชาติ
    ใน "วิถีอนุตตรธรรม" เรารักษาศิลปะวิชา และศึกษาปฏิบัติตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ที่บรรดานักปราชญ์และบรรพชนได้ฝากไว้ในแผ่นดิน เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่เราแล้วว่า ผู้ที่ก้าวไปสู่การเป็น "มหาบุรุษ" ต้องมีรากฐานแห่งศีลธรรม ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในขนบธรรมเนียมอันดีงามของชาติ

    ชาติบ้านเมืองใดมีผู้คนที่รู้ถึงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมในชาติของตน ชาติบ้านเมืองนั้น ก็จะเป็นแหล่งที่ให้กำเนิดมหาบุรุษและนักปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลาย

    ขอให้เราปฏิบัติตนโดยเอาเยี่ยงอย่างคุณธรรมความดีที่บรรดามหาบุรุษทั้งหลายได้ กระทำไว้แล้วเป็นตัวอย่าง เพื่อจะช่วยนำพาตัวเราไปสู่ความเป็น "คนเหนือคน"

    8. เชื่อฟังและปฏิบัติตามหลักจริยะธรรมโบราณประเพณีอันดีงาม
    ถึงแม้ว่าเรากำลังอยู่ในโลกวิทยาศาสตร์อันทันสมัยแวดล้อมด้วยเคนโนโลยีที่สูง แต่คุณความดีในจิตใจและหลักจริยธรรมอันล้ำค่าของมนุษย์กลับเสื่อมโทรมลง ในทุกส่วนของโลกเกิดสงครามที่อำมหิตเหี้ยมโหด ในบ้านเมือง มีการ ปล้น ฆ่า ข่มขืน ไม่มีความปราณีเหลืออยู่ในระหว่างผู้คนความเลวร้ายมีแม้กระทั่งเข่นฆ่ากันเองในครอบครัว ช่างน่าเอน็จอนาถใจเสียจริงๆ

    ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะ คนไม่ยอมยึดถือหลักศีลธรรมเหยียบย่ำคุณความดีเสียแล้ว สิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการอยู่ในเวลานี้ก็คือ สนองความอยากที่เห็นแก่ตัวเพียงอย่างเดียว

    ดังนั้น "วิถีอนุตตรธรรม" จึงชี้นำให้ผู้บำเพ็ญต้องช่วยกันรื้อฟื้นหลักจริยธรรม ศีลธรรมและประเพณี อันดีงามแต่โบราณ ขึ้นมาปฏิบัติกันหใหม่เพื่อให้ ครอบครัว สังคม และโลกนี้สงบสุขน่าอยู่กว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

    หลักจริยธรรมอันดีงามตั้งแต่โบราณก็คือ ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ประการ และคุณธรรมสามัญของมนุษย์ 5 ประการ

    ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ได้แก่
    1. กษัตริย์เอาใจใส่ขุนนางผู้ชื่อสัตย์
    2. บิดามารดาเมตตาลูก ลูกรู้จักกตัญญูบิดามารดา
    3. สามีภรรยารักใคร่กัน

    คุณธรรมสามัญของมนุษย์ 5 ประการ (เบญจธรรม) ได้แก่
    1. ความมีเมตตากรุณาจิต คือ อยากให้ทุกชีวิรมีความสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    2. มีมโนธรรมสำนึก คือ ไม่ทำความเดือดร้อนเบียดเบียนผู้อื่น สิ่งใด แม้ตัวเราไม่ชอบก็ต้องไม่หยิบยื่นให้ผู้อื่น
    3. มีจริยธรรม คือ สำรวม กาย วาจา ใจอยู่ในความถูกต้องดีงาม
    4. มีความซื่อสัตย์ คือ เคารพจริงใจต่อ ฟ้าดิน ต่อตนเองและต่อคนทั้งหลาย
    5. มีปัญญาในธรรม คือ ปัญญาความรู้ที่สามารถพาตัวเองให้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด

    ท่านเม่งจื้อกล่าวว่า "จงอย่าทำสิ่งที่ความรู้สึกของตนบอกไม่ควรทำ จงอย่าปรารถนา ในสิ่งที่ความรู้สึกของตนเองบอกไม่ควรปรารถนา เรื่องมนุษยธรรมก็มีเพียงเท่านี้"

    9. ปฏิบัติตนตามหลักคุณสัมพันธ์ 5 และคุณธรรม 8
    ท่านขงจื้อกล่าวว่า "คนเรามีดีมาแต่กำเนิด" ทั้งนี้เพราะจิตของคนทุกคนประกอบด้วยสัญชาตญาณแห่งความดีมีศีลธรรมเป็นทุน เดิมอยู่แล้ว แต่ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ต่างดิ้นรนแข่งขั้นกันเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ทุกคนมุ่งไปที่ความมั่งคั่งร่ำรวย โลกนี้ยิ่งมีแต่ความคร่ำเคร่งตึงเครียดมากขึ้นเท่าใด ผู้คนก็จะยิ่งสูญเสียความมีมนุษยสัมพันธ์และสัญชาติญาณลงไปเท่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ "อนุตตรธรรม" จึงอุบัติขึ้นเพื่อฟื้นฟูสัญชาติญาณแห่งความดีที่มีอยู่ในตัวทุกคน ผู้บำเพ็ญในอนุตตรธรรมพึงปฏิบัติตามหลักจริยธรรมต่อไปนี้ คือ

    คุณสัมพันธ์ 5 อันได้แก่
    1. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก ได้แก่ พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความเมตตา ลูกมีความกตัญญูต่อพ่อแม่
    2. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา ได้แก่ สามีอนุเคราะห์ให้เกียรติต่อภรรยา ภรรยาเคารพและซื่อสัตย์ต่อสามี
    3. ความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้อง ได้แก่ พี่รักใคร่ดูแลน้อง น้องเคารพเชื่อฟังพี่ต่างสามัคคีปรองดองกัน
    4. ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่อเพื่อน ได้แก่ เพื่อนต่างต้องมีความจริงใจมีสัจจะต่อกัน
    5. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยหรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดินทะนุบำรุงดูแลไพร่ฟ้า ราษฎรจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน หรือ เจ้านายต่อลูกจ้าง ได้แก่ นายจ้างให้ความเมตตาช่วยเหลืออนุเคราะห์เกื้อกูลลูกจ้าง ลูกจ้างตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เคารพ ซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง

    คุณธรรม 8ได้แก่
    1. กตัญญูกตเวที
    2. สามัคคีปรองดอง
    3. จงรักภักดี
    4. มีสัจจวาจา
    5. มีจริยธรรม
    6. ซื่อสัตย์
    7. บริสุทธิทั้งกาย วาจา ใจ
    8. ละอายและเกรงกลัวต่อบาป

    10. ยึดถือความสัตย์จริงใจต่อมิตร
    ความไว้ใจเป็นคุณความดีที่สำคัญ คนเราเชื่อว่ "สิ่งใดที่พูดไปแล้ว ย่อมมีการกระทำเป็นพยาน" ในภาษาจีน คำว่า "ไว้วางใจ" ประกอบด้วยคำว่า "คน" และ "คำพูด" เมื่อเขียนรวมกันเป็นคำว่า "ไว้ใจ" จึงหมายความถึง คำพูดที่กล่าวโดย "คน"

    เป็นธรรมดาที่ผู้คนทั้งหลายย่อมชื่นชมและให้ความเคารพต่อบุคคลที่เขาไว้วางใจ ความซื่อสัตย์และไว้วางใจระหว่างเพื่อนนำมาซึ่งความสนิทสนมสามารถ เปิดเผยความคิดเห้นส่วนตัว ไม่มีความลับต่อกันสามารถแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันอย่างเข้าอกเข้าใจ

    คนที่มีแต่ความหวาดระแวงผู้อื่น ยากที่จะพบเพื่อนที่จริงใจ
    คนที่คบกันโดยไม่มีความไว้วางใจ ไม่เรียกว่า "เพื่อน"

    อย่างไรก็ตามเราต้องรู้จักแยกแยะให้ได้ระหว่าง "ไว้ใจ อย่างมีปัญญา" กับ "ตาบอดไว้ใจ"

    ท่านเม่งจื้อได้กล่าวว่ "กัลยาณชนย่อมไม่จ้องจับผิดคำพูด ไม่เฝ้าติดตามดูการกระทำของเพื่อน เขาจะสนใจแต่สิ่งที่ถูกต้องในตัวของเพื่อนเท่านั้น"

    11. มีอัธยาศัยต่อเพื่อนบ้านทุกคน
    เป็นสิ่งที่วิเศษเหลือเกินที่เราจะได้อยู่ร่วมกัน เพื่อนบ้านรอบข้างด้วยความมีน้ำใจ ผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีย่อมเป็นมิตรกับทุกคนที่ใกล้ชิด และจะได้รับการตอนรับด้วยดีเสมอ

    มีคำกล่าวว่า "ญาติพี่น้องที่ห่างไกล เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ไม่ได้" ทั้งนี้เพราะ ในยามเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินมีแต่เพื่อนบ้านเท่านั้นที่จะให้ความช่วยเหลือกันได้ทันเวลา

    12. ละทิ้งความชั่วทั้งปวง สร้างแต่คุณความดี

    เมื่อเราได้รับวิถีธรรมแล้วจึงรู้ว่า "ธรรมชาติดั้งเดิมที่แท้จริงในตัวมนุษย์คือความดี"
    ผู้ที่ศึกษาให้ลึกซื้อก็จะพบว่า คนเราจะต้องขจัดนิสัยที่ไม่ดีออกไปด้วยการหมั่นฝึกฝนตนเอง ทำได้เช่นนี้แล้วย่อมจะนำเราไปสู่ "ทางแห่งการบรรลุธรรม"

    13. ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ขจัดความอยากความนึกคิดที่ไม่ดีออกไปจากใจ
    ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยวนในโลกทุกวันนี้ ความรู้สึกนึกคิดของคนเราถูกชักนำไปในทางที่ชั่วได้ง่ายตามความอยากที่เห็น แก่ตัว สำหรับคนที่ไม่มีความเข้มแข็งเขาก็จะแสวงหาสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีการที่ ผิดๆ วิถีธรรมถ่ายทอดสู่ดลกมนุษย์ก็เพื่อดึงเอา "จิตที่เมตตา" ในตัวเราออกมาใช้

    ในระหว่างขั้นตอนการบำเพ็ญอนุตตรธรรม เราต้องพยายามรักษาความดีงามและเรียนให้มากถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่

    การบำเพ็ญธรรมอย่างต่อเนื่องจะค่อยๆ ขจัดความนึกคิดและความอยากที่ไม่ดีออกไปจนในที่สุดเราจะสามารถมีจิตใจที่สงบ สะอาดและบริสุทธิ์

    14. อาศัยสังขารร่างกาย ไตัวปลอม" บำเพ็ญให้พบ "ตัวตนที่แท้จริง" ภายใน
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาสั่งสอนไว้ว่า " สรรพสิ่งทั้งหลายที่เห็นได้ด้วยตาได้ยินด้วยหูสัมผัสได้ด้วยกายเป็นของปลอม แม้แต่สังขารร่างกายของเราก็หาได้จีรังยั่งยืนถาวรไม่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วน เกิดขึ้น ดำรงอยู่ แล้วก็แตกสลายไป"
    พระองค์ทรงอธิบายว่า ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    ธาตุดิน หมายถึง เนื้อหนัง กระดูก เอ็น เล็บ ผม และของข้นแข็งทั้งหลาย
    ธาตุน้ำ หมายถึง ของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง ไขมัน ฯลฯ
    ธาตุลม หมายถึง ลมหายใจเข้าออก
    ธาตุไฟ หมายถึง อุณหภูมิความร้อนความอบอุ่นในร่างกาย

    แต่ถึงกระนั้นเราย่อมไม่สามารถบำเพ็ญธรรมไปได้เลยหากปราศจากสังขารร่างกาย ตัวปลอมนี้เพราะฉะนั้นอาศัยร่างกายนี้เราจึงสามารถทำความดี สร้างบุญกุศล ชำระหนี้กรรม แม้จะต้องผจญต่อความยากลำบากและอุปสรรคนานาประการ ในเส้นทางการบำเพ็ญธรรม ขอให้เราทุกคนตระหนักไว้เสมอว่า "ความทุกข์ยากทั้งหลายที่เราประสอบในชีวิตนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป อีกไม่นานผู้บำเพ็ญธรรมด้วยความตั้งใจจริงจะผ่านพ้นความทุกข์ยากทั้งปวง เมื่อนั้นเราก็จะคงไว้แต่จิตอันบริสุทธิ์สะอาดและพร้อมที่จะกลับคืนสู่ "นิพพาน"

    15. ฟื้นฟู "ดวงจิตธรรมญาณเดิม" ในตัวเองให้ปรากฎออกมา
    มโนธรรมสำนึก คือ สัญชาติญาณแห่งการรับรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถจะเรียนรู้ดดยการสอนหรือเดาเอาแต่มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคน พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ตัวจริงแท้ของเราคือพุทธจิตธรรมญาณเดิม" พุทธจิตธรรมญาณหรือมโนธรรมสำนึกดั้งเดิมของเรานั้นบริสุทธิ์เหมือนแก้วฝลึกใสสะอาดเหมือนกระจก แต่เมื่อเวลาผ่านไปดวงจิตธรรมญาณเดิมของเราถูกฝุ่นละอองแห่งความทะยานอยากกิเลสตัณหา และความยึดติดอยู่กับโลกวัตถุเข้าจับเกาะจนมัวหมองลง

    เพราะฉะนั้น เพื่อที่จะฟื้นฟู "ดวงจิตธรรมญาณ" ดั้งเดิมของเราให้ฉายแสงสว่างปรากฏออกมาผู้บำเพ็ญธรรมจะต้องขจัดฝุ่นที่เกาะจิตใจตนเองอย่างหนาแน่นออกไปให้ได้ แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว "พูดง่ายกว่าทำ"

    อนุตตรธรรมอุบัติขึ้นที่นี่และวันนี้ ก็เพื่อเบิกทางให้เราได้พบวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายได้ฉับไวและง่ายขึ้น เพราะ "วิธีธรรม เป้นการถ่ายทอดชี้ตรงลงสู่จิต" ให้เราค้นพบที่มาว่ ไตัวตนที่แท้จริงของเราอยู่ที่ไหน"

    ด้วยกระแสปัญญาญาณแห่งอนุตตรธรรม เราจะมีความนึดคิดและกระทำทุกอย่างตามมโนธรรมสำนึกที่ดีงาม และแล้วชีวิตของเราทั้งหมดก็จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสงบสุข และประสานกลมกลืนอย่างสมบูรณ์

    16. พัฒนา "วิจารณญาณ" และ "สัญชาตญาณ" ให้ดีเลิศ
    จากการทดลองศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ว่า แมลงและสัตว์ต่างๆ มีสัญชาตญาณสามารถรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติ เช่น พายุถล่ม น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ไม่มีใครทราบว่าสัตว์เหล่านั้นมีสัญชาตญาณได้อย่างไร?

    เช่นเดียวกับไม่มีใครรู้ว่า ทำไมคนจึงช่วยผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายโดยไม่ต้องคิด และรู้สึกสลดหดหู่ใจเมื่อเห็นผู้ที่กำลังทุกข์ทรมาน

    สำหรับมนุษย์ ความสามารถในการแบ่งแยกความดี-ความชั่ว ความถูก-ความผิด ธรรมและอธรรมโดยมิต้องผ่านการใคร่ครวญ เรียกว่า "วิจารณญาณ"

    ความสามารถอันแสดงออกมาตามมาตรฐานคุณธรรม โดยมิต้องผ่านการฝึกฝน เรียกว่า "สัญชาตญาณ"

    ทั้งสองสิ่งนี้พระเจ้าประทานให้มนุษย์ทุกคน แต่มนุษย์ไม่ได้นำออกมาใช้อย่างเต็มที่

    ทุกวันนี้คนทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งแสงสีและมีความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์เพียงเพื่อต้องการเสพสุขทางวัตถุ ไม่ตั้งอยู่ในความดำริชอบและปฏิบัติชอบ ความคิดและกากระทำที่แสดงออกล้วนเห็นแก่ตัว

    ดังนั้นจุดประสงค์หนึ่งของวิถีอนุตตรธรรมก็คือ ต้องการให้มนุษย์ทุกคนกลับคืนสู่ความวิจารณญาณและสัญชาตญาณ สามารถพัฒนาตนไปถึงขั้นสูงสุด คือ "บรรลุพระนิพพาน"

    17. ส่งเสริมผู้อื่นให้ดีพร้อม เช่นเดียวกับส่งเสริมตนเอง
    ดังเช่นคำพูดที่ว่า "ภาระที่หนักอึ้งเริ่มต้นด้วยความยากลำบากเสมอ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบำเพ็ญ "อนุตตรธรรม" เราจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ขั้นต่อไป นั้นก็คือ เราจะต้องมีปฏิธาน เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายของตัวเองให้ได้เสียก่อน เมื่อมีปณิธานที่มุ่งมั่นเกิดขึ้นแล้วเราจะไม่ไขว้เข่วออกนอกเส้นทาง หลงไปกับสิ่งชั่วร้ายและการผจญยั่วยุต่างๆ ในระหว่างการบำเพ็ญธรรม

    แต่การบำเพ็ญอนุตตรธรรมในเวลานี้ เน้นหนักให้อยู่บำเพ็ญร่วมกัน ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันมิให้แยกตัวออกไปบำเพ็ญอย่างโดดเดี่ยวหมือนอย่างในอดีต กลุ่มของผู้บำเพ็ญธรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยการช่วยเหลือและรับคำชี้แนะจากนักธรรมอาวุโสผู้มีเมตตา

    ภาระกิจของผู้บำเพ็ญธรรมทุกคนคือเสริมสร้างให้ผู้อื่นดีพร้อมเช่นเดียวกับที่เสริมสร้างตนเอง

    18. ฉุดช่วยให้ผู้อื่นสามารถบรรลุธรรม เช่น เดียวกับฉุดช่วยตัวเอง

    ในคติของชาวพุทธ การบรรลุธรรมหมายถึง "การก้าวขึ้นฝั่งพ้นจากทะเลทุกข์"

    "อนุตตรธรรม" อุบัติขึ้นเพื่อฉุดช่วยเราให้พ้นจากทะเลทุกข์นี้ เมื่อเราได้มีโอกาสรับการถ่ายทอด "วิถีธรรม" และได้เรียนรู้ในความล้ำค่าของ "อนุตตรธรรม" แล้ว สมควรที่จะต้องแบ่งปันความปิติยินดีและความสุขใจ ที่ได้พบกับสัจจธรรมนี้ โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว

    ความเห็นแก่ตัวไมีเคยปราฏในองค์พุทธะใดๆ เพราะว่า พระพุทธะทั้งหลายถือเอาความทุกข์ของมวลมนุษญืเป็นดังเช่นความทุกข์ของ พระองค์ และความสุขของเวไนยสัตว์ทั้งหายก็คือความสุขของพระองค์ด้วย

    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า "เป็นสุขอยู่ลำพังคนเดียวไม่ดีไปกว่าเป็นสุขพร้อมผู้คนทั้งหลาย"

    การแบ่งปัน คือ ความห่วงใยเอื้ออาทร
    ความห่วงใยเอื้ออาทร คือ ความรัก

    มันไม่ใช่เป็นการแสดงความรักหรอกหรือ? ที่เราพยายามฉุดช่วยพี่น้องของเราในโลกนี้ทั้งหมดให้ขึ้นมาจากทะเลทุกข์

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    19. ขจัดความเลวร้ายและบาปเวร ช่วยแปรเปลี่ยนจิตใจผู้คนให้ดีงาม
    พระคัมภีร์ไบเบิลกล่าไว้ว่า "ทุกคนมีบาปและห่างไกลจากพระเจ้า" แน่นอนเหลือเกินปุถุชนไม่อาจดีพร้อม ทุกคนล้วนมีแต่ความบกพร่อง แต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างให้เรากระทำแต่สิ่งที่ผิดบาปอยู่ร่ำไป เราจะต้องรู้ว่าบาปที่เราทำนั้นไม่ดีและรู้สึกเสียใจที่ได้ทำลงไป

    แต่ปัญหาอยู่ที่ว่ คนส่วนใหญ่ไม่รุ้ว่าสิ่งที่เขาได้ทำลงไปนั้นชั่วร้ายและเป็นบาป


    ในความถูกต้องเมื่อเราทำสิ่งที่ผิดบาป มโนธรรมสำนึกของเราจะทำให้เรารู้สึกย่ำแย่และเสียใจที่ได้กระทำในสิ่งที่ผิด ต่อศีลธรรม

    ฉะนั้น "อนุตตรธรรม" มาช่วยให้เราสามารถแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงจิตใจ จนกลับไปสู่ความบริสุทธิ์ดั้งเดิมของเราอีกครั้ง

    20. พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขขึ้นบนโลก
    โดยลำพังคนเดียวยากที่คนเราจะหยั่งรู้ได้ในสิ่งที่ตนประสบเห็น ชาวโลกไม่สามารถล่วงว่าทำอย่างไรคนมากมายจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและสันติสุข?

    ความสงบสุขจะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนเราได้เรียนรู้ว่ "ตัวเราเป้นใคร?" ตัวเราเป็นอะไรกันแน่? และทำไม? เราจึงเกิดขึ้นมาในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ ปริศนามืดมนที่ฝังอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคนจะถูกเปิดเผยอย่างกระจ่างแจ้ง เมื่อเราได้รับ "วิถีธรรม" และบำเพ็ญอย่างจริงใจ

    ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่า "อนุตตรธรรม" อุบัติขึ้นเพื่อบันดาลสันติสุขให้ปราฏขึ้นบนแผ่นดินนี้
    พึงจดจำไว้ว่า เพียงการเลิกสู้รบ ไม่เป็นศัตรู ไม่โจมตีซึ่งกันและกัน ยังไม่ใช่ความสงบสุขและสันติสุขที่แท้จริง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อใดที่ชาวโลกทั้งหลายพากันยึดมั่นในหลักศีลธรรม และร่วมกันฝึกฝนส่งเสริมซึ่งกันและกันให้สร้างแต่คุณความดี เมื่อนั้นสันติสุขที่แท้จริงจึงจะเกิดขึ้นบนโลก

    21. มุ่งมั่นแปรเปลี่ยนโลกนี้ให้เป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ"
    ความประสานกลมกลืนที่สมบูรณ์ หรือ "แผ่นดินสันติสุข" ในทัศนะคติของท่านขงจื้อบรรยายไว้ในคัมภีร์เล่มที่ 9 ของท่านว่า

    "เมื่อมหาสันติแผ่ซ่านไปทั่ว โลกนี้ก็เสมือนหนึ่งบ้านที่อาศัยอยู่ร่วมกัน คนดีที่มีคุณค่าควรแก่การสรรเสริญจะถูกเลือกสรรเข้ามาทำคุณประโยชน์แก่สาธารณะชน คนที่มีความสามารถจะดำรงอยู่ในฐานะอันรุ่งเรืองในสังคม ระหว่างผู้คนก็ยึดถือความสัตย์สามัคคี อยู่อย่างไว้วางใจและเป้นสุข

    ทุกๆ คนเคารพผู้อื่นเสมอเหมือนบิดามารดาของตน รักลูกคนอื่นเหมือนลูกตนเอง ผู้ที่แก่เฉ่าชรามีที่พักพิง มีความสุข คนหนุ่มมุ่งสร้างคุณประโยชน์ประกอบความดี และเด็กๆ ทั้งหลายมีผู้ให้การเลี้ยงดู ผู้ไม่มีภรรยา ไม่มีสามี ผู้ไร้ญาติ คนพิการ ได้รับการดูแล ไม่โดดเดี่ยวว้าเหว่ บุรุษต่างมีหน้าที่ปฏิบัติ สตรีอยู่ในกรอบของกุลสตรี

    ทรัพย์สมบัติข้าวของไม่มีใครเก็บไว้เพื่อตัวเองต่างแบ่งปันให้ส่วนรวม สละไว้ในปฐพี การกระทำที่เลวร้ายจักไม่มีในผู้คน ผู้ม่งร้ายไม่พานพบ บรรดาโจรที่ก่อกวนก็ไม่ปราฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้คนออกนอกบ้านก็ไม่ต้องปิดประตูทั้งวันทั้นคืน
    ที่กล่าวสมา ย่อมเรียกว่า "มหาสันติสุขเสมอภาคทั่วกัน"

    พระบรมครูผู้เป็นองค์ประธานของเรา คือ "พระศรีอาริยเมตไตรย" ทรงตั้งปฏิธานอันยิ่งใหญ่ ปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์โลกนี้ให้เป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ" เช่นเดียวกับที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อมุ่งหวัง การที่ชาวเราทั้งหลายได้ปวารณาตนขอเป็นสานุศิษย์ของพระองคืแล้ว จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพร้อมใจกันค้ำจุนเกื้อหนุนผลักดันให้ปฏิธานของพระองค์สำเร็จลุล่วงตามพระประสงค์ และนี่เองคือเป้าหมายทีทแท้จริงของ "วิถีอนุตตรธรรม"

    บนหนทางแห่งพระนิพพาน ไม่มีค่านิยมทางวัตถุ ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีองค์กร ไม่มีสิ่งเคลือบแฝง ไม่มีความคิดที่ผิดทำนองคลองธรรม

    หนทางแห่งพระธรรมนั้นเรียบง่าย เป็นธรรมชาติที่ซื่อตรงสะอาดและบริสุทธิ์ดังแก้วผลึกเป็นหนทางส่วงไสวสำหรับ สาธุชนทั้งหลาย


    หมายเหตุ
    ไม่มีค่านิยมทางวัตถุ และไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังปราศจากเงื่อนงำ หมายถึง "อนุตตรธรรม" เป็นมูลเหตุของสรรพสิ่งและชีวิตทั้งปวง ไม่มีใครสร้างขึ้นและไม่สามารถทำลายได้ คงอยู่เป็นนิรัดร์อนุตตรธรมมีอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง สถิตทั่วทุกหนทุกแห่งในจักรวาล แม้สรรพสิ่งในจักรวาลจะถูกทำลายจนไม่มีอะไรเหลือ แต่อนุตตรธรรมจะคงอยู่ตลอดไป

    ไม่มีความขัดแย้ง หมายถึง "อนุตตรธรรม" ไม่กระทบกระเทือนสังคม มีแต่เผยแผ่สัจจธรรมความดีงามให้แก่ผู้อื่น

    ไม่มีองคืกร หมายถึง "อนุตตรธรรม" ไม่มีการก่อตั้งคณะบุคคลใดๆ หากมองอย่างผิวเผินคล้ายกับเป็นคณะบุคคลมีผู้แนะนำรับรอง มีสถานธรรมและยรรดาญาติธรรม ทั้งหมดเป็นเพียงสิ่ง "รูปลักษณ์" ที่จะนำพาให้เราสัมผัสกับ "อนุตตรธรรม" แม้จริง ในแก่นแท้ของอนุตตรธรรมจึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตา ไม่สามารถได้ยินและไม่สามารถสัมผัสได้ ดังนั้นอนุตตรธรรมจึงไม่ใช่องคืกรที่ยึดถือติด

    ท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า "อนุตตรธรรมสูงส่ง อบรมสั่งสอนทั่วไปโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ" ดังนั้นผู้บำเพ็ญอนุตตรธรรมพึงเข้าใจให้กระจ่างในหลักธรรมสูงส่งนี้ เพื่อจะได้ไม่เบี่ยงเบนไปจากทางแห่ง "นิพพาน"
    [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    <TABLE style="WIDTH: 954px; HEIGHT: 9453px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=954 align=center><TBODY><TR><TD>ความล่วงไปของกายสังขารเป็นสัจธรรม
    ไม่ว่าจะเป็นปุถุชนหรือพระอริยะล้วนตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยงแท้ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่พระอริยะดวงจิตพ้นจากวัฎสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนปุถุชนยังคงท่องไปในทะเลทุกข์มิรู้จบเท่านั้น

    ในปีพุทธศักราช 2468 สองค่ำเดือนทางจันทรคติพระธรรมาจารย์ลู่ก็ดับขันธ์ทิ้งกายสังขารคืนสู่เบื้องบน

    สมัยที่พระธรรมาจารย์ลู่ปกครองธรรมจักรวาลอยู่นั้น นักธรรมอาวุโสซึ่งถือเป็นศิษย์ชั้นอาจารย์ผู้นำมีอยู่ด้วยกัน 8 คน

    นักธรรมขุยเซิง เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในจำนวนนักธรรมอาวุโส และไม่มีอะไรดีเด่นเป็นพิเศษ แต่เป็นคนซื่อสัตย์ น้ำใจดี มีอัธยาศัยไมตรีต่อคนทั้งหลาย

    หลังจากที่พระธรรมจารย์ลู่คืนกลับเบื้องบนได้ไม่นาน ศิษย์ชั้นผู้นำหลายท่านเกิดอาการรุ่มร้อน กระวนกระวายใจใคร่รู้ว่า ใครจะดำรงตำแหน่งพระธรรมาจารย์ ปกครองธรรมจักรวาลต่อไป

    ความโลภหลงในลาภสักการะ ทำให้ไม่อาจอดใจรอโอกาสอันควรต่อไปได้

    จึงอาศัยความเป็นผู้ทรงธรรมวุฒิ จัดแจงกราบอัญเชิญทิพย์ญาณของพระธรรมาจารย์ลู่ให้โปรดประทับทรงแนะนำแนวทาง การปกครองธรรมจักรวาลว่าควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

    ทิพย์ญาณของพระธรรมาจารย์ลู่ ได้โปรดเมตตาแนะนำสั้นๆ ว่า

    "รอให้ครบสามเดือนหนึ่งร้อยวันแล้ว จะส่งข่าวมายังพวกเจ้า"

    เมื่อคำตอบเป็นเช่นนี้ ศิษย์อาวุโสผู้กระหายใคร่รู้ก็จำใจรอต่อไป แต่เวลาผ่านไปไม่นานนักธรรมอาวุโสเหล่านั้น ก็หมดความอดทนที่จะรอต่อไปอีก จึงร่วมกันกราบขอพระมหากรุณาธิคุณพระอนุตตรธรรมเจ้า โปรดประทานแนวทางปกครองวงการธรรม ซึ่งพระองค์ก็โปรดด้วยข้อความที่น่าคิดว่า

    "ทุกคนต่างก็มีโองการสวรรค์กันอยู่แล้ว"

    พระดำรัสเพียงเท่านี้ แทนที่นักธรรมอาวุโสเหล่านั้นจะสำนึกรู้ได้ด้วยดวงจิตที่นอบน้อมถ่อมตน กลับเข้าใจไปว่า พระอนุตตรธรรมเจ้าทรงโปรดชี้แนะ และอนุญาตให้จัดการทุกอย่างได้ตามที่เห็นสมควร เพราะทุกคนต่างได้รับโองการสวรรค์แต่งตั้งธรรมวุฒิ เป็นชั้นอาจารย์ด้วยกันทั้งนั้น

    เมื่อตีความพระดำรัสเช่นนี้แล้ว ผู้อาวุโสทุกคนต่างก็แยกย้ายกันไปตั้งตัวเป็นใหญ่ จัดการดำเนินงานธรรมอย่างเต็มตัวและเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร คงมีแต่นักธรรมขุยเซิงเท่านั้นที่ยังคงรักษาสถานภาพเดิมไว้อย่างสงบเสงี่ยม รอสดับพระบัญชาเบื้องบนในโอกาสต่อไป

    จนกระทั่งสามเดือนล่วงแล้ว ครบรอบร้อยวันตามที่ทิพย์ญาณพระธรรมาจารย์ลู่ได้โปรดไว้เมื่อครั้งก่อน

    พระอนุตตรธรรมเจ้าทรงโปรดประทับลงประทานพระโอวาท พร้อมทั้งประทานแต่งตั้งให้ท่าย่า เหล่ากูไหน่ไน น้องหญิงของพระธรรมาจารย์ลู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักธรรมอาวุโสให้รับพระโองการสวรรค์ รักษาการแทนพระธรรมาจารย์ลู่เป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 12 ปี

    แม้จะเป็นพระบัญชาโองการสวรรค์อย่างชัดเจน แต่ศิษย์ชั้นผู้นำบางท่านก็หาได้เคารพไม่ ยังคงดำเนินงานธรรมของตนต่อไปเป็นเอกเทศ โดยไม่ยกย่องผู้รักษาการแทนพระธรรมจารย์

    คงมีแต่นักธรรมขุยเซิงเท่านั้น ที่ปฏิบัติต่อพระบัญชาของพระอนุตตรธรรมเจ้าและคำสั่งของพระธรรมาจารย์ลู่โดยเคร่งครัด

    และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ที่งานโปรดสัตว์แพร่ธรรมของนักธรรมขุยเซิง เจริญก้าวหน้าไปโดยไม่หยุดยั้ง ตรงกันข้ามกับนักธรรมอาวุโสที่ตั้งตัวเป็นใหญ่เหล่านั้นกลับมีอันเป็นไป

    บางท่านล้มหายตายจาก
    บางท่านละทิ้งงานธรรมกลับไปเป็นสามัญชน ต้องตกระกำลำบาก

    ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2473 พระอนุตตรธรรมเจ้าได้โปรดมีพระบัญชาให้นักธรรมขุยเซิงไปรับโองการสวรรค์เป็น กิจจะลักษณะ จากท่านย่าเหล่ากูไหน่ไน

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพพรหม หลายพระองค์ได้โปรดประทับลงพร้อมกันยังพุทธสถานต่างๆ ทั่วแดนดินโปรดประทานพระโอวาทมีใจความเป็นอย่างเดียวกันว่า

    "บัดนี้ถึงกาลคับขัน พระอนุตตรธรรมเจ้าทรงโปรดบัญชาให้แพร่วิถีอนุตตรธรรมโปรดทั่วไปทั้งสามโลก

    ฟากฟ้าเบื้องบนจะไม่เหลือพุทธญาณหรือแม้พระโพธิสัตว์สักพระองค์ จะทรงโปรดให้จุติเพื่อช่วยโลก เผยแพร่วิถีอนุตตรธรรม"

    เนื่องจากด้วยกาลเวลาคับขันดังนั้น แต่เดิมเบื้องบนทรงกำหนดให้น้องหญิงของพระธรรมาจารย์ลู่รักษาการแทน 12 ปี จึงต้องกำหนดใหม่เหลือ 6 ปี นับวันเดือนปีทางจักทรคติ ทบกับทางสุริยคติรวมกันเป็น 12 ปี

    แต่นักธรรมขุยเซิงก็พิจารณาตนเองว่าเรามีบารมีสูงส่งปานใดหรือ จักบังอาจรับสนองพระโองการสวรรค์ในตำแหน่งพระธรรมาจารย์สมัยที่สิบแปดได้

    แม้จะเป็นพระประสงค์ของเบื้องบนอย่างไร นักธรรมขุยเซิงก็ยืนยันมิกล้ารับ ในที่สุดพระอนุตตรธรรมเจ้า ก็ได้โปรดเข้าฝันมีพระบัญชาสำทับอีกว่า มิให้ปฏิเสธ

    นักธรรมขุยเซิง จึงจำใจเดินทางไปกราบท่านย่าเหล่ากูไหน่ไน ซึ่งท่านก็ได้ทดสอบเคี่ยวกรำนักธรรมขุยเซิงหลายครั้งหลายครา จนในที่สุดท่านย่าจึงกล่าว่า

    "ถ้าจะรับจริงๆ ก็จะให้"

    นักธรรมขุยเซิงจึงคุกเข่าลงกราบรับพระโองการสวรรค์ทันที สืบทอดพงศาธรรมต่อมาเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ 18 ณ พุทธสถาน "กวนอิม" เมืองจี้หนิง มณฑลซานตง ประเทศจีน

    ในครั้งนั้น นักธรรมขุยเซิงและนักธรรมหญิงซู่เจินได้พร้อมกันน้อมรับพระโองการ เป็นพระธรรมาจารย์กงฉังและพระธรรมาจาริณีจื่อซี่ เพื่อร่วมกันแบกภารกิจแพร่ธรรมโปรดสามโลก เก็บงานขั้นสุดท้ายในยุคปลาย สืบสายพงศาธรรมเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ 18 พร้อมกันทั้งสองพระองค์

    พระธรรมจารย์กงฉัง มีพระอริยะลักษณะ พระพักตร์สดชื่นสว่างตลอดเวลา พระองค์มักจะหลับพระเนตรรวมศูนย์อยู่ที่ธรรมจักษุ เมื่อลืมพระเนตรจะฉายประกายศักดิ์สิทธิ์สว่างจ้า

    ย่ำพระบาทเหมือนมังกร ดำเนินเหมือนพยัคฆ์
    พระอิริยาบถสง่างาม เบาสบายเหมือนเหินเมฆแตกต่างไปจากปุถุชนทั้งหลายในโลก

    พระองค์ทรงเป็นพระภาคจุติของพระพุทธะจี้กง รับสนองพระโองการสวรรค์โปรดสามโลก คือเทวโลก มนุษย์โลกและยมโลกจึงปรากฎพระอริยะลักษณะดังนี้

    แม้จะอาศัยกายเนื้อเยี่ยงปุถุชนในโลก แต่หากพระธรรมญาณอยู่เหนือรูปภาพ เป็นสภาวะธรรมเดียวกับสภาวะธรรมในธรรมจักรวาลอันกว้างไกล

    พระธรรมาจารย์กงฉังทรงปกครองธรรมจักรวาลเริ่มกำหนดการเป็นพระธรรมาจารย์องค์ที่สองแห่งธรรมกาลยุคขาว

    เมื่อสืบต่อภารกิจงานแพร่ธรรมจากพระบรมบรรพจารย์จินกงแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดประทับทรงในร่างพรหมจารีย์ เร่งรัดให้พระองค์ออกแพร่ธรรมยังหัวเมืองต่างๆ อยู่หลายครั้ง

    พระธรรมาจารย์กงฉัง จึงได้จากบ้านเกิดเมืองจี้หนิง มณฑลซานตงไปสู่เมืองจี้หนัน

    พุทธสถานแห่งแรกที่พระองค์จัดตั้งขึ้นที่เมืองจี้หนัน ก็คือ

    พุทธสถาน "จงซู่ถัง" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "ฉงหัวถัง"
    ซึ่งพระองค์ทรงปกครองดูแลด้วยพระองค์เอง
    ภายในปีนั้นเอง ก็ได้จัดตั้งพุทธสถานเพิ่มขึ้นอีกสี่แห่งสี่ทิศคือ

    "ตงเจิ้นถัง" อยู่ทางทิศตะวันออก
    "หลี่ฮว่าถัง" อยู่ทางทิศใต้
    "จินกังถัง" อยู่ทางทิศตะวันตก
    "เทียนอีถัง" อยู่ทางทิศเหนือ


    ภารกิจแพร่ธรรมที่เมืองจี้หนัน นับวันก็เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกาลกัปลำสุดท้ายนี้จะต้องฉุดช่วยเวไนยสัตว์

    ในชั้นเทวโลกได้โปรดช่วยเทพพรหม
    เบื้องล่างได้โปรดช่วยวิญญาณทั้งหลาย
    และในท่ามกลางโปรดช่วยสาธุชนชายหญิง
    การโปรดช่วยทั้งสามโลกนี้ เป็นพระโองการแห่งเบื้องบนเป็นการปฏิบัติพระภารกิจเก็บงานให้เสร็จสมบูรณ์ใน วาระสุดท้ายนี้

    การเวียนว่ายในวัฎสงสาร เกี่ยวพันกันระหว่างสามโลก คือ เทวโลก มนุษย์โลกและยมโลก ทุกชีวิตหมุนเวียนตายเกิดอยู่เรื่อยไปในสามโลก เพราะความไม่รู้เป็นเหตุก่อกรรมให้ตัวเอง ต้องเวียนว่ายชดใช้กรรมกันมิสิ้นสุด

    เทพพรหมในชั้นเทวโลก แม้จะมีกายสังขารเป็นทิพย์แต่ก็ไม่รู้ประตูเกิดประตูตาย ได้แต่เสพย์สุขในผลบุญของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องเวียนว่ายต่อไปเมื่อหมดบุญ

    การโปรดช่วยของพระธรรมาจารย์กงฉังก็คือ ทำให้รู้ถึงตัวจริงแท้แห่งตน รู้ประตูหนทางเกิดหนทางตายเพื่อให้ดวงจิตนั้นพ้นจากวัฎสงสารคืนสู่อนุตตรภาวะต้นกำเนิดเดิมนั่นเอง




    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]**************************[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD><TABLE style="WIDTH: 372px; HEIGHT: 120px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=372 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffd7>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]

    "แก้ววิเศษ 3 ประการ"
    แก้ววิเศษ สามดวง.................คู่กายเรา
    เข้าวิมานด่านสามเก้าทาง.........ต้องแสดง
    (1)นัยน์ตาศูนย์รวมจุด.......(2)ท่องสัจจคาถา
    (3)มืออุ้มเด็กน้อยพา.......คืนแดนสุทธาธรรม

    [/FONT] ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ด้วย พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ธรรมมารดา พระบารมีธรรมของพระบรรมพจารย์
    ด้วยความเมตตาของท่านนั้น เหล่าเฉียนเหยิน และอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม นักธรรมอาวุโสทั้งหลาย
    ข้าพเจ้าผู้น้อยมีความยินดีที่ได้มาร่วมศึกษาสนทนากับท่านในเรื่องของ "สามสิ่งวิเศษ"

    การได้รับถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" เป็นความล้ำค่าสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดในชีวิต เพราะทำให้เราได้รับสิ่งวิเศษ 3 อย่างคือ

    1. มโนทวาร
    2. สัจจคาถา
    3. ลัญจกร


    [/FONT]<TABLE style="WIDTH: 123px; HEIGHT: 24px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=123><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]1. มโนทวาร[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก. "จุด" ที่อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมใช้นิ้วแต้มบนใบหน้าของเรา เรียกว่า "มโนทวาร" ซึ่งก็คือ ประตูที่จิตวิญญาณเข้าและออกจากร่างกาย ประตูนี้จะถูกปิดลงเมื่อวิญญาณได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว ผู้เป็นพระวิสุทธิอาจารย์เท่านั้น ที่สามารถเปิด "ประตู" นี้ได้ ด้วยเหตุนี้เองบรรดานักปราชญ์ในสมัยก่อนจึงออกไปแสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ เพื่อขอรับการเปิด "ประตู" อันเร้นลับนี้

    ข. ณ จุดนี้ เป็นที่สถิตของจิตญาณด้วย จิตญาณนี้เป็นผู้ควบคุมความคิดและความรู้สึกของเรา เราสามารถสังเกตได้จากใบหน้า ขณะที่เราใช้ความคิดอย่างหนักหรือเมื่อได้รับความเจ็บปวด

    ค. ในทางการแพทย์ จุดนี้เป็นจุดที่ห้ามแทงด้วยของแหลมคมในการผ่าตัด แม้แต่กระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงตายได้ เราทราบไหมว่า ทำไม?
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    ประตูอันเร้นลับนี้ไม่เคยถูกเปิดเผย แต่กล่าวแผงไว้ในภัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ ซึ่งความหมายที่แท้จริงของปริศนานี้ เราไม่สามารถเข้าใจได้เลย จนกว่าผู้นั้นจะได้รับการถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" สามารถค้นพบหลักสัจจธรรม ให้เราลองมาพิจารณาดูจากพระคัมภีร์ของศาสนาทั้งหลาย

    หลักฐานสนับสนุน:
    ก. พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเทศนาสั่งสอนอยู่ถึง 45 พรรษา เพื่ออธิบายหลักสัจจธรรมของชีวิต ครั้งหนึ่งในท่ามกลางที่ประชุมพระสงฆ์สาวก พระองค์ได้ชูดอกบัวในพระหัตถ์ขึ้น และตรัสว่า
    "เราตถาคต มีธรรมะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งถูกซ่อนไว้ในตาของเราเอง สัจจธรรมอันหยั่งเห็นได้นี้ จะนำพาเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ได้บรรลุธรรม"


    ข. มีคำกล่าว
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ว่า "อย่าเที่ยวค้นหา "พุทธะ" ไกลจากภูเขา ภูเขานี้อยู่ในตัวเรา เพื่อที่จะสำเร็จธรรมจงบำเพ็ญ ณ เชิงเขาอันมี "พุทธะ" สถิตอยู่"

    "แดนสุขาวดีอยู่ไกลถึงสิบหมื่นแปดพันลี้ แต่เมื่อได้รับวิถีธรรมแล้วก็พลันปรากฏอยู่ตรงหน้าเรานี่เอง"


    ค. ในคัมภีร์คำสอนของท่านขงจื้อ ได้กล่าวไว้ว่า "ท่ามกลางคน 3 คนที่เดินมาด้วยกัน คนหนึ่งในนั้นคือ ครูของเรา"

    ง. ทำไมพระโพธิสัตว์กวนอิม จึงทรงถือแจกัน พร้อมทั้งกิ่งหลิ่ว 2 กิ่ง? ผู้ที่ได้รับวิถีธรรมแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใจปริศนาธรรมนี้

    จ. พระเยซูตรัสว่า "จงเข้าทางประตูแคบ เพราะว่าประตูใหญ่และทางกว้างนำไปถึงความพินาศ และคนที่เข้าไปทางนั้นมีมาก แต่ประตูที่เล็กและทางแคบซึ่งนำไปถึงชีวิตนั้นมีน้อยคนที่จะพบ".
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](มัดธาย 7 : 13-14)[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ประตูที่กว้าง ก็คือ กระหม่อม สะดือ หู ตา ปาก และจมูก ส่วนประตูที่แคบ คือ มโนทวาร
    ดังนั้น มีเพียงมโนทวารเท่านั้น ที่จะนำเราไปสู่ "ชีวิตนิรันดร"


    "ผู้ใดติดตามเรา ผู้นั้นต้องปฏิเสธตัวเขาเอง" "ผู้ใดมิได้แบกกางเขนของตนตามเรามา ผู้นั้นจะเป็นสาวกของเราไม่ได้"[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](ลูกา 14 ; 27) [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"ไม้กางเขน คืออะไร? เป็นสิ่งที่ผู้คนนำมาห้อยคอยนั่นใช่ไหม? ไม่ใช่! แต่เป็นไม้กางเขนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่อยู่ในตัวเรานี่เอง


    "เขาได้ตรึงใจสองคนไว้ข้างขวาคนหนึ่ง ข้างซ้ายคนหนึ่งพร้อมกับพระองค์ด้วย"
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](มัดธาย 27:38) [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความหมายก็คือ ดวงตาทั้ง 2 ข้างเป็นเสมือนหัวหน้าโจร ซึ่งสามารถนำเราไปสู่ช่องทางทั้ง 6 เพราะมันชอบมองแต่ในสิ่งที่สวยงามน่าหลงไหล และก่อให้เกิดความอยากขึ้นในใจเรา


    "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีใครไปถึงพระบิดาได้โดยไม่ผ่านเรา"

    (โยฮัน 14:6) หากเรารับวิถีธรรมแล้ว เราจึงจะสามารถเข้าใจปริศนาธรรมต่างๆ เหล่านี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ​

    [/FONT]
    <TABLE style="WIDTH: 109px; HEIGHT: 24px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=109><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]2. สัจจคาถา[/FONT][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สิ่งวิเศษอย่างที่สอง คือ สัจจคาถา ซึ่งถ่ายทอดให้แก่เราโดยอาจารย์ผู้ถ่ายทอดเบิกธรรมบอกให้เราทราบและอธิบายถึงสิ่งสำคัญ 3 อย่าง คือ

    1. นิพพาน 2. สวรรค์ 3. โลกมนุษย์

    1. นิพพาน เป็นสภาวะที่ไร้รูปลักษณ์ ไม่มีขอบเขต เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แดนสุขาวดี" หรือ "บ้านเดิมของเรา"
    2. สวรรค์ คือ โลกของจิตวิญญาณ อันเป็นสภาพ "กายทิพย์" เป็นสภาวะที่เปลี่ยนแปลงได้ ในชั้นนี้เป็นที่สถิตอยู่ของเทพ พรหม ทั้งหลาย
    3. โลกมนุษย์ อยู่ในสภาพของวัตถุหยาบ ซึ่งหมายถึง โลกที่เราอาศัยอยู่นี่เอง จิตวิญญาณของเราได้ถือกำเนิดจาก "นิพพาน" จุติลงมาเพื่อทำหน้าที่ปกครองดูแลโลก

    ในยุคแรกเริ่ม ผู้คนจะดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย มีจิตใจซื่อตรงและบริสุทธิ์จึงสามารถกลับสู่สภาวะเดิมคือ "นิพพาน" ได้เมื่อหมดวาระ
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป คนเราก็เริ่มที่จะแสวงหาอำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียงและความสะดวกสบายทางด้านวัตถุ ในการเสาะแสวงหาสิ่งเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ส่วนตน เขาจึงได้กระทำบาป เป็นเหตุให้นรกอุบัติขึ้นเพื่อลงโทษทัณฑ์คนเลว จิตวิญญาณจึงต้องผ่านออกไปสู่ทางหนึ่งใน 6 ช่องของเวียนว่ายตายเกิด ได้แก่

    1. ไปเกิดเป็น มนุษย์ผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีอำนาจวาสนา
    2. ไปเกิดเป็น มนุษย์ธรรมดาๆ หาเช้ากินค่ำ
    3. ไปเกิดเป็น สัตว์ตั้งท้องที่ออกลูกเป็นตัว
    4. ไปเกิดเป็น สัตว์ที่เกิดออกจากไข่
    5. ไปเกิดเป็น สัตว์ที่อยู่ในน้ำ
    6. ไปเกิดเป็น สัตว์จำพวกแมลง

    กรรมที่เราได้กระทำมาในอดีต จะเป็นตัวกำหนดโทษทัณฑ์ในนรกและนำเราไปสู่ 1 ใน 6 ช่องทางเวียนว่ายเพื่อเกิดใหม่ กรรมดีจะนำพาเราให้ไปสู่ภพภูมิ สภาพความเป็นอยู่ที่ดี และกรรมชั่วจะนำไปสู่สภาพที่ทุกข์ยากลำบาก

    ผู้ที่บำเพ็ญดีในช่วยชีวิตของเขา แต่ไม่มีโอกาสได้รับ "วิถีธรรม" เมื่อตายจากโลกมนุษย์ไปเขาก็จะได้อยู่ในแดนสวรรค์ ดวงวิญญาณจะพำนักอยู่ที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับกุศลผลบุญที่เขาได้สร้างสมไว้ เมื่อหมดสิ้นแรงแห่งบุญกุศลของตนแล้ว ก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ฉะนั้นเขาจึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิด

    "วัฎฎะสงสาร" อันหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ จะดำเนินไปอย่างไม่มีสิ้นสุด ดวงวิญญาณจะเปลี่ยนจากภพหนึ่งสู่อีกภพหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแรงกรรมที่ตนได้กระทำไว้ จนกระทั่งผู้นั้นจะประสบโอกาสได้รับ "การถ่ายทอดวิถีธรรม" ค้นพบหาทางกลับสู่ "นิพพาน"

    พระศรีอาริยเมตไตรย หรือ พระพุทธะผู้ทรงพระสรวล ซึ่งจะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ทรงตั้งพระปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกมนุษย์ อันเป็นทะเลทุกข์นี้ ให้กลายเป็น "โลกแห่งสันติสุข"

    "เมตไตรย" มีความหมายที่แท้จริงว่า "เมตตาที่เปี่ยมด้วยความรัก" ในการบำเพ็ญตนสู่ความหลุดพ้น เราต้องนำเอา "จิตแห่งเมตตา" ออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน เราต้องเผยแพร่ วิถีธรรมไปทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้บรรดาพี่น้องร่วมโลกของเราทั้งหลาย ได้มีโอกาสกลับคืนสู่นิพพาน โดยพร้อมเพรียงกัน และหากทุกคนรับวิถีธรรมแล้วบำเพ็ญอย่างจริงจัง เราก็จะสามารถแปรเปลี่ยน "โลกอันเป็นทะเลทุกข์" ให้กลายเป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ" ได้



    [/FONT]<TABLE style="WIDTH: 95px; HEIGHT: 24px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=95><TBODY><TR><TD class=menu bgColor=#d9e7fb>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]3. ลัญจกร[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    ลัญจกร คือ เครื่องหมายของตราประทับอันล้ำค่า ที่พระองค์ธรรมมารดาประทานให้เรา เพื่อเป็นหลักฐานว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดสัจจธรรมอันสูงส่งนี้

    ลัญจกร ของยุคสีเขียว เป็นสัญลักษณ์ของ "ใบบัว" ในเวลานั้น ผู้บำเพ็ญธรรม จะสวดภาวนาโดยใช้มือซ้ายข้างเดียวยกขึ้นไว้ที่กลางหน้าอก ใบบัวสีเขียวแสดงถึง "เวลาแห่งความรุ่งเรืองพุทธะจิต"

    ในช่วยเวลาของยุคสีแดง ผู้บำเพ็ญธรรมจะสวดภาวนาโดยการพนมมือทั้งสองข้างขึ้นไว้ ระหว่างหน้าอก และก้มกราบลงโดยการแบมือออก เป็นเสมือน "ดอกบัวที่เบ่งบาน" ถือเป็นเครื่องหมายตราประทับของยุคดอกบัวสีแดง ดอกบัวแสดงถึง "ความเบ่งบานของพุทธะจิต"

    ลัญจกร ของยุคสีขาว เป็นเครื่องหมายของ "รากบัวสีขาว" ผู้บำเพ็ญจึงภาวนากราบไหว้ โดยการใช้มือซ้ายโอบมือขาวและอุ้มไว้ที่หน้าอก ซึ่งแสดงถึง "เวลาแห่งการเก็บเกี่ยวพุทธะจิต"

    โดยการวางนิ้วของเราลงใน ตำแหน่งเริ่มต้นและสุดท้ายของ 12 ราศีในจักรวาล ซึ่งในความหมายภาษาจีน หมายถึง "เด็ก"

    พระเจ้าทรงตรัสว่า "เราคือ อาละฟา และโอเมฆา เราเป็นเบื้องต้นและเบื้องปลาย เราเป็นจุดเริ่มต้นและสุดท้าย" (วิวรณ์ 22:13)

    อธิบาย : อาละฟา และโอเมฆา คือ อักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายในภาษากรีกโบราณ พระวจนะในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง พระเจ้าผู้ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง พระองค์คือผู้ที่ไม่มีใครหยั่งรู้ ไม่มีการกำเนิดและการสิ้นสุดในพระเจ้า พระองค์เป็นอยู่ดังที่เป็นอยู่เช่นนั้นชั่วนิจนิรันดร์ ไม่มีอะไรที่จะเหนือไปกว่านี้แล้ว

    ดังนั้น เมื่อเราอุ้มลัญจรในมือแล้วระลึกถึงพระจิตของพระเจ้าในตัวเรานี่คือการเตือนให้เราประสานจิตญาณของเรา รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระองค์ธรรมมารดาและดำรงอยู่ในความสงบเยือกเย็นของพระองค์

    พระเยซู ได้ตรัสว่า "เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายตามจริงว่า ถ้าพวกท่านไม่กลับใจเย็นเหมือนเด็กๆ ท่านจะเข้าไปในแผ่นดินสวรรค์ไม่ได้เลย" (มัดธาย 18 : 3)

    ท่านเม่งจื้อครั้งหนึ่ง กล่าวไว้ว่า "ชนทั้งหลายพึงรักษาไว้ซึ่งความไร้เดียงสาของเด็ก"

    คำพูดเหล่านี้เตือนเราว่า พวกเราทั้งหลายคือ ลูก ของพระองค์ธรรมมารดาและเราจะต้องกลับคืนสู่พระองค์ เราจะต้องย้อนกลับไปมองดูการกระทำของเราเสมอเพื่อที่จะกลับไปสู่ความไร้เดียงสา และความไม่เห็นแก่ตัวของเด็กน้อย

    สรุป :
    สามสิ่งวิเศษ ควรจะทบทวนทุกวัน โดยกำหนดจิตไว้ที่มโนทวาร และเตือนตัวเราให้ระลึกถึงความหมายของ 3 สิ่งวิเศษนี้ไว้เสมอ

    3 สิ่งวิเศษ สามารถช่วยให้เราพ้นจากมหันตภัย ในยามที่ตกอยู่ในอันตราย จงอุ้มลัญจกรไว้ที่หน้าอก กำหนดจิตไว้ที่มโนทวาร และท่องสัจจคาถาในใจ 3 ครั้ง

    สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าผู้น้อยขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้โปรดเมตตาประทานอภัยและขอกราบอภัย ที่ข้าพเจ้าผู้น้อยไม่สามารถกล่าวพรรณาให้ชัดเจนไปกว่านี้ เป็นด้วยความรู้อันจำกัดของข้าพเจ้านั่นเอง ท่านทั้งหลายพึงได้รับความกระจ่างแจ้งทั้งหมดทั้งสิ้นจากพระวิสุทธิอาจารย์ เท่านั้น


    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]****************************[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>

    ประโยชน์ของการแสวงหา "อนุตตรธรรม"
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=menu>
    <TABLE style="WIDTH: 317px; HEIGHT: 156px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=317><TBODY><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"มนุษย์ในโลก
    </TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ล้วนดิ้นรนไข่วคว้า[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เพียงเพื่อลาภ สักการะ [/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ชื่อเสียงจอมปลอม[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อันเปรียบดัง ฝุ่นธุลี[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ลมพัดก็จางหาย[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]โลกเหมือนเวทีกว้าง[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ปิดฉากก็สิ้นสูญ[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความอยู่ไม่น่าปลื้ม[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความตายไม่น่าหวั่น[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หมดรักก็หมดทุกข์[/FONT]</TD><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จิตใจย่อมเป็นสุข[/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu colSpan=2>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สงบชั่วนิรันดร์"[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]</TD></TR><TR><TD class=menu>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD></TD><TD>
    องค์อนุตตรธรรมมารดา มีพระโอวาทมาเตือนชาวโลก!!!
    </TD><TD></TD></TR><TR><TD></TD><TD>องค์อนุตตรธรรมมารดา คือพระผู้เป็นเจ้าแห่งญาณทั้งเวลา ความจริงแล้ว พระองค์ประทานมาเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2484 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง แล้วค่ะ แต่ก้อยอยากจะให้สังเกตกันว่า พระองค์นั้นได้เตือนชาวโลกมานานแล้ว แต่เพราะชาวโลกไม่เชื่อกลับทำเลวขึ้นเรื่อยๆ จึงได้เกิดภัยพิบัติในยุคนี้ไงคะ เช่น สึนามิ เป็นต้น (ความจริงในหนังสือมี 10 พระโอวาท แต่ก้อยเลือกพระโอวาทที่ 5 มาให้อ่านค่ะ)ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ประทาน ณ สำนักธรรมจงอี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน โดยมี

    1.สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก
    2.ท้าวจตุมหาโลกบาลทั้งสี่ พร้อมดาวนักษัตร 24 องค์
    3.แปดมหาวชิรญาณเทพฯ
    4.องค์มหาพฤฒาชันษาแห่งทักษิณาลัย (หัวหน้าโป๊ยเซียน)
    5.พระโพธิสัตว์ในหมื่นโลกธาตุ
    6.องค์ประธานคุมสอบสามภูมิ
    7.อู้ฉันพี่เจ้า (นำเหล่าเซียนหมวดอักษรอู้)
    8.จอมทัพเม่าเหมิง (นำเหล่าเซียนหมวดอักษรเม่า)
    9.พระโพธิสัตว์อนุศาสน์
    10.จอมทัพฟ้าฝ่ายอัสนี
    11.พระพุทธธรณีกษิติครรภ์
    12.พระพุทธจี้กงแห่งหนานผิง
    13.ท้าวสักกะเทวราช พร้อมห-ลวี่ต้งปินต้าเซียน
    14.จอมเทพวินัยธรมหาราชพร้อมด้วยจอมทัพฮักซุย
    15.พระโพธิสัตว์จันทรปัญญา
    16.พระโพธิสัตว์กวนอิม
    17.พระโพธิสัตว์สมันตภัทร
    18.พระโพธิสัตว์มัญชุศรี
    19.ศาสดาอิสลามโมฮัมหมัด
    20.พระเยซูคริสต์
    21.จอมปราชญ์อมตเหลาจื้อ
    22.พระยูไลสัมมาสัมพุทธเจ้า
    23.บรมครูจอมปราชญ์ขงจื้อ
    24.พระศาสดายุคขาว พระศรีอาริยเมตไตรย
    25.สองกุมารหวินเป่า
    พระโอวาทที่ 5 มีดังนี้ค่ะ :
    พุทธบุตรลูกแม่ทั้งหลาย แม่ขอเตือน ให้ตั้งใจบำเพ็ญวิถีอนุตตรธรรม ขอให้ลูกพึงกำหนดรู้ในเกณฑ์กำหนดแห่งกาลเวลา และเจตนาของฟ้าเบื้องบนในเวลานี้ว่า ต้องการให้ลูกๆบำเพ็ญธรรมเพื่อกลับสู่ความเป็นอริยะ เป็นปราชญ์ให้ได้โดยเร็วด้วยวิธีลัดที่ไม่มีมาก่อน
    ในกัปสุดท้ายนี้ สิ่งที่ลงมาสู่โลกมนุษย์พร้อมกันสองอย่าง คือธรรมะกับภัยพิบัติ อันที่จริงแม่มีเมตตาจิตต่อลูกๆ ได้จัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างไว้อย่างเป็นระบบทั้งโลกมนุษย์ ทั้งลูกหญิง-ชาย ให้เรียบร้อยแล้ว แต่เหตุไฉนจึงกำหนดภัยพิบัติมาครอบงำกวาดล้างโลกมนุษย์ ขอให้ลูกลองคิดดู สมัยโบราณนานมาแล้วนั้น มีกษัตริย์จีนโบราณผู้ทรงคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ในสมัยห้าพันปีก่อนโน้น ทรงพระนามว่า เหยา ซุ่น อวี่ ผู้คนในยุคนั้นเป็นคนใจตรง ฟ้าเบื้องบนก็พลอยสงบไปด้วย ภัยพิบัติจึงไม่เกิด เมื่อใดที่ใจคนไม่ซื่อ มีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง เมื่อนั้นจึงมีภัยพิบัติ
    โลกมนุษย์ในยุคนี้เลวลงสุดประมาณ จารีตประเพณีอันดีงามของอารยะชนกลับถูกหมางเมิน ผู้คนรู้ฝึกฝนกลโกง โลภโมโทสัน เป็นคนร้อยเล่ห์พันเหลี่ยมโหดเหี้ยมดุร้าย หลอกลวง ไร้สิ้นคุณธรรมจริยธรรมไปทั่ว นายไร้สิ้นซึ่งคุณธรรม บ่าวข้าไม่สัตย์ซื่อ พ่อลูกขาดเมตตายำเกรงกัน ผัวไม่ซื่อสัตย์ต่อเมีย เมียไร้ซึ่งคุณธรรมหาเหตุทะเลาะตบตีกัน พี่น้องอาฆาตมาดร้ายต่อกัน เพื่อนฝูงต่างขาดสัจจะแก่กันและไม่ไว้วางใจกัน มีแต่เชือดเฉือนทิ่มแทงกัน คุณธรรม คุณสัมพันธ์ห้า และคุณธรรมแปดประการ เสื่อมถอยลง ยากแก่การฟื้นฟู นักวิชาการพูดแต่ทฤษฎี กล่าวหาว่าคนอื่นแต่ตนเองไม่ปฏิบัติ กสิกรชาวนาชาวสวนไม่มีคุณธรรมมุ่งหาแต่เงินทองหวังร่ำรวย กรรมกรหยาบกร้าน เกียจคร้านเห็นแก่ตัว ขาดความอดทน พ่อค้าวาณิชปลอมปนสินค้าตบตาคนซื้อ ดูถูกหาว่าโง่กว่าตน ขาดความจริงใจไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า พระสงฆ์องค์เณรลืมตรัยรัตน์และศีลห้า สาวกเต๋านอกลู่ทิ้งแนวเดิม ถือเอากระพี้เป็นเปลือกไม่ถึงแก่น ยึดเอาพิธีกรรมมากหลายมาสำคัญว่าเป็นทางหลุดพ้น สาวกศาสนาปราชญ์เรียนเพียงผิวเผินอวดรู้ว่าเป็นปราชญ์
    แม่เห็นแล้วอดเศร้าใจไม่ได้ โลกถึงยุคที่จะเกิดภัยพิบัติ หากคราวนี้ไม่มีภัยพิบัติลงมากวาดล้างโลกนี้แล้ว โลกนี้จะหมดสิ้นคนดี หาคนเป็นปราชญ์เป็นอริยะเป็นหลักนำไม่ได้เลย จึงได้กำหนดภัยพิบัติแปดประการนี้ขึ้นมา คือ "ภัยจากน้ำ ลมพายุ ภัยจากไฟเผาผลาญ ภัยจากอาวุธมหาประลัย ภัยจากทหาร ความแห้งแล้งกันดาร น้ำหลากอดอยาก ขาดแคลน กำหนดภัยธรรมชาติทั่วไปในโลกกว้างถึงเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดภัยกับทั้งส่งรากษส และพญามารทั้งห้ามาก่อกวนโลกมนุษย์ ใช้หมื่นพันวิธีเพื่อกวาดเก็บคนชั่วเป็นระยะๆ
    บัดนี้!ถึงกาลเวลาสิ้นชะตาฟ้าดินแล้ว คนชั่วที่สั่งสมกรรมเวรมาในรอบหกหมื่นปีมานี้ จะถูกกวาดล้างใหญ่ในครั้งนี้ ทั้งจะเป็นการจำแนกแยกแยะคนดีคนเลวเหมือนแยกหินกับหยกออกจากกัน แม่มองลงมาด้วยน้ำตาที่ไหลริน เสมือนสายธารเลือดเมฆหมอกแห่งความชั่วร้ายปกคลุมคละคลุ้งกลบไปทั่วท้องฟ้า พิบัติภัยเกิดขึ้นทุกมุมโลกโดยฝีมือมาร โจรภัยเกิดไม่เว้นแต่ละวัน สงครามย่อยเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เก้าในสิบคนต้องทนทุกข์ทรมาน น้ำท่วมฉับพลัน ฝนแล้ง น้ำแห้ง ลำคลองตื้นเขินเกิดโรคระบาดรุนแรงและโรคร้ายที่รักษายาก พืชพันธุ์ธัญญาหารไม่งอกงามอุดมสมบูรณ์เช่นแต่ก่อน
    "ในที่สุด จะเกิดเหตุการณ์สยดสยอง ท้องฟ้ามืดสนิทไร้เดือนดาวถึงสี่สิบเก้าวัน"
    ในวันนั้นประตูนรกเปิดออก ปล่อยให้ผีมาทวงหนี้คน หนี้ชีวิตเงินทองที่ค้างกันมา จะสะสางกันให้สิ้นในวันนั้น เป็นการล้างหนี้กันทั้งสามโลกในคราวเดียวจบสิ้น ไม่ค้างกันอีกต่อไป ลมพายุร้ายแรงเป็นมหาวาตภัยล้างโลก กวาดจักรวาลเป็นการชำระล้างทั้งสามโลก เปลี่ยนแกนกลางโลกเสียใหม่ ต่อให้ลูกมีร่างกายแข็งแกร่งปานเหล็กไหล มิอาจรอดพ้นมหันตภัยในครั้งนี้ได้ แม้ว่าภัยพิบัติครั้งนี้แม่เป็นผู้กำหนดขึ้นมาก็ตาม แต่แม่ก็ต้องร้องไห้ทุกวันคืน แม่มิอาจทำเป็นใจหินทำลายทุกอย่างทั้งดีทั้งชั่ว ทำลายทั้งหยกทั้งหินได้พร้อมกันในคราวนี้ แม่จึงได้หย่อนเส้นทางสายทองมาให้ลูกขึ้นกลับคืน เส้นทางอื่นใดมีเป็นพันเป็นหมื่นมิอาจพ้นได้ มีเส้นทางเดียวเท่านั้นที่จะรอดปลอดภัย คือ "เอกายนมรรค" ให้รีบขอรีบธรรมโองการสวรรค์ คือ วิถีอนุตตรธรรมเสีย
    นึกถึงลูกที่ลงมาเกิดกาย รับทุกข์ทรมานนานนักหนา แม่จึงสู้อุตส่าห์ขีดเขียนเพียรส่งสาสน์มาเตือนยังลูกๆทั้งหลาย ให้รีบบำเพ็ญเพื่อคืนกลับด้วยเกรงมหันตภัยจะทำลายล้างลูกที่แม่รัก ลูกที่ได้รับวิถีธรรมแล้ว อย่าลังเล ขอให้ลูกแม่รีบปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อให้เกิดปัญญากล้า หากยังมัวหลงโลกโลกีย์นี้อยู่ ไหนเลยลูกจะรู้จักโลกอันเป็นสมมตินี้ได้ มองโลกมนุษย์ให้ละเอียดทุกจุดทุกมุม ในขณะนี้แล้วน่าเศร้ามากไหม เมื่อมหันตภัยมาถึง ต่อให้ลูกสามารถสร้างสิ่งป้องกันอันแข็งแกร่งใดๆก็ตาม ไม่อาจพ้นความวิบัติได้เลย ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
    "พลเมืองในโลกขณะนี้ ถ้าแบ่งออกเป็นสิบส่วน ในวันเกิดมหันตภัย คนจะตายเสียเจ็ดส่วน สามส่วนที่เหลือก็ต้องทนทุกข์ยากลำบากอยู่ระยะเวลาหนึ่ง กระดูกคนตายกองโตเท่าภูเขา เลือดท่วมไหลเป็นสายธาร" หากยังมัวหลงใหลอยู่ในลาภยศ มัวโลภมัวหลงอยู่ ไม่ปฏิบัติบำเพ็ญธรรม สิ่งที่แน่นอนคือ ภัยพิบัติทั้งปวงทั้งเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดภัยจะกระหน่ำให้ญาณจิตตกไปสู่โลกันตร์มหานรก ถ้าอยากให้พ้นไปจากภัยพิบัติทั้งสิ้นนี้ ให้เร่งสร้างมหากุศล แม่จะดลจิตเทพให้คุ้มครองเจ้ามห้ได้สุขขณะครองสังขารกายเนื้อนี้อยู่
    ใครรู้สำนึกตัว ตื่นขึ้นมาบำเพ็ญ ได้ตามแม่กลับไปนิพพานแน่นอน ใครเป็นคนดื้อรั้นว่ายากสอนยาก ไม่ปฏิบัติบำเพ็ญ จะพลอยถูกกวาดส่งลงสู่นรกคราวมหันตภัยกวาดล้างในครั้งนี้ด้วย บัดนี้!เทพทุกพระองค์ที่มาพร้อมแม่ จะกลับคืนสู่เบื้องบนแล้ว ลูกๆทั้งหลายจงพร้อมกันมากราบส่ง แม่ขอเว้นช่วงพักและหยุดการเขียนสักครู่ก่อน แล้วจะมาให้คำสอนใหม่ให้เหมือนดังหยกทอง...
    พระโอวาท อนุตตรธรรมมารดา สิบบัญญัติ :
    คิดถึงลูกแทบขาดใจ สุดอาลัยพูนเทวษ
    วิมานเขตอ้างว้าง เทพเซียนต่างส่งมาสิ้น
    ด้วยถวิลช่วยพระบุตร อนิจจาลูกหลับหลง
    เฝ้าระทมแม่เฒ่า มาช่วยเจ้าเปลี่ยนโลกีย์
    เขียนวจีด้วยเลือด รำพันเกือบเป็นหมื่นแสน
    ผลตอบแทนเจ้าไม่ฟัง

    </TD><TD></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในขั้นพื้นฐาน วิถีอนุตตรธรรมคือ หลักสัจจะของจักรวาลซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างที่ล้อมรอบตัวเรา หลักสัจจะนี้เป็นผู้ก่อกำเนิดสรรพสิ่งในจักรวาร ในตัวของมนุษย์ "สัจจะ" นี้คือ "มโนธรรมสำนึกดั้งเดิม" หรือตัวจริงแท้ภายในของสิ่งที่มีชีวิตทุกรูปแบบ (พลังชีวิต) มโนธรรมสำนึกดั้งเดิมเป็น "เส้นทาง" ที่จะนำเรากลับสู่ "บ้านเดิม" (ถิ่นกำเนิดหมายถึงแดนนิพพาน) แม้ว่าสัจจธรรมนี้ไร้รูปลักษณ์แต่ก็มีอยู่ เกิดขึ้นและซึมซาบอยู่ในทั่วทุกอณูของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล

    ชีวิตทุกรูปแบบต่างก็มี "พุทธะภาวะ" แฝงเร้นอยู่ในตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นคนพาลหรือบัณฑิต "ปุถุชน" หรือ "พระพุทธะ" แต่เนื่องจาก "จิต" ที่หลงใหลในวัตถุภายนอกและมัวเมาในกิเลสต่างๆ มนุษย์ได้กระทำบาปมากมายจนเป็นเหตุให้ต้องตกอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด ไม่สามารถหลุดพ้นเป็นอิสระไปได้

    ดังนั้น "วิถีอนุตตรธรรม" จึงถูกถ่ายทอดสู่ปุถุชนที่อยู่ในครัวเรือนอันเป็นเวลาสุดท้ายของธรรมกาลด้วยจุดมุ่งหมายหลักคือ ฉุดช่วยคนดีมีเมตตาให้พ้นจากมหันตภัยใหญ่ทั้งหลาย ดังที่ท่านเม่งจื้อได้เคยกล่าวว่า "โลกที่กำลังจมลง จะถูกกอบกู้ขึ้นโดยธรรม"

    วิถีธรรมช่วยให้คนเรารู้ว่า แท้จริงแล้ว "เราเป็นใคร?" และเราควรจะเดินไปในทิศทางไหน เพื่อจะกลับคืนสู่ "ต้นกำเนิด" ของเรา หลังจากที่ทุกคนรับรู้วิถีธรรมแล้วและมาศึกษาให้เข้าใจ ก็จะเกิดคุณประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อันจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาความคิดที่ดีแก่ชีวิต และปรับปรุงความสัมพันธ์อันดีต่อทุกคนในครอบครัวและสังคม ในขั้นสูงขึ้นไปจะช่วยกระดับจิตใจให้เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิตและรู้แจ้งใน สรรพสิ่ง สามารถคลายความยึดติดในตัวตน สิ่งต่างๆ ที่เราเรียนรู้ในวิถีธรรมจะนำเราไปสู่ "ทางแห่งแสงสว่าง" ฉะนั้นเราจะต้องลงมือศึกษาไปตามขั้นตอนแต่ละขั้นเพื่อให้เห็นคุณค่า แล้วเริ่มตักตวงเอาคุณประโยชน์อันล้ำค่าจากการบำเพ็ญธรรม

    สิ่งแรกสุดก่อนอื่นใดทั้งสิ้นเราต้องขอรับวิถีธรรมด้วยความจริงใจ ท่านทั้งหลายคงจำกันได้ถึงวันที่เรามาขอรับวิถีธรรม เวลานั้นมีพิธีเพื่อขอจารึกชื่อของเราไว้เบื้องบน เราจึงได้พบ "หนทาง" ที่จะกลับคืนสู่ "บ้านเดิม" อันเป็นที่ที่เราเป็นเจ้าของ เมื่อนั้นเราจึงจะพูดได้อย่างโล่งใจว่าเราได้ค้นพบ "หนทางสู่ความเป็นนิรันดร์คือแดนนิพพาน" ณ ที่นั้นเราจะพบกับความสงบสุขชั่วนิรันดร คนที่ได้รับวิถีธรรมก็เท่ากับมีโอกาสเปิดเส้นทางให้ชีวิตของตนได้ก้าวไปสู่ สิ่งที่ดีงาม คงยังจำกันได้ว่า ในวันแรกที่ก้าวเข้ามาในสถานธรรม หลายคนอาจรู้สึกเคอะเขินต่อการต้อนรับที่เต็มไปด้วยไมตรีจิตและสุภาพอ่อนโยน ทำไมเราจึงรู้สึกอย่างนั้น? อาจเป็นเพราะเราต่างเคยชินต่อการแสดงออกที่หยาบกระด้างและแล้งน้ำใจอยู่ตลอด เวลา ดังนั้นหลังที่เราได้รับวิถีธรรมและได้รับความเมตตาจากนักธรรมอาวุโสทั้ง หลาย มันจึงง่ายขึ้นสำหรับเราที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งไม่ดีต่างๆ จนบังเกิดแต่สิ่งที่ดีงามขึ้นแทน สำหรับผู้ที่มีแต่สิ่งที่ดีอยู่ในตัวแล้ว ความดีเหล่านั้นก็จะยิ่งเพิ่มพูนทวีมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นอยู่ แท้จริงแล้วหากเราอยู่ในสถานที่ซึ่งแวดล้อมไปด้วยการพร่ำอบรมบ่มนิสัย ก็จะช่วยให้อุปนิสัยใจคอของเราเพียบพร้อมไปด้วยศีลธรรมจรรยา

    หลังจากที่เราได้รับการถ่ายทอดเบิกธรรมแล้วขั้นต่อมาเราต้องศึกษา "วิถีแห่งอนุตตรธรรม" ให้เข้าใจ การเรียนรู้ไม่มีคำว่า "จบสิ้น" ตราบที่เรายังมีชีวิตอยู่ (ชีวิตคือการเรียนรู้) ตั้งแต่โบราณกาลผู้คนต่างศึกษาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาความรู้ และพร้อมกับปรับปรุงบุคคลิกภาพอุปนิสัยใจคอให้สูงขึ้นไป ดังที่ท่านเม่งจื้อได้กล่าวไว้ว่า "จุดประสงค์อันเดียวของการเรียนรู้ คือติดตามจิตที่หลงออกนอกทางไป" นั่นหมายถึง "การศึกษาก็เพื่อค้นหาสัจจธรรม สามารถแยกแยะความดี-ชั่วละความยึกติดในตัวตน ขจัดความขัดแย้งในตัวเอง สามารถอยู่อย่างกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ"

    ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่เล่าเรียนศึกษาก็เพื่อหาเลี้ยงชีพ เพื่อไขว่คว้าหาเกียรติยศชื่อเสียงจนหลงลืมไปว่า การเรียนรู้ก็เพื่อความเป็นคนดีมีศีลธรรมด้วย การศึกษาเรียนรู้แต่เรื่องภายนอกอย่างเดียวยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ "ความรู้ต้องคู่กับคุณธรรม" ซึ่งหมายความว่าความรู้ทางโลกเพียงด้านเดียวยังไม่เพียงพอ เราจะต้องมีคุณธรรม จริยะธรรม ศีลธรรมด้วย เพื่อให้เราสามารถนำเอาความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร เราต้องใช้คุณธรรมขจัดความรู้สึกนึกคิดอุปนิสัยที่ไม่ดีในตัวเอง โดยการพิจารณาทบทวนใคร่ครวญมองดูความคิด คำพูด และการกระทำของเราตลอดเวลา การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่คนที่ใกล้ชิดได้ โดยการศึกษาเรียนรู้ที่ถูกต้องจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจ "แก่นแท้ของชีวิต" เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตซึ่งจะช่วยปลดปล่อยจิตใจของเราจากความว้าวุ่นสับสนในปัญหาต่างๆ อันเกิดจาก "ความหลง"

    หลังจากได้ศึกษาวิถีธรรมจนเข้าใจดีแล้ว เราต้องลงมือฝึกปฏิบัติด้วย นั่นหมายถึง
    "ขั้นฝึกฝนปฏิบัติตามหลักของวิถีอนุตตรธรรม"
    หลักปฏิบัติสำคัญ 3 ประการได้แก่
    1. ละเว้นจากการทำบาปทั้งปวง
    2. ทำแต่ความดี สร้างสมบุญกุศล
    3. ฉุดช่วยตนเองและผู้อื่นให้เป็นคนดีพร้อมมีคุณธรรมสมบูรณ์

    มีคำกล่าวว่า "ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติอยู่เสมอจะทำให้เกิดความสมบูรณ์พร้อม" (Practice makes Perfect) คนบางคนเกิดมาสวยงามและเฉลียวฉลาด ในขณะที่บางคนไม่เป็นเช่นนั้น การที่คนเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัย "ความขยัน" ด้วย ดังนั้นเราจึงต้องนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาปฏิบัติตามอย่างบรรดานักปราชญ์ในอดีตที่ได้กระทำคือ "การเรียนรู้และการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าคำพูดของใครจะยิ่งใหญ่แค่ไหน สวยงามเพียงใด การกระทำของเขาเท่านั้นจะเป็นเครื่องตัดสิน สมกับคำพูดที่ว่า "การกระทำย่อมก้องกังวานไปไกลกว่าคำพูด" (Acting speaks louder than words) ฉะนั้นการศึกษาและการปฏิบัติต้องควบคู่กันไปเสมอ ท่านลองคิดดูซิว่า ถ้าเราเอาแต่กินๆ เข้าไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีการย่อย อะไรจะเกิดขึ้น? มันย่อมจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ร่างกายแน่นอน เช่นเดียวกันกับคนที่มุ่งจะเรียนรู้เพียงอย่างเดียวแต่ไม่เคยที่จะนำเอาความรู้เหล่านั้นไปใช้ เขาก็ไม่แตกต่างกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย

    ฉะนั้นการลงมือปฏิบัติในหนทางของ "อนุตตรธรรม" เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะมันจะสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของเราได้ บางคนเชื่อว่า ชีวิตคือพรหมลิขิต ไม่มีอะไรจะมาเปลี่ยนแปลงมันได้เขาจึงไม่ยอมทำอะไร ปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไร้จุดหมาย ในขณะที่มีบางคนเชื่อว่า "ชีวิตอยู่ในกำมือของเราและเราจะลิขิตให้มันเป็นอย่างไรก็ได้" มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แน่นอนที่เราจะใช้ความพากเพียรพยายามในการพลิกผัน เปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของตนเอง ถ้าเรารู้จักบำเพ็ญตัวเองสร้างสมความดีอยู่เสมอ ก็จะสามารถลบล้างบาปกรรมในอดีตและคุ้มครองป้องกันเราให้พ้นจากเคราะห์ร้าย ได้อย่างแน่นอน

    สำหรับชาวพุทธทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นด้วย "กฎแห่งกรรม" อัน เป็นกฎของเหตุและผลไม่ว่าอะไรก็ตามที่เราเคยทำไว้ในอดีต จะส่งผลมาถึงเราในปัจจุบัน และอะไรที่เราทำอยู่ในปัจจุบันนี้ จะส่งผลแก่เราในอนาคตข้างหน้า หากเราไม่อยากประสบเคราะห์กรรมต่างๆ อยากจะป้องกันเหตุการณ์ร้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา เราก็จะต้องทำแต่ในสิ่งที่ดีบำเพ็ญธรรมอย่างตั้งใจ นอกจากนี้แล้วการรู้จักสำนึกในความผิดบาปของตนและปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด อยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ที่บำเพ็ญธรรม มีเรื่องๆ หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการบำเพ็ญธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาและทำลาย เคราะห์กรรมลงไปได้

    มีเรื่องเล่าดังนี้ :
    กาลครั้งหนึ่งมีผู้บำเพ็ญธรรมท่านหนึ่งนามว่า ชิว ฉาง ชุน ท่านได้ศึกษา "วิถีธรรม" ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มจากท่านอาจารย์ วัง ชุง หยาง ท่านเป็นผู้มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษา "อนุตตรธรรม" อยู่ตลอดเวลา ต่อมาเมื่ออาจารย์ของท่านได้จากไปแล้ว ท่านก็ยังคงมุ่มมั่นบำเพ็ญต่อไปด้วยความขยันขันแข็ง

    ในชีวิตการบำเพ็ญธรรมของท่านประสบแต่ความทุกข์ยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านต้องอดอยากหิวโหยจนแทบเอาชีวิตไม่รอดนับครั้งไม่ถ้วน ถึงกระนั้นท่านก็ยังมุมานะที่จะบำเพ็ญต่อไป

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วันหนึ่งหลังจากที่ท่านได้รับบริจาคอาหารกลางวันมาแล้ว เตรียมจะรับประทาน ก็มีชายชราคนหนึ่งตรงเข้ามาแย่งเอาอาหารของท่านไปเสียครึ่งหนึ่ง ท่าน ชิวฉางชุน รู้สึกประหลาดใจมากจึงได้เอ่ยปากถามขึ้น

    ชายชราคนนั้นได้ตอบว่า "ข้าเป็นหมอดูมาหลายปี เพียงแต่เห็นท่าทางอากับกิริยาก็สามารถหยั่งรู้โชคชะตาของคนๆ นั้นได้ เมื่อข้ามองดูท่าน ก็รู้ว่าท่านต้องประสบเคราะห์กรรมจากการรอดอยากและสุดท้ายจะต้องตายด้วยความหิวโหย ถ้าข้าปล่อยให้ท่ากินอิ่มในมือนี้ ท่านจะต้องอดไปอีกหลายมือ ดังนั้ข้าจึงคิดว่ามันจะดีกว่าถ้าท่านให้กินแต่น้อยๆ เพื่อจะได้มีกินไปทุกๆ มื้อ"

    ท่านชิวฉางชุน แปลกใจมากเมื่อได้ยินเช่นนั้น เพราะคำพูดทั้งหมดล้วนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวท่านตลอดมา

    ชายชราผู้นั้นชี้แจงให้ท่านฟังว่า ชีวิตคือพรหมลิขิต ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ และยังยกตัวอย่าง 2 เรื่องว่า มีจักรพรรดิ์องค์หนึ่งซึ่งเสวยสุขมาตลอดแต่สุดท้ายกลับต้องมาสิ้นพระชนม์ อยู่ในพระราชวังด้วยความหิว เพราะเกิดเหตุจราจลขึ้นในบ้านเมือง อีกเรื่องหนึ่ง มีเสนาบดี ที่มั่งคั่งร่ำรวยแต่ต่อมาท่านได้ถูกคนที่อิจฉาริษยาในความร่ำรวย ใส่ร้ายป้ายสีว่าตัวท่านเป็นผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรง สุดท้ายต้องถูกจับไปขังและตายในคุก

    เมื่อท่านชิวฉางชุนได้ยินดังนั้นแล้วก็เกิดความท้อแท้ใจและเลิกบำเพ็ญธรรม คอยแต่ก้มหน้ารับชะตากรรมที่จะเกิดขึ้นอย่างเดียว จากนั้นท่านกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายตลอดมา จนกระทั่งถึงกับพยายามฆ่าตัวตายโดยการอดอาหารเพื่อจบชีวิตตัวเองเสีย แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะทุกครั้งจะต้องมีคนมาช่วยเอาไว้ได้ทันเวลาเสมอ

    ความสิ้นหวังในชีวิตก็เพิ่มมากขึ้นๆ จนในที่สุดท่านตัดสินใจ ปลีกตัวหลบเข้าไปอยู่ในป่าแล้วล่ามตัวเองไว้กับต้นไม้เพื่อจะได้ตายสมใจ แต่แล้วในขณะนั้นเทพเจ้า ไห่ ไป่ จิน เชิน ผู้พิทักษ์ความดีได้รู้ถึงกรรมดีที่ท่านได้เคยบำเพ็ญสะสมไว้ จึงจำแลงกายลงมาช่วยชีวิตเอาไว้และชี้แนะหนทางให้ท่านชิวฉางชุนได้รู้ว่าการ บำเพ็ญธรรมด้วยความตั้งใจในอดีตที่ผ่านมา ได้พลิกผันเปลี่ยนแปลงโชคชะตาที่ท่านจะต้องตายด้วยความอดอยากให้หมดสิ้นไป แล้ว และอธิบายว่าคำทำนายของหมอดูนั้นใช้ได้เฉพาะกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่รู้จักบำเพ็ญธรรมเลยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จิตใจไม่ดีเต็มไปด้วยความอาฆาตพยาบาทมุ่งร้าย โชคชะตาของเขาก็จะยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เพราะฉนั้นชะตาชีวิตของคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะเป็นไปในทางดีหรือเลวขึ้นอยู่กับการกระทำของเขาเอง

    ท่านชิวฉางชุนจึงเกิดความเข้าใจกระจ่างแจ้ง และรู้ตัวว่าได้ทำผิดพลาดอย่างมหันต์จนเกือบเอาชีวิตไปทิ้ง ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงบำเพ็ญธรรมอย่างขยันขันแข็งและแน่วแน่มั่นคงไม่แปรเปลี่ยน จนสามารถบรรลุธรรมกลายเป็นนักบุญองค์สำคัญ มีพระนามอันร่ำลือมาจนถึงทุกวันนี้

    เราเห็นหรือยังว่า การบำเพ็ญธรรมสามารถอำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ชีวิตของเราทั้งหลาย หากเราทำด้วยความตั้งใจจริงก็ไม่มีคำว่า "ผิดหวัง" กล่าวได้ว่าทุกคนเป็นผุ้ที่โชคดีอย่างหาที่เปรียบมิได้ที่มีโอกาสบำเพ็ญตน เพื่อชดใช้หนี้สินบาปกรรมของเราโดยอาศัยการสร้างความดีสะสมไว้ ทั้งนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ธรรมมารดานั่นเอง

    เราทุกคนจดจำไว้เสมอว่า การบำเพ็ญธรรมจะช่วยปกป้องคุ้มครองให้ตัวเราปลอดภัยไปจนชั่วชีวิต เราต้องมีความเชื่อมั่นอยู่ตลอดเวลาว่า พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดและพระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วย เหลือเราให้บำเพ็ญธรรมไปได้จนถึงที่สุด เหตุนี้เราจึงควรรู้จักสำนึกและตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่แทนที่จะเรียกร้อง สิ่งตอบแทนจากการบำเพ็ญธรรม

    "ขั้นสุดท้ายในการบำเพ็ญธรรม" ก็คือ การบรรลุถึงสัจจธรรมสูงสุดที่เราเรียกว่า "ตรัสรู้" หมายถึง "การรู้แจ้งในตัวตนที่แท้จริง" การรู้แจ้ง ก็คือ "การกลับคืนสู่สภาวะธรรมดั้งเดิมแห่งความเป็นพุทธะ" ธรรมชาติแท้จริงภายใน "จิตใจ" ของมนุษย์มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมไปด้วยความดีงาม ความรัก ความเมตตากรุณา ความสงบเยือกเย็นและสุขุมคัมภีรภาพ

    แต่ทำไมมนุษย์จึงไม่สามารถนำเอา "จิตพุทธะ" ดั่งเดิมแท้จริงออกมาได้ สาเหตุก็เพราะคนพากันละโมบโลภมาก ริษยาอาฆาตโกรธเกลียดและเต็มไปด้วยความงมงาย

    "โลภ" คือ ความอยากได้ในทุกๆ สิ่งจนนำไปสู่ความขุ่นเคืองใจเมื่อไม่ได้สมกับที่ตั้งใจ แม้ว่าจะได้มาแล้วก็หลงยึดติดในสิ่งทั้งหลายจนเกิดความวิตกกังวล กลัวที่จะต้องสูญเสียมันไปในวันใดวันหนึ่ง

    "ความโกรธ" เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาขัดแย้งกับความต้องการที่เราหวังไว้ เมื่อนั้นจะทำให้จิตใจเกิดความขุ่นเคือง รำคาญ โมโห อิจฉาริษยา และนำไปสู่การตอบโต้แก้แค้นสร้างความทุกข์ให้กับทั้งสองฝ่าย

    "ความหลง" คือ ไม่รู้เท่าทันในความจริง ไม่รู้ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้วปวงไม่จีรังยั่งยืน พากันลุ่มหลงยินดีในโลกียสุขอันจะนำมาซึ่งความทุกข์ใจและความยุ่งยากลำบากต่างๆ

    ฉะนั้น เมื่อใดที่คนเราขจัดความขุ่นมัวออกไปเสียได้ เราก็จะสามารถสัมผัสกับ "พุทธะจิต" ที่สงบเยือกเย็นในตัวของเราเอง หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด สามารถฉุดช่วยบรรพบุรุษและลูกหลานให้กลับสู่นิพพานได้ในเวลาที่ "สำเร็จธรรม"

    การหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด
    การหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิดคือ การที่เราสามารถปลดปล่อยตัวเองจากการที่ต้องไปเกิดใน "อบายภูมิทั้ง 6" ได้แก่
    1. เทวโลก เป็นสถานที่ที่บรรดาเทพพรหมทั้งหลายสถิตอยู่ คนที่ทำความดีเอาไว้ ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์มาตลอด แต่ไม่ได้รับรู้วิถีธรรมก็จะจุติอยู่ในชั้นนี้

    2. โลกอสูร มีลักษณะกึ่งเทพ กึ่งมนุษย์คือ คนที่ตอนมีชีวิตทำแต่ความดีแต่ไม่สามารถขจัดความเห็นแก่ตัวยังมีความอิจฉาริษยา จึงไม่เกิดในแดนมารได้เสวยทิพยสมบัติเช่นกัน

    3. มนุษย์ภูมิ เป็นที่อยู่ของคนทั้งหลายไม่ว่าจะร่ำรวย ยากจน สูงศักดิ์หรือต่ำต้อย

    4. เดรัจฉานภูมิ ได้แก่ สถานที่เกิดของสัตว์ 4 ประเภทคือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก. สัตว์ที่กำเนิดในครรภ์ เช่น ม้า วัว ควาย หมู
    ข. สัตว์ที่เกิดในไข่ เช่น นก เป็ด ไก่
    ค. สัตว์ที่เกิดในที่อับชี้นในน้ำ เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย
    ง. สัตว์จำพวกแมลง เช่น ผึ้ง มด แมลงต่างๆ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]5. เปรตภูมิ เป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจากความสุขได้รับความทุกข์ ทรมานหิวกระหายอย่างแสนสาหัส เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาได้กระทำแต่สิ่งที่ไม่ดี

    6. นรกภูมิ เป็นที่ที่จิตวิญญาณของคนต้องไปเกิดรับทุกข์ทรมานมากเนื่องจากได้กระทำสิ่งที่ชั่วร้าย ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] อบายภูมิทั้ง 6 ดังกล่าวนี้ไม่ใช่ที่อยู่อันถาวรของดวงวิญญาณ จิตวิญญาณจะต้องไปเกิดอยู่ในภพภูมิใดก็ขึ้นอยู่กับ "กรรม" หรือ "การกระทำของแต่ละคน" เราจะต้องได้รับความทุกข์ทรมานมาก หากต้องไปเกิดในภพภูมิที่อยู่ต่ำลงไป เช่นไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปตร เป็นผีนรกเป็นต้น ถ้าไปเกิดในภูมิที่สูงขึ้นไปได้แก่เป็น เทพ พรหม แม้จะได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์แต่ในที่สุดก็ต้องกลับลงมาในโลกมนุษย์อีก เมื่อผลบุญหมดสิ้นแล้ว คนที่เกิดในโลกมนุษย์ก็ต้องประสบกับความทุกข์ทั้งหลายอันได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากของรัก ต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่สามารถสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา มีความอยากในกิเลสตัณหา รักหลงไม่รู้จักพอ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหตุให้คนเรา "ทุกข์" ทั้งทางกายและทางจิตใจ

    โลกนี้แม้จะมีความสุขอยู่บ้างแต่ก็ไม่จีรังยั่งยืน ทั้งนี้ก็เพราะ สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนต้องผันแปรเปลี่ยนเป็นอื่นอยู่ตลอดเวลา การยึดติดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวดเป็นทุกข์ ในที่สุดเราก็ต้องพลัดพรากสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักไปอย่างแน่นอน

    ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสวงหาทางพ้นทุกข์ เป็นอมตะไม่เกิดไม่ตายให้ได้ เราเคยรู้สึกแปลกใจไหมว่า ทำไมพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสามารถสละราชสมบัติ ละทิ้งโลกีย์สุขทั้งหลายออกไปค้นหาสัจจธรรมเพื่อหาทางพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

    เมื่อเราได้รับการถ่ายทอดวิถีธรรมแล้วทุกคนจะต้องมีความมั่นใจว่า ถ้าหากเราบำเพ็ญด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง "วิถีอนุตตรธรรม" นี้จะนำเราไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแน่นอน

    ฉุดช่วยบรรพบุรุษและลูกหลานให้กลับสู่นิพพาน
    ในยามที่บิดามารดาของเรายังมีชีวิตอยู่ เราจะต้องทำหน้าที่ของลูกที่พึงปฏิบัติต่อพ่อแม่ให้ดีที่สุด แต่หากท่านได้จากโลกนี้ไปแล้วผู้เป็นลูกหลานจะต้องพยายามจนสุดความสามารถ เพื่อช่วยให้ท่านพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในปรโลก วิธีที่เราทุกคนสามารถทำได้ก็คือ หลังจากที่เรารับวิถีธรรมแล้วควรตั้งใจปฏิบัติธรรมด้วยความพากเพียร นำเอา "วิถีธรรม" อันสูงส่งนี้เผยแพร่ออกไป เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของคนทั้งหลาย เมื่อนั้นดวงวิญญาณบรรพบุรุษของเราที่ล่วงลับไปแล้วไม่ว่าจะอยู่ในภพใด ภูมิใด ก็จะมีส่วนในกุศลผลบุญที่ลูกหลานได้กระทำ เราทุกคนผู้เป็นลูกหลานนับว่าโชคดีอย่างยิ่งที่สามารถสร้างบุญกุศลช่วยเหลือ ท่านได้

    เหตุนี้ขอให้เราทั้งหลายระลึกถึงพระเมตตาของเบื้องบนที่มีต่อพวกเรา ในพระพุทธศาสนามีเรื่องราวที่เล่าขานกันมากก็คือ เรื่องที่ "พระโมคคัลลานะลงไปฉุดช่วยมารดาของท่านออกจากนรกภูมิ" เรื่องมีดังนี้ :

    วันหนึ่ง พระโมคคัลลานะผู้เป็นสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ นั่งสมาธิถอนจิตญาตออกไป พบว่ามารดาของท่านได้ไปเกิดอยู่ในนรกต้องได้รับแต่ความทุกข์ทรมานเป็นอันมาก เมื่อท่านกลับมาแล้วจึงรีบเข้าเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลขอพระเมตตาของพระองค์ พระพุทธองค์จึงทรงแนะให้ท่านสร้างกุศลด้วยการบริจาคทานช่วยเหลือคนที่ตก ทุกข์ได้ยาก ด้วยความจริงใจ ด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างกุศลทานต่างๆ จึงสามารถฉุดช่วยมารดาและดวงวิญญาณอีกมากมายให้พ้นจากนรก

    ด้วยเหตุนี้การบริจาคทานสร้างกุศลเพื่อช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พ้นจากความทุกข์ทรมานในนรกจึงเป็นที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศไทย จีนและอีกหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย

    เราควรจดจำไว้ว่า การบำเพ็ญธรรมย่อมบังเกิดคุณประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อญาติพี่น้อง และต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอย่างมากมาย ทุกคนควรถือเอาโอกาสนี้ทำแต่ความดีบริจาคทานสร้างกุศลให้คุ้มค่ากับเวลาที่มีเหลืออยู่ไม่มาก เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

    สรุป
    ผู้ที่ได้รับวิถีธรรมแล้วตั้งใจบำเพ็ญอย่างจริงจังเป็นคนโชคดีที่สุด การบำเพ็ญ "วิถีอนุตตรธรรม" สร้างประโยชน์สุขต่อตัวเองและคนรอบข้างจริงๆ ฉะนั้นเราทุกคนควรทุ่มเทกำลังกายกำลังใจจนสุดความสามารถเพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในสังคม และทำให้โลกนี้บังเกิดสันติสุข
    [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]**************************[/FONT]​
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    วงจรกระแสจิต
    [​IMG]
    1. เมื่อบุคคลประสบกับรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ได้สูดดม รสที่ได้ลิ้ม สัมผัสทางกาย กระแสจะเข้าสู่จิต

    2. ถ้าอารมณ์ทั้งหล่าย ไม่ได้ถูกกำหนดหยั่งรู้ที่จิต ก็จะถูกส่งไปเก็บที่สมอง(ที่เก็บอารมณ์ในอดีต) และจะส่งลงมาที่จิตอีกครั้ง หมุนเวียนอย่างนี้ เรียกว่าวัฏฏะ คือ การหมุนเวียนของอารมณ์

    3. เมื่ออารมณ์ถูกเก็บหมักหมมมากเข้า อารมณ์หมักดอง(อาสวะ) ก็จะกลายเป็นเครื่องผูกรัดมัดจิต(สังโยชน์) ทำให้จิตหลุดพ้นไปไม่ได้

    4. เราต้องกำหนดที่จิต อยู่ระหว่างกลางทรวงอกบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งเป็นจุดรวมของอารมณ์ทั้งหมด เห็นความเกิด-ดับไปทุกขณะจิต ชื่อว่า เจริญสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด

    5. เมื่อกำหนดที่จิตแล้ว ญาณจะเข้าไปฟอกจิต กระแสจะทะลุไปข้างหลัง ผ่านขึ้นไปฟอกที่สมองเล็ก ซึ่งอยู่บริเวณท้ายทอย และจะเข้าไปฟอกที่สมองใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จากนั้น ญาณจะขับกระแสออกมาระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นทางออกของกระแสวิญญาณ เรียกว่า มโนทวาร

    6. เมื่อดูไปเนืองๆ ก็เริ่มเบื่อหน่าย คลายความติดใจในสิ่งทั้งหลาย ที่สุดจิตก็หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD class=menu>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วัตถุประสงค์ของอนุตตรธรรม
    ทุก
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ต่างก็มีเหตุผลอยู่ในตัวของมันเองทั้งสิ้น สรรพสิ่งทั้งหลายและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นบนโลกนี้ ล้วนมี "พลังธรรมชาติ" ที่ไม่สามารถมองเห็น ซึ่งนำไปสู่วิถีทางที่ต้องดำเนินไปเช่นนั่นเองอย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลง พลังธรรมชาติอันเป็น "วิถี" หรือ "เส้นทาง" นี้ในภาษาจีนกลางเรียนว่า "เต้า" "เต้า" หรือ "วิถีทาง" คือความเป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติที่ต้องดำเนินไป และไม่มีผู้ใดจะเปลี่ยนแปลงได้

    คำว่า "เต้า" เทียบเคียงกับภาษาไทยคือ "สัจจธรรม" สัจจธรรมคือพลังอำนาจผู้ก่อเกิดและควบคุมสรรพสิ่งในจักรวาล ยกตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ต่างๆ มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระเบียบ หลักและกฎเกณฑ์การเคลื่อนที่ของเทหวัตถุในจักรวาลเราเรียกว่า "ดาราศาสตร์" การเกิดขึ้นของแผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ก็มีหลักและกฎเกณฑ์เฉพาะตัว ซึ่งเราเรียกว่า "ภูมิศาสตร์"

    ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์แขนงใดในโลก ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกซ์ และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นหลักกฎเกณฑ์ที่ "สัจจธรรม" กำหนดไว้ให้กับธรรมชาติทั้งสิ้นโดยมีมนุษย์เป็นผู้ค้นพบ

    สำหรับหลักสัจจธรรมที่ครอบคลุมอยู่ในตัวมนุษย์ก็คือ "จิตวิญญาณ"

    "จิตวิญญาณ" หรือ "จิตวิญญาณ" เป็นตัวตนที่แท้จริงสถิตอยู่ในร่างกายของคนเรา

    "จิตญาณ" เป็นผู้ควบคุมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย จิตญาณที่อยู่ภายในเป็นจุดศูนย์รวมของความรู้สึกนึกคิด ทั้งปวง "จิตญาณ" คือตัวจริงแท้ในตัวมนุษย์ทุกคน ไม่สามารถมองเห็น ไม่มีวันตาย ไม่สามารถสร้างขึ้นหรือถูกทำลายลงไปได้

    "จิตญาณ" ในตัวมนุษย์เหมือนกันหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนเชื้อชาติใด วรรณะใด ภาษาใด จิตญาณเดิมของทุกคนล้วนมีแต่ความดีงาม ความเมตตาที่สมบูรณ์พร้อมโดยธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในสภาพการณ์ที่มนุษย์ถูกยั่วยุให้เลือกที่จะสนองความอยาก ความสุขสำราญ ทางวัตถุมากกว่าที่จะพัฒนาจิตญาณของตนมรบัดนี้มนุษย์ในโลกปัจจุบันได้ละทิ้ง การพัฒนาจิตญาณของตนแล้วหันไปต่อสู้ดิ้นรนแข่งขันกัน เพื่อให้ได้ความสุขสบายและสนองความอยากที่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว เพื่อให้สมความอยากของตนบางครั้งถึงกับหลอกลวงตัวเอง มอมเมาจิตใจให้หลงใหลวิปลาสไปต่างๆ นานา

    ด้วยเหตุนี้ อาชญากรรมความรุนแรงการกระทำที่ชั่วร้ายมากมายหลายอย่างจึงเกิดขึ้นในโลกทุกวันนี้

    เนื่องจากจิตใจของผู้คนขณะนี้ตกต่ำจนถึงขีดสุด เบื้องบนจึงได้โปรดเมตตาประทานให้ "วิถีอนุตตระรรมอันสูงส่ง" เผยแพร่แก่สาธุชนทุกมุมโลกผู้ซึ่งสำนึกได้และยินดีแก้ไขในความผิดบาปทั้งหลายของตน หากมิใช่เป็นด้วยบุญสัมพันธ์ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประกอบกับบุญกุศลของบรรพบุรุษและของตัวเองที่ได้สร้างสมเอาไว้ เราจะไม่มีโอกาสรับรู้ "วิถีธรรม" ที่อุบัติขึ้นในเวลานี้ได้เลย

    หลังจากที่ได้รับถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม" แล้ว เราจะต้องตั้งใจศึกษาให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ "วิถีธรรม" นี้

    วัตถุประสงค์ของ "อนุตตรธรรม" มีดังนี้ :

    1. เคารพฟ้าดิน
    2. สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และนักบุญทั้งหลาย
    3. จรรโลกคุณวิเศษในพระธรรมคำสอนของศาสนาทั้ง 5
    4. กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
    5. เคารพเทิดทูนสำนึกในพระคุณของครูอาจารย์
    6. จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตน
    7. เชิดชูรักษาศิลปะวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ดีงามของชาติ
    8. เชื่อถือและปฏิบัติตามหลักจริยะธรรมโบราณประเพณีอันดีงาม
    9. ปฏิบัติตนตามหลักคุณสัมพันธ์ 5 และคุณธรรม 8
    10. ยึดถือความสัตย์จริงใจต่อมิตร
    11. มีอัธยาศัยไมตรีต่อเพื่อนบ้านทุกคน
    12. ละทิ้งความชั่วทั้งปวง สร้างแต่คุณความดี
    13. ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ขจัดความอยากความนึกคิดที่ไม่ดีออกไปจากใจ
    14. อาศัยสังขารร่างกายตัวปลอมบำเพ็ญให้บพตัวตนที่แท้จริงภายใน
    15. ฟื้นฟู "ดวงจิตธรรมญาณเดิม" ในตัวเองให้ปรากฏออกมา
    16. พัฒนา "วิจารณญาณ และ สัญชาตญาณ" ให้ดีเลิศ
    17. ส่งเสริมผู้อื่นให้ดีพร้อม เช่นเดียวกับส่งเสริมตัวเอง
    18. ฉุดช่วยผู้อื่นให้สามารถบรรลุธรรมเช่นเดียวกับฉุดช่วยตนเอง
    19. ขจัดความเลวร้ายและบาปเวร ช่วยแปรเปลี่ยนจิตใจผู้คนให้ดีงาม
    20. พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดสันติภาพและความสุขขึ้นบนโลก
    21. มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้เป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ"

    1. เคารพฟ้าดิน
    คนที่อยู่ในโลกนี้มี "ฟ้า" อยู่เบื้องบน มีแผ่น "ดิน" อยู่เบื้องล่าง ดังมีคำกล่าวว่า "คนเกิดจากฟ้า ถูกฝังด้วยดิน"
    คนเราไม่รับสิ่งต่างๆ มากมายซึ่งธรรมชาติเมตตาประทานให้ใช้ในการดำรงชีวิตอยู่คืออากาศ น้ำ แสงแดด ฝน ผลไม้พืชพันธุ์ธัญญาหาร ฯลฯ ฟ้าดินเกื้อกูลดูแลเรา เป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ ฟ้าดินให้เราทุกอย่างโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้โดยปราศจากข้อแม้ใด ฟ้าดินให้โดยไม่ต้องพูด ลองคิดดูเถิดว่า หากปราศจากสิ่งที่อยู่รอบกายตามธรรมชาติ เราจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? เงินทองทรัพย์สมบัติความมั่งคั่งร่ำรวยชื่อเสียงเกียรติยศจะมีความหมายอะไรอีกและมีประโยชน์อะไร? ถ้าหากเราปราศจาก "ชีวิต"

    หากธรรมชาติไม่มอบทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวให้แก่เรา สิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมทั้งคน ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้

    "ฟ้าเป็นผู้ให้กำเนิด ดินเป็นผู้เลี้ยงดู"

    ด้วยความเมตตากรุณาดุจบิดามารดาที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้รับ เราจึงเป็นหนี้บุญคุณต่อฟ้าดิน สมควรมีมนุษย์ทุกคนจะต้องเคารพฟ้าดิน ด้วยความสำนึกในพระคุณอันใหญ่หลวง

    2. สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์และนักบุญทั้งหลาย
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพ พรหม และท่านผู้บรรลุธรรมทุกพระองค์ล้วนแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ นำความสันติสุขและความสามัคคีสมานฉันท์มาสู่ชาวโลก ด้วยความเอื้ออาทรห่วงใยว่า เมื่อท่านจากโลกนี้ไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลาย จะไม่มีโอาสรับรู้ "วิถีธรรมอันสูงสุด" นี้ ท่านจึงได้ฝากพระธรรมคำสอนอันแฝงด้วยปริศนาแห่ง "สัจจธรรม" จารึกไว้ในคัมภีร์และพระสูตรต่างๆ

    พระธรรมคัมภีร์ พระไตรปิฏก ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าในศาสนาทั้งหลาย ถูกรักษาสืบทอดต่อมา ด้วยความหวังว่าคนรุ่นหลังจะได้อาศัยเป็นแนวทางและแสวงหา "สัจจธรรมที่แท้จริง" ได้ในที่สุด

    มหาบุรุษทุกพระองค์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเยซูคริสต์ ท่านเหลาจื้อ ฯลฯ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่านได้สร้างคุณความดีอย่างมากมาย พระองค์เสด็จจาริกจากเมืองหนึ่งไปสู่อีกเมืองหนึ่งเพื่อเทศนาสั่งสอนถึงเรื่อง "สัจจธรรมของชีวิต" และฉุดช่วยเวไนยสัตว์

    ปณิธาน อันแรงกล้าของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ก็คือ ทำให้โลกนี้บังเกิดสันติสุข ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างรักใคร่กลมเกลียว ไม่มีความโลภ ความโกรธ ในท่ามกลางผู้คน แม้ว่าพระผู้สำเร็จธรรมเหล่านั้นจะมีแต่จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม กล่าวแต่คำสอนที่ดีงาม ก็ยังมิวายที่จะได้รับการเยาะเย้ยถากถาง กล่าวร้ายป้ายสีจากผู้คน ในบางครั้งถึงกับมุ่งทำลายเอาชีวิตของท่านก็มีไม่ว่าจะพบแต่อุปสรรคขวางกั้น อย่างไรก็ตามท่านเหล่านั้นก็มีเคยย้อท้อ ไม่ทรงหยุดยั้งที่จะปฏิบัติภาระกิจในการประกาศสัจจธรรมจนกว่าจะบรรลุปฏิธาน ที่ตั้งไว้แล้วทุกพระองค์

    จากที่กล่าวมาแล้ว เราทุกคนจึงควรเทิดทูนบูชาและเจริญรอยตามพระบาทของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์สืบไป

    3. จรรโลงคุณวิเศษในพระธรรมคำสอนของศาสนาทั้ง 5
    ศาสนาใหญ่ทั้ง 5 อันได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม เต๋า ขงจื้อ คำสั่งสอนของทั้ง 5 ศาสนานี้สอดคล้องและมีเป้าหมายที่คล้ายคลึงกัน คือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]1. ศาสนาพุทธ - สั่งสอนหลักเมตตาธรรม
    2. คริสต์ - สั่งสอนหลักอหิงสา ให้รักเพื่อนมนุษย์ทุกคน
    3. อิสลาม - สั่งสอนหลักภราดรภาพ อยู่ร่วมกันในโลกนี้เหมือนครอบครัวเดียวกัน
    4. เต๋า - สั่งสอนให้ใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติ
    5. ขงจื้อ - สั่งสอนให้มีน้ำใจโอบอ้อมอารีละทิ้งความเห็นแก่ตัว

    พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า "สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นดั่งความฝัน ประดุจภาพมายา เหมือนฟองน้ำและพยับแดด ดังนั้นท่านทั้งหลายไม่ควรยึดติดอยู่กับมัน"

    พระเยซูคริสต์ได้ทรงตรัสว่า "...ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูและอวยพรแก่ผู้ที่แช่งว่าท่านจงทำคุณแก่ผู้ที่เกลียดชังท่าน และจงอวยพรแก่ผู้ที่ประทุษร้ายเคี่ยวเข็ญท่าน...."

    ในพระคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า" ...จงสนใจในเวลา แท้จริงมนุษย์อยู่ในการขาดทุนเว้นแต่บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบการดีทั้งหลาย ผู้ตักเตือนกันและกันในสัจจธรรม ผู้ตักเตือนกันและกันในขันติธรรม...."

    ท่านเหลาจื้อกล่าวว่า "สัจจธรรม (เต้า) ที่
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สามารถนำมาเล่าขานได้นั้น ยังไม่ใช่สัจจธรรมซึ่งเป็นอมตะ[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]

    สิ่งที่มีการเรียกขานนามได้ยังไม่ใช่นามอมตะ
    ไร้นาม นั่นเป็นรากฐานแห่งฟ้าและดิน
    การเกิดมีนามขึ้น จึงเป็นมารดาของสรรพสิ่ง"


    ท่านขงจื้อกล่าวว่า "ความเมตตากรุณา คือ องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์"

    จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราคงล่วงรู้ถึงเจตนาของผู้ที่สำเร็จธรรมไปแล้วที่รักษาคำสอนของพระศาสดา ทั้งหลายสืบทอดต่อกันมา ก็เพื่อให้มนุษย์ทั้งหลายหวนกลับสู่ "บ้านเดิม" คือแดนนิพพาน โดยการได้รับ "วิถีอนุตตรธรรม" และบำเพ็ญความดี ดำเนินชีวิตตามหลักแห่งศีลธรรมจรรยา

    ฉะนั้น พระธรรมคำสอนของพระศาสดาทุกพระองค์ที่ทรงมุ่งหวังให้เราได้ค้นพบสัจจธรรมที่แท้จริง จึงเป็นเสมือนดวงประทีปส่องสว่างนำทางแก่ผู้คนที่กำลังแสวงหา "ทางหลุดพ้น"

    4. กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
    ความกตัญญูไม่ใช่เป็นความรู้สึกที่จะต้องไปเรียน ความกตัญญูเป็นสัญชาติญาณที่ฝังติดอยู่ในจิตญาณของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิด เด็กเล็กๆ หากถูกทำโทษโดยพ่อแม่ แม่ยิ่งตีลูกจะยิ่งกอดไว้แน่นทั้งๆ ที่ใบหน้านองไปดวงน้ำตา ปากก็พร่ำร้องขอเป็นผู้เป็นแม่อภัยให้เป็นธรรมชาติอยู่เองของลูกๆ จะรู้สึกปวดร้าวและเศร้าใจ เมื่อเห็นคุณพ่อคุณแม่เจ็บป่วยหรือมีความทุกข์

    เพื่อลูกพ่อแม่ยินดีทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำอย่างไม่รู้จักคำว่า "เหน็ดเหนื่อย" หาเงินมาเลี้ยงดูเราให้เจริญเติบโต

    ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมั่นคงดั่งภูเขากว้างกว่าแผ่นฟ้าลึกกว่ามหาสมุทรประเสริฐล้ำค่าสุดจะนำมาพรรณา

    มนุษย์จะต้องไม่หลงลืมและมองข้ามความเมตตาอันยิ่งใหญ่ของท่านทั้งสอง มันเป็นเรื่องโดยธรรมชาติและเป็นความถูกต้องที่เราดูแลพ่อแม่ยามที่ท่านชรา เป็นเรื่องน่าอดสูใจยิ่งนักสำหรับคนที่สรรหาข้ออ้างที่เห็นแก่ตัวมาใช้หลบ เลี่ยงหน้าที่ของลูกซึ่งต้องปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่ของตนอย่างไม่รู้สึกอะไร ถ้าเราทำเช่นนี้ก็จะเป็นเหมือนดังคำที่กล่าวว่า

    "คน" ที่ไม่รู้จักบุญคุณ ไม่ใช่ "คน"

    แม้กระทั่งอีกยังรู้จักคาบอาหารมาป้อนให้แก่พ่อแม่ที่ชรา
    แม้แต่ลูกแพะยังรู้จักคุกเข่าลงเพื่อขอดื่มนมจากแม่

    ช่าน่าอับอายอย่างยิ่งสำหรับคนที่ละเลยหน้าที่ของ "ความเป็นคน"

    การกตัญญูไม่ใช่เพียงแต่หยิบยื่น เงินทอง เสื้อผ้า อาหาร และของที่จำเป็นในชีวิตแก่ท่านเท่านั้น นอกเหนือจากวัตถุสิ่งของที่อำนวยความสะดวกสบายเหล่านี้ เราต้องนอบน้อมเคารพรักท่านอย่างสุดหัวใจ ลูกๆ ที่ปราศจากความรักจากใจอันสำนึกรู้คุณ มันคงไม่แตกต่างอะไรกับที่เขาเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เจ้านายที่ดียังมอบความรักความอบอุ่น ทะนุถนอมสัตว์เลี้ยงของตนแล้วพ่อแม่ผู้มีพระคุณท่วมท้นของเราละได้รับการดูแลในสถานใด?

    ความกตัญญูกตเวทีเป็นบันไดก้าวไปสู่ความดีทั้งหลายทั้งปวง ลูกหลานที่กตัญญูย่อมเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย ดังเช่น พระจักรพรรดิ์ซุนผู้มีความกตัญญู พระองค์ถูกพระบิดาพระมารดาและพี่น้องพากันเกลียดชังถึงกับจะปลงพระชนม์ แต่ก็หาได้โกรธแค้นไม่ จนกระทั่งพระจักรพรรดิ์เหย่าได้ยินคำร่ำรือถึงความกตัญญูอันเยี่ยมยอดของท่าน พระองค์จึงยกพระราชธิดาและมอบราชบัลลังก์ให้แก่ท่านโดยไม่ลังเลใจแม้แต่น้อย

    5. เคารพเทิดทูน สำนึกในพระคุณของครูอาจารย์
    ในสมัยก่อนจัดแบ่งครูอาจารย์ไว้เป็น 3 ประเภทดังนี้ :
    ก. ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เช่น ศิลปะช่างฝีมือ แพทย์ การครัว ฯลฯ
    ข. ครูอาจารย์ผู้ที่สามารถตอบข้อข้องใจลูกศิษย์ และช่วยสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตของลูกศิษย์
    ค. ครูผู้เป็น "พระวิสุทธิอาจารย์" ซึ่งสามารถถ่ายทอดสัจจธรรมที่สูงสุดในจักรวาล (อนุตตรธรรม) ให้แก่ศิษย์

    ในการดำเนินชีวิต เราได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูอาจารย์มากมายหลายท่านให้รู้จักทำมาหากินและ วิธีที่จะอยู่รอดในสังคม

    ครูคนแรกในชีวิตของเราคือ พ่อแม่ ผู้ซึ่งสั่งสอนให้เรา กิน เดิน พูด เขียนและเรียกชื่อตัวเองก่อนครูคนอื่นใดทั้งหมด ฉะนั้นนอกจากความกตัญญูที่ลูกต้องมีต่อพ่อแม่แล้ว ลูกๆ ทุกคนต้องเคารพเทิดทูนบูชาท่านทั้งสองในฐานะ "ครูอาจารย์คนแรก" ในชีวิตด้วย

    ต่อมาเมื่อเราเติบโตก้าวเข้าสู่สังคม ตั้งแต่วัยเด็กขึ้นมาเราก็ได้รับการอบรมสั่งสองศิลปะวิชาความรู้ในแขนงต่างๆ จากครูอาจารย์หลายท่านจนกระทั่งสามารถสร้างชีวิตและฐานะในสังคมให้มั่นคง ประกอบภาระกิจหน้าที่อันเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมต่อไป เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายต้องระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ทุกท่านในชีวิต ด้วยความเทิดทูนเคารพนับถืออย่างมีอาจลืมเลือน
    ดังมีคำกล่าวว่า "เป็นครูอาจารย์เพียงวันเดียวมีพระคุณชั่วชีวิต"

    ครูอาจารย์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นผู้ช่วยให้เราไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า แต่หลังจากชีวิตนี้แล้วเราจะไปไหน? อะไรจะเกิดขึ้นกับเรา? จะมี "อาจารย์" ท่านใดนำทางให้แก่เราล่ะ?

    มาวันนี้เราทั้งหลายผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอด "วิถีธรรม" แล้ว ก็สามารถรู้ทางไปของชีวิตในโลกหน้าว่า ถ้าเราบำเพ็ญธรรมด้วยความตั้งใจจริงในเวลานี้ ต่อไปเราก็จะสามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารไม่ต้องเวียนเว่ายตายเกิด ได้พบกับความสงบสุขและชีวิตนิรันดร มีใครคิดบ้างว่าทำไมเราจึงสามารถรับ "วิถีธรรม" ในเวลานี้

    ในสมัยโบราณ ผู้ที่แสวงหาสัจจธรรมของชีวิตจะต้องเดินทางไปไกลแสนไกลเพื่อค้นหาพระวิสุทธิ อาจารย์ผู้ที่สามารถถ่ายทอดสัจจธรรมเที่ยงแท้ให้แก่เขาได้ ท่านขงจื้อเองก็ได้คาระท่านเหลาจื้อเพื่อถามหา "สัจจธรรม" ท่านเสินกวงก็ได้ติดตามพระบรมครูโพธิธรรมเพื่อขอรับรู้ "สัจจธรรม"
    ดังมีคำกล่าวไว้ว่า "ท่านไม่สามารถจะเป็น "ผู้รู้" ได้หากยังไม่ได้พบ "พระวิสุทธิอาจารย์"

    มาบัดนี้ เราทั้งหลายได้เสาะหาพระวิสุทธิอาจารย์จนพบแล้วว่า "พระอรหันต์จี้กงและพระโพธิสัตว์จันทรปัญญาคือพระวิสุทธิอาจารย์แห่งธรรมกาลสุดท้ายนี้"

    เวลานี้เราทั้งหลายอยู่ในช่วงเวลาใกล้ค่ำของชีวิตกันแล้ว ยุคแห่งเคราะห์กรรมและมหันตภัยอันเนื่องมาจากความชั่วร้ายที่มนุษยืได้สะสม ไว้กำลังส่งผลมาถึง และเพื่อคัดแยกความดีและความชั่วออกจากกัน ตามที่พระอาจารย์มีดำรัสไว้ว่า "บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่หินและหยกต้องแยกจากกัน"

    เพราะเหตุนี้เอง "วิถีอนุตตรธรรม" อันล้ำค่าจึงถูกถ่ายทอดลงสู่ครัวเรือน พระวิสุทธิอาจารย์ของเราได้เข้ามาแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ในการเผยแพร่ "อนุตตรธรรม" ในยุคสุดท้ายนี้

    ในการเผยแพร่อนุตตรธรรมพระวิสุทธิอาจารย์ทั้งสองพระองค์ ต้องผ่านความทุกข์ยากลำบากตรากตรำมากมายนับประการ เพื่อให้ชาวโลกทั้งหลายมีโอาสได้รับการถ่ายทอดวิถีธรรมอันเป็นสัจจธรรมที่จะนำเราเข้าสู่หนทางแห่ง "นิพพาน" สามารถหนีออกจากวงเวียนแห่งการเกิดตาย ไปสู่ชีวิตที่สงบสุขชั่วนิรันดร

    หากแม้นมิใช่ด้วยพระบารมีธรรมของพระวิสุทธิอาจารย์บุกเบิกนำทางลงมา จะมีใครบ้างได้พบ "วิถีอนุตตรธรรม" นี้

    เราทั้งหลายเป็นหนี้ในพระมหาเมตตาบารมีของพระวิสุทธิอาจารย์ ที่ช่วยให้เราได้รับรู้ "วิถีธรรม" อันล้ำค่า ดังนั้นเราจึงต้องเคารพเทิดทูนสำนึกในพระคุณของพระองค์ท่านตลอดไป

    6.จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตน
    การจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองของตน เป็นหน้าที่อันชอบธรรมมีคำกล่าวว่า "หากสิ้นชาติแล้ว บ้านของเราจะอยู่ที่ไหน?"

    ประเทศชาติประกอบขึ้นด้วย แผ่นดิน ประชาชน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเทศและวิถีชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง ชาติเป็นที่ตั้งของมหาชนที่รวมกันเป็นหนึ่งเพื่ออยู่ร่วมกัน ช่วยเหลืออนุเคราะห์ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทุกคนต้องทะนุบำรุงปกป้องคุ้มครองชาติบ้านเมืองของตนให้อยู่อย่างรมเย็นเป็น สุข

    หากผู้คนในบ้านใดเมืองใดไม่ใส่ใจในหน้าที่ปล่อยให้คนชั่วร้ายไร้คุณธรรมเข้าปกครองรุกรานย่ำยี เมื่อนั้นเรายังจะมีบ้านที่ให้ความสุขและความอบอุ่นอยู่อีกหรือ?

    การซื่อตรงต่อหน้าที่ของตน คือรู้จักรับผิดชอบในภาระที่มีต่อตัวเองและต่อผู้คนในสังคมกล่าวได้ว่าความ รับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าคนเราขาดความรับผิดชอบเสียแล้ว ย่อมจะไม่สามารถประสบความสำเร็จไว้ว่าจะเป็นเรื่องอะไรในชีวิต

    การมีความรับผิดชอบคือ คุณธรรมสำคัญของมนุษย์ ผู้ที่มีความรับผิดชอบเมื่อได้รับมอบหมายภาระกิจการงานใด ก็จะควบคุมตรวจตรานับตั้งแต่เริ่มต้นจนกว่าจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คนที่มีสำนึกในการรับผิดชอบ จะไม่ยอมปล่อยให้งานที่ได้รับมอบปมายสะดุดหยุดลงครึ่งๆ กลางๆ

    ถ้าแต่ละคน ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่เคารพในหน้าที่ ไม่ดูแลภาระกิจการงานให้ลุล่วง ไม่เอาใจใส่ถือว่าไม่ใช่ธุระของตน หากในครอบครัวเรามีแต่คนเป็นอย่างนี้ บ้านจะเป็นอย่างไร? เมืองจะเป็นอย่างไร? มันน่ากลัวเหลือเกินที่จะคิดว่าแล้วโลกนี้จะเป็นอย่างไร? ฉะนั้น" ประเทศชาติจะได้ดีทุกครอบครัวต้องมีวินัย"

    7. เชิดชูรักษาศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามของชาติ
    ใน "วิถีอนุตตรธรรม" เรารักษาศิลปะวิชา และศึกษาปฏิบัติตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ที่บรรดานักปราชญ์และบรรพชนได้ฝากไว้ในแผ่นดิน เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่เราแล้วว่า ผู้ที่ก้าวไปสู่การเป็น "มหาบุรุษ" ต้องมีรากฐานแห่งศีลธรรม ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในขนบธรรมเนียมอันดีงามของชาติ

    ชาติบ้านเมืองใดมีผู้คนที่รู้ถึงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมในชาติของตน ชาติบ้านเมืองนั้น ก็จะเป็นแหล่งที่ให้กำเนิดมหาบุรุษและนักปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลาย

    ขอให้เราปฏิบัติตนโดยเอาเยี่ยงอย่างคุณธรรมความดีที่บรรดามหาบุรุษทั้งหลายได้ กระทำไว้แล้วเป็นตัวอย่าง เพื่อจะช่วยนำพาตัวเราไปสู่ความเป็น "คนเหนือคน"

    8. เชื่อฟังและปฏิบัติตามหลักจริยะธรรมโบราณประเพณีอันดีงาม
    ถึงแม้ว่าเรากำลังอยู่ในโลกวิทยาศาสตร์อันทันสมัยแวดล้อมด้วยเคนโนโลยีที่สูง แต่คุณความดีในจิตใจและหลักจริยธรรมอันล้ำค่าของมนุษย์กลับเสื่อมโทรมลง ในทุกส่วนของโลกเกิดสงครามที่อำมหิตเหี้ยมโหด ในบ้านเมือง มีการ ปล้น ฆ่า ข่มขืน ไม่มีความปราณีเหลืออยู่ในระหว่างผู้คนความเลวร้ายมีแม้กระทั่งเข่นฆ่ากันเองในครอบครัว ช่างน่าเอน็จอนาถใจเสียจริงๆ

    ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะ คนไม่ยอมยึดถือหลักศีลธรรมเหยียบย่ำคุณความดีเสียแล้ว สิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการอยู่ในเวลานี้ก็คือ สนองความอยากที่เห็นแก่ตัวเพียงอย่างเดียว

    ดังนั้น "วิถีอนุตตรธรรม" จึงชี้นำให้ผู้บำเพ็ญต้องช่วยกันรื้อฟื้นหลักจริยธรรม ศีลธรรมและประเพณี อันดีงามแต่โบราณ ขึ้นมาปฏิบัติกันหใหม่เพื่อให้ ครอบครัว สังคม และโลกนี้สงบสุขน่าอยู่กว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

    หลักจริยธรรมอันดีงามตั้งแต่โบราณก็คือ ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ประการ และคุณธรรมสามัญของมนุษย์ 5 ประการ

    ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ได้แก่
    1. กษัตริย์เอาใจใส่ขุนนางผู้ชื่อสัตย์
    2. บิดามารดาเมตตาลูก ลูกรู้จักกตัญญูบิดามารดา
    3. สามีภรรยารักใคร่กัน

    คุณธรรมสามัญของมนุษย์ 5 ประการ (เบญจธรรม) ได้แก่
    1. ความมีเมตตากรุณาจิต คือ อยากให้ทุกชีวิรมีความสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    2. มีมโนธรรมสำนึก คือ ไม่ทำความเดือดร้อนเบียดเบียนผู้อื่น สิ่งใด แม้ตัวเราไม่ชอบก็ต้องไม่หยิบยื่นให้ผู้อื่น
    3. มีจริยธรรม คือ สำรวม กาย วาจา ใจอยู่ในความถูกต้องดีงาม
    4. มีความซื่อสัตย์ คือ เคารพจริงใจต่อ ฟ้าดิน ต่อตนเองและต่อคนทั้งหลาย
    5. มีปัญญาในธรรม คือ ปัญญาความรู้ที่สามารถพาตัวเองให้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด

    ท่านเม่งจื้อกล่าวว่า "จงอย่าทำสิ่งที่ความรู้สึกของตนบอกไม่ควรทำ จงอย่าปรารถนา ในสิ่งที่ความรู้สึกของตนเองบอกไม่ควรปรารถนา เรื่องมนุษยธรรมก็มีเพียงเท่านี้"

    9. ปฏิบัติตนตามหลักคุณสัมพันธ์ 5 และคุณธรรม 8
    ท่านขงจื้อกล่าวว่า "คนเรามีดีมาแต่กำเนิด" ทั้งนี้เพราะจิตของคนทุกคนประกอบด้วยสัญชาตญาณแห่งความดีมีศีลธรรมเป็นทุน เดิมอยู่แล้ว แต่ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ต่างดิ้นรนแข่งขั้นกันเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ทุกคนมุ่งไปที่ความมั่งคั่งร่ำรวย โลกนี้ยิ่งมีแต่ความคร่ำเคร่งตึงเครียดมากขึ้นเท่าใด ผู้คนก็จะยิ่งสูญเสียความมีมนุษยสัมพันธ์และสัญชาติญาณลงไปเท่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ "อนุตตรธรรม" จึงอุบัติขึ้นเพื่อฟื้นฟูสัญชาติญาณแห่งความดีที่มีอยู่ในตัวทุกคน ผู้บำเพ็ญในอนุตตรธรรมพึงปฏิบัติตามหลักจริยธรรมต่อไปนี้ คือ

    คุณสัมพันธ์ 5 อันได้แก่
    1. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก ได้แก่ พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความเมตตา ลูกมีความกตัญญูต่อพ่อแม่
    2. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา ได้แก่ สามีอนุเคราะห์ให้เกียรติต่อภรรยา ภรรยาเคารพและซื่อสัตย์ต่อสามี
    3. ความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้อง ได้แก่ พี่รักใคร่ดูแลน้อง น้องเคารพเชื่อฟังพี่ต่างสามัคคีปรองดองกัน
    4. ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่อเพื่อน ได้แก่ เพื่อนต่างต้องมีความจริงใจมีสัจจะต่อกัน
    5. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยหรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดินทะนุบำรุงดูแลไพร่ฟ้า ราษฎรจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน หรือ เจ้านายต่อลูกจ้าง ได้แก่ นายจ้างให้ความเมตตาช่วยเหลืออนุเคราะห์เกื้อกูลลูกจ้าง ลูกจ้างตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เคารพ ซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง

    คุณธรรม 8ได้แก่
    1. กตัญญูกตเวที
    2. สามัคคีปรองดอง
    3. จงรักภักดี
    4. มีสัจจวาจา
    5. มีจริยธรรม
    6. ซื่อสัตย์
    7. บริสุทธิทั้งกาย วาจา ใจ
    8. ละอายและเกรงกลัวต่อบาป

    10. ยึดถือความสัตย์จริงใจต่อมิตร
    ความไว้ใจเป็นคุณความดีที่สำคัญ คนเราเชื่อว่ "สิ่งใดที่พูดไปแล้ว ย่อมมีการกระทำเป็นพยาน" ในภาษาจีน คำว่า "ไว้วางใจ" ประกอบด้วยคำว่า "คน" และ "คำพูด" เมื่อเขียนรวมกันเป็นคำว่า "ไว้ใจ" จึงหมายความถึง คำพูดที่กล่าวโดย "คน"

    เป็นธรรมดาที่ผู้คนทั้งหลายย่อมชื่นชมและให้ความเคารพต่อบุคคลที่เขาไว้วางใจ ความซื่อสัตย์และไว้วางใจระหว่างเพื่อนนำมาซึ่งความสนิทสนมสามารถ เปิดเผยความคิดเห้นส่วนตัว ไม่มีความลับต่อกันสามารถแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันอย่างเข้าอกเข้าใจ

    คนที่มีแต่ความหวาดระแวงผู้อื่น ยากที่จะพบเพื่อนที่จริงใจ
    คนที่คบกันโดยไม่มีความไว้วางใจ ไม่เรียกว่า "เพื่อน"

    อย่างไรก็ตามเราต้องรู้จักแยกแยะให้ได้ระหว่าง "ไว้ใจ อย่างมีปัญญา" กับ "ตาบอดไว้ใจ"

    ท่านเม่งจื้อได้กล่าวว่ "กัลยาณชนย่อมไม่จ้องจับผิดคำพูด ไม่เฝ้าติดตามดูการกระทำของเพื่อน เขาจะสนใจแต่สิ่งที่ถูกต้องในตัวของเพื่อนเท่านั้น"

    11. มีอัธยาศัยต่อเพื่อนบ้านทุกคน
    เป็นสิ่งที่วิเศษเหลือเกินที่เราจะได้อยู่ร่วมกัน เพื่อนบ้านรอบข้างด้วยความมีน้ำใจ ผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีย่อมเป็นมิตรกับทุกคนที่ใกล้ชิด และจะได้รับการตอนรับด้วยดีเสมอ

    มีคำกล่าวว่า "ญาติพี่น้องที่ห่างไกล เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ไม่ได้" ทั้งนี้เพราะ ในยามเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินมีแต่เพื่อนบ้านเท่านั้นที่จะให้ความช่วยเหลือกันได้ทันเวลา

    12. ละทิ้งความชั่วทั้งปวง สร้างแต่คุณความดี

    เมื่อเราได้รับวิถีธรรมแล้วจึงรู้ว่า "ธรรมชาติดั้งเดิมที่แท้จริงในตัวมนุษย์คือความดี"
    ผู้ที่ศึกษาให้ลึกซื้อก็จะพบว่า คนเราจะต้องขจัดนิสัยที่ไม่ดีออกไปด้วยการหมั่นฝึกฝนตนเอง ทำได้เช่นนี้แล้วย่อมจะนำเราไปสู่ "ทางแห่งการบรรลุธรรม"

    13. ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ขจัดความอยากความนึกคิดที่ไม่ดีออกไปจากใจ
    ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยวนในโลกทุกวันนี้ ความรู้สึกนึกคิดของคนเราถูกชักนำไปในทางที่ชั่วได้ง่ายตามความอยากที่เห็น แก่ตัว สำหรับคนที่ไม่มีความเข้มแข็งเขาก็จะแสวงหาสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีการที่ ผิดๆ วิถีธรรมถ่ายทอดสู่ดลกมนุษย์ก็เพื่อดึงเอา "จิตที่เมตตา" ในตัวเราออกมาใช้

    ในระหว่างขั้นตอนการบำเพ็ญอนุตตรธรรม เราต้องพยายามรักษาความดีงามและเรียนให้มากถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่

    การบำเพ็ญธรรมอย่างต่อเนื่องจะค่อยๆ ขจัดความนึกคิดและความอยากที่ไม่ดีออกไปจนในที่สุดเราจะสามารถมีจิตใจที่สงบ สะอาดและบริสุทธิ์

    14. อาศัยสังขารร่างกาย ไตัวปลอม" บำเพ็ญให้พบ "ตัวตนที่แท้จริง" ภายใน
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาสั่งสอนไว้ว่า " สรรพสิ่งทั้งหลายที่เห็นได้ด้วยตาได้ยินด้วยหูสัมผัสได้ด้วยกายเป็นของปลอม แม้แต่สังขารร่างกายของเราก็หาได้จีรังยั่งยืนถาวรไม่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วน เกิดขึ้น ดำรงอยู่ แล้วก็แตกสลายไป"
    พระองค์ทรงอธิบายว่า ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    ธาตุดิน หมายถึง เนื้อหนัง กระดูก เอ็น เล็บ ผม และของข้นแข็งทั้งหลาย
    ธาตุน้ำ หมายถึง ของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง ไขมัน ฯลฯ
    ธาตุลม หมายถึง ลมหายใจเข้าออก
    ธาตุไฟ หมายถึง อุณหภูมิความร้อนความอบอุ่นในร่างกาย

    แต่ถึงกระนั้นเราย่อมไม่สามารถบำเพ็ญธรรมไปได้เลยหากปราศจากสังขารร่างกาย ตัวปลอมนี้เพราะฉะนั้นอาศัยร่างกายนี้เราจึงสามารถทำความดี สร้างบุญกุศล ชำระหนี้กรรม แม้จะต้องผจญต่อความยากลำบากและอุปสรรคนานาประการ ในเส้นทางการบำเพ็ญธรรม ขอให้เราทุกคนตระหนักไว้เสมอว่า "ความทุกข์ยากทั้งหลายที่เราประสอบในชีวิตนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป อีกไม่นานผู้บำเพ็ญธรรมด้วยความตั้งใจจริงจะผ่านพ้นความทุกข์ยากทั้งปวง เมื่อนั้นเราก็จะคงไว้แต่จิตอันบริสุทธิ์สะอาดและพร้อมที่จะกลับคืนสู่ "นิพพาน"

    15. ฟื้นฟู "ดวงจิตธรรมญาณเดิม" ในตัวเองให้ปรากฎออกมา
    มโนธรรมสำนึก คือ สัญชาติญาณแห่งการรับรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถจะเรียนรู้ดดยการสอนหรือเดาเอาแต่มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคน พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ตัวจริงแท้ของเราคือพุทธจิตธรรมญาณเดิม" พุทธจิตธรรมญาณหรือมโนธรรมสำนึกดั้งเดิมของเรานั้นบริสุทธิ์เหมือนแก้วฝลึกใสสะอาดเหมือนกระจก แต่เมื่อเวลาผ่านไปดวงจิตธรรมญาณเดิมของเราถูกฝุ่นละอองแห่งความทะยานอยากกิเลสตัณหา และความยึดติดอยู่กับโลกวัตถุเข้าจับเกาะจนมัวหมองลง

    เพราะฉะนั้น เพื่อที่จะฟื้นฟู "ดวงจิตธรรมญาณ" ดั้งเดิมของเราให้ฉายแสงสว่างปรากฏออกมาผู้บำเพ็ญธรรมจะต้องขจัดฝุ่นที่เกาะจิตใจตนเองอย่างหนาแน่นออกไปให้ได้ แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว "พูดง่ายกว่าทำ"

    อนุตตรธรรมอุบัติขึ้นที่นี่และวันนี้ ก็เพื่อเบิกทางให้เราได้พบวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายได้ฉับไวและง่ายขึ้น เพราะ "วิธีธรรม เป้นการถ่ายทอดชี้ตรงลงสู่จิต" ให้เราค้นพบที่มาว่ ไตัวตนที่แท้จริงของเราอยู่ที่ไหน"

    ด้วยกระแสปัญญาญาณแห่งอนุตตรธรรม เราจะมีความนึดคิดและกระทำทุกอย่างตามมโนธรรมสำนึกที่ดีงาม และแล้วชีวิตของเราทั้งหมดก็จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสงบสุข และประสานกลมกลืนอย่างสมบูรณ์

    16. พัฒนา "วิจารณญาณ" และ "สัญชาตญาณ" ให้ดีเลิศ
    จากการทดลองศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ว่า แมลงและสัตว์ต่างๆ มีสัญชาตญาณสามารถรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติ เช่น พายุถล่ม น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ไม่มีใครทราบว่าสัตว์เหล่านั้นมีสัญชาตญาณได้อย่างไร?

    เช่นเดียวกับไม่มีใครรู้ว่า ทำไมคนจึงช่วยผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายโดยไม่ต้องคิด และรู้สึกสลดหดหู่ใจเมื่อเห็นผู้ที่กำลังทุกข์ทรมาน

    สำหรับมนุษย์ ความสามารถในการแบ่งแยกความดี-ความชั่ว ความถูก-ความผิด ธรรมและอธรรมโดยมิต้องผ่านการใคร่ครวญ เรียกว่า "วิจารณญาณ"

    ความสามารถอันแสดงออกมาตามมาตรฐานคุณธรรม โดยมิต้องผ่านการฝึกฝน เรียกว่า "สัญชาตญาณ"

    ทั้งสองสิ่งนี้พระเจ้าประทานให้มนุษย์ทุกคน แต่มนุษย์ไม่ได้นำออกมาใช้อย่างเต็มที่

    ทุกวันนี้คนทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งแสงสีและมีความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์เพียงเพื่อต้องการเสพสุขทางวัตถุ ไม่ตั้งอยู่ในความดำริชอบและปฏิบัติชอบ ความคิดและกากระทำที่แสดงออกล้วนเห็นแก่ตัว

    ดังนั้นจุดประสงค์หนึ่งของวิถีอนุตตรธรรมก็คือ ต้องการให้มนุษย์ทุกคนกลับคืนสู่ความวิจารณญาณและสัญชาตญาณ สามารถพัฒนาตนไปถึงขั้นสูงสุด คือ "บรรลุพระนิพพาน"

    17. ส่งเสริมผู้อื่นให้ดีพร้อม เช่นเดียวกับส่งเสริมตนเอง
    ดังเช่นคำพูดที่ว่า "ภาระที่หนักอึ้งเริ่มต้นด้วยความยากลำบากเสมอ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบำเพ็ญ "อนุตตรธรรม" เราจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ขั้นต่อไป นั้นก็คือ เราจะต้องมีปฏิธาน เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายของตัวเองให้ได้เสียก่อน เมื่อมีปณิธานที่มุ่งมั่นเกิดขึ้นแล้วเราจะไม่ไขว้เข่วออกนอกเส้นทาง หลงไปกับสิ่งชั่วร้ายและการผจญยั่วยุต่างๆ ในระหว่างการบำเพ็ญธรรม

    แต่การบำเพ็ญอนุตตรธรรมในเวลานี้ เน้นหนักให้อยู่บำเพ็ญร่วมกัน ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันมิให้แยกตัวออกไปบำเพ็ญอย่างโดดเดี่ยวหมือนอย่างในอดีต กลุ่มของผู้บำเพ็ญธรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยการช่วยเหลือและรับคำชี้แนะจากนักธรรมอาวุโสผู้มีเมตตา

    ภาระกิจของผู้บำเพ็ญธรรมทุกคนคือเสริมสร้างให้ผู้อื่นดีพร้อมเช่นเดียวกับที่เสริมสร้างตนเอง

    18. ฉุดช่วยให้ผู้อื่นสามารถบรรลุธรรม เช่น เดียวกับฉุดช่วยตัวเอง

    ในคติของชาวพุทธ การบรรลุธรรมหมายถึง "การก้าวขึ้นฝั่งพ้นจากทะเลทุกข์"

    "อนุตตรธรรม" อุบัติขึ้นเพื่อฉุดช่วยเราให้พ้นจากทะเลทุกข์นี้ เมื่อเราได้มีโอกาสรับการถ่ายทอด "วิถีธรรม" และได้เรียนรู้ในความล้ำค่าของ "อนุตตรธรรม" แล้ว สมควรที่จะต้องแบ่งปันความปิติยินดีและความสุขใจ ที่ได้พบกับสัจจธรรมนี้ โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว

    ความเห็นแก่ตัวไมีเคยปราฏในองค์พุทธะใดๆ เพราะว่า พระพุทธะทั้งหลายถือเอาความทุกข์ของมวลมนุษญืเป็นดังเช่นความทุกข์ของ พระองค์ และความสุขของเวไนยสัตว์ทั้งหายก็คือความสุขของพระองค์ด้วย

    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า "เป็นสุขอยู่ลำพังคนเดียวไม่ดีไปกว่าเป็นสุขพร้อมผู้คนทั้งหลาย"

    การแบ่งปัน คือ ความห่วงใยเอื้ออาทร
    ความห่วงใยเอื้ออาทร คือ ความรัก

    มันไม่ใช่เป็นการแสดงความรักหรอกหรือ? ที่เราพยายามฉุดช่วยพี่น้องของเราในโลกนี้ทั้งหมดให้ขึ้นมาจากทะเลทุกข์

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    19. ขจัดความเลวร้ายและบาปเวร ช่วยแปรเปลี่ยนจิตใจผู้คนให้ดีงาม
    พระคัมภีร์ไบเบิลกล่าไว้ว่า "ทุกคนมีบาปและห่างไกลจากพระเจ้า" แน่นอนเหลือเกินปุถุชนไม่อาจดีพร้อม ทุกคนล้วนมีแต่ความบกพร่อง แต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างให้เรากระทำแต่สิ่งที่ผิดบาปอยู่ร่ำไป เราจะต้องรู้ว่าบาปที่เราทำนั้นไม่ดีและรู้สึกเสียใจที่ได้ทำลงไป

    แต่ปัญหาอยู่ที่ว่ คนส่วนใหญ่ไม่รุ้ว่าสิ่งที่เขาได้ทำลงไปนั้นชั่วร้ายและเป็นบาป


    ในความถูกต้องเมื่อเราทำสิ่งที่ผิดบาป มโนธรรมสำนึกของเราจะทำให้เรารู้สึกย่ำแย่และเสียใจที่ได้กระทำในสิ่งที่ผิด ต่อศีลธรรม

    ฉะนั้น "อนุตตรธรรม" มาช่วยให้เราสามารถแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงจิตใจ จนกลับไปสู่ความบริสุทธิ์ดั้งเดิมของเราอีกครั้ง

    20. พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขขึ้นบนโลก
    โดยลำพังคนเดียวยากที่คนเราจะหยั่งรู้ได้ในสิ่งที่ตนประสบเห็น ชาวโลกไม่สามารถล่วงว่าทำอย่างไรคนมากมายจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและสันติสุข?

    ความสงบสุขจะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนเราได้เรียนรู้ว่ "ตัวเราเป้นใคร?" ตัวเราเป็นอะไรกันแน่? และทำไม? เราจึงเกิดขึ้นมาในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ ปริศนามืดมนที่ฝังอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคนจะถูกเปิดเผยอย่างกระจ่างแจ้ง เมื่อเราได้รับ "วิถีธรรม" และบำเพ็ญอย่างจริงใจ

    ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่า "อนุตตรธรรม" อุบัติขึ้นเพื่อบันดาลสันติสุขให้ปราฏขึ้นบนแผ่นดินนี้
    พึงจดจำไว้ว่า เพียงการเลิกสู้รบ ไม่เป็นศัตรู ไม่โจมตีซึ่งกันและกัน ยังไม่ใช่ความสงบสุขและสันติสุขที่แท้จริง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อใดที่ชาวโลกทั้งหลายพากันยึดมั่นในหลักศีลธรรม และร่วมกันฝึกฝนส่งเสริมซึ่งกันและกันให้สร้างแต่คุณความดี เมื่อนั้นสันติสุขที่แท้จริงจึงจะเกิดขึ้นบนโลก

    21. มุ่งมั่นแปรเปลี่ยนโลกนี้ให้เป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ"
    ความประสานกลมกลืนที่สมบูรณ์ หรือ "แผ่นดินสันติสุข" ในทัศนะคติของท่านขงจื้อบรรยายไว้ในคัมภีร์เล่มที่ 9 ของท่านว่า

    "เมื่อมหาสันติแผ่ซ่านไปทั่ว โลกนี้ก็เสมือนหนึ่งบ้านที่อาศัยอยู่ร่วมกัน คนดีที่มีคุณค่าควรแก่การสรรเสริญจะถูกเลือกสรรเข้ามาทำคุณประโยชน์แก่สาธารณะชน คนที่มีความสามารถจะดำรงอยู่ในฐานะอันรุ่งเรืองในสังคม ระหว่างผู้คนก็ยึดถือความสัตย์สามัคคี อยู่อย่างไว้วางใจและเป้นสุข

    ทุกๆ คนเคารพผู้อื่นเสมอเหมือนบิดามารดาของตน รักลูกคนอื่นเหมือนลูกตนเอง ผู้ที่แก่เฉ่าชรามีที่พักพิง มีความสุข คนหนุ่มมุ่งสร้างคุณประโยชน์ประกอบความดี และเด็กๆ ทั้งหลายมีผู้ให้การเลี้ยงดู ผู้ไม่มีภรรยา ไม่มีสามี ผู้ไร้ญาติ คนพิการ ได้รับการดูแล ไม่โดดเดี่ยวว้าเหว่ บุรุษต่างมีหน้าที่ปฏิบัติ สตรีอยู่ในกรอบของกุลสตรี

    ทรัพย์สมบัติข้าวของไม่มีใครเก็บไว้เพื่อตัวเองต่างแบ่งปันให้ส่วนรวม สละไว้ในปฐพี การกระทำที่เลวร้ายจักไม่มีในผู้คน ผู้ม่งร้ายไม่พานพบ บรรดาโจรที่ก่อกวนก็ไม่ปราฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้คนออกนอกบ้านก็ไม่ต้องปิดประตูทั้งวันทั้นคืน
    ที่กล่าวสมา ย่อมเรียกว่า "มหาสันติสุขเสมอภาคทั่วกัน"

    พระบรมครูผู้เป็นองค์ประธานของเรา คือ "พระศรีอาริยเมตไตรย" ทรงตั้งปฏิธานอันยิ่งใหญ่ ปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์โลกนี้ให้เป็น "สวรรค์บนพื้นพิภพ" เช่นเดียวกับที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อมุ่งหวัง การที่ชาวเราทั้งหลายได้ปวารณาตนขอเป็นสานุศิษย์ของพระองคืแล้ว จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพร้อมใจกันค้ำจุนเกื้อหนุนผลักดันให้ปฏิธานของพระองค์สำเร็จลุล่วงตามพระประสงค์ และนี่เองคือเป้าหมายทีทแท้จริงของ "วิถีอนุตตรธรรม"

    บนหนทางแห่งพระนิพพาน ไม่มีค่านิยมทางวัตถุ ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีองค์กร ไม่มีสิ่งเคลือบแฝง ไม่มีความคิดที่ผิดทำนองคลองธรรม

    หนทางแห่งพระธรรมนั้นเรียบง่าย เป็นธรรมชาติที่ซื่อตรงสะอาดและบริสุทธิ์ดังแก้วผลึกเป็นหนทางส่วงไสวสำหรับ สาธุชนทั้งหลาย


    หมายเหตุ
    ไม่มีค่านิยมทางวัตถุ และไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังปราศจากเงื่อนงำ หมายถึง "อนุตตรธรรม" เป็นมูลเหตุของสรรพสิ่งและชีวิตทั้งปวง ไม่มีใครสร้างขึ้นและไม่สามารถทำลายได้ คงอยู่เป็นนิรัดร์อนุตตรธรมมีอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง สถิตทั่วทุกหนทุกแห่งในจักรวาล แม้สรรพสิ่งในจักรวาลจะถูกทำลายจนไม่มีอะไรเหลือ แต่อนุตตรธรรมจะคงอยู่ตลอดไป

    ไม่มีความขัดแย้ง หมายถึง "อนุตตรธรรม" ไม่กระทบกระเทือนสังคม มีแต่เผยแผ่สัจจธรรมความดีงามให้แก่ผู้อื่น

    ไม่มีองคืกร หมายถึง "อนุตตรธรรม" ไม่มีการก่อตั้งคณะบุคคลใดๆ หากมองอย่างผิวเผินคล้ายกับเป็นคณะบุคคลมีผู้แนะนำรับรอง มีสถานธรรมและยรรดาญาติธรรม ทั้งหมดเป็นเพียงสิ่ง "รูปลักษณ์" ที่จะนำพาให้เราสัมผัสกับ "อนุตตรธรรม" แม้จริง ในแก่นแท้ของอนุตตรธรรมจึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตา ไม่สามารถได้ยินและไม่สามารถสัมผัสได้ ดังนั้นอนุตตรธรรมจึงไม่ใช่องคืกรที่ยึดถือติด

    ท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า "อนุตตรธรรมสูงส่ง อบรมสั่งสอนทั่วไปโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ" ดังนั้นผู้บำเพ็ญอนุตตรธรรมพึงเข้าใจให้กระจ่างในหลักธรรมสูงส่งนี้ เพื่อจะได้ไม่เบี่ยงเบนไปจากทางแห่ง "นิพพาน"
    [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Thanks-Epi

    Thanks-Epi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    984
    ค่าพลัง:
    +2,950
    วันนี้ก็เป็น วันนึงที่ มีประชุม ธรรม 3 วัน (4 5 6 ธันวา)
    หลังจากที่เรา หาข้อมูลในเนต แล้ว เราตัดสินใจเด็ดขาดว่า ไม่ไปอีกแล้ว
    คุณคิดดูว่า เงินบริจาค ครั้งละ 200 บาท เอาแค่ 3 วันนี้ เงินจะสะพัด เท่าไหร่
    แรกๆ ที่เราเข้าไปก็อ้างว่า เป็นพุทธมหายาน + มีการกินเจ เราก็ไม่เกี่ยงที่จะเข้าไปเพราะเห็นว่าดีเหมือนกัน แต่ เงินค่าบริจาค ที่อ้างว่า แค่ 200 บาท นั้น
    พอเข้าไปประชุมธรรม ก็เรียกเก็บอีกซ้ำ
    การบรรยายก็ไม่ได้มีอะไรเป็นสาระเลย นอกจาก ไตรรัตน์เดิมๆ กับ เหตุการณ์ เขาเล่าว่า
    เช่น สึนามิ ตายตัวแข็งตัวนิ่ม ฯลฯ เดิมๆ ซ้ำ ๆ จริงเท็จไม่รู้ เอาพระเยซูมาอ้างมั่ง

    อีกอย่างที่น่าสงสัยคือ ในอาหารเจ ที่เขาพยายามคะยั้นคะยอให้กินนั้น ใส่อะไรลงไปหรือเปล่า เพื่อให้เคลิ้ม รู้สึกล่องลอย (จากข้อมูลทางเนต)
    ห้ามนับถือ พ่อแม่ ตัดขาดแฟนลูก หากไม่กินเจ

    เราไม่เข้าใจว่า ทำไมลัทธินี้ต้องคะยั้นคะยอมากมายขนาดนั้นด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...