เรื่องเด่น จากใบไม้มากลายเป็นพระคัมภีร์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b8a1e0b989e0b8a1e0b8b2e0b881e0b8a5e0b8b2e0b8a2e0b980e0b89be0b987e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b884.jpg

    ใบลาน ถือว่าเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่คนไทยโบราณนำมาทำหนังสือ แต่ต่างกันตรงที่ใบลานนิยมใช้บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนามากกว่าเรื่องอื่น จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า “คัมภีร์ใบลาน” ใช้เวลาเทศน์ เหตุที่เลือกใช้ใบลานเป็นวัสดุก็เพราะใบจากต้นลาน มีคุณสมบัติพิเศษที่มีน้ำหนักเบา และบาง สามารถเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก ที่สำคัญ คือ คงทนถาวรมาก คัมภีร์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดฉบับหนึ่งของไทยคือ “ติงสนิบาตกุสราชชาดก” ซึ่งเป็นหนังสือธรรมล้านนา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2014 มีอายุ 500 กว่าปี ก็ทำด้วยใบลาน

    b8a1e0b989e0b8a1e0b8b2e0b881e0b8a5e0b8b2e0b8a2e0b980e0b89be0b987e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b884-1.jpg

    ในการบันทึกลงบนหนังสือโบราณประเภทนี้ใช้เทคนิควิธี “จาร” ก็คือ ใช้เหล็กแหลมขีดเป็นลายลักษณ์อักษรบนใบลาน จากนั้นช่างจะทาเขม่าไฟ สีดำของเขม่าจะฝังอยู่ตามร่องที่จารไว้ ทำให้มองเห็นตัวหนังสือเด่นชัด จากนั้นร้อยใบลานแต่ละใบด้วยเชือก มัดรวมเป็นเล่มๆ เรียกว่า “ผูก” หลายๆ ผูกรวมกันเป็นหนึ่งคัมภีร์

    ปัจจุบันใบลานยังคงใช้ทำพระธรรมคัมภีร์ แต่มีการพัฒนาเทคนิคในการเขียน โดยเปลี่ยนจากการจารไปใช้วิธีพิมพ์แทน ขณะที่ช่างพื้นบ้านโดยเฉพาะช่างล้านนายังคงใช้วิธีดั่งเดิม เพราะถือว่าการได้บุญเป็นการสร้างพระธรรมคัมภีร์จากความเพียรจะได้อานิสงส์แรงเกล้า

    จากใบไม้มาเป็นคัมภีร์ “ลาน” เป็นไม้ยืนต้น ลักษณะคล้ายต้นตาล ขึ้นอยู่ทั่วไป สมัยแต่ก่อนมักนิยมปลูกกันไว้ตามวัด เพื่อสะดวกในการนำใบของต้นมาทำพระธรรมคัมภีร์ ซึ่งมีขั้นตอนการทำคราวๆอยู่ 6 ขั้นตอน

    1. คัดเลือกใบลานคุณภาพดีที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ตากแดดทิ้งไว้ราว 3 วัน
    2.ตัดใบลานให้ได้ขนาดที่ต้องการ โดยทั่วไปมีขนาดยาว 50- 70 ซม. กว้าง 4-8 ซม.
    3.ต้มใบลาน แล้วตากให้แห้ง เพื่อให้เนื้อลานเหนียว นิ่ม และมีสีขาวขึ้น
    4.นำใบลานมาเรียงซ้อนกัน แล้วตัดขอบให้เสมอ จากนั้นแทงใบลานให้เป็นรูสำหรับร้อยเชือก
    5.นำเข้าเตาอบเพื่อป้องกันรา
    6. ทำความสะอาด และขัดผิวใบลานให้เรียบด้วยลูกประคบ แล้วนำไปจาร

    ปัจจุบันการเขียนหรือจารใบลานจะเหลือน้อยลงไปแล้ว แต่ยังพอมีภาพพ่ออุ้ยที่นั่งจารด้วยเหล็กแหลมตามวัดในอำเภอรอบนอก ทำให้เราได้เห็นได้ภูมิใจในภูมิปัญญาที่ควรสืบสานไว้
    ข้อมูล/ www.th.rivermk.com,www.bl.msu.ac.th
    ขอขอบคุณ/ พิพิธภัณฑ์วัดหมื่นสาร บ้านวัวลาย 13 ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร.0-5327-5545

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/972835
     

แชร์หน้านี้

Loading...